‘อยู่กันดีๆ ให้ได้ได้ไหม’ จะใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวใหญ่อย่างไรให้สงบสุข ในยุคที่ใครก็ไม่เข้าใจกัน

เวลาพูดถึงจุดร่วมของ ‘สังคมไทย’ หลายครั้งภาพที่ฉายออกมาคือการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ภายในรั้วบ้านหลังคาเดียวกันจะมีสมาชิกอยู่หลากรุ่น หลายเครือญาติ ใครที่มีรูปแบบครอบครัวเช่นนี้ คงจะคุ้นเคยกับความสนุกสนาน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสนิทสนมอย่างเต็มที่ แต่ในขณะเดียวกัน ความบาดหมางและความเจ็บปวดใจที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารในครอบครัวใหญ่ ก็เป็นความทุกข์ที่หลายครั้งเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเปี่ยมไปด้วยความรู้สึกมากมายที่ซับซ้อนและตีกันวุ่นไปหมด ยิ่งในช่วงที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ และเงื่อนไขชีวิตที่หลายคนเลือกมีพื้นที่ของตัวเองด้วยการย้ายออกมาอยู่คนเดียวไม่ได้ จะมีวิธีไหนบ้างที่ช่วยจัดการสภาพจิตใจต่อความกระอักกระอ่วนที่อาจเกิดขึ้นบ่อยๆ ภายในครอบครัว ไม่มีใครเป็นตัวเอก ไม่มีใครเป็นตัวร้าย แต่เราแค่มาจากหนังคนละเรื่องกัน หลายครั้ง ความไม่ลงรอยกันภายในครอบครัวใหญ่ มักเกิดจากความไม่เข้าใจและความไม่พร้อมเปิดใจรับฟัง ทำให้ต่างฝ่ายต่างไม่รู้สึกได้รับการเห็นค่าจากคนที่รัก โดยเฉพาะญาติอาวุโสที่ยิ่งใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้มานานเท่าไหร่ ยิ่งง่ายที่จะยึดมั่นทั้งความเชื่อและแบบแผนการใช้ชีวิตที่พวกเขาเชื่อว่าถูก ผ่านการเลี้ยงดูและคำสอนจากคนรุ่นอาวุโสกว่าพวกเขามาอีกที คุณค่าบางอย่างที่พวกเขาให้ความสำคัญ แม้ไม่ใช่ว่ามันเป็นสิ่งไม่ดี แต่นั่นอาจไม่ได้เป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นตรงกันเสมอไป ยกตัวอย่าง กรณีศึกษาที่ผู้เขียนในฐานะนักจิตบำบัดความสัมพันธ์และครอบครัวพบบ่อยในชั่วโมงบำบัด คือการที่คนรุ่นพ่อแม่หรือบางครั้งก็เป็นรุ่นปู่ย่าตายายเลยด้วยซ้ำ พยายามพร่ำบอกให้ลูกหรือหลานตัวเองยึดแนวทางการใช้ชีวิตให้เหมือนเขา เพราะการใช้ชีวิตในรูปแบบนั้นนำพาความสำเร็จและชีวิตที่สุขสบายมาให้ รูปแบบการใช้ชีวิตที่ว่า หนึ่งในนั้นคือ ‘ความอดทน’ ไม่ว่าจะทั้งทางกายหรือใจ การพร่ำบอกให้อดทนต่องานที่ทำ ทำไมถึงบ่นกับเรื่องแค่นี้ ทำไมถึงไม่หาข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มในเวลาว่าง ทำไมหยุดงานหรือเปลี่ยนงานบ่อยจัง หรือการบอกให้อดทนต่อความรู้สึก เช่น เรื่องแค่นี้ทำไมต้องร้องไห้ เรื่องมันเกิดมานานแล้ว ทำไมยังคิดเล็กคิดน้อยอยู่ได้ ทะเลาะกันแค่นี้ ทำไมเลือกที่จะหย่า ฯลฯ แน่นอนว่าความเจ็บปวดเป็นเรื่องปัจเจก สิ่งที่ทำให้อารมณ์แต่ละคนสั่นสะเทือนล้วนมีหน้าตาต่างกันออกไป ไม่ว่าจะด้วยเจตนาที่ดีหรือไม่ก็ตาม การปฏิเสธความรู้สึกของใครคนหนึ่งยิ่งสร้างความห่างเหินในใจ […]

