
Featured
Galleries’ Nights 2022 เสพงานศิลป์ยามค่ำคืน ภายใต้ธีม ‘NOW’ จาก 8 แกลเลอรีทั่วกรุงเทพฯ
ชวนคนรักศิลปะมาเสพงานศิลป์ เที่ยวแกลเลอรีในกรุงเทพฯ ให้งานสร้างสรรค์กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งในปลายปีนี้ สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย เตรียมพาผู้คนกลับมายังแกลเลอรีและอินกับผลงานศิลปะอีกครั้ง กับงาน ‘Galleries’ Nights 2022’ ภายใต้ธีม NOW (ปัจจุบัน) ที่ชวนไปหาคำตอบให้ตัวเองว่า โลกแบบไหนที่เราต้องการในอนาคต Galleries’ Nights ปีนี้ได้มีการรวบรวมแกลเลอรีในกรุงเทพฯ กว่า 70 แห่ง มาให้ชาว Gallery Hopping เข้าชมได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมบริการรถตุ๊กตุ๊กที่อำนวยความสะดวกตลอดการเดินทางทั่วกรุงเทพฯ งาน Galleries’ Nights จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ 2 คืน 2 เส้นทางหลัก ได้แก่ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เส้นทาง สีลม/สาทร/ริมแม่น้ำเจ้าพระยาวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565 เส้นทาง อารีย์/ปทุมวัน/สุขุมวิท เพราะไม่อยากให้คุณพลาดงานศิลปะดีๆ แบบนี้ Urban Creature ขอรวบรวม 8 แกลเลอรีในกรุงเทพฯ ที่น่าสนใจและเป็นไฮไลต์ของการชมงานศิลปะยามค่ำคืน ทั้งงานศิลปะจัดวาง […]
Midnights อัลบั้มที่กลั่นกรองจากความรัก ชีวิต และสิ่งที่ Taylor Swift คิดในคืนที่นอนไม่หลับ
ถ้าไม่ใช่ที่สุด, เทเลอร์ สวิฟต์ ก็น่าจะเป็นหนึ่งในศิลปินที่ขยันที่สุดในอุตสาหกรรมเพลงตะวันตก นับตั้งแต่อายุก้าวเข้าเลข 3 ในปี 2020 เทเลอร์ออกอัลบั้มใหม่มาแล้ว 4 ชุด ทั้งอัลบั้มเพลงแนวโฟล์กที่เธอทำใหม่ทั้งหมดอย่าง Folklore และ Evermore รวมถึงอัลบั้มเก่าที่เธอนำมาอัดเสียงอีกครั้ง แถมยังทำเพลงใหม่เพิ่มเข้าไปให้พิเศษกว่าเดิมอย่าง Red (Taylor’s Version) และ Fearless (Taylor’s Version) ไม่เพียงเท่านั้น ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เทเลอร์ยังกระโดดไปทำสิ่งที่เราไม่เคยเห็นเธอทำมาก่อน ทั้งเป็นนักแสดงในหนังมิวสิคัลอันลือลั่น (ในทางไหนว่ากันอีกที) เรื่อง Cats, ไปลองกำกับหนังสั้นประกอบเพลง All Too Well (10 Minute Version) ของตัวเองที่ได้นักแสดงวัยรุ่นชื่อดังอย่าง Sadie Sink และ Dylan O’Brien มาเล่นให้ ปังบ้าง เป๋บ้าง เป็นเรื่องปกติธรรมดาของชีวิต สิ่งสำคัญคือเทเลอร์ไม่หยุดทดลองสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ซึ่งหากมองในมุมของคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในแสงสปอตไลต์ของวงการบันเทิง นั่นอาจเป็นเรื่องจำเป็น ล่าสุด […]
“คนขี้เมาก็เปลี่ยนประเทศได้” 3 ปีของ ประชาชนเบียร์ กับเสรีภาพการดื่มที่ยังไม่ก้าวหน้า
