ใครอยู่เขตไหน มาเช็กกัน กับที่สุดของ 10 อันดับเขตในกรุงเทพฯ

หลังจากนี้แทนที่เราจะอวดฐานะ กางไลฟ์สไตล์ให้ดูว่าใครกินหรูอยู่แพงกว่ากัน ชาวกรุงเทพฯ ลองเปลี่ยนมาบลัฟกันด้วยความน่าอยู่ของเขตที่อยู่อาศัยดีกว่าไหม เผื่อเขตไหนเขาอิจฉาจะได้ทำแบบเขตเราบ้าง แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าเขตไหนน่าอยู่ ปัจจัยหลักๆ ที่ส่งเสริมเขตนั้นให้ผู้อยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี วัดกันตั้งแต่ความเพียงพอของสวนสาธารณะ อากาศสะอาดแค่ไหน รถเมล์กี่สายวิ่งผ่าน โรงเรียนมีจำนวนสอดคล้องกับนักเรียนหรือเปล่า ไปจนถึงเรื่องขยะ น้ำท่วม ฯลฯ ซึ่งครอบคลุมด้านบริการสาธารณะ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสวัสดิภาพ และด้านสิ่งแวดล้อม แม้กรุงเทพฯ จะมีถึง 50 เขต แต่เขตที่ได้คะแนนภาพรวมเขตน่าอยู่ในอันดับสูงๆ หรือเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปจากคะแนนทั้งหมด 50 คะแนน นับแล้วมีเพียง 27 เขตเท่านั้น ยิ่งถ้าไปดูเขตที่ได้คะแนนเกิน 80 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ขอบอกว่าไม่มีสักเขตเลย เขตไหนน่าอยู่ต้องสะดวก สะอาด ปลอดภัยไร้กังวล ก่อนอื่นเรามาดูกันว่า เกณฑ์การให้คะแนนความน่าอยู่ของแต่ละเขตมีที่มาจากอะไรบ้าง Bangkok Index คือข้อมูลเพื่อดูว่าแต่ละเขตน่าอยู่มากน้อยแค่ไหน มีปัญหาด้านใดบ้าง โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน แต่ละด้านประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่ 1) ด้านบริการสาธารณะ ประกอบด้วย […]

ออกไปมองฟ้ากว้างยามค่ำคืน มีเรื่องเครียดอะไรก็ปล่อยให้ลอยไปกับดวงดาวและท้องฟ้าตอนมืดมิด

เวลาเครียดๆ ทุกคนทำอะไรกัน เล่นเกม? ฟังเพลง? หรือจะลองออกจากห้องไปหยุดยืนมองผืนฟ้ายามค่ำคืนบ้างดี เรารู้กันอยู่แล้วว่า พื้นที่สีเขียว พื้นที่โล่งกว้าง หรือแม้แต่ท้องฟ้าแจ่มใสนั้นช่วยให้สภาพจิตใจของเราดีขึ้น แต่ไม่ใช่แค่ท้องฟ้าสดใสในช่วงกลางวันเท่านั้นที่ส่งผลดีต่อจิตใจของเรา เพราะที่จริงแล้วท้องฟ้าในช่วงกลางคืนเองก็มีส่วนช่วยฟื้นฟูให้สภาพจิตใจดีขึ้นได้ด้วยเช่นกัน โฟกัสที่ดวงดาวแทนความเครียดที่มี มีการศึกษาหนึ่งในปี 2564 ที่เผยแพร่ใน Journal of Destination Marketing & Management พบว่า การดูดาวเป็นกิจกรรมที่ช่วยบรรเทาความเครียดได้ แถมยังมีส่วนช่วยฝึกสมาธิ อีกทั้งยังเป็นวิธีที่ดีต่อสุขภาพจิตในการจดจ่อกับช่วงเวลาปัจจุบัน เพราะความคิดและความสนใจในเวลานั้นจะมุ่งไปยังดวงดาว ทำให้เราดื่มด่ำกับภาพตรงหน้าอย่างเต็มที่ สนใจความสวยงามและความกว้างใหญ่ไพศาลของท้องฟ้า มากกว่าใช้เวลาไปกับการวิตกกังวลหรือสนใจกับสิ่งที่คิดวนเวียนอยู่ในจิตใจ ไม่ใช่แค่เพิ่มความสงบทางจิตใจเท่านั้น แต่การดูดาวยังเป็นวิธีการที่ช่วยให้ออกห่างแสงจากจอ และไปสัมผัสกับแสงจากธรรมชาติแทน ช่วยให้ร่างกายผลิตเมลาโทนินเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยส่งเสริมการนอนหลับที่ดีด้วย ท้องฟ้าไม่มีดาวก็ใช้วิธี Skychology แทน จะให้ไปมองดวงดาว แต่ปัญหาใหญ่ของคนเมืองนอกเหนือจากการไม่มีเวลามองฟ้าแล้ว พอเข้าสู่ช่วงกลางคืน มลภาวะทางแสงในเมืองยังรบกวนจนทำให้การดูดาวกลายเป็นเรื่องยาก ถึงอย่างนั้น การจะลดความเครียดไม่จำเป็นต้องดูดาวอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังมีแนวคิด Skychology ที่จะช่วยให้จิตใจสงบได้เหมือนกัน Skychology เป็นแนวคิดและสาขาวิชาที่สร้างขึ้นโดย Paul Conway นักจิตวิทยาที่ทำการศึกษาว่า การมองขึ้นไปบนท้องฟ้าสามารถเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพจิตของเรา และยังเป็นการทำสมาธิในทางหนึ่ง เพราะช่วยให้เกิดความรู้สึกสงบ ลดความเครียดและความวิตกกังวลได้ […]

