บุก 5 โลเคชัน ‘ร่างทรง’ เพื่อปลุกย่าบาหยันให้ขลัง และเสกอีมิ้งให้เฮี้ยนไกลถึงเกาหลี

เมื่อไม่กี่เดือนก่อน ‘ร่างทรง’ กลายเป็นหนังผีที่โจษจันเรื่องความเฮี้ยนไปทั่วเกาหลีใต้ ซึ่งความสำเร็จมาจากฝีมือการกำกับของ โต้ง–บรรจง ปิสัญธนะกูล และโปรดิวเซอร์ชาวเกาหลีชื่อดังอย่าง Na Hong-jin และเป็นครั้งแรกที่ค่าย GDH จับมือร่วมทุนสร้างกับ ShowBox ค่ายหนังเกาหลีเพื่อถ่ายทอดความผวานี้ร่วมกัน ความเฮี้ยนสุดหฤโหดที่ปรากฏบนจอ ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย เพราะนอกจากทีมงานคุณภาพจะเนรมิตทุกอย่างออกมาหลอนคนดูจนเสียวสันหลัง โลเคชันที่ปรากฏในเรื่องยังโดดเด่นไม่แพ้องค์ประกอบอื่นของหนัง เพราะสถานที่ถ่ายทำ ทั้งสวย ลึกลับ น่าสะพรึง และเต็มไปด้วยมนต์ขลังศักดิ์สิทธิ์ของอำนาจเหนือธรรมชาติ เราจึงยกให้สถานที่ต่างๆ ในเรื่องอยู่ในฐานะของตัวละครนำที่เต็มไปด้วยลูกเล่นไม่แพ้นักแสดงที่เป็นมนุษย์ ยิ่งไปกว่านั้นคือการใช้สถานที่เพื่อสร้างความน่ากลัว ตั้งแต่บ้าน ต้นไม้ หุบเขา ตึกร้าง และพื้นที่ต่างๆ ที่ปรากฏในแต่ละซีน เชื่อไหมว่า หนังผีเรื่องนี้ใช้เกือบทุกอำเภอในจังหวัดเลยถ่ายทำ พ่วงท้ายด้วยบางโลเคชันในกรุงเทพฯ นครนายก และนครปฐม เพื่อเปิดทางให้ตัวละครมีพื้นที่โลดแล่น สาดความบ้าคลั่งอันดุเดือดเลือดพล่าน ถ่ายทอดเรื่องราวความเฮี้ยนที่เกิดขึ้นกับ ‘นิ่ม’ ร่างทรงย่าบาหยันและครอบครัวของเธอที่มี ‘อีมิ้ง’ หลานสาว ผู้ตกอยู่ในภาวะอาการของคนที่ต้องรับทรงคนต่อไปตั้งแต่ต้นจนจบ  ความน่าสนใจก็คือทีมโลเคชันกะเทาะโจทย์จากผู้กำกับอย่างโต้งจนแตก และหาพื้นที่ถ่ายทำหลัก อย่างหุบเขากลางม่านหมอกที่คลุ้มคลั่งด้วยห่าฝนในอีสานมาถ่ายทำได้อย่างลงตัว เราจึงยกคุณงามความดีนี้ให้กับ เชี่ยวเวช ดนตรี Location Manager และ ศิริชัย […]

Tardigrade ต้นแบบมอ’ไซค์นอกโลก เตรียมให้นักบินอวกาศบิดคันเร่ง สำรวจพื้นผิวบนดวงจันทร์

Tardigrade ต้นแบบมอ’ไซค์นอกโลก เตรียมให้นักบินอวกาศบิดคันเร่ง สำรวจพื้นผิวบนดวงจันทร์

เด็กเอ๋ย เด็กดี ต้องมีหน้าที่กี่อย่างด้วยกัน?

ภาพถ่ายชุด “เด็กเอ๋ยเด็กดี” เป็นการนำเพลง “เด็กเอ๋ยเด็กดี” ที่เราคุ้นหูกันมาตั้งแต่เด็กมาตีความใหม่ผ่านภาพถ่าย รวมถึงเล่าเรื่องให้สอดคล้องกับระบบการศึกษาและสังคมในปัจจุบัน

