เปิดนโยบายสิ่งแวดล้อมของพรรคการเมือง เลือกตั้ง ปี 2566

เข้าสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง 66 แล้ว เพราะเหลือเวลาอีกแค่ไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น ก็จะถึงช่วงเวลาตัดสินชะตาชีวิตคนไทยในอีก 4 ปีข้างหน้า ที่ผ่านมาได้มีการนำเสนอจุดยืนและนโยบายของเหล่าพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสาธารณสุข ด้านค่าครองชีพ มาเยอะแล้ว Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปดูนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของพรรคการเมืองที่มีชื่อติดโพลใหญ่ๆ และน่าจับตามองกันบ้าง เพราะเราคงมีชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนไม่ได้แน่ๆ หากผู้มีอำนาจไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และปล่อยให้ประชาชนใช้ชีวิตท่ามกลางเมืองหม่นๆ ที่เต็มไปด้วยฝุ่นควัน รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่อาจรุนแรงขึ้นในอนาคต พรรคภูมิใจไทย เบอร์ 7 ประเดิมด้วยพรรคแรกกับการไล่จากเลขเบอร์น้อยไปยังเลขมาก กับ ‘พรรคภูมิใจไทย’ ซึ่งนำโดย ‘อนุทิน ชาญวีรกูล’ ที่ปัจจุบันนั่งแท่นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ‘พูดแล้วทำ’ คือสโลแกนที่พรรคภูมิใจไทยนำมาชูสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ และเมื่อเราเข้าไปดูข้อมูลนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมก็พบว่า ตัวพรรคไม่ได้เซตนโยบายสิ่งแวดล้อมไว้อย่างชัดเจนนัก แต่มีนโยบายที่เกี่ยวกับพลังงานเข้ามาแทน นั่นคือ นโยบายพลังงานสะอาด ลดรายจ่ายประชาชน เพราะมองว่าค่าใช้จ่ายด้านพลังงานทั้งค่าน้ำมันและค่าไฟฟ้าคือภาระใหญ่หลวงที่ประชาชนต้องแบกรับ และกระบวนการผลิตพลังงานเหล่านี้ยังก่อให้เกิดมลภาวะ อากาศพิษ ทำร้ายสุขภาพประชาชน และเป็นต้นเหตุของโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชน พรรคภูมิใจไทยจึงเสนอนโยบายผ่าน 2 โครงการ นั่นคือ ประชาชนจะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการใช้หลังคาบ้านติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใช้ในบ้านเรือนตัวเอง คิดเป็นกระแสไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 450 […]

ไม่ต้องงดเนื้อสัตว์ตลอดไป ก็เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้แค่กินอาหารให้เหมาะสม

