
Featured
‘ถนนบริพัตร’ เดินเมืองไปตามย่านสารพัดช่างในเขตเมืองเก่าที่กำลังรอวันพัฒนา
ในเกาะรัตนโกสินทร์และเขตเมืองเก่าของกรุงเทพฯ มีถนนหลายสายตัดกันไปมาเป็นโครงข่าย หลายสายถูกมองข้าม และหลายสายคนไม่รู้จัก เช่นกันกับ ‘ถนนบริพัตร’ หากเอ่ยเพียงแค่ชื่ออาจไม่คุ้นว่าถนนสายนี้อยู่ตรงไหน ซึ่งจริงๆ แล้วเส้นทางสายยาวเลียบไปตามคลองรอบกรุงนี้มีถนนอีกหลายสายตัดผ่าน แถมติดกับย่านสำคัญอีกหลายแห่ง ทั้งสำราญราษฎร์-ประตูผี สามยอด วรจักร คลองถม จนถึงเยาวราช เชื่อว่าต้องมีบางคนบ้างละที่เคยเดินหรือนั่งรถผ่านโดยไม่ทันรู้ตัว เมื่อมองจากแผนที่จะเห็นว่าถนนสายนี้เป็นเส้นตรงยาวอยู่พอตัว เชื่อมระหว่างถนนราชดำเนินกลาง เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ กับถนนเยาวราช เชิงสะพานภาณุพันธุ์ ใกล้กับเวิ้งนาครเขษม โดยตลอดสองฟากฝั่งถนนมีอาคารพาณิชย์รุ่นเก่าวางตัวเรียงกันอย่างสวยงาม คอลัมน์ Neighboroot รอบนี้อยากชวนออกแรงเดินเมืองสักนิด เหลียวซ้ายแลขวาโซนอื่นๆ ของถนนสายประวัติศาสตร์นี้ ดูกิจการร้านรวงที่สืบทอดมาแต่อดีต รวมถึงเปิดบทสนทนากับผู้คนดั้งเดิมและสมาชิกใหม่ๆ ที่เริ่มเข้ามาทำให้ย่านนี้เปลี่ยนหน้าเปลี่ยนตาจากที่เคยเห็น ถ้าพร้อมแล้ว ไปเดินกัน! ถนนสายประวัติศาสตร์และตลาดใหญ่ในความทรงจำ เขตเมืองเก่ามีถนนหลายสายที่ตั้งชื่อตามพระนามของเหล่าเจ้านายพระองค์ต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นเส้นทางตัดใหม่ที่กระจายจากใจกลางเมืองออกสู่ชานพระนครในสมัยนั้น ถือเป็นพยานของการพัฒนาเมืองเมื่อกว่าร้อยปีที่แล้ว โดยปัจจุบันหลายแห่งกลายเป็นย่านการค้าที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป ที่มาของชื่อถนนสายนี้คงเกิดขึ้นจากการที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้รับพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วจึงพัฒนาพื้นที่ย่านนี้โดยตั้งใจให้เป็นที่รื่นรมย์ของชาวเมือง ดังชื่อที่ตั้งว่า ‘นาครเขษม’ โดยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวจีนแต้จิ๋วที่ตั้งบ้านเรือนร้านค้าขายสรรพสินค้านานาชนิด ตั้งแต่เครื่องทองเหลือง เครื่องดนตรี ข้าวของเครื่องใช้ ไปจนถึงของเก่าของสะสม หลายฝน หลายหนาว รอบข้างของถนนสายนี้เปลี่ยนแปลงไปหลายหน้าตา ผู้คนสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปมา กระทั่งเร็วๆ […]
Nordhavn Copenhagen เมืองห้านาทีที่สนับสนุนให้คนออกมาใช้ชีวิต และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
แค่เปิดประตูบ้านก็เจอพื้นที่สีเขียวรอให้ออกไปพักผ่อนหย่อนใจ เด็กๆ เดินออกไปไม่กี่ร้อยเมตรก็ถึงโรงเรียน หรือเหล่าผู้ใหญ่ใช้เวลาไม่กี่นาทีก็ถึงที่ทำงานแล้ว ประโยคเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นเพียงคำบอกเล่าของผู้คนที่อาศัยอยู่ในโลกยูโทเปีย แต่สิ่งนี้เกิดขึ้นจริงกับผู้อาศัยอยู่ที่ ‘Nordhavn’ เขตหนึ่งในเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ที่สามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็นในชีวิตประจำวันในเวลาเพียง 5 นาทีเท่านั้น ในอดีต Nordhavn เคยเป็นท่าเรืออุตสาหกรรมที่ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นเขตเมืองที่ยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นความยั่งยืนทางสังคม เศรษฐกิจ รวมถึงสิ่งแวดล้อมด้วย แม้ว่า ณ ตอนนี้การพัฒนาเมืองยังไม่เสร็จสมบูรณ์ทั้งหมด แต่ Nordhavn ก็ทำให้เห็นถึงความเป็นเมืองแบบใหม่ที่แทบจะเป็นเมืองในฝัน จนได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาเมืองที่ใหญ่ที่สุดและทะเยอทะยานที่สุดในแถบสแกนดิเนเวียเลยทีเดียว เข้าถึงความสะดวกในเวลาเพียง 5 นาที เราอาจจะคุ้นชินกับโมเดลเมือง 15 นาทีในหลายๆ ประเทศที่ต้องการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยให้สะดวกสบายขึ้น ซึ่งระยะ 15 นาทีนั้นใครเห็นก็คิดว่าเป็นเวลาที่รวดเร็วแล้ว แต่ที่ Nordhavn ขอทะเยอทะยานกว่า รวดเร็วกว่า ด้วยการทำตัวเองให้เป็นเมืองที่เดินเท้าถึงทุกที่ในเวลาแค่ 5 นาที ฟังดูเป็นเรื่องยากใช่ไหม แต่การออกแบบเมือง Nordhavn นั้นสนับสนุนการใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบายของคนในเมืองมากกว่าที่เราคิด นอกจากไม่ต้องพึ่งพาการใช้รถยนต์เป็นหลักแล้ว เมืองยังเน้นการออกแบบสภาพแวดล้อมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นบริการพื้นฐานอย่างโรงเรียน โรงพยาบาล สำนักงาน ขนส่งสาธารณะ สวนสาธารณะ หรือร้านค้า ธุรกิจท้องถิ่นต่างๆ […]
‘แฟลตเกิร์ล’ มองปัญหาเรื้อรังของการไม่มีบ้านและโอกาสที่ไม่มีอยู่จริงของคนจนเมืองผ่านที่อยู่อาศัยในภาพยนตร์
*บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์* เมื่อการมีบ้านเป็นฝันที่เกินเอื้อมทั้งสำหรับคนเมืองและอาชีพอย่างผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ สนามแบดฯ สภาพเสื่อมโทรม ไฟติดบ้างไม่ติดบ้าง กับเสาที่ถูกพ่นลาย และหลากหลายเรื่องราวของผู้คนในห้องขนาดเล็กจิ๋วของแฟลตตำรวจ สวนทางกับจำนวนคนในห้อง ทั้งภรรยา ลูกคนที่หนึ่ง คนที่สอง คนที่สาม พานจะมีคนที่สี่ ต้องอัดกันอยู่ในห้องที่ไม่มีสัดส่วน ผนังและฝ้าจะถล่มลงมาได้ตลอด ภาพบรรยากาศนี้ถูกเล่าผ่าน ‘แฟลตเกิร์ล ชั้นห่างระหว่าง เ ร า’ ภาพยนตร์ของ แคลร์-จิรัศยา วงษ์สุทิน กับเรื่องราวของพี่น้องต่างสายเลือดอย่าง เจน และ แอน แต่กลับมีจุดร่วมอย่างการมีพ่อเป็นตำรวจและอาศัยอยู่ในแฟลตเดียวกัน จนเติบโตและสนิทสนมเป็นความสัมพันธ์ที่แล้วแต่จะนิยาม ชีวิตที่สนุกแสนสุขสงบในแฟลต ช่วงต้นของภาพยนตร์เป็นความพยายามเล่า ‘ความสุข’ ของเหล่าเด็กวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในแฟลต ทั้งภาพของเจนที่ออกมายืนกินไอศกรีมรอแอนกลับบ้านพร้อมกัน นักเรียนกลุ่มใหญ่ที่พากันออกไปเรียกตุ๊กตุ๊กหน้าโรงเรียน และถึงแม้จะเรียกตุ๊กตุ๊กในราคาเดิมไม่สำเร็จก็ยังมีรถตำรวจที่พาไปส่งถึงแฟลตได้ หลังเลิกเรียนก็มาใช้เวลาว่างด้วยกัน ตีแบดฯ นอนเล่น กินขนม ไปจนถึงแอบทำอะไรป่วนๆ อย่างการลักลอบเข้าห้องของตำรวจที่ไม่ค่อยอยู่เพื่อเข้าไปดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ฟรีๆ เสมือนชีวิตนี้ไม่มีปัญหาและได้ใช้ชีวิตวัยรุ่นกับเพื่อนที่ตนสนิทใจ แต่เราจะรู้สึกเอะใจตั้งแต่ภาพความสุขนั้นถูกฉายด้วยพื้นหลังของสภาพตึก ห้อง หรือบรรยากาศที่ดูเสียดสีอย่างสุดซึ้ง ก่อนภาพยนตร์จะพาเราไปเจอความเป็นจริงว่าชีวิตของเด็กแฟลตมันไม่ได้สนุกและสวยงามเท่าไรนัก ด้วยปัญหาคุณภาพชีวิตราคาถูกสวนทางกับค่าครองชีพราคาแพงที่ไม่ว่าใครในแฟลตแห่งนี้ก็ไม่สามารถจ่ายมันได้ ชีวิตที่แตกต่างจากระยะห่างของชั้นในแฟลต ผสมปนเปไปกับ ‘ความห่างระหว่างชั้น’ ของเจนและแอน สองพี่น้องที่สนิทและรักกันปานจะกลืนกิน แต่ความเป็นจริงนั้น […]
ถนนท่าแพ ตามนักสะสมของพม่าไปชมวัดพม่าในเชียงใหม่
ใช่ว่าเชียงใหม่จะมีแค่วัดวาอารามศิลปะล้านนา หากแต่บนถนนท่าแพ ถนนสายเศรษฐกิจดั้งเดิมที่โดดเด่นด้วยทิวอาคารคอนกรีตสไตล์โมเดิร์น ยังมีวัดเก่าแก่ที่สะท้อนอิทธิพลของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมพม่าอายุเกินร้อยปีแทรกตัวอยู่อย่างกลมกลืนและสง่างาม ดังชื่อบทความ เราจะพาเดินสำรวจมรดกจากศิลปะพม่า รวมถึงย้อนรอยถึงที่มาของวัดวาอารามบนถนนสายนี้ แต่ก่อนอื่น มีบุคคลสองท่านที่เราอยากแนะนำให้รู้จัก ‘จ่อย-อินทนนท์ สุกกรี’ คือชื่อแรก ชายชาวเชียงใหม่ลูกเสี้ยวพม่าวัยสามสิบเศษ นักสะสมของเก่า และเจ้าของร้าน ‘ชเว ผ้าพิมพ์ลุนตยา’ เมื่อช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา จ่อยได้ร่วมกับกลุ่มแม่ข่าซิตี้แลป จัดกิจกรรม ‘Mae Kha Walk Along เดินเมืองเรียนรู้คลองแม่ข่า’ พาผู้ที่สนใจไปเดินชมสถาปัตยกรรมแบบพม่าในวัดบนถนนท่าแพ ถนนสายสำคัญที่ลำน้ำแม่ข่าตัดผ่าน อันเป็นที่มาของบทความนี้ ส่วนคนที่สอง หากท่านยังมีชีวิตอยู่ก็น่าจะมีอายุเกือบ 200 ปีแล้ว ‘เมาง์ปานโหย่ว’ หรือ ‘รองอำมาตย์เอก หลวงโยนะการพิจิตร’ พ่อค้าไม้สักจากเมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า ที่ต่อมากลายเป็นคหบดีที่มีบทบาทสำคัญในการนำเข้าอิทธิพลทางศิลปะและสถาปัตยกรรมจากดินแดนบ้านเกิดมาสู่เชียงใหม่ ผ่านการบูรณปฏิสังขรณ์วัดหลายแห่งบนถนนท่าแพ อันเป็นที่มาของกิจกรรมครั้งนี้ “จริงอยู่ที่ก่อนหน้านี้เชียงใหม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ายาวนานถึงสองร้อยกว่าปี (พ.ศ. 2101 – 2317) แต่หลักฐานเชิงประจักษ์ของอิทธิพลจากศิลปกรรมจากพม่าในสมัยนั้นก็มีอยู่น้อยเต็มที ในขณะที่ศิลปะพม่ามาเบ่งบานในเมืองนี้ โดยเฉพาะบนถนนสายนี้จริงๆ คือเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ซึ่งไม่ได้เกิดเพราะเหตุผลด้านการเมือง แต่เป็นผลพวงจากการค้าขาย ซึ่งวันนี้เราจะไปตามรอยกัน” จ่อย ไกด์อาสาในทริปนี้กล่าว […]
‘เจริญกรุง’ จากถนนดินอัดแห่งแรก สู่ย่านสร้างสรรค์ต้นแบบ เส้นทางความเจริญของกรุงเทพฯ ตามชื่อที่ตั้ง
