เยือนย่านสามเสน บ้านเขมร บ้านญวน ชุมชนชาวคริสต์ในกรุงเทพฯ

ถ้าค้นเรื่องสืบรากไปในพื้นที่บางกอกที่ตั้งของเมืองหลวงในปัจจุบัน จะพบว่าก่อร่างมาจากการผสมปนเปของกลุ่มคนหลากเชื้อชาติหลายศาสนาที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยในหลายช่วงเวลา ตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองเสียด้วยซ้ำ เห็นได้จากหลักฐานมากมายทั้งอาคารสถาปัตยกรรมต่างๆ อาหารการกินนานาชาติ หรือเชื้อสายบรรพบุรุษของหลายๆ คน ที่เชื่อแน่ว่าจริงๆ แล้ว ต้นตอแทบไม่มีอะไรเป็นไทยแท้ ‘สามเสน’ เป็นอีกย่านหนึ่งที่เราอยากชวนมาสำรวจด้วยกัน เพราะถ้ามองผิวเผินแล้วอาจเห็นเป็นเพียงย่านที่เต็มไปด้วยส่วนราชการ ชุมชนเมือง และโรงเรียนชื่อดัง แต่ความจริงแล้วที่นี่เป็นอีกชุมชนริมแม่น้ำของกรุงเทพฯ ซึ่งรุ่มรวยไปด้วยประวัติศาสตร์และภาพความหลากหลายของกลุ่มคนที่อพยพมาจากภายนอกหลายช่วงเวลา ทั้งบ้านเขมร บ้านญวน แถมมีโบสถ์คริสต์เก่าที่ตั้งอยู่เคียงกันถึง 2 หลัง แวดล้อมด้วยชุมชนชาวคริสต์ขนาดใหญ่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานและอัตลักษณ์น่าสนใจ ที่มาของชื่อบ้านนามเมืองตรงนี้มีการกล่าวถึงอยู่ในนิราศพระบาทของสุนทรภู่ ที่บอกเล่าว่าสามเสนนี้เพี้ยนมาจากคำว่าสามแสน ตามตำนานที่เล่าขานมาแต่อดีต ถึงเหตุการณ์ที่มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ลอยน้ำมา จนต้องใช้กำลังคนถึงสามแสนคนมาช่วยกันฉุดชักลากขึ้นฝั่ง จนกลายเป็นชื่อย่านสามแสนและเพี้ยนมาเป็นสามเสนในปัจจุบัน อาจจริงหรือไม่จริงก็ได้ เพราะข้อสรุปในเรื่องคำว่า ‘สามเสน’ นี้ยังไม่เป็นอันยุติ มาถึงย่านสามเสนทั้งที เราขอเริ่มรูตนี้ที่วัดสำคัญประจำย่านอย่างวัดราชาธิวาสวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่ ‘ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ’ หรือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เคยจำพรรษาอยู่ในขณะที่ทรงผนวช และก่อนหน้าพระองค์ ก็เคยมีพระมหากษัตริย์อีกพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่เคยจำพรรษาที่วัดแห่งนี้เช่นกัน ปัจจุบันวัดที่เป็นเสมือนจุดกำเนิดของธรรมยุติกนิกาย ก็ยังคงความเป็นพื้นที่วัดอรัญวาสี (อรัญวาสี แปลว่าป่า) ที่มีความสงบผ่านบรรยากาศครึ้มด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ ดูแล้วคล้ายวัดป่าตามต่างจังหวัดไม่น้อย เมื่อสืบประวัติลึกลงไป จะพบว่าจริงๆ แล้ว วัดแห่งนี้ไม่ได้เพิ่งเฟื่องฟูในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ก่อนหน้านี้ วัดราชาธิวาสฯ […]

ย้อนรอยตลาดเก่าแก่กลางพระนคร ก่อน ‘ท่าเตียน’ จะเปลี่ยนแปลง

‘ท่าเตียน’ ย่านที่คุ้นหูของคนมาแทบทุกรุ่น อย่างคนรุ่นเก่าหน่อยอาจจะรู้จักว่าเป็นตลาดค้าส่ง ส่วนคนรุ่นหลังมาน่าจะนึกถึงพวกของทะเลแปรรูปที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ ขณะที่ทุกวันนี้ท่าเตียนกลายเป็นเพียงทางผ่านของนักท่องเที่ยวและท่าเรือข้ามฟาก  แต่จริงๆ แล้วที่นี่เป็นชุมชนชาวจีนเก่าแก่ที่มีความเป็นมายาวนานพอๆ กับกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ในทำเลแทบจะใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ โดยซ่อนตัวอยู่เบื้องหลังของอาคารแบบตะวันตกสีเหลืองอายุกว่าร้อยปี ที่เรียงแถวโดดเด่นคู่กับพระบรมมหาราชวังและวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) จนหลายคนยามได้ไปเดินทอดน่องเตร็ดเตร่โซนเมืองเก่า อาจจะเดินผ่านไปมาโดยไม่รู้ว่ามีตลาดและบ้านเรือนอยู่ด้านใน ในวันที่กระแสการพัฒนาและความเจริญถาโถมเข้าสู่ย่านเมืองเก่าต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ท่าเตียนเป็นหนึ่งในย่านที่สายลมนั้นพัดผ่าน เราเดินลัดเลาะเข้าตรอกเล็กๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมกับชาวท่าเตียนที่เกิดและโตที่นี่ พาสำรวจร้านค้าต่างๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่คู่กับตลาดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อพูดคุยเรื่องการเปลี่ยนแปลง และการปรับตัวของร้านกับคนในชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้-วันที่ท่าเตียนกำลังเผชิญการปรับปรุงครั้งใหญ่อีกครั้ง ย่านการค้าเก่าแก่ ผู้คนจอแจเดินขวักไขว่ การขนถ่ายสินค้าขึ้นลงจากเรือที่มาจากทั่วสารทิศ เป็นภาพที่คนรุ่นปัจจุบันไม่ทันเห็น แต่ความทรงจำนี้ยังแจ่มชัดอยู่ในความนึกคิดของชาวท่าเตียน ‘เฮียหมึก-พจน์ตะวัน ชินนาสวัสดิ์’ คือหนึ่งในประจักษ์พยานที่ทันเห็นท่าเตียนในเวอร์ชันดั้งเดิม วันที่ตลาดยังไม่เงียบเหงา และการค้ายังไม่ซบเซาเช่นทุกวันนี้ “ตอนผมเด็กๆ ทุกแผงมีการค้าหมด ไม่ได้เงียบๆ แบบนี้ ขายสารพัด ทั้งผักผลไม้ ของอุปโภคบริโภค” รองประธานชุมชนท่าเตียนชวนย้อนวันเวลา ตรงตำแหน่งที่ตั้งของท่าเตียนแต่เดิมนั้น เป็นที่อยู่ของชุมชนชาวจีนและญวนมาตั้งแต่ก่อนหน้าจะสร้างกรุงเทพฯ ด้วยที่ตั้งที่อยู่ริมฝั่งน้ำ ทำให้สินค้าจากที่ต่างๆ มาลงตรงนี้ ก่อนพัฒนาเป็นตลาดค้าส่งที่สำคัญของกรุงเทพฯ ในยุคสมัยหนึ่ง ทว่าท่าเตียนในวันนี้มีเพียงซอยเดียวที่ยังมีการค้าขาย ลูกค้าที่มาซื้อก็บางตา แผงที่เหลือปิดไปเยอะเกินครึ่ง บ้างถูกใช้เป็นที่เก็บของ เช่นเดียวกับอาคารบ้านเรือนรอบๆ […]

‘ตลาดต้นไม้ ตลาดนัดจตุจักร’ ศูนย์รวมต้นไม้จากทั่วไทยมาไว้ใจกลางกรุง

เทรนด์ปลูกต้นไม้กำลังมาแรง หลังจากนโยบายของพ่อเมืองคนใหม่ที่ชักชวนชาวกรุงเทพฯ และสื่อมวลชนมาร่วมกันปลูกต้นไม้ทั่วเมืองให้ถึง 1 ล้านต้น เพื่อคืนพื้นที่สีเขียวให้กับเมืองหลวงควันและฝุ่นมากมายของเรา ซึ่งตอนนี้เห็นว่ามีผู้สนใจร่วมเป็นจำนวนมากทะลุยอดที่หวังไปเยอะแล้ว แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทำให้มนุษย์กรุงเทพฯ อยากจับจอบเสียม มานั่งเปลี่ยนดินในกระถาง เตรียมปลูกต้นไม้ เพราะก่อนหน้านี้ก็มีกระแสนักปลูกเวียนมาเรื่อยๆ ทั้งในช่วงโควิด-19 ระบาดใหม่ๆ ที่ต้องหากิจกรรมยามว่างระหว่าง Work from Home หรือกระแสไม้ด่าง ไม้มงคล และไม้ฟอกอากาศ ที่ผลัดเปลี่ยนกันมาอยู่ตลอด ในวาระที่กรุงเทพฯ กำลังจะเป็นเมืองสีเขียว (ขึ้น) คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้ถือโอกาสร่วมสร้างสรรค์พื้นที่สีเขียวให้เข้าเทรนด์ ชวนไปพูดคุยกับเหล่าพ่อค้าแม่ขายที่ ‘ตลาดต้นไม้ ตลาดนัดจตุจักร’ ทำความรู้จักที่มาที่ไปของแหล่งค้าต้นไม้ที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯ แห่งนี้ อัปเดตสถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมออกไปมองหาต้นไม้ไซซ์พอเหมาะๆ มาวางไว้สักกระถางริมระเบียงของคอนโดฯ หรือจัดมุมเล็กๆ ของบ้านให้เป็นพื้นที่สีเขียวส่วนตัว ส่วนใครที่มีต้นไม้อยู่แล้ว อยากฟังเคล็ดลับวิธีปลูกให้สวยคู่บ้านไปนานๆ ตามมาฟังพร้อมกัน ตลาดนัดจตุจักร เป็นที่รู้จักมาอย่างยาวนานในฐานะตลาดนัดวันหยุดขนาดใหญ่ของกรุงเทพฯ ที่เพียบพร้อมไปด้วยสินค้านานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยง ต้นไม้ ของใช้วินเทจ หนังสือเก่า เสื้อผ้ามือหนึ่ง-มือสอง ไปจนถึงของที่ระลึกและของฝากที่นิยมมากในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ ภาพคุ้นตาคือทั่วบริเวณของตลาดนัดจตุจักร ซึ่งมีการแบ่งพื้นที่สำหรับขายสินค้าชนิดต่างๆ กว่า 27 โครงการ […]

มิงกะลาบา! แวะทักทายเพื่อนบ้านที่ ‘Little Myanmar’ สัมผัสชุมชนคนพม่าไซซ์จิ๋วย่านพระโขนง

อย่างที่เรารู้กันดีว่า เพื่อนบ้านใกล้ชิดสนิทสนมอย่างเมียนมาหรือพม่านั้น มีความสัมพันธ์กับคนไทยมายาวนานตั้งแต่อดีต ด้วยมีพรมแดนติดกันยาวตั้งแต่ภาคเหนือยันภาคใต้ ไปมาหาสู่กันก็ง่ายดายมาแต่ไหนแต่ไร จนทุกวันนี้บ้านเราถือเป็นปลายทางยอดนิยมในการเข้ามาทำงานของคนเมียนมา มองไปทางไหนก็พบเห็นกันจนเป็นเรื่องปกติไปแล้ว และตามประสาของคนพลัดถิ่น เมื่อเข้ามาอยู่อาศัยในต่างที่ ก็เริ่มรวมกลุ่มกันก่อตัวเป็นคอมมูนิตี้เล็กๆ ไว้พบปะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนซื้อของกินของใช้จากบ้านเกิดกันบ้าง ช่วยให้พอได้ประทังความคิดถึงบ้าน ไม่ต่างจากที่เรามีไทยทาวน์ในต่างประเทศ หรือในกรุงเทพฯ เอง ก็มีโซนของชาวต่างชาติอย่างไชนาทาวน์ ที่เยาวราช หรือ Little India ในย่านพาหุรัด ที่เป็นลักษณะคล้ายๆ กัน แต่สำหรับชุมชนคนเมียนมาในประเทศไทย กลับกลายเป็นว่าเรามักคิดถึงแหล่งสำคัญๆ ที่นึกปุ๊บตอบปั๊บอย่างมหาชัย และแถบสำโรงเสียมากกว่า จุดนี้เองที่ชวนเราตั้งคำถามขึ้นมาว่า แล้วในเมืองหลวงของเรามีชุมชนคนพลัดถิ่นจากประเทศเพื่อนบ้านบ้างไหม  ตลาดพระโขนง ใกล้กับถนนสุขุมวิท ถนนสายเศรษฐกิจสำคัญเป็นคำตอบนั้น เพราะที่นี่เอง ถือเป็นอีกศูนย์รวมหนึ่งของพี่น้องชาวเมียนมา ที่เข้ามาอยู่อาศัยและตั้งเป็นชุมชนขนาดย่อมๆ ใจกลางกรุง จนหลายคนขนานนามให้เป็น Little Myanmar ด้วยเช่นกัน  วันนี้เราเลยขออาสาพาไปสัมผัสวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชุมชนคนเมียนมาแห่งย่านพระโขนง ผ่านอาหารการกินทั้งคาวหวาน ไปจนถึงของใช้ประจำวัน ที่บรรยากาศด้านในไม่ต่างจากเราข้ามแดนไปเที่ยวเมียนมาจริงๆ ก่อนจะเริ่มต้นทริป Neighboroot คราวนี้ เราขอเลยไป Swap แบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าของ Swap & Go ที่ […]

เปิดมุมมองใหม่ ‘เลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา’ ทำไมทุกรูปแบบของชีวิตถึงมุ่งตรงมาที่นี่

