‘ให้พื้นที่ตัวเองได้หายใจบ้าง’ ลองเปลี่ยนจาก ‘ตั้งเป้าในปีหน้า’ เป็น ‘ขอบคุณสำหรับปีนี้’

กะพริบตาไม่กี่ครั้ง เวลาก็ผ่านมาจะหมดเดือนธันวาคมของปีแล้ว ทุกๆ ปี ผู้เขียนกับเพื่อนๆ จะมีกิจกรรมโรแมนติกของเราคือการเขียนข้อตั้งใจหรือความหวังที่อยากให้เป็นจริงในปีใหม่ที่กำลังจะถึงนี้ หรือเรียกสั้นๆ แต่ก็ยาวอยู่ดีว่า ‘New Year’s Resolution’ แต่ได้โปรดอย่าลืมว่าชีวิตประจำวันก็กดดันพอแล้ว อย่ากดดันกับการคาดหวังถึงอนาคตเกินไปเลย หากเราไม่ชอบตัวเองในปีนี้ อยากก่นด่า อยากทำโทษตัวเอง แล้วฝากใจไว้ปีหน้าว่าต้องดีกว่าตอนนี้ให้ได้ จนนำความโกรธแค้น ความไม่ได้ดั่งใจของปีนี้ไปนำทาง ก็ยากที่จะไปถึงความรู้สึกดีๆ ที่ฝันไว้ได้ เพราะตัวเราเองแทบไม่คุ้นชินกับความรู้สึกดีๆ ไหนเลย หลายครั้งที่ข้อตั้งใจของเราไม่สำเร็จดังวาดไว้ เพราะระบบในร่างกายเราต้องใช้เวลาปรับตัวเข้ากับ ‘สิ่งใหม่’ นั้น ช่วงแรกๆ แน่นอนว่ายังมีพลังจะทำตามข้อตั้งใจ แต่เมื่อถึงช่วงหมดโปรโมชัน เกิดความท้อ ความกลัว ความเหนื่อย ความขี้เกียจเข้ามาแทรก มันก็ง่ายที่เราจะกลับไปอยู่ในจุดเดิมที่ตัวเองชินมานาน อยู่ในอารมณ์ไหนบ่อย จิตใจเราก็จะชิน เมื่อเราฝากความหวังไว้กับปีหน้า ตั้งตาต้อนรับสิ่งที่ฝันไว้ แต่ไม่เคยซ้อมหรือกระทั่งเตรียมใจปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงดีๆ นี้เลย ก็เป็นการยากที่จะมีสะพานเชื่อมความฝันกับความจริงให้มาเจอกัน เช่น ปีหน้าอยากรวยขึ้นเดือนละหมื่นบาท แต่ปีนี้ไม่ได้วางแผนการเงินเพิ่ม ฝึกตัวเองให้ขยันขึ้น หรืออย่างน้อยรู้สึกเชื่ออย่างสุดใจว่าเราคู่ควรกับเงินที่เพิ่มขึ้น ก็ไม่แปลกที่มันจะไม่เกิดขึ้นจริง อีกอย่าง เมื่อเราคุ้นเคยกับสิ่งไหน เราก็มักดึงตัวเองกลับไปสู่สิ่งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เราคิดว่าดีหรือแย่ เพราะความคุ้นเคยที่ทำบ่อยๆ ได้กลายเป็นสิ่งที่เรารู้สึกปลอดภัยกับมันไปแล้ว รวมไปถึงนิสัยและอารมณ์ด้วย […]