อากาศร้อนขึ้นทุกวัน จนหลายคนเริ่มตระหนักถึงภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นจริง ไม่ได้เป็นแค่งานวิจัยหรือคำขู่จากการไม่รักษาสิ่งแวดล้อมอีกต่อไป ถึงแม้จะดูไม่น่าเชื่อ แต่นอกจากการใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งให้น้อยลงแล้ว อาหารการกินของเราในทุกๆ มื้อก็มีส่วนส่งผลกระทบต่อโลกด้วยเหมือนกัน ตั้งแต่ขั้นตอนแรกในการผลิตวัตถุดิบไปจนถึงมื้ออาหารที่มีเศษอาหารหลงเหลืออยู่บนจาน แต่ขณะเดียวกัน อาหารก็เป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต เพราะเราคงไม่สามารถงดกินข้าวเพื่อคืนความยั่งยืนให้โลกได้ แล้วจะมีหนทางไหนบ้างที่ไม่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการกินแบบหน้ามือเป็นหลังมือ คอลัมน์ Green Insight ขอพาไปดูฮาวทูการกินที่ยังคงสนุกกับมื้ออาหาร และเป็นส่วนหนึ่งในการรักโลกไปพร้อมๆ กัน อาหารจากเนื้อสัตว์ทำโลกร้อน เราเรียนรู้กันมาตั้งแต่เด็กจนโตว่าสัตว์บางประเภท เช่น วัว หมู ไก่ ปลา แกะ ถูกสร้างมาให้เป็นอาหารของมนุษย์ แต่เรากลับไม่รู้เลยว่าการมีอยู่และเพาะพันธุ์สัตว์เหล่านี้ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่จำนวนมากนั้นกำลังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำร้ายโลกอยู่ เพราะการทำปศุสัตว์จำเป็นต้องใช้พื้นที่มหาศาล จนอาจส่งผลให้พื้นที่ป่าและต้นไม้ลดลง กระทบต่อการดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่น้อยลงตามไปด้วย กลายเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของวิกฤตโลกร้อน นอกจากนี้ ทุกขั้นตอนของการผลิตเนื้อสัตว์ล้วนแล้วแต่ใช้ทรัพยากรและปล่อยของเสียไปรบกวนธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำและพลังงานปริมาณมากในการเลี้ยงสัตว์ ทำความสะอาดโรงฆ่าสัตว์ การขนส่งอาหารและเนื้อสัตว์ รวมถึงการแปรรูปอาหาร ที่เป็นปัจจัยของการปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ที่ทำให้โลกร้อนขึ้น คาร์บอนฟุตพรินต์ในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร คาร์บอนฟุตพรินต์ หรือ รอยเท้าคาร์บอน คือปริมาณการปล่อยและการดูดกลับของก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน โดย 1 ใน 4 ของการเกิดก๊าซเรือนกระจกนั้นมาจากกระบวนการผลิตอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ผัก หรือผลไม้ก็ตาม […]

Urban Eyes 33/50 เขตจอมทอง Chom Thong

เขตนี้เป็นเขตหนึ่งที่ค่อนข้างใกล้ตัวเรา แต่เราไม่ค่อยรู้ว่าเขตนี้เป็นยังไง มีอะไรสักเท่าไหร่ ถ้าจะให้บอกจุดเด่นหรือแลนด์มาร์กเขตนี้คงเป็นหอเก็บน้ำที่ถนนจอมทอง ถึงอย่างนั้นเราก็ไม่เคยมีโอกาสเยือนถนนเส้นนี้เลยสักครั้ง นี่จึงเป็นครั้งแรกที่ทำให้เราได้ทำความรู้จักกับเขตจอมทองแบบจริงจัง ถ้าดูแผนที่จะเห็นว่ารูปร่างลักษณะของเขตนี้ค่อนข้างแปลกไปสักหน่อย อาจเป็นเพราะการใช้แนวคลองในการแบ่งเขตก็เป็นได้ ถ้าดูแนวถนน เขตนี้จะมีถนนใหญ่สามเส้นที่ขนานกันและตัดเข้าไปในพื้นที่ นั่นคือ ถนนกัลปพฤกษ์ ถนนเอกชัย และถนนพระรามที่ 2 ส่วนลักษณะโดยรวมของเขตจอมทองนั้นเต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่อง หมู่บ้านจัดสรร และตึกแถว ไม่ค่อยมีห้างฯ หรือคอมมูนิตี้มอลล์ใหญ่ๆ สักเท่าไหร่ แต่ด้วยความเป็นแหล่งชุมชนและมีของดีฝั่งธนฯ อยู่เยอะ ทำให้เขตนี้มีสถานที่ที่น่าไปเยือนหลายแห่งทีเดียว Poomjai Garden ━ ที่นี่เป็นร้านอาหารและคาเฟ่ติดริมน้ำที่สวยมาก ส่วนตัวเราคิดว่าที่นี่เหมาะกับการถ่ายภาพแนว Portrait สุดๆ ช่วงที่เราไปคนยังไม่ค่อยคึกคักเท่าไหร่ เลยไม่ทันเก็บภาพสตรีทมา แต่รับรองว่าถ้าใครไปที่นี่น่าจะถ่ายรูปกันสนุกเลย ตลาดน้ำวัดไทร ━ เราไปถึงวัดตอนสายแล้ว จริงๆ ที่นี่ควรไปตอนเช้าเพราะมีตลาดสด แถมยังมีร้านอาหารกับร้านกาแฟเล็กๆ อยู่บ้าง แต่จากที่เราสอบถามมา ตัวตลาดน้ำนั้นปิดทำการไปแล้ว แต่ใกล้ๆ กันก็ยังมีชุมชนเล็กๆ ให้ไปเดินสำรวจ แค่ข้ามสะพานลอยไปอีกฝั่งหนึ่งเท่านั้น และจุดสะพานลอยนี่แหละที่ถ่ายรูปสวย INDY Market ตลาดอินดี้ ━ ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าที่นี่มีของกินเพียบ เสื้อผ้าเยอะแยะ ของจุกจิกมากมาย […]

