ลดแสงจ้า แก้ทางมืด สร้างเมืองน่าเที่ยว ทำความเข้าใจ Lighting Master Plan กับ ‘ผศ. ดร.จรรยาพร สไตเลอร์’

ชีวิตคนเมืองกำลังถูกรบกวนด้วยมลภาวะทางแสงโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นแสงจากป้ายโฆษณา แสงจากอาคาร หรือแม้แต่ไฟจากถนน แน่นอนว่าข้อดีของแสงไฟเหล่านี้คือตัวช่วยให้เรามองเห็นในยามที่ท้องฟ้ามืดมิด แต่ก็ต้องยอมรับว่าบางครั้งความสว่างเหล่านี้กำลังรบกวนการใช้ชีวิตของเราและสรรพสัตว์ในเมืองโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน แล้วจะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถกำหนดแนวทางการออกแบบแสงสว่างในเมืองได้ โดยการเลือกใช้สีของแสงให้เข้ากับบรรยากาศในพื้นที่ต่างๆ ของเมือง กำหนดความสว่างให้ไม่รบกวนสายตาทั้งในเขตที่อยู่อาศัยและย่านการค้า ซึ่งนอกจากความสวยงามที่ส่งเสริมอัตลักษณ์และกระตุ้นการท่องเที่ยวของเมืองแล้ว ยังช่วยด้านมิติสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย คอลัมน์ Think Thought Thought วันนี้พาไปพูดคุยทำความเข้าใจเรื่องแสงในเมืองกับ ‘ผศ. ดร.จรรยาพร สไตเลอร์’ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและนวัตกรรมการส่องสว่าง (LRIC) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หนึ่งในนักออกแบบแสงสว่าง (Lighting Designer) ว่า Lighting Master Plan คืออะไร และทำไม ‘แสงสว่าง’ ที่ส่งผลกับการใช้ชีวิตของเราในทุกมิติ ถึงควรถูกให้ความสำคัญทั้งจากภาครัฐและเอกชน ถอดบทเรียนแสงสว่างจากฝรั่งเศส พลิกโฉมอยุธยา กระตุ้นการท่องเที่ยวในเมืองเก่า ย้อนไป 20 ปีก่อน จรรยาพรเริ่มสนใจเรื่อง Lighting Master Plan การกำหนดแผนแม่บทหรือแนวทางการออกแบบแสงสว่างชุมชนเมือง ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่ถูกเห็นความสำคัญในประเทศไทย จากการได้ทุนศึกษาปัญหาใน ‘เมืองเก่าอยุธยา’ ที่แม้จะเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทย และรายล้อมไปด้วยสถาปัตยกรรมโบราณ ซึ่งเป็นพื้นที่มรดกโลกที่รับรองโดย UNESCO แต่กลับมีจำนวนนักท่องเที่ยวในเวลากลางคืนไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น […]

คุยกับผู้อยู่เบื้องหลัง STEP INTO SWING เมื่อเสียงเพลงและสเต็ปเท้าอาจพาเราไปสู่กรุงเทพฯ ที่ดีขึ้น