ทำไมเวลาสูญเสียดาราคนโปรด เราถึงเศร้าไม่ต่างจากการที่คนรักจากไป

วันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา ควรจะเป็นวันธรรมดาวันหนึ่ง แต่โลกก็หม่นลงไปอีกเฉด ด้วยข่าวการเสียชีวิตของดาราดัง ‘แมทธิว เพอร์รี’ (Matthew Perry) วัย 54 ปี ที่ถูกพบว่าสิ้นลมในอ่างอาบน้ำที่บ้านของเขาในเมืองลอสแอนเจลิส แมทธิวโด่งดังจากบทแชนด์เลอร์ บิง (Chandler Bing) ในซีรีส์เรื่อง Friends กับบทบาทชายหนุ่มที่มักสร้างเสียงหัวเราะให้คนดูรู้สึกอบอุ่นใจเสมอ  ‘ตั้งแต่แมทธิวตาย ฉันดิ่งเลยว่ะ ไม่รู้จะทำยังไงดี ดู Friends ต่อไปไม่ไหวแล้ว ร้องไห้ทุกครั้งเลย เขาคือตัวละครที่ฉันชอบมาก ปกติดูทุกคืนเลย มันเคยทำให้ฉันมีความสุขมาก ไม่รู้จะจัดการชีวิตยังไงต่อ ฉันไม่รู้จะคุยกับใครจริงๆ’ นี่คือถ้อยคำที่เราได้รับในช่วงที่ข่าวเศร้านี้ออกมา แม้ว่าตัวเราเองจะไม่ได้สนิทกับรุ่นพี่คนนี้มากนัก แต่การที่เธอพิมพ์มาหารุ่นน้องที่ทำงานด้านสภาพจิตใจอย่างเรา คงเป็นส่วนหนึ่งที่บอกได้ว่า สิ่งนี้เป็นความเจ็บปวดที่ละเอียดอ่อนและมีความเฉพาะ เสียจนไม่กล้าระบายออกมาให้คนทั่วไปรับรู้ เพราะคงยากจะเชื่อว่ามีคนเข้าใจหรือรับรู้ว่าการสูญเสียครั้งนี้เป็นแผลช้ำใหญ่ในใจของใครบางคนจริงๆ ความสัมพันธ์ของเขาและเรา มันเป็นมากกว่าตัวละครและผู้ชม ‘สายสัมพันธ์ของเรากับคนดังคนหนึ่ง มันมาจากความสำคัญในการมีอยู่ของเขา ต่อช่วงเวลายิ่งใหญ่ในชีวิตของเรา’ คำอธิบายจากบทสัมภาษณ์ของนักจิตบำบัด ‘อาเนียซา แฮนสัน’ (Aniesa Hanson) ในเว็บไซต์สุขภาพจิต Psychology Today พอจะทำให้เราเข้าใจความรู้สึกของรุ่นพี่คนนั้น เพราะรุ่นพี่ของเรามีซีรีส์เรื่อง […]

‘เปลี่ยนจากการโทษเหยื่อเป็นเข้าใจ’ ในช่วงที่ใจอยู่ในโหมดอันตราย แทบเป็นไปไม่ได้ที่เราจะป้องกันตัวเอง

‘หนูดีใจนะที่เขาไม่เข้าใจ โชคดีแล้วที่ไม่ต้องมาเจออะไรแบบนี้’ ผู้เขียนยังจำบทสนทนาครั้งนั้นเมื่อสิบปีมาแล้ว ที่เคยสัมภาษณ์น้องคนหนึ่งที่เป็นโรคซึมเศร้าได้ดี น้องเล่าให้ฟังถึงความรู้สึกตัวเองอย่างละเอียด และมุมมองของพ่อที่มีต่อเธอ พ่อหาว่าโรคซึมเศร้าไม่มีจริงหรอก เธอแค่ขี้เกียจ สถานการณ์เดียวกันนี้มักเกิดขึ้นกับคนที่ถูกปั่นหัวปั่นประสาท หลอกลวง และทำร้ายไม่ว่าจะทางร่างกาย คำพูด จิตใจ หรือเซ็กซ์เป็นเวลานาน หากใครไม่ได้เป็นคนคนนั้นผู้กำลังเผชิญเหตุการณ์ที่ค่อยๆ แทรกซึมถึงจุดที่ตัวเองรู้สึกตกต่ำและหวาดกลัวสุดๆ ก็ยากมากที่จะเข้าใจว่าทำไมคนคนนั้นถึงยอมปล่อยให้ตัวเองจมดิ่งจนถึงขั้น ‘ออกมาไม่ได้’ ขนาดนั้น ระบบป้องกันตัวโดยสัญชาตญาณที่ทำให้ไม่กล้ามีปากเสียง หากอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือสถานการณ์ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน ระบบการรับมือกับความเครียดอย่างหนักนั้นจะต่างจากการตัดสินใจทั่วไปในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ยกตัวอย่าง แฟนถามคุณว่าคืนนี้อยากทำอะไร การตัดสินใจก็เป็นเรื่องง่ายเพราะไม่มีเรื่องคอขาดบาดตายมากดดันให้คุณต้องเครียดในการเลือก แต่ถ้าคุณกำลังตกอยู่ในสถานการณ์คับขัน เช่น คนกำลังจะเข้ามาลวนลามในซอยเปลี่ยว ภายในเสี้ยววินาทีนั้นแทบไม่มีทางเลยที่สมองจะตัดสินใจได้อย่างกระจ่างเฉียบแหลม ทำให้ระบบป้องกันตัวของเราจะปรับเข้าสู่โหมด ‘1) Fight – 2) Flight – 3) Freeze’ ในตอนนั้นเราอาจเลือกต่อสู้ผู้ที่กำลังเข้ามาทำร้าย หรือหนีให้เร็วที่สุด หรือตัวแข็งชา เนื่องจากไม่สามารถประมวลผลตอบโต้อีกฝ่ายได้ ซึ่งจริงๆ แล้วคนเรามีหลายวิธีป้องกันตัวเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น พยายามพูดจาดีๆ เป็นมิตร หรือไม่มีปากเสียง ทำตัวให้เป็นปัญหาน้อยที่สุด ฯลฯ ทั้งหมดทั้งมวลนี้เพราะสมองมีหน้าที่หลักในการทำให้มั่นใจว่าเจ้าของสมองนั้นจะรอดตาย ความยาวนานของเหตุการณ์ที่เลวร้าย ยิ่งทำให้ยากที่จะออกมาได้ นอกจากระบบป้องกันตัวที่ทำให้ไม่กล้าพูดหรือสู้กลับแล้ว อีกปัจจัยที่ทำให้เราออกมาจากความทุกข์ทรมานจากการถูกควบคุมหรือหลอกใช้ได้ยากคือความเคยชิน […]

