เรื่องเล่าจากเด็กรามฯ สู่งานนอกเวลามหาโหด !

ผมเชื่อว่ามหา’ลัยรามคำแหง เป็นมหา’ลัยที่มีนักศึกษาทำงานระหว่างเรียนมากที่สุดในประเทศไทย ! เนื่องจากรูปแบบการเรียนที่เน้นผลสอบแบบ 100% การเข้าเรียนจึงไม่มีผลอะไรกับเกรดมากนัก การเอาเวลามาหางานพิเศษทำเพื่อหาเงินใช้เพิ่มเติมจึงเป็นอะไรที่ดูจะเข้าท่ามากกว่า….

ศิลปินชาวเคนย่า “CYRUS KABIRU” ผู้เสกขยะไร้ค่าให้กลายเป็นผลงานศิลปะ

ศิลปะที่แท้จริงย่อมไม่มีเส้นแบ่งขอบเขต หรือคำจำกัดความใดๆ “Cyrus Kabiru (ไซรัส คาบิรุ)” ศิลปินชาวเคนย่าผู้เสกขยะที่ถูกทิ้งขว้าง สร้างเป็นงานศิลปะ ที่ไม่เหมือนใคร และเขากำลังเป็นหนึ่งในตัวอย่างของการแก้ปัญหาขยะที่ปัจจุบันกลายเป็นคลื่นลูกใหญ่ที่กำลังจะทำลายโลกใบนี้ | ปัญหาขยะในทวีปแอฟริกา ประเทศเคนย่า เกิดในแหล่งเสื่อมโทรมเจอแต่ขยะ ปัจจุบันประเทศเคนย่า และอีกหลายประเทศในทวีปแอฟริกา กำลังประสบปัญหาขยะล้นเมือง โดยข้อมูลจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ พบว่า มีการพบถุงพลาสติกโพลีเอธิลีน รวมไปถึงขยะประเภทอื่นๆ ในระบบทางเดินอาหารของวัวที่ถูกส่งไปโรงฆ่าสัตว์ในกรุงไนโรบี วัวบางตัวมีถุงพลาสติกอยู่ในท้องถึง 20 ใบ จนทำให้เกิดเหตุการณ์พลาสติกปนเปื้อนในเนื้อวัว ซึ่งกลายเป็นปัญหาที่ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ หน่วยงานจัดการด้านสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเคนย่า จึงออกมาตรการสำหรับผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ โดยใครที่มีถุงพลาสติกจากร้านปลอดภาษีติดมาด้วยนั้น จะต้องทิ้งถุงพลาสติกไว้ที่สนามบิน ไม่อนุญาตให้นำเข้าประเทศ ซึ่งจากปัญหาเหล่านี้ทำให้ประชากรเด็กที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ต้องเผชิญหน้ากับขยะกันถึงหน้าบ้าน หรือแม้กระทั่งในบ้านเลยทีเดียว | จุดเริ่มต้นของศิลปะจากขยะ เรียนจบม.ปลายไม่เรียนต่อ อยากทำงานศิลปะ ชอบแว่น โดนไล่ออกจากบ้าน เด็กชายไซรัส คาบิรุ ในวัย 7 ขวบ เริ่มต้นความสนใจด้านศิลปะ เพราะแว่นตาที่พ่อเขาสร้างขึ้นมาเอง ซึ่งตอนนั้นเขาอยากได้นาฬิกาเรือนนั้นมาก แต่พ่อกลับบอกกับเขาว่า ถ้าอยากได้ก็สร้างมันขึ้นมาด้วยตัวเองสิ และนั่นจึงเป็นก้าวแรกของความมุ่งมั่นที่จะสร้างมันขึ้นมาด้วยตัวเอง และสิ่งที่เขามองเห็นรอบข้างตลอดช่วงชีวิตที่ผ่านมานั่นคือ “ขยะ” สิ่งไร้ค่าที่ใครๆ ก็มองข้าม […]