เย็นวันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567 สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) คลาคล่ำไปด้วยผู้คนในชุดวินเทจ เสียงเพลงสวิงดังกึกก้อง ฟลอร์เต้นรำเริ่มขยายพื้นที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนเต็มไปทั่วทั้งบริเวณ อาจกล่าวได้ว่า สิ่งเหล่านี้คือตัวชี้วัดความสำเร็จของ STEP INTO SWING : Take the A Train at Hua Lamphong อีเวนต์สวิงโดย 2 ทีมงานเบื้องหลังอย่าง The Stumbling Swingout วงดนตรีสวิงแจ๊สที่ก่อตัวขึ้นจากกลุ่มนักเต้นสวิง และ Jelly Roll Jazz Club โรงเรียนสอนเต้นสวิงที่ตั้งใจสร้างนักเต้นใหม่ๆ เพื่อให้สวิงกลายเป็นคัลเจอร์ที่แข็งแรงในอนาคต หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เฝ้ามองแวดวงการเต้นสวิงในไทยมาตั้งแต่ยุคก่อนโควิด-19 ในเวลานั้นหลายคนอาจจินตนาการไม่ออกว่า วันหนึ่งกรุงเทพฯ จะมีอีเวนต์ SWING IN THE PARK เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง ก่อนจะขยายตัวลามเลยออกไปสู่สถานที่ที่น่าสนใจอีกมากมาย ทั้งอาคารลุมพินีสถาน ไปรษณียาคาร ลานชุมชนต่างๆ รวมถึงสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ที่ได้โคจรกลับมาจัดเป็นครั้งที่สองแล้ว การขยับขยายของฟลอร์สวิงแดนซ์จากในสตูดิโอสู่พื้นที่สาธารณะต่างๆ […]

‘อุตสาหกรรมดนตรีจะดีขึ้นกว่านี้ได้ ขนส่งมวลชนต้องดีก่อน’ คุยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเมืองและคนดนตรีกับ ‘บอล Scrubb’ 

เราไม่ได้มองศิลปินและนักดนตรีต่างออกไปจากคนเมืองธรรมดาๆ อย่างตัวเองนัก เราคือคนทำงาน พวกเขาก็คือคนทำงาน ความเป็นไปของเมืองที่เราอยู่อาศัยส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเรา กับศิลปินและนักดนตรีที่อยู่ในเมืองเดียวกันนี้ก็คงไม่ต่างกัน จากประสบการณ์ส่วนตัว เราจะสนใจอ่าน ฟัง หรือถกเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างคนกับเมือง ผ่านบทสนทนากับคนในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเมืองเสียมากกว่า และหลังจากได้ยินความตั้งใจของคนหลายๆ กลุ่มก้อนที่อยากผลักดันให้เมืองกรุงเทพฯ เป็น Music City หรือสนับสนุนให้ T-POP เป็นซอฟต์พาวเวอร์ เป็นหน้าเป็นตาของเมืองหรือประเทศ คำถามที่ปรากฏขึ้นในหัวเราในเวลาต่อมาคือ แล้วเมืองได้สนับสนุนอะไรกลับไปที่ศิลปินที่กำลังตั้งใจทำงานอยู่หรือเปล่า กุมความสงสัยไว้กับตัวเองได้ไม่นาน เพราะวันนี้มีโอกาสได้เจอกับ ‘บอล Scrubb’ หรือ ‘ต่อพงศ์ จันทบุบผา’ ศิลปินและผู้บริหารค่ายเพลงอย่าง ‘What The Duck’ และ ‘MILK! Artist Service Platform’ ที่ดูแลและสนับสนุนว่าที่ศิลปินหน้าใหม่ ซึ่งวันนี้ได้ขยับตัวเองมาเป็นค่ายเพลงน้องใหม่อย่าง ‘MILK! BKK Music Label’ แล้วเรียบร้อย ชวนเจ้าตัวคุยแบบลึกๆ ไปเลยว่า ในเลนส์ของคนฟังเพลงและคนที่ทำงานกับอุตสาหกรรมดนตรีมายาวนาน (แถมทำมาแล้วหลายบทบาท) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับเมืองจะมีเรื่องที่อยากชมหรือเรื่องที่ขอบ่นแตกต่างไปจากเราอย่างไร ในฐานะศิลปินและคนทำค่ายเพลง นิยามคำว่า ‘เมือง’ ของคุณเป็นอย่างไร ผมว่ามันเป็นเรื่องของความสะดวกสบายในการเข้าถึงศิลปะและดนตรี […]

คุยกับ Mission To Top U เรื่องศักยภาพเด็กไทย โอกาสไปเมืองนอก และสกิลทำงานที่จำเป็นในโลกอนาคต

