The Bangkok 2040 Summer Olympics ธีสิสพัฒนาท่าเรือคลองเตยให้กลายเป็นฮับใหม่ สำหรับรองรับการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก 2040

นอกจาก ‘กีฬา’ จะเป็นยาวิเศษแล้ว กีฬายังเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างชาติอีกด้วย ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมกีฬาโอลิมปิกมาแล้วทั้งหมด 2 ครั้ง ทั้งการเสนอเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ปี 2008 และยูธโอลิมปิก ปี 2010 แต่ก็ต้องคว้าน้ำเหลว เนื่องด้วยความไม่พร้อมในด้านต่างๆ แต่ความหวังยังไม่หมดไป หลายครั้งเราจึงเห็นคนบนโลกออนไลน์ออกมาถกเถียงกันในประเด็นนี้อยู่บ่อยๆ ว่า แล้วเราต้องทำอย่างไร ประเทศไทยถึงจะเป็นเจ้าภาพจัดงานกีฬาของมวลมนุษยชาติกับเขาสักครั้ง เช่นเดียวกับ ‘จอม-ปภัสสร นพไพบูลย์รัตน์’ นิสิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มองว่าการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาเมือง ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาและกระตุ้นการพลิกฟื้นของเมืองได้ จนเกิดเป็น ‘The Bangkok 2040 Summer Olympics’ ธีสิสออกแบบวางผังและจัดทำแผนพัฒนาเมืองสู่การเสนอตัวมหกรรมกีฬากรุงเทพฯ โอลิมปิกในปี 2040 กีฬาสร้างคน คนสร้างชาติ จอมเล่าว่า จุดเริ่มต้นที่ทำให้ตนตัดสินใจทำธีสิสในหัวข้อเกี่ยวกับโอลิมปิกเกิดขึ้นเพราะสไลด์วิชาเรียนเกี่ยวกับการออกแบบเมืองในช่วงชั้นปีที่ 4 เพียงสไลด์เดียวที่พูดถึง ‘คน กิจกรรม และเมือง’ “ผมคิดว่าโอลิมปิกเป็นคำตอบสำหรับการพัฒนาเมืองที่เป็นไปได้และอิมแพกต์มากที่สุด เพราะการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาเมืองที่ช่วยแก้ไขปัญหา กระตุ้นการพลิกฟื้นของเมือง และขับเคลื่อนเมืองได้” เมื่อได้หัวข้ออย่างเป็นทางการ และหาข้อมูลไปได้ประมาณหนึ่ง จอมก็พบว่าความจริงแล้ว ประเทศไทยเคยยื่นเป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขันไปแล้วทั้งหมด 2 […]

‘Bangkok 21xx Olympics’ จะเป็นอย่างไร ถ้ากรุงเทพฯ เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาระดับโลก และใช้พื้นที่เมืองเป็นสเตเดียมแข่งขัน

