SpokeDark TV เส้นทางแสบสันของสื่อประชาธิปไตย ที่อยู่ได้เพราะ “สปอนเซอร์เราคือคุณผู้ชม”

“เราอาจไม่ได้ไปต่อ”  พิธีกรในชุดพ่อหมอสีขาวใส่สร้อยประคำบอกกับผู้ชมผ่านรายการ ‘เจาะข่าวตื้น’ (ชื่อเต็มเดิมคือ ‘เจาะข่าวตื้น ดูถูกสติปัญญา’) ทางช่อง SpokeDark TV ที่เดินทางมาถึงตอนที่ 287  ความพังพินาศของเศรษฐกิจไทยตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 เป็นต้นมา และสึนามิเศรษฐกิจถล่มซัดอีกครั้งในปี 2563 นับตั้งแต่การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เราเห็นธุรกิจน้อยใหญ่ทยอยปิดตัว สำหรับ SpokeDark TV ทางรอดเดียวที่เหลืออยู่คือแรงสนับสนุนจากผู้ชมของช่อง ที่พอการันตีได้ด้วยยอดรับชมแต่ละคลิปไม่ต่ำกว่าหลักแสน  ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2021 เป็นต้นมาคือภารกิจที่ช่องต้องหาผู้ชมมาสนับสนุนรายเดือนภายใน 45 วันเป็นจำนวน 15,000 คน เพื่อให้เพียงพอกับต้นทุนการดำเนินงานของบริษัท จากเดิมยอดคนสนับสนุนอยู่ที่หลักพัน ขึ้นมาจนถึงหลักหมื่น แต่สถานการณ์ก็ยังไม่น่าวางใจ นี่เป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญในเส้นทางสื่อออนไลน์กว่า 15 ปีที่เปิดรับรายได้จากการสนับสนุนของผู้ชมรายการครั้งแรก ตั้งแต่วันที่ภูมิทัศน์ของสื่อออนไลน์มีจำนวนนับได้ พวกเขาเริ่มทำรายการทีวีออนไลน์ในชื่อ ‘iHereTV’ จนมาเป็น ‘SpokeDark TV’  ในวันที่ทุกคนต่างลุกขึ้นมาเป็นสื่อ ผ่านการผลิตคอนเทนต์รวดเร็วเพียงปลายนิ้ว ประกอบกับสำนักข่าวออนไลน์ที่เกิดใหม่มากมาย ท่ามกลางมรสุมรุมเร้าทางการเมืองและเศรษฐกิจ แม้กระทั่งคดีความหมิ่นประมาทนายกรัฐมนตรีที่ผู้จัดรายการต้องแบกรับ แต่สื่อออนไลน์อย่าง SpokeDark TV ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเจ้าแรกๆ […]

กชกร วรอาคม กับปณิธานการออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อผู้คนในยุคนี้และยุคหน้า

“Can we fix the climate problem in one generation?” เป็นคำถามที่กชกร วรอาคม ถามกับตัวเอง เป็นคำถามที่ทำให้เธอที่เป็นมนุษย์ตัวเล็กๆ บนโลก เริ่ม ‘ลงมือทำ’ หลายสิ่งหลายอย่าง เป็นคำถามที่เธอพูดในคลิป ที่ท่านเซอร์ เดวิด แอทเทนเบอเรอห์ นักธรรมชาติวิทยาคนสำคัญ นำไปเปิดประกอบสปีชที่ COP26 หรือการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งกชกรได้เข้าร่วมเพื่อรับรางวัลด้านการออกแบบจาก UN เป็นคำถามที่เธอถามกับผู้คนที่มาร่วมงานประกาศเดินหน้าธุรกิจควบคู่กับการกู้วิกฤตโลกของ SCG หรือ SCG ESG Pathway เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก ในครั้งนี้ และ My answer would be yes. We have to. เป็นประโยคที่เธอตอบคำถามของตัวเอง ‘กชกร วรอาคม’ หรือที่หลายคนเรียกว่า ‘อาจารย์กช’ ตามบทบาทภูมิสถาปนิก พ่วงด้วยอาจารย์พิเศษด้านภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นทีมงานออกแบบโปรเจกต์พื้นที่สาธารณะเด่นๆ หลายที่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ, สวนหลังคาอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ที่ธรรมศาสตร์ รังสิต, Siam Green Sky สวนเกษตรลอยฟ้า สยามสแควร์, สวนบำบัดลอยฟ้าที่โรงพยาบาลรามาธิบดี, ทางเดินคนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ที่ดัดแปลงจากโครงสร้างเดิมของโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน, สวนสาธารณะเลียบคลองช่องนนทรี และงานอื่นๆ อีกมากมาย สาวแพสชันสูงคนนี้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีระดับโลกต่างๆ เธอเป็นคนไทย 1 ใน 3 คน ที่ติดอยู่ในลิสต์ ‘TIME 100 […]