พอเอ่ยชื่อเลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา หรือที่เรียกกันติดปากอย่าง ‘เลียบด่วน’ ขึ้นมา ก็พาให้คิดถึงย่านสุด Creative ที่มีคาแรกเตอร์ของย่านที่เด่นชัดน่าสนใจ รายล้อมด้วยแหล่งไลฟ์สไตล์และสถานที่สุดเก๋ ทั้ง public space สำหรับทำกิจกรรม ห้างสรรพสินค้า และพื้นที่สีเขียว แถมยังเป็นย่านรวมที่อยู่อาศัยระดับ luxury เรียงรายตลอด 2 ฝั่งถนน ไม่แปลกใจเลยที่ย่านนี้จะคึกคัก เพราะย่านเลียบด่วนอยู่ใกล้กับใจกลางเมืองและโซนสำคัญๆ ย่าน CBD ของกรุงเทพฯ แค่เอื้อม ทั้งสุขุมวิท เอกมัย ทองหล่อ พระราม 9 ลาดพร้าว ไปจนถึงแถบเกษตร-นวมินทร์ เรียกได้ว่าถนนประดิษฐ์มนูธรรม เส้นทางสายหลักของย่านที่เลียบคู่ไปกับทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา เป็นเสมือนจิ๊กซอว์ที่มาเติมเต็มให้เส้นทางสัญจรของกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก เดินทางเชื่อมถึงกันได้สะดวกสบายง่ายขึ้นมาก คอลัมน์ Neighboroot รอบนี้ เลยอยากชวนไปทำความรู้จักกับเลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา ที่เต็มไปด้วยกิจกรรมสนุกๆ สำหรับทุกรูปแบบการใช้ชีวิต ทั้งอัปเดตเทรนด์งานดีไซน์และของแต่งบ้าน แวะเล่นกับน้องหมาน้องแมวที่ Pet Park ของคนรักสัตว์เลี้ยง และสำรวจความกรีนของคนในย่านที่มีทั้งเลนจักรยานทางไกลและร้านค้าผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกเพื่อสุขภาพ ใครมีจักรยานก็เตรียมเอามาปั่นเยี่ยมย่านพร้อมกันได้เลย! Creative District จุดประกายไอเดียบนย่านแห่งการสร้างสรรค์ มีโอกาสได้มาถึงย่านแห่งการสร้างสรรค์ เราไม่พลาดที่จะเริ่มต้นหมุดหมายที่ […]

บรรทัดทอง ถนนเส้นอาหารของมือเก๋าและหน้าใหม่ที่ผสมผสานกันได้อย่างลงตัว

สำหรับคอลัมน์ Neighboroot ผู้อ่านทุกคนน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า Urban Creature จะออกเดินทางเข้าไปพูดคุยกับผู้คนในแต่ละย่าน เพราะอยากเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้พื้นที่ที่คนอาจจะมองข้ามไปบ้าง ได้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ซึ่งต่างกับการเดินทางครั้งนี้อย่างสิ้นเชิง เพราะถนนบรรทัดทองก็เป็นเส้นทางที่สุดแสนจะคึกคัก อย่างแรกก็อาจจะเป็นเพราะตั้งอยู่ในย่านธุรกิจใจกลางเมือง มีผู้คนแวะเวียนไปมาอยู่ตลอด แถมยังอยู่ใกล้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นจุดเชื่อมต่อกับถนนสายสำคัญของกรุงเทพฯ และเป็นพื้นที่ที่ไม่เคยหยุดนิ่งอยู่แล้ว เราจึงมานั่งคิดกันครับว่า ถ้าพูดถึงถนนที่เป็นเส้นสำนักงานหรือมหาวิทยาลัยเนี่ยจะมีอะไรให้พูดถึงบ้าง คำตอบที่พุ่งเข้ามาแทบจะเป็นอย่างแรกๆ ก็คือ อาหาร! ลองนึกถึงร้านอาหารหน้ามอ หลังมอ หรือร้านข้าวแถวออฟฟิศ ก็น่าสนุกแล้วใช่ไหมครับ แต่บรรทัดทองกลับพิเศษขึ้นไปอีกเพราะมีทั้งร้านสุดเก๋าที่อยู่มาเนิ่นนาน กินกันตั้งแต่พ่อเรียนมหา’ลัย จนมาส่งลูกรับน้อง แถมโลเคชันที่อนุญาตให้คนเก๋าจริงเท่านั้นถึงจะอยู่ได้ ก็เลยมีร้านหน้าใหม่ที่น่าสนใจเกิดขึ้นมากมาย แค่ได้เอ่ยถึงท้องก็ร้องหิวแล้วล่ะครับ งั้นก็ไม่ขอรอช้า เราเริ่มต้นด้วยการมา Swap แบตฯ ให้พร้อมที่ PTT Station สามย่าน แล้วออกเดินทางสู่บรรทัดทองกันเลยดีกว่าครับ สำหรับใครที่อยากขับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าของ Swap & Go มาเที่ยวแถวนี้ก็บอกเลยว่าสะดวกมากครับ เพราะถ้าแบตเตอรี่ใกล้หมดเมื่อไหร่ก็มีสถานีชาร์จไว้คอยให้บริการอยู่ที่ PTT Station สามย่าน ซึ่งก็อยู่ในละแวกเดียวกันนี้แหละ เปลี่ยนแบตฯ ทีเดียวก็วิ่งได้อีกตั้ง 50 กิโลเมตร ใช้งานต่อได้ทั้งวันแบบสบายๆ  ยักษ์ […]