10 ห้องสมุดทั่วกรุงเทพฯ ที่น่าไปอ่านหนังสือช่วงวันหยุด

วันหยุดแล้วไปหาที่นั่งอ่านหนังสือด้วยกันไหม? หากใครอยากออกจากบ้านหรือหาที่พักผ่อน แต่ยังต้องการความสงบและไม่อยากไปสถานที่คนพลุกพล่าน คอลัมน์ Urban Guide จะพาไปปักหมุดและสำรวจห้องสมุดกรุงเทพฯ เพื่อหาที่เงียบๆ อ่านหนังสือกัน เดี๋ยวนี้ห้องสมุดหลายที่ไม่ได้มีแค่โซนอ่านหนังสือเท่านั้น แต่ยังมีโซนคาเฟ่ โซนพักผ่อน จะนั่งดูหนัง หรือฟังเพลงเงียบๆ คนเดียวก็ได้ หรือจะหาที่นั่งทำงานเปลี่ยนบรรยากาศ Work From Home ก็มีตัวเลือกหลากหลายเช่นกัน บางที่ก็เพิ่งรีโนเวตใหม่สดๆ ร้อนๆ มีทั้งห้องสมุดดีไซน์ ห้องสมุดศิลปะ ห้องสมุดหนังสือต่างประเทศ หรือห้องสมุดเด็กสำหรับคนที่อยากพาลูกหลานออกไปเปลี่ยนบรรยากาศนอกบ้าน ใครอยู่ย่านไหนก็ลองหาห้องสมุดใกล้บ้านได้ในย่านนี้ เราบอกพิกัดทั้ง 10 ที่ไว้ให้หมดแล้ว 01 | ดรุณบรรณาลัย ห้องสมุดเด็กปฐมวัย บ้านโบราณสีเขียวอ่อน 2 ชั้นที่มีบันไดสายรุ้งในย่านเจริญกรุงหลังนี้ คือห้องสมุดที่เปิดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2557 เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา ที่นี่คือห้องสมุดสำหรับเด็กปฐมวัยแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อให้บริการเด็กปฐมวัยและกลุ่มพิเศษของสถาบันราชานุกูล  ภายในห้องสมุดมีพื้นที่กว้างขวาง หนังสือภาพและนิทานสำหรับเด็กถูกจัดวางไว้ตามชั้นต่างๆ อย่างเป็นระเบียบ ส่วนภายนอกก็มีสนามหญ้าขนาดกลางที่ร่มรื่นและดูอบอุ่น สำหรับจัดกิจกรรมให้เด็กๆ อย่างเช่น การอ่านหนังสือนิทาน […]

The Playscape เปลี่ยนโกดังสินค้าเก่าปี 1970 เป็น ‘ศูนย์การเล่น’ ของเด็กในปักกิ่ง

สนามเด็กเล่นไม่ได้มีแค่กองทราย สไลเดอร์ หรือม้าหมุนเท่านั้น เพราะการเล่นของเด็กสามารถออกแบบให้สนุก สร้างสรรค์ แถมยังปลอดภัยได้มากกว่าที่คิด  ภาพภูมิทัศน์ของลานปูนที่ดูลื่นไหลเหมือนคลื่นลูกน้อยใหญ่สลับกัน และท่อสีขาวที่เชื่อมต่อกันไปมาจากตัวอาคาร ที่เห็นอยู่ในภาพนี้คือ Children’s Community Centre หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็น ‘ศูนย์การเล่น’ ของเด็กในมณฑลเฉาหยาง เมืองปักกิ่ง ประเทศจีน ที่มีชื่อว่า ‘The Playscape’ โครงการรีโนเวตโกดังสินค้าเก่าตั้งแต่ปี 1970 ของ We Architech Anonymous (WAA) ทีมสถาปนิกชาวจีนที่เนรมิตพื้นที่ขนาด 3,921.26 ตารางเมตร ให้ออกมาเป็นลานเล่นที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและฝึกประสาทสัมผัสของเด็กผ่านประสบการณ์จริง โกดังแห่งนี้สร้างขึ้นในปี 1970 เพื่อจัดเก็บและขนส่งธัญพืช ตั้งอยู่ทางเหนือของกรุงปักกิ่ง บริเวณโดยรอบเป็นอาคารใช้เป็นที่เก็บสินค้า ส่วนตรงกลางเป็นคอร์ตยาร์ด ซึ่งเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของสถาปัตยกรรมจีนที่มีมาตั้งแต่โบราณ และยังคงโครงสร้างเดิมไว้แม้จะมีการรีโนเวตเพื่อเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานแล้ว ซึ่งลูกค้าของโปรเจกต์นี้คือ Beijing NuanQin ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ ที่เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการการเคลื่อนไหว สำหรับเด็กในทุกกลุ่มอายุ ทำให้การรีโนเวตครั้งนี้ไม่ใช่แค่ทำให้สวยและสนุกเท่านั้น แต่ยังต้องช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและการเรียนรู้ให้กับเด็กได้จริงด้วย  ภายใต้เงื่อนไขที่มี WAA จึงออกแบบให้ลานเด็กเล่นในชานเมืองแห่งนี้ตอบโจทย์การพัฒนาเด็กที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ซึ่งมักจะขาดพื้นที่เล่นทางกายภาพ เล่นในร่มมากกว่ากลางแจ้ง และโตมากับหน้าจอมากกว่าการใช้ชีวิตนอกบ้าน WAA […]