URBAN UNTOLD | เรื่องเล่าที่ LGBTQIAN+ ไม่ได้เล่า

TW : เนื้อหาในคลิปมีการพูดถึงความรุนแรงจากการทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ ในเดือนมิถุนายนของทุกปี หากเราเห็นคนมากมายใส่เสื้อสีสันหลากหลายร่วมกันเดินขบวนพาเหรดโบกธงสีรุ้งอยู่บนถนนก็คงไม่แปลกใจนัก เพราะมันคือการเฉลิมฉลอง Pride Month ที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน จากการต้องหลบซ่อนจากความเกลียดชังหรือการทำร้ายกันซึ่งเกิดจากเพศ การต่อสู้กว่าจะได้ซึ่งสิทธิของเพศหลากหลายเพื่อให้เคารพทุกคนได้เท่าเทียมกัน ‘เพศ’ ที่ในโลกเคยกำหนดไว้ผ่านแค่ ‘จู๋’ หรือ ‘จิ๋ม’ มีเพียงชายจริงหญิงแท้ ได้ถูกพัฒนาและซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเราพบว่า จริงๆ แล้วตัวตนของคนคนหนึ่งหรือเพศนั้นไม่ควรถูกกำหนดจากเพียงแค่อวัยวะเพศอย่างเดียว หากแต่มนุษย์คนหนึ่งล้วนมีความหลากหลายและซับซ้อนไปมากกว่านั้น แต่ความหลากหลายและความซับซ้อนนี้ หลายๆ ครั้งก็ทำให้สังคมอาจไม่เข้าใจว่าทำไมมันต้องยุ่งยากเสียเหลือเกิน และไม่ใช่แค่สังคมภายนอกเท่านั้น บางทีภายในคอมมูนิตี้ของพวกเขาเองก็ยังมองว่ายุ่งยากและมีปัญหาอื่นๆ ตามมาด้วยเช่นเดียวกัน วันนี้ Urban Untold จึงขอไปสำรวจภายในคอมมูนิตี้ของเพศหลากหลายว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง Urban Creature ขอต้อนรับวาระผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียมด้วยเรื่องเล่าภายในสังคมความหลากหลายทางเพศที่ไม่ได้ถูกเล่า ผ่านตัวของพวกเขาเอง เพื่อให้สังคมได้รับรู้ว่า ไม่ได้มีเพียงแค่ปัญหาจากสังคมภายนอกเท่านั้น แต่สังคมหรือวัฒนธรรมภายในก็ควรเปลี่ยนด้วยเช่นกัน

‘ไม่ยาก ถ้าไม่อยากเป็นคน Toxic’ ขอโทษให้เป็น เยียวยาใจ และเตือนตัวเองให้อย่าเผลอไปทำร้ายใจใครอีก

