Featured
ความชอบ บุคคลในใจ สถานที่โปรด เมืองในฝัน ของ วาดฟ้า (Wadfah)
บทสนทนานี้เริ่มมาจากการที่ฉันกดฟังเพลงในเพลย์ลิสต์สุ่มของ Spotify ไปเรื่อยๆ จนเจอเพลงที่ร้องว่า “I hate this city.It’s such a pity.I don’t really wanna wake up.” ฟังจนจบจึงได้ไปหาดู MV และรู้ว่าศิลปินเป็นคนไทยชื่อ ‘วาดฟ้า (Wadfah)’ ซึ่งนอกจากเนื้อเพลงที่บอกเล่าถึงความโดดเดี่ยวท่ามกลางเมืองหลวงแล้ว ใน MV เองเธอก็เลือกใช้ฉากหลังเป็นสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ และแต่งแต้มสีสันให้ดูสนุกสนานขึ้น รู้สึกได้ถึงการทับซ้อนกันระหว่างเมืองในฝันและเมืองที่เป็นความจริงของเธอ หากจะบอกว่าเพลง ‘I hate this city’ เป็นหนึ่งในตัวแทนเสียงของคนรุ่นใหม่ที่อยากบอกต่อเมืองนี้ ก็คงไม่ผิดนัก ‘วาดฟ้า’ เป็นหญิงสาววัย 21 ปีที่เติบโตมาในครอบครัวที่พ่อแม่ทำงาน NGO และชื่นชอบงานศิลปะกับดนตรี ส่งผลให้ลูกสาวของทั้งสองสนใจประเด็นสังคม พร้อมๆ กับโปรดปรานการทำงานศิลปะและฟังเพลงเล่นดนตรี ก่อนหน้านี้ เธอเคยทำงานออกแบบปก EP Album : Over the Sun – LANDOKMAI และร่วมกำกับ […]
ครูเอก-สุภกิจ กำลังคลี่ เมื่อครูเป็นมากกว่าแค่ผู้สอน l Somebody Ordinary EP.12
“เด็กที่เข้าชุมนุมสอนแต่งหน้าส่วนใหญ่ จะเป็นกลุ่มนักเรียนที่แอบแต่งหน้ามาโรงเรียน ถ้าไปบังคับให้หยุดแต่งหรือบอกว่าผิดระเบียบ พวกเขาจะลบออกเพราะครูสั่งให้ลบ แล้วก็แอบแต่งเพิ่มอีกไม่รู้จบ แต่ถ้าเรียกพวกเขามาเพิ่มศักยภาพ ให้พื้นที่ในการพัฒนาแล้วเอาไปต่อยอด พวกเขาก็จะได้รับทักษะและเข้าใจถึงบริบทการแต่งหน้าในโรงเรียนด้วย” ‘Somebody Ordinary’ สัปดาห์นี้ พาไปเยือนโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก กรุงเทพฯ พูดคุยกับ ‘ครูเอก-สุภกิจ กำลังคลี่’ ครูสอนประวัติศาสตร์สากลผู้เปิด ‘ชุมนุมการสอนแต่งหน้าเพื่อการแสดง’ เพื่อให้ลูกศิษย์ได้มีทักษะการแต่งหน้าที่สามารถต่อยอดทำเป็นอาชีพได้ และช่วยเสริมสร้างความมั่นใจเรื่องการแต่งหน้าในวัยเรียนที่เหมาะสม
โลตัส เปิดสเปซ ‘ดนตรีในห้าง’ เพื่อชุมชน ยกพื้นที่แห่งเสียงเพลงให้คนรุ่นใหม่กว่า 200 สาขา
แม้ปีที่ผ่าน ๆ มา สถานการณ์โควิด-19 อาจทำให้กิจกรรมหลายอย่างต้องหยุดชะงักไป แถมยังมีความเหี่ยวเฉาครอบงำเพราะถูกจำกัดสเปซให้อยู่แค่ในบ้าน ซึ่งหลังจากสถานการณ์คลี่คลายมากขึ้น ผู้คนเริ่มก้าวเท้าออกจากบ้านเพื่อใช้ชีวิต และเมืองกำลังกลับมามีสีสันอีกครั้ง ทำให้พวกเราได้เห็นกิจกรรมสร้างสรรค์มากมาย ที่กำลังต่อขบวนมอบความสุขอย่างไม่ขาดสาย หนึ่งในนั้นคือพื้นที่สร้างสรรค์อย่าง ‘ดนตรี’ ที่คุณอาจสังเกตได้ว่าพื้นที่ของเสียงเพลง จะไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ภายใต้แอปฯ สตรีมมิ่ง คอนเสิร์ต หรือร้านอาหารยามค่ำคืนอีกไป แต่กำลังเป็นสเปซที่ให้ทุกคนเข้าถึงอย่างง่ายดาย และสามารถสร้างประสบการณ์ทางดนตรีร่วมกันได้ เพื่อเติมสีสัน และสร้างผลลัพธ์ใหม่ ๆ แก่ชุมชน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่หลงใหลการร้องเพลง หรือแอบใช้ห้องน้ำเป็นเวทีเดบิวต์อยู่บ่อย ๆ จงอย่าเก็บความสามารถทางดนตรีของคุณไว้คนเดียว เพราะโลตัสได้เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ผ่านแคมเปญ ‘ดนตรีในห้าง’ ให้เป็นสเปซแห่งโอกาสของเยาวชนรุ่นใหม่ที่ต้องการเวทีในการมาแสดงความสามารถกันอย่างเต็มที่พร้อมกระจายเวทีกว่า 200 สาขาทั่วประเทศให้เป็นพื้นที่ของชุมชน เพื่อชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการร่วมสร้างความบันเทิง เปิดหมวกร้องเพลง และกิจกรรมสร้างสรรค์อื่น ๆ ก็มีพื้นที่ให้ทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับโลตัสโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และชวนลูกค้าเข้ามาสัมผัสความบันเทิง รวมถึงดื่มด่ำไปกับบรรยากาศแห่งเสียงดนตรีที่โลตัส ซึ่งนอกจากจะให้คุณเพลิดเพลินไปกับการชอปปิงแล้ว ยังช่วยสนับสนุนศิลปินและผู้มีความสามารถหน้าใหม่อีกด้วย ทางโลตัสต้อนรับผู้ที่สนใจ ไม่ว่าคุณจะเป็นใครก็สามารถเข้าร่วมได้ ทั้งนักร้อง นักดนตรี วงดนตรีท้องถิ่น หรือเป็นคนที่หลงรักในเสียงดนตรี โลตัสก็พร้อมยกสเปซให้คุณได้ใช้แสดงความสามารถและสร้างความบันเทิง ตอกย้ำการเป็น SMART Community Center ศูนย์รวมการใช้ชีวิตในแบบสมาร์ทของทุกคนในชุมชน […]
Navakitel โรงแรมที่บอกเล่าความเป็นนครศรีฯ ผ่านสถาปัตยกรรมและงานดีไซน์
หากพูดถึงนครศรีธรรมราช ภาพของธรรมชาติอันสวยงาม สถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อทั้งทะเลและภูเขา รวมไปถึงการท่องเที่ยวด้านความศรัทธาอย่างไอ้ไข่หรือจตุคามรามเทพคงขึ้นมาในใจใครๆ หลายคน จากเมืองรองที่เป็นเหมือนแค่ทางผ่านไปสู่จังหวัดอื่น ปัจจุบันนครศรีธรรมราชคึกคักไปด้วยธุรกิจน้อยใหญ่ของคนรุ่นใหม่ที่กลับบ้านมาพัฒนาเมือง Navakitel Design Hotel คือโรงแรมในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ไม่เพียงเห็นโอกาสของจังหวัด ทว่าสร้างขึ้นโดยใช้ดีไซน์ที่สะท้อนถึงเรื่องราวในตัวจังหวัดมาเป็นหนึ่งในจุดขาย เป็นทางเลือกให้แขกบ้านแขกเมืองเข้าพัก ‘เฟิส-วาริชัย บุญประดิษฐ์’ หนึ่งในคนรุ่นใหม่ที่กลับบ้านมาดูแลโรงแรมซึ่งเป็นกิจการของครอบครัว อยากใช้พื้นที่แห่งนี้เป็นหนึ่งในสถานที่จุดประกาย สร้างโอกาสทางการงานให้คนนครฯ ที่อยู่ไกลบ้านได้มีโอกาสกลับมาอยู่ในพื้นที่อีกครั้ง กลับบ้านเพราะเห็นโอกาสในจังหวัด เฟิสเล่าให้ฟังว่า นาวากีเทลเริ่มต้นจากความตั้งใจของครอบครัวที่อยากต่อยอดที่ดินผืนแรกของที่บ้านให้เกิดประโยชน์ โดยที่ตัวเขาเองเพิ่งกลับมาช่วยที่บ้านบริหารหลังจากโรงแรมสร้างเสร็จเมื่อ 3 ปีก่อน “ตอนที่ที่บ้านมีแพลนจะสร้างโรงแรม เรายังเรียนอยู่ที่กรุงเทพฯ ตอนนั้นเลยยังไม่ได้รับรู้ข้อมูลอะไรมากนัก ไม่รู้หรอกว่าเขาจะทำอะไรยังไงบ้าง แต่โรงแรมมาสร้างเสร็จตอนเราเรียนจบพอดี