ปิดตำนานรถเมล์สาย ‘ก.ไก่’ พ่วงท้าย จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อรถเมล์สาย ‘73ก’ ไม่มี ‘ก’ อีกต่อไป

‘กว่าคุณจะได้อ่านบทความนี้ ประเทศไทยคงไม่มีรถเมล์สาย 73ก อีกต่อไปแล้ว’ ‘73ก’ รถเมล์ที่มีเส้นทางผ่านไปทักทายผู้คนมากมายหลายย่าน ตั้งแต่แหล่งออฟฟิศย่านรัชดาฯ รับ-ส่งอากง-อาม่าที่เยาวราช ดรอปนักช้อปตัวยงที่ปากคลองตลาด-พาหุรัด-สำเพ็ง-ประตูน้ำ ผ่านแหล่งศูนย์รวมเยาวรุ่นอย่างสยาม-เซ็นทรัลเวิลด์ แม้แต่จะเดินทางไปจับมือเกิร์ลกรุ๊ปไกลถึงเดอะมอลล์ บางกะปิ หรืองาน Cat Festival แถวห้างแฟชั่นไอส์แลนด์ รามอินทรา สายนี้ก็ไปทั่วถึง! (ด้วยเส้นทางที่ทั้งแมสและทรหด)  จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากใครหลายคนจะเคยใช้บริการรถเมล์สายนี้มาแล้ว บางคนก็เป็นขาประจำ ไปเรียน ไปทำงาน หรือไปต่อสถานีรถไฟฟ้า โดยเฉพาะชาวลาดพร้าว บางกะปิ และนวมินเนี่ยนอย่างผม จนแม้แต่ในรายการแฟนพันธุ์แท้ EP.01 พิธีกรอย่าง กันต์ กันตถาวร ก็เคยพูดถึงรถเมล์สายนี้ด้วยเหมือนกัน ในวาระเดียวกับบรรทัดที่ 1 ‘เจอนี่เจอนั่น’ เดือนนี้ เลยขอบอกลาเพื่อนเก่าที่คุ้นหน้ามานานอย่างรถเมล์สาย ‘73ก’ รถประจำทางที่หลายคนคุ้นหน้าหรือเคยได้ขึ้นไปไหนมาไหน จนอาจเรียกได้ว่าเป็นรถเมล์สายแมสที่สุดของตระกูล ก ซึ่งตอนนี้รถเมล์สาย 73ก นี้ได้เลิกใช้ ‘ก’ ห้อยท้ายไปตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 หลังใช้ชื่อนี้มายาวนานกว่า 22 ปี  ว่าแต่ทำไมชื่อ 73 […]

อ่างแก้วใหม่ในสายตา ‘เบิ้ล นนทวัฒน์’ สถานที่เยียวยาจิตใจในประเทศที่มีแต่เรื่องหัวค*ย

‘เบิ้ล-นนทวัฒน์ นำเบญจพล’ คือผู้กำกับสารคดีชาวไทยที่มีโอกาสได้เทียวไปเทียวมาจากกรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่อยู่หลายหน ‘เบิ้ล-นนทวัฒน์ นำเบญจพล’ คือผู้กำกับสารคดีชาวไทยที่มีโอกาสได้เทียวไปเทียวมาจากกรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่อยู่หลายหน ด้วยโปรเจกต์งานสารคดีเรื่อง ‘ดินไร้แดน’ ‘ดอยบอย’ และอื่นๆ ที่ทำให้เขาต้องเดินทางมาทำงานที่นี่บ่อยๆ นอกจากลงพื้นที่ทำหนัง เวลาที่เบิ้ลต้องใช้ความคิดหรือเขียนบทเกี่ยวเนื่องกับโปรเจกต์ หรือในบางครั้งที่เขาอยากมาพักใจเฉยๆ เชียงใหม่กลายเป็นปลายทางหนึ่งที่เบิ้ลมาเยี่ยมเยียนแทบตลอดมา และช่วงที่เขาอยากพักผ่อนจากงานตรงหน้า ‘อ่างแก้ว’ คือหนึ่งใน Public Space ปรับปรุงใหม่ที่เขามีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยียน ในฐานะผู้กำกับหนังและช่างถ่ายภาพ เขาจึงใช้กล้องที่พกติดตัวไปทุกที่ บันทึกภาพสิ่งที่เขาเห็นแล้วชอบกลับมาให้เพื่อนๆ ได้ดู แน่นอน เราแอบขอภาพเขาบางส่วนมาแบ่งปันทุกคนด้วย

