ชีวิตนายน้อยชิเอล ‘Black Butler’ จะเป็นอย่างไร ถ้าโรงเรียนเวสตันตั้งอยู่ในประเทศไทย

สืบคดีบนเรือสำราญคัมปาเนียจบไปได้ไม่นาน ‘ชิเอล แฟนทอมไฮฟ์’ และ ‘เซบาสเตียน’ พ่อบ้านปีศาจของเขาก็ต้องวุ่นอีกครั้ง  หลังมีจดหมายจากองค์ราชินีให้เข้าไปช่วยสืบคดีเด็กนักเรียนหายตัวไปในโรงเรียนประจำชั้นนำที่มีชื่อเสียงของประเทศอังกฤษอย่าง ‘โรงเรียนเวสตัน’ ที่ยึดถือขนบธรรมเนียมอย่างเคร่งครัด จนแอบนึกเปรียบเทียบไม่ได้ว่า จริงๆ แล้วโรงเรียนในประเทศไทยเองก็มีความคล้ายคลึงกันกับโรงเรียนเวสตันในการ์ตูนเรื่อง Black Butler อยู่ไม่น้อย ทั้งเรื่องกฎระเบียบและขนบธรรมเนียมที่ยึดถือกันมา งั้นถ้าเกิดว่าโรงเรียนเวสตันที่ว่าตั้งอยู่ในประเทศไทย ชีวิตนายน้อยชิเอลกับเซบาสเตียนในรั้วโรงเรียนจะเป็นอย่างไร และจะสืบคดีได้ไหม ‘ไปอ่านกันเลย เซบาสเตียน’‘เยส มายลอร์ด’ กฎโรงเรียนของเราน่าอยู่? ความน่าอยู่ของแต่ละโรงเรียนอาจขึ้นอยู่กับความคิดเห็นส่วนตัวของแต่ละคน แต่เรื่อง ‘บ้ากฎ’ เนี่ยก็ต้องบอกว่าประเทศไทยไม่เคยน้อยหน้าใคร เพราะจากกฎข้อ 48 ของโรงเรียนเวสตันเดิมที่กำหนดไว้ว่า ‘คนที่จะเดินลัดสนามหญ้าได้มีแต่พรีเฟกต์และคนที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น’ ก็ดูไม่แปลกประหลาดเท่าไหร่นักเมื่อเทียบกับประเทศไทยที่มีกฎข้อห้ามและข้อบังคับจำนวนมากที่อาจแปลกประหลาดไม่ต่างกัน ทั้งบังคับใส่เครื่องแต่งกายตามเพศสภาพ ไม่ใช่เพศวิถี บังคับตัดผมสั้นรองทรง ย้อมผมสีดำทั้งที่บางคนพื้นผมธรรมชาติเป็นสีน้ำตาล หรือจะกฎประหลาดๆ อย่างต้องใส่ถุงเท้าพื้นขาว ยืนเข้าแถวกลางแดด ไปจนถึงห้ามใช้กระเป๋าจากนอกโรงเรียนและอื่นๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วน ส่วนชิเอลที่ต้องมาสืบคดีในโรงเรียนนี้ก็คงไม่มีเวลาปลีกตัวไปทำภารกิจ เพราะต้องมาเข้าแถวตรวจระเบียบทุกเช้า เช็กชื่อในห้องทุกวิชา แถมยังต้องมาปวดหัวกับกฎแปลกๆ อีก กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ พูดถึงกีฬา ‘คริกเก็ต’ ในเรื่อง หลายคนอาจไม่ค่อยคุ้นหู เพราะประเทศไทยเรานิยมแข่ง ‘กีฬาสี’ […]

กางสถิติจำนวนรถยนต์ในกรุงเทพฯ​ เมืองที่มีรถมากกว่าคนแบบเท่าตัว

นอกจากวัด วัง แม่น้ำเจ้าพระยาที่เปี่ยมด้วยชีวิตชีวา และสตรีทฟู้ดอันยั่วน้ำลาย อีกสิ่งอย่างที่คนนึกถึงเมื่อพูดถึงกรุงเทพฯ ก็คือ ท้องถนนที่หนาแน่นแออัดไปด้วยรถยนต์แบบสุดลูกหูลูกตา เนื่องจากกรุงเทพฯ ขาดการพัฒนาเมืองอย่างเป็นแบบแผน เมืองเต็มไปด้วยซอยตันลึกแคบ ซึ่งกว่าจะเดินด้วยเท้าไปถึงขนส่งมวลชนสาธารณะได้ก็แสนจะยากเย็น แถมเมืองไม่ได้ออกแบบให้เป็นมิตรกับคนเดินเท้าอีก ผู้คนเลยกรูไปใช้รถยนต์ในการเดินทางกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ใน พ.ศ. 2565 เว็บไซต์ INRIX วิเคราะห์ว่า คนกรุงเทพฯ หนึ่งคนเสียเวลาเดินทางบนท้องถนนเฉลี่ยมากถึง 67 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 2 ของเอเชีย น่าสนใจเหมือนกันว่า จริงๆ แล้วกรุงเทพฯ มีรถเยอะจริงไหม แล้วบรรดารถยนต์ที่เบียดเสียดในกรุงเทพฯ เป็นรถยนต์แบบไหนบ้าง คอลัมน์ City by Numbers ครั้งนี้เลยขอเอาข้อมูลรถยนต์จดทะเบียนสะสมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566 จากกลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก มากางให้หายสงสัย กรุงเทพฯ รถเยอะกว่าคน จากสถิติจำนวนรถจดทะเบียนสะสมในกรุงเทพมหานคร วันที่ 31 ธันวาคม ปี 2566 พบว่า กรุงเทพฯ มีจำนวนรถจดทะเบียนทั้งหมด 11,791,220 […]