ถ้าถามเด็กไทยว่าความใฝ่ฝันอันดับต้นๆ คืออะไร มั่นใจว่า ‘ไปเรียนเมืองนอก’ คือคำตอบของใครหลายคน แต่พอเราพูดคำว่าไปเมืองนอกแล้ว สิ่งที่จะนึกถึงตามมาคือทุน โอกาส และความสามารถในการไปถึงเป้าหมายตรงนั้น ซึ่งน่าเศร้าที่ใครหลายคนถูกดับฝันเพราะขาดปัจจัยเหล่านี้ Mission To Top U คือบริการที่เกิดขึ้นเพราะอยากลบเพนพอยต์ที่ว่า ก่อตั้งโดย ‘เมฆ-ระดมเลิศ อนันตชินะ’ และเพื่อนอีก 3 คน ผู้เชื่อว่าเด็กไทยก็มีความสามารถในการสอบติดมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกได้ไม่แพ้ใครเขา แต่สิ่งที่ขาดไปคือข้อมูลที่ช่วยกรุยทาง รวมถึงประสบการณ์ เป้าหมาย และความมั่นใจที่ต้องติวเข้ม เมฆและเพื่อนๆ ผู้เป็นศิษย์เก่าของ Top U จึงลุกขึ้นรวมตัวกันเพื่อทำภารกิจนี้ โดยเริ่มจากการทำคอนเทนต์เพื่อส่งต่อความรู้ที่มีไปสู่คนรุ่นใหม่ ไปจนถึงการติวเข้มตัวต่อตัว นับถึงตอนนี้ เป็นเวลากว่า 8 ปีที่ Mission To Top U ได้ติวเข้มให้เด็กๆ เดินทางไปสู่ฝั่งฝัน คอลัมน์ Think Thought Thought จึงขอถือโอกาสนี้ชวนเมฆมานั่งสนทนากัน ว่าด้วยความเชื่อที่อยู่เบื้องหลังการผลักดันเด็กไทย มุมมองที่เขามีต่อระบบการศึกษาของบ้านเราและของโลก ไปจนถึงสกิลสำคัญที่นักศึกษาและคนทำงานในอนาคตต้องมี Mission to Better Future […]

คุยเรื่องหนังสือเด็กกับ ศรีสมร โซเฟร หรือ ‘สองขา’ ผู้ร่วมก่อตั้งวาดหวังหนังสือ

หลังเหตุการณ์ไล่บี้หนังสือเด็กในเดือนตุลาคม 2564 กลุ่มวาดหวังหนังสือยังคงผลิตหนังสือสม่ำเสมอ ขณะนี้มีถึงชุดที่ 4 ‘เป็นสุขที่สงสัย’ และมีแพลนทำหนังสือเด็กต่อไป นิทานเด็กของกลุ่มวาดหวังหนังสือช่วยเปลี่ยนภาพจำของหนังสือเด็กที่มักเล่าเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการหรือทักษะเรียบง่าย เพราะหนังสือเด็กนี่เองที่สามารถปูความรู้เรื่องชีวิต การเมือง หรือเพิ่มแง่มุมสดใหม่ในเรื่องเดิมๆ อย่างการเขียน ก.ไก่ ข.ไข่ ขณะเดียวกัน ช่วงโควิด-19 หนังสือเด็กกลายเป็นเทรนด์ของพ่อแม่ยุคใหม่ที่พร้อมลงทุนให้ลูกและได้ใช้เวลาด้วยกัน ก่อนคุยกับ ‘หมอน-ศรีสมร โซเฟร’ เจ้าของนามปากกา ‘สองขา’ ผู้เขียนหนังสือเด็กและผู้ก่อตั้งวาดหวังหนังสือ เธอเปรยว่า ต้องขออภัยหากมีเสียงเครื่องบินรบกวน เพราะนับตั้งแต่เธอเป็นครูโรงเรียนรัฐไทยบนดอยของชาวกะเหรี่ยง สอนเด็กที่อเมริกา ปัจจุบันเธอและครอบครัวอยู่ที่อิสราเอล (บ้านเกิดของสามี) ท่ามกลางสงครามฮามาส-อิสราเอล ที่กำลังดำเนินไป เราคุยกันเรื่องหนังสือนิทานเด็ก ชวนมองถึงวงการหนังสือเด็กไทย ความสำคัญของนิทานและการดูแลเอาใจใส่เด็ก เพราะเชื่อว่าในท้ายสุด เด็กๆ ย่อมเติบโตเป็นผีเสื้อในโลกกว้าง โบยบินสู่อนาคตที่ต้องแบกรับโลกของผู้ใหญ่ในวันนี้ คุณเริ่มต้นจับงานหนังสือเด็กได้อย่างไร เราจบปริญญาตรีประวัติศาสตร์ที่ ม.เกษตรฯ พอเรียนจบก็ทำงานที่เชียงใหม่ เมื่อถึงวันหยุดได้เดินทางท่องเที่ยว ได้เจอครูดีในหลายๆ แห่ง จึงอยากเป็นครู ตอนนั้น (พ.ศ. 2530) เป็นปีแรกที่จบสาขาอะไรมาก็สอบเป็นข้าราชการครูได้ เป็นแล้วชอบ ติดใจ เรารู้สึกว่าเด็กมีความจริงใจ คิดอะไร ชอบหรือไม่ชอบอะไร […]

