LATEST
Mobility Data Dashboard แพลทฟอร์มช่วยแนะนำนโยบายส่งเสริมท่องเที่ยว ตามศักยภาพเมือง ในวันที่นโยบายท่องเที่ยวแบบเดียวใช้ไม่ได้กับทุกจังหวัด
ปฏิเสธไม่ได้ว่ายุคนี้ข้อมูลคือสิ่งสำคัญในการกำหนดทิศทางของธุรกิจไปจนถึงเศรษฐกิจของประเทศ อุตสาหกรรมรอบตัวเราเริ่มต้นวางแผนงานจากการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติกันทั้งนั้น เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ถือเป็นส่วนหลักในการขับเคลื่อนประเทศ ถ้าคุณคือคนออกแบบนโยบายสาธารณะหรือเจ้าของธุรกิจสักแบรนด์ที่กำลังมองหาฐานข้อมูลนักท่องเที่ยว เพื่อนำไปพัฒนาแผนงานหรือสินค้าบริการของตัวเอง ‘Mobility Data Dashboard’ คือเครื่องมือที่ช่วยคุณทำแบบนั้นได้อย่างง่ายดาย โปรเจกต์นี้เกิดจากการที่ ดีแทค คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ และบุญมีแล็บ จับมือกันสร้างแพลตฟอร์มเจาะลึกการท่องเที่ยวภายในประเทศผ่านข้อมูลมือถือ ต่อยอดจากการวิจัย ‘Mobility Data เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรอง’ ให้นักออกแบบนโยบายสาธารณะ ผู้ประกอบการ ผู้สนใจด้านข้อมูล รวมถึงประชาชนทั่วไปเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกด้านการท่องเที่ยวของทั้ง 77 จังหวัดได้อย่างง่ายๆ ละเอียดถึงระดับอำเภอ แถมยังมีบทวิเคราะห์เมืองรอง ที่บอกว่าเมืองรองจังหวัดไหนมีศักยภาพด้านไหน นักท่องเที่ยวกลุ่มไหนชอบไปจังหวัดนั้น และคนในท้องที่ควรพัฒนาสินค้าและบริการของตัวเองแบบไหนเพื่อให้ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวได้มากที่สุด ตัวเว็บไซต์ยังถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย สามารถคลิกดูได้เป็นรายจังหวัดเลยว่ามีอัตราการกระจุกตัวในแต่ละช่วงเวลามากน้อยแค่ไหนในแต่ละพื้นที่ ใครสนใจลองเข้าไปเล่นได้เลยที่ dtac.co.th/mobility-data/dashboard/ หรือถ้าใครอยากรู้ว่าแพลตฟอร์มนี้เจ๋งยังไง เราจะพาไปสำรวจอย่างละเอียดในอัลบั้มนี้กัน ดีแทค คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ และบุญมีแล็บ ได้นำข้อมูลการกระจุกตัวและต้นทาง-ปลายทางของนักท่องเที่ยวจาก Mobility Data Dashboard มาวิเคราะห์ว่ามวยรองอย่างเมืองรองมีศักยภาพในการเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ดีขึ้นได้อย่างไร โดยนำข้อมูลเหล่านี้มาจัดทำเป็น ‘ดัชนี’ วัดศักยภาพตามรูปแบบของการเดินทางท่องเที่ยว ประกอบด้วยการท่องเที่ยวไปเช้า-เย็นกลับ การท่องเที่ยวแบบค้างคืน และการท่องเที่ยวแบบกลุ่มจังหวัดหรือคลัสเตอร์ ดัชนีนี้สามารถนำมาวิเคราะห์ศักยภาพของเมืองรองแต่ละจังหวัดว่าควรส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวในรูปแบบไหน จากข้อมูล Mobility Data […]
‘แล เล่น รักษ์ เล’ พื้นที่สาธารณะริมชายหาดต้นแบบ ใส่ใจสิ่งแวดล้อมผ่านแนวคิด ‘CityLab’ ที่ป่าตอง
พาไปชมพื้นที่สาธารณะริมชายหาดต้นแบบที่ป่าตอง โดยความร่วมมือกันระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) และเทศบาลเมืองป่าตอง โปรเจกต์นี้เป็นการเปลี่ยนพื้นที่ในลานโลมา หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ตให้กลายเป็นพื้นที่ทดลอง CityLab Patong ‘แล เล่น รักษ์ เล’ พื้นที่สาธารณะริมชายหาดต้นแบบที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมผ่านแนวคิด ‘CityLab’ ด้วยการทดลองปรับปรุงพื้นที่สาธารณะที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ทำได้ง่าย รวดเร็ว