Cooling Station สถานีรับความเย็นคลายความร้อน ให้คนเมืองได้แวะพักระหว่างทาง

อากาศร้อนจนแทบจะละลาย เดินไปไหนก็ร้อนทุกช่วงถนน แม้ว่าบางที่จะมีร่มไม้หรือหลังคาให้พอหลบแดดได้บ้าง แต่ไอความร้อนที่พัดมากับลมนั้นก็ยังทำให้ไม่สบายตัว จนอาจเดินต่อไปไม่ไหวและอาจเสี่ยงต่อการเกิดฮีตสโตรกได้ คอลัมน์ Urban Sketch ลองออกแบบ Cooling Station ที่คอยเปิดรับให้ชาวเมืองได้หลบร้อนระหว่างเดินทาง นอกจากจะเป็นที่พักเหนื่อยจากแดดและอุณหภูมิที่สูงทะลุ 40 องศาเซลเซียสแล้ว ยังมีตัวช่วยดับร้อนแบบพื้นฐานให้บริการอีกด้วย ที่พักแบบถอดประกอบได้ Cooling Station แห่งนี้ออกแบบมาในลักษณะของที่พักที่มีหลังคาช่วยบังแดด และที่นั่งพักให้คนที่เดินกลางแดดมาแวะหลบร่ม โดยตัวสเตชันสามารถถอดชิ้นส่วนประกอบได้ เพื่อขยายพื้นที่ในการรองรับคนที่เข้าใช้พื้นที่นี้พร้อมกันหลายคน โดยไม่ต้องกลัวว่าจะแออัดจนทำให้ร้อนกว่าเดิม อีกทั้งยังเคลื่อนย้ายนำไปตั้งประจำการที่ไหนก็ได้ เหมาะกับเส้นทางเดินยาวๆ หรือพื้นที่โล่งกว้างที่ไม่มีพื้นที่หลบร่ม อากาศถ่ายเทด้วยผนังโปร่ง แม้ว่าตัวขนาดพื้นที่จะขยายให้กว้างได้ตามต้องการ แต่ถ้าภายในสเตชันปิดมิดชิดจนเกินไปก็อาจทำให้อากาศยิ่งร้อนกว่าเดิม ดังนั้นสถานีพักร้อนของเราจึงออกแบบให้ผนังมีลักษณะโปร่งโล่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทจากด้านนอกไหลเวียนเข้าสู่ด้านใน ทำให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการไม่ต้องแย่งอากาศกันภายในพื้นที่นี้ มีอุปกรณ์คลายร้อนให้พร้อม และด้วยความที่เป็นสถานีหลบร้อน ภายในจึงต้องมีเครื่องปรับอากาศที่จะช่วยคลายความร้อน เพิ่มความเย็นสบายจากการเผชิญกับแดดจ้าด้านนอก รวมไปถึงมีการติดตั้งตู้น้ำฟรีที่ผู้ใช้งานจะกดน้ำเย็นๆ ดื่มให้ชื่นใจ หรือกรอกใส่กระบอกน้ำหรือขวดน้ำเพื่อพกพาไปดื่มดับร้อนหลังจากออกจากสถานีก็ได้เหมือนกัน ใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ ส่วนพลังงานที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกในสถานีพักร้อนแห่งนี้ก็ล้วนแล้วแต่เป็นพลังงานสะอาดที่ได้จากแดดแรงๆ ของประเทศไทย ผ่านการติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาของที่พัก เพียงเท่านี้ ทั้งเครื่องปรับอากาศและตู้กดน้ำก็ทำงานได้อย่างเต็มที่ตลอดทั้งวัน ตู้กดสินค้าดับร้อน หลังจากนั่งพักจนหายร้อนพร้อมออกเดินทางต่อ ก็ไม่ต้องกลัวว่าระหว่างทางจะเจอความร้อนจนทนไม่ไหว เพราะสถานีพักร้อนของเรามีตู้กดสินค้าอัตโนมัติจำหน่ายสินค้าดับร้อนสำหรับพกพาระหว่างทาง ไม่ว่าจะเป็นพัด พัดลมจิ๋ว ยาดม ผ้าเย็น […]