เปิดจักรวาลวิกกับ ‘ไจ๋ ซีร่า’ @TheSiravitch | THE PROFESSIONAL

“เราเป็นคนแรกในประเทศไทยที่ใช้คำว่า ‘วิกทอมือ’ และเปิดแบรนด์ SiraWigs ขึ้นมา ทุกคนต้องจำได้ว่านี่คือ วิก! ทอ! มือ!” ‘วิกผม’ อาจเป็นไอเทมพิเศษที่คนทั่วไปไม่รู้ว่าจะซื้อในวาระใด แต่ในอีกโลกหนึ่งกลับเป็นไอเทมสำคัญที่ชาว LGBTQIAN+ ใฝ่ฝันอยากได้มาครอบครอง เพราะวิกไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือประกอบวิชาชีพหรือใส่ในโอกาสพิเศษ แต่สิ่งนี้เป็นเสมือนเครื่องแต่งกายที่สวมใส่เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ และส่งต่อความสุขไปยังผู้คนรอบตัว รายการ The Professional ชวนเปิดโลกวงการวิกไปกับ ‘ไจ๋-ศิรวิชญ์ กมลวรวุฒิ’ หรือ ‘ไจ๋ ซีร่า’ เจ้าแม่วงการ Drag Queen ผู้ตามล่าวิกที่ดีที่สุดมาไว้บนศีรษะตัวเอง และส่งต่อสิ่งดีๆ นี้ไปยังผู้อื่น ภายใต้ชื่อ ‘SiraWigs’ แบรนด์วิกทอมือคุณภาพดีที่การันตีถึงความใส่ใจ

Better Public Transport Station สร้างสถานีขนส่งสาธารณะใหม่ ฉบับนึกถึงหัวใจคนเดินทาง