Beyond The Air We Breathe by SangSom

พักผ่อนสมองผ่อนคลายอารมณ์ไปเสพงานศิลป์กับนิทรรศการภาพถ่ายจากช่างภาพระดับโลกกว่า 80 ชีวิตที่มาจัดแสดงในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียเป็นครั้งแรกภายใต้ชื่อว่า “Beyond the Air We Breathe : Addressing Climate Change” จากการร่วมมือของสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิลูซี่ และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ภายในงานมีแนวคิดหวังให้เกิดการตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย และผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้นกับโลกผ่านผลงานภาพถ่ายของช่างภาพระดับโลกที่สะท้อนให้ผู้ชมได้ตื่นตัวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงใกล้ตัวที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นจากการปล่อยมลพิษโดยฝีมือมนุษย์เราเอง เมื่อก้าวเท้าเข้ามาภายในงานซึ่งแสดงภาพถ่ายที่สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดกับโลกจากฝีมือมนุษย์ภายใต้ชื่องานว่า “Beyond the Air We Breathe : Addressing climate change” บรรยากาศในงานมีทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติให้ความสนใจเข้ามาชมผลงานกันอย่างไม่ขาดสายโดยมีพื้นที่ให้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเป็นกันเอง นิทรรศการครั้งนี้คัดสรรผลงานภาพถ่ายจากช่างภาพระดับโลกจำนวนกว่า 80 ท่านที่มาร่วมถ่ายทอดผลงานภาพถ่ายโดยสะท้อนให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมของโลกที่กำลังร้องบอกถึงความเจ็บปวดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พิธีการเปิดนิทรรศการในวันแรกเปิดโอกาสให้สื่อมวลชน และบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าชมได้พร้อมกันเลย ผศ. ปวิตร มหาสารินันทน์ ผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครมาร่วมเปิดงาน และพูดคุยกับผู้เข้าชมงานโดยผลงานภาพถ่ายด้านหลังเป็นของศิลปิน “Steve McCurry” โดยไฮไลท์ของงานมีช่างภาพมือรางวัล “Sebastian Copeland” ผู้เป็นทั้งนักสำรวจขั้วโลก นักเขียน นักพูด และนักเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม และยังเป็น 1 ใน 25 ผู้ชายนักผจญภัยระดับโลกในปี 2017 […]

The Story of Hawaii Shirt เรื่องราวของ “เสื้อฮาวาย”

“Alohaaaa” คำกล่าวทักทายอันทรงเสน่ห์ของชาวหมู่เกาะฮาวายแปลว่า สวัสดี หรือ ลาก่อนที่หลายคนรู้จัก เกาะฮาวายเป็นเกาะแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรอันไกลแสนไกล บนพื้นที่แห่งหนึ่งของโลกอยู่อย่างโดดเดี่ยวที่สุด เพราะห่างจากอเมริกาแผ่นดินใหญ่ถึง 4,000 กิโลเมตร และเกาะแห่งนี้ถือเป็นต้นกำเนิด “เสื้อเชิ้ตฮาวาย” ที่เป็นกระแสนิยมทั้งแต่ครั้งอดีตเรื่อยมาสู่แฟชั่นยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะหันมองไปทางไหนใครต่อใครก็ใส่กันทั้งนั้น เรามาทำความรู้จักกับ “เสื้อเชิ้ตฮาวาย” ว่ามีที่มาอย่างไรกัน l ทำความรู้จักกับเสื้อเชิ้ตฮาวายที่แสนจะเบาสบาย 1930 ณ เกาะฮาวาย จุดเริ่มต้นของเสื้อฮาวายโดยการตัดเย็บเสื้อฮาวายยุคก่อนด้วยการใช้ผ้ากิโมโนตามแบบฉบับของญี่ปุ่น มีสีสันสดใสและ พิมพ์ลายต่างๆ การตัดเย็บออกแบบให้สวมใส่เบาสบายในสไตล์ชาวตะวันตก มีต้นกำเนิดการผลิตจำหน่ายอย่างเป็นทางการจาก Mr. Kiochiro Miyamoto เจ้าของห้องเสื้อ Musa-Shiya the Shirtmaker ตัดเย็บเสื้อฮาวายในแบบ tailor made ในปี 1935 ซึ่งถือว่าเป็นผู้บุกเบิกเจ้าแรก และเจ้าเดียวบนเกาะฮาวาย ภายหลังมีร้านค้ารายอื่นๆ มากมายทยอยผลิตเสื้อฮาวายออกมาอย่างแพร่หลาย จนเมื่อปี 1936 นักธุรกิจ Ellery Chun ร่วมกับบริษัท King-Smith Clothiers จดทะเบียนการค้าเสื้อฮาวาย ภายใต้ชื่อ Aloha Shirt […]