“เมื่อก่อนผมเป็นอิกนอร์ กินเหล้ากินเบียร์ไม่ได้สนใจอะไรเลย มาตาสว่างเมื่อรู้ว่าระบบของประเทศนี้เป็นยังไง” ‘เบนซ์-ธนากร ท้วมเสงี่ยม’ ผู้ก่อตั้ง ‘ประชาชนเบียร์’ เล่ารอยต่อสำคัญที่ทำให้เขาเริ่มจริงจังกับการเรียกร้องเพื่อแก้ไขข้อกฎหมายเหล้าเบียร์ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 กำหนดให้ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท แถมต้องผลิตไม่ต่ำกว่า 100,000 ลิตรแต่ไม่เกิน 1 ล้านลิตรต่อปี ขอบเขตเช่นนี้ส่งผลให้วงการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผูกขาดอยู่แค่เจ้าใหญ่ที่มีทุนทำได้ และปิดโอกาสสำหรับผู้ผลิตรายย่อยที่ไม่มีวันทำตามกติกาแบบนั้นได้จริง เกิดเป็นปัญหาอื่นๆ เช่น การต้มแบบเถื่อน หรือการต้องแอบดื่มที่นำไปสู่ภาพจำที่ทำให้เรื่องเหล้าเบียร์เป็นของมอมเมาผู้อื่นอยู่เสมอ ด้วยการผูกขาดกฎหมายที่เอื้อแต่นายทุนเช่นนี้ ทำให้วัฒนธรรมการกินดื่มของประเทศถูกปิดกั้นความสุนทรีย์และไม่มีเสรีเปิดกว้างอย่างทั่วถึง นักดื่ม นักต้ม ผู้ประกอบการ และกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ จึงรวมตัวกันเพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขกฎหมายที่ทำให้มีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้นและทุกคนได้สิทธิ์ที่เท่าเทียมกัน ดังจะเห็นได้จากการเคลื่อนไหวสำคัญนั่นคือ ‘พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า’ โดยพรรคก้าวไกล ทางคณะได้ยื่นร่างแรกต่อสภาไปเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2565 และมีการโหวตลงมติกันอีกครั้งในช่วงต้นเดือน พ.ย. สรุปมติที่ประชุมปัดตกกฎหมายสุราก้าวหน้าไปด้วยเสียงโหวตทั้งหมด 405 คะแนน เห็นด้วย 194 และไม่เห็นด้วย 196 งดออกเสียง 15 คะแนน เท่ากับว่าวงการเบียร์และสุรายังคงต้องเดินหน้าร่วมกันผลักดันการแก้กฎหมายให้ปลดล็อกเรื่องนี้กันต่อไป “ตั้งแต่ทำเพจประชาชนเบียร์มาสามปี กฎหมายไม่ได้เปลี่ยนอะไรเลย ยังเหมือนเดิม […]
7 ทศวรรษ ‘วังบูรพาการแว่น’ ทายาทรุ่นสองของความเป็นมืออาชีพ | The Professional
ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 70 ปีก่อน วังบูรพาถือว่าเป็นย่านเศรษฐกิจที่ผู้คนต่างย้ายเข้ามาตั้งรกรากและค้าขาย หนึ่งในนั้นคือครอบครัวของ ‘เสกสรรค์ กฤษณาวารุณ’ ที่คุณพ่อของเขาได้เข้ามาทำธุรกิจร้านแว่นตาเป็นเจ้าแรกๆ ของย่านนี้ กาลเวลาผันผ่านแต่ ‘วังบูรพาการแว่น’ ยังคงอยู่ Urban Creature จึงอยากชวนไปฟังจุดเริ่มต้นของวิธีการทำงานอย่างมืออาชีพตลอด 7 ทศวรรษ ผ่านทายาทรุ่นสองผู้ถือคติว่า ‘เราทุ่มเต็มที่ให้กับลูกค้าทุกคน เพื่อให้เขาได้แว่นที่ดี ใส่แล้วไม่เป็นปัญหา ลูกค้าเข้ามารับบริการ เราก็ต้องทำให้ได้ดีทุกชิ้น’
จัดงานสเกลใหญ่ ควรมีมาตรการอย่างไร เพื่อป้องกันเหตุการณ์ Crowd Crush