และใช้ทุนต่ำ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองในระยะยาว ทีม Healthy Space Forum อธิบายถึงโครงการ CityLab Patong ‘แล เล่น รักษ์ เล’ ว่าเป็นหนึ่งในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะริมชายหาดต้นแบบที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการมีกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ผ่านพื้นที่เล่น โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน ตลอดจนเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับครอบครัว ซึ่งตัวพื้นที่นี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ‘แล’ ที่หมายถึงการมองดูในภาษาใต้ เป็นนิทรรศการจัดแสดงที่จะถ่ายทอดความรู้ด้านพื้นที่สาธารณะ กิจกรรม และการมีส่วนร่วมต่อชุมชน 2) ‘เล่น’ เชิญชวนให้ทุกคนมาร่วมกิจกรรมในพื้นที่ และขยับร่างกายผ่านเฟอร์นิเจอร์กับเครื่องเล่นที่จะปรับเปลี่ยนเป็นสนามเด็กเล่นในภายหลัง 3) […]
ชีวิตออนไลน์กับราคาที่ต้องจ่าย เราเสียเงินเยอะแค่ไหน กับค่า Subscription ในแต่ละเดือน
ในแต่ละวันเราใช้ชีวิตอยู่บนออนไลน์มากแค่ไหน เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มนุษย์มีวิถีชีวิตเปลี่ยนไป หลายคนหันไปใช้ชีวิตอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการหาความบันเทิง สร้างคอนเทนต์ พบปะผู้คน หรือกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพียงแค่กดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมาไว้ในสมาร์ตโฟนของตัวเอง และหากใครที่ต้องการใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์แบบไหลลื่น สะดวกสบาย ไร้ข้อจำกัด ก็ต้องยอมจ่ายเงินค่า ‘Subscription’ หรือ ‘ค่าสมาชิกรายเดือน’ เพื่ออัปเกรดแอปฯ ต่างๆ ให้พรีเมียมและเข้าถึงการใช้งานที่หลากหลายมากกว่าเดิม เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ที่ Subscribe แอปฯ แบบรายเดือนเอาไว้ คงเลือกใช้วิธีชำระเงินด้วยการตัดบัตรเครดิตหรือตัดบัญชี เพื่อความสะดวกสบายและง่ายต่อการต่ออายุการใช้งาน เลยอาจไม่ได้คำนวณว่าพวกเขาต้องเสียเงินให้กับค่าสมาชิกไปทั้งหมดกี่บาท คอลัมน์ City by Numbers เลยขอรับหน้าที่เป็นฝ่ายบัญชีช่วยคำนวณรายจ่ายสำหรับค่า Subscription ทั้งหลาย ว่าในแต่ละเดือนชาวโซเชียลต้องเสียเงินกับการใช้ชีวิตบนออนไลน์นี้ไปเท่าไรกันบ้าง และทบทวนว่าในอนาคตอันใกล้ที่ช่องทางออนไลน์จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้นกว่าเดิมนั้น เราพร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่อแลกกับบริการเหล่านั้นหรือเปล่า ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง หลังจากเลิกงานมาเหนื่อยๆ เราเองก็อยากหลีกหนีความวุ่นวายจากโลกแห่งความจริงด้วยการเข้าไปสิงอยู่ในสตรีมมิงแพลตฟอร์มที่รวบรวมความบันเทิงหลากหลายเอาไว้ ทั้งรายการทีวี ซีรีส์ และภาพยนตร์ แถมยังนอนดูอยู่บ้านได้แบบสบายๆ โดยไม่ต้องเดินทางไปโรงภาพยนตร์ให้เสียเงิน เสียแรง และเสียเวลา ด้วยเหตุนี้ บริการสตรีมมิงจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในตอนนี้ไปเสียแล้ว โดยค่าใช้จ่ายต่อเดือนของสตรีมมิงออนไลน์แต่ละเจ้าอยู่ที่ 99 – 419 บาทขึ้นอยู่กับแพ็กเกจ แต่เชื่อเลยว่าหลายคนคงไม่ได้สมัครสมาชิกแค่เจ้าเดียวเท่านั้น […]
เที่ยวส่งท้ายปีที่พิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน ในงาน Night at the Museum 2022 วันที่ 23 – 25 ธ.ค. 65 โซนปริมณฑลและ ตจว.