Bare Minimum Monday ทฤษฎีทำงานน้อยๆ ในวันแรกของสัปดาห์ ช่วยลดความเครียดและแก้อาการเกลียดวันจันทร์

แม้ว่าการทำงานจะเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน แต่พอตกเย็นวันอาทิตย์ทีไร หลายคนก็เริ่มเกิดความรู้สึกเครียดและหดหู่ เพราะปรับตัวให้ชินกับการต้องตื่นไปทำงานในวันจันทร์หลังจากได้พักผ่อนสบายๆ ช่วงสุดสัปดาห์ไม่ได้สักที  แต่จะให้ลาออกมาพักผ่อนอย่างเดียวก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุนี้จึงเกิดแนวคิด ‘Bare Minimum Monday’ เทรนด์การทำงานของคนยุคใหม่ที่จะช่วยแก้อาการเกลียดวันจันทร์ กอบกู้อาการหมดไฟ และกระตุ้นให้คนทำงานพร้อมลุยงานตรงหน้าได้อย่างมีความสุขด้วย เริ่มต้นสัปดาห์ด้วยการทำงานให้น้อยเข้าไว้ ทฤษฎี Bare Minimum Monday เกิดขึ้นจากคลิปไวรัลบน TikTok ที่โพสต์โดย ‘Marisa Jo Mayes’ อดีตพนักงานบริษัทขายอุปกรณ์การแพทย์ที่เกิดอาการหมดไฟกับงานของเธอ และหันมาเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง ก่อนจะพบว่าอาการหมดไฟที่เกิดขึ้นในตอนนั้นยังคงมีอยู่แม้ว่าเธอจะเปลี่ยนงานไปแล้วก็ตาม Marisa ยังคงมีอาการที่เรียกว่า ‘Sunday Scaries’ และเธอจะนอนจนกว่าจะถึงวินาทีสุดท้ายก่อนที่จะต้องลืมตาตื่นมาในวันจันทร์ โดยเธอยังอธิบายว่า ความกดดันในตัวเองคือสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดและความรู้สึกหวาดกลัวในวันอาทิตย์เหล่านี้ตามมา เนื้อหาบนวิดีโอได้เล่าถึงวิธีลดวงจรความเครียดในการทำงานของเธอด้วยการทำงานในวันจันทร์ให้น้อยที่สุด และพยายามกดดันตัวเองให้น้อยลง เพื่อหันกลับมาให้ความสำคัญกับตัวเอง และยังเป็นการอุ่นเครื่องให้วันแรกของสัปดาห์ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี  โดยวิธีการจัดการกับวันจันทร์ของเธอคือ การลิสต์งานหลักและสิ่งจำเป็นที่ต้องทำในวันนั้น และเริ่มต้นวันด้วยการอ่านหนังสือ จดบันทึก หรือทำกิจกรรมที่ไม่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ประชุม ไม่เช็กอีเมลเป็นเวลาสองชั่วโมง หลังจากนั้นก็ใช้เวลาไปกับการทำคอนเทนต์ คิดงานสร้างสรรค์สำหรับแบรนด์ของเธอเพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกสนุกขึ้น เธอใช้เวลาไปกับการพักหนึ่งชั่วโมง แล้วกลับมาให้เวลากับงานหลักเป็นเวลาสองชั่วโมง หากทำไม่เสร็จก็จะทำต่ออีกแค่หนึ่งชั่วโมงเท่านั้น โดยระหว่างทำงานเธอจะโฟกัสกับงานตรงหน้าอย่างเต็มที่ ทำให้ผลลัพธ์ของงานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการทำงานแปดชั่วโมง ในขณะที่ใช้เวลาในการทำงานจริงน้อยกว่าเดิม แม้ว่าวิธีคิดของ Marisa […]

เมื่อการ Manifest ทำให้เรากดดันกับการ ‘คิดยังไงให้กลายเป็นจริง’

