
Featured
พาชมไฮไลต์สุดว้าว! กับงาน WOW Festival 2025 อีเวนต์ที่นำร่องด้วยแนวคิด ‘เพราะเรื่องเมืองคือเรื่องของทุกคน’ วันนี้ – 19 มกราคม ที่สวนเบญจกิติ
เปิดปีใหม่เข้ามาถึงช่วงกลางเดือนมกราคมแล้ว แต่อากาศในกรุงเทพฯ ก็ยังคงเย็นสบายชวนให้ออกไปใช้ชีวิตมาก และหากใครไม่รู้ว่าอากาศดีๆ แบบนี้จะออกไปสนุกกับชีวิตในเมืองที่ไหน เราขอชวนทุกคนไปออกแบบเมืองในฝันท่ามกลางอากาศเย็นๆ กันที่งาน ‘WOW Festival 2025’ ที่สวนเบญจกิติกัน WOW Festival 2025 : Wonder of Well-Living City งานเทศกาลและเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่จัดโดย ‘สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ASA)’ โดยงานในครั้งนี้มาภายใต้ธีม ‘เมืองดี คนมีพลัง’ ที่ต้องการให้งานนี้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมความสุขและศักยภาพของผู้คน เพื่อส่งเสริมเมืองให้เป็นพื้นที่น่าอยู่มากขึ้นกว่าเดิม ด้วยคำถามที่ชวนผู้คนมาร่วมกันขบคิดไปพร้อมๆ กันว่า ‘อยากเห็นเมืองในอนาคตเป็นแบบไหน’ ก่อนที่คำถามนี้จะนำเราไปสู่ข้อสงสัยว่า คนเมืองอย่างเราจะพัฒนาเมืองอย่างไรได้บ้าง ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในงานนี้ วันนี้คอลัมน์ Events เลยอยากพาไปชมสิ่งน่าสนใจภายในงานนี้ไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นผลงานศิลปะที่มีกิจกรรมต่างๆ ให้ทำ พื้นที่ผ่อนคลายช่วยฮีลใจจากความวุ่นวายและเร่งรีบภายในเมือง หรือแม้แต่พื้นที่จับจ่ายใช้สอยทั้งของกินเติมพลังและสินค้าท้องถิ่นจากหลากหลายพื้นที่ก็มีให้เลือกช้อปในงานนี้ด้วย WOW World, Empowered People Stage Presented by TOAเอนกายพักใจพร้อมคลายเครียดไปกับเสียงดนตรี หลังจากเดินผ่านส่วนของสวนสาธารณะเข้ามาแล้ว จุดแรกที่เราจะได้เจอในงานนี้ก็คือพื้นที่แห่งการฮีลกายและฮีลใจ หากเดินเหนื่อยๆ หรือเพิ่งออกกำลังกายเสร็จก็มาแวะนั่งพักริมอาคารโรงงานยาสูบที่รายล้อมไปด้วยพื้นที่สีเขียวจากสวนป่าเบญจกิติกันได้ บริเวณนี้นอกจากจะมีชิ้นงานตกแต่งเพิ่มชีวิตชีวาให้กับพื้นที่แล้ว […]
Animal and Wildlife Friendly City เมื่อคนกับสัตว์ต้องอยู่ร่วมกันในเมืองใหญ่ จะออกแบบป่าคอนกรีตยังไงให้เกิดสมดุล
ไอจีสตอรีคือพื้นที่ที่เราพบหมาแมวจรจัดมากที่สุด เพื่อนเราบางคนถ่ายภาพเจ้าขนปุยแสนน่ารัก พี่ที่รู้จักนำขนมไปให้ หรือกระทั่งเราเองที่ถ่ายวิดีโอเกาพุงให้น้อง แต่อย่าลืมว่าหลังจากมนุษย์แสนใจดีจากไป สัตว์จรเหล่านี้ต้องกลับไปเผชิญความโหดร้ายในสังคมเช่นเดิม ทั้งจากการถูกทำร้าย โรคติดต่อ หรืออุบัติเหตุ เมื่อการขยายตัวของเมืองผลักให้สัตว์ตาดำๆ กลายเป็นผู้ร้ายโดยไม่รู้ตัว ไม่ใช่เพียงหมาแมวจรจัดเท่านั้นที่กำลังเผชิญกับปัญหา เพราะสัตว์ในป่าคอนกรีตที่มาอาศัยอยู่เต็มเมืองอย่างหนูท่อ กระรอก อีกา นกพิราบ หรือแม้แต่ตัวเหี้ย ล้วนสร้างความไม่น่าอภิรมย์ในชีวิตประจำวันให้ชาวเมือง