สำรวจเหตุผล ทำไมหลายประเทศถึงใช้ธุรกิจทางศาสนาพัฒนาเมืองได้

ศาสนาและความเชื่อเหนือธรรมชาติกำเนิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์ตั้งแต่ยุคหิน จากความเกรงกลัวในธรรมชาติ สู่การกำเนิดเทพเจ้า ไปจนถึงหนทางของการดับทุกข์ เราจึงไม่สามารถปฏิเสธถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของมนุษย์และศาสนาที่ฝังรากลึกในตัวเรา นั่นทำให้คุณค่าของศาสนาไม่อาจประเมินเป็นตัวเลขได้ เพราะผู้คนที่ศรัทธายอมจ่ายทุกสิ่งอย่างแม้กระทั่งชีวิตตนเองเพื่อเป้าประสงค์ที่ต้องการ แน่นอนว่าเรื่องเงินทองเป็นเพียงเรื่องขี้ปะติ๋ว หากเทียบกับการได้พบกับพระเจ้าหรือขึ้นสวรรค์ ความศักดิ์สิทธิ์จึงกลายเป็นสินค้าที่มีมูลค่ามหาศาลแต่ต้นทุนน้อยนิด สร้างโมเดลธุรกิจอันเก่าแก่ที่มีมานานกว่าพันปี ตั้งแต่มนุษย์กำหนดให้ทองและเงินเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้า เมืองต่างๆ ทั่วโลกก็เริ่มอ้างถึงความศักดิ์สิทธิ์และนำมาเป็นจุดขายของเมือง ทั้งการเป็นจุดหมายปลายทางของเหล่านักแสวงบุญจากทั่วโลก ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากสถาปัตยกรรมทางศาสนาที่สวยงาม การขายของฝากที่เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเป็นพื้นที่สำหรับความหวังในการขอพร ทำให้ไม่แปลกที่เหล่าองค์กรทางศาสนาทั่วโลกจะมีฐานะร่ำรวยเป็นพิเศษ จวบจนปัจจุบัน ศาสนายังคงมีอิทธิพลในระบบเศรษฐกิจโดยเฉพาะในระบอบทุนนิยม หลายเมืองมีการพัฒนาจัดการธุรกิจศาสนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการป้องกันการทุจริตที่จริงจัง คอลัมน์ Curiocity ขอพาไปสำรวจถึงความเป็นมาของการเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ การสร้างแบรนดิ้งด้านความเชื่อในเมืองเล็ก และการบริหารจัดการกับธุรกิจแห่งความศรัทธาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากตัวอย่างของเมืองแห่งศาสนาจากทั่วทุกมุมโลก นครศักดิ์สิทธิ์ จุดเริ่มต้นของธุรกิจศาสนา สถานที่ที่เกิดเหตุการณ์สำคัญทางศาสนามักมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษ เหมาะแก่การตามรอยแสวงบุญหรือเข้าร่วมพิธีในศาสนานั้นๆ ผู้คนมากมายจึงต่างหลั่งไหลเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมืองเหล่านั้นโดยไม่รู้ตัว ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดคงหนีไม่พ้นกลุ่มศาสนาที่มีความนิยมและทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกอย่างกลุ่มศาสนาตระกูลอับราฮัม (Abrahamic Religions) นั่นก็คือ ศาสนาคริสต์ อิสลาม และยูดาห์ ที่ทั้งสามศาสนามีความเชื่อถึงต้นกำเนิดของศาสนาตนว่า มาจากชายนามอับราฮัมที่ได้รับสารจากพระผู้เป็นเจ้าและออกเดินทางอพยพไปยังดินแดนคานาอัน (Canaan) ซึ่งต่อมากลายเป็นดินแดนแห่งพันธสัญญานาม ‘อิสราเอล’ (Israel) และศูนย์กลางของอาณาจักรคือนครศักดิ์สิทธิ์ ‘เยรูซาเลม’ (Jerusalem) ภายใต้ดินแดนแห่งพันธสัญญา ได้เกิดเรื่องราวสำคัญทางศาสนามากมาย ส่งผลให้สถานที่ต่างๆ ในเมืองเยรูซาเลมกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของทั้งสามศาสนา โดยเฉพาะชาวยิวจากทั่วโลกที่เดินทางมาเข้าร่วม […]

ชิมช้อปความอร่อยที่ ‘ตลาดตรอกหม้อ’ ฟังเรื่องราวของตลาดสดยามเช้าใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์

