Wastic Thailand แบรนด์แว่นตากันแดดอัปไซเคิลที่เชื่อว่าเรามีไลฟ์สไตล์ชิกๆ ได้พร้อมกับการช่วยโลก

Wastic Thailand คือแบรนด์สินค้าอัปไซเคิลจากขยะพลาสติกที่อยากหลุดออกจากกรอบเดิมๆ ของสินค้ารักษ์โลก ตั้งแต่ชื่อ Wastic ที่มาจากคำว่า Waste กับ Plastic ตั้งใจให้อ่านออกเสียงว่า วาส-ติก ไม่ใช่ เวส-ติก เพราะไม่อยากให้ลูกค้านึกถึงภาพขยะเมื่อได้ยิน นอกจากชื่อ ผู้ก่อตั้งทั้ง 4 อย่าง กมลชนก คล้ายนก, รสลิน อรุณวัฒนามงคล, สินีนาฏ จารุวาระกูล และ อริสรา พิทยายน ยังเชื่อว่า สินค้ารักษ์โลกไม่จำเป็นต้องมีดีไซน์เรียบง่ายหรือดูออกว่าทำจากวัสดุอะไรเสมอไป แต่สามารถชิกได้ เปรี้ยวได้ เป็นสินค้าที่ให้สายแฟฯ สวมใส่ในชีวิตประจำวันได้อย่างมั่นใจ แว่นกันแดดของ Wastic คือตัวอย่างที่ยืนยันความเชื่อนั้นได้ดี ซึ่งก็ไม่ได้สักแต่ว่าจะดีไซน์ให้เก๋ไก๋ แต่สินค้าตัวแรกของพวกเธอยังสื่อสารเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้ในตัวมันเอง อย่างสีทั้ง 3 ของตัวแว่นกันแดดเองก็ได้แรงบันดาลใจมาจากบรรยากาศของทะเล ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ได้รับผลกระทบจากขยะพลาสติกมากที่สุด คอลัมน์ Sgreen คราวนี้ ชวนคุณไปคุยกับกมลชนก หนึ่งในผู้ก่อตั้งแบรนด์ ฟังเธอเล่าเบื้องหลังการคิดค้นสินค้าที่เลอค่าทั้งรูปลักษณ์และเป้าหมาย ขั้นตอนกว่าจะเป็นแว่นกันแดดอันแรก ไปจนถึงความเชื่อที่ว่าสินค้าอัปไซเคิลก็ชิกได้ ใส่แล้วไม่อายใคร From Plastic to […]

Urban Eyes 40/50 เขตวังทองหลาง

ในที่สุดโปรเจกต์ Bangkok Eyes ก็เดินทางมาถึงหลักไมล์ที่ 40 จากทั้งหมด 50 เขตของกรุงเทพฯ แล้ว ที่ผ่านมาการพกกล้องออกจากบ้านไปลงพื้นที่แต่ละเขตได้กลายเป็นกิจกรรมที่ผมรอคอยและเอนจอยทุกครั้ง เพราะต่อให้เหนื่อยและร้อนขนาดไหน แต่หลังจากเห็นมุมแปลกใหม่ของกรุงเทพฯ และได้ภาพถ่ายสตรีทสวยๆ มานำเสนอให้ทุกคนชม ก็ทำให้ผมหายเหนื่อยไปได้ อีกอย่างการทำโปรเจกต์ที่ยาวนานชิ้นนี้ก็เป็นการท้าทายความสามารถและความอดทนของตัวเองด้วย เขตวังทองหลางคือเขตที่ผมเลือกมานำเสนอในบทความชิ้นที่ 40 แม้เขตนี้จะเป็นเขตที่ผมเดินทางผ่านไปผ่านมาบ่อยๆ แต่ก็ยังไม่เคยไปเดินสำรวจทำความรู้จักเขตนี้อย่างจริงจัง แน่นอนว่าเขตนี้มีถนนลาดพร้าวตัดผ่าน ทำให้การจราจรค่อนข้างติดขัด แถมยังมีการก่อสร้างถนนอีก เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเพิ่งเปิดให้ทดลองใช้กัน พื้นที่ใต้รางรถไฟฟ้าจึงยังเก็บงานได้ไม่ครบถ้วน แต่ก็ดีใจกับคนเขตนี้ที่มีขนส่งสาธารณะเพิ่มมาเป็นอีกทางเลือกการเดินทาง วัดสามัคคีธรรม (หลวงปู่หล่ำ) ━ เราชอบสถาปัตยกรรมของที่นี่ ทั้งวัดและรูปปั้นต่างๆ ลงสีได้เข้มและชัดเจน มีรายละเอียดตามสถาปัตยกรรมที่สวยงาม แถมยังแบ่งเป็นฝั่งวัดไทยและวัดจีน โชคดีที่เราเดินทางไปในช่วงเวลาที่นักเรียนกำลังเลิกเรียน ทำให้มีซับเจกต์ที่หลากหลาย ทั้งผู้ปกครองและนักเรียน ตลาดนัดร่ำรวย ━ ตลาดเล็กๆ ที่มีของกินเยอะมาก ช่วงเวลาที่เราไปนั้นแดดออกพอดี ทำให้มีช่วงหนึ่งที่ตัวร้านเอากันสาดสีชมพูมาปิด ผสมผ้าที่ปิดร้านนิดๆ บังแผงขายของหน่อยๆ เหมือนรอให้เราเข้าไปถ่ายรูป Imperial World และ Big C (ลาดพร้าว) ━ ห้างฯ เก่าแก่ที่ยังมีร้านค้าจำนวนมากขายของอยู่ข้างใน […]