หนึ่งคำพูดอันทรงพลังเกี่ยวกับสุขภาพจิตที่เราเคยได้ยินคือ “Hurt people, hurt people.” อธิบายคือ คนที่เคยผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เขาเจ็บปวดมา หากเขากอดความปวดร้าวนั้นไว้แน่นกับตัว ไม่ช้าก็เร็ว เขาต้องส่งความเจ็บปวดนี้ให้คนอื่นอีก และประโยคที่ตามมาจากประโยคแรกคือ “Healed people, heal people.” ใครก็ตาม ไม่ว่าจะเจ็บปวดมาแค่ไหน หากเขาคนนั้นเลือกที่จะเดินเข้าสู่หนทางแห่งการเยียวยาจิตใจ ไม่ช้าก็เร็ว แรงกระเพื่อมของการอยากมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นจะส่งผลต่อคนรอบข้างให้อยากมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นตามได้แน่นอน แต่ถ้า Hurt People (คนที่เจ็บปวด) ไม่ได้เจ็บปวดจากการที่คนอื่นทำตัวเองเจ็บ แต่เจ็บปวดจากการทำให้คนอื่นเจ็บแล้วรู้สึกแย่มากๆ หลังจากนั้นแทนล่ะ ความรู้สึกที่เหมือนตัวเองเป็นตัวร้ายนี้จะ Heal (เยียวยา) อย่างไรดี หาต้นตอที่ทำให้เราเจ็บปวด เพื่อรีบออกจากวงจรการเผลอเป็นคน Toxic แทบทุกคนที่เคยทำตัวไม่น่ารักใส่ใคร มักเคยมีคนมาทำให้เจ็บก่อน ไม่ว่าคนคนนั้นจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่นี่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่อนุญาตให้เราสมควรส่งต่อความเจ็บนี้กระจายสู่คนอื่นไปเรื่อยได้ มีช่วงหนึ่งที่ผู้เขียนเคยมีเรื่องผิดใจกับแม่ รู้สึกเจ็บใจที่ไม่น่าเล่าเรื่องส่วนตัวให้เขาฟัง ปนกับความน้อยใจที่คาดหวังไปเองว่าแม่น่าจะเข้าใจฉันมากกว่านี้ ทำให้ผู้เขียนรู้สึกหงุดหงิดและรำคาญแม่อยู่เสมอ ซึ่งก็มาจากก้อนความเศร้าที่ต่างคนต่างผิดหวังในกันและกันจากความเชื่อในการใช้ชีวิตบางอย่างที่ไม่ตรงกัน จึงเกิดเป็นถ้อยคำทำร้ายจิตใจกัน แต่ก็เป็นตัวผู้เขียนเองที่ไม่ยอมสลัดความเจ็บนี้ออกจากใจ เลือกที่จะแบกไว้ เพราะหวังเองอยู่ลึกๆ ว่าแม่ต้องเข้าใจความเจ็บปวดนี้บ้าง ซึ่งวิธีจัดการความเจ็บในใจโดยการปักธงอยากจะลงโทษทางอารมณ์คนที่ทำให้เจ็บนั้น ก็เป็นวิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าไหร่นัก เพราะทุกครั้งที่เราโฟกัสกับความเจ็บที่เรารู้สึกจากเขา และพยายามจะส่งก้อนความเจ็บนี้กลับไปให้เขา กลายเป็นเราเองนั่นแหละที่เจ็บในใจกว่าเหลือเกิน สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นคือ เราหงุดหงิดและรำคาญแม่แทบทุกเรื่องที่เขาทำ […]

‘อุตสาหกรรมดนตรีจะดีขึ้นกว่านี้ได้ ขนส่งมวลชนต้องดีก่อน’ คุยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเมืองและคนดนตรีกับ ‘บอล Scrubb’ 

เราไม่ได้มองศิลปินและนักดนตรีต่างออกไปจากคนเมืองธรรมดาๆ อย่างตัวเองนัก เราคือคนทำงาน พวกเขาก็คือคนทำงาน ความเป็นไปของเมืองที่เราอยู่อาศัยส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเรา กับศิลปินและนักดนตรีที่อยู่ในเมืองเดียวกันนี้ก็คงไม่ต่างกัน จากประสบการณ์ส่วนตัว เราจะสนใจอ่าน ฟัง หรือถกเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างคนกับเมือง ผ่านบทสนทนากับคนในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเมืองเสียมากกว่า และหลังจากได้ยินความตั้งใจของคนหลายๆ กลุ่มก้อนที่อยากผลักดันให้เมืองกรุงเทพฯ เป็น Music City หรือสนับสนุนให้ T-POP เป็นซอฟต์พาวเวอร์ เป็นหน้าเป็นตาของเมืองหรือประเทศ คำถามที่ปรากฏขึ้นในหัวเราในเวลาต่อมาคือ แล้วเมืองได้สนับสนุนอะไรกลับไปที่ศิลปินที่กำลังตั้งใจทำงานอยู่หรือเปล่า กุมความสงสัยไว้กับตัวเองได้ไม่นาน เพราะวันนี้มีโอกาสได้เจอกับ ‘บอล Scrubb’ หรือ ‘ต่อพงศ์ จันทบุบผา’ ศิลปินและผู้บริหารค่ายเพลงอย่าง ‘What The Duck’ และ ‘MILK! Artist Service Platform’ ที่ดูแลและสนับสนุนว่าที่ศิลปินหน้าใหม่ ซึ่งวันนี้ได้ขยับตัวเองมาเป็นค่ายเพลงน้องใหม่อย่าง ‘MILK! BKK Music Label’ แล้วเรียบร้อย ชวนเจ้าตัวคุยแบบลึกๆ ไปเลยว่า ในเลนส์ของคนฟังเพลงและคนที่ทำงานกับอุตสาหกรรมดนตรีมายาวนาน (แถมทำมาแล้วหลายบทบาท) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับเมืองจะมีเรื่องที่อยากชมหรือเรื่องที่ขอบ่นแตกต่างไปจากเราอย่างไร ในฐานะศิลปินและคนทำค่ายเพลง นิยามคำว่า ‘เมือง’ ของคุณเป็นอย่างไร ผมว่ามันเป็นเรื่องของความสะดวกสบายในการเข้าถึงศิลปะและดนตรี […]