คลี่คลายทุกความสงสัยเรื่องผังเมืองกับ ‘นพนันท์ ตาปนานนท์’

เมื่อไม่นานมานี้ ประเด็นเรื่องผังเมืองรวม กทม. กลายเป็นประเด็นร้อนแรงปลุกให้คนกรุงเทพฯ หันมาสนใจว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้น ทำไมคีย์เวิร์ด ‘ผังเมืองใหม่เอื้อกับนายทุน’ โผล่มาให้เห็นบ่อยๆ ตามสื่อโซเชียลมีเดีย จนทำให้ กทม.แถลงชี้แจง และขยายระยะเวลารับฟังความคิดเห็นของประชาชนไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ และแน่นอนว่าในฐานะคนเมือง เราย่อมได้ยินคำว่าผังเมืองอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาพูดถึงปัญหาเมืองเรื้อรังที่แก้ไขไม่ได้ เช่น รถติด การเดินทางไม่สะดวก หรือกระทั่งเรื่องอากาศร้อน Urban Creature ชวน ‘รศ. ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์’ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักวิชาการจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำ ‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 4’ มาให้ความเข้าใจถึงเรื่องผังเมืองอย่างง่ายๆ ว่าคืออะไร และปัจจัยนี้เป็นสาเหตุของหลายปัญหาเมืองจริงไหม ลองไปหาคำตอบจากบทสัมภาษณ์นี้กัน ในเชิงวิชาการ คำว่า ‘ผังเมือง’ มีความหมายว่าอย่างไร ถ้าให้ผมสรุปสั้นๆ ผังเมืองเป็นการกำหนดภาพอนาคตของเมือง เป็นกายภาพ มองเห็น จับต้องได้ เพื่อรู้ว่าเมืองนี้มีภาพในอนาคตข้างหน้าเป็นอย่างไร หน่วยงานภาครัฐใช้ภาพนี้ดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ขนส่ง สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ส่วนเมืองมีการพัฒนาโดยภาคเอกชนและประชาชน คือ การสร้างที่อยู่อาศัย การสร้างอาคารพาณิชย์ […]

มุมมองการสร้าง ‘City Branding’ ผ่านสายตานักวิจัยจากคณะสถาปัตย์ที่ทำเรื่องนี้มานับไม่ถ้วน