ชีวิตแบบ Spider-Neighbor ฮีโร่ของไทย เพื่อนบ้านคนใหม่ใน Bangklyn (Earth-112)

ติดตาม ‘Spider-Man’ มาตั้งแต่เวอร์ชันแรก ไม่เคยคิดเลยว่าจะมีฮีโร่คนนี้อยู่ในจักรวาลอื่นๆ ด้วย แต่ ‘Spider-Man : Across the Spider-Verse’ ก็ทำให้เราได้เห็นแล้วว่า ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหนบนจักรวาลนี้ ก็สามารถเป็นฮีโร่แมงมุมได้ด้วยเหมือนกัน พอได้เห็น Spider-Man ในภาพที่แตกต่างกันออกไปมากมายแล้วก็แอบนึกสงสัยว่า ถ้าหากมีไอ้แมงมุมในประเทศไทยของเราบ้างจะเป็นอย่างไร จะสามารถเดินทางข้ามตึกโดยเท้าไม่แตะพื้นเหมือนที่นิวยอร์กได้หรือเปล่า หรือจะต้องเผชิญกับรถจำนวนมากบนท้องถนนเหมือนกับที่มุมแบตตันกันนะ คอลัมน์ Urban Isekai ขอพาทุกคนไปติดตาม ‘Spider-Neighbor’ ฮีโร่เพื่อนบ้านที่แสนดีในเวอร์ชันที่ต้องใช้ชีวิตที่เมือง ‘Bangklyn’ กันว่า ในโลกหมายเลข 112 นี้ชีวิตของเขาจะเป็นอย่างไรบ้าง Daily Life : ถึงจะมีตัวช่วยทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป แต่การเดินทางก็ยังยากลำบากเหมือนเดิม ครั้งหนึ่ง Spider-Neighbor เคยมีชีวิตธรรมดาเหมือนกับ Spider-Man ในโลกอื่นๆ ก่อนหน้านี้เขาเป็นนักศึกษาที่ใช้เวลาเดินทางในแต่ละวันไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง เคยเดินสะดุดฟุตพาทเพราะกระเบื้องไม่เสมอกันจนทำให้เลือดท่วมมาแล้ว แต่หลังจากโดนแมงมุมกัดจนกลายเป็น Spider-Neighbor เขาก็มีตัวช่วยอย่างใยแมงมุมที่ควรจะช่วยร่นเวลาเดินทางในเมืองได้ แต่ด้วยข้อจำกัดหลายอย่างของ Bangklyn ไม่ว่าจะเป็นจำนวนตึกสูงที่มีน้อยและตั้งอยู่ห่างกันจนไม่สามารถโหนตัวข้ามตึกได้ รวมถึงเสาไฟฟ้าและสายไฟระโยงระยางที่กีดขวางการห้อยโหน ทำให้ต้องโหนตัวระดับที่ต่ำและใกล้กับพื้นดิน ซึ่งวิธีนี้ยังเสี่ยงต่อการถูกรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ชนอีกด้วย […]

