EAT
พาไปรู้จัก ‘การัมมาซาล่า’ เครื่องปรุงสำคัญเบื้องหลังอาหารอินเดียย่านพาหุรัด | Hunt EP.2
นึกถึงอาหารอินเดีย คุณนึกถึงอะไร รสเผ็ดร้อนของเครื่องเทศ สีสันบนจานอาหาร หรือกลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ ที่พูดมาล้วนถูกต้อง ทว่าพระเอกที่เรานึกถึงเหล่านี้มีพระรองที่คอยส่งกลิ่นส่งรสให้เราจำได้อยู่เบื้องหลัง นั่นคือ ‘การัมมาซาล่า’ เครื่องปรุงที่เกิดจากการรวมกันของเครื่องเทศ เพื่อให้รสชาติแต่ละจานโดดเด่นออกมาตามใจเชฟ Hunt ในตอนนี้จะชวนทุกคนไปตามล่า ‘การัมมาซาล่า’ ณ ย่านพาหุรัด ย่านที่ได้รับการกล่าวขานเป็น Little India หากอาหารคือเครื่องมือแสดงวัฒนธรรมได้ชัดที่สุด การัมมาซาล่าก็จะทำให้ทุกคนรู้จัก ‘รสอินเดีย’ มากขึ้นกว่าเดิม
Devanom Farm ฟาร์มฮอปส์แรกของไทยกับหัวใจที่ยกให้เบียร์คราฟต์ | Heart EP.2
จะทำเบียร์ต้องมีฮอปส์ มีฮอปส์ก็มีเบียร์ ประโยคข้างต้นเป็นประโยคที่ไม่เกินจริงจนเกินไป เพราะฮอปส์เป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำคัญต่อการทำเบียร์ แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคมาตลอดต่อการผลิตเบียร์ไทยคือ ฮอปส์มีภาพจำว่าปลูกที่ไทยไม่ขึ้น จนการมาของ Devanom Farm ฟาร์มฮอปส์แรกในไทยที่ปลูกฮอปส์ไว้ใช้เชิงพาณิชย์ ด้วยความมุ่งมั่น สร้างสรรค์ และการนำเอาระบบสมาร์ตฟาร์มมาปรับใช้ Heart ในตอนนี้นำเสนอหัวใจของนักสร้างสรรค์ฟาร์ม ลบความเป็นไปไม่ได้ให้เกิดขึ้นจริง ใน “Devanom Farm ฟาร์มฮอปส์แรกของไทยกับหัวใจที่ยกให้เบียร์คราฟต์”
‘แนมเหนือง’ ของดีเมืองญวน เจ้าไหนอร่อยถูกปาก รสชาติถูกใจ
รอบก่อนหนักหวานกันไปแล้ว ดังนั้น Spec Sheets รอบนี้จึงเอาใจคนชอบผักกับเมนูยอดฮิต อย่าง ‘แนมเหนือง’ หรือที่คนไทยพากันเรียกว่า ‘แหนมเนือง’ จาก 3 ร้านดัง ทั้ง ‘VT แหนมเนือง’ ‘สามใบเถา’ และ ‘ตงกิง อันนัม’ มาแกะ แยก ห่อหมูร้อนๆ กินคู่กับผักสดกรอบๆ พร้อมด้วยเครื่องเคียงอีกมากมายตามแบบฉบับแนมเหนืองเวียดนามกับน้ำจิ้มสูตรพิเศษ ของแต่ละเจ้าว่ามีทีเด็ดแตกต่างกันอย่างไร
อ่อเส๊อะเก๊อะเม-กินข้าวด้วยกัน โปรเจกต์เชื่อมชาวปกาเกอะญอกับคนเมืองผ่านวัตถุดิบบนดอย
บนดอยกับในเมือง ห่างกันหลายกิโลเมตร คนปกาเกอะญอกับคนเมือง ห่างกันระยะไกล คนปกาเกอะญอเชื่อว่า ถ้าได้กินข้าวกับใครถือว่าเป็นญาติกัน “อ่อเส๊อะเก๊อะเม” แปลว่า กินข้าวด้วยกัน มา มากินข้าวด้วยกันเถอะ หิวแล้ว จั๊ม-ณัฐดนัย ตระการศุภกร แห่ง Little Farm in Big Forest หนุ่มปกาเกอะญอผู้เป็นศูนย์กลางสื่อสารวิถีชีวิตคนปกาเกอะญอด้วยวัตถุดิบในป่าใหญ่ เขาจากบ้านป่าไปทำงานการตลาดในเมืองกรุงฯ แล้วเลี้ยวกลับบ้านมาพัฒนาชุมชนที่มีของดีเป็นวัตถุดิบ แต่เติมไอเดียนิด ผสมแนวคิดการตลาดหน่อย โชว์จุดเด่นของ 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านขุนแปะ บ้านขุนแม่หยอด บ้านขุนวิน และบ้านแม่ลาย ลงบนโปรเจกต์ ‘อ่อเส๊อะเก๊อะเม-กินข้าวด้วยกัน’ ที่ส่งวัตถุดิบจากไร่หมุนเวียนในป่าใหญ่สู่โต๊ะอาหารคนเมืองโดยฝีมือของคนปกาเกอะญอ บางบ้านเก่งครีเอทีฟนำฮ่อวอ (มินต์) มาทำผงโรยข้าว บางบ้านยืนหนึ่งเรื่องพืชสมุนไพร บางบ้านมีหัวด้าน Social Enterprise สอนเด็กๆ สร้างโปรดักต์พึ่งพาตัวเอง หรือบางบ้านช่างปรับตัว จำลองไร่หมุนเวียนในสวนเล็กๆ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ซึมซับวิถีชีวิตปกาเกอะญอง่ายขึ้น มากกว่าเปิดออเดอร์จำหน่ายวัตถุดิบรสมือคนปกาเกอะญอให้คนเมือง CF โดยมีคนปกาเกอะญอขับรถไปส่งถึงหน้าบ้าน ยังเป็นการส่งต่อวิถีชีวิตของคนปกาเกอะญอให้คนเมืองได้เข้าใจมากขึ้น ผ่านโต๊ะอาหารที่ยาวจากภาคเหนือสู่ภูมิภาคอื่นๆ 01 กลับบ้านเล็กในป่าใหญ่ […]
ศิริซาลาเปา ซาลาเปาที่อร่อยด้วยรสชาติแต่อุ่นหัวใจด้วยเรื่องราวที่เล่า | Heart EP.1
หากนึกถึง ศาลเจ้าพ่อเสือ ถนนตะนาว ย่านเก่าแก่ของกรุงเทพฯ คนส่วนใหญ่อาจนึกถึงเสาชิงช้าเป็นอย่างแรก แต่สิ่งหนึ่งที่ในละแวกนั้นโดดเด่นไม่แพ้กันคือของกิน ซึ่งหากใครแวะเวียนไปมาแถบนี้ จะสังเกตเห็นร้านกะทัดรัดหน้าซอยขนาดเล็กที่ผู้คนแวะเวียนมาไม่น้อยเลย ร้านนั้นคือ ศิริซาลาเปา ร้านซาลาเปาโฮมเมด ที่มีรสโดดเด่นจากสูตรของที่บ้าน ซึ่งความน่าสนใจนอกจากรสชาติสิ่งที่ทำให้ซาลาเปาที่นี่อร่อยขึ้นเป็นเท่าตัวคือเรื่องราวของพวกเขา ที่นึกถึงชุมชนและย่านที่ตนอยู่จนออกมาเป็นแคมเปญ “ศิริเฟรนด์ ฝากซื้อฟรี” การรับฝากซื้อของในร้านแถวนั้นช่วงโควิด มาชิมบทสนทนาที่เต็มไปด้วยรสชาติและหลากรสด้วยกันในซาลาเปาที่มีไส้ในเป็นความอบอุ่นและเนื้อแป้งเป็นความใส่ใจ กับศิริซาลาเปา ชื่อฟอนต์ : maaja (หมาจ๋า) ดาวน์โหลดที่ : https://www.dogplease.com/my-font
ท้าดวล 4 ร้านชีสทาร์ต ไส้ล้นละมุนลิ้น
ช่วงนี้อยู่ดีไม่ว่าดีลุกขึ้นมาอบชีสเค้กหน้าไหม้ แต่เป็นอันต้องไหม้ทั้งชิ้น เลยถอดใจหันไปสั่ง ‘ชีสทาร์ต’ หรือมูสครีมชีสที่มาในถ้วยทาร์ต กินง่ายอร่อยทันใจ บอกเลยว่าใครเป็นแฟนตัวยงครีมชีสต้องไม่พลาด แม้กระแสจะไม่แรงเท่าก่อนหน้านี้ แต่ความนุ่มละมุนลิ้นของครีมชีสยังคงไม่จางหายไปจากลิ้น
เปิดหลังม่าน Jinta Homemade Icecream ไอศกรีมรสใหม่ที่มีแนวคิดทำไอศกรีมให้เป็นยา