ภาพสถานีขนส่งโทรมๆ คลาคล่ำไปด้วยผู้คนจากทั่วทุกสารทิศที่ต้องการเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดที่ตนจากมา บ้างนั่งรอรถโดยสารอย่างใจจดใจจ่อ บ้างก็นอนพักรอให้เวลาเดินทางมาถึง บรรยากาศเหล่านี้กลายเป็นภาพที่เราเห็นกันจนคุ้นชิน โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาวของทุกๆ ปี แต่ภายใต้ความคุ้นชิน กลับไม่ใช่สิ่งที่สร้างความสะดวกสบายให้กับบรรดาผู้โดยสารที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงภายในสถานีขนส่งสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นความแออัดวุ่นวาย สภาพแวดล้อมที่มืดและสกปรก โครงสร้างที่ทรุดโทรม ไหนจะป้ายบอกทางที่สับสน รวมถึงฟังก์ชันต่างๆ ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้บริการเอาเสียเลย วันนี้ Urban Creature จึงขออาสาดีไซน์สถานีขนส่งสาธารณะแห่งใหม่ ที่มาพร้อม 4 พื้นที่ใช้งานซึ่งเกิดจากแนวคิดที่นึกถึงหัวใจคนเดินทางเป็นหลัก มีตั้งแต่จุดซื้อตั๋วที่สะดวกรวดเร็ว ไปจนถึงการขึ้นลงรถโดยสารที่สะดวกและไม่วุ่นวาย ซึ่งเราเชื่อว่าถ้าการออกแบบเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริง สถานีขนส่งสาธารณะแห่งใหม่คงจะน่าใช้งานและตอบโจทย์ผู้โดยสารกว่าเดิมเยอะเลย 01 | One-stop Booking Serviceจองตั๋วรถง่ายด้วยปลายนิ้ว เคยเจอปัญหาที่ไม่รู้ว่าต้องซื้อตั๋วรถโดยสารสาธารณะจากที่ไหนไหม พอไปซื้อที่สถานีล่วงหน้า เขาก็บอกให้รอซื้อวันเดินทางจริง พอถึงวันเดินทางจริง พนักงานกลับบอกว่าทำไมไม่ซื้อออนไลน์ แต่พอจะเข้าจองออนไลน์ก็งงเข้าไปใหญ่ เพราะเสิร์ชเข้าไปเจอเป็น 10 เว็บไซต์ แล้วอย่างนี้ต้องจองตรงไหนกันแน่ จะปล่อยให้คนเดินทางปวดหัวแบบนี้ต่อไปคงไม่ไหว เราเลยขอเปลี่ยนระบบการจองใหม่ให้เป็น ‘One-stop Booking Service’ เว็บไซต์กลางสำหรับจองตั๋วที่ไม่ว่าจะเป็นรถทัวร์หรือรถตู้ค่ายไหน ก็จองได้ง่ายผ่านเว็บไซต์เดียว ไม่ต้องค้นหากันให้วุ่นวาย แต่สำหรับใครที่ไม่สะดวกซื้อตั๋วผ่านออนไลน์ ในสถานีก็จะมีตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ และบริการจำหน่ายตั๋วโดยเจ้าหน้าที่บริเวณเคาน์เตอร์ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ที่ไม่คุ้นชินกับการจองออนไลน์ หรือมีเหตุให้ต้องเดินทางแบบกะทันหัน 02 […]

