Featured
Chosen Family เพลงส่งท้ายโอลิมปิกที่บรรเลงให้โลกรู้ว่า ‘ความหลากหลายของมนุษย์’ งดงาม
Chosen Family เพลงส่งท้ายโอลิมปิกที่บรรเลงให้โลกรู้ว่า ‘ความหลากหลายของมนุษย์’ งดงาม
City for Moms : เมืองในฝันสำหรับแม่ของพวกเรา
ในฐานะลูก การได้เห็นแม่อยู่ดีมีความสุข ก้าวเข้าสู่ชีวิตวัยชราอย่างมีคุณภาพนั้นเป็นเรื่องน่าเบิกบานใจไม่แพ้การที่แม่คาดหวังได้เห็นลูกเติบโตอย่างแข็งแรง มั่นคงและงดงาม เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก ดูเหมือนเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ ระดับครัวเรือน ทว่าชีวิตภายใต้โครงสร้างทางสังคมนั้น เมืองถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่เข้ามากำหนดชีวิตของแม่และลูกทุกคนในสังคมทั้งในทางตรงและทางอ้อม ทั้งทางเลือกที่เราเลือกได้เพียงน้อยนิดและที่เราไม่เคยได้เลือกเลยก็ตาม เมืองเชื่อมโยงกับชีวิตตั้งแต่เกิดจนเราตาย หากลองคิดให้ลึกซึ้งกว่าเดิม เมืองที่มีโครงสร้างพื้นฐาน นโยบายและรัฐสวัสดิการที่ดีพร้อม ย่อมตอบโจทย์ชีวิตของทุกคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะแม่ๆ ของเราที่กำลังก้าวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมผู้สูงวัย (Aging Society) สำหรับวันแม่ในเมืองฝันสลายแห่งนี้ เราจะพูดถึงแม่แบบโรแมนติไซซ์หรือการบอกรักแม่เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ ดังนั้นเราจึงชวนมนุษย์ลูก 6 คนมานั่งพูดคุยกันว่าในเมื่อกรุงเทพฯ ตอบโจทย์ชีวิตแม่ของเราได้ไม่ดีเท่าที่ควรนัก พวกเขาฝันอยากเห็นแม่ที่รักได้มีลมหายใจในเมืองที่มีหน้าตาและจิตวิญญาณแบบไหน เผื่อว่าในระหว่างบรรทัดของถ้อยคำที่ร้อยเรียงจากความรักและความห่วงใยจะสะท้อนวิถีชีวิตของพวกเราในเมืองใหญ่ ซึ่งเต็มไปด้วยผู้คนที่อยากมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าในทุกวันนี้ 01 ป่าน-ชนารดี ฉัตรกุล ณ อยุธยา อาชีพ : ศิลปิน เมืองที่อยากให้แม่ไปอยู่ : เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี “เราอยากให้แม่ได้อยู่ในประเทศที่มองเห็นคนเท่าๆ กัน มีชีวิตอย่างมีคุณค่าเท่าที่มนุษย์คนหนึ่งควรถูกทรีต ให้เขาได้อยู่ในเมืองที่เรามั่นใจได้ว่าเมื่อแม่แก่ตัวหรือเจ็บป่วย จะมีโรงพยาบาลที่ Afford ได้ง่ายดาย มีสวัสดิการพื้นฐานที่ดี เมื่อต้องเดินทางไปไหนก็อยากให้เขาได้มีการคมนาคมและขนส่งมวลชนที่ครอบคลุมและมีคุณภาพ แต่ตอนนี้ประเด็นพวกนี้กลับไม่มีในเมืองที่เราอยู่ “เราถูกสอนให้เป็นคนกตัญญูต้องตอบแทนบุญคุณ จนลืมตั้งคำถามกับชีวิตว่าส่วนหนึ่งของการดูแลคน มันคือสิ่งที่รัฐต้องจัดสรรให้ทุกคนอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าลูกๆ ต้องลำบากตรากตรำทำงานเพื่อชดใช้บุญคุณพ่อแม่ตัวเอง ไม่ใช่แค่แม่เราหรอกที่ควรได้อยู่ในเมืองที่ดี […]
หนี้ครัวเรือนของไทยที่สูงสุดทุบสถิติในรอบ 18 ปี เศรษฐกิจวิกฤตหนัก ไม่มีกำลังฟื้นฟู
สถานการณ์โควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว โดยหนี้ครัวเรือนพุ่งไปถึง 14.13 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.5% ของ GDP เพิ่มขึ้นประมาณ 88,138 ล้านบาท
บิลด์อารมณ์คนดูด้วยการตัดต่อไปกับ โจ-หรินทร์ แพทรงไทย นักตัดต่อเจ้าของรางวัลสุพรรณหงส์
คนตัดต่อหรือนักลำดับภาพ อาชีพนักเล่าเรื่องแห่งวงการภาพยนตร์ อาชีพที่เปรียบเสมือนเชฟปรุงอาหาร ผู้ผสมผสานวัตถุดิบที่เรียกว่า Footage นับสิบนับร้อยชั่วโมงให้กลายเป็นภาพยนตร์ขนาดประมาณ 2 ชั่วโมงรสชาติกลมกล่อมให้ผู้ชมได้เสพกัน และความสำคัญของอาชีพนี้อยู่ตรงที่ว่าไม่ว่าคุณจะมีวัตถุดิบชั้นยอดสักแค่ไหน จะถ่ายภาพออกมาสวยตระการตา หรือการแสดงเทพดุจ แอนโทนี่ ฮอปกินส์ หากขาดนักปรุงชั้นยอดที่เรียกว่านักตัดต่อ (Editor) ภาพยนตร์เรื่องนี้คงไม่มีทางจะอร่อยลงตัวได้ เพื่อพาไปรู้จักกับอาชีพนี้ให้มากขึ้นเราจึงอยากชวนไปพูดคุยกับ โจ-หรินทร์ แพทรงไทย นักตัดต่อรุ่นใหม่ ผู้ฝากผลงานให้วงการภาพยนตร์ไทยทั้ง Take Me Home : สุขสันต์วันกลับบ้าน หนังผีที่ได้เข้าชิงชมรมวิจารณ์บันเทิงสาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม และเสียงตอบรับที่ดีอย่างล้นหลาม จากผลงานเรื่อง Where We Belong ที่ประสบความสำเร็จจนได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ สาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นรางวัลที่การันตีความสามารถและประสบการณ์ของการเป็นนักตัดต่อมืออาชีพของเขาได้เป็นอย่างดี เราชวนเขามาพูดคุยถึงชีวิตการทำงาน และเส้นทางการเติบโตเป็นนักตัดต่อฝีมือดีคนหนึ่งของวงการภาพยนตร์ไทย 01 เด็กหนุ่มผู้ตกหลุมรักภาพยนตร์ ตั้งแต่หนังสองเรื่องแรกที่ดูกับพ่อ ย้อนกลับไปในวัยเด็กจุดเริ่มต้นของเส้นทางอาชีพนักตัดต่อของโจ เกิดขึ้นจากเหตุการณ์การนั่งดูภาพยนตร์สองเรื่องกับพ่อในสมัยที่ภาพยนตร์ยังเป็นม้วนวิดีโอ โดยหนัง 2 เรื่องในความทรงจำของเขาคือเรื่อง Star Wars: Episode IV – A New Hope และ […]