‘สองเทพบุตรสุดที่รัก’ ลิเกมรดกไทยร่วมสมัย | THE PROFESSIONAL

“แก่นแท้มันมีสามแก่น หนึ่งคือ ศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถลืมได้ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ขาดการร้อง การรำ นั่นคือไม่ใช่ลิเก “แก่นที่สองคือ แก่นที่ปรับเข้ายุคตามสมัย ปรับให้เข้ากับสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน “แก่นที่สามคือ AI เป็นสิ่งที่ทำให้คนดูตื่นตาอลังการเหมือนอยู่ในโรงละคร ทั้งหมดสามแก่นรวมเป็นหนึ่งเดียวคือ คณะลิเกสองเทพบุตรสุดที่รัก” รายการ The Professional ชวนไปเที่ยวชมมหรสพชมลิเก และร่ายรำพูดพร่ำทำเพลงไปกับสามพี่น้องคณะลิเก ‘สองเทพบุตรสุดที่รัก’ ที่จะมาเล่าเรื่องลิเก๊ลิเกฉบับยุค 5G ที่พวกเขาพัฒนาเข้ากับยุคสมัย เพื่อหวังให้ลิเกเป็นศิลปวัฒนธรรมที่ไม่ได้เป็นที่รู้จักแค่ในประเทศไทย แต่อยากให้กลายเป็นป็อปคัลเจอร์ที่คนทั่วโลกเอนจอย

“ให้คิดว่าเป็นเหมือนทรัพย์สินของเราเอง” รู้จักอาชีพ ‘คนตรวจบ้าน’ กับ Mylovecondo

“ให้คิดว่าเป็นเหมือนทรัพย์สินของเราเอง” รู้จักอาชีพ ‘คนตรวจบ้าน’ ผ่านการทำงานตามแบบ Mylovecondo

ญี่ปุ่นกับนโยบายเช่าและขายบ้านราคาถูก ที่หวังแก้ปัญหาคนกระจุก บ้านร้างกระจาย

อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่ทำเอารัฐบาลประเทศญี่ปุ่นปวดหัวไม่แพ้กับปัญหาสังคมผู้สูงอายุเลยคือ การเพิ่มจำนวนของ ‘บ้านร้าง’ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกพื้นที่บนหมู่เกาะ เนื่องจากคนรุ่นใหม่มีมุมมองเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่ต่างไปจากเดิม จนไม่ต้องการเสียเงินไปกับค่าใช้จ่ายในการซื้อและบำรุงรักษาบ้านอีกต่อไป เกิดเป็นปรากฏการณ์ที่ใครหลายคนพากันทิ้งบ้าน เดินทางเข้าหัวเมืองใหญ่เพื่อเช่าหรือซื้อห้องพักบนตึกสูงประเภทคอนโดฯ แทน เนื่องจากมองว่ามีความสะดวกสบายและดูแลรักษาได้ง่ายกว่าบ้านในรูปแบบเดิมๆ ปัญหาที่ตามมาคือการกระจุกตัวของผู้คนและที่อยู่อาศัยจำนวนมากบริเวณใจกลางเมืองใหญ่ เพราะไม่อยากให้บ้านถูกทิ้งไว้จนเปล่าประโยชน์ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงต้องเร่งแก้ไขปัญหา และออกมาตรการผลักดันให้บ้านที่ถูกทิ้งร้างเหล่านี้กลับมามีเจ้าของอีกครั้ง ด้วยการเปิดขายบ้านราคาถูกและออกนโยบายช่วยเหลือในส่วนต่างๆ คอลัมน์ City in Focus ชวนไปดูปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการผุดขึ้นของบ้านร้างในประเทศญี่ปุ่น ไปจนถึงการแก้ปัญหาของรัฐบาลที่ต้องการกระจายคนไปตามบ้านร้างต่างๆ ทั่วประเทศ แทนที่จะกระจุกตัวอยู่แค่ใจกลางเมือง จำนวนบ้านร้างที่เพิ่มขึ้น ถ้าจะพูดว่า ในตอนนี้แดนอาทิตย์อุทัยกำลังตกอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเกี่ยวกับปัญหาที่อยู่อาศัยก็คงไม่ผิดนัก เพราะการเก็บสถิติในปี 2018 พบว่า ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับปัญหาบ้านร้างที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกมุมเกาะมากถึง 8.49 ล้านหลัง และสถาบันวิจัยโนมูระยังคาดการณ์ว่า ตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านหลังภายในปี 2023 แต่เนื่องจากเทรนด์การเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ของคนรุ่นใหม่ที่นิยมที่อยู่อาศัยมือหนึ่งในรูปแบบคอนโดมิเนียมกันมากขึ้น และไม่นิยมซื้อบ้านมือสองอีกต่อไป ทำให้จำนวนบ้านร้างมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีคนเข้าไปอยู่อาศัยหรือรับช่วงต่ออย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งความนิยมคอนโดฯ มือหนึ่งที่กำลังเกิดขึ้นนี้สอดคล้องกับข้อมูลจากกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารที่ระบุว่า เมื่อปี 2018 ญี่ปุ่นมีที่อยู่อาศัยซึ่งรวมทั้งบ้านและคอนโดฯ ทั้งหมด 62.41 ล้านยูนิต และมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 65.46 ล้านยูนิตภายในปี 2023 กราฟที่เพิ่มสูงขึ้นชี้ให้เห็นว่า ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์มือหนึ่งกำลังเติบโตขึ้น […]