แถมยังเป็นพาหะเชื้อโรคหรือส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ อีกข้อน่ากังวลคือ ‘พฤติกรรมของสัตว์เมือง’ ที่กำลังเปลี่ยนไป และนับวันจะยิ่งก่อเรื่องปวดหัวมากขึ้น ทั้งกระรอกที่เปลี่ยนจากกินพืชมากินเนื้อและทิ้งซากศพไว้ทั่วเมือง หรือตัวเหี้ยที่เริ่มออกหาอาหารในบ้านคนแทนการลากไก่ไปกินในน้ำ ซึ่งหนึ่งในสาเหตุของพฤติกรรมเหล่านี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เกิดจากการที่เราไปพรากธรรมชาติในการใช้ชีวิตของพวกมัน หลายเมืองจึงเริ่มจริงจังกับการจัดการพวกสัตว์เหล่านี้ โดยมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุอย่างการเพิ่มพื้นที่สีเขียว การสร้างระบบนิเวศธรรมชาติ และการจัดการขยะ เพื่อทำให้คนกับสัตว์ในเมืองอยู่ร่วมกันได้ คำถามคือ ทำไมสัตว์ทั้งหมดทั้งมวลถึงมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเมืองต้องจัดการเพื่อหาสมดุลอย่างไร มาร่วมหาคำตอบในคอลัมน์ Curiocity ไปพร้อมๆ กัน ป่าคอนกรีตที่อุดมไปด้วยสัตว์เมือง ‘พื้นที่ตรงนี้เคยเป็นของเรา’ คำตอบและความจริงจากเหล่าสัตว์ผู้วิมลที่ถูกมนุษย์ผู้มาทีหลังยึดครองบ้านมาเป็นของตน ในยุคที่ความเจริญของเมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ธรรมชาติ กระทบต่อระบบนิเวศและชีวิตของสัตว์ป่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรุงเทพฯ ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นบ้านของสัตว์หลากชนิด ปัจจุบันกลับเหลือเพียงเศษเสี้ยวของความหลากหลายทางชีวภาพที่เคยมีอยู่ เมื่อป่าเดิมถูกแทนที่ด้วย ‘ป่าคอนกรีต’ อาหารที่เคยมี ต้นไม้ที่เคยอยู่กลับอันตรธาน ทำให้พื้นที่สีเขียวในเมืองกลายเป็นแหล่งชุมชนเล็กๆ ของสัตว์ป่าอย่างเต่า ตัวเหี้ย […]
ทำอย่างไรให้ ‘บ้าน’ ไม่ใช่ ‘ฝัน’ ที่ไกลเกินเอื้อม คุยเรื่องนโยบาย Public Housing กับ ‘รศ. ดร.บุษรา โพวาทอง’
ต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงจะซื้อ ‘บ้าน’ ได้หนึ่งหลัง เมื่อพูดถึงคำว่า ‘บ้าน’ นิยามของแต่ละคนอาจต่างกันออกไป บ้างมองเป็นเพียงพื้นที่หลับนอน โครงสร้างหนึ่งที่มีหลังคาคลุม ขณะที่บางคนยกให้บ้านเป็นมากกว่านั้น เป็นพื้นที่ปลอดภัย เป็นเครื่องหมายของความสำเร็จ หรือเป็นสินทรัพย์ที่สามารถลงทุนต่อยอดได้ในอนาคต คำว่าบ้านจึงไม่ใช่เพียงแค่สิ่งปลูกสร้าง แต่ยังสะท้อนถึงคุณภาพชีวิตและความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของใครหลายคน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันราคาที่อยู่อาศัยไต่ระดับสูงขึ้นจนเกินกว่ารายได้เฉลี่ยของประชากรส่วนใหญ่ การมีบ้านอาจกลายเป็นความฝันที่ไกลเกินเอื้อมสำหรับคนไทยยุคนี้ เพราะต่อให้ทำงานเก็บเงินทั้งชีวิตก็ยากที่จะคว้าบ้านในฝันมาได้ และมีไม่น้อยที่จำเป็นต้องอาศัยในบ้านที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือบางคนอาจไม่มีบ้านให้กลับในวันที่เหนื่อยล้าด้วยซ้ำไป วันนี้คอลัมน์ Think Thought Thought จะพาทุกคนไปร่วมหาคำตอบว่า ‘เราจะทำอย่างไรให้ ‘บ้าน’ ไม่ใช่ฝันที่ไกลเกินเอื้อม’ กับ ‘รศ. ดร.