‘ยานณกาล’ สตูดิโอที่อยากให้เซรามิกเป็นงานอาร์ตมาช่วยเปลี่ยนบรรยากาศบ้านให้มีชีวิต

ท่ามกลางความเร่งรีบ เสียงจอแจ และรถยนต์อันแสนพลุกพล่านของย่านนางลิ้นจี่ ฉันได้ยืนหยุดอยู่ตรงหน้าประตูไม้บานใหญ่ ซึ่งเป็นทางเข้าสตูดิโอเซรามิก ‘ยานณกาล’ (Yarnnakarn) และทันทีที่ก้าวเท้าเข้าร้าน กลับต้องแปลกใจในความเงียบสงบที่ยึดครองพื้นที่ชั้น 1 ซึ่งห่างจากถนนไม่ถึง 5 เมตร เป็นความตั้งใจของ ‘กรินทร์ พิศลยบุตร’ และ ‘นก-พชรพรรณ ตั้งมติธรรม’ ที่อยากให้สเปซของยานณกาลเป็นหลุมหลบภัย เพื่อปลีกตัวออกจากความวุ่นวาย  สเปซแต่ละมุมถูกประดับประดาไปด้วยเครื่องปั้นเซรามิก ทั้งของใช้ ของกระจุกกระจิก หรือของแต่งบ้านให้เราเลือกสรรตามชอบ ซึ่งฉันกลับไม่รู้สึกว่าเรากำลังเลือกซื้อสินค้าในร้านขายของ แต่เหมือนเดินชมงานเซรามิกในอาร์ตแกลเลอรีเล็กๆ ที่หากถูกใจชิ้นไหนก็จ่ายเงินแล้วหิ้วกลับบ้านไปได้เลย ยานณกาล = พาหนะที่พาเราเดินทางผ่านกาลเวลา กว่ายานณกาลจะเป็นรูปเป็นร่างได้ทุกวันนี้ กรินทร์เล่าให้ฟังว่าหลังจากที่เขาเรียนจบเอกหัตถศิลป์ จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาไม่ได้ตั้งใจทำสตูดิโอเซรามิกในตอนแรก แต่มีความคิดว่าอยากหาอาชีพที่สามารถดูแลได้ด้วยตนเอง ตั้งแต่กระบวนการทำ ไปจนถึงการลงมือขาย ซึ่งช่วงหนึ่งเขาได้พับความคิดตรงนั้นเอาไว้ แล้วไปทำงานอย่างอื่นแทน “ช่วงหนึ่งเราไปทำงานที่โรงงานเซรามิก แล้วเราทำ Mass Production คือทำปริมาณเยอะๆ พันชิ้น หมื่นชิ้น แล้วพอมาถึงจุดหนึ่งเรารู้สึกว่าความรู้ที่มีจากการทำงานในโรงงานบวกกับความถนัดของเรา มันน่าจะพอทำเองได้นะ เลยออกมาทำ ซึ่งความตั้งใจแรกคิดว่าอยากทำ Home Studio มีเซตเตาเผาเล็กๆ […]

Nikupaku เนื้อไทยสไตล์ City Pop ที่กัดคำแรก อ้าว! นึกว่าอยู่ญี่ปุ่น

โออิชี่ คาวาอี้ สุโก้ยยยยยย! Nikupaku ร้านเนื้อวากิวน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดไปหมาดๆ แต่ต้องปาสามคำข้างต้นให้ทันที โออิชี่ (อร่อย) – ใช้เนื้อวัวสายพันธุ์ลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น จากฟาร์มฝีมือเกษตรกรเมืองโคราช ที่นุ่ม ละมุน ลายสวย ตัดแบ่งพอดีคำในสัดส่วนเท่ากับเนื้อเสียบไม้ที่ญี่ปุ่นเป๊ะๆ การันตีว่ารสชาติ ‘โคตรญี่ปุ่น’ จากปากคนญี่ปุ่นแท้ๆ ในไทย (กลืนน้ำลายแล้วน้า) คาวาอี้ (น่ารัก) – สร้างประสบการณ์กับลูกค้าตั้งแต่ก่อนสั่งด้วยภาพเมนูกราฟิกสนุกแนว City Pop ที่ได้แรงบันดาลใจจากไฟนีออนกลางชิบูย่า และแพ็กเกจจิ้งที่เหมือนไปเหมาเนื้อในซูเปอร์มาร์เก็ตญี่ปุ่น  สุโก้ย (สุดยอด) – ตอกย้ำความเจแปนด้วยกิมมิกการกริลโดยเลือกระดับความสุกเองได้ง่ายๆ ที่บ้าน มาพร้อมซอสสูตรเฉพาะที่ใช้วัตถุดิบจากญี่ปุ่น พริกไทยดำ เกลือหิมาลายัน ข้าวญี่ปุ่นร้อนๆ และวาซาบิ ที่ชาวญี่ปุ่นนิยมกินคู่กับเนื้อเพื่อเพิ่มอรรถรส! Urban Creature จึงขอป้ายยา ชวนคุณไปคุยกับ Nikupaku ร้านขายเนื้อออนไลน์จากมนุษย์คลั่งเนื้อที่สั่งวันนี้ได้กินพรุ่งนี้ กัดคำแรกปุ๊บ อ้าว เฮ้ย! นึกว่าอยู่ญี่ปุ่น 01 การรวมตัวของมนุษย์คลั่งเนื้อและญี่ปุ่น 10 ขวบ เป็นอายุเฉลี่ยที่เจ้าของร้านทั้งสาม ได้แก่ […]