เยี่ยมคนเกาหลีย่านอโศก สัมผัสวัฒนธรรมแดนโสมใจกลางกรุงเทพฯ

ไม่รู้ตั้งแต่เมื่อไหร่นะครับที่ความเป็นเกาหลี ทั้งซีรีส์ อาหาร ศิลปิน เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า จะเป็นอะไรก็ตามแต่ก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตพวกเราอย่างไม่รู้สึกแปลกแยกไปแล้ว ตอนนี้ทั้งคนใกล้ตัว หรือไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็ดูจะผูกพันกับวัฒนธรรมเกาหลีมากขึ้นไปทุกที  ชาวเกาหลีที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยก็มีไม่น้อยโดยเฉพาะช่วงสุขุมวิทตอนต้น และที่ข้ามไปไม่ได้เด็ดขาดก็คือแถวอโศกนี่แหละ โดยมีโคเรียนทาวน์ยืนหนึ่งเรื่องเกาหลีมาร่วมสามสิบปี แถมในช่วงราวสิบปีนี้ก็มีศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีมาเปิดอีกต่างหาก  คอลัมน์ Neighboroot ขอพาทุกคนไปคุยกับเจ้าของร้านอาหารเกาหลีร้านแรกๆ ในโคเรียนทาวน์ พร้อมพาตะลุยย่านสัมผัสวัฒนธรรมแดนโสมใจกลางกรุงเทพฯ กันดีกว่า ว่าจะมีอะไรให้พวกเราค้นหาอีกบ้าง!  ย้อนกลับไปเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว ประเทศไทยยังไม่ได้คุ้นเคยกับวัฒนธรรมเกาหลีมากเท่าไหร่ ไม่ต้องพูดถึงโคเรียนทาวน์ ที่ถ้าพูดชื่อไปก็รับรองได้เลยว่าไม่มีใครร้องอ๋อเหมือนสมัยนี้แน่ๆ  ประวัติโดยย่อคือ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2532 โคเรียนทาวน์มีชื่อว่า สุขุมวิทพลาซ่า เพราะตั้งอยู่บริเวณตอนต้นของถนนสุขุมวิท แล้วก็ยังไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับคำว่าเกาหลีเลยแม้แต่น้อย จนกระทั่งชาวเกาหลีที่ย้ายถิ่นฐานมายังประเทศไทยเริ่มเข้ามาเปิดร้านอาหารกันมากหน้าหลายตา และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จนภาครัฐขนานนามให้ว่า โคเรียนทาวน์ เพราะถือว่าที่นี่เป็นแหล่งรวมร้านอาหารเกาหลีที่มากที่สุดของไทย  ว่าแต่เรื่องราวของโคเรียนทาวน์เป็นมายังไง ชาวเกาหลีเข้ามาทำอะไรที่สุขุมวิทตอนต้น เราชวนขับ Swap & Go จาก PTT Station นานาใต้ ที่อยู่ห่างออกไปไม่กี่ร้อยเมตร มาฟังจากปาก Jang Won BBQ ร้านอาหารเกาหลีสูตรต้นตำรับ ซึ่งเป็นร้านแรกๆ […]