ก็เลยตัดสินใจกลับมาทำ” ผู้บริหารหน้าใหม่อย่างเขาเปิดใจเล่าให้ฟังตรงๆ เขาบอกว่าสาเหตุที่ทำให้ตัดสินใจกลับบ้านมาดูแลธุรกิจของครอบครัวเป็นเพราะตัวเองย้ายออกจากนครฯ ไปใช้ชีวิต เรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่จบชั้นมัธยมต้น แต่ถึงจะใช้เวลานานขนาดนั้น เขาก็ยังรู้สึกว่ากรุงเทพฯ ไม่ใช่ที่ที่ใช่ของตัวเองอยู่ดี “เราไปเรียนที่กรุงเทพฯ เจ็ดถึงแปดปี แต่ไม่อินกับกรุงเทพฯ เลย ไปอยู่ที่นั่นแน่นอนว่าการปรับตัวก็ไม่ง่าย กว่าจะเดินทางไปนู่นมานี่เป็น กว่าจะเข้ากับเพื่อนได้ เราเลยตั้งคำถามระหว่างทางตลอดว่าทำไมต้องกรุงเทพฯ ทำไมต้องเป็นแบบนั้น “พอมาฉุกคิดเลยเจอว่าเราเองก็เป็นเหมือนหนึ่งในผลผลิตของค่านิยมสังคมไทยที่ถูกบีบให้มาที่นี่ อยู่โรงเรียนประจำจังหวัด แล้วต้องไปโรงเรียนระดับประเทศให้ได้ ต้องอยู่มหา’ลัยระดับประเทศให้ได้ ทุกอย่างเต็มไปด้วยการแข่งขัน และโอกาสทุกอย่างมันก็กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ […]
‘เมืองลิง’ ออกแบบเมืองเก่าลพบุรี สร้างเมืองใหม่ให้ลิง เพื่อการอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ป่า
ปี 2499 อันธพาลครองเมือง ส่วนปี 2564 ลิงครองเมืองลพบุรี เหตุการณ์วันนั้นเกิดขึ้นที่สี่แยกไฟแดงกลางเมือง บริเวณถนนรอบพระปรางค์สามยอด-หน้าศาลพระกาฬ แลนด์มาร์กสำคัญของจังหวัดลพบุรี จ่าฝูงแก๊งลิงพระปรางค์สามยอดยกพวกจำนวนมากปีนรั้วลงถนน ทางด้านลิงจากฝั่งธนาคารออมสินและลิงถิ่นตลาด ก็ยกพวกทั้งหมดวิ่งกรูเข้ามาเตรียมเข้าปะทะกันท่ามกลางสายตาของชาวบ้านและนักท่องเที่ยว เสียงดังอื้ออึงมาจากเสียงกรีดร้องเจ็บปวด เสียงตะโกนสร้างความฮึกเหิม รวมถึงเสียงบีบแตร เบิ้ลเครื่องยนต์ของชาวเมือง สงครามวานรครั้งนั้นทำให้ ตาต้า-ชญตา ลีวงศ์เจริญ นิสิตปริญญาตรีภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเรื่องขำกลิ้งลิงกับเมืองที่มีความตลกร้ายแฝงอยู่บนปัญหาระดับวิกฤตที่ยังหาทางแก้ไม่ตก มาใช้เป็นสารตั้งต้นกำหนดหัวข้อธีสิสที่ชื่อว่า ‘โครงการบูรณะพื้นที่เมืองเก่าลพบุรี เพื่อการอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ป่า’ ในวันที่สงครามสงบลงแล้ว เราอยากพาไปดูหนึ่งในไอเดียการแก้ปัญหาลิงครองเมืองลพบุรี เพื่อที่อนาคตจะได้ไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก แถมคนกับสัตว์อาจอยู่ร่วมกันในเมืองได้อย่างสันติ เรื่องมันเริ่มมาจากลิง ปัญหาใหญ่และหนักสุดระดับวิกฤตของจังหวัดลพบุรีคือ ‘ลิง’ เพราะจำนวนของพวกมันที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยาก ปัจจัยหลักๆ คือการที่มนุษย์หยิบยื่นอาหารให้ลิงจนเป็นเรื่องปกติ ทำให้เดิมทีลิงที่หากินเองออกลูกได้ปีละตัว กลับออกลูกได้สองตัวต่อปี ปัญหาที่ตามมาจากการเพิ่มจำนวนดังกล่าวคือเจ้าหน้าที่จับลิงมาทำหมันได้ยากขึ้น ชาวบ้านบางคนถึงกับบอกว่า “ลิงมันสื่อสารกันรู้เรื่อง มันหนีทันตลอด” ปีนี้ผลสำรวจพบว่า ชุมชนลิงในเมืองลพบุรีมีจำนวนถึงห้าพันกว่าตัว และคาดว่าในอีกห้าปีข้างหน้าน่าจะขยายเผ่าพันธุ์เพิ่มอีกเป็นหมื่นๆ ตัว ตาต้าเล่าว่า ลิงเป็นสัตว์สังคมไม่ต่างจากมนุษย์ มีการจับกลุ่ม รวมแก๊ง แบ่งก๊กเป็น 7 พวกหลักๆ แบ่งเป็น 3 […]