ก่อนโควิด-19 แพร่ระบาด ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาสูงถึง 40 ล้านคนต่อปี นักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มจับจ่ายใช้สอยมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นขาช้อปชาวจีนหรือนักท่องเที่ยวชาวยุโรปหนีอากาศหนาวมาพักตากอากาศที่ไทยเป็นเวลานาน พอโควิด-19 ระบาดอย่างหนักจนทำให้สนามบินปิด ชายแดนปิด คนในห้ามออก คนนอกห้ามเข้า เพื่อควบคุมการระบาดของโรค ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งที่เคยครึกครื้นกลับซบเซา ร้านค้าถูกทิ้งร้าง ถนนคนเดินหลายเส้นเงียบเหงาจนน่าใจหาย ระยะเวลาผ่านไปสักปีกว่าๆ โควิด-19 ถูกประกาศว่าเป็นโรคประจำถิ่น นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การท่องเที่ยวกลับมาคึกคักอีกครั้ง สายการบินเริ่มเพิ่มเที่ยวบินในประเทศและระหว่างประเทศมากขึ้น สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เตรียมพร้อมเปิดรับแขกอีกครา แต่คราวนี้ตลาดการท่องเที่ยวหลังโควิด-19 แข่งขันกันอย่างดุเดือด เพื่อดึงเม็ดเงินมาฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 อาจจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ที่เราไม่เคยรู้จักหรือสถานที่ท่องเที่ยวเก่าแต่ออกแบบเมืองใหม่ เหลาให้แหลมคมด้วยเครื่องมือชื่อ ‘City Branding’ Urban Creature ชวน ‘อาจารย์อั๋น-ผศ. ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย’ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง และ ‘อาจารย์กบ-ผศ.ศรันยา เสี่ยงอารมณ์’ รองคณบดีและอาจารย์ประจำภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คู่หูทำงานวิจัยเกี่ยวกับ City Branding มาพูดคุยกันถึงเครื่องมือนี้อย่างเจาะลึก และการใช้มันออกแบบเมืองให้ดึงดูดคนนอกมาท่องเที่ยว พร้อมกับทำให้คนในรักษาคุณค่าดั้งเดิมของพื้นที่ไว้ได้ อยากให้นิยาม City Branding ในเวอร์ชันของคุณทั้งสองคน อาจารย์อั๋น […]

แม้แต่ผีก็ยังต้องปรับตัวไปตามยุคสมัย คุยกับพี่แจ็ค The Ghost ถึงวิวัฒน์ของผีในเรื่องเล่าสยองขวัญ

กลางดึกคืนนี้ก็เป็นเหมือนทุกคืน ‘วัชรพล ฝึกใจดี’ หรือที่หลายคนเรียกติดปากว่า ‘พี่แจ็ค’ นั่งอยู่หลังไมค์ อุณหภูมิเย็นต่ำ ห้องทั้งห้องเงียบสงัด เกือบจะใช้คำว่าวังเวงได้ หากไม่มีเสียงสนทนาปลายสายที่โทรติดต่อเข้ามาคุยกับเขา “เรื่องมันเป็นอย่างนี้ครับพี่แจ็ค…” ริมฝีปากเม้ม คิ้วขมวดมุ่น จินตนาการเตลิดเปิดเปิง ความวังเวงอันตรธานไปกลายเป็นความรู้สึกเสียวสันหลัง บ้างเผลออุทานตอนถึงจุดพีกของเรื่องเล่าสยองขวัญ คืนแล้วคืนเล่าของ ‘พี่แจ็ค’ เป็นแบบนั้น ถึงจะลุ้นและตื่นเต้นจนหายใจไม่ทั่วท้อง แต่เขาก็บอกว่ามีความสุขทุกครั้งที่ได้จัดรายการ The Ghost Radio ของพี่แจ็คถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 8 ปีก่อน ถึงจะไม่ใช่รายการวิทยุที่ชวนคนโทรมาเล่าเรื่องผีรายการแรกในไทย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า The Ghost คือแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้รายการเรื่องเล่าผีบูมขึ้นมาในบ้านเรา คำถามที่หลายคนสงสัยคือ ในยุคที่สังคมและเทคโนโลยีเปลี่ยนไป ทำไมรายการเรื่องเล่าผีจึงได้รับความนิยม และมีทีท่าว่าจะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ วัดจากช่วงหลายปีมานี้ มีรายการเล่าเรื่องผีเกิดขึ้นมากมาย กลางดึกสงัดที่ว่างเว้นจากการจัดรายการ เราชวนพี่แจ็คมาคุยกันเรื่องความหลงใหลในเรื่องสยอง ผีที่พี่แจ็คกลัวที่สุด และวิวัฒนาการของผีในเรื่องเล่าที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและสังคมเมือง พี่แจ็คเคยเจอผีไหม ชีวิตนี้ไม่เคยเจอผี เป็นคนไม่มีเซนส์เรื่องผีเลย แล้วเชื่อไหมว่าผีมีจริง ผมเชื่อ 50 – 50 ว่าผีมีหรือไม่มีจริง เพราะเราไม่เคยเจอผีเลยไม่รู้ว่าตกลงแล้วผีมีจริงหรือเปล่า และเราก็ฟังเรื่องผีมาเยอะจากคนหลายคน เราเลยอยู่ตรงกลางระหว่างสองฝั่ง และเพราะเราเป็นผู้ดำเนินรายการด้วยแหละ […]