ไปเที่ยว ‘ราชเทวี’ สำรวจศิลปวัฒนธรรมโบราณและร่วมสมัยใจกลางกรุงเทพฯ

เราเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ที่เคยมาเยือนกรุงเทพฯ หรืออาศัยอยู่ในเมืองนี้ คงรู้จักและเคยได้ยินชื่อเขต ‘ราชเทวี’ ย่านธุรกิจใจกลางเมืองที่คั่นกลางระหว่างสองจุดหมายปลายทางสำคัญอย่าง ‘พญาไท’ และ ‘สยาม’ ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและไลฟ์สไตล์ของคนเมือง เพราะเป็นทั้งจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และที่ตั้งของศูนย์การค้าทันสมัยมากมาย ราชเทวีจึงกลายเป็นโลเคชันโดดเด่นและน่าอยู่อาศัยแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ไปโดยปริยาย ทว่า ราชเทวีไม่ได้เป็นแค่ ‘ทำเลทอง’ กลางเมืองเท่านั้น แต่งานสร้างสรรค์โลกสมัยใหม่หลายรูปแบบก็มีจุดเริ่มต้นอยู่ในย่านริมคลองแสนแสบแห่งนี้เช่นกัน  วันนี้ Urban Creature ขออาสาเป็นไกด์พาทุกคนไปทัวร์ย่านนี้ในมุมมองที่ต่างไปจากเดิม ผ่านการสำรวจ Art & Culture ที่แฝงตัวอยู่ในอณูของย่าน อย่างกราฟฟิตี้และสตรีทอาร์ตลายเส้นการ์ตูนญี่ปุ่นที่โอบล้อมสวนสาธารณะสีเขียวใจกลางเมือง และอาร์ตสตูดิโอที่ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือเยียวยาจิตใจและเชื่อมโยงคนในสังคมเข้าหากัน เป็นศิลปะยุคใหม่ที่เหมาะสำหรับคนที่อยากเปลี่ยนบรรยากาศ ออกจากแกลเลอรี และมาเสพงานสร้างสรรค์กลางแจ้ง รวมไปถึงคนที่อยากเปิดประสบการณ์ใหม่จากการลงมือทำศิลปะด้วยตัวเอง และถ้าศึกษาประวัติศาสตร์ลึกลงไป ราชเทวีถือเป็นย่านเก่าแก่ที่อยู่คู่กรุงเทพมหานครมายาวนาน ใต้ภาพความเป็นเมือง แหล่งสังสรรค์ของคนรุ่นใหม่ ที่นี่คือที่ตั้งของชุมชนมุสลิมแขกจามอายุกว่า 230 ปี ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องภูมิปัญญาการทอผ้าคุณภาพดีมายาวนาน และยังมีมัสยิดแห่งแรกของฝั่งพระนคร ที่เป็นเสมือนแลนด์มาร์กของชุมชนแห่งนี้ เป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ที่ควรค่าแก่การไปเยือน และอนุรักษ์ไว้ ราชเทวีในสายตาของเราจึงอาจเรียกได้ว่าเป็นย่านหนึ่ง ที่ศิลปวัฒนธรรมของโลกเก่าเดินทางข้ามกาลเวลามาบรรจบกับงานสร้างสรรค์ร่วมสมัย ข้อดีของราชเทวีก็คือโลเคชันที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง คนทุกเพศทุกวัยเดินทางมาได้โดยระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ แถมยังเดินได้ยาวๆ หมดห่วงเรื่องการปล่อยมลพิษจากการใช้รถยนต์ส่วนตัว เป็นจุดท่องเที่ยวที่มีเรื่องราวน่าสนใจ […]

ตามหาประวัติศาสตร์ในอารีย์ ย่านที่ชิกที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ

ร้านรวงเก๋ๆ ร้านอาหารรสเลิศ คาเฟ่ฮิปๆ บาร์ลับ และครีเอทีฟสเปซมากมาย น่าจะเป็นภาพจำแรกที่เกิดขึ้นของหลายๆ คนเมื่อได้ยินชื่อย่านอารีย์ แม้ชื่อของอารีย์จะติดลิสต์ย่านชิกของชาวกรุงเทพฯ รุ่นใหม่มาเกือบ 10 ปี แต่ที่จริงแล้วความเก๋ความฮิปของย่านนี้ก่อตัวอย่างเข้มข้นมาตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 2540 เนื่องจากการเข้ามาของเหล่านักสร้างสรรค์ที่อยากเนรมิตสถานที่และบรรยากาศให้เป็นไปในแบบที่พวกเขาพึงพอใจ สร้างแรงบันดาลใจให้ชีวิต จึงไม่แปลกที่อารีย์จะกลายเป็นย่านที่มีกลิ่นอายของความสร้างสรรค์ มีชีวิตชีวามาจนถึงทุกวันนี้ แน่นอน ความเจริญและบรรยากาศที่เอื้อให้เกิดความผ่อนคลาย จนคนอยากมาพักผ่อนหย่อนใจคือจุดเด่นของย่านนี้ แต่ขณะเดียวกันมีใครรู้บ้างว่าเบื้องหลังความสร้างสรรค์และร่วมสมัยของอารีย์มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่น่าสนใจซ่อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นชุมชน อาคาร ร้านค้าเก่าแก่ที่พบเห็นได้ไม่ยากหากได้ลองสำรวจพื้นที่และพูดคุยกับผู้คนดูสักนิด ครั้งนี้ Urban Creature จึงขอพาทุกคนไปตามหาร่องรอยประวัติศาสตร์ของอารีย์จากปากผู้อาศัย ความเก่าแก่ของสถานที่ และบริเวณต่างๆ ของย่านชิกย่านนี้ผ่านการเดินทางโดยการใช้บริการมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าและแพ็กเกจสวอพหรือสลับแบตเตอรี่ของ Swap & Go ที่สะดวก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เหมาะสมกับการใช้สัญจรในย่านใดย่านหนึ่งที่ระยะทางไม่ไกลจนเกินไป เข้าตรอกออกซอยได้ว่องไวกว่าเดินเท้า แต่ก็ไม่พลาดชื่นชมวิวทิวทัศน์ระหว่างทางไปด้วย เที่ยวทั่วย่านได้ง่ายๆ กับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า Swap & Go สถานี ปตท. สนามเป้า เราสตาร์ทการเดินทางด้วยการมารับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่เช่าไว้จาก Swap & Go พร้อมสมัครแพ็กเกจสวอพแบตเตอรี่แบบไม่จำกัด ณ จุดให้บริการ Swap […]