จิ้นยูนิฟอร์มนักกีฬาทีมชาติไทยใน Olympic 2024
ตั้งแต่วันที่นายกฯ ญี่ปุ่นขโมยซีนด้วยการแปลงร่างเป็นมาริโอ้ในพิธีปิดโอลิมปิกปี 2016 จนถึงพิธีเปิดของกีฬาโอลิมปิก 2020 ณ แดนอาทิตย์อุทัย ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนน่าจดจำ ชวนให้เราอยากติดตามและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งแรงใจเชียร์พลพรรคนักกีฬาทีมชาติไทย แต่สิ่งที่ขัดใจพวกเราไม่น้อย จนกลายเป็นดราม่าที่ทุกคนพูดถึงกัน ก็คือเครื่องแต่งกายของทีมชาติไทย ตั้งแต่ชุดสูทเดินขบวนที่ขาดสีสันความน่าจดจำ ยังคงอนุรักษ์รูปแบบเสมือนดีไซน์ประจำชาติไว้ตั้งแต่ปี 1988 อย่างไม่คิดจะเปลี่ยนแปลง หรือดราม่าเรื่องชุดการแข่งขัน จนเราต้องตั้งคำถามทุกครั้ง เมื่อเห็นเหล่านักกีฬาต้องคอยถกแขนเสื้ออยู่ตลอดเวลาที่ลงสนาม และสงสัยว่าเป็นความเคยชินของนักกีฬา หรือเป็นเพราะการออกแบบที่ไม่คำนึงถึงการใช้งานจริงกันแน่ เพราะชุดเดินขบวนในพิธีเปิดเปรียบเหมือนเป็นหน้าตาของประเทศ และส่งผลถึงประสิทธิภาพในการแข่งขันของนักกีฬาทีมชาติ คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองออกแบบชุดกีฬาของทัพนักกีฬาไทย เพื่อโอลิมปิกครั้งหน้าที่ปารีส 2024 แบบฉบับ Concept Design ดึงภาพลักษณ์ความเป็นไทยแบบแคชชวลแต่ชาวต่างชาติต้องร้องอ๋อ เช่น ผ้าสามสี กางเกงลายช้าง เสื้อลายเสื่อกกลายขิด ออกมาใช้ให้สร้างสรรค์และน่าจดจำกันสักหน่อย …ชุดนักกีฬาไทยในใจของคุณๆ เป็นยังไงบ้าง ไหนลองแชร์ให้ฟังหน่อย นอกจากชุดกีฬาจะเป็นหน้าตาของประเทศแล้ว ยังส่งผลต่อการแข่งขันทั้งทางตรงและทางอ้อม เราจึงเห็นพัฒนาการของอุปกรณ์หรือชุดกีฬาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการออกแบบอุปกรณ์ทางกีฬา อยู่ภายใต้แนวคิดว่า ทำอย่างไรให้นักกีฬา Perform ได้ดีขึ้น เป็นสารตั้งต้นง่ายๆ ที่ทำให้พัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะทุกท่วงท่าในการเคลื่อนไหวของนักกีฬาล้วนสัมพันธ์กับอุปกรณ์และเครื่องสวมใส่ทั้งสิ้น เรื่องเล็กๆ อย่างการถกแขนเสื้อแค่หนึ่งครั้ง อาจหมายถึงการเสียแต้มสำคัญ […]
กระเบื้องผนังเปลือกไข่ ปลายทางใหม่ของการกำจัดเศษอาหาร