JAIKLA แบรนด์ขนมหมาจากโปรตีนแมลงที่เชื่อว่าน้องหมาก็ช่วยโลกได้

สัมภาษณ์ผู้คนที่ทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืนมาหลายคน ใครจะคิดว่าวันหนึ่งเราจะได้นั่งคุยกับเจ้าของธุรกิจขนมหมา ‘ขนมหมากู้โลก’ แวบแรกที่ได้ยินนิยามนี้ของขนมยี่ห้อ JAIKLA เราก็ไม่กล้าเชื่อเท่าไหร่ แต่เมื่อได้สนทนากับผู้ก่อตั้งแบรนด์อย่าง ‘โด่ง-อิทธิกร เทพมณี’ และ ‘เพชร-พชรพล อัจฉริยะศิลป์’ เราก็เชื่อว่ามันเป็นไปได้จริงๆ เพราะนี่ไม่ใช่ขนมหมาธรรมดา แต่เป็นขนมที่ทำมาจากโปรตีนแมลงที่เลี้ยงอย่างดีในฟาร์มเฉพาะ เลี้ยงด้วยเศษผักและอาหารส่วนเกินที่รับมาจากแหล่งต่างๆ ในไทย นอกจากจะนำแมลงเหล่านั้นมาแปรรูปเป็นขนมคุกกี้กรอบรสชาติถูกใจเหล่าน้องๆ ในปี 2022 พวกเขายังช่วยลดปริมาณอาหารส่วนเกินในบ้านเราไปได้เกือบ 15 ตัน! ใครจะคิดว่าน้องหมาสี่ขาที่บ้านเราจะช่วยเซฟสิ่งแวดล้อมได้ แต่พวกเขาก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าทำได้ เรื่องราวการทำขนมของโด่งและเพชรก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะต่อให้เป็นพ่อหมาที่เลี้ยงหมาของตัวเองอยู่แล้ว พวกเขาก็สารภาพกับเราว่าการทำขนมหมานั้นไม่ง่ายเลย ยิ่งท้าทายเข้าไปอีกเพราะเป็นขนมหมากู้โลก นอกจากโปรตีนแมลงที่เป็นส่วนผสมหลัก ขนมแบรนด์ JAIKLA มีอะไรเป็นส่วนประกอบบ้าง ให้บทสนทนาต่อจากนี้ของพวกเขาเล่าให้ฟัง ส่วนประกอบที่ 1ความมั่นคงทางอาหารที่ถูกสั่นคลอน ‘รู้จักประเด็นโลกร้อนแค่ผิวเผิน และไม่ได้รู้สึกว่าต้องเข้าไปแก้ไขอะไรมัน’ ถ้าคุณเคยรู้สึกแบบเดียวกัน โด่งบอกว่าเราเป็นเพื่อนกันได้ ด้วยพื้นฐานความรู้ด้านบริหารธุรกิจ เคยไปนั่งตำแหน่งนักวิเคราะห์การลงทุนที่ให้ความสำคัญกับเงินและประโยค ‘Greed is Good’ (ความโลภคือสิ่งดี) อยู่หลายปี โด่งไม่เคยคิดว่าวันหนึ่งจะได้มาเป็นส่วนหนึ่งของแวดวงที่ขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่ก็เป็นการงานอีกนั่นแหละที่ดึงดูดให้เขาได้เข้าไปคลุกคลีกับเรื่องนี้ เพราะต้องติดตามเทรนด์ธุรกิจ ซึ่งหนึ่งในเทรนด์ที่มาแรงและมีผลต่อทุกอุตสาหกรรมคือความยั่งยืน โดยโด่งไปอ่านเจองานวิจัยหนึ่งขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture […]

คู่มือเลือกตั้ง 2566 รวบตึงสิ่งที่ควรรู้ก่อนเข้าคูหา

แม้ว่าเราจะไม่เคยนอนหลับทับสิทธิ์กับทุกการเลือกตั้ง แต่ก็ใช่ว่าจะเข้าถึงข้อมูลการเลือกตั้งได้ง่ายๆ โดยเฉพาะการเลือกตั้งใหญ่ในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ ยิ่งปีนี้การเลือกตั้งมีการเปลี่ยนแปลงไปจากปี 2562 เล็กน้อย ประชาชนก็ยิ่งต้องหาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจและจะได้ไปอธิบายให้ญาติผู้ใหญ่เข้าใจด้วยว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม และคะแนนเสียงของเรานั้นจะไปอยู่ในส่วนไหน มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกนายกรัฐมนตรีอย่างไรบ้าง ไม่ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหรือครั้งที่เท่าไรของคุณก็ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะ Urban Creature ได้รวบตึงข้อมูลที่จำเป็นมาอธิบายให้เห็นภาพและเข้าใจง่ายๆ ในโพสต์นี้แล้ว ที่สำคัญ อย่าลืมตรวจสอบสิทธิ์เลือกตั้งของตัวเองที่ boraservices.bora.dopa.go.th/election/enqelection และตามไปดูผลงานเก่าๆ ประกอบการตัดสินใจเลือกผู้แทนที่ election66.wevis.info 01) รัฐสภา ประกอบด้วย 750 คน โครงสร้างรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญปี 60 ประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด 750 คน แบ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 500 คน และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 250 คน 02) ต้องได้ ส.ส.เท่าไหร่ถึงจัดตั้งรัฐบาลได้ ตามปกติแล้ว การจัดตั้งรัฐบาลต้องมีจำนวน ส.ส.เกินครึ่งหนึ่งของที่นั่ง ส.ส.ทั้งหมดในสภา ดังนั้นพรรคที่ต้องการจัดตั้งรัฐบาลจึงต้องมี ส.ส.จำนวน 250 ที่ขึ้นไป ในกรณีที่รวมคะแนน ส.ส.แบบแบ่งเขตกับ […]