ผู้รับเหมาก่อสร้าง อาชีพบันดาลบ้านตามสั่งลูกค้า

การจะสร้างบ้านสักหนึ่งหลังต้องใช้ทักษะจากหลายสาขาอาชีพ ทั้งสถาปนิกในการออกแบบตัวอาคาร และวิศวกรที่ต้องดูแลโครงสร้าง รวมถึงช่างก่อสร้าง ทั้งช่างระบบไฟและช่างประปา ซึ่งการก่อสร้างจะดำเนินไปได้รวดเร็วและเป็นระบบมากขึ้น หากมีหนึ่งคนที่เป็นศูนย์รวมจิตใจและแก้ปัญหารวมได้ทั้งหมด “ผู้รับเหมา คำว่าเหมาไงครับ เหมาหมด เหมาทุกอย่าง เหมาทั้งความรับผิดชอบ ความสบายใจของลูกค้า และความเป็นอยู่ของลูกน้อง” Urban Creature ในคอลัมน์ The Professional ชวนคุยกับ ‘อ๊อฟ-ปราโมทย์ ทิพย์แสง’ ผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีประสบการณ์ทำงานมาอย่างยาวนาน โดยผู้รับเหมาต้องคอยกำกับดูแลงานสร้างทั้งหมด วางแผนการใช้วัสดุและกำหนดตารางงานให้เสร็จตามกำหนด ดูแลความเป็นอยู่ของคนงาน เพื่อให้ได้บ้านที่มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของเจ้าของบ้านมากที่สุด

สำรวจ ‘ป่าในเมือง’ ที่สวนเบญจกิติไปกับเยาวชนตัวน้อย ในค่าย Power Green Camp ครั้งที่ 19

เพราะป่า เมือง และชีวิตต่างเชื่อมโยงถึงกัน จนขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้ การปลูกฝังให้เยาวชนรับรู้ว่า พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ไม่ใช่ ‘เจ้าของ’ จึงเป็นเรื่องสำคัญ กว่า 19 ปีที่โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Power Green Camp) บ่มเพาะเด็กรุ่นใหม่ให้สนใจและหวงแหนสิ่งแวดล้อมรอบตัว และในปีนี้เป็นปีที่เราต้องเผชิญกับสภาพอากาศแปรปรวน ปัญหาฝุ่นควัน มลพิษจากการจราจรที่หนาแน่น ประกอบกับอัตราส่วนพื้นที่สีเขียวในประเทศไทยที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสดีที่จะร่วมปลูกฝังให้เยาวชนเห็นความสำคัญของ ‘พื้นที่สีเขียว’ หนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เพื่อให้พวกเขาสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างป่า-เมือง-ชีวิต Urban Creature ขอใช้โอกาสนี้ร่วมใช้เวลาหนึ่งวันไปกับการสำรวจ ‘ป่าในเมือง’ ที่สวนเบญจกิติพร้อมเหล่าเยาวชนตัวน้อย ภายใต้ธีม ‘Urban Rewilding ป่า-เมือง-ชีวิต’ ที่มาพร้อมกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติ เน้นการใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์มาดูแลทรัพยากรป่าไม้และฟื้นคืนความหลากหลายทางชีวภาพของป่าในเมืองอย่างเป็นระบบ ไอความร้อนภายในเมืองที่หลายคนลงมติว่าปีนี้ร้อนขึ้นกว่าทุกๆ ปี เป็นสัญญาณว่า ‘ภาวะโลกเดือด’ กำลังทำให้สมดุลของสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ยิ่งในสังคมเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ของเราที่มีอัตราส่วนพื้นที่สีเขียวต่อประชากรอยู่เพียง 3.54 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่กำหนดไว้ที่ 9 ตารางเมตรต่อคน ทำให้ปัญหาเรื่องพื้นที่สีเขียวกลายเป็นปัญหาสำคัญที่เราทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกัน อีกทั้งเทรนด์ในปัจจุบันที่คนหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับพื้นที่ธรรมชาติสีเขียวในเมืองมากขึ้น การให้ความสำคัญกับป่าในเมือง อีกหนึ่งพื้นที่สีเขียวของคนเมืองที่เป็นมากกว่าสวนสาธารณะทั่วไป จึงเป็นสิ่งที่เราต้องเริ่มต้นให้ความสนใจตั้งแต่วันนี้ […]