หิน ณรงค์ แท็กซี่โชห่วย ที่มีของใช้ ของกิน ยันของส่วนตั๊วส่วนตัว หยิบได้เลย ฟรี!

ขึ้นแท็กซี่คันนี้ อย่างต่ำยิ้มออก อย่างมากม่วนหลาย และใช่ค่ะ ดิฉันเอนจอยสุดๆ ตั้งแต่หย่อนตัวลงเบาะ 360 องศาภายในรถ อัดแน่นไปด้วยขนมหลากยี่ห้อ ทั้งคาว หวาน นัว มีไข่ไก่ ปลากระป๋อง เครื่องปรุงครบรส ไปจนถึงของใช้เบสิกอย่างน้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจาน ร่ม แปรงสีฟัน แม้กระทั่งโมเดลการ์ตูนหลายร้อยตัวเพิ่มสีสัน เอ๊ะ ผนังรถมียาสามัญประจำบ้านด้วย ดีจัง แต่เดี๋ยวนะ นั่นมันยาคุมฉุกเฉิน ถุงยาง เจลหล่อลื่น และผ้าอนามัยหรือเปล่า?!  แทบจะไม่ใช่แท็กซี่อยู่แล้ว แทบจะเป็นร้านสะดวกซื้อเคลื่อนที่อยู่แล้ว ซึ่ง หิน-ณรงค์ สายรัตน์ คนขับแท็กซี่วัย 55 ปี คนนี้ก็ต้องการให้เป็นแบบนั้น เพราะนี่คือ ‘แท็กซี่โชห่วย’ ที่เจ้าตัวทำมา 13 ปี และขอดอกจันรัวๆ ไว้ก่อนเลยว่าทุกอย่างบนรถไม่ขายสักชิ้นเด้อ แจกฟรี “โอ๊ย ถ้าไม่ได้ซื้อของขึ้นรถ นี่ไม่มีแรงขับหรอก มันไม่สนุก (หัวเราะ)” อะไรที่ทำให้น้าหินแจกฟรีแทนขาย และกลายเป็นขวัญใจชาวบางนาที่หิวเมื่อไหร่จะนึกถึง (เล่นมีโจ๊ก และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปพร้อมน้ำร้อนให้กินบนรถเวลาหิวโซ) แถมหยิบของใช้ส่วนตัวต่างๆ […]

จิรันธนิน กิติกา อ. หัวขบถผู้ดีไซน์วิชาถาปัตย์ให้แซ่บ และพัฒนาเมืองเชียงใหม่ให้ต้าชชช

