
Featured
Know Your Rights and Claim Them หนังสือที่จะทำให้เยาวรุ่นรู้จักสิทธิของตัวเองมากยิ่งขึ้น
เพราะเป็นเด็กจึงไม่ต้องรู้ ‘สิทธิ’ ของตัวเอง และปล่อยให้เป็นหน้าที่ผู้ใหญ่คอยดูแลอย่างนั้นเหรอ? เสียงของเด็กถูก Muted เอาไว้ และโดนเพิกเฉย เพราะทัศนคติว่า ‘เป็นเด็กจะไปรู้อะไร’ แถมรัฐบาลในหลายประเทศก็ไม่คิดว่าเด็กจะมีอำนาจและวุฒิภาวะมากพอที่จะเรียกร้องบางสิ่งได้ และกีดกันพวกเขาออกจากการรับรู้เกี่ยวกับสิทธิของตนเอง ทั้งที่สิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องรอให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ถึงจะพูดได้ แต่เด็กทุกคนจำเป็นต้องรู้และเรียกร้องได้เหมือนผู้ใหญ่ เพื่อปกป้องสิทธิของตนเองและคนอื่น ‘แองเจลินา โจลี’ และ ‘แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล’ แท็กทีมตีพิมพ์หนังสือ ‘Know Your Rights and Claim Them’ เขียนโดยความร่วมมือกับ ‘ศาสตราจารย์เจเรอดีน ฟาน บูเรน’ หนึ่งในผู้ร่วมจัดทำร่างอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งหนังสือเล่มนี้เล่าถึงแนวคิดสิทธิเด็ก ก่อนจะพัฒนามาเป็นอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก พร้อมทั้งให้ข้อมูลเป็นแนวทางปฏิบัติ รวมถึงเรื่องเล่าของนักกิจกรรมเยาวชนที่เป็นแนวหน้าต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์เรื่อง Climate Change เรียกร้องการเข้าถึงการศึกษา หรือประณามการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและแสดงพลังการยืนหยัดในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ เด็กทุกคนมีสิทธิแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก มีสุขภาพดี อาศัยอยู่ในที่ปลอดภัย ได้รับการศึกษา มีความเป็นส่วนตัว มีสิทธิเลือกและตัดสินใจในร่างกายของตัวเอง และอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน ซึ่งถ้าหากเยาวชนไม่รู้จักสิทธิของตัวเอง และไม่สามารถเรียกร้องสิทธิได้ พวกเขาเสี่ยงต่อการโดนเลือกปฏิบัติ ถูกแสวงหาผลประโยชน์ ฯลฯ […]
No One Left Behind แสนสิริจับมือฝ่าวิกฤต พาทุกคนรอดไปด้วยกันโดยไม่ทอดทิ้งใคร
แสนสิริยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือประชาชนในแต่ละภาคส่วนภายใต้โครงการ ‘No One Left Behind แสนสิริไม่ทอดทิ้งใคร’
‘Smart Work from Everywhere’ 5 สเปซนอกบ้านเปลี่ยนบรรยากาศที่ทำงาน
ตลอด 5 วัน วันละ 8 ชั่วโมง เป็นช่วงเวลาที่ชาว Urban Creature สแตนด์บายทำงานอยู่หน้าคอม เปิดเครื่องอัดเสียงสัมภาษณ์ผู้คนในเมืองเล็ก เมืองใหญ่ ถล่มไอเดีย และแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ใส่กันในทีมราวกับปล่อยพลัง ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเสิร์ฟคอนเทนต์ให้ผู้อ่านได้คิด วิเคราะห์ ตั้งคำถาม เกี่ยวกับทุกมิติของเมืองและผู้คน การอุดอู้ทำงานในออฟฟิศ หรือหันมา Work from Home ตลอดสัปดาห์จึงเป็นทางเลือกที่ต้องเบรกดังเอี๊ยด (คิดงานไม่ออกจ้า) เพราะไอเดียในหัวจะแรงดีไม่มีตก ก็ต่อเมื่อเรากล้าเปิดประตูออกไปรับมุมมองใหม่ๆ ในสถานที่ใหม่ๆ อยู่เสมอต่างหาก เพื่อเป็นการป้ายยาสเปซเจ๋งๆ สุดโปรดที่พวกเราไว้นั่งทำงานเงียบๆ ซึ่งไม่เคยบอกใครมาก่อน วันนี้เลยขออาสาแชร์ Work Routine ตลอด 5 วัน ว่าถ้าไม่อยู่ออฟฟิศ จะไปทำงานคนเดียวที่ไหนได้บ้าง ป้ะ! คาดเข็มขัดให้พร้อม เปิดเพลงฟังบนรถ ดูแผนที่นำทาง เช็กการจราจร แล้วไปตะลอน (ทำงาน) รอบกรุงด้วย ‘รถคันเดียว’ กันเลย 01 ห้องทำงานส่วนตัวเคลื่อนที่ เริ่มต้นวันแรกของสัปดาห์ Hidden Place […]