เกาะรัตนโกสินทร์ใช่เพียงแต่เป็นศูนย์รวมสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่คอยต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วมุมโลกมาเยี่ยมเยือน แต่เมืองเก่าแห่งนี้เป็นเมืองที่ยังมีชีวิต ประกอบด้วยบ้านเรือนและผู้คนในย่านต่างๆ รวมอยู่ด้วย และส่วนหนึ่งที่อยู่ในวิถีชีวิตของชาวบ้านคือตลาดสด ที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คนทุกวันเสมอมา ‘ตลาดตรอกหม้อ’ เป็นตลาดที่ซ่อนตัวอยู่เงียบๆ ท่ามกลางย่านฮิตในเขตโอลด์ทาวน์ที่โอบล้อมอยู่ทั่วทิศทาง ไม่ว่าจะเป็นสามแพร่ง เสาชิงช้า วังบูรพา หรือสามยอด ซึ่งวันนี้มีคาเฟ่รุ่นใหม่เกิดขึ้นในอาคารเก่าจำนวนมาก ตามกระแสเที่ยวเมืองเก่าที่ทำให้ย่านเหล่านี้คลาคล่ำไปด้วยคน นอกจากความอันซีน ความพิเศษของตลาดแห่งนี้คือ เป็นตลาดสดที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิด (หรือแห่งสุดท้าย) บนเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งยังคงทำหน้าที่เป็นที่ฝากท้องยามหิวให้กับคนท้องถิ่นและคนทำงานในหน่วยงานข้างเคียงอยู่ รวมถึงพ่อค้าร้านอาหารที่มีร้านอยู่รอบๆ ที่มาจับจ่ายซื้อหาของสดไปเป็นวัตถุดิบ คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้พาไปทำความรู้จักกับตลาดตรอกหม้อ ดูวิถีชีวิตของชาวบ้านร้านตลาดในย่านเมืองเก่า แวะพูดคุยกับคนในชุมชนราชบพิธพัฒนา ถึงความอบอุ่นของเด็กตลาดในวันวานและวันนี้ที่ไม่เคยจางหายไปจากซอยเทศา ‘ตรอกหม้อ’ ตลาดสดเก่าแก่ใจกลางพระนคร นาฬิกาในโทรศัพท์ขึ้นเวลาว่าเกือบ 10 โมงแล้ว นี่อาจไม่ใช่เวลาที่ควรจะเดินตลาดนัก โดยเฉพาะตลาดสดที่เริ่มเปิดแผงกันตั้งแต่แสงอาทิตย์ยังไม่ขึ้นมาสะท้อนผิวถนน สายป่านนี้จึงเป็นชั่วโมงท้ายๆ แล้วของกิจกรรมทุกเช้าของชาวบ้านย่านเมืองเก่าแห่งนี้ ขณะที่บางร้านเริ่มขนของกลับบ้าน เราเดินสวนเข้าตลาดเพราะนัดหมายกับเจ้าถิ่นที่ยินดีพาเดินและพูดคุยกับเหล่าผู้คนในตรอกหม้อ ‘พี่ริน-สุรินทร์ อมรชัชวาลกุล’ เป็นชาวตรอกหม้อแต่กำเนิด ถึงแม้ย้ายออกไปอยู่ที่อื่นนานหลายปีแล้ว แต่ยังมีคุณแม่และบ้านเก่าอยู่ ทำให้เขาแวะเวียนมาที่ตลาดแห่งนี้แทบทุกสัปดาห์ “แต่ก่อนตลาดไม่ถึงตรงนี้ ตลาดจริงๆ อยู่ทางนั้น” บทสนทนาเริ่มต้นบริเวณปากตรอกหม้อหรือซอยเทศาฝั่งถนนราชบพิธ พี่รินชี้นิ้วไปสุดซอยแล้วเล่าว่า แรกเริ่มเดิมทีพ่อค้าแม่ค้ากระจุกตัวอยู่บริเวณปากซอยฝั่งถนนบำรุงเมือง ใกล้กับตลาดเทศา ซึ่งเป็นตลาดเอกชนที่ทุบไปแล้ว ทว่าเมื่อนานวันเข้าจำนวนผู้ค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ […]

เปิดแปลนห้อง 3 สไตล์จาก ‘RHYTHM Charoenkrung Pavillion’ ที่ออกแบบเองได้ตามความต้องการ