ก้าวใหม่ของ OR จากสถานีบริการน้ำมันสู่ศูนย์รวมไลฟ์สไตล์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกกลุ่ม
เสียงคนคุยกันดังเซ็งแซ่ สลับกับเสียงเครื่องทำกาแฟ และเสียงผู้บรรยายบนเวทีที่ลอยเข้าหูเป็นระยะ เรารับแก้วเครื่องดื่มจากพนักงานเสิร์ฟ ชาอู่หลงหอมละมุน เติมความสดชื่นด้วยลิ้นจี่ มะนาวฝาน และส้มสไลซ์-ปกติแก้วนี้ไม่ได้ขายในไทย แต่ไปขายไกลถึงเวียดนาม โอกาสพิเศษจริง ๆ เรากำลังยืนอยู่ในงาน Inclusive Growth Days empowered by OR ที่จัดขึ้น บนชั้น 22 บางกอก คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ เปล่าเลย นี่ไม่ใช่งานเครื่องดื่มนานาชาติ แต่คืองานที่ OR สร้างขึ้นเพื่อโชว์เคสธุรกิจในเครือของตัวเองและพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสเติบโตร่วมกันกับธุรกิจทุกรูปแบบ ทุกขนาด และสตาร์ทอัป นอกจากในงานจะมี Café Amazon ที่เปิดขายเมนูพิเศษซึ่งปกติขายในต่างประเทศเท่านั้น ยังมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมจากพันธมิตรของ OR สินค้าไทยเด็ด SME และสตาร์ทอัป รวมกว่า 100 บูธ และไฮไลต์ที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือเวทีเสวนาที่ระดม 50 ผู้ทรงคุณวุฒิและนักธุรกิจชั้นนำจากทั่วไทยมาพูดถึงเบื้องหลังการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ประกอบการและผู้ที่มีฝันอยากเปิดของตัวเองบ้าง และอาจเป็นโชคดีของเราที่วันนี้ เราได้พูดคุยกับ คุณสมยศ คงประเวศ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจไลฟ์สไตล์ OR […]
หลอดกระดาษไมโลปรับปรุงใหม่ แข็งแรงขึ้น ใส่ใจโลก!
ตอนเด็กๆ พอรู้ว่ารถไมโลโรงเรียนจะมา เรานี่ตื่นเต้นจนอยากจะรีบไปต่อแถวคนแรก โตขึ้นมาหน่อยก็จำความได้ว่ามีไมโลติดกระเป๋าตลอด แม้กระทั่งตอนนี้ คิดอะไรไม่ออกก็ให้ไมโลช่วยรองท้อง ไมโลแทบจะอยู่กับเราทุกช่วงวัย ผ่านไปกี่สิบปี ความอร่อยของเครื่องดื่มช็อกโกแลตมอลต์กล่องสีเขียวก็ยังคงเหมือนเดิม แม้รสชาติความผูกพันจะไม่เปลี่ยนไป แต่ไมโลก็ไม่หยุดเติบโตไปพร้อมกับโลกที่เปลี่ยนแปลง กล่องนมยูเอชทีพร้อมดื่มคู่กับหลอดพลาสติกอาจจะเคยเป็นภาพในเมื่อก่อน แต่ตอนนี้มันได้เปลี่ยนไปแล้ว ไมโลเปลี่ยนสิ่งเล็กน้อยที่ยิ่งใหญ่อย่างหลอดพลาสติกเป็น ‘หลอดกระดาษ’ ที่ครั้งนี้มาพร้อมกับความแข็งแรงยิ่งขึ้น ทนทานขึ้น เจาะง่ายขึ้น และดื่มได้เพลินยิ่งขึ้น ผ่านความตั้งใจที่อยากให้คุณได้เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลโลกใบนี้ไปด้วยกัน ไมโลขอบ๊ายบายพลาสติก เพื่อโลกที่ดีกว่า เมื่อเราไม่ได้ใช้ประโยชน์จากพลาสติกอย่างคุ้มค่าที่สุด แต่กลับทิ้งให้กลายเป็นขยะที่เข้าไปปะปนอยู่ในธรรมชาติและท้องทะเล