ไอศกรีมของหวานรสเย็นเป็นที่โปรดปรานของใครหลายๆ คน รวมไปถึง คุณหนุ่ม–เมธวัจน์ เกียรติกีรติสกุล เจ้าของแบรนด์ “Jinta Homemade Icecream” ไอศกรีมที่เกิดจากความรักที่มีต่อลูกสาว ไม่เพียงเท่านั้นจินตะไอศกรีมยังส่งต่อความรักผ่านความสร้างสรรค์ ทำไอศกรีมให้เป็นยา หยิบจับสมุนไพร วัตถุดิบออร์แกนิกท้องถิ่นมาดัดแปลงให้เกิดรสใหม่ เช่น กระเจี๊ยบซอร์เบย์ราดน้ำปลาหวาน, ไอศกรีมข้าวจากกลุ่มชาวนาไทยอีสาน และอีกหลากรสที่ผ่านการรังสรรค์มาเพื่อคนกิน #UrbanEat #Heart #Jinta #IceCream ชื่อฟอนต์ : maaja (หมาจ๋า) ดาวน์โหลดที่ : https://www.dogplease.com/my-font
ฮานาย่า (Hanaya) ร้านอาหารญี่ปุ่นเจ้าแรกของไทย ที่เติบโตไปพร้อมคนกินนานกว่า 80 ปี
ชวนรู้จัก ฮานาย่า (Hanaya) ร้านอาหารญี่ปุ่นเจ้าแรกของไทยแห่งสี่พระยา
‘ขนไก่’ ขยะเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมอาหาร สู่ของกินทางเลือกใหม่ให้มนุษย์ในอนาคต
เมื่อประมาณ 2 ปีก่อนเราได้มีโอกาสดูหนังต่างประเทศเรื่องหนึ่งที่เล่าถึงโลกอนาคตที่กำลังเผชิญวิกฤตประชากรล้นโลก และด้วยทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด ทำให้รัฐบาลต้องออกกฎหมายและบังคับให้แต่ละครอบครัวมีลูกได้เพียงแค่คนเดียว
รีวิว ‘กุ้งดองซีอิ๊ว’ 3 ร้าน เจ้าไหนกรอบเด้งจนลิ้นสะดุ้ง!
เวลาเปิดช่องนักกินตามยูทูบ เมนูสุดป็อปบนโต๊ะอาหารคือ ‘กุ้งดองซีอิ๊ว’ กินจ๊วบจ๊าบกับกุ้งตัวใส ทั้งเสียงความเด้ง ความกรอบ และความหนึบ ทีละคำสองคำเล่นเอาคนดูน้ำลายสอไปเป็นแถบๆ ยิ่งมีน้ำจิ้มซีฟู้ดรสแซ่บไว้ข้างจาน รับประกันเลยว่าถ้ามีกุ้ง 100 ตัว ก็กินหมด 100 ตัว! สำหรับคอลัมน์ Spec Sheets ในครั้งนี้ Urban Eat จึงไม่พลาดกระแส ‘กุ้งดองซีอิ๊ว’ เลยคว้า 3 ร้านฮอตฮิต ไม่ว่าจะเป็น Koreadong, Unniesaidong และ Shrimp Shrimp มาเทียบให้รู้ดูให้ชัดว่าศึกนี้ ใครจะครองแชมป์กุ้งกรอบเด้งจนลิ้นสะดุ้งกัน! Shrimp Shrimp ถ้าพูดถึงกุ้งดองซีอิ๊ว เชื่อว่าต้องมี ‘Shrimp Shrimp (ชิม ชิม)’ ติดอยู่ในลิสต์อันดับต้นๆ เพราะถือเป็นเจ้าแรกในไทยที่คว้าใจนักกินกุ้งดองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะระยะเวลาการดองที่นานถึง 48 ชั่วโมง จนซึมเข้าไปในตัวเนื้อกุ้งแบบเน้นๆ ที่สำคัญ ต้องยกแชมป์เรื่อง ‘ความกรอบเด้ง’ ให้ เมื่อเทียบกับ 2 เจ้าที่เหลือ […]
เผ็ดเผ็ด รสชาติชีวิตแบบจัดจ้านของลูกอีสาน ที่ก่อเกิดร้านอาหารสไตล์นครพนมในเมืองกรุง