แต่ละวันเรากินไข่ไก่เฉลี่ยคนละ 1 – 2 ฟอง แล้วลองคูณจำนวนคนทั้งโลกเข้าไป คิดดูว่าเปลือกไข่ถูกทิ้งต่อวันจะมีกี่พันล้านฟองกัน ซึ่งพอรวบรวมเป็นสถิติรายปีพบว่าเรามีขยะเปลือกไข่ราว 250,000 ตัน/ปี และมักใช้การฝังกลบในการกำจัดขยะ โดยพื้นที่ 1 ตร.ม. ฝังเปลือกไข่ได้ประมาณ 2,000 ฟอง และใช้ระยะเวลา 20 วันเพื่อย่อยสลาย ดูเหมือนการกำจัดเปลือกไม่ใช่ปัญหาอะไร แต่ดีไซเนอร์ชาวฮ่องกง ‘Elaine Yan Ling Ng’ อยากหาปลายทางใหม่ของเศษเปลือกไข่ที่ครีเอต เพิ่มมูลค่า และทำประโยชน์ได้มากกว่าการ ‘ทิ้ง’ จึงรีไซเคิลเปลือกไข่ให้กลายเป็น ‘CArrelé’ คอลเลกชันกระเบื้องปูผนัง โดยกระเบื้อง 1 ตร.ม. ช่วยลดจำนวนขยะได้มากถึง 20,000 ฟอง และใช้เวลาผลิตเพียง 2 วันเท่านั้น ด้วยภาพจำของคนมักมองว่าเปลือกไข่มีความเปราะบาง หารู้ไม่ว่ามันแข็งแรงกว่านั้นมหาศาล แถมยังทนต่อรังสี UV ธรรมชาติด้วย โดยขั้นตอนการทำกระเบื้อง พวกเขาจะรวบรวมเปลือกไข่ที่ถูกทิ้งจากร้านเบเกอรี ครัวโรงแรม และตามชุมชนที่ตั้งรอบโรงงานในเมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ แล้วนำมาบดให้ละเอียด ก่อนจะผสมเข้ากับสารเคมี ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้วัสดุยึดเกาะกันได้แน่นขึ้น […]
ผู้หญิงต้องได้ใส่ชุดที่ตัวเองมั่นใจ! นักยิมนาสติกเยอรมันใส่ชุดเต็มตัวแข่งโอลิมปิกสนับสนุนทางเลือกเครื่องแต่งกาย
ฤดูกาลโอลิมปิกกลับมาอีกครั้งหลังจากถูกเลื่อนออกไปเพราะวิกฤตโควิด-19 และดูเหมือนว่าปีนี้จะมีเรื่องน่าสนใจนอกเหนือจากการแข่งขันกีฬา นักกีฬาจากหลายประเทศแสดงการเคลื่อนไหวทางสังคมที่หลากหลายโดยเฉพาะประเด็นเรื่องเครื่องแต่งกาย อย่างล่าสุดนี้ทีมนักยิมนาสติกหญิงจากเยอรมนีที่เลือกลงแข่งในชุดเต็มตัว แทนชุดยิมนาสติกรัดรูปและเว้าสูงอย่างที่เคยใส่กันมา ตามกฎแล้วชุดรัดรูปคือชุดมาตรฐานของกีฬายิมนาสติก ทั้งแบบแขนยาว แขนสั้น และไม่มีแขน ส่วนใหญ่เราจะเห็นนักกีฬาหญิงใส่ชุดรัดรูปขาเว้าสูงแบบบิกินี่ น้อยครั้งนักที่จะเห็นนักยิมนาสติกหญิงใส่ชุดรัดรูปขายาว-แขนยาวแบบเต็มตัว เพราะที่ผ่านมาชุดเต็มตัวถูกยกเว้นไว้สำหรับนักกีฬามีข้อกำหนดด้านศาสนา หรือมีประจำเดือนในขณะแข่งขันเท่านั้น แต่ในกรณีนี้ทางสหพันธ์ยิมนาสติกนานาชาติไม่มีปัญหา ขอแค่ชุดส่วนบนและส่วนล่างเป็นสีเดียวกัน การเรียกร้องครั้งนี้ของทีมนักยิมนาสติกหญิงเยอรมันทำเพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงควรมีเสรีภาพในการเลือกสวมใส่ชุดที่พวกเธอมั่นใจในการแข่งขันได้ และต่อต้านการทำให้นักกีฬาหญิงเป็นวัตถุทางเพศผ่านเครื่องแต่งกายที่ล่อแหลม