หมาเด็กแมวเด็ก ช่วยให้โฟกัสได้ดีขึ้น การเสพภาพหรือคลิปสัตว์โลกตัวน้อยทำให้มีสมาธิในการทำงานโดยไม่รู้ตัว

ช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเข้าไปในโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มไหนก็มักเจอแต่ภาพและคลิปวิดีโอสัตว์น่ารักๆ เต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นแพนด้ากินไผ่ คาปิบาราแช่น้ำร้อน วอมแบตเกาก้น หรือเหล่าหมาเด็กที่ชาวเน็ตอยากอมหัวออนไลน์ แน่นอนว่าการดูคลิปหรือภาพสัตว์น่ารักๆ ช่วยลดความเครียด เพิ่มความสุขให้กับเรา และแม้ว่าเราจะใช้เวลานอนดูคลิปไปวันๆ โดยไม่ได้ทำอะไร แต่เชื่อหรือไม่ว่า นอกเหนือจากการช่วยขจัดความรู้สึกอันหนักหน่วงออกไปแล้ว ความน่ารักแบบไม่รู้ตัวของเจ้าสัตว์พวกนี้ยังช่วยให้มนุษย์มีสมาธิเพิ่มขึ้นอีกด้วย ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นได้ด้วยความคิวต์ของสัตว์โลก เวลาเครียดๆ เรามักหาวิธีการผ่อนคลายจากความหนักหนานั้นด้วยการไถหน้าจอดูอะไรสนุกๆ หรือน่ารักๆ ซึ่งภาพหรือคลิปสัตว์น่าจะเป็นสิ่งแรกๆ ที่เรานึกถึง โดยเฉพาะเจ้าสัตว์ตัวน้อยๆ ที่ยิ่งคูณความน่าเอ็นดูขึ้นไปอีก แต่มากไปกว่าความตะมุตะมิเกินต้าน ยังมีการศึกษาของนักวิจัย ‘ฮิโรชิ นิตโตโน’ แห่งมหาวิทยาลัยฮิโรชิมา ที่แสดงให้เห็นว่า เจ้าสัตว์โลกเหล่านี้ช่วยให้เราโฟกัสได้ดีขึ้นอีกด้วย โดยเขาได้ทำการทดลองผ่านการเล่นเกม แยกเป็นครั้งแรกให้ผู้ทดลองเล่นตามปกติ ส่วนครั้งที่สองแบ่งผู้ทดลองออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งดูภาพของลูกหมาและลูกแมว อีกกลุ่มหนึ่งดูภาพของหมาและแมวโตเต็มวัยที่มีความน่ารักน้อยกว่าวัยเด็ก  หลังจากกลับมาเล่นเกมอีกครั้ง ทีมผู้วิจัยพบว่า กลุ่มผู้ทดลองที่ดูภาพหมาเด็กแมวเด็กมีความรอบคอบมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ดีขึ้นกว่ารอบแรก ส่วนกลุ่มที่ดูภาพหมาแมวตอนโตนั้นใช้เวลาในการเล่นเท่าเดิมและประสิทธิภาพที่ออกมานั้นไม่ได้ต่างจากเดิมเท่าไหร่ การศึกษานี้ทำให้พบว่า สิ่งน่ารักๆ โดยเฉพาะลูกสัตว์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งอาจเกิดจากสมาธิที่เพิ่มขึ้น เพราะขอบเขตความสนใจที่แคบลงจากการเพ่งความสนใจทั้งหมดไปอยู่ที่รูปภาพหรือคลิปวิดีโอของสัตว์น่ารักๆ ตรงหน้าไปแล้ว สอดคล้องกับรายงานในปี 2009 ของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียที่พบว่า การดูรูปน่ารักๆ อย่างลูกหมาและลูกแมวนั้นส่งผลต่ออารมณ์เชิงบวกได้ง่าย ช่วยให้มีความตั้งใจความเอาใจใส่มากขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการอยากมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมด้วย เพราะความกระจุ๋มกระจิ๋ม ทำให้ลูกสัตว์ส่งผลต่อใจคนมากกว่า […]