จากเหตุการณ์ ‘ฝูงชนเบียดกันตาย (Crowd Crush)’ จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 154 ราย บริเวณย่านอิแทวอน กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ทำให้ทั่วโลกหันกลับมาสนใจเกี่ยวกับวิธีรับมือหากพบเจอสถานการณ์ดังกล่าว รวมไปถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยสำหรับสถานที่หรืองานเทศกาลที่ต้องรองรับคนจำนวนมาก หากย้อนกลับไปในอดีต ก็มีหลายเทศกาลที่เกิดการรวมตัวของฝูงชนจนเกิดการ Crowd Crush ขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลดนตรี พิธีกรรมทางศาสนา หรือการชมกีฬานัดสำคัญ แต่ครั้นจะยกเลิกทุกกิจกรรมในอนาคตเพื่อตัดปัญหาตั้งแต่ต้นลมก็คงไม่ใช่วิธีที่ถูกนัก วันนี้ Urban Creature จึงขอหยิบเอามาตรการความปลอดภัยเบื้องต้นสำหรับการจัดงานที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมากมาฝากกัน เผื่อจะเป็นประโยชน์กับทั้งผู้จัดสำหรับการวางแผนงาน และผู้เข้าร่วมที่ต้องการประเมินความเสี่ยงสำหรับตัวเอง แค่ไหนถึงเรียกว่า Crowd Crush? แม้ส่วนใหญ่สื่อไทยจะใช้คำว่า ‘Crowd Crush’ หรือที่แปลเป็นไทยว่า ‘ฝูงชนเบียดกันตาย’ ในการรายงานข่าว แต่ความจริงแล้วสถานการณ์ดังกล่าวยังสามารถอธิบายด้วยคำว่า ‘Crowd Surge’ ได้เช่นเดียวกัน โดย G. Keith Still ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของฝูงชนและศาสตราจารย์รับเชิญด้านวิทยาศาสตร์ฝูงชนที่มหาวิทยาลัย Suffolk ประเทศอังกฤษ ได้อธิบายว่า Crowd Crush […]
สื่อยังจำเป็นต่อชีวิตคนเมืองหรือไม่ กับนิ้วกลม | Unlock the City EP.13
มีคำกล่าวว่าใครๆ ก็เป็นสื่อได้แค่มีสมาร์ตโฟนอยู่ในมือ แต่ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ เราจะยังมีสื่อไปทำไม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สื่อได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบมาเรื่อยๆ ตามยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ ทีวี วิทยุ มาสู่เว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย ที่มีให้อ่าน ฟัง ดู ทั้งยังนำไปแชร์ต่อ รวมถึงแสดงความคิดเห็นได้ทันที ประชาชนไม่ได้มีบทบาทแค่รับสื่ออย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว ถึงอย่างนั้น ต่อให้รูปแบบสื่อจะเปลี่ยนไปอย่างไร ใจความหลักของมันคือการสื่อสารอยู่ดี ทว่าในสายธารแห่งสื่อนี้ ก็มีทั้งสื่อกระแสหลักและสื่อสมัยใหม่ที่หยิบยกเรื่องที่ตัวเองสนใจมานำเสนอได้ มิหนำซ้ำยังมีอิทธิพลต่อความคิดความเข้าใจของคนในสังคม ขณะเดียวกัน ทุกสื่อก็แข่งขันกันว่าใครจะนำเสนอข่าวได้รวดเร็วที่สุด จนหลายครั้งก็มีการบิดเบือนข้อมูล หรือสื่อสารผิดพลาด จนทำให้เกิดผลกระทบตามมา Unlock the City เอพิโสดนี้ โฮสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง ‘พนิต ภู่จินดา’ จึงชวน ‘นิ้วกลม’ หรือ ‘เอ๋-สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์’ มาสนทนาถึงการปรับตัวและความสำคัญของสื่อต่อจากอีพีที่แล้ว เพื่อทำให้ทุกคนเห็นภาพรวมของการใช้สื่อนำความคิดเมืองมากขึ้น ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/xcaf823MCgU Spotify : https://tinyurl.com/4n8ksea3 Apple Podcasts : […]
