บ้านบ่อแก้ว 12 ปีของมหากาพย์การต่อสู้ที่ ‘คนใน’ ถูกผลักไปเป็น ‘คนนอก’

บรรยากาศเงียบสงัด อากาศเย็นเยือกหลังฝนตก เราลืมตาขึ้นมาแต่เช้ามืดในที่พักใกล้ตัวเมืองขอนแก่น วันนี้เรามีภารกิจเดินทางไปที่ ‘ชุมชนบ้านบ่อแก้ว’ ตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เพื่อพูดคุยกับชาวบ้านเรื่องข้อพิพาทระหว่างชุมชนบ้านบ่อแก้วกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) เมื่อสิ้นเสียงเครื่องยนต์เป็นสัญญาณบอกว่าถึงที่หมายแล้ว นั่นเป็นเวลาก่อนเที่ยงหน่อยๆ ท้องฟ้าเริ่มมีแดดส่องผ่านรำไรราวกับเปิดประตูต้อนรับ นับตั้งแต่ขาสองข้างเหยียบลงบนพื้นที่ชุมชนบ้านบ่อแก้ว เจ้าบ้านก็ออกมาต้อนรับด้วยน้ำเย็นๆ และผลไม้ให้เติมความสดชื่นหลังจากนั่งเปื่อยบนรถตู้มาราวสองชั่วโมง เรามีเวลาอยู่ที่นี่เพียงครึ่งค่อนวันเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่เกิด และเก็บเรื่องราวมาฝากให้คุณได้อ่าน มหากาพย์การต่อสู้เริ่มขึ้นเมื่อปี 2516 รัฐบาลประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าภูซำผักหนาม ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทำกินของชาวบ้านในบ้านบ่อแก้ว ต่อมาปี 2521 กรมป่าไม้ให้สัมปทานเนื้อที่ 4,401 ไร่กับ อ.อ.ป. เข้าทำสวนป่าคอนสาร สำหรับปลูกไม้เศรษฐกิจ นำมาสู่การพยายามผลักชาวบ้านออกจากพื้นที่ด้วยข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่า ทั้งถูกตอกย้ำด้วย ‘ยุทธการทวงคืนผืนป่า’ ในแผนแม่บทป่าไม้ ภายใต้คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ซึ่งพยายามรื้อที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน ทว่าการผลักคนในออกจากพื้นที่ทำให้ที่นั่นสมบูรณ์ขึ้นจริงหรือ ยิ่งเป็นคนที่เรียกว่ารู้จักพื้นที่ดีกว่าใครยิ่งต้องละเอียดอ่อนต่อการทำความเข้าใจมิใช่หรือ การโดนผลักออก ขับไล่ ต่อสู้ สูญเสีย โดนพิพากษาว่าบุกรุกพื้นที่ทำกินของตนเอง สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับชาวบ้านบ่อแก้วอย่างขาดความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ มองเห็นคุณค่าวิถีชีวิตน้อยกว่าเอกสารทางราชการ การแก้ปัญหาอย่างไม่ยุติธรรมและใช้กฎเกณฑ์ที่พวกเขาไม่ได้มีส่วนร่วม ชาวบ้านจึงตั้งชุมชนบ้านบ่อแก้วขึ้นมาในปี 2552 เพื่อกดดันและพิสูจน์ให้เห็นว่า พวกเขาสามารถอยู่กับพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนมากกว่าการสัมปทานป่าเพื่อปลูกยูคาลิปตัส ยาวนานกว่า 12 ปี ที่ชาวบ้านตั้งชุมชนบ้านบ่อแก้วเพื่อต่อสู้เรียกร้อง และเมื่อวันที่ […]

Man & Art แปลงโฉม ‘มนุษย์’ เป็นงานศิลปะระดับโลก! ด้วยฝีมือ นศ. มหาวิทยาลัยศิลปากร

เปลี่ยนภาพจำการเรียนทฤษฎีในห้องเรียน ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมกับ ‘ศิลปะ’ มากยิ่งขึ้น เพราะมนุษย์กับศิลปะเป็นของคู่กัน!  เมื่อนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขานิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ลุกขึ้นมาเลียนแบบ ‘ภาพศิลปะ’ โดยใช้ร่างกายของตัวเองเป็นแคนวาส บรรจงแต่งองค์ทรงเครื่อง มาประชันความครีเอทีฟผ่านโปรเจกต์ ‘ภาพถ่ายที่ได้แรงบันดาลใจจากผลงานศิลปะ’ ในรายวิชา ‘มนุษย์กับศิลปะ’ (Man & Art)  นอกจากจะให้นักศึกษาได้ระเบิดความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการแล้ว ยังให้ความสนุกกับการเรียนศิลปะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว! เรามาส่องไอเดียเจ๋งๆ ของเด็กรุ่นใหม่ไปพร้อมกันเลยดีกว่า ต้นฉบับ : The Fortune Teller โดย Frederic Bazilleชื่อผลงาน : “Fortune Uno” โดย ชลดา ผาติเสถียร ต้นฉบับ : Girl Running with Wet Canvas โดย Norman Rockwell ชื่อผลงาน : “Girl running to class with […]

Form KHONWAN ภาพถ่ายวัดนครสวรรค์ที่ทลายกรอบสีประจำวัด ว่าเป็นอะไรก็ได้ ไม่ใช่แค่ทอง

วัด ที่คุ้นเคยกันมักประกอบด้วยสีทอง เงิน ขาว ส้มอมแดง แต่สีสันของวัดในครั้งนี้ถูกทลายกรอบให้จางลง เมื่อได้เริ่มเก็บภาพถ่ายชุด Form KHONWAN เพื่อนำเสนอภาพความงดงามทางสถาปัตยกรรมของ ‘วัด’ ในจังหวัดนครสวรรค์บ้านเกิด ด้วยความชื่นชอบส่วนตัวด้านการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม จึงนำสิ่งนี้มาสร้างสรรค์เป็นผลงาน พร้อมทั้งเรียนรู้ความแตกต่างของเอกลักษณ์ที่สะท้อนผ่านการออกแบบไปในตัว โดยในแต่ละภาพแสดงออกถึงสีสันที่แตกต่างรวมถึงความคิดในสถาปัตยกรรมใหม่ๆ ความพยายามที่จะหลุดออกจากระเบียบแบบแผนดั้งเดิมเพื่อสร้างเอกลักษณ์ ราวกับเป็นการผลิใบและงอกงามครั้งใหม่ของสถาปัตยกรรมอยู่เสมอ “ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับเวลา” ภาพชุดนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เป็นเพียงแค่ปัจจัยภายนอกเท่านั้น ทว่าสิ่งเหล่านั้นยังคงแทรกไปด้วยความศรัทธาที่ปรากฏให้เห็นผ่านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ติดตามผลงานเพิ่มเติมได้ที่ : @Formthailand

VICMON นักวาดปกนิยาย 300 เล่มแห่ง สนพ.แจ่มใส กับปากกาด้ามใหม่ในฐานะนักเขียนการ์ตูน

ความทรงจำวัยเด็กของใครหลายคน เติบโตมาพร้อมกับแผงหนังสือนิยายรักวัยรุ่น ปกการ์ตูนที่วางเรียงรายอยู่เต็มชั้น เพื่อรอคอยให้นักอ่านวัยใสช้อปลงตะกร้า ภาพความสวย ความหล่อ และความเท่ของตัวละครน่าหยิบจับไม่แพ้กับเนื้อหาในเล่ม จนหลายคนเป็นแฟนตัวยงของนักวาดไปโดยปริยาย หนึ่งในนักวาดปกนิยายที่ตราตรึงใจเหล่านักอ่านคือ ‘VICMON’ (วิกมน) หรือ มน-เพียงพิชญ์ ศาสตร์ศศิ นักวาดภาพปกนิยายแจ่มใสมากกว่า 300 เล่ม ผู้ฝากลายเส้นบนนิยายรักวัยรุ่นจนกลายเป็นยุคทองของ ‘นิยายแจ่มใส’  ถึงเวลาชวนเธอมาพูดคุยถึงเบื้องหลังงานปก และการกระโดดเข้าสู่สนามแห่งใหม่ในอาชีพ ‘นักเขียนการ์ตูน’ ที่ถูกแปลให้อ่าน 3 ภาษาใน 3 ประเทศ วาดภาพบนคอมฯ ด้วยเมาส์หนู บันไดขั้นแรกของวิกมน คงคล้ายกับศิลปินทั่วไปที่ชื่นชอบการวาดภาพ หลงใหลการอ่านการ์ตูน แถมยังมีไอดอลเป็น อาจารย์ทาเคชิ โอบาตะ-นักวาดการ์ตูนเดธโน้ต อาจารย์นาโอกิ คุโรซาวา-นักวาด Monster และ 20th Century Boys และ โนบุฮิโระ วาสึกิ-นักวาดซามูไรพเนจร เมื่อเสพลายเส้นของชั้นเซียนได้สักพัก เธอเริ่มจับดินสอวาดการ์ตูนไว้อ่านเอง จนกระทั่งเพื่อนชักชวนให้ลองปล่อยของในเว็บบอร์ด นั่นเป็นครั้งแรกที่วิกมนได้รู้จักโลกของ ‘คอมพิวเตอร์กราฟิก’ “ตอนนั้นเราอยู่ ม.3 เพิ่งเรียนรู้ว่ามีสิ่งที่เรียกว่า Computer Graphic […]

Xspace แกลเลอรีศิลปะในโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ ที่เชื่อว่าความสร้างสรรค์พัฒนาคนและเมืองได้

หากมีคนโยนโจทย์มาให้หาจุดตัด ฉันจะนึกถึงแกน X แกน Y ในวิชาคณิตศาสตร์สมัยเรียนมัธยมฯ แต่โจทย์ครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งไหนๆ เพราะสองตัวแปรที่ว่าไม่ใช่ตัวเลข แต่เป็น ‘ศิลปะ’ กับ ‘ดีไซน์’ ที่มาบรรจบกันเป็นจุดตัดบนพื้นที่สร้างสรรค์อย่าง Xspace

สำรวจร่างกายผ่านศิลปะที่เกิดจากการเฝ้ามองรอยเย็บแผลของ Visual Artist ‘อลิสา ฉุนเชื้อ’

เคยสังเกตไหม ว่าดวงตาของเราสีอะไรเคยสังเกตไหม ว่าไฝบนตัวเรามีตรงไหนบ้างเคยสังเกตไหม ว่าความเครียดทำให้หน้าตาไม่สดใสหรือเปล่าเคยสังเกตไหม ว่าเรากัดเล็บทุกครั้งเวลาเจอภาวะกดดัน จะมีสักกี่ครั้งในชีวิตของเรา ที่หันมาสังเกตร่างกายตัวเองอย่างจริงจัง รอยแผลเป็น สภาพจิตใจ หรือบริบทรอบกายเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่ง ‘นุ้ย-อลิสา ฉุนเชื้อ’ Visual Artist ผู้สำรวจร่างกายและเบื้องลึกจิตใจของตัวเอง นำมาตีความใหม่ แล้วบอกเล่าผ่านศิลปะ โดยที่เราไม่ต้องอยู่ในเหตุการณ์ชีวิตของเธอก็เข้าใจได้ ฉันยืนมองโปรเจกต์ The Resonance ผลงานชิ้นล่าสุดของอลิสา ปรากฏลายเส้นที่วาดซ้ำกันไปมาอย่างเป็นระบบระเบียบบนกระดาษขนาด A3 ซึ่งถูกแขวนบนฝาผนังของแกลเลอรี SAC Gallery อ่านคำโปรยทำให้รู้ว่า งานชุดนี้ล้วนได้แรงบันดาลใจมาจาก ‘รอยเย็บแผล’ บนร่างกายของผู้ป่วยใกล้ตัว ซึ่งปลุกความสนใจของฉันต่อศิลปินอยู่ไม่น้อย จึงไม่รีรอที่จะต่อสายตรงถึงอลิสาเพื่อทำความรู้จักมุมมองของศิลปินให้ลึกซึ้งกว่าก่อน อลิสา คือศิลปินที่สมุดสเก็ตช์เต็มไปด้วย Mind Mapping วินาทีที่ฉันดูสมุดสเก็ตช์ของอลิสากลับต้องแปลกใจ เพราะสมุดของเธอเต็มไปด้วยร่องรอยขีดเขียน Mind Mapping ประโยค และคีย์เวิร์ดสั้นๆ ทั่วหน้ากระดาษ หลังจากอลิสาเปิดสมุดของเธอให้ฉันดู เธอก็หลุดขำถึงความย้อนแย้งในอาชีพศิลปินของตัวเอง “เราทำ Mind Mapping เพื่อขุดเบื้องลึกจิตใจของตัวเองออกมา มันเริ่มจากตอนทำธีสิส อาจารย์ที่ปรึกษาเขาให้เขียนสิ่งที่อยู่ในหัว เพราะการเขียนคือการเรียบเรียงความคิด ไม่จำเป็นต้องเป็นคำ […]

ขยะ ‘ท่วม’ เมือง เพราะคนคือตัวร้ายไม่ใช่พลาสติก

วายร้ายแห่งวงการสิ่งแวดล้อมคงหนีไม่พ้น ‘พลาสติก’ ที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นบอสใหญ่กำจัดยาก รวมถึงมีข้อครหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพลาสติกทำให้โลกร้อน เต่าตาย ไปจนถึงเป็นตัวการเพิ่มมลพิษในอากาศ จนสงสัยว่า ‘แล้วพลาสติกคือตัวร้ายจริงหรือเปล่า’