Sarah Voss หนึ่งในทีมชาติเยอรมนีกล่าวว่า “นักกีฬาทุกคนควรรู้สึกปลอดภัยขณะแข่งขัน และการตัดสินควรดูจากผลงานการแสดงของพวกเขา ไม่ใช่ดูจากรูปร่าง” และเธอยังกล่าวว่า “ในทีมชาติเยอรมนีถ้าใครรู้สึกปลอดภัยหรือชอบชุดยิมนาสติกเว้าสูงก็สามารถใส่ได้ หรือถ้าอยากใส่แบบขายาวก็ใส่ได้เหมือนกัน ในทีมเราไม่ได้มีการบังคับ ทุกคนมีสิทธิ์เลือกชุดที่อยากใส่ เธอเองก็ไม่ได้อยากใส่ชุดรัดรูปขายาวเสมอไป ขึ้นอยู่กับว่าวันนั้นเธออยากแสดงแบบไหนแค่นั้นเอง” นอกจากทีมชาติเยอรมนีแล้ว นักยิมนาสติกหญิงทีมชาตินอร์เวย์ยังชื่นชมการตัดสินใจครั้งนี้ และสนับสนุนเพื่อนนักกีฬาทีมเยอรมนีที่กล้าแสดงจุดยืนเรื่องสำคัญของนักกีฬาอีกด้วย การเรียกร้องเรื่องเครื่องแต่งกายของนักกีฬาหญิงในการแข่งขันโอลิมปิกที่เป็นประเด็นก่อนหน้านี้คือกรณีของทีมนักกีฬาแฮนด์บอลหญิงจากนอร์เวย์ที่ปฏิเสธการใส่ชุดบิกินี่เข้าแข่งขัน ทำให้ถูกปรับจากสหพันธ์แฮนด์บอลแห่งยุโรป นักร้องอเมริกันชื่อดังอย่าง P!nk เสนอจะจ่ายค่าปรับให้เพื่อสนับสนุนการต่อต้านการทำให้นักกีฬาหญิงเป็นวัตถุทางเพศ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นเวทีที่นานาประเทศจะได้แสดงศักยภาพผ่านการแข่งขันกีฬา แต่ในปัจจุบันโอลิมปิกเป็นพื้นที่ที่ทำให้นักกีฬาได้ตั้งคำถามและสื่อสารสิ่งที่ตนต้องการไปสู่สายตาประชาคมโลกด้วยเช่นกัน Sources : BBC Sport | https://www.bbc.com/sport/av/gymnastics/56916789Reuters | https://tinyurl.com/2ea255ep
7 ตัวช่วยยืนหนึ่งเรื่อง WFH ทำงานไม่สะดุดแถมไม่หลุดโฟกัส
Work from Home มาเป็นปีจนร่างยม และดูท่าว่าต้องทำงานอยู่บ้านกันไปอีกยาว ใครว่าทำงานอยู่บ้านง่ายกว่าออฟฟิศ เราว่าไม่จริงเพราะมีปัญหาจุกจิกตามมาสารพัด ทั้งเสียงหมาเสียงรถคอยรบกวนเวลาประชุม กองงานสูงท่วมหัวจนเรียงลำดับไม่ถูก หรือโดนตามงานในแชตไลน์ส่วนตัว แถมเตียงนุ่มๆ ยังเป็นมารผจญมายั่วยวนให้อยากทิ้งตัวนอนอีก! Urban’s Pick ครั้งนี้ จึงขอปฏิวัติระบบ Work from Home เพื่อให้การทำงานเป็นระเบียบและสะดวกมากกว่าเดิมด้วย 7 ตัวช่วยที่ทำให้การทำงานอยู่บ้านไม่มีสะดุด เรียกว่าคล่องปรื๋อยิ่งกว่าทำงานออฟฟิศแน่นอน! คอนเฟิร์ม! 01 | เลิกคุยงานผ่านไลน์ แล้วมาสร้างเครือข่ายผ่าน Slack ปัญหาใหญ่ของการย้ายสถานที่ทำงานจากออฟฟิศมาเป็นบ้านคือ ‘การสื่อสาร’ จะคุยงานผ่านอีเมลก็ช้าเกินไป