รู้ไหมว่า กว่า ‘เจริญกรุง’ จะกลายมาเป็นย่านท่องเที่ยวยอดนิยมอย่างในปัจจุบันนี้ต้องเจอสถานการณ์อะไรบ้าง ภาพจำของเจริญกรุงที่เราคุ้นตาคงเป็นแหล่งรวมร้านถ่ายรูปที่เรียงรายอยู่ตลอดแนวถนน ทั้งยังเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการและอาร์ตแกลเลอรีที่หมุนเวียนมาไม่ซ้ำเป็นประจำทุกเดือน จนได้เป็นย่านแรกของไทยที่ก้าวสู่การเป็น ‘ย่านสร้างสรรค์’ จากการรวมตัวของคนหลายกลุ่มที่ช่วยกันฟื้นฟูและขับเคลื่อนย่านให้กลับมาคึกคักกันอีกครั้งเช่นในปัจจุบัน โดยเริ่มดำเนินการผ่านโปรเจกต์ Bangkok Design Week ที่เราคุ้นเคย แต่ก่อนที่เจริญกรุงจะเดบิวต์ใหม่เป็นย่านสร้างสรรค์ที่เหมาะกับการมาเดินเล่นในวันหยุดสุดสัปดาห์นั้น ย่านนี้เคยเป็นที่รู้จักในด้านการเป็นพื้นที่ต้นกำเนิดของการเดินทางบนคอนกรีตที่สะดวกสบายในปัจจุบัน เพราะเจริญกรุงนับว่าเป็น ‘ถนนสายแรก’ ของกรุงเทพฯ ที่สร้างด้วยเทคนิคตะวันตก ซึ่งถือเป็นเครื่องหมายสำคัญที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางสังคม สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของเมืองและความเจริญที่เริ่มคืบคลานทยอยเข้ามาในเมืองทีละนิดๆ ส่งผลให้เกิดเป็นการคมนาคมที่เข้าถึงง่าย มีความสะดวกสบายในปัจจุบัน คอลัมน์ Urban Tales ขอพาทุกคนย้อนดูไทม์ไลน์การเดินทางกว่า 160 ปีของเจริญกรุง ตั้งแต่เริ่มมีถนนใช้เป็นครั้งแรก พากรุงเทพฯ ก้าวเข้าสู่เมืองแห่งความทันสมัย ก่อนผลัดเปลี่ยนสู่ยุคตกทุกข์ได้ยากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และผงาดขึ้นอีกครั้งในฐานะย่านสร้างสรรค์แรกของไทย กำเนิด ‘ถนนเจริญกรุง’ จากเส้นทางสายน้ำสู่พื้นคอนกรีตแบบตะวันตก ไม่ว่าเราจะเดินไปที่ไหนในกรุงเทพฯ สังเกตได้ว่าแทบทุกพื้นที่จะมีคลองเล็กใหญ่ให้เห็นอยู่เสมอ และส่วนใหญ่คลองเหล่านี้มักบรรจบหรือมีจุดที่เชื่อมโยงเป็นสายเดียวกัน ถือเป็นร่องรอยจากอดีตที่แสดงให้เห็นว่าคนกรุงเทพฯ มีความใกล้ชิดกับสายน้ำมาก ไม่ว่าจะเป็นการตั้งบ้านเรือนติดแม่น้ำลำคลอง การประกอบอาชีพประมง รวมถึงการใช้ทางน้ำเป็นเส้นทางหลักสำหรับสัญจรไปมาในอดีต จึงไม่แปลกที่เขตหรือแขวงในกรุงเทพฯ มักขึ้นต้นด้วยคำว่า ‘บาง’ ที่หมายถึงทางน้ำเล็กๆ ที่ไหลขึ้นลงตามระดับน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง หรือทะเล เพื่อใช้เรียกสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับสายน้ำ […]
ปักหมุดเช็กอินย่านวัฒนธรรม บางโพ-พระนคร-บางลำพู กับกิจกรรมสร้างสรรค์ที่พร้อมให้มาบวก งาน Bangkok Design Week 2025 วันนี้ – 23 กุมภาพันธ์ 2568