เดชรัต สุขกำเนิด กับปรัชญาการทำงานในสังคมต่างวัย

ในวันที่ ‘คนรุ่นใหม่’ มีบทบาทในสังคมมากกว่าทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมาแล้ว ‘ผู้อาวุโส’ จะอยู่ตรงไหนในสังคมการทำงานและการใช้ชีวิตร่วมกัน สนทนาถึงประเด็นนี้กับ ‘อาจารย์เดชรัต สุขกำเนิด’ ผู้อำนวยการ Think Forward Center แห่งพรรคก้าวไกล ที่ใครๆ ก็เห็นว่าเป็นองค์กรที่เต็มไปด้วยคนรุ่นใหม่ คนสูงวัยหรือผู้อาวุโสควรวางตัวอย่างไร ต้องปรับมายด์เซตแบบไหนให้ไม่เป็นพิษกับเด็กๆ รอบข้าง ตามไปฟังคำแนะนำจากผู้อาวุโสคนหนึ่งที่พยายามไม่ใช้ความอาวุโสไปกดทับใครในบทสัมภาษณ์นี้ ‘Super Seniors’ คือซีรีส์คอนเทนต์จาก Urban Creature ที่ต้องการฉายภาพสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุที่ไทยและหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญ พร้อมกับชวนไปสำรวจโครงสร้าง นโยบาย และมายด์เซตที่เมืองของเราได้เตรียมพร้อมไว้ให้คนกลุ่มนี้