ช่วงนี้หลายคนน่าจะเห็นเทรนด์การมานิเฟสต์หรือการขอให้จักรวาลฟังเสียงของตัวเอง เพื่อดึงดูดสิ่งดีๆ หรือทำให้สิ่งที่ขอเป็นจริงในหลากหลายโซเชียลมีเดีย แม้ฟังเหมือนเป็นการขอพรทั่วๆ ไปที่เราทำกันอยู่แล้ว แต่หากลงลึกในรายละเอียด จะพอเห็นว่าการมานิเฟสต์มีแนวคิดที่ค่อนข้างแตกต่างออกไป โดยผูกกับมายด์เซต แนวคิด ความเชื่อ และความปรารถนาที่แรงกล้าด้วย ก่อนอื่นผู้เขียนขออธิบายถึงคำว่า มานิเฟสเทชัน (Manifestation) ก่อน คำนี้แปลให้เห็นภาพง่ายๆ คือ ‘การสร้างสิ่งที่อยู่ในหัวให้ออกมาอยู่ในชีวิตจริง’ แต่ขั้นตอนของการนำสิ่งที่เราคิดให้กลายมาเป็นความจริงในโลกกายหยาบนี้ได้ ในสายโลกจิตวิญญาณเขาบอกว่า ต้องมีความเชื่อว่าเราได้ เราเป็น เราคู่ควรกับสิ่งนั้นก่อน และเมื่อเรารู้สึกถึงประสบการณ์ที่เรามีกับสิ่งนั้น เข้าถึงมันซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ ผ่านการใช้เวลา ไม่ว่าจะทั้งทางอารมณ์และความรู้สึก ภาพที่ชัดอยู่ในหัวและการกระทำของเราในแต่ละวันจะถือเป็นการเตรียมพร้อมให้สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้น กลายเป็นความจริงที่เราจับต้องได้ในชีวิตตอนนี้ ยกตัวอย่าง ถ้าอยากมีแฟนที่มีหน้าที่การงานดี วางตัวภูมิฐาน ฉลาดรอบรู้ การจะมานิเฟสต์ให้ได้สิ่งนี้ เราต้องเชื่อว่านี่คือสิ่งที่เหมาะสมกับเรา เชื่อลึกลงไปในทุกอณูร่างกาย เพราะถ้านั่นคือสเปกผู้ชายหรือผู้หญิงที่เราอยากคบ แต่ในแต่ละวันเรายังนั่งคิดว่าตัวเองด้อยกว่าคนอื่นเยอะ มองแต่ข้อเสียของตัวเอง เพิ่มความรู้สึกดีไม่พอเข้าไป มันก็ยากที่ระบบในร่างกายและจิตใจของเราจะประทับลงไปว่า เรานี่ล่ะคู่ควรกับคนรักแบบนี้ นอกจากนั้นเราต้องดื่มด่ำด้วยใจเป็นสุขกับความคิดที่ว่า เรากำลังคบกับคนแบบนี้อยู่ ในแต่ละวันเราจะทำกิจกรรมอะไรกันบ้าง มันสนุกแค่ไหน การใช้ชีวิตของเราในแต่ละวันจะเปลี่ยนไปอย่างไร และที่สำคัญ เราต้องเตรียมพร้อมที่จะให้ภาพนี้เป็นจริงขึ้นมาด้วย อย่าลืมตั้งคำถามกับตัวเองว่า แล้วผู้หญิงหรือผู้ชายในฝันของคนในฝันของเราคนนี้จะต้องเป็นอย่างไรนะ แล้วในแต่ละวันตอนนี้เราทำอะไรบ้างเพื่อให้ได้เป็นคนในฝันของเขาคนนั้น เช่น เราออกจากบ้านบ่อยแค่ไหน […]

‘Inner Child’ ทำความเข้าใจตัวตนผ่านความเป็นเด็กในตัวเรา กับบาดแผลในวัยเยาว์ที่มาเจอเอาตอนโต