ในที่สุดก็มาถึงช่วงเวลาที่ทุกคนตั้งตาคอยกับมหกรรมกีฬาระดับโลก ‘Paris 2024 Olympics’ ที่ฝรั่งเศสกลับมาเป็นเจ้าภาพในรอบ 100 ปี ความน่าสนใจของโอลิมปิกครั้งนี้คือ การกำหนดสถานที่สำคัญของฝรั่งเศสให้เป็นสนามกีฬา เช่น หอไอเฟล พระราชวังแวร์ซาย แม่น้ำแซน เป็นต้น นอกจากเป็นฉากหลังที่สวยงามระหว่างการแข่งขันแล้ว ยังอาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยวได้อีกด้วย แต่จะเป็นอย่างไร ถ้าประเทศไทยของเราได้เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาสุดยิ่งใหญ่นี้บ้าง โดยใช้คอนเซปต์เดียวกันกับฝรั่งเศสอย่างการใช้สถานที่สำคัญสำหรับการแข่งขันในกรุงเทพมหานคร คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ สำหรับจัดการแข่งขัน ‘Bangkok 21xx Olympics’ ให้พิจารณา เผื่อถึงเวลาเกิดเป็นเจ้าภาพจริงๆ เราอาจจะได้เห็นการแข่งกีฬาตามสถานที่เหล่านี้ก็ได้นะ ตีเทนนิส ตบวอลเลย์บอลชายหาด กลางท้องสนามหลวง ‘ท้องสนามหลวง’ เป็นพื้นที่ลานโล่งใกล้กำแพงพระบรมมหาราชวังและสถานที่สำคัญใจกลางพระนคร ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นพื้นที่สาธารณะให้ผู้คนมาใช้พักผ่อนหย่อนใจ หากจะนำกลับมาใช้งานอีกครั้ง ก็ดูจะเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การจัดการแข่งขันกีฬากลางแจ้ง โดยจะสร้างสเตเดียมชั่วคราวให้การแข่งขัน ‘เทนนิส’ หรือจะปูสนามทรายสำหรับ ‘วอลเลย์บอลชายหาด’ ก็ได้เหมือนกัน รวมไปถึงการมีฉากหลังเป็นวัดพระแก้วยังช่วยสร้างภาพบรรยากาศที่สวยงามระหว่างการแข่งขันและการถ่ายทอดสดได้อีกด้วย เปิดศึกสังเวียนที่สนามมวยเวทีราชดำเนิน แม้ ‘มวยไทย’ จะยังไม่ถูกบรรจุเป็นกีฬาที่จัดแข่งในโอลิมปิกอย่างเป็นทางการ แต่โอลิมปิกปีนี้เริ่มมีการจัดแข่งขันสาธิตในโปรแกรมเสริมที่กรุงปารีส จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคต เราอาจได้เห็นการแข่งกีฬามวยไทยในโอลิมปิกก็เป็นได้ แน่นอนว่าสถานที่ที่เหมาะสำหรับจัดการแข่งมวยไทยในกรุงเทพฯ คงหนีไม่พ้น ‘สนามมวยเวทีราชดำเนิน’ […]

The Cursed Land คนต่างแดนที่ถูกสาปด้วยความแตกต่างในพื้นที่ ความเชื่อ วัฒนธรรม และสิ่งเร้นลับของชาวไทยมุสลิมในสายตาชาวไทยพุทธ

ตั้งแต่เริ่มต้น ‘แดนสาป The Cursed Land’ ถือว่าเป็นโปรเจกต์ภาพยนตร์ไทยที่น่าสนใจ ตั้งแต่พลอตเรื่องของพ่อลูกชาวไทยพุทธที่ย้ายเข้าไปอยู่ในชุมชนชาวไทยมุสลิม และถูกคุกคามโดยบางสิ่งบางอย่างที่อยู่เหนือกว่าความเข้าใจของศาสนา เรื่องราวแบบพหุวัฒนธรรมของชาวไทยแบบที่ไม่ค่อยถูกนำเสนอมากนักบนจอภาพยนตร์ นอกจากนี้ แดนสาปยังเป็นผลงานจาก 2 บุคลากรในวงการภาพยนตร์อย่าง ‘ภาณุ อารี’ ผู้อำนวยการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ที่รับบทบาทเป็นผู้กำกับหนังเรื่องนี้ และ ‘ก้อง ฤทธิ์ดี’ ที่ลองข้ามจากดินแดนนักวิจารณ์ภาพยนตร์มาเป็นผู้เขียนบท และยิ่งน่าสนใจขึ้นไปอีกเมื่อทั้งคู่ต่างเป็นชาวไทยมุสลิม เคยมีผลงานสารคดีเกี่ยวกับชีวิตคนมุสลิมไทยอย่าง มูอัลลัฟ (2008), Baby Arabia (2010) และ กัดดาฟี (2013) ทำให้มีสายตาของชาวไทยเชื้อสายมุสลิมที่จับจ้องเห็นถึงประเด็นความเป็นมุสลิมบางอย่างในสังคมไทยที่จะได้รับการนำเสนอออกมาจากคนใน เพียงแต่คราวนี้มาในรูปแบบของหนังสยองขวัญ แรกเริ่มแม้จะมีดราม่าของการโปรโมตที่ก่อให้เกิดประเด็นอันทำให้หลายคนมองตัวหนังผิดไป แต่เมื่อได้ชมตัวหนังจริง มันเป็นสิ่งที่ต่างจากการโปรโมตในเชิงภาพผีอิสลามอย่างชัดเจน อีกทั้งยังสื่อสารว่าสิ่งที่ทุกคนกำลังจะได้รับชมนี้ไม่ใช่เรื่องราวของผีแต่เป็นความลี้ลับแบบอื่น ไม่ใช่คนในพื้นที่ที่แปลกประหลาด แต่เป็นสายตาอคติของคนภายนอก ‘แดนสาป The Cursed Land’ ถูกระบุเรื่องราวไว้อย่างชัดเจนว่าเกิดขึ้นในย่านหนองจอก ที่ซึ่งถูกเรียกขนานนามว่าเป็น ‘ดงแขก’ เพราะมีชาวไทยมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากเสียยิ่งกว่าชาวไทยพุทธตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษชาวมลายู ย่านนี้กลายเป็นพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมบริเวณขอบเกือบจะหลุดออกนอกของพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร อันเต็มไปด้วยชุมชนมัสยิดของชาวมุสลิมที่ใช้ชีวิตกันเสมือนยังเป็นชนบทต่างจังหวัดมากกว่าเมืองแบบภาพกรุงเทพฯ ในความคิดของหลายคน เมื่อสืบค้นข้อมูลพื้นที่ดังกล่าวลงไปจะค้นพบว่าเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์อันบอบช้ำในยุคต้นรัตนโกสินทร์ เพราะเชลยศึกจากปัตตานีถูกกวาดต้อนมาใช้เป็นแรงงานในการขุดคลองแสนแสบบริเวณฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันคือเขตหนองจอก มีนบุรี และคลองสามวา ที่นี่เองคือถิ่นฐานที่สองพ่อลูก […]

