
Mental Help
การสำรวจครั้งที่ลึกถึงจิตใจ ความสัมพันธ์ ซึ่งมาพร้อมวิธีรับมือและเยียวยา
Asexuality ความสัมพันธ์ที่ฉันรักเธอ แต่ ‘ไม่ฝักใฝ่เซ็กซ์’
‘การมีเซ็กซ์เป็นเรื่องธรรมชาติของร่างกายมนุษย์’ คือประโยคที่ได้รับรู้ผ่านการพร่ำสอน แต่ใครเล่าจะคิดว่าความปกติที่หล่อหลอม กลายเป็นส่วนสร้างบาดแผลชิ้นใหญ่ให้ผู้ที่มีรสนิยมทางเพศรูปแบบ Asexuality หรือ ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศกับผู้อื่น ที่ไม่ปรารถนาจะมีความสัมพันธ์ทางกายกับใคร ชวนทำความเข้าใจ Asexuality หนึ่งในสีสันแห่งความหลากหลายทางเพศกับ ปาร์คเกอร์-ภารวี อากาศน่วม ผู้นิยามตัวเองว่า Aromantic Asexual Trans Masculine ซึ่งสิ่งที่คุณกำลังจะได้อ่านต่อจากนี้ คือเสียงที่เขาอยากสะท้อนก้องสู่สังคมถึงการยอมรับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่ขึ้นชื่อว่า ‘มนุษย์’ P. Parkers เขาคือผู้กล้า “เรานิยามตัวเองว่าเป็น Asexual ที่ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศกับใคร และอยู่ในสเปกตรัมของ Aromantic ที่มีแรงดึงดูดทางใจกับคนอื่นน้อยมาก และไม่ได้รู้สึกว่าการมีคนรักเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต และเราเป็น Trans Masculine ที่มีเพศกำเนิดเป็นหญิง แต่ไม่ได้ต้องการจะข้ามเพศไปเป็นผู้ชาย เพียงแค่อิงกับความเป็นชาย” เมื่ออยากนำเสนอคำว่า Asexuality ให้ถึงแก่น ปาร์คเกอร์ คือชื่อแรกที่ฉันนึกถึง นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาและวรรณคดีอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งเพจ Aro/Ace-clusionist: Aromantic & Asexual Exist ซึ่งมีความมุ่งมั่นเพื่อสร้างความเข้าใจตัวอักษร ‘A’ ใน LGBTQIA+ […]
ไม่อยากกลับบ้านเลย ‘เมื่อบ้านไม่ใช่บ้าน’
เหตุผลที่คนไม่อยากกลับบ้านมีอยู่พันหมื่นข้อเรียงยาวลงมาแล้วแต่ประสบการณ์ชีวิตที่แต่ละคนเจอ บ้างไม่ได้รับความอบอุ่นและความรักจากพ่อ-แม่ บ้างก็โดนญาติหรือคนในครอบครัวทำร้ายจิตใจและร่างกายให้บอบช้ำ หรือบ้างประสบปัญหาแบกความคาดหวังจากครอบครัวอย่างหนักอึ้งที่บั่นทอนความสุขลงทุกวัน ‘บ้านไม่ใช่บ้าน’ จึงเป็นประโยคแทนปรากฎการณ์ดังกล่าวได้ดี
Sapiosexual ความฉลาดมันช่างดึงดูด (?) คนเราเกิดอารมณ์กับคนฉลาดได้จริงหรือไม่
ชวนค้นหาคำตอบว่า เราสามารถมีอารมณ์ หรือตกหลุมรักคนที่ ‘ความฉลาด’ ได้จริงเหรอ ?
“พี่น้องไม่ทะเลาะกัน เพราะพ่อแม่ไม่เคยเปรียบเทียบ” บทบาทลูกคนโตของ ‘เฟิด Slot Machine’
สัมผัสตัวตนอีกด้านในมุมของ ‘เฟิด-คาริญญ์ยวัฒ’ ในบทบาทของลูกคนโตที่ฝันอยากสร้างครอบครัวให้มีความสุขมากขึ้นทุกวัน และทิศทางการก้าวเดินไปข้างหน้าในฐานะศิลปินผู้อยากเป็นตำนานที่ยังมีลมหายใจ
ตรงสเปกแต่ไม่รัก ความคุ้นเคยวัยเด็กส่งผลต่อ ‘การรักใครสักคน’
‘ตรงสเปกแต่ไม่รัก’ มีล้านเหตุผลที่ถูกหยิบยกมาอธิบายเมื่อต้องการจบความสัมพันธ์ แต่ ‘ซิกมันด์ ฟรอยด์’ (Sigmund Freud) นักจิตวิทยาผู้เป็นเจ้าของทฤษฎีจิตวิเคราะห์กล่าวไว้ว่า “ที่ไม่รักคนในสเปก เพราะความคุ้นเคยในวัยเด็กส่งผลต่อการเลือกคู่ชีวิต”
ทนได้ไหม? ถ้าต้องเว้นระยะห่างทางสังคมและ ‘อยู่เงียบๆ’ คนเดียว
คนเราจะอยู่เงียบๆ คนเดียวโดยไม่ทำอะไรเลยได้กี่นาที?