หรือจะคุยงานผ่านไลน์ทั้งแชตส่วนตัวกับแชตเรื่องงานก็ปนกันไปหมด ‘Slack’ จึงเป็นตัวช่วยที่เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์แบบนี้ ด้วยสโลแกนของแบรนด์ว่า ‘Where work happens’ (ที่ที่เกิดการทำงาน) ก็รู้ทันทีว่าคิดมาเพื่อแก้ไขปัญหาการสื่อสารในที่ทำงานโดยเฉพาะ Slack คือซอฟต์แวร์ที่เราคุยกันผ่านแชตส่วนตัวหรือสร้าง ‘Channel’ ขึ้นมาเพื่อคุยกันเฉพาะกลุ่มก็ได้ ทั้งยังแชร์ไฟล์จากแอปพลิเคชันพาร์ตเนอร์เข้าแชตได้ด้วย เช่น Google Drive, Dropbox, Evernote และอีกกว่า 2,200 แอปฯ เลยทีเดียว […]
เกิดไม่ทันเห็น ก็ได้เห็น เมื่อเชียงใหม่คืนชีพเจดีย์หลวง 600 ปีด้วยเทคนิค Projection
เวลาไปท่องเที่ยวสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เราต่างวาดฝันถึงความงดงาม ความสมบูรณ์ ของโบราณสถานที่แตกหัก เราเห็นเพียงเศษซากของอารยธรรมที่เคยรุ่งเรือง จนในบางครั้งเราก็คงอยากเห็นว่ายามรุ่งเรืองของโบราณสถานนั้นหน้าตาจะเป็นอย่างไร แตกต่างจากภาพวาดมากน้อยแค่ไหน แต่เราอาจจะไม่ต้องจินตนาการคิดไปไกลอีกต่อไป เพราะล่าสุดสมาคมสถาปนิกล้านนาฯ ร่วมกับศูนย์นวัตกรรมล้านนาสร้างสรรค์ ได้ทดลอง Installation Art ครั้งสำคัญ ส่องแสงเลเซอร์ไปยังองค์เจดีย์หลวงวรวิหาร โบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้เทคนิค “Projection” หรือ “ภาพฉาย” สร้างเส้นรอบรูปขององค์เจดีย์ในลักษณะภาพฉายสองมิติ แต่งเติมลงไปบนตัวเจดีย์ที่เป็นสามมิติ การทดลองนี้จึงเป็นการลองใช้ “มิติความแบน” จากโลกกราฟิกสองมิติด้วยขนาดความน่าจะเป็น 1 ต่อ 1 ของตัวโบราณสถาน เพื่อกระตุ้นการรับรู้ใหม่ให้ “มิติความลึก” ในโลกกายภาพสามมิติ เพื่อเติมเต็มซากปรักหักพังด้วยจินตนาการ ศิลปะ และวิทยาศาสตร์ แต่งแต้มความสมบูรณ์ขององค์เจดีย์ ให้เราได้ชื่นชมความงดงาม ความยิ่งใหญ่ ด้วยตาเปล่า โดยไม่กระทบโครงสร้างของโบราณสถานเดิม ตามการอ้างอิงรูปทรง ความสูง จากการศึกษาเทียบเคียงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนาหลายท่าน นับเป็นก้าวที่สำคัญของวงการศิลปะและวัฒนธรรม ในอนาคตเราคงจะได้เห็นภาพ Visual ของโบราณสถานอีกหลายแห่งในประเทศไทยในรูปแบบงานศิลปะร่วมสมัยมากขึ้นและอาจจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นกระตุ้นการท่องเที่ยวโบราณสถานให้กลับมาครึกครื้นอีกครั้ง
CoCare Plus เปิดให้คำปรึกษาและแนะนำการ Home Isolation บน LINE OA ฟรี!