กว่าจะย่อยสลายก็ใช้เวลากว่า 450 – 500 ปีเลยทีเดียว ขณะเดียวกัน การลดใช้-ใช้ซ้ำ-นำกลับมาใช้ใหม่ ก็เป็นสิ่งที่หลายคนพยายามร่วมด้วยช่วยกันเพื่อดูแลโลกของเรา และไมโลคือหนึ่งในนั้น นี่คือแบรนด์ที่ทำให้เรื่องรักษ์โลกนั้นง่ายขึ้นเป็นกอง เพราะแทนที่จะใช้หลอดพลาสติกแบบเดิมๆ ไมโลก็หันมาใช้หลอดกระดาษเพื่อจุดมุ่งหมายในการลดขยะพลาสติก แถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถนำไปรีไซเคิลได้สบายๆ นอกจากเรื่องของการย่อยสลายได้ง่าย อีกเหตุผลว่าทำไมต้องใช้หลอดกระดาษ ก็เพราะไมโลไม่อยากจะรักษ์โลกแค่ผิวเผิน แต่ต้องการส่งมอบความตั้งใจในระยะยาว ลองคิดดูว่า ขณะเด็กๆ กำลังดื่มนมด้วยหลอดกระดาษ ครอบครัวเองก็สามารถสร้างบทสนทนาสนุกๆ ด้วยการชวนลูกๆ พูดคุยเรื่องสิ่งแวดล้อม โลกร้อน เต่าทะเล ไปจนถึงธรรมชาติที่รายล้อมอยู่รอบตัวเรา และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของประเด็นนี้ เหมือนเป็นการปลูกฝัง Mindset เรื่องสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ยังเล็ก […]
“คุณภาพชีวิตต้องดี งานสร้างสรรค์จึงเบ่งบาน” สนทนากับสหภาพแรงงานสร้างสรรค์ฯ
หากคุณคลิกเข้ามาอ่านบทความนี้ ข้อความที่คุณกำลังบรรจงอ่านอยู่ คือบทสัมภาษณ์ที่ฉันใช้เวลาขัดเกลาและร้อยเรียงมันออกมาอย่างตั้งใจ ภาพถ่ายประกอบบทความที่คุณมองเห็นล้วนเป็นฝีมือช่างภาพของเรา ที่ใช้ประสบการณ์ของเขาจัดวางองค์ประกอบ และถ่ายทอดออกมาในเวอร์ชันที่ดีที่สุด นี่คงตอบได้ว่างานสร้างสรรค์อยู่ใกล้ตัวคุณ และแฝงอยู่ทั่วทุกมุมของสังคม อะไรที่คุณอ่าน อะไรที่คุณเห็น อะไรที่คุณฟัง อะไรที่คุณชื่นชม ล้วนมาจากการ ‘สร้างสรรค์’ ทว่าความสร้างสรรค์ของเหล่านักสร้างสรรค์หลายคน ต้องชะงักลงเพราะความไม่ยุติธรรมที่พวกเขาเจอในสายอาชีพ ทำไมนักเขียนบางคนถูกกดเงินค่างานเขียนไว้ที่ราคาเดียวมาเป็นสิบปี ทำไมนักวาดบางคนได้รับค่าจ้างไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ทำไมคนทำหนังชอบทำให้การทำงานหนักๆ โดยไม่สนคุณภาพชีวิตคนกองเป็นเรื่องปกติ ทำไมบางหน้าที่ในกองถ่ายไม่ได้รับสวัสดิการเท่าเทียมกันทุกคน ทำไม ทำไม และทำไม “พวกเรามีตัวตน เหนื่อยเป็น และงานสร้างสรรค์นั้นสำคัญ” นี่คือสารที่เราอยากส่งออกไปให้ถึงทุกคนในบทความนี้ เช่นเดียวกับ ‘ไนล์-เกศนคร พจนวรพงษ์’ และ ‘อิง-ไชยวัฒน์ วรรณโคตร’ สองสมาชิกผู้ก่อตั้ง ‘สหภาพแรงงานสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย’ (Creative Workers Union Thailand) หรือ CUT ที่มุ่งขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตของแรงงานสร้างสรรค์ให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องสัญญาจ้างที่ไม่เป็นธรรม ความปลอดภัยในการทำงานที่เป็นศูนย์ สวัสดิการติดลบ การไม่ถูกให้คุณค่าในงาน หรือแม้แต่สิทธิขั้นพื้นฐานที่ไม่ได้รับ พร้อมเปิดวงวิพากษ์ความเผด็จการทั้งระดับเจ้านายในองค์กรและรัฐบาล อ่านจบแล้ว ถ้อยคำของพวกเขาอาจจะตรงกับชีวิตของแรงงานสร้างสรรค์ที่บางคนเผชิญอยู่ไม่ทางใดทางหนึ่งก็ได้ และไม่แน่ อาจมีใครบางคนคิดว่า ฉันก็อยากออกมาพูดถึงเรื่องราวการถูกกดทับของตัวเองเหมือนกัน ทำไมถึงเลือกเป็นปากเป็นเสียงให้คนทำงานสร้างสรรค์ […]