flowerhub.space ช้อปดอกไม้ออนไลน์จากปากคลองตลาด

แคมเปญชวนมาซื้อดอกไม้จากปากคลองตลาดแบบออนไลน์จากเว็บไซต์ flowerhub.space โปรเจกต์จาก ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หรืออาจารย์หน่องซึ่งคลุกคลีใกล้ชิดทำโปรเจกต์กับชาวปากคลองตลาดมานาน

Vacilando Bookshop ร้านหนังสือภาพถ่าย ที่ตั้งใจสร้างบทสนทนาใหม่ให้ผู้มาเยือน

‘Vacilando Bookshop’ ร้านหนังสือภาพถ่ายที่เพิ่งย้ายมาเปิดใหม่ในซอยไมตรีจิตต์ บทสนทนาใหม่ของคนรักร้านหนังสืออิสระ

ก.มุยกี่ ร้านชาเยาวราชที่ยังคงอบใบชาด้วยเตาถ่าน วิธีโบราณให้ลูกค้าดื่มมากว่า 100 ปี

ร้านใบชา ก.มุยกี่’ (美记茶行) ร้านขายใบชาเล็กๆ ในเยาวราช ซึ่งว่ากันว่าเหลืออยู่ร้านเดียวแล้วทั้งกรุงเทพฯ ที่ยังคงอบชาด้วยเตาถ่าน กรรมวิธีโบราณที่สร้างชารสเลิศอันเป็นเอกลักษณ์ของร้านให้ลูกค้าดื่มมานานกว่า 100

168aroi คืนความทรงจำการกินบะหมี่สำเร็จรูป ด้วยบะหมี่เห็ดที่อร่อยแต่ Healthy ในเวลาเดียวกัน

ยังจำความรู้สึกเหล่านี้ได้ไหม ช่วงเวลาแห่งความเพลิดเพลิน ความสนุก ไปกับการกินเส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ที่พวกเราเคยแบ่งปันให้กันในวัยเด็ก เรื่องราวและรสชาติต่างๆ ล้วนยังคงอยู่ในความทรงจำที่ไม่เคยลืมเลือน เฉกเช่นเดียวกับแจมและเมย์ เพื่อนรักสองคนที่ส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ แต่ทุกครั้งที่ต้องไปต่างแดน ทั้งสองก็ไม่เคยลืมที่จะพกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปติดตัวไปด้วย เพื่อเป็นทั้งขนมและอาหารคลายหิวที่ไม่ว่าจะกินเมื่อไหร่ก็จะนึกถึงบรรยากาศเก่าๆ ในวัยเด็ก แต่จากสถานการณ์ของ COVID-19 ทำให้เราเห็นถึงปรากฏการณ์ ที่คนทั้งโลกหันมาสนใจเรื่องการดูแลสุขภาพมากขึ้น รวมถึงเมย์และแจมสองผู้ก่อตั้งแบรนด์ ก็เห็นถึงความสำคัญของอาหารเพื่อสุขภาพ แต่เขาทั้งสองก็ยังคงรักในการกินเส้นเป็นชีวิตจิตใจ เลยเกิดเป็นไอเดียในการสร้างแบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีความร่วมสมัย ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ และปราศจากส่วนประกอบจากสัตว์ ซึ่งดีต่อร่างกายมากกว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบเดิม | จากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป สู่บะหมี่เห็ดเพื่อสุขภาพ เพราะรสชาติความอร่อยของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ที่มาพร้อมความสะดวกในการกิน ต่างต้องแลกมาด้วยปริมาณผงชูรส โซเดียม และน้ำมันจากกระบวนการผลิตที่ล้วนส่งผลเสียต่อสุขภาพหากทานในปริมาณมาก โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำไว้ว่า ปริมาณโซเดียมที่ทานในแต่ละวันไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัม ทว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปส่วนใหญ่ในท้องตลาด 1 ซอง มีปริมาณโซเดียมสูงถึง 1,500 – 1,600 มิลลิกรัม หรือเกือบเทียบเท่าปริมาณโซเดียมที่ควรจะกินในแต่ละวันเลยทีเดียว ที่สำคัญ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปบางชนิดยังมีการเคลือบผงชูรสไว้ที่ตัวเส้นเพื่อเพิ่มรสชาติ และเพื่อเพิ่มอายุการเก็บรักษา บวกกับความกรุบกรอบและรสสัมผัสที่อร่อยขึ้น จึงนิยมใช้การทอดด้วยน้ำมัน ทำให้เกิดการสะสมของน้ำมันภายในเส้น ซึ่งเป็นจุดไคลแมกซ์ที่ส่งผลเสียต่อร่างกายมากที่สุด […]