เรื่องเล่าของโลกที่ย้อมด้วยเฉดสีที่คนอื่นบอกว่าผิดเพี้ยนของคนตาพร่องสี
เราต่างรู้ว่าบนโลกใบนี้มีสีนับล้านสี และการมองเห็นสีก็ล้วนมีความสำคัญกับมนุษย์ในหลายๆ มิติ ตั้งแต่พัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กผ่านสีสันรอบตัว การแยกแยะอาหารสุก ไม่สุก หรือมีพิษด้วยสีสัน การเดินทางในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการทำงานที่ทั้งหมดล้วนเกี่ยวพันกับสีสันทั้งสิ้น มีงานวิจัยกล่าวว่า เมื่อเราเดินผ่านคนจำนวน 100 คน จะมีถึง 16 คน ที่มีความบกพร่องทางด้านการมองเห็นสีแตกต่างจากคนทั่วไป หรือเป็นอาการ Color Vision Deficiency (CVD) ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่าอาการพร่องสี แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นคนช่างสังเกตสักแค่ไหน ก็ไม่มีทางรู้เลยว่ามีใครบ้างที่ผิดปกติ เพราะอาการดังกล่าวไม่สามารถระบุได้จากรูปลักษณ์ภายนอกได้เลยว่ามีความผิดปกติหรือไม่ รวมถึงชายหนุ่มร่างเล็กสวมเสื้อสีแดงสด เจ้าของเพจ Rights for Color Blind People – กลุ่มเพื่อสิทธิคนตาบอดสี ชายที่เราอยากคุยกับเขาในฐานะ คนตาพร่องสีผู้ขับเคลื่อนเรียกร้องสิทธิให้คนตาพร่องสีทั่วประเทศไทยมีชีวิตที่ดีขึ้น เท่าเทียมกับคนทั่วไปมากว่า 10 ปี “ตอนเด็กๆ ผมได้แต่ฟังคนอื่นบอกว่าเราเป็นคนตาพร่องสีแต่เราก็ไม่ได้สนใจอะไร เราไม่รู้จักด้วยซ้ำว่าอาการนี้คืออะไร เราก็ใช้ชีวิตอยู่กับมัน ในความคิดของเราสีทุกอย่างก็เป็นปกติ ผมมารู้ว่าตัวเองมีอาการตาพร่องสีตอนที่ไปสอบตำรวจ ในตอนนั้นผมสอบผ่านข้อเขียนด้วยความยากลำบาก แต่ก็ต้องมาสอบตกด้วยเหตุผลเพราะผมไม่สามารถแยกตัวเลขบนแผ่นทดสอบชุดนี้ที่ให้คุณทำได้” นอกจากความสับสนที่เกิดขึ้น กรที่พึ่งรู้ว่าตัวเองตาบอดสีในวัย 35 ปี ทำให้กรตระหนักได้ว่าคงมีคนอีกไม่น้อยที่ประสบปัญหาเหมือนกับเขา ที่ไม่สามารถทำตามความฝันเพียงเพราะมองเห็นสีไม่เหมือนคนปกติทั่วไป […]
เพราะหนังสือคือการเมือง การแปลจึงเป็นการเคลื่อนไหว : คุยกับแรงงานอักษรจาก Soi Squad
เราอยู่ในยุคสมัยแห่งความย้อนแย้ง ในขณะที่การตื่นตัวทางการเมืองเบ่งบาน วงการหนังสือคึกคักไปด้วยผู้คนที่สงสัยใคร่อ่านงานเขียน #เบิกเนตร ส่งให้บรรดาหนังสือประวัติศาสตร์การเมือง และหนังสือแปลแนววิชาการที่เคยเงียบเหงา กลายเป็นหนังสือขายดีที่พบได้ในมือวัยรุ่นหรือคนทำงานทั่วไป ไม่น่าเชื่อว่าในระนาบเวลาเดียวกัน กลับมีข่าวตำรวจบุกเข้าไปยังสำนักพิมพ์ เพื่อยึดหนังสือที่อ้างว่า ‘มีเนื้อหาผิดกฎหมาย’ (เล่มเดียวกับที่ขายดีนั่นแหละ) และมีหนังสือหลายเล่มถูกห้ามเผยแพร่แจกจ่ายในราชอาณาจักร ย้อนแย้งจริงไหมเล่า หากประชาชนขวนขวายที่จะอ่าน รัฐบาลจะสั่งห้ามไปทำไม หน่วยงานที่มีอำนาจมากมายจะกลัวอะไรกับแค่หนังสือ ‘หนังสือ การแปล และถ้อยคำสัมพันธ์ สำคัญอย่างไรกันแน่กับการเมือง?’ เราทดคำถามนี้ไว้ในใจ “ทีมซอยมองเห็นร่วมกันว่าการแปลและการตีพิมพ์เป็นการขับเคลื่อนทางสังคมรูปแบบหนึ่ง การนำความคิดหรือตัวบทในภาษาหนึ่งมาพูดในอีกภาษามันได้พาเราข้ามผ่านพื้นที่ทางการเมืองในหลายมิติ” เป็นประโยคนี้ของเจน-จุฑา สุวรรณมงคล บรรณาธิการบริหารของซอย ที่ทำให้เรามั่นใจว่านี่แหละกลุ่มคนที่จะตอบคำถามให้เราได้! เราจึงรีบจดประโยคจากงานเสวนา บทจTalk ของสำนักพิมพ์บทจร แล้วอีเมลไปขอคุยกับทีมซอยทันที โชคดีของเราที่คำตอบของพวกเขาคือตกลง เรารู้จัก ‘ซอย | soi’ หรือ soi squad ครั้งแรกผ่านหนังสือ แด่การผลัดทิ้งซึ่งหญิงชาย แด่ความลื่นไหลที่ผลิบาน (Beyond the Gender Binary) ผลงานเล่มบางๆ ที่พาคนอ่านไปครุ่นคิดเรื่องบรรทัดฐานทางเพศให้ลึกซึ้งผ่านเรื่องเล่าของผู้คนหลากหลาย ผลงานของ สำนักพิมพ์ซอย สำนักพิมพ์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือแปลในประเด็นแสบๆ คันๆ ที่เป็นวาระสำคัญของยุคสมัย อย่างความหลากหลายทางเพศ […]
รวมช่อง YouTube นักเดินท่องเมืองดูเพลินเหมือนไปเดินเอง
สำรวจเมืองแบบ Walk From Home
จาก 8 ช่อง YouTube ที่ดูเพลินเหมือนไปเดินเอง
นอร์เวย์ฟื้นฟูสระว่ายน้ำเก่า ‘Knubben’ ให้เป็นเกาะสาธารณะเพื่อเป็นของขวัญให้กับเมือง
Snohetta บริษัทสถาปนิกฟื้นฟู ‘Knubben’ สระว่ายน้ำเก่าในนอร์เวย์ให้เป็นเกาะสาธารณะ เพื่อเป็นของขวัญให้กับเมือง
ปลูกป่าไม่ทันใจ Climeworks เลยใช้เทคโนโลยีดักจับ CO2 ในอากาศแทนต้นไม้ 4 แสนต้นซะเลย
คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ (IPCC) ออกรายงานเตือนว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกจะร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี 2040 ตัวเลขที่ฟังดูอาจจะเหมือนน้อย แต่จะทำให้ประชากรหลายร้อยล้านคนทั่วโลกเผชิญความเสี่ยงจากปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า รวมไปถึงวิกฤติการณ์ขาดแคลนอาหาร ดังนั้นทุกหน่วยงานทั่วโลกจึงต้องเร่งดำเนินการช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ เราจึงอยากพาไปรู้จักกับ ‘Climeworks’ บริษัทที่มีเป้าหมายเป็นการรักษาสมดุลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยสองผู้ก่อตั้งผู้หลงรักการเล่นสกีที่ตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนขณะกำลังไถลตัวอยู่บนพื้นหิมะ จนตัดสินใจร่วมกันสร้างทางออกให้ปัญหานี้ พัฒนาเทคโนโลยีจนกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศได้โดยตรงแบบที่ยังไม่มีใครทำได้ และทำให้ไม่ว่าใครก็สามารถร่วมภารกิจกู้โลกนี้ได้ในราคาเริ่มต้นเพียง 1 ยูโรต่อเดือนผ่านระบบสมาชิก ไปจนถึงการเตรียมสร้างโรงงานดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใหญ่ที่สุดในโลก ลดคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศได้ถึง 4,000 ตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ 400,000 ต้น โลกซวยด้วยมือเรา หลักการวิทยาศาสตร์เบื้องต้นคือ คนและสัตว์หายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและปล่อยออกมาเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนพืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์แสงและเปลี่ยนออกมาเป็นออกซิเจน กระบวนการนี้คือวัฏจักรที่ทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกอยู่ร่วมกันได้ราวหยินหยางที่สมดุลกัน นอกจากนั้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของโลก เพื่อกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ ไม่ให้อุณหภูมิของโลกเย็นเกินกว่าที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้ แต่ปัจจุบันความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก เพิ่มสูงขึ้นกว่า 50% เมื่อเทียบกับโลกในยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม และสูงที่สุดในรอบ 8 แสนปี จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง อาทิ โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า การเผาไหม้จากระบบขนส่งมวลชน จนถึงการเพาะปลูกขนาดใหญ่ ทั้งหมดล้วนเป็นฝีมือมนุษย์อย่างไม่ต้องสงสัย ทำให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ถูกกักเก็บไว้มากเกินไป โลกจึงร้อนขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว […]
Chosen Family เพลงส่งท้ายโอลิมปิกที่บรรเลงให้โลกรู้ว่า ‘ความหลากหลายของมนุษย์’ งดงาม
Chosen Family เพลงส่งท้ายโอลิมปิกที่บรรเลงให้โลกรู้ว่า ‘ความหลากหลายของมนุษย์’ งดงาม
City for Moms : เมืองในฝันสำหรับแม่ของพวกเรา
ในฐานะลูก การได้เห็นแม่อยู่ดีมีความสุข ก้าวเข้าสู่ชีวิตวัยชราอย่างมีคุณภาพนั้นเป็นเรื่องน่าเบิกบานใจไม่แพ้การที่แม่คาดหวังได้เห็นลูกเติบโตอย่างแข็งแรง มั่นคงและงดงาม เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก ดูเหมือนเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ ระดับครัวเรือน ทว่าชีวิตภายใต้โครงสร้างทางสังคมนั้น เมืองถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่เข้ามากำหนดชีวิตของแม่และลูกทุกคนในสังคมทั้งในทางตรงและทางอ้อม ทั้งทางเลือกที่เราเลือกได้เพียงน้อยนิดและที่เราไม่เคยได้เลือกเลยก็ตาม เมืองเชื่อมโยงกับชีวิตตั้งแต่เกิดจนเราตาย หากลองคิดให้ลึกซึ้งกว่าเดิม เมืองที่มีโครงสร้างพื้นฐาน นโยบายและรัฐสวัสดิการที่ดีพร้อม ย่อมตอบโจทย์ชีวิตของทุกคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะแม่ๆ ของเราที่กำลังก้าวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมผู้สูงวัย (Aging Society) สำหรับวันแม่ในเมืองฝันสลายแห่งนี้ เราจะพูดถึงแม่แบบโรแมนติไซซ์หรือการบอกรักแม่เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ ดังนั้นเราจึงชวนมนุษย์ลูก 6 คนมานั่งพูดคุยกันว่าในเมื่อกรุงเทพฯ ตอบโจทย์ชีวิตแม่ของเราได้ไม่ดีเท่าที่ควรนัก พวกเขาฝันอยากเห็นแม่ที่รักได้มีลมหายใจในเมืองที่มีหน้าตาและจิตวิญญาณแบบไหน เผื่อว่าในระหว่างบรรทัดของถ้อยคำที่ร้อยเรียงจากความรักและความห่วงใยจะสะท้อนวิถีชีวิตของพวกเราในเมืองใหญ่ ซึ่งเต็มไปด้วยผู้คนที่อยากมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าในทุกวันนี้ 01 ป่าน-ชนารดี ฉัตรกุล ณ อยุธยา อาชีพ : ศิลปิน เมืองที่อยากให้แม่ไปอยู่ : เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี “เราอยากให้แม่ได้อยู่ในประเทศที่มองเห็นคนเท่าๆ กัน มีชีวิตอย่างมีคุณค่าเท่าที่มนุษย์คนหนึ่งควรถูกทรีต ให้เขาได้อยู่ในเมืองที่เรามั่นใจได้ว่าเมื่อแม่แก่ตัวหรือเจ็บป่วย จะมีโรงพยาบาลที่ Afford ได้ง่ายดาย มีสวัสดิการพื้นฐานที่ดี เมื่อต้องเดินทางไปไหนก็อยากให้เขาได้มีการคมนาคมและขนส่งมวลชนที่ครอบคลุมและมีคุณภาพ แต่ตอนนี้ประเด็นพวกนี้กลับไม่มีในเมืองที่เราอยู่ “เราถูกสอนให้เป็นคนกตัญญูต้องตอบแทนบุญคุณ จนลืมตั้งคำถามกับชีวิตว่าส่วนหนึ่งของการดูแลคน มันคือสิ่งที่รัฐต้องจัดสรรให้ทุกคนอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าลูกๆ ต้องลำบากตรากตรำทำงานเพื่อชดใช้บุญคุณพ่อแม่ตัวเอง ไม่ใช่แค่แม่เราหรอกที่ควรได้อยู่ในเมืองที่ดี […]
หนี้ครัวเรือนของไทยที่สูงสุดทุบสถิติในรอบ 18 ปี เศรษฐกิจวิกฤตหนัก ไม่มีกำลังฟื้นฟู
สถานการณ์โควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว โดยหนี้ครัวเรือนพุ่งไปถึง 14.13 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.5% ของ GDP เพิ่มขึ้นประมาณ 88,138 ล้านบาท
บิลด์อารมณ์คนดูด้วยการตัดต่อไปกับ โจ-หรินทร์ แพทรงไทย นักตัดต่อเจ้าของรางวัลสุพรรณหงส์
คนตัดต่อหรือนักลำดับภาพ อาชีพนักเล่าเรื่องแห่งวงการภาพยนตร์ อาชีพที่เปรียบเสมือนเชฟปรุงอาหาร ผู้ผสมผสานวัตถุดิบที่เรียกว่า Footage นับสิบนับร้อยชั่วโมงให้กลายเป็นภาพยนตร์ขนาดประมาณ 2 ชั่วโมงรสชาติกลมกล่อมให้ผู้ชมได้เสพกัน และความสำคัญของอาชีพนี้อยู่ตรงที่ว่าไม่ว่าคุณจะมีวัตถุดิบชั้นยอดสักแค่ไหน จะถ่ายภาพออกมาสวยตระการตา หรือการแสดงเทพดุจ แอนโทนี่ ฮอปกินส์ หากขาดนักปรุงชั้นยอดที่เรียกว่านักตัดต่อ (Editor) ภาพยนตร์เรื่องนี้คงไม่มีทางจะอร่อยลงตัวได้ เพื่อพาไปรู้จักกับอาชีพนี้ให้มากขึ้นเราจึงอยากชวนไปพูดคุยกับ โจ-หรินทร์ แพทรงไทย นักตัดต่อรุ่นใหม่ ผู้ฝากผลงานให้วงการภาพยนตร์ไทยทั้ง Take Me Home : สุขสันต์วันกลับบ้าน หนังผีที่ได้เข้าชิงชมรมวิจารณ์บันเทิงสาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม และเสียงตอบรับที่ดีอย่างล้นหลาม จากผลงานเรื่อง Where We Belong ที่ประสบความสำเร็จจนได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ สาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นรางวัลที่การันตีความสามารถและประสบการณ์ของการเป็นนักตัดต่อมืออาชีพของเขาได้เป็นอย่างดี เราชวนเขามาพูดคุยถึงชีวิตการทำงาน และเส้นทางการเติบโตเป็นนักตัดต่อฝีมือดีคนหนึ่งของวงการภาพยนตร์ไทย 01 เด็กหนุ่มผู้ตกหลุมรักภาพยนตร์ ตั้งแต่หนังสองเรื่องแรกที่ดูกับพ่อ ย้อนกลับไปในวัยเด็กจุดเริ่มต้นของเส้นทางอาชีพนักตัดต่อของโจ เกิดขึ้นจากเหตุการณ์การนั่งดูภาพยนตร์สองเรื่องกับพ่อในสมัยที่ภาพยนตร์ยังเป็นม้วนวิดีโอ โดยหนัง 2 เรื่องในความทรงจำของเขาคือเรื่อง Star Wars: Episode IV – A New Hope และ […]