‘อยู่กันดีๆ ให้ได้ได้ไหม’ จะใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวใหญ่อย่างไรให้สงบสุข ในยุคที่ใครก็ไม่เข้าใจกัน

เวลาพูดถึงจุดร่วมของ ‘สังคมไทย’ หลายครั้งภาพที่ฉายออกมาคือการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ภายในรั้วบ้านหลังคาเดียวกันจะมีสมาชิกอยู่หลากรุ่น หลายเครือญาติ ใครที่มีรูปแบบครอบครัวเช่นนี้ คงจะคุ้นเคยกับความสนุกสนาน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสนิทสนมอย่างเต็มที่ แต่ในขณะเดียวกัน ความบาดหมางและความเจ็บปวดใจที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารในครอบครัวใหญ่ ก็เป็นความทุกข์ที่หลายครั้งเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเปี่ยมไปด้วยความรู้สึกมากมายที่ซับซ้อนและตีกันวุ่นไปหมด ยิ่งในช่วงที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ และเงื่อนไขชีวิตที่หลายคนเลือกมีพื้นที่ของตัวเองด้วยการย้ายออกมาอยู่คนเดียวไม่ได้ จะมีวิธีไหนบ้างที่ช่วยจัดการสภาพจิตใจต่อความกระอักกระอ่วนที่อาจเกิดขึ้นบ่อยๆ ภายในครอบครัว ไม่มีใครเป็นตัวเอก ไม่มีใครเป็นตัวร้าย แต่เราแค่มาจากหนังคนละเรื่องกัน หลายครั้ง ความไม่ลงรอยกันภายในครอบครัวใหญ่ มักเกิดจากความไม่เข้าใจและความไม่พร้อมเปิดใจรับฟัง ทำให้ต่างฝ่ายต่างไม่รู้สึกได้รับการเห็นค่าจากคนที่รัก โดยเฉพาะญาติอาวุโสที่ยิ่งใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้มานานเท่าไหร่ ยิ่งง่ายที่จะยึดมั่นทั้งความเชื่อและแบบแผนการใช้ชีวิตที่พวกเขาเชื่อว่าถูก ผ่านการเลี้ยงดูและคำสอนจากคนรุ่นอาวุโสกว่าพวกเขามาอีกที คุณค่าบางอย่างที่พวกเขาให้ความสำคัญ แม้ไม่ใช่ว่ามันเป็นสิ่งไม่ดี แต่นั่นอาจไม่ได้เป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นตรงกันเสมอไป ยกตัวอย่าง กรณีศึกษาที่ผู้เขียนในฐานะนักจิตบำบัดความสัมพันธ์และครอบครัวพบบ่อยในชั่วโมงบำบัด คือการที่คนรุ่นพ่อแม่หรือบางครั้งก็เป็นรุ่นปู่ย่าตายายเลยด้วยซ้ำ พยายามพร่ำบอกให้ลูกหรือหลานตัวเองยึดแนวทางการใช้ชีวิตให้เหมือนเขา เพราะการใช้ชีวิตในรูปแบบนั้นนำพาความสำเร็จและชีวิตที่สุขสบายมาให้ รูปแบบการใช้ชีวิตที่ว่า หนึ่งในนั้นคือ ‘ความอดทน’ ไม่ว่าจะทั้งทางกายหรือใจ การพร่ำบอกให้อดทนต่องานที่ทำ ทำไมถึงบ่นกับเรื่องแค่นี้ ทำไมถึงไม่หาข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มในเวลาว่าง ทำไมหยุดงานหรือเปลี่ยนงานบ่อยจัง หรือการบอกให้อดทนต่อความรู้สึก เช่น เรื่องแค่นี้ทำไมต้องร้องไห้ เรื่องมันเกิดมานานแล้ว ทำไมยังคิดเล็กคิดน้อยอยู่ได้ ทะเลาะกันแค่นี้ ทำไมเลือกที่จะหย่า ฯลฯ แน่นอนว่าความเจ็บปวดเป็นเรื่องปัจเจก สิ่งที่ทำให้อารมณ์แต่ละคนสั่นสะเทือนล้วนมีหน้าตาต่างกันออกไป ไม่ว่าจะด้วยเจตนาที่ดีหรือไม่ก็ตาม การปฏิเสธความรู้สึกของใครคนหนึ่งยิ่งสร้างความห่างเหินในใจ […]