Bedok & Siglap เที่ยวชายฝั่งตะวันออกสิงคโปร์ ย่านรวมกิจกรรมและร้านอาหารนานาชาติ

เราเชื่อว่าหลายๆ คนคงต้องเคยมาเที่ยวสิงคโปร์กันบ้างแล้ว ด้วยความที่ประเทศเกาะเล็กๆ แห่งนี้เป็นที่ที่ไม่ไกลจากบ้านเราเลย บินจากกรุงเทพฯ มาใช้เวลาสองชั่วโมงกว่าๆ ก็ถึง (ขับรถเผชิญกับรถติดใน กทม. บางทีอาจจะนานกว่านั้น) แต่เราก็แอบมั่นใจว่าคนจำนวนไม่มากในหมู่คนที่เคยมาเที่ยวสิงคโปร์แล้วจะเคยลองออกเดินทางนั่งรถไฟหรือรถเมล์ไปสำรวจจุดอื่นๆ นอกจากในย่านเมืองหลัก เช่น ถนน Orchard, Gardens by the Bay และ Marina Bay Sands  วันนี้เราขออาสาพาคุณไปเดินสัมผัสย่าน Bedok (เบด็อก) และ Siglap (ซิกแลป) ย่านพักอาศัยทางตะวันออกของสิงคโปร์ซึ่งอยู่ห่างจากสวนชายฝั่งตะวันออก (East Coast Park) และสนามบิน Changi เพียงเล็กน้อย เรามั่นใจว่าหลังจากที่คุณอ่านบทความนี้จบลง คุณจะต้องรู้สึกอยากลองไปเยี่ยมดูสักครั้งบ้างล่ะ  เล่าประวัติของ Bedok และ Siglap ย่านเล็กๆ สองย่านนี้ให้ฟังกันสักเล็กน้อยก่อนที่เราจะเริ่มออกเดินทางกัน สองย่านที่ติดกันนี้ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากแนวชายฝั่งทะเลทางฝั่งตะวันออกของสิงคโปร์ โดยก่อนปี 1960 แหล่งรายได้หลักของชาวบ้านในสมัยนั้นก็คือมะพร้าว และการทำประมง ปัจจุบัน Bedok และ Siglap เป็นย่านที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ที่ถูกพัฒนาใหม่ในสิงคโปร์ ทำให้รอบบริเวณนี้เต็มไปด้วยร้านอาหาร และร้านค้าน่าสนใจมากมาย […]

Duxton & Keong Saik เดินเล่นร้านเก่าและร้านเก๋ ย่านประวัติศาสตร์ของชุมชนชาวจีนในสิงคโปร์

ถ้าคุณถามผมเมื่อปีที่แล้วถึงสิงคโปร์ ผมคงส่ายหัวเบาๆ ก่อนตอบแบบไร้เยื่อใยว่าไม่เห็นจะมีอะไรนอกจากเมอร์ไลออน ถนนออร์ชาร์ด เซ็นโตซา การ์เดนส์บายเดอะเบย์ แล้วก็…ข้าวมันไก่ – หารู้ไม่ว่าผมเองจะถูกโชคชะตาและสถานการณ์โควิดพัดพาชีวิตย้ายมาทำงานถึงประเทศนี้ – ประเทศที่ผมเคยบอกว่าไม่มีอะไรเลย คนสิงคโปร์ทำงานกันจริงจัง แต่ก็เที่ยวกันอย่างบ้าคลั่งเช่นเดียวกัน ท่ามกลางสถานการณ์ของโลกที่การเดินทางข้ามประเทศทำได้ยาก ผมถือโอกาสนี้สำรวจย่านต่างๆ ที่น่าสนใจและไม่ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายสำหรับนักท่องเที่ยวมือใหม่ หนึ่งในนั้นคือย่านแถบถนน Duxton (ดักซ์ตัน) และถนน Keong Saik (ค็องเซค) ครับ “โห แถวนั้นน่ะเหรอ มีแต่ร้านมิชลินเหอะ” – คำตอบจากเพื่อนเจ้าถิ่นเมื่อผมถามถึงย่านแถบถนน Duxton (ดักซ์ตัน) และถนน Keong Saik (ค็องเซค) คำตอบนี้ไม่เกินจริงเลย หากคุณลองกดดูแผนที่ร้านอาหารในเว็บไซต์หลักของมิชลิน ไกด์ในสิงคโปร์ (https://guide.michelin.com/sg/en) จะพบร้านที่ถูกปักหมุดว่าได้ดาวมิชลินหรือไม่ก็บิบ กูร์มองด์ กระจุกตัวอยู่ในย่านนี้นับได้เกินสิบร้าน – ไม่น่าแปลกใจที่ย่านด้านตะวันตกของไชนาทาวน์แถบนี้จะถูกนิยามโดยคนสิงคโปร์ว่าเป็นย่านแห่งร้านอาหารสุดฮิป ที่แม้ชื่อของย่านนี้จะไม่คุ้นหูนักท่องเที่ยวสักเท่าไหร่ แต่รับประกันได้ว่าแอบซ่อนอะไรไว้มากกว่าที่คิด หากใครมีโอกาสมาสิงคโปร์อยากให้ลองแวะมาที่ Duxton และ Keong Saik ดูสักครั้ง เพราะถนนสายเล็กๆ ทั้ง 2 […]