บุษรา โพวาทอง’ อาจารย์ประจำภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านการทำความเข้าใจนโยบายที่อยู่อาศัยผ่านแนวคิด ‘ที่อยู่อาศัยที่รัฐอุดหนุน’ (Public Housing) หรือการที่ภาครัฐออกแบบนโยบายให้ประชาชนสามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยได้ในราคาที่เหมาะสม พร้อมช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ที่อยู่อาศัย : ปัจจัยพื้นฐานที่สะท้อนคุณภาพชีวิต “ที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในพื้นฐานปัจจัยสี่ของการดำรงชีวิตมนุษย์ที่ไม่ค่อยถูกพูดถึง เพราะหลายคนเกิดมามีบ้านอยู่แล้ว ทว่าอย่าลืมว่ายังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง หรือมีแต่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับการอยู่อาศัย” บุษราอธิบายถึงความสำคัญของที่อยู่อาศัย สิ่งที่บุษราทำคือการชวนให้เราหันกลับมาทบทวนบทบาทของ ‘บ้าน’ ในฐานะหนึ่งในปัจจัย 4 ซึ่งเป็นความจำเป็นพื้นฐานที่ขาดไม่ได้ เพราะบ้านไม่ได้เป็นเพียงที่พักพิงทางกาย […]
‘ทุกๆ สัปดาห์ เรากินไมโครพลาสติกคนละ 5 กรัม’ รู้จักภัยร้ายใกล้ตัวในยุคพลาสติกครองโลก ที่สร้างปัญหาให้เรามากกว่าที่คิด
‘ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่ยุคพลาสติก’ หลังจากที่โลกของเราผ่านยุคหิน ยุคสำริด และยุคเหล็กกันมา ปัจจุบันคงพูดได้อย่างเต็มปากว่าโลกของเราได้เข้าสู่ยุคพลาสติกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะไม่ว่าจะหันไปทางไหน หยิบจับอะไร สิ่งเหล่านั้นก็มักมีส่วนผสมของพลาสติกไม่มากก็น้อย การใช้งานพลาสติกแบบก้าวกระโดดเช่นนี้ ล้วนแต่สร้างมลพิษทางสิ่งแวดล้อมและปัญหาสุขภาพมหาศาล เพราะพลาสติกหนึ่งชิ้นใช้เวลาย่อยสลายอย่างน้อย 450 ปี และในระหว่างการย่อยสลายก็สร้างปัญหามากมาย เกิดเป็นมลพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม ปนเปื้อนแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร ส่งผลกระทบต่อสัตว์และพืช รวมถึงตัวเราเอง และอีกหนึ่งภัยร้ายของพลาสติกที่หลายคนเริ่มพูดถึงในปัจจุบันคงหนีไม่พ้น ‘ไมโครพลาสติก’ (Microplastic) เศษพลาสติกชิ้นเล็กๆ ที่สร้างปัญหาไม่น้อยในปัจจุบัน วันนี้ Urban Creature เลยขอรับอาสามาแจกแจงถึงประเด็นไมโครพลาสติก ตั้งแต่คำอธิบาย ผลกระทบ ไปจนถึงวิธีการที่ช่วยลดการเกิดไมโครพลาสติก ทั้งเริ่มด้วยตัวเองและกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ในหลากหลายประเทศ Intro Microplastic 101 เมื่อพูดถึงการแบ่งประเภทพลาสติก หลายคนอาจนึกถึงพลาสติก PET PVC PP หรือ PLA ที่แบ่งตามวัสดุที่ใช้ในการผลิต แต่ในความเป็นจริงเรายังจำแนกพลาสติกได้จากขนาดของมันด้วย โดยเรียงลำดับจากใหญ่ไปเล็กตามขนาดของหน่วยเอสไอ (SI Unit) ที่ใช้สำหรับการวัดทางวิทยาศาสตร์ เริ่มตั้งแต่พลาสติกทั่วไป ไปที่ไมโครพลาสติก (Microplastic) ที่มีอนุภาคขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร และเล็กลงไปถึงขนาดนาโนพลาสติก […]