Idol Ambassador ไม่ได้สร้างมูลค่าให้แค่แบรนด์ แต่ยังส่งเสริมสังคมวัตถุนิยมในเกาหลีใต้

ที่ผ่านมา ‘วงการเคป็อป’ และ ‘สินค้าแบรนด์เนม’ แทบจะกลายเป็นของคู่กันมาตลอด เหล่าแฟนคลับล้วนต้องติดตามแฟชั่นของศิลปินที่ตัวเองชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็นแฟชั่นสนามบิน แฟชั่นในงานอีเวนต์ หรือกระทั่งแฟชั่นที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในงานเพลง เพราะอยากรู้ว่าแบรนด์ไหนน่าทำความรู้จัก หรือมีสินค้าอะไรให้ซื้อใช้ตามศิลปินคนโปรดได้บ้าง ยิ่งในช่วงหลังๆ มานี้ เรามักเห็นแบรนด์ระดับโลกหลายแบรนด์ทำการตลาดโดยเลือกใช้ศิลปินเกาหลีในฐานะ ‘แบรนด์แอมบาสเดอร์’ (Brand Ambassador) เพื่อเป็นตัวแทนโปรโมตสินค้าและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ เพื่อขยายฐานผู้บริโภคที่มากกว่าแค่กลุ่มคนที่ชื่นชอบแฟชั่น นั่นคือเหล่าแฟนคลับและผู้ติดตามวงการเคป็อปที่ส่วนใหญ่เป็นคนชนชั้นกลางขึ้นไป ส่งผลให้มูลค่าการจับจ่ายสินค้าแบรนด์เนมในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนแตะอันดับสูงที่สุดของโลก แน่นอนว่าเม็ดเงินปริมาณมหาศาลที่เพิ่มขึ้นนี้คือผลประโยชน์ที่แบรนด์ต่างๆ ได้รับโดยตรง แต่ในขณะเดียวกัน การจับจ่ายใช้สอยสินค้าราคาแพงอาจเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมวัฒนธรรมวัตถุนิยมในประเทศเกาหลีให้เพิ่มมากขึ้น เพราะแฟนคลับย่อมอยากใช้สินค้าแบบเดียวกับศิลปินที่ชอบ เพื่อเป็นเครื่องยืนยันถึงความเป็นแฟนคลับและแสดงออกถึงฐานะทางสังคม จนบางครั้งอาจกลายเป็นเครื่องมือช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ มากกว่าจะเป็นสินค้าที่ซื้อมาเพราะชื่นชอบหรือใช้งานจริงๆ ‘เกาหลีใต้’ ประเทศแห่งวัตถุนิยม ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ‘เกาหลีใต้’ คือประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ภายนอกเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องของ ‘บิวตี้สแตนดาร์ด’ (Beauty Standard) ที่ผู้คนต้องสวยหล่อตรงตามมาตรฐานที่สังคมกำหนดไว้ ไปจนถึงเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับต่างๆ ที่อย่างน้อยต้องมีสักชิ้นที่เป็นสินค้าจากแบรนด์หรูแบรนด์ดัง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ตัวเอง เพราะคนเกาหลีจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าสินค้าเหล่านี้เป็นเสมือนใบเบิกทางที่จะช่วยให้พวกเขามีตัวตนในสังคมมากขึ้น จากค่านิยมนี้ ส่งผลให้สังคมเกาหลีใต้โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ค่อนข้างยกย่องเชิดชูคนที่มีภาพลักษณ์ดี มีฐานะ ดูร่ำรวย และใช้สินค้าราคาแพงเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่าง อินฟลูเอนเซอร์และยูทูบเบอร์ ‘ซงจีอา’ […]