The Miracle of Down’s Syndrome : ปาฏิหารย์แห่งรัก “ดาวน์ซินโดรม”

“ เด็กทุกคนล้วนเป็นของขวัญชิ้นพิเศษที่พระเจ้ามอบให้ผู้เป็นพ่อและแม่ ดังนั้นไม่ว่าพระเจ้าจะส่งเขามาในแบบใด เขาก็คือของขวัญอันล้ำค่าสำหรับพ่อและแม่เสมอ “ ‘ดาวน์ซินโดรม’ หากเลือกเกิดได้มีใครบ้างไม่อยากเกิดมาสมบูรณ์แบบแต่เมื่อโชคชะตาฟ้าได้ลิขิตมาแล้วจงยอมรับและเข้าใจในความเป็นไปที่เกิดขึ้น แต่ก็นั่นแหละมันคือความยากอย่างหนึ่งที่กว่าจะก้าวผ่านอุปสรรคต่างๆไปได้ย่อมมีบาดแผลฝากไว้เอาไว้ให้จำเสมอ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือ ความรัก เพราะสิ่งนี้เองได้สร้างพวกเขาขึ้นมาและยังคงเป็นพลังสำคัญที่หล่อเลี้ยงให้ทุกย่างก้าวของชีวิตพวกเขาเติบโตอย่างเข้มแข็งและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างคนธรรมดาทั่วไป | เส้นทางกว่าจะเป็นดาวน์ (ซินโดรม) (library.down-syndrome.org) โรคดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome หรือ Down syndrome) หรือที่มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มอาการดาวน์ โดยแพทย์ชาวอังกฤษที่ชื่อว่า ’ John Lang don Down ’ เป็นคนแรกที่ค้นพบและอธิบายอาการของโรคนี้ไว้เมื่อปี ค.ศ. 1866 ต่อมาจึงนำชื่อของนายแพทย์ท่านนี้มาเป็นชื่อของโรคนี้ ซึ่งที่มาของอาการนั้นเกิดจากความผิดปกติทางพันธุ์กรรมที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิดโดยที่โครโมโซมเส้นที่ 21 เกินมา 1 เส้น เพราะในคนปกติจะมีแค่ 2 เส้นเท่านั้น จึงทำให้เกิดอาการดังกล่าวซึ่งเราเรียกความผิดปกตินี้ว่า TRISOMY 21 ซึ่งเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และในปัจจุบันก็ยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคดาวน์ซินโดรมได้อย่าง 100% เพราะปัจจัยสำคัญคือ อายุของผู้เป็นแม่ที่ตั้งครรภ์มีอายุมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงที่จะมีลูกเป็นดาวน์ซินโดรมก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย (gettyimages.com) ผู้ที่เป็นโรคดาวน์ซินโดรมนั้นจะมีอาการแสดงทั้งภายนอกและภายในร่างกาย ซึ่งจะมีพัฒนาการที่ล่าช้าในทางสติปัญญาเล็กน้อยถึงปานกลาง นอกจากนั้นยังมีหน้าตาที่คล้ายคลึงกัน คือหางตาชี้ขึ้น […]

เรื่องเล่ารายวิน 13 “รูดม่าน”

