สัมผัสวิถีชนบทในเมืองหลวงที่ ‘ชุมชนวัดจำปา’

ภาพจำของหลายคนที่มองมายังกรุงเทพฯ คือเหล่าตึกสูงระฟ้า รถราติดหนึบ และมลพิษจากย่านใจกลางเมือง แต่จริงๆ แล้ว กรุงเทพฯ ยังมีส่วนของชานเมืองรอบนอกที่ยังคงสภาพวิถีชีวิตดั้งเดิม เป็นชาวสวนผลไม้ที่ผูกพันกับสายน้ำลำคลอง อากาศสดชื่น และบรรยากาศที่แทบไม่ต่างอะไรกับต่างจังหวัด  ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ ‘ตลิ่งชัน’ หนึ่งในเขตชานเมืองทางฟากตะวันตกของกรุงเทพฯ ที่หลายคนอาจคุ้นหูจากการเป็นทางผ่านลงภาคใต้ทางถนนเพชรเกษม หรืออาจพอได้ยินมาบ้างจากการเป็นแหล่งรวมคาเฟ่และร้านอาหารบนถนนบรมราชชนนีและถนนราชพฤกษ์ แต่ถัดเข้ามาจากถนนใหญ่หลายสายที่ตัดผ่านเขตนี้ ยังมีชุมชนเล็กๆ กลางสวนและบ้านจัดสรร ที่ยังคงเสน่ห์และวิถีชีวิตดั้งเดิมมากว่าร้อยปี จากเงาของตึกสูงที่ตกลงมาบนถนนใหญ่ใจกลางเมือง เปลี่ยนเป็นร่มเงาต้นไม้ที่ทาบลงบนถนนสายเล็กๆ ของชุมชนและบนผิวน้ำในคลองที่ใสสะอาด เรือหางยาววิ่งเสียงดังลั่นคุ้งน้ำเป็นสัญญาณต้อนรับ เหนือยอดไม้แทบไม่เห็นตึกสูง ฉากหลังของบ้านเรือนไทยเป็นท้องฟ้าสีสดใส ไร้ทัศนะอุจาดรบกวนเหมือนในเมือง ท่ามกลางเสียงจากธรรมชาติที่ได้ยินอยู่ตลอดเวลา เชื่อหรือไม่ว่าภาพเช่นนี้เห็นได้ด้วยการเดินทางจากในเมืองมาไม่นานนัก บรรยากาศของที่นี่ไม่ต่างอะไรจากสวนที่พบเจอได้ในจังหวัดอื่นๆ ผิดแต่ว่าที่นี่อยู่ในเขตของกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศที่นับวันจะหาพื้นที่สีเขียวได้ยากขึ้นทุกที หลักฐานความเจริญของย่านตลิ่งชันที่ ‘วัดจำปา’  เราเดินเข้าสู่รั้ววัดจำปา พบกับ ‘พี่ดุ่ย-ทวีศักดิ์ หว่างจันทร์’ ตามนัดหมาย ประธานชุมชนวัดจำปาต้อนรับขับสู้ด้วยไมตรีจิต ก่อนนำเราตรงไปยังอุโบสถวัดจำปา พร้อมทั้งเล่าสารพัดเรื่องราวของวัดโบราณคู่ชุมชนแห่งนี้ โดยเฉพาะเหล่าของดีมีราคา และของจากในราชสำนัก “หน้าบันอุโบสถประดับอ่างล้างหน้างานยุควิกตอเรีย สมัยรัชกาลที่ 4 ตอนนี้พบสองที่คือวัดจำปากับพระนครคีรี ที่นู่นสีเขียว ที่นี่สีชมพู อาจจะก่อนหรือหลังรัชกาลที่ 4” พี่ดุ่ยชวนเราเงยหน้ามองที่สิ่งอันซีนอย่างแรก เมื่อเข้าไปด้านในอุโบสถก็พบกับของอีกชิ้นหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือลูกกรงเหล็กสีทองด้านหน้าพระประธานในอุโบสถ […]

ท้าพิสูจน์ย่าน ‘ประตูผี’ จากชุมชนริมกำแพงพระนครสู่ย่านสตรีทฟู้ดที่ดังไกลไปทั่วโลก