มนต์รักรถไขว่คว้า ลิเกเร่ที่อยากผลักดันให้รถไฟฟ้าเป็นบริการสาธารณะของทุกคน
ช่วงสองเดือนที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครดูจะมีกิจกรรมให้ชาวเมืองได้ร่วมสนุกกันอยู่ตลอด ทั้งดนตรีในสวนในเดือนมิถุนายน และเทศกาลหนังกลางแปลงในเดือนกรกฎาคมนี้ ทำให้ผู้คนได้ออกจากบ้าน มีกิจกรรมใหม่ๆ นอกจากเดินห้างฯ อีกทั้งยังช่วยให้เมืองมีชีวิตชีวาและคึกคักยิ่งกว่าเดิม อีเวนต์เหล่านี้ถือเป็นกิจกรรมเพื่อประชาชน ที่อยากให้คนเมืองมีส่วนร่วมมากที่สุด เพราะส่วนใหญ่จัดขึ้นตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ที่ชาวกรุงเข้าถึงได้แบบชิลๆ ด้วยรถโดยสารสาธารณะอย่างรถเมล์ ไปจนถึงรถไฟฟ้าและรถไฟฟ้าใต้ดินสำหรับคนที่ต้องการความรวดเร็ว ทว่าแม้จะเป็นกิจกรรมที่เปิดให้เข้าร่วมฟรี แต่ก็ยังมีคนอีกหลายกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงกิจกรรมเหล่านี้ได้ ไม่ว่าจะด้วยเพราะอยู่ในพื้นที่ที่ห่างจากตัวเมือง หรือแม้แต่การเดินทางที่ไม่สะดวกก็ตาม ต้องยอมรับว่าการโดยสารรถไฟฟ้านั้นช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางได้มากพอสมควร ไม่ต้องเสียสุขภาพจิตไปกับการเอาแน่เอานอนไม่ได้ในเมืองที่เต็มไปด้วยการจราจรติดขัดและปัญหาบนท้องถนน เราเองก็เป็นอีกหนึ่งคนที่เลือกใช้รถไฟฟ้าในวันที่เร่งรีบ หรือไม่อยากเสี่ยงกับรถติด แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ใช้ชีวิตในเมืองจะสามารถใช้บริการรถไฟฟ้าได้อย่างที่ต้องการ เพราะความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชน ‘กลุ่มดินสอสี’ จึงเข้าร่วมโครงการสนับสนุนข้อเสนอและการรณรงค์เรื่องรถไฟฟ้าในชื่อ ‘ขนส่ง ขนสุข สาธารณะ’ ร่วมกับสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ในการจัด ‘ลิเกเร่เตร็ดเตร่ชุมชน’ เพื่อให้ ‘กลุ่มคนชายขอบ’ หรือกลุ่มคนจนเมืองที่เรียกได้ว่าเป็น ‘เส้นเลือดฝอย’ ได้มีโอกาสสนุกกับลิเกที่จะเข้าไปเล่นตามชุมชนของพวกเขากันบ้าง และกิจกรรมนี้ยังเป็นกระบอกเสียงเรื่องสิทธิและการเข้าถึงรัฐสวัสดิการอย่างเท่าเทียมให้แก่กลุ่มคนที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเมือง แต่แทบไม่ได้มีโอกาสใช้รถไฟฟ้าในฐานะรถสาธารณะเลย คณะลิเกเร่จะเข้าไปในบรรดาชุมชนที่ไม่มีโอกาสได้ใช้บริการรถไฟฟ้า หรืออาจจะน้อยจนนับครั้งได้ แม้ว่าจะอยู่ไม่ไกลก็ตาม แต่ด้วยราคาค่าบริการที่ค่อนข้างสูง ทำให้บางกลุ่มที่มีรายได้ต่ำไม่สามารถเข้าถึงบริการเหล่านี้ได้ รถไฟฟ้าเป็นของทุกคน “รถไฟฟ้าเป็นการเดินทางที่สะดวกของคนชนชั้นกลาง แต่ในความเป็นจริงแล้ว รถไฟฟ้าควรจะมีไว้เพื่อทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนชนชั้นไหนก็ตาม เราอยากให้ทุกคนใช้บริการรถไฟฟ้าได้ อยากให้เข้าถึงทุกคน ไม่มีความเหลื่อมล้ำ” โซ่-ปริตอนงค์ […]