FICS สเปซของคนรักหนัง เสิร์ฟเมนูกลิ่นอายหนังฮิต และมีแกลเลอรีโปสเตอร์สุดแรร์

: เธอชอบหนังเรื่องอะไร เราชอบ The Lobster มาก: เรามี Call Me by Your Name เป็นเรื่องโปรด: งั้นไป FICS กัน เขาว่าเป็นสเปซใหม่ของคอหนัง มีคาเฟ่ แกลเลอรีโปสเตอร์หนัง มีตู้ถ่ายรูปด้วย อยู่ในซอยสุขุมวิท 31  เพราะทุกคนมีภาพยนตร์ในดวงใจ เลยอยากชวนตีตั๋วเข้าโลกอีกใบของคอหนังที่ FICS สเปซสำหรับคนรักหนังซึ่งมี ‘บาส-นัฐวุฒิ พูนพิริยะ’ ผู้กำกับแนวหน้าของไทยเป็นหัวขบวนหลัก เขาและทีมเปลี่ยนตึก 5 ชั้นให้เป็นเหมือนโรงภาพยนตร์ซึ่งเสิร์ฟเมนูซิกเนเจอร์ที่ได้แรงบันดาลใจจากหนังฮิต 6 เรื่อง มีแกลเลอรีโปสเตอร์หนังหายาก การันตีความโหดที่บางแผ่นเป็นโปสเตอร์ปีเดียวกับที่หนังฉาย มุมคอนเซปต์สโตร์ที่มีของที่ระลึกเอาใจคนรักหนัง ไปจนถึงยกตู้ถ่ายรูปจาก Sculpture Bangkok มาให้เก็บภาพเหมือนฉากในหนังเรื่อง Amélie ว่าแล้วก็เตรียมตัวให้พร้อม เพราะ FICS is now showing! บาสนำเรื่องนี้ไปคุยกับครอบครัว ขิม-จุฬารัตน์ หาญรุ่งโรจน์ จ๋า-แพรว พูนพิริยะ ปรีดี-ปรีดี เฮงษฎีกุล […]

‘USB:coffeeLAB’ แฟลชไดรฟ์ที่อัดแน่นไปด้วยกาแฟและงานดีไซน์

USB:coffeeLAB ร้านกาแฟที่พลิกฟื้นสถานพยาบาลเก่าที่ปิดตัวลงให้กลายเป็นห้องทดลองงานของ Party/Space/Design (P/S/D) บริษัทที่ออกแบบร้านกาแฟดังๆ มาแล้วนับไม่ถ้วน และในวันที่พวกเขามีร้านของตัวเอง ยังเป็นเหมือนการคืนชีวิตให้พื้นที่ ทั้งยังนำเสนอตัวตนของวัสดุต่างๆ ออกมาได้อย่างน่าสนใจ

Feast Bangkok โรงอาหารแห่งใหม่ พื้นที่ฝากท้องยามหิวของชาวอารีย์

โรงอาหารของคนเมืองเพื่อนบ้านคนใหม่ของย่านอารีย์ ที่พร้อมเสิร์ฟของอร่อยให้ตั้งแต่เช้าจรดเย็น

สนุกกับสองล้อคู่ใจในแบบที่ใช่คุณ

‘CUB House by Honda’ คอมมูนิตี้มีชีวิตแหล่งรวมเรื่องราวความสนุกจากรถมอเตอร์ไซค์สุดยูนีก ที่มาพร้อมกิจกรรมให้มาร่วมค้นหาคำตอบว่า วิถีที่ชอบในแบบที่ใช่ของตัวเองจะเป็นแบบไหนกัน