รักไม่ได้แปลว่ารับได้ทั้งหมด หาเหตุผลว่า ทำไมคนที่เรารักถึงเป็น ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ให้เราไม่ได้

คำว่า ‘พื้นที่ปลอดภัย’ เป็นอีกหนึ่งคำที่พวกเราได้ยินกันบ่อยมาก เมื่อกำลังพูดถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพจิต ซึ่งจริงๆ แล้ว ถ้าจะให้ฟังดูสมเหตุสมผล คนที่สามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กันและกันได้ ก็ควรเป็นคนสนิทหรือคนที่เรารักเขา-เขารักเราที่สุด แต่ในความเป็นจริง หลายครั้งเราก็ไม่อาจรู้สึกปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์จากคนที่เรารักหรือผูกพันที่สุด แม้ว่าเขาจะไม่ได้ตั้งใจทำให้เรารู้สึกแบบนั้นเลยก็ตาม และจุดนี้แหละที่ทำให้มันเป็นความจริงที่น่าเศร้า ใช่ เรายังรักเขาต่อไปได้ สิ่งนี้ไม่จำเป็นต้องกระทบความเข้มข้นและลึกซึ้งของความรักที่เรามีให้เขา แต่วันนี้มาลองทำความเข้าใจกันดีกว่าว่า มีความท้าทายไหนบ้างที่ยากจะทำให้คนรักของเราเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เรา และเราเองนั้นควรระวังอะไรบ้าง เพื่อจะยังคงเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้คนที่เรารักได้อย่างดีที่สุด พื้นที่ปลอดภัย ไม่ใช่พื้นที่เลิศหรูสมบูรณ์แบบ ผู้เขียนยังไม่เคยได้ยินใครเปรียบเทียบความรู้สึก ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ว่าเป็นปราสาทราชวังหรือเมืองหรูๆ ที่ไหน บางคนบอก พื้นที่ปลอดภัยคือพื้นที่ที่ได้คุยกับนักจิตวิทยาหรือนักจิตบำบัด บางคนบอก พื้นที่ปลอดภัยคือสนามบอลที่ได้ใช้เวลากับเพื่อน คือมุมชงกาแฟที่ให้ตัวเองได้พักจากความเครียดในที่ทำงาน คือวงเหล้าในบาร์ที่คุ้นเคย ฯลฯ พื้นที่ไหนทำให้เราได้เป็นตัวของตัวเอง ไม่ทำให้เรารู้สึกแปลกแยก แม้มันอาจจะไม่สบายตัวบ้าง หรือแตกต่างจากพื้นที่ของคนอื่นแค่ไหน แต่ความสบายใจที่ได้รับมันก็ชนะทุกอย่างอยู่ดี พื้นที่ปลอดภัย คือพื้นที่ที่ต้อนรับทุกอารมณ์และความรู้สึก ผู้เขียนเคยไปบรรยายในงานเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตงานหนึ่ง เขาตั้งคำถามว่า ทำอย่างไรลูกถึงจะรู้สึกว่าพ่อแม่คือพื้นที่ปลอดภัยของเขา โดยเฉพาะเวลาเกิดเหตุอันตราย เช่น ลูกถูกล่อลวงหรือโดนหลอกผ่านอินเทอร์เน็ต แล้วไม่กล้าบอกพ่อแม่ ทำให้ไม่มีที่พึ่งเพราะไม่รู้จะหันไปหาใครดี พวกเราโตมาพร้อมกับความเชื่อที่แบ่งแยกบางความรู้สึกว่า นี่คือความรู้สึกที่ดี ควรรู้สึกให้ได้บ่อยๆ และบางความรู้สึกก็เป็นความรู้สึกที่แย่ […]

คุยกับ Mission To Top U เรื่องศักยภาพเด็กไทย โอกาสไปเมืองนอก และสกิลทำงานที่จำเป็นในโลกอนาคต