‘กลิ่นฉี่ในเมือง’ มลภาวะทางกลิ่นในกรุงเทพฯ ที่ทำให้หลายพื้นที่ไม่น่าใช้งาน

เคยไหม เวลาเดินไปตามตรอกซอกซอยต่างๆ บ้านบางหลังจะแขวนป้ายหรือไวนิลไว้หน้าบ้านทำนองว่า ‘ห้ามฉี่’ ถึงจะดูเป็นเรื่องตลก แต่ปัญหาเหล่านี้กลับสร้างความกวนใจให้เจ้าของบ้านมากๆ รวมถึงคนที่เดินผ่านไปผ่านมาก็ต้องคอยรับผลกระทบจากมลภาวะทางกลิ่นไปด้วย การติดป้ายอาจช่วยได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักเป็นการแก้ปัญหาของประชาชนและเอกชน ส่วนพื้นที่สาธารณะกลับไม่ค่อยเห็นการห้ามในลักษณะนี้เท่าไหร่ ทั้งที่ก็เป็นพื้นที่คอยรองรับปริมาณฉี่ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเสาไฟ พื้นทางเท้า หรือต้นไม้ ยิ่งเฉพาะบริเวณใต้ทางด่วนที่อับสายตาผู้คน ส่งผลให้บรรยากาศโดยรอบไม่น่าอภิรมย์เอาเสียเลย กลิ่นฉี่ทำลายทั้งบรรยากาศและโครงสร้างต่างๆ ทั้งๆ ที่กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีคนพลุกพล่าน ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวหรือผู้อยู่อาศัย แต่ในหลายๆ พื้นที่ที่เดินเท้าได้กลับมีกลิ่นไม่พึงประสงค์อย่างกลิ่นฉี่หมักหมม ส่งกลิ่นโชยออกมาให้ต้องรีบจ้ำอ้าวหนี และหากบริเวณไหนที่มีกลิ่นอยู่แล้ว ก็ดูเหมือนว่าจะยิ่งดึงดูดให้คนมาฉี่เพิ่ม กลายเป็นพื้นที่สำหรับรองรับของเสียไปโดยปริยาย ส่งผลให้หลายๆ เส้นทางไม่น่าใช้งาน มากไปกว่าเรื่องของกลิ่นฉุน หลายคนอาจนึกไม่ถึงว่า ฉี่ยังสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่โดยรอบ และเป็นการทำลายทรัพย์สินทั้งของสาธารณะและส่วนตัว เพราะในฉี่ของมนุษย์มียูเรียซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดที่ทำลายทั้งคอนกรีต เหล็ก และโลหะ หากปล่อยให้เกิดการสะสมของฉี่เป็นเวลานานก็อาจส่งผลต่อโครงสร้าง ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นๆ เสียหาย เหตุผลของคนเลือกฉี่ข้างทาง นอกเหนือจากความมักง่ายของคนแล้ว เป็นไปได้ว่าด้วยจำนวนห้องน้ำสาธารณะที่มีค่อนข้างน้อยและหายากในหลายๆ พื้นที่ จึงทำให้คนเลือกปลดปล่อยของเหลวส่งกลิ่นตามพื้นที่ข้างทางมากกว่า หรือต่อให้เป็นห้องน้ำกึ่งสาธารณะที่เรามองว่ามีจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วไปในเมือง เช่น ในห้างสรรพสินค้า ปั๊มน้ำมัน หรือสวนสาธารณะ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องเวลาเปิด-ปิด ที่ไม่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะคนที่ทำงานเป็นกะ หรือทำงานทั้งวันทั้งคืนอย่างแท็กซี่ วินมอเตอร์ไซค์ […]

เปิดมุมมองงานดีไซน์ไปกับ ‘วัสดุตกแต่ง’ จาก COTTO งานสถาปนิก’68 และ COTTO LiFE ดอนเมือง 29 เมษายน – 4 พฤษภาคม 2568