‘Night at the Museum Festival 2022’ คือเทศกาลที่หนึ่งปีมีครั้งเดียว หลายคนคงได้ไปเดินเล่น ชมความสวยงามของแสงไฟ และทำกิจกรรมสนุกๆ เพลิดเพลินไปกับช่วงเวลายามค่ำคืนกับหลากหลายพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ อย่างเต็มอิ่ม หลังจากงานโซนกรุงเทพฯ เพิ่งจบไปหมาดๆ Night at the Museum Festival 2022 ก็สานต่อความสนุกด้วยการยกขบวนไปจัดงานในพื้นที่ปริมณฑลและต่างจังหวัดหลายแห่ง ยกตัวอย่าง ที่ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง จังหวัดนนทบุรี กับนิทรรศการพลังงานไฟฟ้ายามค่ำคืน ส่วนที่พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย จังหวัดนครปฐม ก็มีกิจกรรมฉายหนัง จำหน่ายสินค้างานคราฟต์ อาหาร และเครื่องดื่ม ส่วนใครที่อยู่จังหวัดปทุมธานี อนุสรณ์สถานแห่งชาติก็มีนิทรรศการรูปแบบใหม่ให้ผู้เข้าร่วมได้เล่นเกม VR เสมือนจริงด้วย นอกจากนี้ ที่อุทยานฯ ร.2 จังหวัดสมุทรสงคราม ได้เปิดให้ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน เช่น พิพิธภัณฑ์หุ่นกระบอก พิพิธภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรมอัมพวา เป็นต้น ส่วนทางหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา ขอร่วมงานนี้ด้วยการชวนทุกคนมาชมนิทรรศการดาราศาสตร์ ในขณะที่ชาวสิงห์บุรีเตรียมตื่นตาตื่นใจไปกับ Lighting Installation ที่มิวเซียมสิงห์บุรีได้เลย ขยับไปฝั่งอีสาน ใครไปจังหวัดนครราชสีมา […]
‘เซ็นทรัล ทำ’ พัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม ผ่านโครงการพุทธนิเวศเกษตรอินทรีย์ไร่เชิญตะวัน
เพราะเกษตรกรรมคือวิถีชีวิตแห่งสังคมไทยมาช้านาน โดยวิธีการลงมือทำการเกษตรก็มีการพัฒนาไปหลายรูปแบบตามกาลเวลา จนมาถึงยุคปัจจุบันที่ทั่วโลกตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ส่งผลให้รูปแบบการทำการเกษตรเกิดการปรับเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบที่มีประโยชน์ต่อทั้งตัวเอง ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ในฐานะขององค์กรที่สนับสนุนชาวบ้านในชุมชนมาโดยตลอด ทางกลุ่มเซ็นทรัลได้เล็งเห็นปัญหานี้และเข้าไปช่วยเหลือ เพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอดการพัฒนาชุมชนผ่านโครงการ ‘เซ็นทรัล ทำ’ ที่มีจุดมุ่งหมายในการทำเพื่อสังคม ภายใต้หลักการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน โดยโครงการใหม่ของเซ็นทรัล ทำ นั้นเกิดจากการร่วมมือกับ ‘พระเมธีวชิโรดม (ท่าน ว.