เข้าสู่สัปดาห์สุดท้ายของงาน ‘Bangkok Design Week 2025’ เทศกาลงานออกแบบสร้างสรรค์ที่ชวนให้เราออกมาเดินเล่นชมความสร้างสรรค์ใหม่ๆ ในย่านต่างๆ รอบกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้นับว่าเป็น Phase 2 ของงาน คิวของย่านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอย่าง ‘พระนคร’ ‘บางลำพู-ข้าวสาร’ และย่านอื่นๆ ที่ได้เปิดพื้นที่ให้ทุกคนเข้ามาเยือนถิ่นเช็กอินย่านได้ตั้งแต่วันนี้ – 23 กุมภาพันธ์ กับโปรแกรมที่น่าสนใจประจำย่าน ซึ่งหากใครสนใจวางแผนการเข้าร่วมงานก็ดูเพิ่มเติมก่อนไปได้ที่ bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program และหากใครถูกใจหลายกิจกรรมใน Bangkok Design Week 2025 จนเลือกไม่ได้ แต่ถ้าจะให้ไปวันเดียวทั้งหมดคงไม่ไหว คอลัมน์ Events ขออาสารวบรวมกิจกรรมไฮไลต์ที่น่าสนใจในช่วงที่ 2 ของเทศกาลฯ กับ 3 ย่านที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตอย่าง ‘บางโพ’ ‘พระนคร’ และ ‘บางลำพู-ข้าวสาร’ กับโค้งสุดท้ายของเทศกาลฯ ในปีนี้มาให้ แนะนำให้เตรียมพัดลมจิ๋ว หมวก และน้ำดื่มไปด้วยนะ บางโพ เริ่มกันที่ ‘บางโพ’ ย่านการค้าไม้เก่าแก่ที่ได้มาร่วมแจมงาน Bangkok Design Week เป็นครั้งที่ […]
วิ่ง สู้ ฝุ่น ไปกับสวนสาธารณะที่ออกแบบมาให้ออกกำลังกายได้อย่างสบายปอด
ช่วงนี้ใครที่อยากออกไปทำกิจกรรมข้างนอกคงไม่ค่อยแฮปปี้เท่าไหร่ เพราะต้องเจอกับฝุ่น PM 2.5 ที่ปกคลุมทั่วประเทศ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็รับฝุ่นไปเต็มๆ ปอด จากสถานการณ์นี้ส่งผลให้คนจำนวนไม่น้อยเลือกทำกิจกรรมหรือใช้ชีวิตในสถานที่ปิดแทน โดยเฉพาะสายออกกำลังกายที่ต้องงดวิ่งหรือออกกำลังกายในสวนสาธารณะ เพราะกังวลเรื่องสุขภาพและโรคทางเดินหายใจ แต่แหม…เคยวิ่งชมนกชมไม้อยู่ดีๆ ต้องมาวิ่งในยิมคงเศร้าแย่ คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอไอเดียเอาใจสายรักสุขภาพในช่วงเวลาที่สภาพแวดล้อมไม่ค่อยเอื้ออำนวย ด้วยการออกแบบพื้นที่สวนสาธารณะที่สามารถใช้งานท่ามกลางฝุ่นได้ อุ่นใจกับ ‘อุโมงค์ไร้ฝุ่น’ แน่นอนว่าการวิ่งในพื้นที่แบบเปิดโล่งย่อมเป็นสวรรค์ของนักวิ่งหลายคน เพราะนอกจากได้ออกกำลังกายแบบใจฟู ไม่ต้องพาตัวเองไปอยู่ห้องออกกำลังกายแบบปิดมิดทุกซอกทุกมุมแล้ว ยังได้ชมวิวทิวทัศน์ในระหว่างวิ่งไปด้วย แต่ถ้าฝุ่นเยอะแบบนี้ เราจะวิ่งข้างนอกแบบสบายใจก็คงไม่ไหว นำมาสู่นวัตกรรม ‘อุโมงค์ไร้ฝุ่น’ ที่จะมาตอบโจทย์ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อให้ทุกคนวิ่งกลางแจ้งได้แบบสบายใจ ด้วยการออกแบบให้ทุกๆ พื้นที่โล่งในเส้นทางมีพื้นที่ปลอดฝุ่นในรูปแบบอุโมงค์ที่คอยรองรับเหล่านักวิ่งให้ได้พักปอดตลอดเส้นทาง และยังสามารถพับเก็บในวันที่ไม่มีฝุ่นได้ด้วยนะ อุโมงค์ที่ว่านี้เป็นอุโมงค์โปร่งใสครอบคลุมถนนทางวิ่งทั้งสองเลน แถมยังติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพื่อดึงไฟฟ้ามาใช้กับเครื่องฟอกอากาศภายใน เรียกว่าเป็นการวิ่งที่ทั้งรักปอดคนวิ่งและรักษ์โลกไปพร้อมๆ กัน อีกทั้งการออกแบบอุโมงค์ในรูปแบบที่มองเห็นภายนอกยังทำให้เราชมนกชมไม้ได้เหมือนเดิม แวะ ‘ศาลาปลอดฝุ่น’ พักขา ผ่อนคลายปอด วิ่งมาเหนื่อยๆ นั่งพักตากแอร์เย็นๆ แบบไร้ฝุ่นใน ‘ศาลาปลอดฝุ่น’ กันไหม เพราะศาลาปลอดฝุ่นกระจายตัวอยู่ทุกที่รอบสวน และใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เช่นเดียวกันกับอุโมงค์ไร้ฝุ่น แตกต่างตรงที่ภายในศาลาจะใช้ ‘แอร์ฟอกอากาศ’ ที่นอกจากให้ความเย็นแบบฉ่ำปอดแล้ว ยังไร้กังวลเรื่องฝุ่นเพราะสามารถกรองมลภาวะในอากาศ รวมถึงเชื้อโรคต่างๆ เพื่อทำให้อากาศภายในศาลากลายเป็นอากาศบริสุทธิ์ ให้เรานั่งพักได้แบบสบายกายสบายใจ […]