‘ปล่อยวางเขา แล้วเอางานกับตัวเองให้รอดก่อน’ เมื่อภาวะทางใจคนที่ทำงานมากระทบใจเรา

ชาวออฟฟิศหลายคนล้วนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ในชีวิตหนึ่งสัปดาห์ ใช้เวลาอยู่ที่ทำงานมากกว่าอยู่บ้านเสียอีก ยิ่งช่วงไหนที่ประชุมบ่อย งานด่วน โปรเจกต์ใหม่ใกล้เปิดตัว ฯลฯ บ้านเราจริงๆ ก็มีไว้แค่กลับไปอาบน้ำนอนเท่านั้นแหละ ‘การมี ‘Work BFF’ หรือเพื่อนรักในออฟฟิศคือลาภอันประเสริฐ’ จึงเป็นคำกล่าวที่จริงมาก เพราะสมัยก่อนตอนเราทำงานออฟฟิศ เมื่อไหร่ก็ตามที่มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือความขัดแย้งกับเจ้านาย ก็ได้เพื่อนสนิทที่นั่งโต๊ะข้างๆ กันนี่แหละคอยแชร์ความเข้าใจ ความห่วงใย กอดคอรอดไปพร้อมๆ กัน แต่ความเจ็บปวดอีกระดับที่จะเกิดขึ้นคือ เมื่อคนที่ควรเป็นที่พึ่งและความอุ่นใจของเรา ดันกลายเป็นพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัยแทนซะแล้ว อาจเพราะด้วย ‘ภาวะทางใจ’ ไม่ว่าจะเป็นโรคหรืออาการทางจิตใจต่างๆ ที่กระทบเขาอย่างรุนแรง จนห้วงอารมณ์และความเป็นตัวตนของเขาเปลี่ยนไป จนทำให้เราแทบจำเวอร์ชันเก่าไม่ได้ ส่งผลให้การทำงานของเขาและเรายากขึ้นตามไปด้วย แล้วชีวิตการทำงานของเราจะรอดได้ยังไง หากต้องรับมือเหตุการณ์หนักๆ นี้ไปทุกวัน ‘มันคืออาการหรือโรคที่ทำให้เขาเป็นแบบนี้ ถ้าทุกอย่างปกติ เขาจะไม่ทำกับเราแบบนี้’ เมื่อไหร่ก็ตามที่สภาพจิตใจเผชิญเรื่องราวหนักหนาจนตั้งรับไม่ไหว สภาพร่างกายและอารมณ์ก็จะแสดงความสุดโต่งต่างๆ ออกมา เช่น เกรี้ยวกราด ด่าทอ เฉยชา หงุดหงิดง่าย ฯลฯ สิ่งนี้เรียกว่าระบบป้องกันตัวในยามที่สภาพร่างกายและจิตใจอยู่ในช่วงฉุกเฉิน คนคนนั้นจำเป็นต้องสร้างตัวตนอื่นมาตั้งรับกับสภาวะแปลกใหม่ที่เขากำลังเจออยู่ และแน่นอน ‘นั่นไม่ใช่การรับมือแบบปกติทั่วไป’ เช่น ถ้าเพื่อนของเราเพิ่งสูญเสียสมาชิกครอบครัวอย่างกะทันหัน ส่งผลให้เพื่อนคนนี้เครียดมาก ปล่อยวางไม่ได้ […]