‘ตลาดต้นไม้ ตลาดนัดจตุจักร’ ศูนย์รวมต้นไม้จากทั่วไทยมาไว้ใจกลางกรุง
เทรนด์ปลูกต้นไม้กำลังมาแรง หลังจากนโยบายของพ่อเมืองคนใหม่ที่ชักชวนชาวกรุงเทพฯ และสื่อมวลชนมาร่วมกันปลูกต้นไม้ทั่วเมืองให้ถึง 1 ล้านต้น เพื่อคืนพื้นที่สีเขียวให้กับเมืองหลวงควันและฝุ่นมากมายของเรา ซึ่งตอนนี้เห็นว่ามีผู้สนใจร่วมเป็นจำนวนมากทะลุยอดที่หวังไปเยอะแล้ว แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทำให้มนุษย์กรุงเทพฯ อยากจับจอบเสียม มานั่งเปลี่ยนดินในกระถาง เตรียมปลูกต้นไม้ เพราะก่อนหน้านี้ก็มีกระแสนักปลูกเวียนมาเรื่อยๆ ทั้งในช่วงโควิด-19 ระบาดใหม่ๆ ที่ต้องหากิจกรรมยามว่างระหว่าง Work from Home หรือกระแสไม้ด่าง ไม้มงคล และไม้ฟอกอากาศ ที่ผลัดเปลี่ยนกันมาอยู่ตลอด ในวาระที่กรุงเทพฯ กำลังจะเป็นเมืองสีเขียว (ขึ้น) คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้ถือโอกาสร่วมสร้างสรรค์พื้นที่สีเขียวให้เข้าเทรนด์ ชวนไปพูดคุยกับเหล่าพ่อค้าแม่ขายที่ ‘ตลาดต้นไม้ ตลาดนัดจตุจักร’ ทำความรู้จักที่มาที่ไปของแหล่งค้าต้นไม้ที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯ แห่งนี้ อัปเดตสถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมออกไปมองหาต้นไม้ไซซ์พอเหมาะๆ มาวางไว้สักกระถางริมระเบียงของคอนโดฯ หรือจัดมุมเล็กๆ ของบ้านให้เป็นพื้นที่สีเขียวส่วนตัว ส่วนใครที่มีต้นไม้อยู่แล้ว อยากฟังเคล็ดลับวิธีปลูกให้สวยคู่บ้านไปนานๆ ตามมาฟังพร้อมกัน ตลาดนัดจตุจักร เป็นที่รู้จักมาอย่างยาวนานในฐานะตลาดนัดวันหยุดขนาดใหญ่ของกรุงเทพฯ ที่เพียบพร้อมไปด้วยสินค้านานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยง ต้นไม้ ของใช้วินเทจ หนังสือเก่า เสื้อผ้ามือหนึ่ง-มือสอง ไปจนถึงของที่ระลึกและของฝากที่นิยมมากในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ ภาพคุ้นตาคือทั่วบริเวณของตลาดนัดจตุจักร ซึ่งมีการแบ่งพื้นที่สำหรับขายสินค้าชนิดต่างๆ กว่า 27 โครงการ […]
หนังกลางแปลง มนตร์เสน่ห์ที่คุณห้ามพลาด! l Urban เจอนี่ เจอหนังกลางแปลง
สุดสัปดาห์นี้ ไปดูหนังกลางแปลงด้วยกันไหม? ใครเริ่มเบื่อกับการดูหนังผ่านจอโทรทัศน์จากมุมเดิมๆ อยู่ที่บ้าน วันนี้เราอยากชวนทุกคนลุกจากโซฟาและออกจากบ้านไปสัมผัสการดูหนังในบรรยากาศกลางแจ้ง ซึ่งเป็นประสบการณ์ความบันเทิงที่หลายคนคิดถึงและเริ่มหาดูยากในยุคนี้ ย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีก่อน การฉายหนังกลางแปลงถือเป็นธุรกิจที่เคยรุ่งเรือง ได้รับความนิยมจากคนทุกเพศทุกวัย อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมรื่นเริงที่ทำให้ผู้คนได้พบปะพูดคุยและซึมซับเรื่องราวที่ถ่ายทอดบนหน้าจอขนาดใหญ่ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งสมัยก่อนเราสามารถพบเห็นการฉายหนังกลางแจ้งได้ทั่วไปตามสถานที่และเทศกาลต่างๆ จากนั้นการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยก็ทำให้ธุรกิจนี้ค่อยๆ ซบเซาและได้รับความนิยมน้อยลงเรื่อยๆ แต่ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา กระแสหนังกลางแปลงก็เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากกรุงเทพมหานครได้จัดกิจกรรม ‘กรุงเทพฯ กลางแปลง’ ที่ชวนชาวกรุงออกจากบ้านมานั่งปูเสื่อดูหนังในพื้นที่สาธารณะ ทำให้เมือง ผู้คน และอุตสาหกรรมภาพยนตร์มีชีวิตชีวามากกว่าเดิม จากกระแสหนังกลางแปลงที่มาแรงสุดๆ ในตอนนี้ Urban เจอนี่ จึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักการฉายหนังกลางแปลงแบบเจาะลึก ผ่านการสำรวจเครื่องฉายหนังแบบแอนะล็อก กระบวนการและลิขสิทธิ์ของการฉายหนัง ไปจนถึงมนตร์เสน่ห์ของหนังกลางแปลงในมุมมองของกลุ่มคนที่คลุกคลีกับวงการนี้มานาน ใครพร้อมแล้ว เราขอชวนไปสัมผัสการฉายหนังกลางแปลงสุดคลาสสิกพร้อมกันตอนนี้เลย!
Traveloka ชวนไปพักผ่อนกับแคมเปญ ‘วันเที่ยวแห่งชาติ วันนี้ต้องออก’ พร้อมโปรโมชั่นพิเศษตลอดทั้งปี
ก้มหน้าทำงานอยู่ดีๆ ปี 2022 ก็เดินทางผ่านมากว่าครึ่งทางแล้ว หลายคนคงเหนื่อยล้าไม่น้อย อย่าลืมให้รางวัลตัวเองในวันหยุดยาวด้วยการออกไปมองท้องฟ้าและเติมความสดใสให้จิตใจ หยุดยาวครั้งต่อไป ลองไม่ใช้เวลาไปกับการอยู่บ้านหรือนั่งนอนคิดเรื่องงานให้หนักสมอง แกล้งๆ ปิดคอม บิดขี้เกียจให้กระปรี้กระเปร่า หลบหนีจากหน้าจอแล้วออกไปพักผ่อนให้เต็มที่ในทริปวันเที่ยวแห่งชาติกับ Traveloka กัน เนื่องจากเห็นว่าประเทศไทยมีวันหยุดที่ค่อนข้างเยอะ รวมถึงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาก็มีวันหยุดต่อเนื่องหลายช่วง แต่คนไทยไม่ค่อยได้ใช้วันหยุดกับการออกไปเที่ยวมากนัก แอพพลิเคชั่นเพื่อการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์อย่าง Traveloka เลยจัดแคมเปญ ‘วันเที่ยวแห่งชาติ วันนี้ต้องออก’ ผ่านเจ้าร่มชายหาดสีฟ้าสดใส ‘ร่มวันเที่ยวแห่งชาติ’ พร้อมกับเพลง ‘วันเที่ยวแห่งชาติ’ จาก แสตมป์ อภิวัชร์ ที่มีเนื้อเพลงบอกให้เราวางมือกับความวุ่นวายของกองงานในช่วงที่ผ่านมาเอาไว้แล้วออกไปหาความสนุก เพื่อสนับสนุนและชวนให้ทุกคนใช้เวลากับการท่องเที่ยวกันให้มากขึ้น ฟังเพลง วันเที่ยวแห่งชาติ จาก แสตมป์ อภิวัชร์ ได้ที่: https://youtu.be/Vaj–ErrlzQ นอกจากนี้ Traveloka ยังมีส่วนลดหลากหลายโปรโมชั่นให้ทุกคนเลือกใช้ท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็น ตั๋วเครื่องบิน ที่พัก และกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นของขวัญสำหรับทุกๆ วันเที่ยวแห่งชาติ “วันหยุดยาวเมื่อไรต้องออกไปจัดทริปวันเที่ยวแห่งชาติกับ Traveloka!” ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: Traveloka