ถ้าถามเด็กไทยว่าความใฝ่ฝันอันดับต้นๆ คืออะไร มั่นใจว่า ‘ไปเรียนเมืองนอก’ คือคำตอบของใครหลายคน แต่พอเราพูดคำว่าไปเมืองนอกแล้ว สิ่งที่จะนึกถึงตามมาคือทุน โอกาส และความสามารถในการไปถึงเป้าหมายตรงนั้น ซึ่งน่าเศร้าที่ใครหลายคนถูกดับฝันเพราะขาดปัจจัยเหล่านี้ Mission To Top U คือบริการที่เกิดขึ้นเพราะอยากลบเพนพอยต์ที่ว่า ก่อตั้งโดย ‘เมฆ-ระดมเลิศ อนันตชินะ’ และเพื่อนอีก 3 คน ผู้เชื่อว่าเด็กไทยก็มีความสามารถในการสอบติดมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกได้ไม่แพ้ใครเขา แต่สิ่งที่ขาดไปคือข้อมูลที่ช่วยกรุยทาง รวมถึงประสบการณ์ เป้าหมาย และความมั่นใจที่ต้องติวเข้ม เมฆและเพื่อนๆ ผู้เป็นศิษย์เก่าของ Top U จึงลุกขึ้นรวมตัวกันเพื่อทำภารกิจนี้ โดยเริ่มจากการทำคอนเทนต์เพื่อส่งต่อความรู้ที่มีไปสู่คนรุ่นใหม่ ไปจนถึงการติวเข้มตัวต่อตัว นับถึงตอนนี้ เป็นเวลากว่า 8 ปีที่ Mission To Top U ได้ติวเข้มให้เด็กๆ เดินทางไปสู่ฝั่งฝัน คอลัมน์ Think Thought Thought จึงขอถือโอกาสนี้ชวนเมฆมานั่งสนทนากัน ว่าด้วยความเชื่อที่อยู่เบื้องหลังการผลักดันเด็กไทย มุมมองที่เขามีต่อระบบการศึกษาของบ้านเราและของโลก ไปจนถึงสกิลสำคัญที่นักศึกษาและคนทำงานในอนาคตต้องมี Mission to Better Future […]

อากาศร้อนเปรี้ยง ระเบิดอารมณ์ปัง! รับมืออารมณ์ของเราในหน้าร้อนอย่างไร ไม่ให้ต้องเสียใจภายหลัง

อากาศที่ร้อนจนเราหงุดหงิด เดือดปุดๆ ดั่งลาวาที่พร้อมปะทุ กระตุ้นฮอร์โมนความเครียดให้ออกมา นำไปสู่อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจต่างๆ เช่น รู้สึกรำคาญทุกอย่างไปหมด เหนื่อยล้าเหมือนไม่เคยได้พักอย่างเต็มที่ อ่อนไหวง่ายกว่าเดิม โกรธง่าย หมดความอดทน และโอกาสที่เพิ่มสูงขึ้นของความรุนแรงในความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นทางจิตใจ วาจา หรือร่างกาย ในงานวิจัยที่ Psych Central ได้รวบรวมมาบอกว่า ‘Heat (and extreme rain) brings out the worst in people.’ นั่นคือ ไม่ใช่แค่อากาศที่ ‘ร้อน’ มากๆ เท่านั้นที่ทำให้ผู้คนแสดงด้านแย่ที่สุดของตัวเองออกมา แต่ในอากาศที่มีฝนตกอย่างหนักด้วยเหมือนกัน คีย์เวิร์ดสำคัญดูจะอยู่ที่ ‘ความสุดโต่ง’ หรือความ Extreme ของสภาพอากาศข้างนอก ที่จะดึงเอาอารมณ์ข้างในที่สุดโต่งหรือผิดแปลกออกไปจากอารมณ์ส่วนใหญ่ในช่วงเวลาปกติของเราออกมา คอลัมน์ Mental Help ประจำเดือนนี้ ผู้เขียนเลยขอเขียนบทความนี้เป็นคู่มือฉบับย่อ เพื่อเป็นฮาวทูช่วยดักจับอารมณ์ที่ร้อนระอุ และเปลี่ยนให้ไม่กลายเป็นพฤติกรรมที่เราอาจเสียใจในอนาคต หัดไม่มองอะไรเป็นขาว-ดำ เมื่อรำคาญคนรอบตัวไปเรื่อยอย่างไม่มีเหตุผล อากาศร้อนทำให้ความสามารถในการคัดกรองพฤติกรรมที่แสดงออกไปลดน้อยลงอย่างน่าตกใจ ซึ่งหนึ่งในอารมณ์ไม่พึงประสงค์คือ ความโกรธที่เกิดจากอคติเป็นทุนเดิม เช่น ฉันไม่ชอบคนนี้อยู่แล้ว […]