จากนักอสังหาฯ ถึงผู้พัฒนาเมือง ‘ดร.ยุ้ย’ ผู้วางนโยบายแห่งทีมชัชชาติ

ทำงาน ทำงาน ทำงาน ก่อนหน้านี้ Urban Creature มีโอกาสได้พูดคุยกับบุรุษผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพีอย่าง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ถึงการก่อตั้งกลุ่ม Better Bangkok ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยชุมชนแก้ไขสารพัดสารพันปัญหา และนำองค์ความรู้ไปสนับสนุนการพัฒนาคนและพื้นที่อย่างยั่งยืน หลังจากปล่อยบทสัมภาษณ์และติดตามการทำงานกันมาพักใหญ่ วันนี้เรามีโอกาสได้คุยกับอีกหนึ่งขุนพลในทีมชัชชาติ อย่าง ดร.ยุ้ย-ผศ. ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ที่เพิ่งเปิดตัวในฐานะทีมนโยบายไปหมาดๆ หากใครมีโอกาสได้ติดตามการทำงานของเสนา จะพบว่าบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายนี้ก็มีส่วนช่วยขับเคลื่อนเมืองอยู่ไม่น้อย ทั้งโครงการบ้านที่ราคาจับต้องได้ง่าย บ้านที่ขายแล้วนำเงินไปบริจาคเพื่อโรงพยาบาล และอีกหลายโครงการ CSR ที่หยิบมาพูดทั้งหมดคงมีพื้นที่ไม่พอ ในฐานะสื่อที่สนใจเรื่องเมือง เราเตรียมชุดคำถามในมือ พกไปพร้อมความสงสัยในใจว่า CEO ของบริษัทอสังหาฯ ที่มองว่าการให้ไม่ใช่ทางออกของปัญหา และการแก้ไขอาจเป็นคำตอบที่ถูกต้องมากกว่า ในการพลิกบทบาทจากนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Developer มาทำนโยบายผ่านการเป็น Regulator  ว่าจะพัฒนาเมืองฟ้าอมรแห่งนี้ไปในทิศทางไหน สารพัดปัญหาของเมืองเทพสร้างจะแก้ยังไง สโลแกนของ Better Bangkok ที่บอกว่าจะทำให้กรุงเทพเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน จะทำให้พวกเรามีชีวิตดีๆ ที่ลงตัวกว่าเดิมได้จริงหรือเปล่า ใครที่สงสัยไม่ต่างจากเราก็ขอเชิญมาอ่านพร้อมกันได้เลยครับ  เล่าเรื่องตัวเองให้ฟังหน่อยว่าปกติแล้วคุณติดตามเรื่องการเมือง หรือนโยบายเมืองอย่างไรบ้าง  […]

พุทธคือยาฝิ่น จึงใช้คอมมิวนิสต์ดับทุกข์ คุยกับอดีตเณรโฟล์ค ผู้ปลดจีวรมาจับค้อนเคียว