จากบ้านเก่าอายุกว่า 150 ปี สู่ ‘บ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี’ ที่มีหุ้นส่วนกว่า 500 ชีวิต
โรงแรมในสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่เน้นการตกแต่งและการบริการ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ อยากกลับมาใช้บริการอีก แต่ ‘บ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี’ ที่จังหวัดจันทบุรี ขอเลือกคิดต่างออกไป เพราะนอกจากทำเลจะโอบล้อมไปด้วยบรรยากาศดีๆ อยู่ติดริมแม่น้ำ มีห้องพักที่สะดวกสบายแล้ว ที่นี่ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ชวนให้ผู้เข้าพักได้ศึกษาและทำความรู้จักจันทบุรี รวมถึงพื้นที่ชุมชนริมน้ำจันทบูรให้มากขึ้นอีกด้วย มากไปกว่านั้น ลูกค้าเองยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาชุมชนผ่านการเข้าพักได้อีก ที่พักในจันทบุรีแห่งนี้แตกต่างจากที่พักอื่นๆ อย่างไร คอลัมน์ Urban Guide จะขอพาไปสำรวจกันถึงเมืองจันท์ บ้านพักประวัติศาสตร์ที่เก็บเรื่องราวของเมืองเอาไว้ที่ล็อบบี้โรงแรม หากมองผ่านๆ โรงแรมแห่งนี้อาจดูเหมือนบ้านเก่าทั่วไปในชุมชน แค่อาจจะดูใหญ่โตกว่าบ้านหลังอื่นเล็กน้อย แต่หากสังเกตให้ดี ล็อบบี้โรงแรมแห่งนี้มีหน้าตาคล้ายคลึงกับพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมๆ ที่เชิญชวนให้เราก้าวเท้าเข้าไปดูว่าสิ่งที่จัดแสดงอยู่นั้นมีอะไรบ้าง เรื่องราวส่วนใหญ่ที่เราได้เห็นผ่านสิ่งของต่างๆ ล้วนแล้วแต่บรรจุความเป็นมาของจังหวัด และการดำเนินชีวิตของผู้คนสมัยก่อนในแถบนี้ ด้วยความที่ชุมชนริมน้ำจันทบูรเป็นย่านเก่าแก่ของจังหวัด รวมถึงเคยเป็นเมืองท่าค้าขายในสมัยก่อน จึงมีเรื่องราวมากมายที่น่าสนใจ และสามารถรวบรวมมาเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ให้กับนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนมาเยี่ยมชม “หลวงราชไมตรีเป็นคนแรกที่บุกเบิกเรื่องของการทำสวนยางพารา เนื่องจากท่านเคยไปเรียนหนังสืออยู่ที่ปีนัง แล้วพอกลับมาอยู่ที่บ้าน ท่านเห็นว่าสภาพอากาศของที่จันทบุรีไม่ได้ต่างอะไรกับมาเลเซียเลย ท่านก็เลยสั่งพันธุ์ยางเข้ามาทดลองปลูกจนประสบความสำเร็จ และกลายเป็นอาชีพเสริมของคนจันท์ เรียกได้ว่าเป็นบิดาแห่งยางพาราภาคตะวันออก แล้วนอกจากทำสวนยาง ท่านก็เป็นพ่อค้าพลอยด้วย” ‘หมู-ปัทมา ปรางค์พันธ์’ ผู้จัดการบ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี เล่าให้เราฟังถึง ‘หลวงราชไมตรี’ ผู้เป็นเจ้าของบ้านหลังนี้ และสร้างคุณูปการให้กับชาวจันทบุรีเป็นอย่างมาก ด้วยความที่สถานที่แห่งนี้มีเรื่องราววิถีชีวิตของชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้คนในชุมชนตั้งใจเก็บรักษาความสวยงามนี้เอาไว้ จนกลายมาเป็น […]