วันวานยังหวานอยู่ส่อง 5 ย่านในกรุงเทพฯ จากหนังรักเก่าไทยที่อยากชวนทุกคนไปตามรอยในเดือนแห่งความรัก
ป่านนี้เหมยลี่จะได้แต่งงานหรือยังนะ… สวัสดีวันวาเลนไทน์ Urban Creature ขอชวนย้อนเวลาไปหา 5 ภาพยนตร์รักไทยที่ถ่ายทำในแต่ละย่านของกรุงเทพมหานคร ชวนให้คิดถึงเหล่าตัวละครในเรื่องที่เมื่อเวลาผ่านไปขนาดนี้ โต้งกับมิวก็คงโตจนทำงาน หรือเหมยลี่อาจจะได้แต่งงานมีลูกไปแล้วหรือเปล่า นอกจากตัวละครในเรื่องจะโตไปตามกาลเวลา เราอยากชี้ชวนให้สำรวจความเปลี่ยนแปลงของย่านที่ฉากต่างๆ ในภาพยนตร์ได้บันทึกความทรงจำของพื้นที่นั้นไว้ สยาม : รักแห่งสยาม ย้อนเวลากลับไป 18 ปีกับ ‘รักแห่งสยาม’ ภาพยนตร์รักตลอดกาลที่พาผู้ชมไปสำรวจวัยมัธยมฯ Puppy Love และเรื่องราวของโต้งกับมิว จนเพลง ‘กันและกัน’ ติดหูมาโดยตลอด ไม่เพียงแต่ความรักและเรื่องราวชีวิตวัยมัธยมฯ ชวนคิดถึง พื้นที่อย่างสยามก็เป็นอีกองค์ประกอบที่ทำให้การเล่าความรักครั้งนี้สมบูรณ์แบบ ด้วยความเป็นวัยรุ่นตลอดกาลของสถานที่แห่งนี้ แน่นอนว่าถ้านึกถึงรักแห่งสยามก็ต้องมี ‘เปี๊ยก ดีเจสยาม’ ตามมาด้วย แต่ปัจจุบันร้านนี้ได้ปิดตัวไปและกลายเป็นพื้นที่ของร้านชานมไข่มุกแทน หรือฉากในความทรงจำอย่างฉากที่โต้งบอกเลิกโดนัทกลางลานน้ำพุเซ็นเตอร์พอยท์ ตอนนี้ก็เป็นพื้นที่โล่งๆ หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นเตอร์พอยท์, ดิจิตอล เกตเวย์ หรือห้างฯ ข้างสยามสแควร์วัน ตามแต่ชื่อที่ใครจะอยากเรียก และเพียงแค่เอ่ยคำว่าลานน้ำพุเซ็นเตอร์พอยท์ ก็เหมือนจะกลายเป็นมุกดักแก่กันไปเสียแล้ว แต่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร ก็ต้องยอมรับว่าสถานที่นี้เคยเป็นแหล่งรวมวัยรุ่นและความทรงจำเรื่องรักใคร่ในวัยเยาว์ ยิ่งเมื่อมีกระแสการพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้ใช้งานได้อย่างหลากหลายเข้ามาผสมรวม พลวัตการเปลี่ยนแปลงของสยามจึงโตตามเหล่าตัวละครในเรื่องและเราหลายๆ คนเช่นกัน นอกจากนั้น หลังการปรับปรุงครั้งใหญ่ของสยามเมื่อปี 2565 พื้นที่แห่งนี้ถูกปรับปรุงทัศนียภาพและการใช้สอยขนานใหญ่ […]
HUA LAMPHONG DESIGN WEEK 2025 สำรวจชีวิตคนในย่าน ตามไปมองความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในหัวลำโพง
แม้จะผ่านมาเกือบครึ่งทาง แต่เชื่อว่าหลายคนยังมีอีกหลายย่านใน Bangkok Design Week 2025 ที่ยังไม่ได้ย่างเท้าเข้าไปเยือนกัน เพราะครั้งนี้เทศกาลฯ จัดขึ้นในหลายย่านของกรุงเทพฯ แถมยังมีระยะเวลาจัดงานที่แตกต่างกัน เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องเร่งรีบเก็บให้ครบทุกย่านเหมือนปีก่อนๆ วันนี้คอลัมน์ Events ขอพามาโฟกัสกันที่ย่านหัวลำโพงกับ ‘HUA LAMPHONG DESIGN WEEK 