ผมจำวันแรกในชุดเสื้อกั๊กสีส้มเบอร์60ได้ดี มันเป็นความรู้สึกประหม่าในทุกๆเรื่องจริงๆ ทั้งกลัวว่าจะขี่พาผู้โดยสารไปเกิดอุบัติเหตุ ทั้งเกรงว่าจะถูกหาเรื่องจากพวกนักเลงในวินฯ หรืออาจจะเผลอไปทำให้ใครไม่พอใจ เพราะด้วยความที่เราหน้าใหม่ หลายคนจึงคอยจับจ้องเสมือนคนแปลกหน้าเป็นธรรมดา แต่เมื่อเวลาผ่านไปได้สักพัก เริ่มจับจุดได้ เริ่มที่จะเรียนรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ต้องวางตัวยังไง หรือใครเบอร์เท่าไหร่เป็นคนแบบไหน ผมเก็บข้อมูลรายละเอียดพวกนี้ไว้หมด และเลือกที่จะวางตัวกลางๆไม่ค่อยอยากจะสุงสิงกับใครเท่าใดนัก แต่ก็พอจะมีเพื่อนที่พอจะพูดคุยกันได้บ้างน่ะนะ สิ่งเดียวที่ผมคิดถึงในช่วงแรกที่ขับวินนั้นก็คือเงิน! เงินอย่างเดียวเท่านั้นเพราะตอนนั้นหนี้สินเยอะเหลือเกิน เรียกได้ว่าเป็นบุคคลล้มละลายเลยก็ว่าได้…. เรื่องราวต่างๆมากมายที่ผ่านเข้ามาในแต่ละวันที่ผมประสบในช่วงที่ขี่วินฯนั้น มันสอนผมได้ดีเลยทีเดียว การได้คลุกคลีอยู่กับคนหาเช้ากินค่ำจริงๆทำให้ผมรับรู้และเข้าใจถึงปัญหาของชาวรากหญ้าแท้ๆว่า “เงินมันสำคัญเพียงใด” ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใช้ชีวิตที่ไม่ได้อู้ฟู่หรูหรา หรือแม้กระทั่งกระบวนการทางความคิดที่บางครั้งผมก็คิดไม่ถึงว่าพวกเค้าจะคิดแบบนั้นแบบนี้ เรื่องเล่าต่างๆจากปากของเพื่อนวินฯกันเองหรือตัวผู้โดยสารที่เราสนิทคุ้นเคยกัน ทุกสิ่งทุกอย่างนี้ทำให้การมองโลกของผมมันเปลี่ยนไปจริงๆ ก่อนที่จะไปขี่วินฯ ผมเป็นพ่อค้าตลาดนัดอยู่2ปี ตอนนั้นผมคิดนะ ว่าทำไมเงินแค่ร้อยสองร้อยพวกคนทำงานพวกนี้ถึงควักยากควักเย็นกันจังวะ? กว่าจะซื้อแต่ละที ต่อแล้วต่ออีกจะต่ออะไรกันนักหนา คือผมไม่เข้าใจไงว่าเงินหนึ่งหรือสองร้อยบาทเนี่ยมันสำคัญสำหรับบางคนขนาดไหน ถ้าไม่ได้มาอยู่ที่วินฯก็คงไม่รู้จริงๆ แต่เมื่อชีวิตผมเดินทางมาถึงจุดนี้ จุดที่สัมผัสกับสังคมต่างๆมาแล้วหลายรูปแบบ ทัศนคติที่มองโลกของผมจึงเปลี่ยนไป ผมไม่สามารถอธิบายเป็นตัวอักษรได้หรอกนะว่ามันเป็นยังไง เพียงแต่ผมสามารถประมวลสิ่งต่างๆในแต่ละเหตุการณ์ของชีวิตได้ดีขึ้น เข้าใจชีวิตมากขึ้น ใจเย็นขึ้น และที่สำคัญคือผมเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น…. เข้าใจว่าภาพลักษณ์ของความเป็นวินมอไซค์นั้นมันไม่ค่อยดีนัก ซึ่งมันก็จริงนั่นแหละ แต่เราต้องยอมรับว่าในทุกๆองค์กรและสังคมนั้นมันมีคนไม่ดีแฝงตัวอยู่ไปหมดนั่นแหละไม่ว่าจะที่ไหนก็ตามที ที่วินฯผมก็มีตั้งแต่อันธพาลเก็บเงินกู้ พวกชอบเอารัดเอาเปรียบ พวกชอบเก็บเงินเกินราคา พวกขี้โม้โอ้อวดไปวันๆ หรือแม้กระทั่งพ่อค้ายาเสพติดที่ถูกตำรวจจับไป แต่นั่นก็ยังเป็นส่วนน้อยหากเทียบกับประชากรในวินฯที่เค้ามาทำเพื่อหาเลี้ยงครอบครัวจริงๆ คนที่สุจริตในอาชีพไม่คิดเอารัดเอาเปรียบผู้โดยสาร คนที่เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดี ผมขอสดุดีคนพวกนี้ที่มีอยู่ค่อนข้างเยอะ แต่ก็ต้องบอกว่าน่าเสียดายจริงๆที่สัจธรรมของทุกสังคมนั้นจะต้องมีคนเลวปะปนอยู่ […]