ออกไปท่องอวกาศ สำรวจจักรวาลกับ Space Journey Bangkok นิทรรศการอวกาศระดับโลกที่ลงจอดครั้งแรกในเอเชีย วันนี้ – 16 เม.ย. 68 ที่ไบเทคบุรี
‘นักบินอวกาศ’ น่าจะเคยเป็นความฝันวัยเด็กของพวกเราหลายคน แต่ต้องยอมรับว่า พอโตขึ้นมาเรื่อยๆ เราจะรู้ได้เองว่ามันเป็นความฝันที่อยู่แสนไกลไปหลายปีแสง ด้วยขอบเขตของการเข้าถึงข้อมูล และการสัมผัสเทคโนโลยีอวกาศที่ไม่ใช่ว่าใครก็ทำได้ ‘Space Journey’ คือนิทรรศการด้านอวกาศระดับโลก ที่จะช่วยเติมเชื้อเพลิงความฝันในการทำงานด้านอวกาศให้ดูเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริง ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันอีกต่อไป ด้วยความตั้งใจของบริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) ที่อยากยกอวกาศมาให้เด็กไทยเข้าถึงได้ง่ายๆ จึงติดต่อนิทรรศการระดับโลกนี้มาจัดแสดงที่ประเทศไทยด้วย นิทรรศการอวกาศระดับโลกนี้ไม่ได้เป็นแค่ครั้งแรกของบ้านเรา แต่ยังหมายรวมถึงครั้งแรกในทวีปเอเชีย ที่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่อยู่ใกล้เคียงจะได้เดินทางมาสัมผัสการสำรวจอวกาศกันอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2568 ที่ไบเทคบุรี คอลัมน์ Events จะพาไปแหวกว่ายสำรวจอวกาศบางส่วนของนิทรรศการ Space Journey Bangkok กันว่า ทำไมนิทรรศการนี้ถึงเป็นอีกหนึ่งนิทรรศการที่เราไม่อยากให้ทุกคนพลาด หลังจากเดินทางไปจัดแสดงมาหลายประเทศ ก็ถึงเวลาที่นิทรรศการ Space Journey มาลงจอดที่ประเทศไทย ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในฝั่งประเทศเอเชียที่นิทรรศการอวกาศระดับโลกนี้ได้มาจัดแสดง Space Journey บอกเล่าตั้งแต่ต้นกำเนิดของการศึกษา สำรวจ และการเดินทางในอวกาศ จนถึงการพัฒนาด้านอวกาศในปัจจุบัน โดยเป็นการจัดแสดงวัตถุจริงหลายร้อยชิ้นจากสหรัฐอเมริกา, สหภาพโซเวียต และประเทศอื่นๆ ซึ่งบางชิ้นส่วนเป็นชิ้นงานที่เคยใช้จริงในอวกาศ […]
ISAN SOUL อีสานโซล
ภาพถ่ายชุดนี้เกิดจากการตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราอยู่ที่จังหวัดเลยมาตั้งแต่เด็กจนโต ทำไมไม่ลองถ่ายภาพสภาพแวดล้อมที่โตมาดูว่ามันเป็นอย่างไร เพราะปกติเราก็ใช้ชีวิตแบบที่เห็นสิ่งต่างๆ เหล่านั้นอยู่แล้ว แต่ไม่เคยมองมันแบบตั้งใจเลย อีสานโซล จึงเปรียบเสมือนการกลับไปสำรวจพื้นที่ในใจและพื้นที่โดยรอบอย่างบ้านเกิด ผู้คน สภาพแวดล้อม และวัฒนธรรมต่างๆ ที่หล่อหลอมตัวตนขึ้นมาเป็นเราในวันนี้ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]
จะมีช่วงเวลาไหนเหมาะสมกับการชำระล้างจิตใจตัวเองเท่าช่วงสิ้นปี ชวนมาสำรวจด้านมืดที่แอบอยู่ลึกๆ ในตัวเรากัน