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ขับเคลื่อนพลังชีวิตด้วยรสชาติความแซ่บนัวของปลาร้า และเป็นแฟนตัวยงของร้านส้มตำทั่วกรุง เราเชื่อว่าคุณต้องเคยได้ยินชื่อร้าน ‘เผ็ดเผ็ด’ อย่างแน่นอน เผ็ดเผ็ดคือร้านอาหารอีสานที่ดึงดูดเราด้วยภาพแซ่บๆ ของส้มตำ ทำให้เราติดใจเพราะรสชาติ และตื่นเต้นที่ได้เห็นการนำเสนอความเป็นอีสานผ่านอาหารอย่างสร้างสรรค์ ร้านนี้ไม่ได้มีดีแค่เผ็ดตามชื่อ แต่ยังทำให้เมนูในร้านอาหารอีสานสนุกและมีตัวตนชัดเจนในแบบของตัวเอง ถึงแม้จะเป็นน้องใหม่ในวงการอาหาร แต่ปัจจุบันเผ็ดเผ็ดขยับขยายไปถึง 5 สาขา และทั้ง 5 สาขาขายอาหารที่มีเมนูและรสชาติที่ต่างกันไปตามคาแรกเตอร์ที่เจ้าของต้องการทดลองอะไรใหม่ๆ เราจะพาไปฟังเรื่องราวการเสาะหาวัตถุดิบและความคิดสร้างสรรค์ในการทำอาหาร ผ่านคำบอกเล่าของ ต้อม-ณัฐพงศ์ แซ่หู เจ้าของร้านชาวนครพนมที่เติบโตมากับวัฒนธรรมลูกอีสานขนานแท้ ผู้นำอาหารอีสานรสมือแม่มานำเสนอให้คนกรุงติดใจและคนอีสานกินทีไรก็นึกถึงบ้าน อาหารที่เกิดจากความคิดถึงบ้าน ต้อมบอกว่าจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาอยากทำร้านอาหารอีสานขึ้นมาคือความคิดถึงบ้านและอาหารรสมือแม่ หากให้อธิบายว่าอาหารอีสานแบบเผ็ดเผ็ดมีรสชาติเป็นแบบไหน ก็คงเป็นอาหารรสมือแม่ที่เขากินมาตั้งแต่เด็กๆ ในความทรงจำของเขาตั้งแต่เด็กจนโต แม่เป็นคนที่ทำอาหารเก่งและมีสูตรอาหารอร่อยๆ เป็นของตัวเอง ตอนเป็นเด็กเขาจึงกินได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะใส่ผักหรือใส่พริกก็กินได้โดยไม่ต้องแบ่งแยกจานเด็กหรือจานผู้ใหญ่ แถมยังได้เรียนรู้ทักษะการทำอาหารและสูตรต่างๆ จากแม่ครัวชั้นครูที่อยู่ในบ้าน “ผมเป็นคนนครพนมที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ เวลาคิดถึงบ้าน อยากกินอาหารอีสาน ผมก็อยากกินอาหารรสมือแม่ อยากกินอะไรที่เหมือนเคยกินที่บ้าน “ความจริงแล้วในกรุงเทพฯ มีร้านอาหารอีสานเยอะมาก ถ้าอยากกินอาหารอีสานก็หาได้ไม่ยากเลย แต่ที่ขายกันทั่วไปรสชาติมันไม่เหมือนกับที่บ้านเรากินกัน มันไม่ได้รสชาติเพี้ยนนะ แต่เขาใช้วัตถุดิบไม่เหมือนที่บ้านเรา และเราชอบแบบที่เราเคยกินมาตั้งแต่เด็กมากกว่า “พอคิดจะทำร้านเราเลยอยากเอาสูตรอาหารอีสานของแม่ทำขาย เป็นสูตรที่เขาคิดเอง ปรุงเอง และเราเอามาประยุกต์ต่อ ถึงแม้จะเอาวัตถุดิบจากนครพนมมาใช้ แต่ไปถึงแล้วคงไม่เจออาหารอีสานรสชาติแบบที่เผ็ดเผ็ดทำแน่นอน” ก่อนจะเป็นเผ็ดเผ็ดสาขาแรกในซอยพหลฯ 8 […]
ฟังเรื่องเล่าการ ‘กินหมาก’ ผ่านร้านขายหมากพลูเจ้าสุดท้ายในย่านตลาดพลู
คอลัมน์ล่าถึงถิ่นในครั้งนี้จึงพาทุกคนมานั่งฟังเรื่องราว ‘การกินหมาก’ จาก ‘พี่จอย-พรทิพย์ จิรชาติธนวัฒน์’ เจ้าของร้านขายหมากพลูเจ้าสุดท้ายในตลาดวัดกลาง