วชิรเมธี)’ ผู้ก่อตั้งศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน จังหวัดเชียงราย และภาคีเครือข่าย ในการต่อยอดโครงการ ‘พุทธนิเวศเกษตรอินทรีย์ไร่เชิญตะวัน’ ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบการทำเกษตรอินทรีย์ สร้างอาชีพภายใต้ภูมิปัญญาใหม่สำหรับเกษตรกร รวมถึงคนทั่วไปที่สนใจทำการเกษตร ต่อยอดพื้นที่ให้สร้างประโยชน์ทั้งด้านจิตใจและภูมิปัญญาความรู้ กระบวนการต่อยอดโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบการทำเกษตรอินทรีย์ เริ่มต้นดำเนินโครงการด้วยการปรับผืนดินที่แห้งแล้งให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ จนทำเกษตรผสมผสาน ปลูกข้าวและพืชพื้นถิ่นได้ ทั้งยังขุดบ่อน้ำ จัดทำร่องน้ำ ตามหลักโคกหนองนา เพื่อกักเก็บน้ำและผันน้ำใช้ในการเกษตร นอกจากนี้ยังมีการใช้นวัตกรรมมาช่วยในการทำเกษตร เช่น การใช้แผงโซลาร์เซลล์ที่มีอยู่เดิม มาจัดทำระบบ Smart Farm เพื่อใช้ในการสูบน้ำ การทำฟาร์มระบบเลี้ยงไก่ไข่ที่ปล่อยให้ไก่ออกนอกโรงเรือนได้อย่างอิสระ เพื่อให้แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ ทำให้ไก่มีความสุขและอารมณ์ดี ได้ไข่ที่ดี “โครงการพุทธนิเวศเกษตรอินทรีย์ไร่เชิญตะวัน เป็นหนึ่งในโครงการศึกษาพัฒนาไร่เชิญตะวันให้เป็น ‘พุทธนิเวศสากล’ (International Eco Monastery) ที่คนและธรรมชาติอยู่ร่วมกันได้โดยต้องตระหนักถึงปัญหาของสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้แบ่งออกเป็น […]
60 ปีโตโยต้าประเทศไทย จากแบรนด์ยานยนต์แห่งความสุข สู่อนาคตแห่งการขับเคลื่อนที่เป็นมิตรต่อโลก
ถ้าถามถึงแบรนด์ยานยนต์ในใจคนไทย เรามั่นใจว่าคำตอบของหลายคนคือ ‘โตโยต้า’ กว่า 60 ปีแล้วที่บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้ผลิตและจัดจำหน่ายรถยนต์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้คนไทย และในเดือนธันวาคม 2565 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด จึงถือโอกาสเฉลิมฉลองปีที่ 60 และแสดงความขอบคุณต่อลูกค้า รวมถึงผู้มีส่วนร่วมในความสำเร็จทุกคนในงาน ‘โตโยต้า ฉลองการดำเนินงานในประเทศไทยครบ 60 ปี’ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นอกจากจะมีเซสชันบนเวทีที่ทุกคนได้พบกับ มร.อากิโอะ โตโยดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น, มร.โนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รวมถึงคุณสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่มากล่าวแสดงความยินดี บอกเล่าเรื่องราวที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโตโยต้า และเน้นย้ำวิสัยทัศน์กับพันธกิจในอนาคต งานนี้ยังมีการจัดแสดงรถยนต์รุ่นแรกสุด ไปจนถึงรุ่นใหม่ที่โตโยต้ายังไม่เปิดตัวอีกด้วย คอลัมน์ FYI จึงอยากนำเกร็ดความรู้สนุกๆ […]
7 คำศัพท์มาแรงเกี่ยวกับเทรนด์สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนในอนาคต
ในยุคปัจจุบัน นอกจากผู้คนจะให้ความสำคัญกับเรื่องรอบตัวกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสังคม สิทธิมนุษยชน และความเท่าเทียม อีกประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจสุดๆ คือ ‘สิ่งแวดล้อม’ และ ‘ความยั่งยืน’ เพราะพวกเขาเชื่อว่าโลกต้องได้รับการรักษาและฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันผลกระทบที่รุนแรงจากวิกฤตโลกรวน เพราะเหตุนี้ ประเด็นเรื่องความยั่งยืนจึงกลายเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงทั่วโลก แทบทุกอุตสาหกรรมต้องหยิบเรื่องนี้มาพูดถึง ภาครัฐ เอกชน หรือแม้แต่ธุรกิจของคนตัวเล็กๆ เองก็พยายามชูนโยบายสีเขียวและใส่ดีเอ็นเอความยั่งยืนในมิติต่างๆ ให้บริษัทของตัวเอง ทั้งแง่สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม คอลัมน์ Green Insight ขอพาไปทำความเข้าใจเรื่อง ‘สิ่งแวดล้อม’ และ ‘ความยั่งยืน’ แบบเจาะลึกมากขึ้นผ่าน 7 คำศัพท์ที่กำลังมาแรงเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ ตั้งแต่แนวคิดการออกแบบเขตเชิงระบบนิเวศ ระบบเศรษฐกิจสู่ความยั่งยืนรูปแบบใหม่ รวมถึงระบบทุนนิยมและการบริโภคอย่างมีจิตสำนึก ซึ่งทั้งหมดล้วนมีเป้าหมายทำให้วงจรความยั่งยืนเกิดขึ้นจริงในสังคมของเรา 01 | Eco-district เพราะสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเป็นเรื่องที่ส่วนรวมควรรับผิดชอบร่วมกัน จึงเป็นที่มาของคำว่า ‘Eco-district’ หรือ ‘เขตเชิงระบบนิเวศ’ ซึ่งหมายถึงการกำหนดวางแผนผังเมือง เพื่อรวบรวมเป้าหมายเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความเท่าเทียมทางสังคมเข้าด้วยกัน รวมถึงลดผลกระทบทางระบบนิเวศที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ในพื้นที่ใกล้เคียง ตัวเมือง และภูมิภาคให้น้อยลงด้วย มากไปกว่านั้น Eco-district ยังโฟกัสที่การสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่หลากหลายและใช้งานได้จริง ทั้งด้านที่อยู่อาศัย […]
‘อายิโนะโมะโต๊ะ’ สร้างความอร่อยและคุณค่าในสังคมคู่คนไทย เพื่อความสุขในอนาคตของทุกคน
หากถามถึงเคล็ดลับความอร่อยคู่คนไทยที่มีมานานกว่า 62 ปี คงหนีไม่พ้นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์จากกรดอะมิโนระดับโลกอย่าง ‘กลุ่มบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ’ แต่นอกจากการผลิตและส่งมอบผลิตภัณฑ์ความอร่อยที่หลากหลายและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในประเทศไทยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2503 อีกสิ่งสำคัญที่อายิโนะโมะโต๊ะต้องการคือ การช่วยแก้ไขปัญหาสังคมและสร้างคุณค่าผ่านธุรกิจ ภายใต้แนวคิด ‘อายิโนะโมะโต๊ะสร้างคุณค่าร่วมกับสังคม (ASV)’ เพื่อก้าวสู่การเป็นกลุ่มบริษัทผู้ส่งมอบแนวทางการแก้ปัญหาและนวัตกรรมที่เกี่ยวกับอาหารและสุขภาพระดับโลก อายิโนะโมะโต๊ะสร้างคุณค่าร่วมกับสังคม (ASV) กลุ่มบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาสังคม ผ่าน ‘การสร้างสังคมสุขภาพดี’ ‘ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า’ และ ‘การสร้างความยั่งยืนของโลก’ ที่เป็น 3 แนวทางหลักสำหรับการดำเนินกิจกรรม ASV เพื่อมุ่งสู่การประสบความสำเร็จกับ 2 เป้าหมาย ดังนี้ 1. ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมทางธุรกิจของอายิโนะโมะโต๊ะให้ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2030 หรือ พ.ศ. 2573 2. มุ่งขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) รวมถึงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ให้สำเร็จภายในปี 2050 หรือ พ.ศ. 2593 ทางบริษัทได้ร่วมป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ผ่านการบูรณาการแนวคิด เทคโนโลยี และกระบวนการผลิตในทุกขั้นตอน […]
New Year, Hit a New High เปิดโพยค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นในปี 2023
ตั้งแต่ต้นปี 2022 อะไรๆ ก็ดูราคาแพงขึ้นไปหมด ตั้งแต่ราคาน้ำมันที่พุ่งกระฉูด ทำเอาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับขึ้นถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู ผักสด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ค่าโดยสารสาธารณะ ไปถึงค่าไฟฟ้า ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาทำสถิติสูงสุดในรอบ 24 ปี สูงถึง 7.1 เปอร์เซ็นต์ แค่ปีนี้ค่าครองชีพยังเพิ่มสูงขนาดนี้ ไม่อยากคิดเลยว่าปีหน้าจะมีอะไรเพิ่มขึ้นอีกบ้าง เพราะขนาดยังไม่ทันก้าวขาขึ้นวันที่ 1 มกราคมอย่างเป็นทางการ ก็มีประกาศปรับราคาสิ่งของเครื่องใช้อุปโภคบริโภคและคาดการณ์เศรษฐกิจปีหน้ากันบ้างแล้ว คอลัมน์ City by Numbers จึงขอ Spoiler Alert เปิดโพยค่าครองชีพในปี 2023 ที่ Urban Creature คัดเลือกและเรียงเปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้นจากน้อยไปมากมาให้ทุกคน เพื่อเป็นแนวทางตั้งรับและวางแผนการเงินสำหรับปีหน้า เราจะได้ก้าวเข้าปีใหม่กันแบบสวยๆ ไม่ต้องมาหมุนเงินรัวๆ เพราะตั้งตัวกันไม่ทัน 📈 ดอกเบี้ยนโยบาย เพิ่มขึ้น 0.25 เปอร์เซ็นต์ คนทั่วไปอาจรู้จักคำว่า ‘ดอกเบี้ย’ กันอยู่แล้ว แต่สำหรับ ‘ดอกเบี้ยนโยบาย’ คนที่ไม่ได้คลุกคลีกับวงการการเงินคงเกิดคำถามในใจขึ้นว่า มันคืออะไรกันแน่ และการปรับเพิ่มขึ้นนี้จะส่งผลอะไรกับชีวิตเราบ้าง ดอกเบี้ยนโยบายคือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศใช้เพื่อกำหนดนโยบายการเงินของชาติ […]
ตีลังกาเตะบอลบนโต๊ะปิงปองโค้ง รู้จักกับ ‘Teqball’ กีฬาชนิดใหม่ ขวัญใจคนไทย หัวใจเซปักตะกร้อ