คงเป็นเรื่องยากถ้าคอนโดฯ สักแห่งจะตอบโจทย์ความต้องการของเราทั้งหมด แต่สำหรับ ‘RHYTHM Charoenkrung Pavillion’ คอนโดฯ ใหม่ เพียง 5 นาทีถึงสาทรและพระราม 3 จากบริษัทผู้นำด้านโครงการบ้าน AP Thailand ทำได้ เพราะหากพูดถึงความต้องการของเหล่าคนที่กำลังหาที่อยู่อาศัยใจกลางเมือง นอกจากจะต้องดูย่านที่ใช่ โลเคชันที่เดินทางสะดวก และมีความเป็นส่วนตัว ในขณะเดียวกันก็ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน อีกทั้งภายในห้องเองก็ยังต้องตอบโจทย์การใช้งานและไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัยด้วย ด้วยความเป็น The Luxury Gated Community ของ RHYTHM Charoenkrung Pavillion นี่เอง ที่จะทำให้ผู้อยู่อาศัยได้ดื่มด่ำกับความเป็นส่วนตัว ด้วยวิวโค้งแม่น้ำเจ้าพระยาที่สวยที่สุด ท่ามกลางสภาพแวดล้อมความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยสูงสุด แถมยังอยู่ตรงข้ามโรงเรียนนานาชาติ Shrewsbury สถานศึกษาคุณภาพสูงระดับสากล แถมในส่วนของที่พักเองยังสามารถปรับเปลี่ยนการออกแบบให้แมตช์กับไลฟ์สไตล์ผู้อยู่อาศัยได้ง่ายๆ เพราะห้องรูปแบบ 1 Bedroom Plus เริ่มต้น 158,000 บาท/ตารางเมตร จากทาง AP Thailand ให้ขนาดพื้นที่มาถึง 43.5 ตารางเมตร ทำให้มีความกว้างขวาง สามารถเปลี่ยนห้อง Plus […]

Olympic Games 2024 มหกรรมกีฬาแห่งการพัฒนาปารีส และนำเสนอตัวตนของฝรั่งเศส

ผ่านมา 100 ปีพอดีหลังจากเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ครั้งสุดท้ายของประเทศฝรั่งเศสในปี 1924 กลับมาคราวนี้ 2024 ประเทศฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส รับไม้ต่อจากโตเกียวในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิกอีกครั้งในรอบศตวรรษ มหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ได้มีการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นฝรั่งเศสผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งโลโก้ มาสคอต โปสเตอร์ และชุดกีฬา โดยมุ่งเน้นเรื่องของเสรีภาพและการเปิดรับความหลากหลายที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬาจากทั่วโลก มากไปกว่านั้น การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับนักกีฬามากกว่า 14,500 คนและนักท่องเที่ยวหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้ปารีสต้องขยับตัวเปลี่ยนแปลง หนึ่งในนั้นคือการสร้างอาคารใหม่หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น บวกกับต้องสอดคล้องกับความยั่งยืน และเปลี่ยนกรุงปารีสให้กลายเป็นเมืองสีเขียวสำหรับทุกคน คอลัมน์ Report เดือนนี้อยากพาไปดูว่า การรับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ จะทำให้เมืองชั้นนำของโลกทั้งในด้านศิลปะและแฟชั่นอย่างปารีสที่เคยเป็นเมืองที่วุ่นวายและสกปรก พิสูจน์ถึงศักยภาพความพร้อมของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน แล้วเมืองน้ำหอมจะใช้โอกาสนี้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมืองไปอย่างไรบ้าง พัฒนาเมืองเพื่อรองรับมหกรรมกีฬาระดับโลก การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ของฝรั่งเศสในครั้งนี้ เมืองปารีสจำเป็นต้องเตรียมตัวมากมายทั้งด้านสถานที่และผู้คน จึงมีการวางแผนพัฒนาเมืองโดยเน้นการใช้สถานที่ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ก็สร้างขึ้นชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการปล่อยคาร์บอนสู่ธรรมชาติ กรุงปารีสเริ่มปรับภูมิทัศน์เมืองโดยคำนึงถึงนวัตกรรม พื้นที่สีเขียว และความยั่งยืน เริ่มจากการปรับโครงสร้างเมืองทั้งหอไอเฟลและสถานที่สำคัญทั้งหมดให้ถูกล้อมรอบด้วยสวน ซึ่งจะกลายเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ติดอันดับโลก พร้อมปรับเส้นทางภายในเมืองให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการเดิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนเข้าถึงการแข่งขันได้ง่ายขึ้น และยังทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานที่สำคัญอันเก่าแก่ เพื่อทำให้พื้นที่เหล่านั้นกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น หลักการสำคัญของโปรเจกต์นี้คือ การลากเส้นเชื่อมต่อพื้นที่สำคัญๆ โดยมีหอไอเฟลและแลนด์มาร์กรอบๆ ได้แก่ ปลาส ดู ทรอกาเดโร […]