เรามักเห็นการออกแบบใหม่ๆ จาก ‘COTTO’ แบรนด์และผู้นำอุตสาหกรรมกระเบื้อง ก๊อกน้ำ และสุขภัณฑ์ของไทยอยู่เสมอในงานจัดแสดงและอีเวนต์ต่างๆ ภายใต้แนวคิดการพัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นฟังก์ชันการใช้งาน คุณภาพ หรือดีไซน์หรูหรามีระดับ  ปีนี้ก็เช่นกัน COTTO ได้นำสินค้าคุณภาพดีมาจัดแสดงที่ ‘สถาปนิก’68 : งานแสดงเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างใหญ่ที่สุดในอาเซียน ครั้งที่ 37’ ภายใต้แนวคิด ‘Reimagine Living Refinement’ ที่อยากให้นักออกแบบและผู้ที่สนใจมองไปยังจุดเริ่มต้นของการออกแบบ เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สมบูรณ์แบบ ทั้งด้านรูปลักษณ์ การใช้งาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความพิเศษคือ COTTO เปิดตัวไลน์วัสดุตกแต่ง (Decorative Materials) เพื่อเป็นการยกระดับและแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าอีกขั้นของแบรนด์ จากเดิมที่นำเสนอเพียงกระเบื้องและสุขภัณฑ์ ก็มีการเพิ่มเติมส่วนวัสดุตกแต่งระดับไฮเอนด์ ที่มีจุดยืนเป็นอุตสาหกรรมรักษ์โลกเข้ามาอีกด้วย ภายในงานสถาปนิก’68 ทุกคนจะได้พบกับสินค้าไฮไลต์ทั้ง COTTO The Surface และ COTTO Bathroom ภายใต้การออกแบบบูทในลักษณะสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ที่สื่อถึงการเชื่อมต่อทุกพื้นที่ผ่านหลากหลายมุมมองใหม่ในทุกมิติแบบรอบด้าน ขณะเดียวกัน ทางแบรนด์ยังมีอีกหนึ่งงานแสดงที่จัดขึ้นพร้อมกันที่โชว์รูม ‘COTTO LiFE ดอนเมือง’ ภายใต้คอนเซปต์เดียวกันให้เป็นอีกตัวเลือกไปเยี่ยมเยียน สำหรับ COTTO […]

ตามแม่มาวัดยังไงไม่ให้เบื่อ ออกแบบพื้นที่ภายในวัด ให้โอบรับคนรุ่นใหม่ ใกล้ชิดศาสนามากขึ้น

อีกหนึ่งปัญหาของลูกหลานชาวพุทธที่ติดสอยห้อยตามที่บ้านไปทำบุญที่วัดทุกวันสำคัญทางศาสนาคือ การไม่รู้จะเอาตัวเองไปแปะไว้ตรงไหนของวัดดี เพราะไม่ว่าจะไปบริเวณใดก็รู้สึกเกร็งๆ เหมือนไม่ใช่ที่ของเรา คอลัมน์ Urban Sketch ขออาสาออกแบบพื้นที่ภายในวัดให้เฟรนด์ลีและโอบรับกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น เพื่อทำให้การไปวัดของศาสนิกชนไม่ได้จำกัดอยู่แค่การต้องไปไหว้พระหรือทำสังฆทาน แต่เป็นการที่เราได้ใช้เวลาภายในวัดอย่างสบายใจ ไม่รู้สึกแปลกแยก แบ่งโซนพื้นที่นั่งรอออกจากพื้นที่ทำบุญ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกทำอะไรไม่ถูกเวลาไปวัดคือ การต้องเจอพระพุทธรูปวางเรียงรายและพระประจำวัด โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ไม่รู้ว่าควรไหว้ นั่งนิ่งๆ หลบตา หรือทำกิจกรรมอย่างอื่นอย่างเล่นโทรศัพท์ อ่านการ์ตูนไปด้วยได้หรือเปล่า การแบ่งสัดส่วนพื้นที่ทำบุญออกมาเป็นจุดนั่งรอที่เหมาะสม โดยมีพระประธานเป็นศูนย์กลาง อาจทำให้ใครหลายคนรู้สึกว่าการเข้าวัดไม่ใช่เรื่องยากเท่าเดิม เพราะหลังจากไหว้พระเสร็จก็ขอปลีกตัวไปทำกิจกรรมที่ตัวเองสนใจในอีกพื้นที่หนึ่ง คาเฟ่เล็กๆ สำหรับนั่งรอและเติมพลัง การนั่งรอเฉยๆ ทำให้เวลาผ่านไปอย่างเชื่องช้า การมีคาเฟ่คอยให้บริการเครื่องดื่มและของหวานเล็กๆ น้อยๆ ให้พอชุบชูใจ น่าจะทำให้เวลาผ่านไปไวขึ้นอีกหน่อย  บริการปลั๊กและ Wi-Fi สำหรับทำงาน ต่อให้ไปวัดวันหยุด แต่ใช่ว่าหนุ่มสาววัยทำงานจะไม่ต้องทำงานสักหน่อย ทว่าปัญหาของการเปลี่ยนจาก Work from Home มาเป็น Work from Temple คือ การไม่มีพื้นที่ทำงานที่มีปลั๊กและ Wi-Fi ให้ใช้โดยไม่ต้องรู้สึกผิดเพราะต้องใช้ไฟวัด จะดีกว่าไหมถ้าเราบริจาคเงินให้วัดเพื่อแลกกับการใช้ไฟฟ้าและ Wi-Fi ในช่วงเวลาที่ต้องการ นอกจากจะได้ทำงานแล้วยังไม่รู้สึกผิดด้วย เข้าคลาสทำกิจกรรม ไหนๆ […]