‘นินจา 4MIX’ การเป็นตัวเองในวงการบันเทิง ที่อยากให้มองคนที่ความสามารถ

“ทุกคนพิสูจน์ตัวเองได้ แต่ต้องไม่ใช่เรื่องเพศ เพราะไม่ว่าจะเป็นเพศไหน ทุกคนก็เป็นคนเหมือนกัน ไม่อยากให้น้อยใจว่าฉันเกิดมาเป็นแบบนี้มันติดลบ” ในวันที่ T-POP กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง ในฐานะ T-POP Stan คนหนึ่ง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าวง ‘4MIX’ ถือเป็นไอดอลวงแรกๆ ของยุคนี้ที่เป็นคนจุดประกายความหวังของเราขึ้นอีกครั้ง ทั้งยังดังไกลติดตลาดจนมีแฟนคลับจำนวนมากจากฝั่งลาตินอเมริกา ความน่าสนใจของ 4MIX ไม่ใช่แค่วงไอดอลมากความสามารถที่มีเพลงติดหูคนไทยตั้งแต่เพลงแรกที่เดบิวต์สเตจและครองใจใครต่อใครด้วยความเป็นตัวเอง แต่หนึ่งในสมาชิกอย่าง ‘นินจา-จารุกิตต์ คําหงษา’ ก็ยังเป็นคนในคอมมูนิตี้ LGBTQ+ ที่พยายามผลักดันเรื่องความหลากหลายและความเท่าเทียมมาโดยตลอด ก่อนส่งท้าย Pride Month เราได้นัดหมายพูดคุยกับ ‘นินจา 4MIX’ ถึงตัวตนของศิลปินคนนี้ ผ่านเรื่องเล่าชีวิตวัยเด็ก เส้นทางศิลปินในปัจจุบัน รวมไปถึงการค้นหาความหวังในอนาคตผ่านบทสัมภาษณ์คอลัมน์ Think Thought Thought ก่อนจะมาเป็นนินจาในวันนี้ ชีวิตวัยเด็กของคุณเป็นอย่างไร นินเป็นเด็กบ้านนอกมาก แบบที่ไม่ใช่แค่อยู่ต่างจังหวัดแต่มันคือต่างอำเภอและอยู่นอกตัวอำเภอออกไปอีก แต่ดีหน่อยที่มีคุณแม่เป็นคุณครู เลยค่อนข้างมีโอกาสมากกว่าหลายๆ คนในหมู่บ้าน เพราะเวลามีงานต่างๆ ในโรงเรียน แม่ที่เป็นครูจะเอาลูกตัวเองไปเต้นไปรำ จากสิ่งนี้ทำให้เราซึมซับมาเรื่อยๆ จนกลายเป็นเด็กที่ขับเคลื่อนด้วยกิจกรรมล้วนๆ อย่างตอนที่เราสอบติดโรงเรียนประจำอำเภอ 2 โรงเรียนพร้อมกัน โรงเรียนหนึ่งเป็นเลิศด้านวิชาการกับอีกโรงเรียนที่เน้นกิจกรรม […]

จากราชบุรีถึงอเมริกา ฟังเสียงเพลงจากชีวิตของ ‘ราม-เอกศักดิ์ ชานาง’ วง Selina and Sirinya

“ถ้าจังหวะมันไม่ได้ก็แค่พักไว้ก่อนและฝึกฝนไปด้วย ชีวิตต้องมีรายได้ และค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจัดการ แต่ถ้าเวลาผ่านไปแล้วเราไม่ทำสิ่งที่รัก แน่นอนว่ามันย้อนกลับไปไม่ได้ ทุกวันคือต้องทำ ยิ่งทำก็ยิ่งก่อตัว “เราอยากให้เพลงที่ทำช่วยเยียวยาคนอื่น เป็นส่วนหนึ่งในความสร้างสรรค์ที่ให้แรงบันดาลใจ และส่งเสริมสังคมให้ดีขึ้น” ‘ราม-เอกศักดิ์ ชานาง’ ครองตนเป็นศิลปินมาจนถึงปัจจุบันในวัย 39 ปี เริ่มตั้งแต่เขาเติบโตเล่าเรียนในบ้านเกิดที่จังหวัดราชบุรี พอย่างเข้าวัยรุ่นก็เรียนที่ช่างศิลปสุพรรณ และไปเป็นเด็กวิจิตรศิลป์ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในช่วงมหาวิทยาลัย ช่วงเวลานี้เองที่เขาได้พบรักกับสองสิ่ง หนึ่งคือ Selina (เซลิน่า) แบ็กแพ็กเกอร์สาวชาวอเมริกันที่มาเที่ยวที่ไทย สองคือ วงดนตรีที่ร่วมสร้างขึ้นมากับเพื่อนซี้สุดซัดมาด ‘เอ๊ะ-นที ศรีดอกไม้’ ในนาม Selina and Sirinya จากการพบรักก่อตัวเป็นสิ่งที่รัก ชีวิตศิลปินของรามได้ออกเดินทางครั้งใหญ่ เขาโยกย้ายไปอยู่กับครอบครัวที่มีภรรยาและลูกอีกสองคนที่ประเทศอเมริกาเป็นเวลาสิบกว่าปี เดือนไหนที่อาชีพคนสวนในฟาร์มกัญชาของเขาสามารถหยุดงานได้ รามจะพาครอบครัวบินกลับมาที่ไทย และใช้ชีวิตออกทัวร์เล่นดนตรีกับเพื่อน  เรานึกถึงบทสนทนาข้ามทวีปในช่วงสิ้นปีที่ได้คุยกับราม ถึงจุดเริ่มต้นของการไปใช้ชีวิตอยู่ในอเมริกา เรื่องราวเหล่านั้นประกอบด้วยงานเพลง ความฝัน ความนึกคิด ความเป็นศิลปิน รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของเมืองที่เขาอาศัยอยู่ เนื่องในเดือนกุมภาพันธ์นี้ วง Selina and Sirinya กำลังมีทัวร์เปิดอัลบั้มสามที่กรุงเทพฯ คอลัมน์ Think Thought […]