GAA รสชาติอินเดียร่วมสมัย ท่ามกลางบ้านเรือนไทยอายุ 60 ปี

บ้านเรือนไทยหลังใหญ่อายุกว่า 60 ปีถูกย้ายจากอยุธยามาตั้งโดดเด่นท่ามกลางร่มเงาไม้ตรงหัวมุมถนนในซอยสุขุมวิท 53 องค์ประกอบภายนอกคือความสมบูรณ์พร้อมอันงดงามแบบฉบับไทย แต่ใครจะคิดกันว่าที่แห่งนี้คือ Gaa ร้านอาหารไฟน์ไดนิ่งสไตล์ Modern Indian Cuisine ที่หลายคนรู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2017 บริเวณซอยหลังสวน ให้ได้ลิ้มรสอาหารอินเดียร่วมสมัยจากฝีมือ ‘Garima Arora’ เชฟชาวอินเดียคนแรกที่คว้าดาวมิชลินมาครอง ครั้งนี้ Gaa ย้ายบ้านใหม่สู่บรรยากาศเรือนไทยที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นแต่แรกเห็น ซึ่งยังคงปรัชญาแห่งการทำอาหารอย่างการหยิบวัตถุดิบท้องถิ่นไทยมาผสมผสานกับเทคนิคปรุงอาหารอินเดียแบบดั้งเดิม สู่อาหารอินเดียร่วมสมัยซึ่งอบอวลไปด้วยความแปลกใหม่ของวัตถุดิบที่คุณอาจรู้ดีว่าคืออะไร แต่รับประกันว่าไม่เคยสัมผัสรสชาตินี้ที่ไหน หากไม่มาเยือน Gaa 01 She is Garima Arora ยามบ่ายที่แสงแดดกำลังอ่อนตัวลง เรามีนัดที่ Gaa กับเชฟ ‘Garima Arora’ ผู้รังสรรค์อาหาร และ ‘Luke Yeung’ สถาปนิกจากทีม ArchitectKidd ผู้รีโนเวตเรือนไทยอายุกว่า 6 ทศวรรษ เมื่อเปิดประตูก้าวเข้าสู่เรือนไทย ตามด้วยเดินขึ้นบันไดวนไปยังชั้น 2 ทันทีที่เท้ายกขึ้นจากขั้นสุดท้ายเพื่อเหยียบพื้นไม้ ต้องยอมรับว่าภาพการตกแต่งภายในที่สองตาได้เห็น ทำเอาหัวใจคนชอบงานสถาปัตยกรรมอย่างเราเต้นเร็วขึ้นมาอย่างไม่รู้ตัว ทำไมถึงเลือกเปิดร้านอาหารอินเดียท่ามกลางบ้านเรือนไทย คือคำถามแรกที่เราเอ่ยกับ […]

ไปคลองโอ่งอ่างเยี่ยมบ้านเชฟ ชิมอาหารรสต้นตำรับแห่งทวีปเอเชียใต้แบบไม่ต้องนั่งเครื่อง

‘โอ่ง’ ใส่น้ำ ใส่น้ำให้เต็มโอ่ง ใส่น้ำให้เต็มโอ่ง แล้วเชฟจะชื่นใจ แล้วเชฟจะชื่นใจ‘อ่าง’ ใส่น้ำ ใส่น้ำให้เต็มอ่าง ใส่น้ำให้เต็มอ่าง แล้วเชฟจะชื่นใจ แล้วเชฟจะชื่นใจ ไม่ได้ชวนมาโยกย้าย ส่ายสะโพก โยกย้าย บั้นท้ายโยกย้าย เฮ้ย! พอ! แต่ชวนมาแคะ แกะ หาคำตอบจากเนื้อเพลงที่เปลี่ยนไปข้างต้นว่า ‘เชฟ’ จากอินเดีย เนปาล ภูฏาน ปากีสถาน และไทย-มุสลิม ทั้ง 4 คน จาก 4 ร้านอาหารริมคลองโอ่งอ่างว่า ทำไม้ ทำไม ถึงย้ายรกรากมาเปิดร้านอาหารประจำชาติที่ ‘ชุมชนคลองโอ่งอ่าง’ ประเทศไทยแทนประเทศบ้านเกิด ความตั้งใจแรกคืออะไร ทำไมเชฟทั้งสี่ถึงตั้งชื่อเล่นให้ชุมชนแห่งนี้ว่า ‘ชุมชนความหลากหลายทางวัฒนธรรม’ อย่างพร้อมเพรียง ไปฟังเรื่องเล่าจากปากพวกเขา ที่อาจทำให้คุณสนิทกับอาหารทั่วทวีปเอเชียใต้และรู้จักคลองโอ่งอ่างมากขึ้น (แล้วก็อาจจะหิวตามไปด้วย) 01 | อุ่นเครื่องเซย์ฮายคลองโอ่งอ่าง ‘คลองโอ่งอ่าง’ ถูกขุดเมื่อปี 2328 เป็นคลองเล็กๆ ที่แบ่งระหว่างเขตพระนครกับเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ และเป็นหนึ่งในคลองรอบกรุง โดยมีต้นน้ำเป็น […]

1 5 6 7 8 9 10

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.