เรียนรู้เหตุการณ์แผ่นดินไหวกรุงเทพฯ รับมือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกะทันหันอย่างไรบ้าง

อาคารสั่นคลอน อาการวิงเวียน ที่พักอาศัยเสียหาย ทั้งหมดนี้เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ แม้จุดเกิดเหตุจะไม่ได้เกิดขึ้นโดยตรงในประเทศไทย แต่ด้วยแรงสั่นสะเทือนที่สูงถึง 7.7 แมกนิจูด ส่งผลให้คนเมืองผู้แทบไม่เคยเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้มาก่อนรับรู้ถึงความสั่นไหว และกลายเป็นผู้ประสบภัยในเวลาเพียงไม่กี่นาที นอกเหนือจากความตื่นตระหนกตกใจแล้ว แรงสั่นสะเทือนยังสร้างความเสียหายในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ทั้งที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานที่อาจไม่ได้คำนึงถึงการเผชิญหน้ากับแผ่นดินไหวรุนแรงแบบนี้มาก่อน และด้วยความที่เป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่คนกรุงเทพฯ ต้องเจอกับแผ่นดินไหว ก่อให้เกิดความสับสนในการรับมือสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องการแจ้งเตือนล่วงหน้า วิธีการป้องกันตัวเอง ความปลอดภัยของการใช้ชีวิตในอาคาร หรือกระทั่งการใช้เส้นทางจราจรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่เคยมีใครให้ข้อมูลมาก่อนว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรหากเจอเหตุการณ์แบบนี้ คอลัมน์ Report จะพาไปสำรวจว่า ในเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน กรุงเทพฯ ต้องเจอกับปัญหาในการรับมือสถานการณ์แบบไหนบ้าง มีการจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร และประเทศไทยสามารถนำวิธีการเตรียมพร้อมป้องกันภัยจากประเทศที่ต้องเผชิญหน้ากับภัยพิบัติเหล่านี้อยู่บ่อยครั้งมาปรับใช้ได้มากน้อยแค่ไหน ปัญหาเมืองที่เกิดขึ้นในวันภัยพิบัติ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ศูนย์กลางที่เมียนมาเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นอกจากปัญหาเรื่องตึกสูง ที่อยู่อาศัย และความปลอดภัยในเมืองของกรุงเทพฯ ซึ่งเห็นได้จากโครงสร้างอาคารที่เกิดรอยแตก รอยร้าว หรือแย่ไปกว่านั้นคือ เศษโครงสร้างอาคารหลุดล่อนออกมา จนทำให้หลายคนหวาดผวาไปกับการใช้ชีวิตบนตึกสูงแล้ว สถานการณ์ในวันนั้นยังแสดงให้เห็นถึงปัญหาระบบขนส่งในเมือง รวมถึงพื้นที่อพยพที่ไม่สามารถรองรับชาวกรุงได้ เสียงบ่นอื้ออึงของคนกรุงหลังสถานการณ์แผ่นดินไหวคือ เรื่องถนนกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยรถยนต์ รถเมล์ รถจักรยานยนต์ที่แน่นิ่ง ไม่ขยับ รถเคลื่อนตัวได้เพียง 13 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และแออัดยาวนานขนาดที่แผ่นดินไหวผ่านไปแล้ว 8 ชั่วโมง การจราจรก็ยังไม่กลับสู่สภาวะปกติ รวมถึงเหล่าขนส่งสาธารณะระบบรางอย่าง […]