หากใครมีผลโควิด-19 ออกมาเป็น ‘บวก’ ทั้งแบบไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมาก และถือว่าเป็นผู้ป่วยสีเขียวที่สามารถ Home Isolation หรือกักตัวแยกที่บ้านได้ แล้วไม่รู้ว่าตัวเองจะต้องทำอย่างไรทาง ‘Thai CoCare’ องค์กรที่รวบรวมเหล่าบุคลากรทางแพทย์อาสา ตั้งแต่หมอ พยาบาล เภสัชกร นักจิตวิทยา ไปจนถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้เปิดบริการ LINE OA เพื่อดูแล ติดตามอาการ และให้คำแนะนำในเรื่องการปฏิบัติตนที่ถูกต้องในการแยกกักตัวที่บ้านโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยขั้นตอนการเข้ารับคำปรึกษามี 2 วิธีด้วยกัน 1. สำหรับคนที่มีผลตรวจว่าติดเชื้อ ให้แอดไลน์ @CoCarePlus หรือกดลิงก์ https://bit.ly/3zGMIxw เพื่อ Add Friend หลังจากนั้นกดส่งข้อความถึงบุคลากรทางการแพทย์อาสาในช่องแชต เพื่อแจ้งว่ามีผลตรวจโควิดเป็นบวก และระหว่างรอเจ้าหน้าที่ตอบกลับให้กดลงทะเบียนกรอกชื่อ-นามสกุล เบอร์ติดต่อ โรคประจำตัว และวันที่ตรวจ PCR แล้วกดบันทึกข้อมูลเอาไว้ เพื่อรอประเมินอาการในขั้นถัดไป และ 2. สำหรับคนที่ยังไม่มีผลติดเชื้อสามารถแอดไลน์ไอดี @CoCare หรือกดลิงก์ http://bit.ly/line-CoCare เพื่อสอบถามเจ้าหน้าที่ถึงข้อสงสัยเกี่ยวกับโควิด-19 ซึ่งช่องทางดังกล่าวเปิดให้คำปรึกษาฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00 – […]
Super Dad ความซูเปอร์ฮีโร่ของพ่อคนธรรมดา
ผลงานภาพถ่ายชุด Super Dad เป็นการหยิบเอาเรื่องราวจริงในอดีตที่พ่อเคยเล่าให้ฟัง แล้วเรามองว่าเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ น่าตื่นเต้น มาสร้างเป็นภาพถ่ายที่เปรียบพ่อเป็นซูเปอร์ฮีโร่ผ่านภาพและเรื่องราวที่เหมือนจะธรรมดา
‘หนังไทยไปไกลกว่านี้ ถ้าไม่ถูกปิดปาก’ คุยกับ หมู ไก่ พี่น้องผู้กำกับบ้านบุญประกอบ
เอหิปัสสิโก (Come And See) เป็นภาพยนตร์สารคดีตีแผ่มุมมองความศรัทธาในสถาบันบางอย่างผ่านคดีพระธัมมชโย วัดพระธรรมกาย ลำดับล่าสุดของผู้กำกับ ไก่-ณฐพล บุญประกอบ ที่เกือบถูกเซนเซอร์โดยรัฐไทย แต่ตอนนี้กำลังจะได้ลง Netflix วันที่ 1 สิงหาคม 2564 Friend Zone ระวัง..สิ้นสุดทางเพื่อน เป็นภาพยนตร์โรแมนติกคอเมดี้ว่าด้วยเรื่องราวความสัมพันธ์ของสองเพื่อนสนิทที่ติดอยู่ในเฟรนด์โซน ลำดับล่าสุดของผู้กำกับ หมู-ชยนพ บุญประกอบ ที่โลดแล่นบนจอภาพยนตร์ถึง 13 ประเทศทั่วเอเชีย ‘ไก่’ คนน้อง ชอบเล่าเรื่องจริงในสังคมผ่านสารคดี เพราะอยากเพิ่มจำนวนสารคดีในประเทศไทยที่มีน้อย (มาก) ด้วยปัจจัยเสี่ยงยาวนับพันข้อ ‘หมู’ คนพี่ ชอบทำหนังคอเมดี้ เพราะอยากเห็นคนไทยหัวเราะออกมาดังๆ และการลุ้นว่าคนดูจะขำมุกที่ใส่ไว้ในเรื่องไหม นั่นแหละคือความท้าทาย ทั้งสองมีมุมมองการกำกับ ลีลา และจุดมุ่งหมายต่างกัน แต่การเป็นคนทำหนังเหมือนกันนี่แหละ คือจุดร่วมที่ทำให้ฉันนัดสองพี่น้องบ้านบุญประกอบมาคุยถึงการเลือกให้คุณค่างานศิลปะของรัฐไทย การปิดปากงานสร้างสรรค์ และการไม่ยอมรับความจริง จนทำให้อุตสาหกรรมหนังไทยติดปัญหา ยังไปได้ช้าพอๆ กับการมีวัคซีนโควิด-19 ดีๆ ในประเทศ วงการหนังไทยแบบไหนที่พวกคุณอยากเห็น หมู : อยากเล่าอะไรก็ได้ เพราะคอนเทนต์ดีๆ […]