สำรวจ ‘บางอ้อ’ ถึง ‘บางพลัด’ ชิมลางย่านสร้างสรรค์ ชุมชนแขกแพและสวนผลไม้

บางพลัด-บางอ้อ กำลังจะเป็นย่านสร้างสรรค์แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ คนเก่าคนแก่รู้จักย่านนี้ในฐานะสวนขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนความเจริญต่างๆ เริ่มเข้ามาทีละน้อย ทั้งถนน สะพาน อาคารพาณิชย์ โรงไฟฟ้า และรถไฟฟ้า นานวันเข้าพื้นที่สีเขียวค่อยๆ หายไป และเปลี่ยนโฉมเป็นโซนที่อยู่อาศัยและการค้า บางพลัดเป็นเส้นทางผ่านที่ไม่ได้มีอะไรโดดเด่น และเป็นเหมือนม้านอกสายตาจากบรรดาย่านน่าสนใจอื่นๆ ของเมืองกรุง ทั้งที่ความจริงแล้วที่นี่ยังซ่อนสิ่งต่างๆ ไว้อีกมาก ไม่เพียงแต่พหุวัฒนธรรมพุทธและอิสลามที่อยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียว ความรุ่มรวยทั้งสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตก็น่าสนใจ อีกทั้งยังมีภูมิปัญญาที่สืบทอดมาในชุมชนต่างๆ รวมถึงเรือกสวนแบบโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ แม้ไม่มากแต่ก็เป็นมรดกที่หาดูได้ยากแล้วในปัจจุบัน ยิ่งกว่านั้น ในเขตบางพลัดเริ่มมีสเปซของคนรุ่นใหม่ๆ ทยอยมาเติมแต่งให้อดีตย่านสวนฝั่งธนฯ นี้กลายเป็นพื้นที่ที่โอบรับสำหรับคนทุกวัย น่ามาเยือนและใช้ชีวิตด้วย คอลัมน์ Neighboroot ขอชวนไปเยี่ยมอีกย่านสร้างสรรค์ที่กำลังจะจัดกิจกรรมตลอดปีนี้ ย้อนดูอัตลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นย่านบางพลัด-บางอ้อ ไม่ว่าจะเป็นสวนดั้งเดิมอายุกว่า 100 ปี สวนใหม่เจียนเก่าจากความทรงจำของครอบครัว พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของคนในย่าน และมัสยิดศูนย์รวมจิตใจของชาวแขกแพ เหมือนกับหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ อดีตของบางพลัด-บางอ้อ คือพื้นที่สวนผลไม้ไกลสุดตา หากเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ‘สวนในบางกอก สวนนอกบางช้าง’ สวนในย่านนี้ก็คือสวนหนึ่งของสวนในบางกอกที่มีอายุย้อนไปได้เป็นร้อยปี สวนผลไม้สัมพันธ์กับอีกอัตลักษณ์ของย่านคือ ความเป็น ‘บาง’ ที่มีลำคลองสายเล็กๆ จากแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมเข้ามายังพื้นที่สวนกว่าสิบสาย และกระจายเป็นโครงข่ายท้องร่องขนาดมหึมา หล่อเลี้ยงสวนป่าในพื้นที่ตอนในที่อยู่ถัดเข้าไป หากมองในระดับสายตาบนถนน ไม่มีทางรู้เลยว่าย่านนี้ยังมีสวนหลงเหลืออยู่ เพราะเต็มไปด้วยตึกรามห้องแถว […]

สวมวิญญาณนักเดินทาง สำรวจดาวอาร์ราคิสใน Dune ตามหา ‘สไปซ์’ เพื่อกลับไปช่วยโลก

ในอนาคตอันแสนไกลนับหมื่นปี เทคโนโลยีเดินทางในอวกาศได้ก้าวล้ำจนมนุษย์อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วทั้งกาแล็กซี ด้วยการใช้ ‘สไปซ์ เมลานจ์’ (Spice Melange) สารเสพติดที่มีค่ามากที่สุดในจักรวาล เพราะใช้ในการเดินทางในอวกาศได้อย่างปลอดภัย ยืดอายุขัย และช่วยเพิ่มพูนทักษะต่างๆ ทว่าสิ่งนี้กลับมีอยู่แค่ในดาว ‘อาร์ราคิส’ (Arrakis) เพียงดวงเดียวในจักรวาลเท่านั้น ในขณะที่ดาวโลกสีน้ำเงินของเรากำลังตกอยู่ในวิกฤตโลกเดือด และทุกพื้นที่กำลังกลายเป็นทะเลทรายจนมนุษย์ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ทำให้เราต้องรีบค้นหาดาวเคราะห์ดวงใหม่สำหรับมนุษยชาติด้วยการตามหา ‘สไปซ์’ ชาว Urban Creature ขออาสาเป็นนักเดินทางจากดาวโลก พาทุกคนมาสำรวจดวงดาวอาร์ราคิสอันโด่งดังในจักรวาล ‘Dune’ กัน นอกจากการตามหาสไปซ์แล้ว เรายังควรดูดาวอาร์ราคิสเป็นกรณีศึกษาในกรณีที่โลกทั้งใบได้กลายเป็นทะเลทรายไปแล้วจริงๆ เทียบท่าจอด ณ ‘อาร์ราคิส’ ดวงดาวที่ร้อนกว่าประเทศไทย แค่ก้าวเท้าลงมาจากยาน อากาศที่ร้อนระอุกว่า 60 องศาเซลเซียสก็พัดกระแทกหน้าอย่างจัง ที่นี่ร้อนกว่าเมืองไทยของเราเสียอีก มองไปทางไหนก็เห็นแต่เนินทรายสีทองกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา ก่อนเราจะก้าวลงเดินบนพื้นทราย ไกด์นำทางของเราได้ยื่นชุด ‘สติลสูท’ (Stillsuit) ให้ เพราะชุดนี้จะรีไซเคิลของเหลวในร่างกายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นของเสีย เหงื่อ ปัสสาวะ หรือแม้แต่ลมหายใจของเรา ให้กลับมาเป็นน้ำใช้ใหม่อีกครั้ง เพื่อป้องกันผู้สวมใส่ไม่ให้ขาดน้ำตายบนความแห้งแล้งของอาร์ราคิส คืนนี้เราจะนอนกันที่ ‘อาร์ราคีน’ (Arrakeen) เมืองหลวงของดาวอาร์ราคิส ก่อนที่จะออกไปตามล่าสไปซ์ในวันรุ่งขึ้น […]