Emergency Go Bag ออกแบบกระเป๋าฉุกเฉินขนาดกะทัดรัดแบบไทยๆ ไว้ใช้งานในช่วงฉุกเฉิน

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมา ทำให้คนเมืองจำนวนไม่น้อยเริ่มวางแผนหาทางหนีทีไล่เตรียมพร้อมรับเหตุการณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งหนึ่งสิ่งสำคัญในฮาวทูเอาตัวรอดคือ ‘กระเป๋าฉุกเฉิน’ ที่อัดแน่นไปด้วยไอเทมจำเป็นให้เราคว้าหมับแล้วรีบลี้ภัยทันที ด้วยเหตุนี้ คอลัมน์ Urban Sketch จึงขอออกแบบ Emergency Go Bag ในแบบฉบับของชาว Urban Creature ให้ไว้เป็นไอเดียของทุกคน นอกจากสิ่งของที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังมีไอเทมอื่นๆ ช่วยชุบชูใจผู้พกพาด้วย อาหารและขนม กองทัพต้องเดินด้วยท้อง ยิ่งถ้าอ่อนเพลียยิ่งต้องมีของกินไว้รองท้องและเติมพลังในยามฉุกเฉิน ยกตัวอย่าง ลูกอม ที่มีน้ำตาลช่วยคลายเครียด ขนมปังกรอบ เนื่องจากเก็บไว้ได้นานและให้พลังงานสูง รวมถึงอาหารแห้งเล็กๆ น้อยๆ ไว้ประทังชีวิตหากสถานการณ์ย่ำแย่ลง น้ำดื่มขนาด 600 มิลลิลิตร นอกจากอาหาร น้ำก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย เหตุผลที่ใช้ปริมาณ 600 มิลลิลิตร เพราะเป็นน้ำหนักที่รวมกับกระเป๋าแล้วยังไม่หนักจนเกินไป เอกสารสำคัญ (สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน) พกไว้ยืนยันตัวตนหรือที่อยู่หากบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านสูญหาย ยาสามัญประจำบ้าน หยูกยาพื้นฐานเป็นของจำเป็น เช่น ยาแก้ปวด สเปรย์แอลกอฮอล์ ปลาสเตอร์ปิดแผล หากเจ็บป่วยจะได้ใช้ปฐมพยาบาลทันท่วงที ยาดม ขาดไม่ได้กับปัจจัยที่ 5 ของคนไทย ใช้ทั้งแก้วิงเวียน […]

ชวนปั่นจักรยาน 3 เส้นทางกลางเมือง ที่กลุ่มคนปั่นจักรยาน BUCA แนะนำ

อยากชมเมืองแบบชิลๆ ซึมซับบรรยากาศข้างทาง แต่จะเดินก็เหนื่อยเกินไป จะนั่งรถก็ไม่ได้ฟีลอีก งั้นลองปั่นจักรยานดูสิ แม้ว่าการปั่นจักรยานอาจยังไม่ใช่ตัวเลือกเดินทางที่นิยมในกรุงเทพฯ แต่นี่คือวิธีที่จะทำให้เราชมเมืองได้โดยไม่ต้องเดินจนเมื่อย ไม่ต้องพบเจอรถติด และยังปั่นเข้าตรอกซอกซอยไปชมวิถีชีวิตที่เราอาจไม่มีโอกาสเห็นบนท้องถนน คอลัมน์ Urban’s Pick อยากชวนทุกคนออกไปปั่นจักรยานผ่าน 3 เส้นทางกลางกรุงที่จะใช้ผ่อนคลายก็ดี จะปั่นเพื่อเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าก็ทำได้ แนะนำโดยภาคีจักรยานเมือง กรุงเทพฯ หรือ BUCA แต่ถ้าใครไม่มีจักรยานเป็นของตัวเอง จะถือโอกาสนี้ลองใช้งาน Bike Sharing ก็ได้นะ 01 | ปั่นทะลุซอย ชมชุมชนเจริญกรุง เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่ BUCA เคยใช้ปั่นในงาน Bike Bus และพบว่าสะดวกที่สุด โดยเริ่มเส้นทางได้ตั้งแต่ลงมาจาก BTS สถานีสะพานตากสิน ผ่านสถานที่ท่องเที่ยวและย่านน่าสนใจ ตั้งแต่สี่พระยา ตลาดน้อย ทรงวาด สำเพ็ง จนออกมาที่พาหุรัด ปากคลองตลาด และสิ้นสุดที่ MRT สถานีสนามไชย เส้นทางนี้เป็นเส้นทางจักรยานที่นับว่าปลอดภัยมากพอสมควร เพราะเส้นทางส่วนใหญ่จะเป็นการปั่นผ่านซอยเล็กๆ ซึ่งไม่ค่อยมีรถยนต์ผ่านได้ มีเพียงแค่บางจุดเท่านั้นที่ต้องออกมาปั่นบนถนนเจริญกรุง ข้อควรระวัง : เนื่องจากถนนทรงวาดเป็นถนนเดินรถทางเดียว […]