Mappa บ้านของนักออกแบบการเรียนรู้ที่อยากให้คนรุ่นใหม่ได้ร่วมกันดีไซน์สังคมที่ดีกว่าเดิม

ในฐานะคนที่เรียนหนังสือแบบท่องจำมาตลอด การได้ฟัง ‘มิรา เวฬุภาค’ ผู้ก่อตั้ง Mappa และทีมเล่าเรื่องราวการเรียนรู้แบบใหม่ที่เราไม่คุ้นเคยนั้นช่างน่าฉงนสงสัย ในขณะเดียวกันก็น่าตื่นเต้นเหลือเกิน เราเคยได้ยินเรื่องโรงเรียนทางเลือก โฮมสคูล และแอปฯ ส่งเสริมการเรียนรู้มาบ้าง ทั้งยังเคยฟังเด็กๆ โอดครวญด้วยความห่อเหี่ยวใจเรื่องระบบการศึกษาบ้านเราหลายหน ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือ Pain Point และแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้เกิด Mappa ในวันนี้ หลายคนรู้จักพวกเขาในฐานะสื่อออนไลน์ที่ผลิตคอนเทนต์สนุกๆ บนพื้นฐานความเชื่อว่าความรู้เกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ และสร้างได้จากทุกสิ่ง แต่แท้จริงแล้ว Mappa ไม่ใช่แค่สื่อ พวกเขาคือแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษาที่อยากผลักดันให้การเรียนรู้ของเด็กไทยไปไกลกว่ากรอบเดิมๆ ผ่านเครื่องมืออันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ บอร์ดเกม สื่อการเรียนรู้ ไปจนถึงคอร์สอบรมมนุษย์ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ คุณครู หรือคนที่มีพื้นที่เรียนรู้ ไม่ได้เรียนแค่เรื่องวิชาการจ๋า แต่อยากให้เด็กๆ ได้มีสกิลซึ่งโรงเรียนอาจจะลืมสอนไป เช่น การสร้างความสัมพันธ์ การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม สุนทรียภาพ กระบวนการคิด ฯลฯ มากกว่านั้น ผู้ก่อตั้งอย่างมิรายังอยากปลุกปั้น ‘Learning Designer’ หรือ ‘นักออกแบบการเรียนรู้’ ที่เป็นคนรุ่นใหม่ เพื่อช่วยยกระดับการศึกษาในอนาคตให้เด็กเจเนอเรชันต่อไปได้มีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายกว่าเก่า เช้านี้ที่น่าฉงนสงสัยและน่าตื่นเต้นเป็นพิเศษ ทีม […]

Urban Eyes 39/50 เขตบางบอน

ตัวเราอยู่ใกล้ๆ กับเขตบางบอน แต่ไม่เคยรู้เลยว่าพื้นที่เขตนี้ใหญ่ขนาดไหน พอได้มาดูแผนที่ก็พบว่าเขตนี้กินพื้นที่ค่อนข้างยาว มีถนนเอกชัยตัดผ่านกลาง และถนนกาญจนาภิเษกเฉี่ยวมาหน่อย ปกติเราเข้าออกถนนเอกชัยในช่วงสั้นๆ แต่คราวนี้มาลงพื้นที่ถ่ายรูปที่บางบอน เลยได้มีโอกาสสำรวจถนนเอกชัย ถือว่าเป็นถนนที่ดี เดินทางปลอดภัย ไม่ค่อยมีสิ่งก่อสร้าง มีสะพานลอยและฟุตพาทที่คนเดินได้ รวมถึงตลาดนัดขนาดเล็ก-ใหญ่อยู่เป็นช่วงๆ และสวนสาธารณะที่ใหญ่มากๆ แต่จากข้อมูลที่ได้มาเหมือนตัวสวนยังไม่เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเสียที ว่าแต่เราไปที่ไหนมาบ้าง ลองไปดูกัน วัดบางบอน ━ เนื่องจากวัดนี้มีโรงเรียนอยู่ติดกัน ช่วงเลิกเรียนก็จะมีผู้ปกครองมารอรับเด็กๆ ทำให้มีคนเยอะ ค่อนข้างวุ่นวาย แต่ด้วยสถานที่ที่มีพื้นที่จอดรถเป็นลานใหญ่ ทำให้จอดรถได้สบาย ไม่แออัด แถมโบสถ์ก็สวยงาม น่าไปแวะเวียนเยี่ยมชม 101 market ━ ที่นี่เหมือนศูนย์อาหารมากกว่าตลาด เพราะส่วนใหญ่มีแต่ร้านอาหาร ภายใต้โครงสร้างหลังคาใหญ่ แสงช่วงบ่ายจะเข้าหลังร้านอาหาร ส่วนจุดที่เราชอบมากๆ คือตามร้านอาหารจะมีผ้าใบสีสดๆ มาช่วยบังแดด ทำให้ด้านหลังของบูทร้านอาหารเกิดเป็นช่องสี ถ้าโชคดีน่าจะได้ภาพแนว Silhouette สวยๆ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติฯ บางบอน (สวน 9 เนิน) ━ สวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่เพิ่งสร้างได้ไม่นานเท่าไหร่ ยังไม่ค่อยมีต้นไม้ใหญ่ แต่เท่าที่สัมผัสดูก็มีพื้นที่ร่มเงาอยู่บ้าง คนส่วนใหญ่จะมาช่วงเย็นเพื่อมาเดินเล่น วิ่งออกกำลังกาย ปั่นจักรยาน […]