Urban Eyes 32/50 เขตสายไหม Sai Mai

สัปดาห์นี้โปรเจกต์ Bangkok Eyes อยู่กันที่เขตสายไหม ซึ่งเป็นเขตที่เราแทบไม่เคยผ่านไปเลย แถมแหล่งท่องเที่ยวก็แทบไม่มี เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยวและหมู่บ้าน แทบไม่มีห้างฯ ใหญ่อยู่ในเขตนี้ แหล่งช้อปปิงส่วนใหญ่เป็นตลาดเปิด มีคอมมูนิตี้มอลล์อยู่หนึ่งแห่งถ้วน และสวนสาธารณะขนาดเล็กมาก ขนาดที่พี่วินมอเตอร์ไซค์ในพื้นที่ยังไม่รู้เลยว่าเขตสายไหมมีสวนด้วย ด้วยความที่เขตนี้ไม่ได้อยู่ใจกลางเมือง ทำให้ขนส่งสาธารณะมีน้อย จะเดินเท้าอย่างเดียวคงลำบาก เราจึงต้องพึ่งพารถยนต์ส่วนตัว และทั้งหมดนี้คือสถานที่ที่เราไปเก็บภาพผ่านสายตาแนวสตรีทโฟโต้ วัดเกาะสุวรรณาราม ━ เป็นวัดขนาดกลาง ผู้คนเข้ามากราบไหว้ยักษ์ทั้งสี่อยู่เรื่อยๆ แถมยังมีการประดับประดาวัดที่สวยงามน่าสนใจ บริเวณโดยรอบเป็นแหล่งชุมชน มีคนเดินผ่านไปผ่านมาอยู่เรื่อยๆ ตลาดออเงิน ━ ที่นี่เป็นเหมือนตลาดในร่ม ขายของจิปาถะเล็กๆ น้อยๆ ส่วนใหญ่เน้นไปทางร้านขายอาหารและของสด ช่วงตอนเย็นๆ บรรยากาศก็คึกคักพอสมควร ตลาดวงศกร สายไหม ━ ตลาดที่นี่จะคล้ายๆ ตลาดออเงินแต่มีขนาดใหญ่กว่า ร้านรวงก็มีจำนวนมากกว่า ช่วงเย็นบางวันก็มีตลาดนัด ดูเป็นแหล่งค้าขายที่คนในเขตสายไหมน่าจะเคยมากัน สายไหม อเวนิว (Saimai Avenue) ━ คอมมูนิตี้มอลล์เพียงแห่งเดียวของเขตนี้ ถ้าใครอยากทานอาหารขึ้นห้างฯ ต้องมาที่นี่เลย ตอนเย็นๆ ที่นี่แดดจะลงผ่านอิฐบล็อกสวยมาก เป็นสถานที่หนึ่งที่น่าจะถ่ายภาพแนว Portrait […]

Faces of Amata Nakorn ‘อมตะนคร’ นครนิรันดร์

‘อมตะนคร’ คือนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นเสมือน ‘เมืองแห่งใหม่’ ในจังหวัดชลบุรี ในอดีตพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นทุ่งนาว่างเปล่า แต่ปัจจุบันมีโรงงานและสำนักงานของบริษัทต่างๆ กว่า 700 แห่งตั้งเรียงรายอยู่

ออกแบบเมือง ‘Demon Slayer’ ให้มนุษย์อยู่ร่วมกับอสูรได้ ด้วยนโยบายที่ดาบไม่ต้องพิฆาตอสูร