‘ตลาดพลูดูดี’ กลุ่มนักพัฒนาย่านรุ่นใหญ่หัวใจตลาดพลูที่รวมตัวกันส่งต่อประวัติศาสตร์และสิ่งดีๆ ให้ทุกคนได้ดู

หากเอ่ยถึง ‘ตลาดพลู’ สิ่งแรกที่หลายคนนึกถึงคงจะเป็นอาหารคาวหวานท้องถิ่นรสเลิศที่โดดเด่นไม่แพ้ที่ใด ไม่ว่าจะเป็นกุยช่าย ขนมเบื้อง ขนมชั้น ขนมผักกาด เปาะเปี๊ยะสด หรือข้าวต้มแห้ง เหล่านี้เป็นอาหารขึ้นชื่อที่ไม่ว่าใครก็ตามที่แวะมาเยือนตลาดพลูมักจะมาลองชิมและอุดหนุนเป็นของฝากติดไม้ติดมือกลับบ้านไปเสมอ แต่ตลาดพลูไม่ได้มีเพียงอาหารที่เป็นตัวชูโรงความโดดเด่นของย่านเท่านั้น เพราะที่นี่ยังมีประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวตลาดพลู ที่คนในย่านอยากส่งต่อเรื่องราวให้คนนอกพื้นที่ได้มาทำความรู้จักและสัมผัสพื้นที่แห่งนี้มากขึ้น ด้วยเสน่ห์ความเป็นย่านชุมชนของตลาดพลู ทำให้ที่นี่ถูกขับเคลื่อนด้วยวิถีชีวิตที่มีอยู่ จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวติดท็อปอันดับต้นๆ ที่ไม่ว่าจะคนไทยหรือชาวต่างชาติต่างอยากแวะเวียนมาเยี่ยมเยียน และถึงแม้กระแสตอบรับจะดีมากก็ตาม แต่ชาวตลาดพลูก็ไม่ได้ปรับเปลี่ยนย่านเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ยังคงอนุรักษ์ความดั้งเดิมของพื้นที่นี้เอาไว้ และตั้งใจจะปรับภาพจำของย่านด้วยการส่งเสริมให้ตลาดพลูเป็นมากกว่าสถานที่ท่องเที่ยวตามกระแสชั่วคราว ด้วยการเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวชุมชนเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน จากจุดยืนที่มุ่งมั่นของชาวตลาดพลูที่จะพัฒนาย่าน คอลัมน์ คนขับเคลื่อนเมือง ครั้งนี้ ขอพาทุกคนมารู้จักกับ ‘ต้น-ชลิดา ทัฬหะกาญจนากุล’, ‘พี-พีรวัฒน์ บูรณพงศ์’, ‘จิ๋ม-อรพิณ วิไลจิตร’ และ ‘นก-สมพร เตมีพัฒนพงษา’ สี่รุ่นเก๋าหัวใจตลาดพลูที่ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มในนาม ‘ตลาดพลูดูดี’ กับ 8 ปีที่ขับเคลื่อนย่านตลาดพลูให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง และอยากให้ทุกคนรู้ว่าย่านที่อยู่ของพวกเขานั้นมีอะไรดีๆ ที่รอให้มาดูอีกมากมาย การรวมตัวของ 4 รุ่นใหญ่หัวใจนักพัฒนาตลาดพลู “เราทุกคนในกลุ่มผูกพันกับตลาดพลูมาก อย่างเราเองเกิดที่นี่ โตที่นี่ ทำงานที่นี่ เห็นทุกความเปลี่ยนแปลงของตลาดพลูมาตลอดชีวิต อยากทำบางอย่างที่ช่วยแชร์ให้ทุกคนรู้จักที่นี่จากข้อมูลของคนที่อาศัยอยู่จริง […]

‘พี่ๆ ขอรูตเดินฉบับคนไม่ชอบเดินหน่อย’ รวม 5 รูตจากคนไม่เดิน ที่เดินแล้วไม่เหนื่อยอย่างที่คิด