Photo Diary : เทศกาลแก้ชง 2018

ขึ้นปีใหม่แบบนี้สถานที่ที่น่าไปเดินถ่ายรูปและถือว่าเป็นการเก็บบรรยากาศความเป็นคนไทยเราก็คงจะหนีไม่พ้นการไหว้แก้ชงตามวัดต่างๆ แต่คราวนี้ผมจะมานำเสนอวัดที่เค้าลือชื่อมากเรื่องไหว้แก้ชงเลยละกัน นั่นก็คือ วัด เล่งเน่ยยี่ แถวเยาวราชกันก่อนเลยละกันนะครับ ที่วัดเล่งเน่ยยี่

เรียนรู้จากพระราชพิธีพระบรมศพ โบราณราชประเพณีที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

เวลาคือหนึ่งสิ่งที่ไม่สามารถถูกหยุดเอาไว้หรือย้อนกลับไปได้ แต่เวลาสามารถถูกเก็บเอาไว้ได้ เก็บเอาไว้ด้วยรูปภาพ ข้อความ และความทรงจำ และสำหรับประเทศที่มีรากเหง้ามาช้านานอย่างประเทศไทยเรานั้น เวลาถูกรักษาเอาไว้ด้วย “ประเพณี”

วันสุดท้ายของการเข้ากราบพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ ๙

วันนั้นผมได้ไปที่สนามหลวงตั้งแต่ช่วงเที่ยงๆ เพื่อเก็บบรรยากาศวันสุดท้ายของการเข้ากราบพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ ๙ ได้เก็บบรรยากาศมาพอสมควรแต่สุดท้ายได้เลือกภาพเฉพาะช่วงตอนกลางคืนอยู่ถ่ายถึง ตีหนึ่งครึ่ง และต้องหยุดเพราะว่าแบตกล้องที่เตรียมไปหมดเกลี้ยง มือถือก็แบตหมด น่าเสียดายจริงๆ ส่วนการเล่าเรื่องในคราวนี้นี่เหตุการณ์ใน series นี้ภาพในเหตุการณ์จะมีการเรียงใหม่เพื่อให้อารมณ์ภาพเกี่ยวข้องกัน ซีรี่ส์นี้นี่ผมจะเน้นเรื่อง mood (อารมณ์) เป็นหลัก ฉะนั้นการเล่าครั้งนี้ช่วงเวลาก็อาจจะกระโดดไปมาหน่อยๆ มาลองชมกันเลย เริ่มนะครับ ช่วงนั้นระหว่างที่มีเหล่าประชาชนมาร่วมเข้ากราบพระบรมศพอยู่นั้นก็มีช่างภาพคนหนึ่งถือไฟ LED เดินไปมาพร้อมกับผู้ช่วยที่ถือ reflect สีขาวขนานใหญ่มากๆ เดินไปเดินมา ช่วงแรงก่อนหน้านี้ผมเห็นเค้าเดินไปมาตั้งแต่ช่วง ห้าโมงเย็น เหมือนพี่ช่างภาพเค้าจะตั้งใจจะมาถ่าย portrait คนที่ตั้งใจจะไปเจอในวันนั้นเฉยๆ ไปๆ มาๆ ก็มีประชาชนมาจากไหนก็ไม่รู้เดินเข้ามาต่อคิวนึกว่าเป็นช่างภาพที่จะให้ถ่ายรูปฟรี พี่ช่างภาพก็ใจดีก็ถ่ายให้ไม่กี่คน และนั่นคือเหตุการณ์ตอนเย็น พอไปๆ มาๆ ตอนช่วง สี่ทุ่ม ผมก็เห็นพี่คนนี้เดินอยู่รอบๆ สนามหลวงพร้อมผู้ช่วยคนเดิมได้กาง reflect ขนาดไหนพี่ช่างภาพก็เปิดไฟ LED ฉายไปที่ตัวคน ตั้งท่าถ่ายภาพคนที่มาในงานเลย แล้วมาอยู่ข้างรั้ววัดพระแก้วอีก คิวคนมาต่อเลยยาวมากๆ พอพี่ช่างภาพเค้าเริ่มถ่ายก็เปิดไฟ LED มาที่ตัวคน ซึ่งเงาของตัวคนก็ทอดยาวไปที่ตัว reflect ตัว reflect ก็โปร่งสามารถทะลุแสงได้ […]