ตามรอยย่านธุรกิจริมแม่น้ำเจ้าพระยา ‘ตรอกดิลกจันทร์’

เสียงคลื่นจากเรือกระทบฝั่ง ณ ‘ตรอกดิลกจันทร์’ หรือ ‘ชุมชนสมเด็จย่า’ ที่หลายคนคุ้นหู พื้นที่ชุมชนริมน้ำเจ้าพระยาที่ในอดีตย่านธุรกิจการค้าและการส่งออกที่เคยรุ่งเรืองมาเป็นเวลานาน ครั้งที่ประเทศไทยยังมีเส้นเลือดใหญ่เป็นการสัญจรและขนส่งทางน้ำเป็นหลัก ซึ่งส่งผลให้ความเจริญของธุรกิจการค้าขายกระจายตัวอยู่ในย่านนี้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโรงน้ำปลา โรงเกลือ โรงสีข้าว โรงทำชันยาเรือ หรือโรงงานทอผ้า ที่ในปัจจุบันแทบไม่หลงเหลือให้เห็นธุรกิจเหล่านั้นแล้ว  Urban Creature จึงออกเดินทางไปตามรอยชุมชนเล็กๆ ที่หากมีโอกาสนั่งเรือล่องแม่น้ำเจ้าพระยาจะสังเกตเห็นศาลเจ้าและบ้านเก่าริมน้ำโดดเด่นมาแต่ไกล นั่นแหละคือที่ตั้งของชุมชนตรอกดิลกจันทร์ ที่แม้เรื่องราวความเจริญรุ่งเรืองของการขนส่งสินค้าทางน้ำจะเป็นภาพที่เลือนรางในปัจจุบัน แต่ความทรงจำของผู้คนในชุมชนยังคงชัดเจนอยู่เสมอ ทุกย่านล้วนมีเรื่องราวที่แอบซ่อนอยู่ การออกเดินทางครั้งนี้ของคอลัมน์ Neighborhood จะพาไปลัดเลาะริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านธุรกิจที่เคยคับคั่งทั้งการส่งออกสินค้าทั้งในและต่างประเทศในสมัยที่การเดินทางและการขนส่งสินค้าด้วยเรือยังเป็นเส้นเลือดหลักของประเทศไทย ‘ชุมชนตรอกดิลกจันทร์’ หรืออาจคุ้นหูกันในชื่อ ‘ชุมชนสวนสมเด็จย่า’ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเขตคลองสาน กรุงเทพฯ ไม่ใกล้ไม่ไกลจากสะพานพระปกเกล้าเท่าไหร่นัก หากใครเคยมีโอกาสมางาน Art in Soi เทศกาลประจำปีย่านประวัติศาสตร์ริมน้ำ กะดีจีน-คลองสานแล้วล่ะก็คงคุ้นเคยกับย่านนี้พอสมควร ขณะเดียวกันหลายคนอาจยังไม่เคยได้สัมผัสย่านนี้เท่าไหร่ อาจคุ้นๆ ว่าเคยผ่านไปผ่านมาแต่ไม่เคยได้เข้าไปสักที ครั้งนี้ ‘ชุมชนตรอกดิลกจันทร์’ จะไม่ใช่ทางผ่านที่ถูกลืมอีกต่อไป ชุมชนตรอกดิลกจันทร์ ชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำ ประเทศไทยผูกพันกับสายน้ำมาโดยตลอดจนกลายเป็น ‘สังคมลุ่มแม่น้ำ’ ที่ทำเกษตรกรรม ทำสวน ทำนา เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญทั้งกับภายนอกและภายใน เพื่อทำการค้าขายและส่งออก  ขึ้นชื่อว่าสายน้ำย่อมมีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา […]

1 2 3 4 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.