ไม่ชอบเดินแต่อยากเดิน ควรเริ่มจากตรงไหนดี จริงๆ อาจไม่ต้องคิดเยอะหรือต้องตั้งเป้าหมายให้ยาก เพราะการเดินไม่ใช่เรื่องยากเท่าที่คิด ขอเพียงแค่ในระหว่างทางมีจุดให้แวะบ้าง ไม่ว่าจะเป็นของกิน ช้อปปิง หรือเข้าไปในโซนที่มีแอร์เย็นๆ ปะทะหน้า แค่นี้ก็ทำให้การเดินกลายเป็นเรื่องสนุกขึ้นมาแล้ว และแม้ว่าชาว Urban Creature ส่วนใหญ่จะเป็นสมาชิกชมรมนักเดิน แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีคนที่ไม่ชอบเดินสักหน่อย คอลัมน์ Urban’s Pick วันนี้เลยขอนำ 5 รูตที่คนไม่ชอบเดินมาฝากทุกคนกัน เชื่อเถอะว่าถ้าเราเดินได้ ทุกคนก็ต้องเดินได้ ไม่แน่นะ บางรูตในนี้หลายคนอาจใช้เป็นรูตเดินประจำอยู่แล้วแบบไม่รู้ตัว 1) เดินสั้นๆ แบบเท้าไม่แตะพื้น (เริ่ม BTS สถานีสยาม จบ BTS สถานีสนามกีฬาฯ) รูตเดินขั้นเบสิกของคนมาเที่ยวสยามที่แวะเติมพลังระหว่างทางด้วยแอร์เย็นๆ จากทั้ง Siam Paragon ต่อไปยัง Siam Center ทะลุ Siam Discovery ออกทางเชื่อมแยกปทุมวัน แวะเข้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ก่อนเดินทางกลับด้วย BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ทั้งหมดนี้ระยะทางเพียง 640 เมตรเท่านั้น เดินกำลังดี […]

ทางเท้ากรุงเทพฯ ทำไมถึงไม่มีทางเดินดีๆ ให้ดื่มด่ำบรรยากาศเมือง

แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการปรับปรุงทางเท้าใหม่ในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ รวมถึงยังมีการปรับทัศนียภาพทางเท้าบางจุดที่เคยถูกบุกรุกพื้นที่ให้กลับมาเดินได้อีกครั้ง แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ยังไม่รู้สึกว่ากรุงเทพฯ น่าเดินเล่นชิลๆ อยู่ดี บางครั้งปัญหาอาจไม่ได้เกิดจากสภาพทางเท้าอย่างเดียว เพราะต่อให้ทางเดินเรียบขนาดไหน แต่ถ้ายังต้องคอยระแวงหลบสิ่งกีดขวางอยู่ประจำก็คงไม่สบอารมณ์นัก ยังไม่นับบรรยากาศรอบข้างที่ไม่เอื้อให้รู้สึกอยากเดินเสพบรรยากาศไปเรื่อยๆ ทั้งที่กรุงเทพฯ ติดอันดับเมืองท่องเที่ยวระดับโลกแท้ๆ ทำไมเราถึงเดินเดตกันแบบเมืองปารีสหรือกรุงโซลไม่ได้ คอลัมน์ Curiocity ขอชวนมาเดินส่องหาสาเหตุกันว่า ทำไมเราถึงไม่สามารถเอนจอยกับการเดินทางเท้ากรุงเทพฯ ได้เสียที ปรับปรุงสภาพแต่ไม่ขยายขนาด ก็ไม่อาจทำให้ทางเท้าน่าเดินได้ ปัจจุบัน กทม.ทยอยปรับปรุงทางเท้าในกรุงเทพฯ หลายจุดทั่วเมืองตามโครงการปรับปรุงทางเท้า 1,000 กิโลเมตร แต่เนื่องจากระยะเวลาที่มีจำกัดและปัญหาอื่นที่ยังรุมเร้า คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ในกรุงเทพฯ ยังมีทางเท้าอีกหลายจุดที่สภาพไม่ดีนัก โดยเฉพาะบริเวณชานเมืองและพื้นที่ที่ไกลออกไป ภาพจำของทางเท้าที่ขรุขระและสมบุกสมบันจึงยังไม่ถูกลบหายไปง่ายๆ และต่อให้เป็นทางเท้าที่ปรับปรุงแล้วก็ยังไม่วายมี ‘อุปสรรค’ มากีดขวางให้ผู้คนไม่สามารถเดินตรงๆ สบายๆ ยกตัวอย่าง เสาไฟฟ้า สะพานลอย ต้นไม้ที่ขนาดใหญ่เกินครึ่งของทางเท้า กระทั่งอากาศร้อนจัดเพราะไม่มีร่มเงาใดๆ ช่วยบดบังแสงแดด แม้บางพื้นที่มีตึกแถวเป็นร่มเงา ก็ดันมีน้ำไม่พึงประสงค์ที่หยดลงมาจากตึกแถวจนต้องเดินหลบกันจ้าละหวั่น แต่ที่หนักสุดคงเป็นขนาดทางเท้าที่ไม่สามารถขยับขยายไปมากกว่านี้ได้อีกแล้ว เนื่องจากการปรับปรุงทางเท้าที่กล่าวมามักเป็นการ ‘ปรับปรุง’ พื้นผิวทางเท้าอย่างเดียว ไม่ได้ขยายทางเดินให้กว้างขึ้นแต่อย่างใด มากไปกว่านั้น บางพื้นที่ยังปาดทางเท้าให้กลายเป็นถนนเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นพื้นที่ที่เคยประสบปัญหาทางเท้าแคบจึงไม่ได้รับการแก้ไข ส่วนพื้นที่ที่เคยมีทางเท้ากว้างก็อาจจะแคบลงไปเรื่อยๆ ซ้ำร้ายถนนบางเส้นไม่มีทางเท้าให้เดินเลยแม้แต่เซนติเมตรเดียว อยากปรับปรุงเหมือนกัน แต่เหมือนหน่วยงานอื่นจะไม่เข้าใจ ข้อจำกัดหลักที่ทำให้ทางเท้ายังมีอุปสรรคจนไม่สามารถเดินผ่านได้สะดวก […]