‘ปารีส’ เมือง 15 นาที ที่อยากให้ผู้คน ‘ใกล้ชิด’ กับ ‘ชีวิตดีๆ’ มากขึ้น

ย้อนไปเมื่อปี 2020 แอนน์ อีดัลโก (​​Anne Hidalgo) นายกเทศมนตรีแห่งกรุงปารีส ได้เสนอแนวคิดที่จะเปลี่ยนเมืองหลวงของฝรั่งเศสที่แสนจะวุ่นวายและเต็มไปด้วยกิจกรรมคึกคัก ให้กลายเป็น ‘เมือง 15 นาที’ (15-minute City) แนวคิดนี้คือการปรับปรุงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คน โดยการสร้างเมืองที่ผู้อยู่อาศัยสามารถเข้าถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ในระยะเวลา 15 นาทีด้วยการเดินหรือปั่นจักรยาน เพื่อลดการเดินทางจากบ้านไปยังสถานที่ต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุด เช่น สถานที่ทำงาน โรงเรียน โรงพยาบาล สวนสาธารณะ ร้านอาหาร ร้านค้า ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นไปโดยหวังว่าปารีสโฉมใหม่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนให้คล่องตัว มีสุขภาพดี และยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงต้องการสร้างสังคมที่โอบรับคนทุกกลุ่มและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านมา 4 ปี มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นกับปารีสบ้าง และมหานครแห่งนี้เข้าใกล้การเป็นเมือง 15 นาทีมากขนาดไหนแล้ว คอลัมน์ City in Focus ขอชวนไปสำรวจและหาคำตอบพร้อมกัน เปลี่ยนจากการขับรถเป็นปั่นจักรยาน เป้าหมายแรกของกรุงปารีสคือการเปลี่ยนให้คนใช้รถยนต์น้อยลง และหันมาปั่นจักรยานมากขึ้น นายกฯ อีดัลโกอธิบายว่า การใช้จักรยานในเมืองจะแสดงให้เห็นว่าชาวปารีสสามารถปรับวิถีชีวิตของตัวเองได้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กรุงปารีสได้ออกข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ เช่น กำหนดให้เขตเมืองเป็นเขตควบคุมมลพิษต่ำ และกำหนดให้ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือนเป็นวันปลอดรถยนต์ […]

Urban Legend ล้อมวงเล่า 5 เรื่องลี้ลับประจำเมือง ที่สร้างขึ้นเพื่อความปลอดภัยในสังคม