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายคนคงเห็นคลิปวิดีโอที่นักกีฬาไทยกระโดดตีลังกาเตะลูกฟุตบอลบนโต๊ะที่คล้ายโต๊ะปิงปองแต่มีลักษณะที่โค้งกว่าผ่านหน้าไทม์ไลน์กันไม่น้อย จากแมตช์การแข่งขัน ‘เทคบอล (Teqball)’ กีฬาชนิดใหม่ระหว่างไทยและบราซิล แม้เป็นกีฬาชนิดใหม่ที่เพิ่งเป็นที่รู้จักขึ้นมาในประเทศไทยได้ไม่นาน แต่ความจริงแล้วกีฬาชนิดนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศฮังการี ตั้งแต่ปี 2012 โดยเป็นการหยิบเอากีฬาฟุตบอลและปิงปองมาผสมผสานกัน รวมถึงออกแบบโต๊ะที่ใช้ในการเล่นให้มีพื้นผิวโค้ง เพื่อให้วิถีของลูกบอลโค้งรับไปกับเท้าของผู้เล่น เทคบอลถูกบรรจุเป็นกีฬาสากลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2016 โดยมี ‘โรนัลดินโญ’ อดีตนักฟุตบอลชาวบราซิลเป็นหนึ่งในทูตเทคบอล และจัดการแข่งขัน ประจำปีในชื่อ ‘Teqball World Championships’ โดย Fédération Internationale de Teqball (FITEQ) ครั้งแรกขึ้นในปีถัดมา ก่อนได้รับความสนใจขึ้นเรื่อยๆ ส่วนประเทศไทยเองก็ได้ก่อตั้ง ‘สมาคมกีฬาเทคบอลแห่งประเทศไทย’ ขึ้นในปี 2021 โดยมี ‘พลเอก รณชัย มัญชุสุนทรกุล’ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคม หลังจากเล็งเห็นว่าเป็นกีฬาที่เหมาะกับคนที่มีความคุ้นชินกับกีฬาเซปักตะกร้ออยู่เดิมแล้ว หลังจากฝึกซ้อมได้ไม่นาน ทางสมาคมฯ ก็สามารถส่งนักกีฬาลงสนามไปเมื่อวันที่ 23 – 27 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และถูกทั่วโลกจับตามองจากทักษะการตีลังกาเตะลูกบอลในสไตล์กีฬาตะกร้อ จนพานักกีฬาประเภทชายคู่ได้รางวัล Favourite Team และลงเล่นใน […]
‘Treecard’ บัตรเดบิตรักษ์โลกจากไม้เชอร์รีและพลาสติกรีไซเคิล ที่ปลูกต้นไม้จากการใช้จ่ายของบัตร
เมื่อคนทั่วโลกหันมาใช้จ่ายเงินในรูปแบบ Cashless เพื่อลดการสัมผัสและการใช้เงินสด สิ่งหนึ่งที่เราอาจคาดไม่ถึงว่าอาจเป็นปัญหาคือ ขยะพลาสติกจากการผลิตบัตรเครดิตและเดบิต เพื่อแก้ปัญหาการใช้บัตรพลาสติก ‘Treecard’ สตาร์ทอัปด้านฟินเทคในกรุงลอนดอน ได้พลิกโฉมบัตรเดบิตที่ปกติทำมาจากพลาสติก ด้วยการเปลี่ยนมาใช้วัสดุไม้จากต้นเชอร์รีและเสริมแกนของการ์ดให้แข็งแรงขึ้นด้วยขวดพลาสติกรีไซเคิล เพื่อทำให้ Treecard เป็นบัตรเดบิตที่แม้จะไม่แข็งแรงเท่าพลาสติก แต่ก็ไม่เปราะบางจนแตกหักง่าย Treecard กล่าวว่า ต้นเชอร์รีเพียงต้นเดียวในสหราชอาณาจักรใช้ทำบัตรเดบิตเพื่อส่งต่อให้ผู้ใช้งานได้มากกว่า 300,000 ใบ ซึ่งใช้ทรัพยากรน้อยกว่าบัตรพลาสติกรูปแบบเดิมหลายเท่า Treecard เป็นบัตรเดบิตที่เชื่อมต่อกับบัญชีธนาคารที่มีอยู่และใช้ชำระเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless) ได้ทุกที่บนโลกที่รับบัตรมาสเตอร์การ์ด ไม่ต่างจากบัตรพลาสติกในอดีต และในขณะเดียวกันยังเชื่อมต่อกับกระเป๋าเงินดิจิทัลอย่าง Apple Pay, Google Pay และ Samsung Pay ตลอดจนทำงานร่วมกับบัญชี Venmo ได้ นอกจากนี้ 80 เปอร์เซ็นต์ของค่าธรรมเนียมการค้าจะมอบให้กับกองทุนปลูกป่า และทุกๆ การใช้งาน 50 ดอลลาร์สหรัฐ (1,740 บาท) โดยบัตร Treecard จะเปลี่ยนให้กลายเป็นต้นไม้จริงในพื้นที่กว่า 30 ประเทศทั่วโลก แถมผู้ถือบัตรยังติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้เหล่านี้ผ่านแอปพลิเคชันในชื่อเดียวกันบน iOS และ Android ได้ด้วย […]