ออกกำลังกายด้วยการเดินเป็นประจำ แค่เดินระยะสั้นๆ แถวบ้านไม่กี่นาที ก็ช่วยให้สุขภาพจิตดีได้

หลายคนอาจหลงลืมไปว่า การเดินคือการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุด ใช้ทรัพยากรน้อย และทำได้เลย สำหรับใครที่ไม่ค่อยมีเวลาหรือกังวลว่าจะต้องหาเครื่องมืออุปกรณ์ในการออกกำลังกาย ลองให้การเดินเป็นตัวเลือกแรกดูก่อน เพราะแค่เปลี่ยนจากการนั่งมอเตอร์ไซค์เป็นการเดินเข้าซอยในระยะทางสั้นๆ เดินไปใช้บริการขนส่งสาธารณะใกล้ๆ หรือการเดินเล่นรอบๆ บ้านในเส้นทางที่คุ้นเคย เท่านี้ก็ช่วยให้เราแข็งแรงได้แล้ว ทว่ามากไปกว่าความแข็งแรงทางกายภาพ การเดินยังช่วยเสริมสร้างให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้อีกด้วย เดินวันละนิดจิตแจ่มใส แน่นอนว่าเราพอนึกออกว่าทำไมการเดินถึงช่วยให้สุขภาพกายแข็งแรงได้ แต่อาจไม่แน่ใจว่าการเดินช่วยเรื่องของสุขภาพจิตได้อย่างไร อย่างที่บอกไปว่าการเดินคือหนึ่งในการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุด ซึ่งในระหว่างที่ออกกำลังกายนั้น ร่างกายของเราจะหลั่งสาร Endorphins (เอ็นดอร์ฟิน) ที่ช่วยส่งเสริมความสุข ทำให้อารมณ์ดีออกมา รวมถึงยังช่วยคลายเครียดและบรรเทาอาการซึมเศร้า อีกทั้งการได้ขยับร่างกายยังช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียดอีกด้วย Mental Health Foundation รายงานว่า การใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติจะช่วยลดระดับภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลของเราได้ ซึ่งธรรมชาติเหล่านั้นไม่ได้หมายถึงป่า เขา หรือพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่เท่านั้น แต่การออกจากบ้านเพื่อเดินไปยังพื้นที่ส่วนกลางในชุมชน เดินไปยังร้านค้าแถวบ้าน หรือเดินไปทำกิจกรรมในที่ต่างๆ ผ่านวิวทิวทัศน์ที่ประกอบด้วยต้นไม้ดอกไม้ริมทาง หรือสวนเล็กๆ ของเพื่อนบ้าน กระทั่งพบเจอสัตว์เลี้ยงอย่างหมาแมวก็ช่วยเสริมสุขภาวะที่ดีได้ มีการศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยในหนานจิง ประเทศจีน ระบุว่า การเดินในระยะเวลานานหรือระยะทางไกลไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการช่วยส่งเสริมสุขภาพอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ถ้าเราเดินอย่างสม่ำเสมอและกลายเป็นกิจวัตรประจำวันต่างหากที่จะช่วยสร้างประโยชน์ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพทางอารมณ์ที่ดีได้มากกว่าคนที่ไม่เดิน เมืองที่สนับสนุนการเดิน = สนับสนุนสุขภาพจิตที่ดี แม้ไม่ได้เป็นการช่วยรักษาสุขภาพจิตโดยตรง แต่ถ้าจะบอกว่าเมืองที่เอื้ออำนวยต่อการเดินเป็นอีกหนึ่งทางในการสนับสนุนให้คนเมืองมีสุขภาพจิตที่ดีก็คงไม่ผิดเท่าไหร่นัก เพราะดูเหมือนว่าละแวกบ้านจะเป็นสถานที่ที่ดีและง่ายที่สุดสำหรับการเดิน นอกจากจะพาให้เราได้ลดความเครียดด้วยการออกมาเปิดหูเปิดตา สูดลมหายใจ สังเกตสิ่งรอบข้างกว้างๆ แล้ว […]

1 2 3 96

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.