ธ ทรงสถิตในดวงใจไทยนิรันดร์ – Forever in our heart

ความโศกเศร้า…เมื่อได้เกิดขึ้นแล้วเพียงไม่นานก็ย่อมเลือนลางหายไปตามกาลเวลา หากแต่ความรู้สึกประทับใจและอยากเก็บไว้ในความทรงจำจะคงอยู่ ในใจไปตราบนานเท่านาน จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผมต้องการบันทึกและถ่ายทอดเรื่องราวด้วยภาพถ่ายในอีกมุมมองหนึ่งของเหตุการณ์อันสำคัญยิ่งของประชาชนชาวไทยในครั้งนี้ เป็นมุมมองแห่งการระลึกถึง เป็นมุมมองแห่งความประทับใจ เป็นมุมมองแห่งความจงรักภักดีที่พสกนิกรชาวไทยมีต่อพระองค์ท่านอยู่เสมอและตลอดไป… แม่ค้าขายผลไม้ย่านวังบูรพาประดับดอกดาวเรืองไว้บนเสื้อ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ชาวไทยได้ปฏิบัติร่วมกันในช่วงเวลาแห่งความโศกเศร้าเสียใจนี้ อันแสดงถึงความจงรักภักดีและความอาลัยที่มีต่อพระองค์ท่าน : ดอกดาวเรือง เป็นดอกไม้ประจำพระองค์ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช   ศิลปินวาดภาพฝีมือดีท่านนี้ได้หยิบ 1 ในพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 9 มาถ่ายทอดลงบนกระดาษในรูปแบบของศิลปะการวาดลายเส้น เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ที่สนใจและผู้ที่เดินทางมาร่วมชมการซ้อมริ้วขบวนพระราชพิธีในบริเวณท้องสนามหลวง แสดงถึงความตั้งใจและความรักของศิลปินท่านนี้ที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ถึงแม้ภาพวาดจะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี แต่ก็ทำให้ผมสัมผัสถึงความสง่างามในตัวพระองค์ท่านตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้มองผลงานชิ้นนี้   พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นสิ่งหนึ่งที่ถูกพกไว้ติดตัวมอเตอร์ไซค์รับจ้างท่านนี้ตลอดเวลา เพื่อความเป็นศิริมงคลและความอาลัยที่มีต่อพระองค์ท่าน จากดวงใจที่รักยิ่งดวงนี้   ถึงแม้ว่าวันนี้ท่านได้จากประชาชนชาวไทยไปแล้ว แต่ความประทับใจที่มีต่อพระองค์ท่านของชายผู้นี้ ก็สามารถสังเกตได้จากเครื่องประดับที่มีพระบรมฉายาลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งประดับอยู่บนหน้าอกเสื้อของพนักงานรักษาความปลอดภัยท่านนี้ เป็นหน้าอกที่มีดวงใจ และเป็นดวงใจที่มอบให้พระองค์ท่านอย่างภักดีนิรันดร์   หนังสือพิมพ์ฉบับพิเศษเหล่านี้ได้ถูกนำมาจำหน่ายให้กับประชาชน ที่มาร่วมแสดงความไว้อาลัยรอบๆพื้นที่ท้องสนามหลวง ทั้งนี้ สามารถสังเกตได้จากพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในช่วงพระชนมพรรษาที่แตกต่างกันไปบนหน้าปกของหนังสือพิมพ์สำนักต่างๆ ทำให้ผมรู้สึกถึงความผูกพันที่เราชาวไทยมีต่อพระองค์ท่าน แม้ว่ากาลเวลาจะหมุนผ่านสักเท่าไหร่เราต่างก็มีช่วงเวลาที่ได้รู้จักพระองค์ท่านแตกต่างกัน แต่ถึงกระนั้นเองพระองค์ก็ยังคงสถิตย์อยู่ในห้วงความทรงจำของทุกๆ คนตราบนานเท่านาน