Climate Anxiety เมื่อภาวะโลกร้อนทำให้คน ‘เครียดไม่ไหว’ จนต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องด้วยตัวเอง
สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนหนักและคาดเดายาก อาจทำให้คนเครียดและวิตกกังวลจากปรากฏการณ์นี้มากขึ้น จนถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรัง ย้อนไปเมื่อปี 2018 ฝรั่งเศสเคยประกาศเป้าหมายที่จะปิดโรงงานถ่านหินทั้งหมดในประเทศภายในปี 2022 เพื่อต่อสู้กับ ‘การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก’ หรือ ‘Climate Change’ ซึ่งอีกราวสองเดือนก็ถึงเส้นตายแล้ว แต่ดูเหมือนว่าฝรั่งเศสจะทำตามแผนการไม่สำเร็จแน่ๆ เพราะอาจจำเป็นต้องกลับมาเปิดใช้โรงงานเหล่านี้ ท่ามกลางวิกฤตพลังงานที่กำลังเลวร้ายลงเรื่อยๆ ด้านเมืองที่ท็อปฟอร์มเรื่องความยั่งยืนของโลกอย่าง โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ก็อาจรักษาสัญญาที่จะเป็นเมืองปราศจากคาร์บอนฯ แห่งแรกของโลกภายในปี 2025 ไม่ได้ เนื่องจากปัญหาเรื่องเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาล นี่เป็นเพียงเศษเสี้ยวตัวอย่างแผนการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนที่ล้มเหลวของนานาชาติ ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยที่ควบคุมได้ยากอย่างการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ แต่ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นว่าหลายประเทศยังไม่เอาจริงเอาจังเรื่องโลกร้อนเสียที และมองว่าวิกฤตนี้คือเรื่องที่รอได้ เป้าหมายที่ถูกผัดวันประกันพรุ่ง นโยบายสิ่งแวดล้อมที่ถูกปัดตก และคำมั่นสัญญาของบรรดาผู้นำที่เป็นเพียงลมปาก ทำให้เราเริ่มรู้สึกกังวลและท้อมากขึ้นทุกที นึกภาพไม่ออกว่าทั่วโลกจะควบคุมอุณหภูมิที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ได้ยังไง และเป้าหมายของนานาประเทศที่ต้องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 จะเป็นเพียงแค่ความฝันที่ไม่มีวันเป็นจริงหรือเปล่า Urban Creature ชวนทุกคนไปทำความรู้จัก ‘Climate Anxiety’ อาการวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของวิกฤตโลกรวน ที่พบมากขึ้นเรื่อยๆ ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ จนพวกเขาไม่ขอนิ่งเฉย ลุกขึ้นมาเรียกร้องถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยตัวเอง หายนะโลกร้อน คงหน้าตาประมาณนี้สินะ ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเห็นข่าวภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งใหญ่ๆ เกิดขึ้นทั่วโลก […]
มลพิษแสงไฟ LED สว่างปลอดภัยหรือรบกวนสายตา?