สำหรับมนุษย์ ‘ความกลัว’ คือเครื่องมือสำหรับควบคุมพฤติกรรมของคนตั้งแต่สมัยโบราณที่ยังไม่มีกฎหมายชัดเจน เทพเจ้า ศาสนา และสิ่งเหนือธรรมชาติมักถูกยกขึ้นเป็นบทลงโทษสร้างความเกรงกลัวในการกระทำผิด สิ่งเหล่านี้ตกทอดหลงเหลือมาในคราบของตำนานและเรื่องเล่า แม้ปัจจุบันโลกจะหมุนนำด้วยหลักวิทยาศาสตร์ แต่ความกลัวในสิ่งเหนือธรรมชาติยังคงมีในสังคม ส่งผลให้เกิดการสร้างเรื่องราวใหม่เพื่อเป็นบทเรียนเตือนใจให้ความปลอดภัยในสังคม เราจึงยังเห็นเรื่องสยองขวัญประจำเมืองอย่าง ‘Urban legend’ ที่ปรับตัวเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยอยู่เสมอ Kuchisake-onna (หญิงสาวปากฉีก) – ญี่ปุ่นอย่าคุยกับคนแปลกหน้า ถ้าไม่อยากเจอพี่สาวปากฉีก ประเทศญี่ปุ่นถือเป็นหนึ่งในแหล่งรวมเรื่องสยองขวัญ แต่หากพูดถึงเรื่องราวที่โด่งดังที่สุดและพบได้ในหลายเมืองคงหนีไม่พ้น ‘Kuchisake-onna’ ยามโพล้เพล้ในที่เปลี่ยว หญิงปริศนามักจะปรากฏตัวโดยสวมหน้ากากหรือผ้าปิดปากไว้ และถามผู้โชคร้ายที่เดินผ่านว่า ‘ฉันสวยไหม’ หากตอบว่า ‘ใช่’ เธอจะถอดหน้ากากออก เผยให้เห็นปากที่ฉีกขาด แล้วถามคำถามเดิมอีกครั้ง ถ้าตอบว่า ‘ไม่’ เธอจะฆ่าคนคนนั้นทันที แต่ถ้าตอบว่า ‘ใช่’ เธอจะใช้กรรไกรตัดปากของผู้ตอบให้เป็นเหมือนเธอ แม้ฟังดูสยองขวัญ แต่หญิงสาวปากฉีกมักปรากฏตัวเฉพาะเวลาโพล้เพล้หรือตอนกลางคืนเท่านั้น เป้าประสงค์ที่แท้จริงคือการเตือนใจให้ระมัดระวังในการเผชิญหน้ากับคนแปลกหน้า โดยเฉพาะเด็กที่ควรรีบกลับบ้าน ไม่เถลไถลหรือคุยกับคนที่ไม่รู้จัก The Hookman (ชายมือตะขอ) – มิชิแกน, สหรัฐอเมริกาเตือนใจคู่รักที่มักชอบสนุกกันในที่เปลี่ยว สหรัฐอเมริกามีภูมิประเทศที่กว้างใหญ่ ทำให้ตำนานประจำเมืองมีความหลากหลายต่างออกไป แต่เรื่องราวของ ‘The Hookman’ จากรัฐมิชิแกนยังคงร่วมสมัยตั้งแต่อดีตยุค 60 […]

Neon People วัฒนธรรมการทำงานหนักที่สะท้อนความโดดเดี่ยวของผู้คน

เซตภาพนี้เป็นเซตภาพที่ว่าด้วยเรื่องราวของผู้คนที่ใช้ชีวิตใต้แสงนีออนในยามค่ำคืนของเมืองใหญ่ มวลบรรยากาศของความโดดเดี่ยวสะท้อนภาพที่ตรงไปตรงมา แต่มากไปด้วยความยากลำบากของผู้คนที่ต้องทำงานในช่วงเวลาที่เรามักมองข้ามไป ผลลัพธ์คือพวกเขาบางคนดูเหมือนเป็นเหยื่อ ถูกทรมานโบยตีโดยภาระในชีวิตที่มากเกินไป จะด้วยความเหนื่อยล้าหรือความสับสนในสิ่งที่ต้องสูญเสียเพื่อความสำเร็จ คำตอบเหล่านั้นคงมีเพียงคนในภาพที่ตอบได้ถึงเหตุผลที่ต้องลืมตาตื่นในยามที่คนอื่นนอนหลับ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Spacebar ZINE ร้านสิ่งพิมพ์อิสระที่รวบรวมซีนจากทั่วโลก และอยากเป็นพื้นที่ทดลองให้นักทำซีน