ทำไมจู่ๆ คนเราถึงลุกขึ้นมาใช้ความรุนแรง UNDP ชวนสำรวจสารตั้งต้นความรุนแรง ที่ผลักให้หลายคนกลายเป็น ‘ผู้ก่อการร้าย’
เชื่อว่าทุกคนคงเคยเห็นภาพการก่อการร้ายและได้ยินข่าวการใช้ความรุนแรงของกลุ่มต่างๆ ผ่านสื่อ เราอาจคุ้นเคยกับภาพเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมคนเหล่านั้นหลังก่อเหตุ แต่ถ้าหากเราย้อนเวลากลับไปได้ ก่อนที่ใครคนหนึ่งจะได้สถานะ ‘คนร้าย’ หรือ ‘ผู้ก่อการร้าย’ หากเราสำรวจหาเหตุผลเบื้องหลัง เราอาจพบสารตั้งต้นที่จะเปลี่ยนชีวิตพวกเขาไปตลอดกาล การป้องกันความรุนแรงจากอุดมการณ์สุดโต่ง (Preventing Violent Extremism) อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์การต่อต้านการก่อการร้ายระดับโลก (UN Global Counter-Terrorism Strategy) ที่จัดทำโดยองค์การสหประชาชาติ แนวทางนี้ไม่ได้มองบุคคลเป้าหมายเป็นศัตรูที่ต้องกำจัด แต่เน้นการจัดการและแก้ไขโครงสร้างสังคมที่ผลักผู้คนให้ลุกขึ้นมาใช้ความรุนแรง คำถามคือ ทำไมจู่ๆ คนเราถึงลุกขึ้นมาใช้ความรุนแรงล่ะ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ UNDP เสนอว่า เราต้องเข้าใจรากเหง้าของความรุนแรงที่ปรากฏออกมาเพื่อที่จะแก้ไขได้ตรงจุด ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ทางการเมือง การถูกเลือกปฏิบัติเพราะศาสนาหรือชาติพันธุ์ ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน และการขาดโอกาสจากรัฐ ปัญหาเหล่านี้กระตุ้นให้ผู้ที่มีความคับข้องใจเลือกวิถีแห่งความรุนแรงเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในสภาวะปกติ แม้ว่าเราจะพูดคำว่า ‘ไม่เป็นไร’ กันจนติดปาก และพยายามจะ ‘สบายๆ’ กับทุกอย่าง แต่สังคมไทยกำลังเผชิญความขัดแย้งหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งด้านอัตลักษณ์ เช่น ที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ความขัดแย้งทางการเมืองจากมุมมองอันแตกต่าง และความขัดแย้งเรื่องปากท้องและการจัดสรรทรัพยากรที่ทำให้หลายชุมชนเกิดความคับแค้นใจเมื่อรู้สึกว่าเสียงของพวกเขาไม่ถูกรับฟัง และนำไปสู่การเรียกร้องและเดินขบวนอย่างสันติวิธี หากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยังไม่ออกมารับฟังอย่างจริงใจและพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกัน ในที่สุดพวกเขาก็อาจจะเลือกจับอาวุธและใช้ความรุนแรง UNDP ทำงานโดยใช้ข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ผ่านการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังสถานการณ์จากภาคประชาสังคมและพันธมิตรทางวิชาการ […]