ในช่วงแรกๆ ที่ผู้เขียนเริ่มทำงานเป็นนักจิตบำบัด มีคนไข้อยู่ในช่วงวัยรุ่นตั้งแต่มัธยมฯ จนถึงมหาวิทยาลัยค่อนข้างเยอะ ซึ่งเวลาอยู่ในชั่วโมงบำบัดจะเกิดความรู้สึกที่แปลกมาก เพราะสังเกตว่าใจตัวเองเต้นตึกๆ รู้สึกร้อนผ่าวอยู่หลายครั้ง ทั้งๆ ที่เราก็ไม่ได้กำลังเผชิญเหตุการณ์ที่อีกฝ่ายเขาเจออยู่ เมื่อได้มาคุยกับ Supervisor และค่อยๆ กะเทาะเข้าไปทำความเข้าใจตัวเองเรื่อยๆ ถึงได้รู้ว่า ความรู้สึกหนักๆ ที่เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในชั่วโมงบำบัดนั้น มันคือความรู้สึกโดนกระทบแรงๆ (Triggered) ที่ทำให้ตัวเองย้อนกลับไปนึกถึงช่วงวัยรุ่นที่ผ่านเหตุการณ์ยากลำบากต่อจิตใจคนเดียว  ตอนนั้นไม่รู้จะเล่าให้ใครฟัง รู้สึกอาย และเชื่อว่าเรื่องราวของเราควรเก็บมันไว้ในใจ ไม่ให้ใครข้างนอกเห็นว่าเรามีจุดที่อ่อนแอ กลายเป็นว่าช่วงเวลาที่ผู้เขียนได้ทำหน้าที่เป็นนักจิตบำบัดให้น้องๆ เหล่านั้น ความรู้สึกหนักๆ ก้อนใหญ่ได้เด้งกลับไปที่เจ้าเด็กมะเฟืองในช่วงวัยรุ่น ตอนนั้นเธอไม่รู้จะหันไปพึ่งใคร ทั้งที่ลึกๆ แล้วเธอก็อยากได้คนอย่าง Therapist มาคอยรับฟัง อยู่เป็นเพื่อนโดยไม่ตัดสินอะไร และไม่ทำให้ผู้เขียนต้องรู้สึกแย่กับตัวเองกว่าเดิม เด็กคนนั้นโตมากลายเป็นเธอ เราอยากชวนทุกคนมารู้จักกับคำว่า ‘Inner Child’ ที่แปลง่ายๆ คือ ‘เด็กคนนั้นที่อยู่ในตัวเรา’ เพราะตอนที่เราเป็นเด็ก สิ่งที่ต้องการมากที่สุดคงหนีไม่พ้นความสนุก ความรัก และความรู้สึกปลอดภัย หากในวัยเด็กของเราเติบโตมาด้วยความรู้สึกขาดหรือโหยหาบางสิ่งที่เราอยากได้ แต่ในตอนนั้นเรามีตรรกะหรือความเข้าใจต่อโลกไม่มากพอที่จะรับมือกับความอัดอั้นในใจ จึงทำให้อธิบายออกมาเป็นคำพูดที่ต้องการไม่ได้ และหากเรามีความทรงจำวัยเด็กบางเหตุการณ์ที่ส่งผลให้จิตใจสั่นคลอน โดยเฉพาะความทรงจำที่เกิดขึ้นในครอบครัว และเราต้องเจอเหตุการณ์เหล่านั้นเป็นประจำในระยะเวลานาน มันง่ายมากที่เราซึ่งเป็นเด็กในตอนนั้นจะกดบาดแผลที่มองไม่เห็นให้ลึกสุดใจ แต่ขณะเดียวกัน บาดแผลนั้นก็ยังไม่ไปไหน มันแค่แปลงร่างกลายเป็นเราในเวอร์ชันเด็กที่ซุกซ่อนอยู่ในเสี้ยวใดเสี้ยวหนึ่งของจิตสำนึก […]

ฉีดโบท็อกซ์ไม่ได้ลดแค่ริ้วรอย แต่ยังช่วยลดความเครียด ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น

การตัดสินใจเสริมความงามของหลายๆ คนมักเริ่มต้นจากความต้องการที่จะลดริ้วรอยแห่งวัย ซึ่งมาพร้อมอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยหัตถการอันดับต้นๆ ที่หลายคนรู้จักคือการฉีด ‘โบท็อกซ์’ หรือ ‘Botulinum toxin (BTX)’ สารช่วยลดการทำงานของกล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว และทำให้ริ้วรอยบนใบหน้าหายไป แต่โบท็อกซ์ไม่ได้มีประโยชน์ด้านความงามเพียงอย่างเดียว แต่ยังถูกใช้เพื่อรักษาอาการไมเกรนเรื้อรัง ภาวะเหงื่อออกมาก ลดอาการเจ็บปวดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ ภาวะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน และอาการอื่นๆ ทางการแพทย์ มากไปกว่านั้น ยังมีงานวิจัยที่พบว่า การฉีดโบท็อกซ์เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยให้ผู้คนสุขภาพจิตดีขึ้นได้อีกด้วย ฉีดโบท็อกซ์เพิ่มสวย ลดเครียด นักวิจัยจาก ‘Skaggs School of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences’ แห่ง ‘University of California San Diego’ พบข้อมูลจาก ‘สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)’ ว่าคนที่ฉีดโบท็อกซ์ในตำแหน่งต่างๆ ที่ไม่ใช่แค่หน้าผากมีภาวะซึมเศร้าลดน้อยลงมากกว่า 22 – 72 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยอาการเดียวกันที่ใช้การรักษาคนละรูปแบบ โดยมีข้อสันนิษฐานว่า เมื่อคนเราเกิดความเครียด ร่างกายจะแสดงอาการผ่านสีหน้าอย่างเช่นการขมวดคิ้ว ซึ่งส่งผลให้เกิดริ้วรอยบนใบหน้า แน่นอนว่าเมื่อเกิดรอยตำหนิขึ้นมาก็จะยิ่งทำให้เกิดความกังวล ไม่มั่นใจ […]