ถ้าคิดว่าบทบาทอาจารย์ต้องขรึมเคร่งน่าเบื่อ ก็อยากให้ขยำภาพนั้นเขวี้ยงทิ้งซะให้หมด เพราะ ภูวา หรือ อ.ภู-จิรันธนิน กิติกา อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำลังเป็นในสิ่งที่สวนทางกับอาจารย์ส่วนใหญ่ แฟชั่นเนเบิล แซ่บ สนุก ฉูดฉาด แสบสัน แบบใหม่แบบสับ และพลังล้นเหลือ นี่คือกลุ่มคำที่เราถอดออกมาจากตัวตนหลากสีเกินจำกัดความของเขา  เฮ้ย แบบนี้ดิวะ อาจารย์ที่เราอยากให้มีในโลกวิชาการมากขึ้น เพราะเขาคือภาพแทนของคนบนพื้นที่อันหลากหลาย เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้สิ่งใหม่ เปลี่ยนให้การศึกษาน่าตื่นเต้น และทำให้วัยรุ่นได้รับความเข้าอกเข้าใจเป็นของขวัญแบบไม่มีกั๊ก จิรันธนินเป็นคนเชียงใหม่มันๆ ขาหนึ่งรับบทเป็นอาจารย์ ที่อยากให้เด็กได้เป็นตัวเอง และเป็นพลเมืองตื่นรู้ (Active Citizen) ส่วนอีกขาเป็นนักพัฒนาเมืองเชียงใหม่ บ้านเกิดที่เขารักให้มีความต้าชชช เพื่อคนเชียงใหม่จะได้ใช้ชีวิตอย่างสนุกและสบาย ไม่ใช่แค่เก๋ไก๋อย่างฉาบฉวย หรือดัดจริตไร้แก่นสาร แต่ต้องยั่งยืน เข้าใจบริบททางวัฒนธรรม และที่สำคัญ คนในชุมชนต้องมีปากเสียง และมีสิทธิดีไซน์บ้านและเมืองที่พวกเขาอยากอยู่อย่างเต็มพลัง  จากเด็กที่เคยถูกเพื่อนล้อตัวตนว่าพิลึกและแปลกประหลาด สู่นักเรียนสถาปัตย์ที่พบว่าบ้านเมืองของเราไม่ได้เจริญไปกว่าประเทศเพื่อนบ้านที่เคยดูแคลน กระทั่งออกเดินทางไปเรียนโทจนจบดอกเตอร์ที่เมืองเกียวโต เพื่อพบว่าเมืองที่รักษาวัฒนธรรมตัวเองได้ดีมากๆ แท้จริงแล้วเป็นยังไง จนในที่สุดตัดสินใจกลับมาเป็นอาจารย์หัวขบถที่ลากวิชาสถาปัตยกรรมมารวมกับลวดลายทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสังคม จนเด็กๆ ผู้เรียนต้องร้องว้าว ทว่าโครงสร้างหลักอาจเกลียดวิถีแหวกขนบ กล้าตั้งคำถาม ของคนประเภทนี้เข้าไส้ และต่อจากนี้ไป […]

FYI

ร่วมกัน ‘ลดเปลี่ยนโลก’ ขับเคลื่อนสู่สังคมเป็นกลางทางคาร์บอนกับโตโยต้า

เราทุกคนล้วนเป็นฟันเฟืองที่ช่วยขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงทางบวกให้เกิดขึ้นกับโลกได้ ผ่านวิธีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และสร้างสมดุลให้ธรรมชาติกลับมาดีอีกครั้ง ในฐานะแบรนด์ที่มีจุดยืนเรื่องเมืองสีเขียว ‘โตโยต้า’ จึงขอขอบคุณ ทุกองค์กร บริษัท ห้างฯ ร้านค้า สื่อ พรีเซนเตอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และคนไทยทั่วประเทศ ที่มีส่วนร่วมในแคมเปญ ‘ลดเปลี่ยนโลก กับโตโยต้า’ ซีซันสองที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 เมษายน ถึง 15 กรกฎาคม 2022 โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อทำให้โลกของเราน่าอยู่กว่าเคย ย้อนไปก่อนหน้านี้เมื่อปี 2019 โตโยต้าได้ริเริ่มและมุ่งมั่นดำเนินแคมเปญ ‘ลดเปลี่ยนโลก กับโตโยต้า’ ภายใต้โครงการ ‘โตโยต้าเมืองสีเขียว เพื่อธรรมชาติ เพื่อทุกชีวิต’ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหลากหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนด้วยดี ส่งผลให้แคมเปญซีซันแรกประสบความสำเร็จ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 30,000 คน และช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งไปได้ถึง 33,707 กิโลกรัม จากกระแสตอบรับที่ท่วมท้นนี้ ทำให้โตโยต้าสานต่อแคมเปญในซีซันสองที่เพิ่งจบไป โดยครั้งนี้ภาครัฐและประชาชนได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดเปลี่ยนโลกไม่แพ้ซีซันหนึ่งเลยทีเดียว เห็นได้จากจำนวนคนลงทะเบียนร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 21,656 คน และเกิดแอ็กชันลดเปลี่ยนโลกรวมสูงถึง 51,486 ครั้ง  โดยแบ่งแอ็กชันจากชาเลนจ์ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกเป็นทั้งหมด 4 […]

Space Shift คอนกรีตยักษ์เป็นบ้านพัก Sci-fi ของผู้ประสบภัยน้ำท่วม ปี 54

Space Shift ผลงานภาพถ่ายของ มิติ เรืองกฤตยา นำเสนอสถานที่ที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นบ้านพักชั่วคราวสำหรับประชาชนที่บ้านเรือนได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ในละแวกชานเมืองของกรุงเทพมหานคร เมื่อปี 2554

1 69 70 71 72 73 90

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.