‘Demon Slayer’ (Kimetsu no Yaiba) หรือ ‘ดาบพิฆาตอสูร’ เป็นหนึ่งในผลงานหนังสือการ์ตูนยอดฮิตจากญี่ปุ่น ที่เขียนโดย ‘โคโยฮารุ โกโตเกะ’ (Koyoharu Gotouge) และถูกนำไปสร้างเป็นอานิเมะและภาพยนตร์ที่หลายต่อหลายเสียงต่างบอกต่อกันมาว่า ดี! แบบตะโกน จักรวาลของ ‘ดาบพิฆาตอสูร’ เริ่มต้นด้วย ‘คามาโดะ ทันจิโร่’ เด็กหนุ่มผู้มีจมูกดมกลิ่นเป็นเลิศ ซึ่งมีครอบครัวที่อยู่ห่างไกลในหุบเขา วันหนึ่งเขาแบกถ่านไปขายในเมืองและกลับมาถึงบ้านก็พบว่า ทั้งครอบครัวถูกอสูรฆ่าอย่างโหดร้าย เหลือเพียงน้องสาวที่รอดชีวิตมาได้ และต้องกลายร่างเป็นอสูร จากเหตุการณ์นั้นกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ชีวิตของทันจิโร่ต้องเผชิญกับความหม่นหมองเศร้าตรม ทว่าในความมืดมน เขาได้พบกับนักล่าอสูรที่มองเห็นคุณค่าบางอย่างในตัวของเขา และช่วยชี้หนทางหลุดพ้นจากสถานการณ์นี้ด้วยการแนะนำให้เดินทางไปพบเสาหลักอาวุโส เพื่อทำการฝึกฝนวิชาเป็นนักล่าอสูร นำไปสู่ภารกิจแก้แค้นอสูรที่ฆ่าคนในครอบครัว และทำให้น้องสาวของเขากลับมาเป็นมนุษย์อีกครั้ง “ถ้ามนุษย์กับอสูรอยู่ร่วมกันได้ก็คงดี แต่เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ตราบใดที่อสูรยังกินมนุษย์” บทสนทนาตอนหนึ่งในเรื่องทำให้เรารู้ว่า แท้จริงแล้วไม่ว่าจะเป็นฝ่ายธรรมะหรืออธรรมก็ต่างมีเหตุผลของการต้องดิ้นรนมีชีวิต เพื่อต้อนรับการมาถึงของดาบพิฆาตอสูรภาคล่าสุด ‘หมู่บ้านช่างตีดาบ’ ที่เพิ่งเข้าฉายใน Netflix คอลัมน์ Urban Isekai จึงอยากสวมบทบาทเป็นเสาหลักเข้าไปสร้างเมืองที่ ‘มนุษย์อยู่ร่วมกับอสูรได้’ โดยนำพลังของมนุษย์และอสูรมาใช้พัฒนาให้ทุกคนและทุกตนให้เกิดความเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน นำไปสู่การพัฒนาเมืองที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกับอสูรได้ และกระจายอำนาจไปยังเมืองต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรวมศูนย์หรือผูกขาดอำนาจในอนาคต พื้นที่มืดกลางแสงแดด (Outdoor Spaces) […]

เมืองที่ออกแบบไม่ดี ทำให้คนขี้เกียจ กับสถาปนิกผังเมือง | Unlock the City EP.24

รู้ไหมว่าการที่คนญี่ปุ่น คนออสเตรเลีย หรือคนในแถบสแกนดิเนเวีย มีนิสัยชอบเดิน ชอบขยับตัว มีความคล่องแคล่วว่องไวนั้น ไม่ได้มีสาเหตุจากค่านิยมหรือการปลูกฝังต่อๆ กันมาเท่านั้น แต่เหตุผลสำคัญที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังคือ การออกแบบเมืองที่ดี กระตุ้นให้คนเดินได้และเดินดีนั่นเอง แน่นอนว่าเมื่อเราสามารถเดินทางด้วยสองเท้าของเราได้ในเมือง ก็ไม่มีเหตุผลให้ต้องนั่งมอเตอร์ไซค์ สั่งเดลิเวอรี หรือไม่ออกไปข้างนอก เพราะถนนหนทางที่ออกแบบมาโดยให้ความสำคัญกับผู้คน ได้รองรับสองเท้า ไม้เท้า หรือกระทั่งล้อวีลแชร์ไว้เรียบร้อยแล้ว ยังไม่นับรวมพื้นที่สาธารณะที่กลายเป็นพื้นที่ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมแอ็กทีฟอื่นๆ อีก ใครที่อยากรู้ว่าการออกแบบเมืองทำให้คนคล่องแคล่วหรือขี้เกียจได้อย่างไร ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์รายการ Unlock the City จะมาอธิบายถึงประเด็นนี้อย่างเจาะลึกให้ฟัง ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/anrELk5j5_A Spotify : http://bit.ly/3KUMJX2 Apple Podcasts : http://bit.ly/3o9nibm Podbean : http://bit.ly/3KSdUSn

1 37 38 39 40 41 96

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.