2025’ ที่ปีนี้จัดขึ้นเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ ระหว่างวันที่ 8 – 9, 15 – 16, 22 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ตั้งแต่ซอยพระยาสิงหเสนี, ชุมชนตรอกสลักหิน, ซอยสุนทรพิมล ไปจนถึงถนนรองเมือง โดยมี Co-Host ย่านเจ้าเดิมคือริทัศน์บางกอก (RTUS-Bangkok) นอกจากไฮไลต์ที่เราเลือกมาให้ทุกคนจับมือจูงแขนพาเพื่อนสนิทหรือคนรู้ใจไปเดินเที่ยววีกเอนด์นี้ ใครที่อยากรู้ว่าในหัวลำโพงมีกิจกรรมอะไรอีก เข้าไปดูได้ที่ t.ly/oiwM_ เพราะครั้งนี้หัวลำโพงจัดเต็มกับ 12 นิทรรศการ 1 เวิร์กช็อป 4 อีเวนต์ 1 เสวนา และ […]
ตามไปดูโปรเจกต์ Street Wise ที่ใช้งานสร้างสรรค์สร้างสีสันและภาพจำใหม่ๆ ให้ย่านปากคลองตลาดและบางลำพู
‘ปากคลองตลาด’ เป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งค้าขายดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ลองนึกภาพพื้นที่ที่เต็มไปด้วยผู้คนขวักไขว่ ทางเดินเฉอะแฉะจากการพรมน้ำดอกไม้ให้สดใส กลีบดอกไม้ที่เคยสวยงามร่วงโรยลงบนถนน จะว่ามีชีวิตชีวาก็ใช่ แต่จะบอกว่าดูวุ่นวายด้วยก็ได้เช่นกัน ถึงอย่างนั้นหลายคนอาจนึกไม่ถึงว่าวันหนึ่งปากคลองตลาดจะกลายเป็นย่านสร้างสรรค์ได้เหมือนกัน ส่วนหนึ่งของการที่ปากคลองตลาดได้ชื่อว่าเป็นย่านสร้างสรรค์นั้นมาจากการทำงานของ ‘หน่อง-รศ. ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์’ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และนักออกแบบผู้อยู่เบื้องหลังการพัฒนาพื้นที่และชุมชนหลายแห่ง อาจารย์หน่องไม่ได้มองแค่การพัฒนาพื้นที่อย่างเดียว แต่ยังนำความสร้างสรรค์ เปิดรับไอเดียใหม่ๆ และดึงจุดเด่นของบริบทพื้นที่มาทำให้พื้นที่ตรงนั้นเกิดความน่าสนใจมากขึ้นด้วย และในปีนี้อาจารย์หน่องก็ไม่ได้สร้างสีสันให้ย่านปากคลองตลาดแห่งเดียว แต่เธอยังกลับไปยังย่านเก่าที่เคยทำงานด้วยอย่าง ‘บางลำพู’ พร้อมกับการนำสิ่งที่น่าสนใจของย่านมาผนวกรวมเข้ากับความสร้างสรรค์ เพื่อส่งต่อความน่าสนใจของทั้งสองย่านสู่ผู้คนผ่านงาน Bangkok Design Week 2025 ในโมงยามที่เทศกาลงานสร้างสรรค์ประจำปีของกรุงเทพฯ กำลังดำเนินอยู่นี้เอง คอลัมน์ Art Attack ชวนอาจารย์หน่องมาคุยกันถึงโปรเจกต์ ‘Bangkok Flower Market Festival @Pak Khlong Talat’ และ ‘Bang Lamphu Festival @New World Shopping Mall’ ที่ได้รับทุน ‘Connections Through Culture’ ประจำปี 2024 […]
Thai Temple Festival สีสันงานวัด
งานวัดที่มีแสงสีสวยงามเป็นมากกว่ากิจกรรมบันเทิง เนื่องจากสะท้อนถึงความเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรม ศาสนา และวิถีชีวิตของคนในชุมชน ยามค่ำคืนที่สว่างไสวด้วยแสงไฟหลากสีไม่เพียงแต่สร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของความหวังและการเฉลิมฉลองชีวิต แสงไฟจากโคมและเครื่องเล่นต่างๆ เป็นตัวแทนของความเจริญรุ่งเรือง และความปรารถนาที่จะนำความสว่างเข้ามาสู่ชีวิต แม้ในยามที่ต้องเผชิญกับความท้าทาย