“ขอให้พระภิกษุโปรดจดจำว่าข้าพเจ้าคือคฤหัสถ์ ขอให้พระภิกษุโปรดจดจำไว้ว่าข้าพเจ้าคือคอมมิวนิสต์” ประโยคส่งท้ายการลาสิกขาของอดีตสามเณรโฟล์ค เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมาสร้างความงุนงงให้เราไม่น้อย ขณะที่กระแสสังคมส่วนใหญ่กำลังต่อสู้เรียกร้องเพื่อ ‘ประชาธิปไตย’ (จะมีคำสร้อยห้อยท้ายว่า “อันมีพระ…” หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นทีมกี่ข้อ)  แต่นักกิจกรรมวัย 21 ปีผู้นี้ประกาศตนว่าเขาเป็น ‘คอมมิวนิสต์’ จะเรียกว่าเป็นความกล้าหาญคงไม่ผิด แต่ในมุมมองของเรา สัดส่วนที่มากกว่าคงเป็นความบ้าบิ่น  ในเมื่อสังคมไทยยังคงถูก ‘ผีคอมมิวนิสต์’ หลอกหลอนอยู่ และยังไม่ลืมกันใช่ไหมว่าเพิ่งสี่สิบกว่าปีที่แล้วเองที่พระสงฆ์รูปหนึ่งเปล่งวจีกรรมว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” เพราะเช่นนี้ เราจึงหอบหิ้วความสงสัยไปคุยกับอดีตเณรโฟล์ค ผู้บัดนี้ละผ้าเหลือง ไม่ใช่สามเณรใต้ร่มกาสาวพัสตร์​ แต่เป็น ‘สหรัฐ สุขคำหล้า’ คอมมิวนิสต์ผู้เชื่อมั่นว่าแนวทางแบบ Buddhist Marxism จะช่วยให้ประชาชนไม่ว่าศาสนาใดพ้นทุกข์อันเกิดจากความไม่เท่าเทียม อัปเดตชีวิตก่อนดีกว่า หลังจากสึกมาได้ประมาณสิบวัน คุณเป็นอย่างไรบ้าง ประเด็นแรกเลยซึ่งเป็นเรื่องแซวกันเล่นๆ ในหมู่เพื่อนผม คือการใส่กางเกงในครั้งแรกมันรู้สึกแปลกมาก เพราะมันอึดอัด และผมรู้สึกว่าเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับผม เดี๋ยวนะ ปกติพระไม่ใส่กางเกงในกันจริงๆ เหรอ ไม่ใส่ครับ ไม่ใส่ มันจะโล่งๆ สบายๆ ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว ก็เลยแก้ปัญหาตัวเองโดยซื้อบ็อกเซอร์กับกางเกงในรัดรูปมาสองแบบ  ประสบการณ์ซื้อกางเกงในครั้งแรกเป็นอย่างไร ผมเรียกคนขายว่าโยม (หัวเราะ) […]

พลอยวรินทร์ ชิวารักษ์ : “กลัวว่าวันที่มีประชาธิปไตยจริงๆ จะไม่มีเพนกวินอยู่ด้วย”

ไม่ว่า เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ จะเป็นแกนนำอันเป็นที่รักของมวลชนแค่ไหน จะเป็นเด็กก้าวร้าวรุนแรงในสายตาใคร จะเป็นพลเมืองจองหองของรัฐผู้แสนดี หรือจะเป็นผีร้ายหลอกหลอนชนชั้นปกครอง แต่สำหรับน้องสาวอย่าง พ้อย-พลอยวรินทร์ ชิวารักษ์ เพนกวินคือพี่ชายเพียงคนเดียว ที่เธอมี ถึงจะขี้แกล้ง ชอบยียวนกวนตีน แต่เขาโคตรจะห่วงน้องยิ่งกว่าใคร โลกภายนอกเพนกวินคือผู้กล้าที่ออกมาเคลื่อนไหวสั่นคลอนขั้วอำนาจทางการเมืองตั้งแต่เขาเรียนมัธยมฯ ถูกยุดยื้อออกจากห้องประชุมที่มีผู้นำทหารบ้าน้ำลายบนเวที  แต่เมื่อก่อนเรื่องการเมืองก็ยังดูจะเป็นเรื่องไกลสายตาพ้อยอยู่ดี  และแม้เพนกวินจะเป็นแค่นักศึกษา แต่เมื่อลงสนามรับบทแกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เพื่อเรียกร้องให้ประเทศเน่าเฟะนี้ได้มีประชาธิปไตยจริงๆ สักที เขาก็ต้องแลกอุดมการณ์กับการถูกคุกคาม ไม่ใช่แค่คุกคามเพนกวิน แต่อันตรายยังทอดเงาสีดำไปยังครอบครัวชิวารักษ์ ถูกตีตราเป็นครัวเรือนคนชังชาติ และเป็นไอ้พวกตัวน่ารำคาญของผู้กดขี่  จากไกล การเมืองกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวพ้อยขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีอีกแล้วครอบครัวชนชั้นกลางที่เคยใช้ชีวิตสามัญ เพราะวันนี้พวกเขาสะกดคำว่าสงบ ร่วมกับพวกเผด็จการคลั่งอำนาจไม่ได้อีกต่อไป นี่จึงเป็นแรงขับสำคัญให้เด็กสาวที่ไม่เคยออกมาเคลื่อนไหว และไม่ไยดีการเมือง ตัดสินใจออกตามหาความยุติธรรม ด้วยการลุกมาต่อสู้ และทวงคืนความสุขที่แท้จริงให้สังคม เรารู้ว่าพ้อยไม่ได้คาดหวังให้คุณเห็นด้วยกับตัวเธอหรอก แต่ถ้ามองเพนกวินเป็นคนในครอบครัวตัวเอง คุณจะเลือกแสยะยิ้มอย่างสะใจ หรือเสียใจที่วัยรุ่นคนหนึ่งกำลังถูกทำร้าย เพียงเพราะเขาแค่อยากเห็นอนาคตที่ดีของทุกคน ไม่ว่าใครจะคิดยังไงก็ช่าง แต่พ้อยตัดสินใจหนักแน่นแล้วว่าจะออกมายืนเคียงข้างพี่ชาย ผู้ฝันจะได้เห็นประชาธิปไตยเต็มใบ แม้ต้องแลกกับความมอดไหม้ของตัวเองก็ตาม ลำปาง พีทกับพ้อยเป็นสองพี่น้องสายประชาธิปไตย “ตั้งแต่เกิดกวินชื่อพีท แต่นางบอกว่าอุ๊ย นกเพนกวินน่ารักจังเลย ขอเปลี่ยนชื่อเป็นเพนกวินดีกว่า (หัวเราะ) แล้วตอนเด็กๆ เราจะชอบเอาสีมาเขียนกำแพง […]

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ : ไทยจะรอดโควิดได้ รัฐต้องไว้ใจศักยภาพประชาชน

ถ้าพูดถึง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ วัย 55 ปี บทบาทและหน้าที่ไหนของเขาที่อยู่ในความทรงจำคุณ นักการเมือง อาจารย์ วิศวกร หรือบุรุษผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี  ไม่ว่าบทบาทไหน แต่ทุกวันนี้หัวใจของชัชชาติยังคงเต้นเป็นคำว่า “ทำงาน ทำงาน ทำงาน” จนเป็นที่มาของคำตัวเป้งบนเสื้อยืดสกรีนทีมงานตัวเอง และไม่ใช่แค่งานที่ทำเพื่อส่วนตัวหรอก เพราะทุกๆ งานที่ชัชชาติทำมักมีคนอื่นๆ อยู่ในสมการเสมอ 2 ปีผ่านไป แม้ไม่ได้เห็นเขาในสภา แต่บุรุษคนแกร่งไม่ได้หายตัวไปไหน เขายังขยันลงพื้นที่ตามชุมชนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพราะมนุษย์พลังล้นอย่างชัชชาติได้ก่อตั้งกลุ่ม Better Bangkok ขึ้นเพื่อช่วยชุมชนแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญ และนำองค์ความรู้ไปสนับสนุนการพัฒนาคนและพื้นที่อย่างยั่งยืน ยิ่งในภาวะวิกฤติการณ์โควิด-19 ของไทยทวีความสาหัส จนไม่มีทีท่าจะเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ ทีม Better Bangkok ยิ่งทำงานหนัก  ขณะที่ปัญหาโควิดอยู่กับไทยมานาน ถ้ามองแง่โอกาส ภาครัฐน่าจะได้พิสูจน์ตัวผ่านการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผลกลับตรงข้าม ถ้าพูดกันตรงๆ หลายคนส่ายหน้าให้กับการบริหารงานในปัจจุบัน ซ้ำร้ายยังทำให้รอยร้าวระหว่างรัฐ เอกชน และประชาชนแตกร้าวเกินกอบกู้ โควิดจึงไม่ใช่แค่เรื่องระบบสาธารณสุข  แต่ปัญหาที่ชัชชาติเห็นชัดเจนคือเรื่องความไว้ใจ ไม่สิ ความไม่ไว้ใจที่รัฐไม่คิดจะมอบให้ประชาชนต่างหาก เมื่อรัฐบาลแก้ปัญหาอย่างไร้แก่น มิหนำซ้ำยังไม่กล้ามอบความไว้เนื้อเชื่อใจให้คนในสังคมร่วมจัดการปัญหา การเปลี่ยนสังคมให้ดีจึงดูเป็นความหวังลมๆ แล้งๆ  ถึงอย่างนั้นบทสนทนากับชัชชาติต่อจากนี้ ก็ยังทำให้เรามองเห็นสิ่งที่เรียกว่าความหวัง […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.