เปิดไทม์ไลน์ ‘สร้าง เสริม ซ่อม’ ถนนพระราม 2 ถนนสายประวัติศาสตร์ที่กำลังสร้างมากว่าครึ่งศตวรรษ

แม้จะเป็นเหมือนมุกตลกร้าย แต่เมื่อมองให้ลึกถึงสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคเก่าและยุคใหม่อย่าง ‘มหาพีระมิด เมืองกีซา ประเทศอียิปต์’ และ ‘ทัชมาฮาล เมืองอาครา ประเทศอินเดีย’ ทั้งสองแห่งใช้เวลาในการสร้างรวมกันแล้วยังน้อยกว่า ‘ถนนพระราม 2’ เสียอีก ถนนพระราม 2 หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 ถือเป็นหนึ่งเส้นทางหลักในการเดินทางของพี่น้องชาวฝั่งธนฯ และเป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมไปยังภาคใต้ ซึ่งแท้จริงถนนเส้นนี้สร้างเสร็จมานานแล้ว แต่มีโครงการเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร และยังคงมีการก่อสร้างอยู่เป็นเวลา 54 ปีหากนับถึงตอนนี้ จนทำให้การจราจรติดขัดและเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เราขออาสาพาไปดูไทม์ไลน์ถนนประวัติศาสตร์เส้นนี้ว่ามีจุดเริ่มต้นอย่างไร เพื่อคลายข้อสงสัยว่าทำไมมันถึงสร้างไม่เสร็จสักที ยุคแรกสร้างถนนพระราม 2 (พ.ศ. 2513 – 2516) ก่อนที่จะมีการสร้างถนนพระราม 2 ประเทศไทยมี ‘ถนนเพชรเกษม’ เป็นถนนสายหลักที่มุ่งสู่ภาคใต้อยู่แล้ว แต่ในช่วงสมัยรัฐบาลของ ‘จอมพล ถนอม กิตติขจร’ มีนโยบายให้สร้างถนนพระราม 2 ขึ้น ตัดผ่านกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี โดยเริ่มจากถนนสุขสวัสดิ์ (เขตจอมทอง กรุงเทพฯ) ไปบรรจบกับถนนเพชรเกษม (วังมะนาว […]