ไม่มีใครอยากยอมรับและสบตาด้านมืดของตัวเองนักหรอก หลายคนอยากจะลบหรือปัดมันออกไปให้ไกลด้วยซ้ำ แต่ความจริงที่ไม่น่าสนุกนักคือ การเปิดประตูสู่ความดาร์กหรือสบตากับด้านมืดของเรา นับเป็นหนึ่งในเส้นทางที่จำเป็นมากๆ ในการทำความรู้จักตัวเองอย่างลึกซึ้ง เพื่อเริ่มเยียวยาปมปัญหาที่มี หากย้อนไปถึงผู้เริ่มศึกษาด้านมืดของจิตใจมนุษย์ มีจิตแพทย์รุ่นบุกเบิกท่านหนึ่งชื่อ ‘คาร์ล ยุง’ (Carl Jung) เคยอธิบายไว้ว่า เงามืดในจิตใจมนุษย์ (Shadow) เป็นด้านมืดของนิสัยเรา เป็นมวลอารมณ์ด้านลบที่มักจะควบคุมได้ยาก เช่น ความโกรธเกรี้ยว ความอิจฉาริษยา ความละโมบ ความเห็นแก่ตัว ไฟราคะ หรือความกระหายในอำนาจ ประสบการณ์ไหนก็ตามที่เกิดขึ้นแล้วเราปฏิเสธมัน ไม่ว่าจะมีความคิดต่อสิ่งนั้นว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัว น่าขยะแขยง ชั่วร้าย ไม่สามารถให้อภัยได้ หรืออะไรก็ตามที่เรารู้สึกตรงกันข้าม ไม่สามารถไปด้วยกันได้กับสิ่งที่จิตสำนึกของเราเลือกส่งออกมา สิ่งนั้นจะตกไปอยู่ในด้านมืดของเราในที่สุด ‘ควรรู้ด้านมืดของเรา เพื่อตั้งรับให้ทัน’ จัสติน บัลโดนี (Justin Baldoni) คือนักแสดงนำจากหนัง It Ends WIth Us ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว (Domestic Violence) เขาแสดงเป็นคุณหมอหนุ่มรูปหล่อ ผู้ทำร้ายร่างกายและขืนใจภรรยาแม้ว่าจะรักเธอมากก็ตาม จัสตินเล่าว่า ก่อนและระหว่างการถ่ายทำ เขาตั้งใจหาข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงรับฟังประสบการณ์จากเหยื่อ เพื่อจะเข้าถึงบทบาทได้อย่างเต็มที่ “ผมคิดว่าสำคัญมากนะ […]
โครงการ Sports Showcase จากไทยประกันชีวิต สานฝันนักกีฬาเยาวชนไทยสู่เวทีโลก
ถ้าพูดถึงการเป็น ‘นักกีฬา’ อาจจะเรียกได้ว่าไม่ใช่อาชีพที่ติดอันดับหน้าที่การงานในฝันของเด็กๆ เท่าไหร่ เพราะนอกจากจะต้องอาศัยทั้งพรสวรรค์และพรแสวงแล้ว ยังมีเรื่องของค่าใช้จ่ายระหว่างทางที่ต้องใช้จำนวนมาก ไหนจะความกังวลใจของครอบครัวที่มองว่าอาชีพนี้มีช่วงเวลาที่งดงามค่อนข้างสั้น และไม่ใช่ว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จจนไปถึงจุดนั้นได้ แต่เพราะในช่วงไม่กี่ปีมานี้ มีนักกีฬาไทยที่ไปสร้างชื่อเสียงให้ประเทศหลายต่อหลายรายการ กระแสเชียร์นักกีฬาไทยก็บูมขึ้นมากทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์ โดยเฉพาะในช่วงโอลิมปิกครั้งล่าสุดที่ใครๆ ก็จับจ้องไปที่นักกีฬาไทย ยิ่งแมตช์ไหนพีกๆ คนไทยแทบจะรวมตัวกันชมการแข่งขันสดจนเป็นปรากฏการณ์เลยทีเดียว นี่ยังไม่นับโอกาสมากมายที่ตามมาหลังจากการแข่งขันจบอีก จึงไม่น่าแปลกใจที่ตอนนี้นักกีฬาจะกลายเป็นอาชีพที่ป็อปปูลาร์ขึ้นมาในบรรดาเยาวชน ด้วยเหตุนี้ ‘ไทยประกันชีวิต’ ที่ให้ความสำคัญกับคุณค่าชีวิตของคนไทยมาตลอด และมองเห็นความสำคัญด้านอนาคตและโอกาสของเด็กไทย บวกกับตั้งใจอยากพัฒนาศักยภาพการกีฬาของเด็กไทยที่สามารถเติบโตได้ไกลกว่าแค่ในประเทศ จึงใช้โอกาสจากประสบการณ์ในการดูแลคนไทยมาอย่างยาวนาน ผลักดันความสามารถของนักกีฬาเยาวชนไทยให้ก้าวไกลไปในระดับโลก โดยไม่ทิ้งการศึกษาไว้ข้างหลัง