เป็นเหมือนกันไหม เวลาเดินผ่านตึกที่มีป้ายไฟหรือหน้าจอ LED ขนาดยักษ์ เรามักจะโดนแสงไฟเจิดจ้าสาดใส่จนรู้สึกแสบตา แถมทุกวันนี้กรุงเทพฯ ยังมีป้ายหรือหน้าจอโฆษณาขนาดเล็กใหญ่เต็มไปหมด เดินไปทางไหนก็ต้องเห็นแสงสีจากไฟ LED แทงตาอยู่บ่อยครั้ง สิ่งนั้นเรียกว่า ‘แสงไฟประดิษฐ์’ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อสร้างความสว่างในตอนกลางคืน สำหรับคนมองแสงไฟจากระยะไกล อาจรู้สึกสว่างปลอดภัยและเพลิดเพลินกับแสงสี ในมุมกลับกัน คนที่ใกล้ชิดกับแสงไฟทุกๆ วัน แสงสว่างเหล่านี้กลับส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของพวกเขาอย่างหนัก หรือเรียกว่า ‘มลพิษทางแสง’ หรือแสงไฟประดิษฐ์ที่ฟุ้งกระจายออกมาอย่างไร้การควบคุมและเกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตตามมา ปัญหาแสงไฟ กระทบคน สัตว์ และพืช ในประเทศไทยเคยมีเคสมลพิษทางแสงที่เป็นประเด็นในสังคม เช่น แสงป้ายไฟในย่านทองหล่อ โดยเหตุการณ์มีอยู่ว่า ผู้อยู่อาศัยในอาคารพาณิชย์ได้รับผลกระทบทางแสงจากป้ายโฆษณา LED ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ตัวป้ายมีขนาดใหญ่กว้าง 8 เมตร ยาว 32 เมตร เปิดทุกวันตั้งแต่หกโมงเช้าถึงเที่ยงคืน รวมประมาณ 18 ชั่วโมง/วัน จะเห็นว่ากรณีดังกล่าว ป้าย LED ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงเป็นอย่างมาก เนื่องจากแสงไฟที่ส่องสว่างมากเกินพอดีในตอนกลางคืนทะลุเข้ามาในบ้าน ไม่เพียงสร้างมลพิษทางสายตา แต่ชาวบ้านยังต้องลำบากหาผ้ามาบังแสงไฟ ซึ่งก็ทำให้บังลมและต้องเปิดแอร์มากกว่าเดิมด้วย นอกจากมลพิษทางแสงจะเป็นปัญหาในการใช้ชีวิต จริงๆ แล้วก็มีผลต่อร่างกายด้วยเหมือนกัน […]
ท้าพิสูจน์ย่าน ‘ประตูผี’ จากชุมชนริมกำแพงพระนครสู่ย่านสตรีทฟู้ดที่ดังไกลไปทั่วโลก
เมื่อพูดถึงย่านหลอนๆ ในความทรงจำของคนกรุงเทพฯ คิดว่าคงหนีไม่พ้น ‘ย่านประตูผี’ ส่วนหนึ่งของโซนเมืองเก่าในเกาะรัตนโกสินทร์ ที่มีเรื่องราวเล่าขานมาอย่างยาวนานถึงเรื่องชวนขนหัวลุก อย่าง ‘แร้งวัดสระเกศฯ เปรตวัดสุทัศน์’ ที่ตกเย็นเมื่อไร ผู้คนในยุคต้นพระนครต่างหวาดกลัว และไม่อยากย่างกรายผ่านย่านนี้ ท่ามกลางความมืดและเรื่องราวจากอดีต ทุกวันนี้ บรรยากาศของความน่ากลัวเปลี่ยนเป็นแสงไฟจากร้านค้าแผงลอยและร้านอาหารในอาคารพาณิชย์ต่างๆ รวมถึงความเงียบที่กลับกลายเป็นความคึกคักของเหล่านักชิมมากหน้าหลายตา ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ที่แวะเวียนกันมาลิ้มลองรสชาติอาหารต่างๆ ของย่านนี้ คอลัมน์ Neighboroot ชวนผู้อ่านแง้มประตูบ้านย่านประตูผี ตามหาแสงไฟร้านค้าของย่านในค่ำคืนก่อนวันฮาโลวีน สำรวจการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่แยกสำราญราษฎร์ไปจนถึงป้อมมหากาฬ กับบทบาทใหม่ที่ได้รับขนานนามในฐานะแหล่งรวมร้านอาหารเจ้าดังระดับโลกและสตรีทฟู้ดขึ้นชื่อ ที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในทุกวัน และกลบความสยองขวัญของย่านที่หายไปจนเหลือเพียงตำนาน ประตูผี คือหนึ่งในย่านหลอนๆ ของชาวพระนครช่วงต้นกรุง