ตามประสาคนที่ชอบบันทึกความรู้สึกตัวเองลงไดอารี ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เป็นช่วงที่บันทึกของเรามีวันที่ยิ้มแฉ่งและหน้าบูดบึ้งผสมกันไป แต่จำได้ว่าวันที่เราไปเยือน Spacebar ZINE ร้านสิ่งพิมพ์อิสระเล็กๆ ของ วิว-วิมลพร รัชตกนก และ ภูภู่-วิศรุต วิสิทธิ์ นั้นเป็นวันที่เราเขียนหน้ายิ้มลงบนกระดาษ อากาศดีนั่นก็หนึ่งเหตุผล เพราะตอนที่ก้าวเข้าร้านฝนกำลังหยุดตก อุณหภูมิเย็นได้ที่ แถมในร้านยังมีกระจกที่มองออกไปเห็นสีเขียวของต้นไม้ด้านนอกที่กำลังเอนไหวไปตามแรงลม อีกหนึ่งเหตุผลคือการได้นั่งคุยกับวิว ผู้เปิดโลกแห่งสิ่งพิมพ์อิสระให้เราเห็นว่า ซีนนั้นสนุก สดใหม่ และเป็นอะไรมากกว่าที่เราเคยคุ้น แน่นอนว่าถ้าหากเอ่ยถามคนในวงการซีนเมืองไทย วิวและ Spacebar Design Studio น่าจะเป็นชื่อที่ใครหลายคนคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่การได้มาที่ Spacebar ZINE แห่งใหม่นี้เป็นเหมือนการก้าวเข้ามาสู่บ้านของวิวและภูภู่ที่เต็มไปด้วยสิ่งที่พวกเขาหลงใหล ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์คัดสรรจากหลายประเทศทั่วโลก ไปจนถึงการเป็นพื้นที่ให้นักทำซีนหน้าใหม่เข้ามาทดลองทำซีนของตัวเองในหนึ่งวัน ตลอดบทสนทนา เรายังเห็นพลังของคนทำสิ่งพิมพ์ในแววตาของวิวเต็มเปี่ยม สิ่งนี้ยืนยันประโยคหนึ่งที่เราได้ยินคนพูดกันมากมาย Print is not dead, but boring print will. หญิงสาวที่โตมากับซีน “เราเป็นคนชอบงานเขียน งานวาด และงานภาพถ่ายอยู่แล้ว บังเอิญว่าเราเติบโตมากับสำนักพิมพ์ a book เคยทำงานในเครือ daypoets […]

ธีสิส ‘NIMBY_TH : เปิดบ้านในฝันฉันอยู่ใต้น้ำ’ จะเป็นอย่างไรถ้า ‘กรุงเทพฯ’ จมน้ำเร็วกว่าที่เราคาดคิด

“กรุงเทพฯ อาจกลายเป็นเมืองจมน้ำถาวรภายใน พ.ศ. 2593” หากพูดถึงน้ำท่วมกรุงเทพฯ หลายคนคงนึกถึงเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 ที่แม้เป็นวิกฤตใหญ่กินเวลาหลายเดือน แต่เมื่อน้ำลดลงจนเข้าสู่ภาวะปกติ ทุกคนก็กลับมาใช้ชีวิตปกติได้ แต่ถ้าในอนาคตไม่ใช่แบบนั้นล่ะ? เพื่อแสดงให้เห็นว่าปัญหาน้ำท่วมไม่ใช่เรื่องเล็กที่ควรถูกมองข้าม ‘เอิร์น-อรญา คุณากร’ และ ‘ไอ่ไอ๊-อนวัช มีเพียร’ นิสิตจากภาควิชาการจัดการการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกันสร้างสรรค์โปรเจกต์ธีสิสชื่อ ‘NIMBY_TH : เปิดบ้านในฝันฉันอยู่ใต้น้ำ’ ธีสิสนี้เกิดขึ้นในรูปแบบนิทรรศการที่ Slowcombo สามย่าน เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ภายใต้โจทย์ Livable Community ที่ต้องการสื่อสารปัญหาเมืองและสิ่งแวดล้อม ให้ผู้คนตระหนักว่า หากไม่ใส่ใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกที่รุนแรงและแปรปรวนตอนนี้ บ้านในฝันของใครหลายคนอาจอยู่ใต้น้ำพร้อมกับระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นก็เป็นได้ ‘Global Warming’ จุดเริ่มต้นของ NIMBY ‘NIMBY’ ในชื่อธีสิสของเอิร์นและไอ่ไอ๊ คือสิ่งที่พวกเธอทั้งสองคนหยิบยืมมาจากวลี ‘Not in my Backyard’ ที่มักถูกใช้ในการประท้วงเรื่องสิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกา เมื่อประชาชนออกมาร่วมคัดค้านโครงการพัฒนาเมืองที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบกับชุมชนอย่างการสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อสื่อว่า ‘การพัฒนาเมืองจะเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ […]