ฮาวทูชาร์จแบตฯ กายใจในเมืองใหญ่ที่ดูดพลังเราทุกวัน คุยกับนักละครบำบัด ‘กิ๊ฟท์ ปรีห์กมล’

ในฐานะคนที่จากบ้านเกิดมาอยู่เมืองใหญ่หลายปี สิ่งที่ทำใจให้ชินไม่ได้สักทีคือความรู้สึกไม่มีพลังในการควบคุมสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ฉันไม่อาจเรียกตัวเองว่าเพื่อนสนิทกับขนส่งสาธารณะ ไม่ชอบความแออัด กะเวลาไม่ได้ ถ้าจะเดินทางครั้งหนึ่งก็ต้องเผื่อเวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง ไหนจะฝุ่นควันในอากาศและสถานการณ์บ้านเมืองที่ทำให้หัวร้อนได้ทุกวัน  ‘เมืองนี้สูบพลัง’ คือความคิดตั้งแต่วันแรกที่มาอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน ความรู้สึกต่อมาที่หลายคนน่าจะมีเหมือนกันคือ ‘ฉันอยากออกไปจากที่นี่ แต่ยังไปไหนไม่ได้’ ด้วยเหตุผลนับร้อยพันที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกันคอยฉุดรั้งไว้ นั่นคือเหตุผลที่ฉันมาพบกับ ‘กิ๊ฟท์-ปรีห์กมล จันทรนิจกร’ หญิงสาวผู้ที่หลายคนอาจรู้จักในฐานะผู้ก่อตั้ง Ma.D Club for Better Society กิจการเพื่อสังคมที่ซัปพอร์ตกลุ่มคนผู้อยากสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีในสังคมเมื่อหลายปีก่อน ประสบการณ์เกี่ยวกับสุขภาพจิตจากตัวเธอเองและคนรอบข้างในช่วงเวลานั้น ทำให้ปรีห์กมลสนใจด้านจิตใจและการบำบัดมากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะละครบำบัดที่ทำงานกับเธอได้ดีเป็นพิเศษ หลังจาก Ma.D ปิดตัวลงในปลายปี 2018 เธอจึงเดินทางไปเรียนต่อ MA Drama and Movement Therapy ที่ The Royal Central School of Speech and Drama ประเทศอังกฤษ และกลับมาทำงานที่นี่ในฐานะนักละครบำบัด และในฐานะคนทำงานเกี่ยวข้องกับร่างกายและจิตใจอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ปรีห์กมลคือคนที่เราอยากขอคำปรึกษาเรื่องการกลับมาดูแลกายใจในเมืองสูบพลังที่เรา (จำเป็น) ต้องใช้ชีวิตอยู่ เล่าให้ฟังหน่อยสิว่าหลักของละครบำบัดที่คุณทำอยู่คืออะไร และมันต่างจากการบำบัดแบบอื่นอย่างไร สำหรับเรา […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.