เพราะเป็นทางที่นำศพของผู้เสียชีวิตในเขตกำแพงเมือง ออกไปฌาปนกิจยังวัดสระเกศฯ ที่อยู่ด้านนอกคูเมือง โดยเฉพาะช่วงที่มีอหิวาตกโรคระบาดหนัก ก็ใช้เส้นทางนี้ลำเลียงศพออกไปแบบไม่หวาดไม่ไหว ต้องวางศพเกลื่อนลานเมรุวัดสระเกศฯ จนเป็นที่มาของคำว่า ‘แร้งวัดสระเกศฯ’ ที่โฉบลงมากินศพ เป็นที่สยดสยองและร่ำลือกันในหมู่ชาวพระนคร ต่อมาย่านประตูผีได้เติบโตควบคู่ไปกับการตัดถนนบำรุงเมือง ถนนรุ่นแรกๆ ของเกาะรัตนโกสินทร์ที่ใช้เทคนิคการสร้างอย่างชาวตะวันตก ซึ่งคงสร้างทับเส้นทางขนศพในอดีตนี่แหละ พร้อมทั้งมีการปลูกสร้างเป็นอาคารพาณิชย์แบบชิโน-โปรตุกีสอยู่ตลอด 2 ฝั่งถนน ตั้งแต่เสาชิงช้าจนถึงแถบประตูผี แต่ปัจจุบันถูกรื้อหาย กลายเป็นบริเวณแยกสำราญราษฎร์ ร้านรวงต่างๆ จึงเริ่มเข้ามาจับจองพื้นที่ กลายเป็นย่านการค้าอีกแห่งของกรุงเทพฯ มีตลาดใหญ่ชื่อว่า […]
Teeth Time คลินิกทำฟันสุดอบอุ่นที่ใช้ดีไซน์เยียวยาความกลัวของคนไข้และจิตใจทันตแพทย์
ฟาซาดขนาดมหึมาโดดเด่นเห็นมาแต่ไกล มองเข้าไปด้านในเจอเฟอร์นิเจอร์ไม้สไตล์นอร์ดิกจัดวางอย่างเป็นระเบียบ ลึกเข้าไปหน่อยคือสวนสวยที่มีต้นเสม็ดแดงชูยอดรับแดดจากช่องหลังคาทรงกลม แวบแรกดูเหมือนห้างฯ มองดีๆ แล้วคล้ายคาเฟ่ แต่นาฬิกาเรือนใหญ่ที่มีเข็มหน้าปัดเป็นรูปแปรงสีฟันบนฟาซาดก็ยืนยันว่า เรากำลังยืนอยู่หน้าคลินิกทำฟัน Teeth Time ไม่ผิดแน่ พูดตามตรง ใครจะคิดว่าริมถนนพุทธมณฑล สาย 4 ที่เสียงรถเร่งเครื่องขึ้นสะพานเป็นแบ็กกราวนด์จะมีคลินิกทำฟันมาตั้งอยู่ตรงนี้ แถมยังเป็นคลินิกที่หน้าตาและบรรยากาศแตกต่างจากคลินิกที่เราเคยคุ้น ยามสายที่แดดอ่อนๆ ทอแสงในสวน เราจึงนัดสนทนากับเจ้าของคลินิกอย่าง ปฐวี นวลพลับ, ทันตแพทย์หญิงอัญชลี สุจิวโรดม ภรรยาของปฐวี และ กาจวิศว์ ริเริ่มวนิชย์ ผู้ก่อตั้งและดีไซน์ไดเรกเตอร์ของสตูดิโอ Physicalist ผู้เปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่าริมถนนให้กลายเป็นคลินิกทำฟัน ซึ่งลบภาพจำเก่าๆ ไปจนไม่เหลือเค้าโครงเดิม Spooky Time ตึกแถวที่ดูลึกลับ แบ่งห้องอย่างไม่ซับซ้อน มีส่วนต้อนรับขนาดเล็กซึ่งมองเข้าไปจะเห็นลูกค้าแออัดเนืองแน่น และแน่นอนว่าต้องเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้ตลอดเวลา ภาพจำของคลินิกทำฟันของหลายคนน่าจะเป็นแบบนั้น ปฐวีก็เช่นกัน มากกว่านั้นคือเขารู้สึกอยู่ตลอดว่าคลินิกทำฟัน ‘น่ากลัว’ “ตั้งแต่จำความได้ ผมมองคลินิกทำฟันว่าเป็นสถานที่ที่ไปแล้วทุกข์ทรมาน ไปเจอความเจ็บปวด มีเสียงเหมือนอยู่ในห้องเชือดตลอดเวลา หมอฟันก็ดูเป็นคนใจร้ายไปโดยปริยาย” เขาเล่าขำๆ แต่สีหน้าจริงจัง ยืนยันว่าหมายความตามนั้นจริง ก่อนที่อัญชลีจะเสริมต่อว่า ในฐานะหมอฟันผู้เคยทำงานทั้งในโรงพยาบาลรัฐและคลินิกเอกชน แพตเทิร์นเดิมๆ ของห้องทำฟันส่งผลให้คนทำงานอย่างเธอรู้สึกเบื่อหน่าย […]
Urban Eyes 09/50 เขตบางพลัด