ทำดีมีรางวัล โคเปนเฮเกนไอเดียแจ๋ว แจกอาหารฟรี ให้พายเรือฟรี หากเป็นนักท่องเที่ยวที่รักษ์โลก

ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคมนี้ หากคุณไปเที่ยวที่โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก แล้วเดินทางไป The National Museum ด้วยรถโดยสารสาธารณะหรือจักรยาน คุณจะได้รับไอศกรีมฟรี หากคุณช่วยเก็บขยะในลำน้ำ คุณจะได้พายเรือคายักฟรี และหากคุณไปช่วยปลูกพืช พรวนดิน ทำสวน คุณก็จะได้กินอาหารกลางวันฟรี! นี่เป็นเพียงกิจกรรมบางส่วนเท่านั้นจากโครงการ ‘CopenPay’ โครงการจากองค์การส่งเสริมท่องเที่ยวเมืองโคเปนเฮเกน (Wonderful Copenhagen) ที่เชิญชวนให้นักเดินทางอัปเลเวลตัวเองเป็นนักเดินทางชั้นดีที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ในโครงการนี้ สถานที่ท่องเที่ยวกว่า 24 แห่งรอบเมือง จะมาพร้อมกับสิทธิพิเศษที่มอบให้กับนักท่องเที่ยวผู้ทำกิจกรรมรักษ์โลก ยกตัวอย่าง CopenHill โรงเผาขยะซึ่งมีเนินสกีด้านบน ที่ให้เวลาสกีเพิ่ม 20 นาทีแบบฟรีๆ หากเดินทางมาด้วยขนส่งสาธารณะหรือจักรยาน หรือ Copenhagen Surf School ที่มีอาหารกลางวันฟรีให้กับนักเดินทางที่ร่วมทำความสะอาดชายหาดหลังเซิร์ฟเสร็จ โดยโครงการจะดำเนินไปจนถึงวันที่ 11 สิงหาคมนี้ ซึ่งเป็นช่วง High Season ของการท่องเที่ยวโคเปนเฮเกน เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมมหาศาล UN Environment เคยประเมินในรายงาน ‘Green Economy’ ว่า […]

‘Footpath Zoning’ ใช้กระเบื้องจัดโซน ฟื้นฟูย่านบรรทัดทอง แก้ปัญหาความวุ่นวายบนทางเท้า