มองพระอัจฉริยภาพทางดนตรี ผ่านเครื่องดนตรีทรงเล่นของในหลวงรัชกาลที่ 9

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ของเราทรงเป็นคีตกวีและนักดนตรีที่ชาวโลกยกย่อง ทรงพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรีหลากหลายประเภท มาดูกันว่าเครื่องดนตรีที่พระองค์ทรงเล่นนั้นมีอะไรบ้าง และเรื่องราวความเป็นอัจฉริยะทางด้านดนตรีของพระองค์นั้นเป็นอย่างไร

Street Photography Diary – พิธีอาบน้ำทิพย์

ในระหว่างที่ผมลองเดินสำรวจเส้นทางไปตามซอกซอย หาอะไรแปลกใหม่ ดูวิถีชีวิตของผู้คน สีสันตามบ้านเรือนของคนไทยเรา ซึ่งมันมีความหลากหลายมากๆ เดินไปเรื่อยๆในซอยแถวๆถนนเจริญนคร ก็ได้มาเจอกับ โรงทานสมเด็จพระเจ้าตากสิน ที่นี่เป็นสถานที่ที่มีความน่าสนใจต่อการถ่ายสตรีทเป็นอย่างมาก ผมก็เลยเข้าไปถามว่าที่ตรงนี้คืออะไร ก็ได้ความมาว่าเป็นโรงทาน ผมก็เลยอยากจะรู้ว่าที่นี่เค้าพอจะมีงานอะไรเร็วๆ นี้รึเปล่า…สรุปว่ามี เป็นงาน พิธีอาบน้ำทิพย์ ผมก็เลยขออนุญาตขอเข้าไปถ่ายรูปในวันและเวลาที่เค้าบอกมา ก็ได้คำตอบว่า “ได้” ผมเลยนับวันรอเลยจนได้มาถึงวันที่งานพิธีเริ่ม ตัวผมเองก็ไม่เคยมางานแบบนี้ ไม่ทราบว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง พอถึงวันและเวลาที่เค้าบอก ผู้คนก็มาจากไหนก็ไม่รู้ มากมายจนสถานที่ตรงนั้นแน่นไปหมด เจ้าของสถานที่ (ผมขอเรียกว่า คุณแม่ นะครับ) ก่อนที่จะเริ่มพิธีการ คุณแม่ก็เริ่มแกะกระป๋องนมตราหมีเทใส่อ่างน้ำสีแดงขนาดใหญ่ทีละกระป๋อง พอนมกับน้ำมันเริ่มผสมกันผมก็เห็นว่า ในน้ำนั้นมันน่าสนใจดี ก็กดถ่ายไปเรื่อยๆ พอสักพัก คุณแม่จุดเทียนกำใหญ่ แล้วค่อยเอาน้ำตาเทียนหยดลงไปบนน้ำที่ผสมนมนั้น น้ำนั้นก็ยิ่งมี texture เพิ่มเข้าไปอีก ยิ่งดูน่าสนใจเข้าไปใหญ่ ช่วงนี้ผู้คนก็ต่างนั่งพนมมือกันหมด มาถึงตอนนี้ผมก็คาดว่าพิธีการเริ่มต้นขึ้นแล้ว พอ คุณแม่ พูดว่า “จะลงก็ลงมาได้แล้ว” ก็มีคนเกิดอาการสั่น ตัวเกร็ง เปร่งเสียง โหยหวนกันมา หรือถ้าเรียกตามเค้าก็เรียกว่า องค์ลง นี่เป็นครั้งแรกที่ผมได้เจอเหตุการณ์แบบนี้ เมื่อไหร่ที่แต่ละคนมีองค์ลงมาก็จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป มือไม้ ท่าทาง […]

1 3 4 5 6 7

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.