พื้นที่ในเขตบางพลัดที่เราผ่านบ่อยๆ คงเป็นแถวสะพานพระราม 8 เวลามีงานลอยกระทง จุดนี้คนจะเยอะเป็นพิเศษ เหมือนเป็นจุดนัดพบของชาวธนบุเรี่ยนเลยก็ว่าได้ แต่ครั้งนี้เราขอเปลี่ยนบรรยากาศพาไปเดินถ่ายภาพในวันธรรมดา บริเวณพื้นที่เลียบแม่น้ำเจ้าพระยาที่จัดงานคานิวาลข้างใต้สะพานพระราม 8 กัน ถ้าได้ไปเดินแถวตอนบนของบางพลัด แนะนำให้ลองหาร้านริมแม่น้ำนั่งดู คุณจะเห็นวิวอาคารรัฐสภาที่ใหญ่โตมโหฬาร ทั้งนี้ เราเลือกเข้าไปที่มัสยิดบางอ้อ เพราะเคยเห็นคนรีวิวว่าที่นี่สวย ซึ่งเป็นจริงตามที่เขาบอก นอกจากนี้ ผู้คนโดยรอบก็อัธยาศัยดี อนุญาตให้เราเข้าไปถ่ายรูปได้ พอเดินทางเลยขึ้นไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ ก็เจอกับโรงพยาบาลยันฮี ที่เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ของย่านนี้ มีผู้คนพลุกพล่าน ใกล้ๆ มีร้านอาหารข้างทางเพียบ รวมถึง Meeting Mall ที่เป็น Community Mall เรียกว่าอยู่แถวนี้ไม่อดตายแน่ๆ ตอนกลางของเขตมีถนนสิรินธรตัดผ่าน ช่วงเชิงสะพานซังฮี้ (สะพานกรุงธน) มีเหล่าร้านอาหารน่ากินอยู่ตามข้างทาง เราลองเดินตามถนนสิรินธรขึ้นไปเรื่อยๆ ทางเท้าค่อนข้างกว้างขวางทีเดียว เดินเพลิน อีกไฮไลต์ที่เป็นสถานที่รวมผู้คนตอนเย็นๆ ค่ำๆ คือช่างชุ่ย เพียงแต่สุดท้ายผมไม่ทันได้เข้าไปถ่ายรูปมาฝากกัน เป็นไปได้ลองแวะเข้าไปเที่ยวกันได้ มีร้านรวงสวยๆ มากมายเลย ทีนี้เราลองมาดูจุดที่เป็นไฮไลต์ของเขตนี้กันดีกว่า นั่นคือ ช่วงตอนล่างของเขตไปถึงสะพานพระราม 8 บริเวณนี้มีห้างพาต้า ที่เป็นห้างฯ เก่าแก่ประจำย่าน ตอนที่เราไป […]
Join the Hidden Club – 6 คลับลับที่พร้อมพาหลบลี้หนีความวุ่นวาย
คาเฟ่ ห้างสรรพสินค้า แกลเลอรี สวนสาธารณะ สถานที่เหล่านี้น่าจะเป็นท็อปลิสต์ของชาวเมืองที่ต้องการไปเที่ยว พักผ่อนหลังเลิกงานหรือวันหยุดสุดสัปดาห์ เพราะเดินทางสะดวก เข้าถึงง่าย แต่บางคนก็ไปเนื่องจากคิดไม่ออกว่ามีที่ไหนให้ไปอีก โดยเฉพาะในมหานครแห่งนี้ เพราะอยากเปิดพื้นที่สนุกๆ ที่มีกิจกรรมใหม่ๆ ให้คนอ่าน Urban Creature ได้ลิ้มลอง เพื่อปลดล็อกจากลูปชีวิตเดิมๆ ที่มีแต่การทำงานหนักและกลับมานอนเปื่อยที่บ้าน เราจึงขออาสาเปิดวาร์ป 6 คลับลับที่พร้อมเปิดประสบการณ์แปลกใหม่แบบที่มั่นใจได้ว่าหลายๆ คนอาจไม่เคยสัมผัสมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการจับคู่เต้น Swing กับคนแปลกหน้า สวมบทบาทเป็นมือธนูล่าซอมบี้ในตึกร้าง ไปจนถึงตะลุยเล่นเกมหลากประเภทในอาร์เคดมหึมา Gamesmithยิงปืน ขับรถ เล่นบอร์ดเกม กดเกมเก่า ในอาร์เคดยักษ์ ฐานทัพคลับเกมเมอร์ น่าจะเป็นคำจำกัดความที่เหมาะกับที่นี่มากกว่าแค่ร้านเกม เพราะนอกจากพื้นที่อันใหญ่โต และเกมหลากหลายประเภทที่อัดแน่นเต็มทุกมุมอาคารแล้ว Gamesmith ยังเป็นจุดนัดพบของคอเกมทุกเพศทุกวัย เพราะหลายๆ ครั้งพวกเขาต้องแท็กทีมเดียวกัน เพื่อโค่นล้มอีกฝั่งให้ได้ จนเกิดเป็นมิตรภาพขึ้นมา บอร์ดเกมกว่า 200 – 300 เกม เครื่องเกม Console อาทิ PS4, Xbox One, Kinect และ […]