ความรุ่มรวยของ ‘สุราชุมชน’ และ ‘วัฒนธรรมการดื่ม’ ของญี่ปุ่น

หนุ่มสาวออฟฟิศใส่สูทผูกไทนั่งสังสรรค์กันในร้านเหล้า มนุษย์เงินเดือนออกไปดื่มกับหัวหน้าและลูกค้าจนดึก แถมยังเมาเละเทะจนหมดสภาพ เหตุการณ์เหล่านี้คือภาพสะท้อนสังคมญี่ปุ่นที่หลายคนคงเคยเห็นในข่าวหรือสื่อต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง ส่วนใครที่เคยไปเยือนญี่ปุ่นด้วยตัวเองก็น่าจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก เพราะเราสามารถพบเห็นวิถีชีวิตแบบนี้ได้ทั่วไปในแดนอาทิตย์อุทัย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างโตเกียว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ‘การดื่ม’ คือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่คนญี่ปุ่นสืบทอดกันมานานแล้ว มากไปกว่านั้น ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแดนปลาดิบยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้คนเข้าถึงน้ำเมาได้ง่ายและสะดวกสบาย ที่สำคัญ ภาครัฐยังส่งเสริมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในฝั่งของแบรนด์ใหญ่ไปจนถึงผู้ผลิตรายย่อยระดับท้องถิ่น ชาวญี่ปุ่นกับวัฒนธรรมการดื่ม ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการดื่มที่ยาวนาน และยังแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชนในปัจจุบัน ที่เป็นแบบนั้นเพราะการดื่มของผู้คนในแดนปลาดิบไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อผ่อนคลายหรือสังสรรค์เพียงอย่างเดียว แต่ยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมทางสังคมและธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมานาน ชาวญี่ปุ่นมองว่าการดื่มคือหนึ่งวิธีแบ่งปันความรู้สึกของ ‘การอยู่ร่วมกัน’ (Togetherness) และ ‘ความซื่อสัตย์’ (Honesty) ที่นี่จึงมีวัฒนธรรมการดื่มที่เรียกว่า ‘โนมิไก’ (NoMiKai) ซึ่งมาจากคำว่า ‘nomi’ (飲み) ที่แปลว่าดื่ม และ ‘kai’ (会) ที่แปลว่างานรวมหรืองานประชุม เมื่อนำมารวมกัน โนมิไกจึงแปลว่างานสังสรรค์ที่เน้นการดื่มมากกว่าการกิน และเป็นการสังสรรค์กันหลังเลิกงาน โดยส่วนใหญ่การดื่มลักษณะนี้จะเกิดขึ้นที่ร้านอาหารและบาร์สไตล์ญี่ปุ่นที่เรียกว่า ‘อิซากายะ’ (Izakaya) แม้ว่าโนมิไกจะไม่ใช่การบังคับ แต่พนักงานส่วนใหญ่มักถูกคาดหวังให้เข้าร่วมการดื่มหลังเลิกงาน เนื่องจากคนส่วนใหญ่มองว่าการเข้าสังคมลักษณะนี้คือส่วนหนึ่งของการทำงาน ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงคนทำงานเข้าหากัน เหมือนเป็นการสร้างคอนเนกชันที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ และอาจส่งผลต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพเช่นกัน แต่การสังสรรค์ลักษณะนี้ไม่ได้ใช้กับบริบทการทำงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังรวมถึงการดื่มเพื่อทำความรู้จักเพื่อนใหม่ หรือสร้างความสนิทสนมระหว่างกลุ่มเพื่อนด้วย สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของญี่ปุ่น หลายคนอาจนึกถึง […]