Urban Creature ขอพาไปรู้จักกับ ‘Thai Life Insurance Sports Showcase’ โครงการสนับสนุนอนาคตนักกีฬาไทยจากไทยประกันชีวิต ที่มอบโอกาสให้เด็กๆ ได้เติบโตทุกด้านอย่างยั่งยืน Thai Life Insurance Sports Showcase โครงการส่งเสริมศักยภาพของเด็กไทย หลายคนอาจไม่ทราบ แต่จริงๆ แล้วโครงการ Sports Showcase เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2562 เพื่อส่งเสริมศักยภาพเด็กไทย โดยเฉพาะนักกีฬา ด้วยการมอบทุนนักเรียนนักกีฬา (Student Atlhethe Sholarship) […]
City in Patterns ความซ้ำซ้อนของเมือง
ภาพชุดนี้สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างเมือง มนุษย์ สัตว์ หรือสิ่งของต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน ผ่านการจัดวางองค์ประกอบที่เน้นรูปแบบซ้ำๆ เป็นตัวเดินเรื่อง โดยลดทอนความหลากหลายอันยุ่งเหยิง นำกลับไปสู่ความเรียบง่ายและดูเป็นระบบระเบียบ ถ้าหากพิจารณาให้ดีจะพบว่า มนุษย์เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในพื้นที่เหล่านั้น เราจึงมองว่าความซ้ำซ้อนไม่เพียงแค่ทำให้เกิดเป็นภาพ แต่ยังฉายภาพที่ ‘ซับซ้อน’ ภายในใจของเราด้วย ติดตามผลงานของ พุทธิพงศ์ นิพัทธอุทิศ ต่อได้ที่ Facebook : amp.puttipongInstagram : amp_puttipong หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]
เยี่ยมสเปซน่าสนใจในตึกแถว ‘วงเวียน 22 กรกฎาคม’ โอลด์ทาวน์ที่น่าไปใช้ชีวิตและเป็นมิตรกับคนเมือง
เทศกาลแห่งการสังสรรค์ แสงสี และการรวมตัวกันของผู้คนในช่วงปลายปีใกล้เข้ามาทุกที แม้เป็นเพียงไม่กี่วันก่อนที่กรุงเทพฯ จะกลับสู่การเป็นเมืองที่มีคนเหงามากกว่าเสาไฟฟ้า ผู้คนตั้งหน้าตั้งตาทำงานของตัวเองตามวิถีคนเมือง ใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบจนขาดการปฏิสัมพันธ์กันก็ตาม คงดีไม่น้อยหากเมืองฟ้าอมรแห่งนี้เป็นมิตรกับผู้คนมากขึ้น มีพื้นที่ส่วนกลางให้มนุษย์กรุงเทพฯ ได้พบปะพูดคุยกันแบบเห็นหน้า พักผ่อนจากการงานที่แสนหนักหน่วง ได้วางโทรศัพท์หรืออุปกรณ์สื่อสารในห้วงยามที่เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในการใช้ชีวิตจนคล้ายเป็นอวัยวะที่ 33 เพื่อใช้เวลาไปกับการพูดคุยกันสารพัดเรื่อง แลกเปลี่ยนสิ่งที่สนใจกับเพื่อนทั้งเก่าและใหม่ หรือรวมตัวทำกิจกรรมร่วมกัน แต่เดิม ‘วงเวียน 22 กรกฎาคม’ ก็เป็นเหมือนโอลด์ทาวน์ทั่วไป ยังคงความเป็นชุมชนคล้ายกับหลายย่านเก่าในเมืองหลวง โดยมีธุรกิจอย่างอู่ซ่อมรถและร้านทำป้ายโฆษณาตั้งเรียงรายเป็นภาพจำของผู้คน ทว่าในวันนี้หากลองเดินเท้าสำรวจย่านเก่าอายุกว่าร้อยปีแห่งนี้จะพบว่า นอกจากซอยนานาที่โด่งดังมาก่อนหน้าแล้ว ในมุมอื่นๆ ของย่านก็มีกิจการใหม่ในตึกเก่าที่แทรกตัวเข้ามาเป็นสมาชิกหน้าใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทำให้คนเมืองมีกิจกรรมหลากหลายแวะเข้ามาทำมากขึ้นตั้งแต่กลางวันยันกลางคืน คอลัมน์ Neighboroot