หากพูดถึงย่านที่กำลังเป็นที่นิยมในตอนนี้ คงเป็นที่ไหนไม่ได้นอกจาก ‘บรรทัดทอง’ ย่านเก่าใจกลางเมืองที่กลับมาเกิดใหม่อีกครั้งในรูปแบบของย่านสตรีทฟู้ด เดิมทีบรรทัดทองเป็นที่รู้จักในฐานะย่านขายอะไหล่รถยนต์และอุปกรณ์กีฬา แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สถานที่แห่งนี้ได้กลายมาเป็นจุดสนใจของเหล่านักกินและนักท่องเที่ยวมากมาย ถึงจะเป็นย่านป็อปขนาดไหน แต่ถ้าใครเคยไปเดินเล่นแถวนี้จะพบว่า ‘ทางเท้า’ บรรทัดทองทรุดโทรมและไม่มีการจัดการอย่างเป็นระเบียบ ตั้งแต่การรอคิวของร้านอาหารส่วนใหญ่ที่ลูกค้าต้องยืนรอหน้าร้านกีดขวางทางเท้า ไม่มีโซนสำหรับรอรถยนต์รับ-ส่งอย่างชัดเจน ปัญหาทิ้งขยะจากร้านค้า ไม่มีการจัดระบบระเบียบ ทำให้ตามมาด้วยทางเท้าที่สกปรก อีกทั้งตัวถนนบรรทัดทองเองแม้จะมีการเชื่อมกับพื้นที่สำคัญให้เดินถึงกันได้ แต่กลับไม่มีการบอกเส้นทางที่ชัดเจน ส่งผลให้หลายคนสับสน โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเดินทางไปเยือน คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอไอเดียจัดการพื้นที่ย่านบรรทัดทองใหม่ให้มีพื้นที่สำหรับผู้ใช้ทางเท้าและเป็นระเบียบมากขึ้น โดยใช้สิ่งที่หลายคนคุ้นตาอย่าง ‘แผ่นกระเบื้อง’ มาจัดสรรพื้นที่ และปรับให้ทางเท้าย่านบรรทัดทองครอบคลุมทุกการใช้งานของคนในย่าน พื้นที่สำหรับคนเดินเท้า ปัจจุบันสภาพทางเท้าในย่านบรรทัดทองยังไม่สามารถรองรับคนทุกกลุ่มได้ดีเท่าที่ควร เนื่องจากเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวางและไม่มีพื้นที่รองรับสำหรับผู้พิการ เราจึงขอกำหนดขอบเขตบนทางเท้าให้ชัดเจนด้วย ‘กระเบื้องสีเทา’ เพื่อเป็นตัวบ่งบอกว่า บริเวณนี้เป็นพื้นที่ทางเดินเท้าที่มีขนาดกว้างมากพอสำหรับคนเดินเท้า และผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้วีลแชร์  รวมไปถึงการติดตั้ง ‘Braille Block’ สำหรับผู้พิการทางสายตาที่ถูกต้องตามหลักการใช้งานตลอดทั้งเส้น เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนจะได้ใช้ทางเท้าที่สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น พื้นที่สำหรับรอคิวหน้าร้านค้า แต่การจะทำให้กระเบื้องสีเทาในข้อก่อนหน้าใช้ได้จริง จำเป็นต้องจัดการปัญหากีดขวางเส้นทางการเดินเท้าจากการรอคิวหน้าร้านค้าต่างๆ ให้ได้ก่อน เพราะหลายครั้งที่พื้นที่รองรับลูกค้าหน้าร้านไม่เพียงพอต่อจำนวนคนที่มารอ ทำให้มีคนยืนหรือนั่งออหน้าร้าน จนคนอื่นๆ สัญจรไปมาไม่สะดวก เราเลยหยิบเอากระเบื้องที่มีอยู่แล้วมาเปลี่ยนเป็น ‘กระเบื้องสีแดง’ กันไปเลย เพื่อกำหนดพื้นที่สำหรับรอคิวหน้าร้านค้า พร้อมบอกคิวผ่านตัวเลขบนกระเบื้อง เพื่อช่วยให้ลูกค้าและไรเดอร์มีพื้นที่ของตนเองชัดเจน […]

‘Low Carbon Skies by Bangkok Airways’ ส่องกลยุทธ์ลดคาร์บอนของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เพื่อมุ่งสู่สายการบินที่ยั่งยืน

การสั่งสมของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศโลกอย่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) คือตัวการที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน สภาพอากาศแปรปรวน อุณหภูมิโลกพุ่งสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อคนทุกภาคส่วน ด้วยเหตุนี้เอง หลายองค์กรจึงหันมาจริงจังกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ‘บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)’ หรือ ‘สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส’ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยโครงการ ‘Low Carbon Skies by Bangkok Airways’ ที่มาพร้อมกลยุทธ์ลดการปล่อยคาร์บอนในการดำเนินธุรกิจทั้งระบบ การบินแต่ละครั้งต้องใช้เชื้อเพลิงจำนวนมากในการขับเคลื่อนเครื่องบิน ซึ่งโดยปกติแล้ว เชื้อเพลิงอากาศยานจะผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มี Carbon Footprint สูง เพื่อติดปีกสู่การเป็นสายการบินโลว์คาร์บอน บางกอกแอร์เวย์สจึงจับมือกับ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR มาใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน หรือ Sustainable Aviation Fuel (SAF) SAF ที่บางกอกแอร์เวย์สใช้ เป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตจากน้ำมันทำอาหารที่ใช้แล้ว หรือที่เรียกว่า UCO (Used Cooking Oil) โดย SAF […]

1 10 11 12 13 14 96

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.