‘JOY OF GIVING’ ส่งกำลังใจผ่านงานศิลปะ

ศิลปะคือสิ่งดีๆ ที่หมุนอยู่รอบตัวเรา ซึ่งพร้อมจะช่วยเยียวยาจิตใจที่ห่อเหี่ยวและให้กำลังใจในวันที่อ่อนล้าได้เสมอ หนนี้งานอาร์ตจะช่วยให้ทุกคนผ่านเวลายากลำบากไปกับผลงานของ GONGKAN, SUNTUR และ P7 ผ่านกิจกรรม ‘JOY OF GIVING ส่งใจให้เธอ’ ที่เหล่าศิลปินออกแบบความหมายของ ‘การให้’ ออกมาเป็นเสื้อยืด 3 ลาย ที่ล้วนแต่มีสไตล์เป็นของตัวเองชนิดที่มองปราดเดียวก็รู้ว่าเป็นผลงานของใคร ขอชวนทุกคนไปดูเบื้องหลังการออกแบบ ที่เปลี่ยนผลงานศิลปะเป็นแรงใจให้กับทุกคน ผ่านแนวคิดของ 3 ศิลปินรุ่นใหม่ที่น่าจับตามองที่สุดของไทยในช่วงนี้ Love Power เบื้องหลังพลังแห่งรัก พลังแห่งความรักยิ่งใหญ่เสมอ Gongkan-กันตภณ เมธีกุล ศิลปินที่สร้างงานด้วยลายเส้นสุดเรียบง่าย แต่แฝงอะไรไว้ให้ผู้ชมได้คิดตาม ผ่านเอกลักษณ์หลุมดำทะลุมิติ หนนี้มากับผลงานออกแบบชื่อ ‘Love Power’ ที่ตีความคำว่ารักได้อย่างน่าสนใจ โดยมองว่าการให้ความรักหรือส่งต่อความหวังดี ก็เปรียบเสมือนพลังที่เปลี่ยนความเศร้าให้กลายเป็นพลังแห่งความสุขนั่นเอง GIVE AND TAKE ชีวิตกับการเดินทาง ศิลปินนักวาดภาพประกอบที่โดดเด่นที่สุดคนหนึ่งของไทยกับ SUNTUR-ยศนันท์ วุฒิกรสมบัติกุล ที่เปรียบว่าการใช้ชีวิตร่วมกันก็เหมือนกับการเดินทางกับผลงานที่ชื่อว่า ‘Give and Take’ ที่มองว่าหากคนเราจะอยู่ด้วยกันไปได้ตลอดรอดฝั่ง ก็ต้องมีทั้งการรับและการให้ มีทั้งการแบ่งปันและช่วยเหลือ โดยตีความออกมาเป็นกราฟิกสุดมินิมอล ของภาพเรือสีขาวที่มีผู้โดยสารเป็นคนกับน้องหมา […]

ลายปักดอกไม้ถึงดวงดาวที่อยากลบวาทกรรม อิสลาม = ความรุนแรง ของมาเรียม

‘มาเรียม-ธิดารัตน์ จันทเชื้อ’ ศิลปินหญิงมุสลิม ผู้ทำให้ฉันเข้าใจความเป็น ‘เอกภาพ’ มากกว่าที่เคยด้วยงานศิลปะของเธอ ซึ่งบรรจงเย็บปักถักร้อยอย่างประณีต และใช้ลวดลายตั้งแต่ดอกไม้ ไปจนถึงดวงดาว เพื่อถ่ายทอด ‘ศาสนาอิสลาม’ ให้คนทุกศาสนาเข้าใจ

Give.me.museums ฝีแปรงสีฉูดฉาดบนสารพัดของกุ๊กกิ๊กที่อยากสร้างพื้นที่ศิลปะให้ทุกคน

ยินดีต้อนรับสู่ ‘Give.me.museums’ พิพิธภัณฑ์สารพัดของกุ๊กกิ๊กที่อยากขาย ‘ศิลปะ’ บนของ ‘กระจุกกระจิก’ ไม่ว่าจะเป็นเคสโทรศัพท์ กระเป๋าสะพาย กระจกส่องหน้า หรือโปสต์การ์ดที่ระลึก โดยมี ‘ออย-คนธรัตน์ เตชะไตร’ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังแบรนด์ ที่พกความตั้งใจมาอย่างเอ่อล้นว่า อยากเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ที่ช่วยขับเคลื่อนวงการศิลป์ด้วยสารพัดของกุ๊กกิ๊ก เพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงศิลปะให้เหลือ ‘กระจึ๋ง’ เดียว