รอบนี้ไม่ได้พาไปดูอู่รถหรือเข้าร้านป้าย แต่อยากชวนสำรวจ Creative & Community Space รอบวงเวียน 22 กรกฎาคม ย่านที่วันนี้มีหลายสเปซน่าสนใจที่กวักมือเรียกผู้คนเข้ามาสัมผัสย่านในมุมมองใหม่ๆ ด้วยความตั้งใจของผู้ประกอบการที่อยากให้บ้านของเขาไม่เงียบเหงา และอยากเป็นเฉดสีอื่นๆ ที่แต้มแต่งเพิ่มเข้ามาในเมืองนี้ ในแง่ประวัติศาสตร์ เมื่อศตวรรษที่แล้วมีการตัดถนนสายใหม่ 3 สาย ผ่านชุมชนของชาวจีนในตำบลหัวลำโพงที่เกิดไฟไหม้ ตรงกลางของเส้นเลือดใหม่ที่วิ่งไขว้กันไปมาทำเป็นวงเวียน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามทั้งถนนและวงเวียนว่า ‘22 กรกฎาคม’ เพื่อระลึกถึงวันเดือนที่ประเทศสยามเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตร […]
Hello Stranger คลายข้อสงสัย เหตุใดเราถึงไว้ใจเล่าเรื่องส่วนตัวให้คนแปลกหน้าฟัง
ก่อนจะเริ่มเขียนเรื่องนี้ ผู้เขียนเพิ่งเข้าไปใน TikTok และบังเอิญไปเจอหมอดูคนหนึ่งกำลัง Live เปิดไพ่อยู่ ก็เลยถามคำถามที่อยากรู้กับหมอดู ‘แปลกหน้า’ คนนี้ ซึ่งผู้เขียนไม่เคยรู้จักหรือได้ยินชื่อเขามาก่อน แต่เราก็ไว้ใจเหลือเกินที่จะให้เขาตอบหน่อยว่า “การเงินเดือนนี้จะเป็นอย่างไรคะ” โชคดีที่เป็นเรื่องเงิน ซึ่งสำหรับตัวผู้เขียนไม่ได้กลัวว่าจะได้ยินอะไรบาดใจ และโชคดีอีกที่คำตอบออกมาในระดับที่พอรับได้ “คุณไม่ต้องกังวลนะคะ มีพอใช้ ไม่ได้เยอะ แต่พอใช้แน่นอน” ตัดภาพมาที่คุณผู้หญิงอีกคนที่ถามคุณหมอดูว่า “สามีกำลังนอกใจอยู่หรือเปล่า” “นอกใจค่ะ เขาไม่ได้มีคุณคนเดียว” หมอดูเปิดไพ่อย่างรวดเร็ว แล้วรีบตอบแบบไม่มีการเกริ่นใดๆ จนถึงตอนนี้ ผู้เขียนก็ยังนึกถึงหญิงสาวคนนั้นอยู่ว่าจิตใจจะเป็นอย่างไรบ้างนะ การทำนายอนาคตคงต้องใช้ศาสตร์เฉพาะ หากต้องการรู้ก็ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญศาสตร์นี้เป็นคนตอบให้ แต่ก็มีหลายเรื่องราวส่วนตัว โดยเฉพาะปัญหาที่มีความซับซ้อนและเจ็บปวดใจ ที่หลายคนไว้ใจให้คนแปลกหน้าหรือคนที่ไม่ได้สนิท ไม่ได้เข้าใจความเป็นเราขนาดนั้น เป็นผู้รับฟังและช่วยชี้แนะ มอบกำลังใจ อะไรใน ‘ความไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัว’ ของคนอื่น ที่ทำให้เราอยากเล่า ‘เรื่องราวส่วนตัว’ ให้ฟังขนาดนี้ เรากับคนแปลกหน้าไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียทางความรู้สึกต่อกัน หลายครั้งหลายคราที่เรามีปัญหาเดิมๆ กับเรื่องเดิมๆ คอยฟังคำแนะนำ (หรือบางครั้งก็เป็นคำบ่น) จากคนที่สนิทกันจนชินชา กลายเป็นการฟังหูซ้ายทะลุหูขวา นั่นทำให้เราไม่มีแรงบันดาลใจมากพอที่จะลุกขึ้นมาแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เป็นอยู่ แม้จะไม่ได้ชอบสถานการณ์ตอนนี้มากนักก็ตาม แต่พอได้ฟังคำแนะนำจากคนที่ไม่เคยถามเขามาก่อน กลับรู้สึกเหมือนได้รับมุมมองแปลกใหม่ ไม่เคยลองมองสถานการณ์ที่เป็นอยู่ด้วยเลนส์นี้มาก่อน ราวกับได้รีเฟรช เห็นภาพชัดรอบด้าน […]