‘ทำไมคนถึงชอบฟังเพลงเศร้า’ รู้จักกับหนึ่งในวิธีการเยียวยาจิตใจผ่านความเจ็บปวด

‘ความสุขมักถูกซ่อนเอาไว้ในความเจ็บปวด’ คำกล่าวนี้ผู้เขียนไม่ได้ทึกทักขึ้นมาเอง แต่ความเจ็บสามารถสร้างความสุขแบบแปลกๆ ให้เราได้จริง จากฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน (Endorphins) หรือฮอร์โมนแห่งความสุขที่ปล่อยออกมาเวลาเราทำกิจกรรมที่สนุกหรือเพลิดเพลินไปกับมัน เช่น ออกกำลังกาย ทานของอร่อย นวดสปา หรือการมีเซ็กซ์ ขณะเดียวกัน ถ้าลองนึกดูดีๆ หลายครั้งเราก็ ‘เพลิดเพลิน’ ไปกับกิจกรรมที่มีความทรมานแฝงอยู่ มาก-น้อย ช้า-เร็วต่างกันไป เช่น การกินเผ็ด เล่นเครื่องเล่นหวาดเสียว ดูหนังผี ไปจนถึงการดูหนังหรือฟังเพลงเศร้า โดยเฉพาะช่วงที่เรากำลังอกหัก สิ่งนี้เรียกว่า ‘Tragedy Paradox’ หรือความย้อนแย้ง ที่ใช้ในสถานการณ์เมื่อคนเราพยายามจะทำอะไรสักอย่างเพื่อลดหรือบรรเทาความเศร้าในชีวิต แต่ก็เจอความสุขในความสวยงามของความเศร้านั้นไปด้วย นอกจากนี้ ในระหว่างที่เรากำลังฟังเพลงเศร้า ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนโพรแลกทิน (Prolactin) ที่สร้างขึ้นเมื่อน้ำตาเราไหล ซึ่งจะช่วยให้เรารู้สึกบันเทิงไปกับเพลงที่ฟังดูเจ็บปวด หรือเมื่อกำลังมีประสบการณ์กับอารมณ์คลื่นความถี่ต่ำ เช่น เศร้า โหยหาถึงคนที่คิดถึง เครียด โดยจะช่วยให้รู้สึกผูกพันและเชื่อมต่อกับสิ่งที่เรารู้สึกว่ามีความหมาย ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้คือตัวเดียวกับฮอร์โมนที่จะปล่อยออกมาตอนที่เราจะได้เป็นพ่อคนแม่คน และได้ยินเสียงลูกร้องไห้ สิ่งที่ทำให้ฮอร์โมนตัวนี้เป็นฮอร์โมนที่ปลอดภัยต่ออารมณ์ความรู้สึกของเราทั้งที่ปล่อยออกมาตอนฟังเพลงเศร้า เป็นเพราะระบบรับรู้ของเราจับได้ว่า ‘เรากำลังฟังเพลงเศร้า เพื่อให้นึกถึงช่วงเวลาที่เศร้าตอนนั้น แต่เราไม่ได้กำลังอยู่ในเหตุการณ์ที่ทรมานหดหู่ตอนนี้’ ด้วยเหตุนี้ มันจึงเกิดการแยกกันระหว่างเรื่องจริงตรงหน้ากับอารมณ์ที่เกิดขึ้น (Dissociation) ความเจ็บปวดทางจิตใจที่หนักหนาจนใจรับไม่ไหวก็ไม่เกิดขึ้น ทว่ากลายเป็นความผ่อนคลายหรือสบายใจเข้ามาแทนที่ […]

จะผิดไหม ถ้าพึ่งความเชื่อสายมูฯ ในเมื่อทำเต็มที่แล้วแต่ยังไม่สำเร็จเสียที

‘พี่เปิดประตูมา นึกว่าอยู่ในตำหนักไหนสักแห่ง’ นี่คือคำที่คุณแฟนใช้บรรยายมุมหนึ่งในห้องเล็กๆ ของฉันในย่านเอกมัย ที่มีทั้งหินมงคล (เอาออกไปอาบแสงจันทร์ทุกคืนที่พระจันทร์เต็มดวง), เครื่องหอมกำยาน, เครื่องรางเสริมดวงจากครูบาที่มีชื่อเสียงมากมาย, เทวรูปเล็กๆ ของศาสนาฮินดู รวมไปถึงศาสนาพุทธ พร้อมน้ำและดอกไม้ที่คอยเปลี่ยนถวายอยู่เรื่อยๆ คอนโดฯ High-rise ที่มองออกไปเห็นวิวทิวทัศน์รายล้อมด้วยตึกสูงสไตล์โมเดิร์น รอบๆ เป็นบาร์ฮิปๆ ที่มักมีเสียงวัยรุ่นโหวกเหวกทุกคืน โดยเฉพาะช่วงตี 2 – 3 ข้างนอกคอนโดฯ กับข้างในห้องของฉันช่างเป็นภาพที่ดูไม่เข้ากันเหลือเกิน ‘The growth rate of cities urgently requires that we give attention not merely to design and planningbut also to deeper questions of meaning and purpose.We not only live in the world; […]