สามล้อถีบ นนทบุรี สองขาปั่น สามล้อหมุน

สามล้อถีบ นนทบุรี ยังคงขับเคลื่อนอย่างเนิบช้าท่ามกลางความรีบเร่ง… ในวันที่ทุกอย่างถูกขับเคลื่อนด้วยความเร่งรีบ เราทุกคนต่างแข่งขันกับเวลาที่เดินไปอย่างไม่รีรอ แต่ท่ามกลางความรีบเร่งยังมี สามล้อถีบ ที่ถูกปั่นด้วยแรงขาสองข้างอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งดูสวนทางกับโลกปัจจุบัน สามล้อถีบนั้นวิ่งอยู่รอบย่านท่าน้ำนนท์ นนทบุรี เราเองที่เคยผ่านแถวนี้บ่อยๆ ยังไม่เคยได้ลองนั่ง วันนี้มีโอกาสจึงลองโบกเรียกสามล้อถีบสักคัน ไม่นานก็มีสามล้อถีบปั่นมาอย่างรวดเร็วพร้อมกับคำทักทายว่า  “ไปไหนครับ”“ไปท่าน้ำค่ะ”“ขึ้นมาได้เลยครับ” บทสนทนาเริ่มต้นสั้นๆ ที่ทำให้เราได้พูดคุยอย่างออกรสต่อกับ ลุงต้อย นักปั่นสุดเก๋าแห่งท่าน้ำนนท์ เสียงโซ่ที่ถูกปั่นเพื่อหมุนวงล้อดังให้ได้ยินเป็นระยะเมื่อขึ้นมานั่งบนสามล้อถีบ ลมเย็นๆ พัดเข้าหา ภาพบรรยากาศรอบท่าน้ำนนท์เต็มไปด้วยรถรา ผู้คน และวิถีชีวิตผ่านสายตาในมุมใหม่บนสามล้อถีบ นั่งไปสักพัก ก็ถึงเวลาสานต่อบทสนทนากับลุงต้อยที่กำลังออกแรงขาพาเราไปยังจุดหมาย ภาพข้างหลังของลุงต้อยที่งุ้มงอตามวัย ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า เขาขี่สามล้อถีบมานานแค่ไหนแล้ว “ลุงเริ่มขี่สามล้อถีบตั้งแต่อายุ 18 นู่น ตอนนี้ก็ร่วม 40 กว่าปีแล้ว แถวท่าน้ำนนท์ นนทบุรีลุงขี่มานานสุด เพราะเป็นคนพื้นที่ คันอื่นส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนอีสานที่มาหางานทำ ขี่ได้ปีกว่าก็กลับบ้าน แต่ลุงขี่ทุกวันไม่เคยหยุด เพราะลูกค้าประจำลุงจะเยอะหน่อย” ลุงต้อยเล่าให้ฟังต่อว่า ลูกค้าประจำส่วนมากเป็นคนละแวกท่าน้ำนนท์ที่มาจับจ่ายซื้อของในตลาด เมื่อได้ของที่ต้องการก็จะเรียกใช้บริการสามล้อถีบของลุงต้อยให้พากลับบ้าน สำหรับค่าบริการนั่งสามล้อถีบ ลุงต้อยบอกด้วยน้ำเสียงใจดีว่า ค่าโดยสารคิดเริ่มต้นตั้งแต่ 20 บาท ก่อนจะปรับตามระยะทาง ซึ่งลุงต้อยเคยปั่นไปส่งไกลที่สุดคือ บิ๊กซี […]

Frozen Flowers คืนสีสันของฮอกไกโด ให้เบ่งบานกลางทุ่งหิมะ

หากคุณเคยเห็นช่อดอกไม้ลอยเคว้งท่ามกลางห้วงอวกาศจากโปรเจกต์ ‘Exobiotanica’ หรือช่อดอกไม้ที่ถูกส่งไปยังก้นบึ้งมหาสมุทรในความลึก 1,000 เมตรจากโปรเจกต์ ‘Sephirothic Flower’ คุณจะรับรู้ได้ถึงลีลาการจัดดอกไม้อันโดดเด่นของ ‘Azuma Makoto’ ศิลปินชาวญี่ปุ่น ผู้เปลี่ยนภาพจำของดอกไม้ที่มีไว้ทำ ‘พร็อป’ มาเป็น ‘ศิลปะ’ ที่เปล่งประกายได้ด้วยตัวของมันเอง

1 2 3 7

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.