ธงไพรด์หรือธงรุ้งสำคัญไฉน | Now You Know

Now You Know เอพิโสดนี้ ขอเล่าเบื้องหลังของ ‘ธงสีรุ้ง’ (Rainbow Flag) ที่เป็นสัญลักษณ์ของชาว LGBTQIAN+ ยุคนั้นประเด็นเกี่ยวกับเพศเป็นเรื่องที่ซีเรียสขนาดไหน และทำไมเราจึงไม่ควรนำสีรุ้งมาทำการตลาดโดยปราศจากความเข้าใจที่แท้จริง

FYI

#แพทย์ลาออก เสียงสะท้อนจากเหล่าบุคลากรทางการแพทย์

จากกระแส #แพทย์ลาออก ที่กลายเป็นประเด็นร้อนของสังคมในตอนนี้ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์หลายต่อหลายคน ทั้งคนที่กำลังเรียนอยู่ กำลังอยู่ในช่วงทำงานใช้ทุน หรือกระทั่งทำงานมานานแล้ว ออกมาแสดงความคิดเห็นถึงประเด็นนี้กันข้ามวันข้ามคืน เพราะบุคลากรทางการแพทย์ก็เป็นคนทำงานเหมือนๆ กับทุกอาชีพ ที่ต้องการระบบการทำงานที่ดี มีเพื่อนร่วมงานที่ไม่เป็นพิษ Work-life Balance ที่เหมาะสม และคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นกัน ด้วยวาระนี้เอง Urban Creature จึงติดต่อไปหา 5 บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเป็นพื้นที่ให้พวกเขาส่งเสียงสะท้อนถึงระบบการทำงานที่ไม่เอื้อต่อการมีชีวิตที่ดี ทั้งยังทำให้คนทำงานหมดแรงหมดใจไปเรื่อยๆ อ. อายุ 24 ปีแพทย์จบใหม่ที่พยายามอยู่ในระบบให้ได้ เราเป็นแพทย์จบใหม่ที่เพิ่งเข้ามาอยู่ในระบบราชการได้ราวๆ 1 เดือน เหตุผลที่ตัดสินใจยังอยู่ในระบบเพราะการเรียนต่อเฉพาะทางในสาขาที่เราสนใจ เราโชคดีที่จับฉลากได้อยู่จังหวัดใกล้กรุงเทพฯ ซึ่งต้องแก่งแย่งกับเพื่อนๆ จากโควตาภาคกลางอันน้อยนิด บางคนโชคร้ายต้องไปอยู่ไกลบ้านมากๆ บางคนต้องไปอยู่จังหวัดที่พูดชื่อขึ้นมาก็ยังนึกไม่ออกว่าอยู่ตรงไหนในแผนที่ประเทศไทยด้วยซ้ำ การทำงานในทุกๆ วันมีความเครียดและกดดัน ทั้งคนไข้ปริมาณมหาศาลที่ต้องตรวจให้หมดในเวลาอันจำกัด การต้องอดนอน ทำงานติดต่อกันหลายวัน รวมถึงความเครียดจากสตาฟฟ์เวลาปรึกษาปัญหาของคนไข้ กลายเป็นว่าบางครั้งเราต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ยากๆ คนเดียว ทั้งที่เราเองก็ไม่ได้มีประสบการณ์ การเป็นหมอเคยเป็นสิ่งที่เรารู้สึกชอบและสนุกเวลาทำงาน แต่ด้วยระบบและสิ่งแวดล้อม มันค่อยๆ บั่นทอนแพสชันของเราและเพื่อนไปเรื่อยๆ จนตอนนี้ในหัวคิดไปเป็นวันๆ ว่าเราจะผ่านวันนี้ไปยังไงให้สุขภาพจิตของเรายังดีเหมือนเดิม โอ๊ต อายุ 23 […]

1 27 28 29 30 31 90

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.