‘แต่ละคนมีช่วงเวลาผลิบานของตัวเอง’ อย่าไปกลัวโลกที่เราช้าลงเมื่อไหร่ คนอื่นพร้อมวิ่งแซงเมื่อนั้น

‘รู้สึกผิดมากเลย ที่ต้องมาเครียดเรื่องความรัก แทนที่จะไปเครียดเรื่องงาน’ สาวผู้บริหารคนหนึ่งเคยบ่นกับเรา เพราะเธอเพิ่งอกหักจากความรักที่คาดหวังไว้มาก ตั้งแต่เมื่อไหร่กันนะ ที่ผู้คนวัยทำงานเริ่มหันมามองการดูแลทะนุถนอมหัวใจว่าเป็นเรื่องที่เสียเวลา มันคืออะไรกันแน่ที่ทำให้ ‘บทสนทนาเรื่องความรู้สึก’ ได้รับการยอมรับน้อยกว่าบทสนทนาเรื่องการลงทุน ผลกำไร หรือการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เราขอตอบเลยว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพวกเรานั้นล้วนอาศัยอยู่ในโลกแห่งทุนนิยม ทุกคนพอจะเข้าใจดีว่า หน้าตาของระบบทุนนิยมคือระบบเศรษฐกิจที่เน้นการแข่งขัน เร่งผลผลิต และคืนกำไรขึ้นไปสู่นายทุน อ่านมาถึงตรงนี้คงเริ่มคิ้วขมวดกันว่า เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นเกี่ยวข้องอะไรกับสุขภาพจิตเราด้วย เพราะในความเป็นจริงแล้ว สุขภาพจิตที่ดีแทบสร้างได้ยากมากๆ หากมาจากเราเพียงฝ่ายเดียว เราทุกคนล้วนได้รับผลกระทบทางจิตใจไม่ว่าในทางดีหรือไม่ดี จากสังคมที่เราอยู่หรือผู้คนที่รายล้อมเราเสมอ สิ่งที่ระบบทุนนิยมมีอิทธิพลต่อการกระทบใจเราก็คือ 1) ชีวิตเสพติดการแข่งขัน2) ชีวิตที่ไม่อยากคิดจะหยุดพัก3) ชีวิตที่ไม่อยากจะสนใจเรื่องหัวใจและความรู้สึก สภาพแวดล้อมที่ดำเนินด้วยความเร็วและการแข่งขัน การทำงานในแต่ละวันที่ต้องเร่งรีบ ยิ่งทำหลายอย่างในเวลาเดียวกันได้ยิ่งดี ไปจนถึงความเครียดจากงาน บางครั้งกลายเป็นถ้วยรางวัลแห่งความมุ่งมั่นของบางคน หากวันไหนที่เราร่วงโรยจากการจดจ่อกับงาน เมื่อนั้นจะรู้สึกว่านี่คือบาดแผลของนักรบผู้ยิ่งใหญ่ ในขณะเดียวกัน ความเครียดเรื่องงานในจังหวะชีวิตที่เร่งรีบนี้เป็นบ่อเกิดของ Anxiety หรือก้อนความวิตกกังวลให้ใครหลายๆ คน อีกหนึ่งโรคใหม่ที่หนุ่มสาวออฟฟิศคุ้นเคยเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาคือ ‘โรคกลัวไลน์’ เพราะรู้สึกมีคนต้องการตามตัวเราไม่จบไม่สิ้น ต้องตื่นตัว พร้อมรับมือปัญหาจากงานตลอดเวลา หลายคนไม่ใช่แค่รู้สึกถึงความจำเป็นในการเอาชนะบริษัทคู่แข่ง แต่เพื่อนร่วมงานเองก็รู้สึกอยากเอาชนะด้วยเหมือนกัน เพียงเพราะอยากหลีกหนีให้ไกลๆ กับ ‘ความรู้สึกดีไม่พอ’ เราขอยกตัวอย่างความเร็ว ความแรง ความต้องแอ็กทีฟตลอดเวลาผ่านวงการเหล่านี้ […]