ลดช่องว่างระหว่างวัยกับ ‘มนุษย์ต่างวัย’ เพจที่ชวนคนทุกวัยใช้ใจผสานความห่างให้กลายเป็นศูนย์
มนุษย์ต่างวัย คือเพจที่ตั้งใจถ่ายทอดเรื่องราวของคนสูงวัยให้ทุกคนเข้าใจ เราจึงชวน ‘ประสาน อิงคนันท์’ ผู้ริเริ่มความคิดนี้มาพูดคุยถึงการทำงานด้านผู้สูงอายุ และค้นหาคำตอบของการอยู่ร่วมกันในรูปแบบที่ต่างวัยแต่ไม่ต่างใจ
‘เห็นใจ’ จนลืมมองปัญหาใต้พรม
ความเห็นใจ คือคุณสมบัติที่มนุษย์ทุกคนควรมี ทุกคนถูกสอนมาแบบนั้นกันใช่หรือเปล่า ? แต่รู้หรือเปล่าว่าบางทีความเห็นใจกลายเป็นช่องว่างให้บางคนเห็นแก้ตัว และใช้ความเห็นใจปกปิดปัญหาใต้พรม
ในวันที่ต้องกักตัวจากโลกภายนอก จะเก็บความรักไว้ได้อย่างไร?
ช่วงนี้ใครๆ ก็แสนเหงา ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 เช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนหรือคนรักก็ต้องห่างกันสักพัก อะไรที่นัดไว้ก็เป็นอันต้องยกเลิก รวมไปถึงการปฏิสัมพันธ์กับคนจริงๆ ก็น้อยลง ความเหงา เบื่อหน่าย ผิดหวัง หรือวิตกกังวล จึงส่งผลไปถึงสภาพจิตใจ การให้กำลังใจกันและกันน่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยคลายความรู้สึกเหล่านี้ได้
ภายนอกเหมือน แต่ในใจไม่ใช่ เมื่อ ‘การเหมารวม’ สร้างบาดแผลให้ผู้บริสุทธิ์
การเหมารวม (stereotype) คือทัศนคติจากประสบการณ์ที่เคยเจอ ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งมีต่อคนอีกกลุ่มหนึ่ง เช่น เชื้อชาติ ศาสนา การเมือง เพศ ไปจนถึงกลุ่มการชอบที่เป็น sub-culture ของสังคม จนกลายเป็นมาตรฐานในการตัดสิน
“เมื่อโลกภายนอกหมุนเร็ว โลกภายในต้องมั่นคง” เช็กเสาหลัก 4 อย่างของใจ เพื่อสัมผัสความสุขในตัวเราเอง
ผ่านปีใหม่มาได้ไม่นาน หลายคนคงมีปณิธานที่ตั้งใจจะทำให้สำเร็จ ไม่เพียงได้ย้อนมองตัวเองในปีที่ผ่านมา ยังหมายมั่นว่าปีหน้าต้องดีกว่าเดิม แต่สิ่งหนึ่งที่เราสังเกตก็คือ เราได้เห็นความสำเร็จของคนอื่นผ่านสเตตัสเฟซบุ๊ก ที่บางครั้งก็อดเปรียบเทียบกับตัวเองไม่ได้ ในชีวิตที่มีปัจจัยภายนอกมาบีบคั้นให้เราต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ เราเคยถามตัวเองไหมว่า “สิ่งที่เราต้องการจริงๆ คืออะไร ?”
The School of Life : เพราะชีวิตจริงไม่มีติด ร. เปิดห้องเรียน ‘วิชาชีวิต 101’ ที่โรงเรียนไหนก็ให้ไม่ได้
ดราม่าเอยจงซับซ้อนยิ่งขึ้น… แปลกไหมยุคสมัยที่เรามีปัญหาร้อยแปด แต่ผู้คนยังชอบเสพดราม่าในโลกโซเชียล หากย้อนไปดูคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ก็เคยกุมขมับกับเรื่องของความรู้สึกและจิตใจไม่ต่างจากเรา พูดให้เห็นภาพอย่างเพลงฮิตที่ต่อให้ผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย ก็หนีไม่พ้นความเจ็บปวดไม่ว่าจะเป็นเรื่องรักๆ ใคร่ๆ การไม่เป็นที่ยอมรับ ไปจนถึงปัญหาชีวิตที่รุมเร้า