ในขณะเดียวกัน งานวัดยังเป็นพื้นที่ที่สะท้อนถึงมิติทางศาสนาและวัฒนธรรม การทำบุญ ไหว้พระ และพิธีกรรมทางศาสนาที่เกิดขึ้นภายในงาน คือการสานต่อความศรัทธาและประเพณีที่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน การผสมผสานระหว่างความเชื่อทางจิตวิญญาณกับความบันเทิงทางโลกร่วมสร้างสมดุลที่ลงตัว ซึ่งบ่งบอกถึงความลึกซึ้งของชีวิตที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้ แสงสีจากงานวัดจึงไม่ได้เป็นเพียงการตกแต่งเพื่อความงดงาม แต่ยังเป็นเครื่องหมายของการเชื่อมโยงระหว่างอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นที่ที่คนในชุมชนมารวมตัวกัน แลกเปลี่ยนความสุข ความหวัง และการสะท้อนถึงความหมายของชีวิต ติดตามผลงานของ ภาสกร บรรดาศักดิ์ ต่อได้ที่ Facebook : Phatsakorn Bundasak Instagram : @dave_street_photo หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]
Flowerrarium ร้านจัดดอกไม้และสวนขวดย่านเมืองเก่าของอดีตผู้แทนยาที่อยากให้ทุกคนมอบดอกไม้แก่กันได้โดยไม่ต้องรอโอกาสพิเศษ
จำได้ไหมว่าได้รับดอกไม้ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ เวลาเห็นใครสักคนถือช่อดอกไม้ หรือเดินผ่านร้านดอกไม้ ก็มักจะชวนให้นึกถึงโอกาสพิเศษอย่างวันเกิด วาเลนไทน์ คริสต์มาส หรือวันครบรอบ แถมยังต้องเป็นความสัมพันธ์ที่พิเศษพอจะมอบดอกไม้ให้กันอีกด้วย แต่รู้ไหมว่าจริงๆ แล้วโอกาสในการให้ดอกไม้ไม่จำเป็นต้องจำกัดไว้เพียงแค่วันบางวันหรือบางช่วงเวลา แต่เราให้ดอกไม้กันได้ทุกวัน เพราะมันเป็นของที่เพียงได้รับก็รู้สึกดีแล้ว หรือการให้ดอกไม้ขอบคุณตัวเองที่ผ่านวันทั้งดีและแย่ก็ไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไร พอพูดถึงเรื่องดอกไม้ คอลัมน์ Urban Guide เลยขอพาไปรู้จักกับ ‘เยีย-อารยา ภู่ผึ้ง’ เจ้าของ Flowerrarium ร้านต้นไม้-ดอกไม้ใจกลางย่านเมืองเก่าอย่างชุมชนเลื่อนฤทธิ์ เขตการค้าเก่าแก่กว่า 100 ปี ที่เพิ่งรีโนเวตใหม่ให้กลายเป็นตึกสีขาวเหลืองตัดสีเขียวสวยเด่น เราเดินเข้าไปในชุมชนเลื่อนฤทธิ์จนสุดซอย ก่อนเจอเข้ากับเหล่าต้นไม้ ดอกไม้ วางประดับสวยงามอยู่หน้าร้าน พร้อมป้ายสีเขียวเข้มของร้านดูสบายตา สดชื่น ต้อนรับวันใหม่ จากผู้แทนยาสู่เจ้าของร้านดอกไม้ “เยียทำงานเป็นผู้แทนยามาสิบกว่าปี จนรู้สึกว่าถึงจุดอิ่มตัว เลยเริ่มมองหาแพสชันใหม่ๆ ลองเวิร์กช็อปไปเรื่อยๆ จนได้มาเจอว่าเราชอบดอกไม้กับสวนขวด รวมถึงตัวเราที่ชื่อเยียก็มาจากดอกเยียบีรา พี่สาวเป็นคนตั้งให้ ก็เลยเริ่มศึกษาเรื่องดอกไม้มาเรื่อยๆ” หลังส่งตัวเองศึกษาการจัดต้นไม้-ดอกไม้มาสักพัก ก็ถึงเวลาเปิดร้านที่เยียใช้คำว่า เปิดขึ้นได้ด้วย ‘จังหวะ’ จังหวะที่อยากจัดดอกไม้ จังหวะที่บังเอิญมาเจอชุมชนเลื่อนฤทธิ์ จังหวะที่ชอบตึกเก่าในย่านสงบ และจังหวะที่อยากให้คนได้รับดอกไม้ที่ตรงใจ ตลอดช่วงเวลา 6 เดือนที่เยียเปิดร้านนี้ขึ้นมา เธอได้เรียนรู้เกี่ยวกับความหลากหลายในความสนใจเรื่องดอกไม้ของคนไทย […]