‘ปล่อยวางเขา แล้วเอางานกับตัวเองให้รอดก่อน’ เมื่อภาวะทางใจคนที่ทำงานมากระทบใจเรา

ชาวออฟฟิศหลายคนล้วนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ในชีวิตหนึ่งสัปดาห์ ใช้เวลาอยู่ที่ทำงานมากกว่าอยู่บ้านเสียอีก ยิ่งช่วงไหนที่ประชุมบ่อย งานด่วน โปรเจกต์ใหม่ใกล้เปิดตัว ฯลฯ บ้านเราจริงๆ ก็มีไว้แค่กลับไปอาบน้ำนอนเท่านั้นแหละ ‘การมี ‘Work BFF’ หรือเพื่อนรักในออฟฟิศคือลาภอันประเสริฐ’ จึงเป็นคำกล่าวที่จริงมาก เพราะสมัยก่อนตอนเราทำงานออฟฟิศ เมื่อไหร่ก็ตามที่มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือความขัดแย้งกับเจ้านาย ก็ได้เพื่อนสนิทที่นั่งโต๊ะข้างๆ กันนี่แหละคอยแชร์ความเข้าใจ ความห่วงใย กอดคอรอดไปพร้อมๆ กัน แต่ความเจ็บปวดอีกระดับที่จะเกิดขึ้นคือ เมื่อคนที่ควรเป็นที่พึ่งและความอุ่นใจของเรา ดันกลายเป็นพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัยแทนซะแล้ว อาจเพราะด้วย ‘ภาวะทางใจ’ ไม่ว่าจะเป็นโรคหรืออาการทางจิตใจต่างๆ ที่กระทบเขาอย่างรุนแรง จนห้วงอารมณ์และความเป็นตัวตนของเขาเปลี่ยนไป จนทำให้เราแทบจำเวอร์ชันเก่าไม่ได้ ส่งผลให้การทำงานของเขาและเรายากขึ้นตามไปด้วย แล้วชีวิตการทำงานของเราจะรอดได้ยังไง หากต้องรับมือเหตุการณ์หนักๆ นี้ไปทุกวัน ‘มันคืออาการหรือโรคที่ทำให้เขาเป็นแบบนี้ ถ้าทุกอย่างปกติ เขาจะไม่ทำกับเราแบบนี้’ เมื่อไหร่ก็ตามที่สภาพจิตใจเผชิญเรื่องราวหนักหนาจนตั้งรับไม่ไหว สภาพร่างกายและอารมณ์ก็จะแสดงความสุดโต่งต่างๆ ออกมา เช่น เกรี้ยวกราด ด่าทอ เฉยชา หงุดหงิดง่าย ฯลฯ สิ่งนี้เรียกว่าระบบป้องกันตัวในยามที่สภาพร่างกายและจิตใจอยู่ในช่วงฉุกเฉิน คนคนนั้นจำเป็นต้องสร้างตัวตนอื่นมาตั้งรับกับสภาวะแปลกใหม่ที่เขากำลังเจออยู่ และแน่นอน ‘นั่นไม่ใช่การรับมือแบบปกติทั่วไป’ เช่น ถ้าเพื่อนของเราเพิ่งสูญเสียสมาชิกครอบครัวอย่างกะทันหัน ส่งผลให้เพื่อนคนนี้เครียดมาก ปล่อยวางไม่ได้ […]

‘หัวร้อน เครียดง่าย ไม่อยากทำอะไรเลย’ อาจไม่ใช่นิสัย แต่เกิดขึ้นได้เพราะอากาศร้อน

เมื่อพูดถึงฤดูร้อน ภาพจำจากสื่อต่างๆ อาจเป็นภาพของช่วงเวลาแห่งการพักผ่อน ความสนุกสนาน ความสดใส หรือการใช้เวลาไปกับการนั่งรับลมริมทะเล แต่ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน (จัด) อย่างเต็มตัว นอกจากสุขภาพกายที่เราต้องคอยระวังโรคลมแดดหรือฮีตสโตรกแล้ว สุขภาพจิตเองก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน หากรู้สึกว่าช่วงนี้หงุดหงิดง่าย ไม่มีอะไรได้ดั่งใจสักอย่าง ขี้โมโหจนเหมือนเป็นคนละคน หรือรู้สึกขี้เกียจจนไม่อยากทำอะไรทั้งสิ้น ก็อย่าเพิ่งตกใจกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป บางทีมันอาจไม่ได้เป็นที่นิสัยลึกๆ ของตัวเองโดยตรง เพราะพฤติกรรมเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จากอุณหภูมิของอากาศที่เพิ่มสูงขึ้นทุกวัน อ่านแล้วดูเหมือนเป็นการโทษอากาศและธรรมชาติ แต่ Dr.Nick Obradovich นักวิทยาศาสตร์สังคมเชิงคำนวณจาก Max Planck Institute for Human Development อธิบายว่า ความร้อนนั้นเป็นอันตรายต่อทุกคนอยู่แล้ว และอุณหภูมิที่สูงขึ้นก็มีความเชื่อมโยงกับความผิดปกติทางสุขภาพจิต เช่น ความเหนื่อยล้า ความก้าวร้าว และการฆ่าตัวตาย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะช่วงที่อุณหภูมิสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังพบได้บ่อยในผู้คนที่อาศัยในบริเวณที่มีอากาศร้อนตลอดเวลา และถึงแม้ว่าจะยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ว่าเป็นเพราะอะไร แต่นักวิทยาศาสตร์ต่างลงมติว่า ความร้อนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สุขภาพจิตแย่ลงแน่นอน อากาศยิ่งร้อน ผู้ป่วยสุขภาพจิตยิ่งเพิ่มขึ้น งานวิจัยของ Amruta Nori-Sarma นักวิทยาศาสตร์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมจาก Boston University School of Public Health […]

1 2 3 4 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.