URBAN UNTOLD | เรื่องเล่าที่คนทำสื่อไม่ได้เล่า

“ตอนแรกคิดว่าเขายื่นฟ้องในนามสื่อ แต่พบว่าเราโดนคนเดียวนี่นา”“เป็นสื่อต้องเสียสละ? ไม่จริง สื่อเองก็อยากจะสุขสบายเหมือนกัน” Urban Untold ชวนคนที่ต้องเล่าเรื่องของคนอื่นเป็นอาชีพอย่างนักสื่อสารมวลชน มาเล่าเรื่องของตัวเอง เรื่องที่คนอาจไม่รู้ หรือมองข้ามเพราะมองว่าเป็นหน้าที่ที่สื่อต้องเสียสละ Urban Creature ร่วมกับ Nabi Fellows Program โครงการเสริมศักยภาพด้านสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาคุณค่าประชาธิปไตย ผ่านโครงการวิจัย การผลิตสื่อ และสารคดี

บันทึกจากคนเชียงใหม่ในวันที่กลายเป็นผู้ประสบภัย ใช้ชีวิตตายผ่อนส่ง จากฝุ่นควัน PM 2.5

สิบกว่าปีที่แล้วเวลานึกถึงเชียงใหม่ หลายคนมักนึกถึงอากาศเย็นๆ ในช่วงฤดูหนาว คนจำนวนมากเดินทางมาเพื่อชมภาพทะเลหมอกกับทิวดอยต่างๆ และบ้างที่มาเพื่อลองจิบกาแฟถึงแหล่งผลิตกาแฟคุณภาพอันดับต้นของประเทศ นี่คือส่วนหนึ่งจากหลายเหตุผลที่ทำให้ผู้คนมาเที่ยวที่เชียงใหม่ และทำให้จังหวัดนี้มีชื่อเสียง แต่ปัจจุบันเมื่อหมดช่วงฤดูหนาวที่เป็นหน้าไฮซีซันของจังหวัดไป เชียงใหม่ก็กำลังมี ‘ชื่อเสีย’ จากปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี จนติดอันดับหนึ่งของโลกอยู่หลายครั้ง และทำให้นักท่องเที่ยวลดน้อยถอยลงเพราะหนีจากฝุ่นไปจำนวนมาก ฝุ่นจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพลักษณ์ ต่อเศรษฐกิจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสุขภาพของผู้คนเชียงใหม่ที่จำต้องสูดอากาศหายใจที่มีกลิ่นควันผสมกับกลิ่นเลือด จากการอักเสบของทางเดินหายใจของตนเองจากฝุ่น และใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางฝุ่น PM 2.5 ในฐานะ ‘ผู้ประสบภัย’ เมื่อทาง Urban Creature ติดต่อมาขอให้เขียนเรื่องปัญหาฝุ่นควันในคอลัมน์ One Day With… เราจึงตอบตกลงทันที ในฐานะของคนเชียงใหม่ที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยโดยตรง เราขอเป็นตัวแทนคนเชียงใหม่ในการนำเสนอให้ผู้คนทั่วไปได้เห็นประสบการณ์ของคนเชียงใหม่ที่ต้องทนอยู่กับปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 มาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี คนเชียงใหม่ต้องเจออะไร ทนกับสิ่งไหน และมีความหวังกับอะไรบ้างที่จะช่วยแก้ไขปัญหาฝุ่นควันนี้ให้หมดไป 01 แม้ ‘อากาศ’ จะไม่ได้ถูกรวมอยู่ในปัจจัยสี่อันเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่เรามองว่าอากาศคือสิ่งที่ทุกคนรับรู้โดยทั่วกันว่าคือ พื้นฐานสำคัญที่สุดในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ แต่ปัจจุบันสำหรับคนเชียงใหม่รวมถึงคนในจังหวัดทางภาคเหนือ การหายใจเข้าลึกๆ ที่ควรจะเป็นเรื่องดีกลับกลายเป็นความเสี่ยง เป็นความหวาดกลัวไปแล้วว่า พวกเขากำลังจะสูดเอามลพิษเข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมาก และเป็นการทำร้ายสุขภาพของพวกเขาเอง จนบางคนเรียกการทนอยู่กับฝุ่นนี้ว่าเป็นการตายผ่อนส่ง สำหรับคนเชียงใหม่ […]

1 2 3 4 5 33

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.