ทำไมบางเมืองถึงยอมแลกความเจริญกับการถูกถอดออกจากมรดกโลก

‘รักษาสิ่งเก่า’ หรือ ‘พัฒนาไปสู่สิ่งใหม่’ ถ้าสองอย่างนี้สามารถดำเนินไปด้วยกันได้คงจะดี แต่บางครั้งเราก็จำเป็นต้องเลือก โดยเฉพาะยามที่มีเรื่องผลประโยชน์ของส่วนรวมเข้ามาพัวพันด้วย ‘เมืองอยุธยาเสี่ยงจะถูกถอดออกจากมรดกโลกเพราะรถไฟความเร็วสูง’ หากมองจากสายตาคนนอก คงเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับโบราณสถานที่มีอายุมากกว่าหลายร้อยปี แต่ในสายตาของคนท้องถิ่น คนจำนวนไม่น้อยต้องการความเจริญอย่างรถไฟความเร็วสูงมากกว่าการเป็นมรดกโลก และสิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในไทย ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่า ‘แหล่งมรดกโลก’ คือพื้นที่ทางธรรมชาติหรือสิ่งก่อสร้างรวมไปถึงเมือง ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่นๆ ซึ่งได้รับการปกป้องคุ้มครองทางกฎหมายตามอนุสัญญาว่าด้วยเรื่อง ‘มรดกโลก’ ของยูเนสโก เพื่อให้ประชาชนเกิดการตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบทอดต่อไป และที่สำคัญคือ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์จะนำรายได้ไม่น้อยมาให้ท้องถิ่นและชุมชน ทุกอย่างเหมือนจะดูดี แต่เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ บางครั้งกฎเกณฑ์ที่มากเกินไปอาจทำให้การพัฒนาพื้นที่ทำได้ยากกว่าเดิม จึงมีบางประเทศเลือกที่จะยอมถูกถอดออกจากมรดกโลกเพื่อต้องการพัฒนาเมืองให้ดีกว่าเดิม ยกตัวอย่าง เมืองลิเวอร์พูล (Liverpool) ประเทศอังกฤษ และเมืองเดรสเดิน (Dresden) ประเทศเยอรมนี ที่ชาวเมืองสนับสนุนการพัฒนาเมืองมากกว่าการเป็นเมืองมรดกโลก หรือมรดกโลกอาจขัดขวางการพัฒนาเมือง จากความจริงที่ว่า ‘เมืองไม่เคยหยุดนิ่ง’ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและเม็ดเงินที่ไหลเวียนเข้ามา ย่อมนำมาซึ่งการขยับขยายพัฒนาเมืองเพื่อตอบโจทย์ชาวเมือง ปฏิเสธไม่ได้ว่า การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทำให้เมืองไม่สามารถขยับตัวพัฒนาในบางจุดได้เท่าที่ควร และในเมื่อต้องเลือกเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง หนึ่งในเมืองที่ขึ้นทะเบียนเมืองมรดกโลกอย่าง ‘ลิเวอร์พูล’ จึงเลือกหันหลังให้มรดกโลกเพื่อแลกกับความเจริญ ‘ลิเวอร์พูล มาริไทม์ เมอร์แคนไทล์ ซิตี’ (Maritime Mercantile City) […]

ป้ายบอกทางพื้นเขียวฟอนต์ขาว ดูยังไงว่าถูกกฎหมายหรือไม่

การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ที่ไม่คุ้นเคย แม้ว่าจะเปิดดูตาม Google Maps แล้วก็ตาม แต่ถ้ามีป้ายบอกทางสักหน่อยก็คงจะทำให้ผู้ขับขี่หรือผู้ไม่คุ้นชินเส้นทางสบายใจไม่น้อยเลยทีเดียว ในบรรดาป้ายที่เราเห็นกันมักจะเป็น ‘ป้ายบอกทาง’ (Guide Sign) ที่มีลักษณะเป็นป้ายสีเขียวตัวหนังสือสีขาว หรือป้ายสีขาวตัวหนังสือสีดำ เหมือนกับป้ายบอกทางบนถนนหลวงทั่วไป แต่บางป้ายก็ติดตั้งกีดขวางทางเดิน ทำให้ไม่เหลือพื้นที่บนทางเท้าราวกับไม่ได้รับอนุญาต หรือบางครั้งก็ดูแตกต่างจากป้ายอื่นๆ ทั่วไป จนทำให้เกิดคำถามว่า แล้วป้ายทั้งหมดที่เราเห็นตามทางเหล่านี้ถูกกฎหมายหรือไม่ คอลัมน์ Curiocity อาสาพาไปไขข้อข้องใจเกี่ยวกับป้ายบอกทางไปยังสถานที่ต่างๆ ว่า ป้ายแบบไหนที่ผิดกฎหมายบ้าง และถ้าต้องติดตั้งป้ายแบบไหนถึงจะถูกต้องตามกฎหมาย ป้ายแบบไหนที่ไม่สามารถติดตั้งบนพื้นที่สาธารณะได้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการติดตั้งป้ายโฆษณาในที่สาธารณะของกรุงเทพมหานคร มีป้ายทั้งหมด 7 ประเภทที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ติดตั้ง คือ ป้ายเกาะกลางถนน ป้ายบนสะพานลอย ป้ายหน้าปากซอย ป้ายที่อยู่ในเขตทาง ป้ายอวยพรในเทศกาลต่างๆ ป้ายติดตามผนังกำแพงบ้านเรือนประชาชน และป้ายลอกเลียนแบบ กทม. อ่านๆ ดูป้ายประเภทอื่นๆ ก็พอเข้าใจได้ แต่ป้ายลอกเลียนแบบ กทม. คืออะไร ทุกคนสงสัยไหม ป้ายประเภทนี้เรามักพบเห็นได้ทั่วไป จนแทบแยกไม่ออกว่าอันไหนคือป้ายที่ถูกกฎหมาย หรืออันไหนคือป้ายเลียนแบบเพื่อเลี่ยงภาษีป้าย โดยปกติแล้วหากมีผู้พบเห็นและแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ ทาง กทม.ก็จะรื้อถอนหากไม่มีเจ้าของป้ายมาแสดงตน แต่ถ้าในกรณีที่ป้ายติดตั้งในพื้นที่เอกชน เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบหาเจ้าของว่าได้เสียภาษีป้ายอย่างถูกต้องตาม […]

1 2 3 45

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.