เมื่อพูดถึงย่านหลอนๆ ในความทรงจำของคนกรุงเทพฯ คิดว่าคงหนีไม่พ้น ‘ย่านประตูผี’ ส่วนหนึ่งของโซนเมืองเก่าในเกาะรัตนโกสินทร์ ที่มีเรื่องราวเล่าขานมาอย่างยาวนานถึงเรื่องชวนขนหัวลุก อย่าง ‘แร้งวัดสระเกศฯ เปรตวัดสุทัศน์’ ที่ตกเย็นเมื่อไร ผู้คนในยุคต้นพระนครต่างหวาดกลัว และไม่อยากย่างกรายผ่านย่านนี้ ท่ามกลางความมืดและเรื่องราวจากอดีต ทุกวันนี้ บรรยากาศของความน่ากลัวเปลี่ยนเป็นแสงไฟจากร้านค้าแผงลอยและร้านอาหารในอาคารพาณิชย์ต่างๆ รวมถึงความเงียบที่กลับกลายเป็นความคึกคักของเหล่านักชิมมากหน้าหลายตา ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ที่แวะเวียนกันมาลิ้มลองรสชาติอาหารต่างๆ ของย่านนี้ คอลัมน์ Neighboroot ชวนผู้อ่านแง้มประตูบ้านย่านประตูผี ตามหาแสงไฟร้านค้าของย่านในค่ำคืนก่อนวันฮาโลวีน สำรวจการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่แยกสำราญราษฎร์ไปจนถึงป้อมมหากาฬ กับบทบาทใหม่ที่ได้รับขนานนามในฐานะแหล่งรวมร้านอาหารเจ้าดังระดับโลกและสตรีทฟู้ดขึ้นชื่อ ที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในทุกวัน และกลบความสยองขวัญของย่านที่หายไปจนเหลือเพียงตำนาน ประตูผี คือหนึ่งในย่านหลอนๆ ของชาวพระนครช่วงต้นกรุง เพราะเป็นทางที่นำศพของผู้เสียชีวิตในเขตกำแพงเมือง ออกไปฌาปนกิจยังวัดสระเกศฯ ที่อยู่ด้านนอกคูเมือง โดยเฉพาะช่วงที่มีอหิวาตกโรคระบาดหนัก ก็ใช้เส้นทางนี้ลำเลียงศพออกไปแบบไม่หวาดไม่ไหว ต้องวางศพเกลื่อนลานเมรุวัดสระเกศฯ จนเป็นที่มาของคำว่า ‘แร้งวัดสระเกศฯ’ ที่โฉบลงมากินศพ เป็นที่สยดสยองและร่ำลือกันในหมู่ชาวพระนคร ต่อมาย่านประตูผีได้เติบโตควบคู่ไปกับการตัดถนนบำรุงเมือง ถนนรุ่นแรกๆ ของเกาะรัตนโกสินทร์ที่ใช้เทคนิคการสร้างอย่างชาวตะวันตก ซึ่งคงสร้างทับเส้นทางขนศพในอดีตนี่แหละ พร้อมทั้งมีการปลูกสร้างเป็นอาคารพาณิชย์แบบชิโน-โปรตุกีสอยู่ตลอด 2 ฝั่งถนน ตั้งแต่เสาชิงช้าจนถึงแถบประตูผี แต่ปัจจุบันถูกรื้อหาย กลายเป็นบริเวณแยกสำราญราษฎร์ ร้านรวงต่างๆ จึงเริ่มเข้ามาจับจองพื้นที่ กลายเป็นย่านการค้าอีกแห่งของกรุงเทพฯ มีตลาดใหญ่ชื่อว่า […]

ฟังเรื่องเล่าจากชาว ‘บ้านปูน’ แหล่งผลิตสรรพสินค้าเมดอินฝั่งธนบุรี

ในวันที่สะพานพระราม 8 พัฒนาพื้นที่จนกลายเป็นพับบลิกสเปซอีกแห่งของชาวฝั่งธนฯ รวมถึงนักเรียน-นักศึกษาในละแวกใกล้เคียง ที่หากแดดร่มลมตกเมื่อไร ก็มักพากันมานั่งทอดสายตาที่สวนริมแม่น้ำ ยืดแข้งขาออกกำลังกายที่สวนสาธารณะ เล่นฟุตซอลในสนามใกล้ๆ หรือลานกว้างใต้สะพานที่แปรเปลี่ยนเป็นลานสเก็ตบอร์ดให้เด็กๆ ได้ออกมาวาดลวดลายโชว์ลีลากันสนุกสนานทุกค่ำคืน ทว่าหากไม่ใช่คนที่คลุกคลีอยู่แถบนี้อาจไม่รู้เลยว่า พื้นที่ติดกันนี้มีชุมชนโบราณตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ที่โดดเด่นเรื่องงานหัตถกรรมต่างๆ และของกินของใช้นานาชนิดตั้งอยู่ในชื่อ ‘บ้านปูน’ ขณะที่น้ำเหนือกำลังไหลลงมา สมทบกับน้ำทะเลหนุนสูง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มปริ่มขอบกระสอบทรายใต้สะพานพระราม 8 เราเริ่มต้นทริปวันนี้ที่ด้านหน้าแนวกำแพงเก่า ปูนที่เคยฉาบหลุดล่อนออกมาจนเห็นแนวอิฐก่อ ค่อยๆ ผุพังทลายไปตามกาลเวลา เหลือเพียงเรื่องราวความเป็นมาที่แทบจะเลือนหาย ติดอยู่บนป้ายสีซีดจาง ‘กำแพงวังเจ้าอนุวงศ์’ หรือที่เรียกกันภาษาปากว่าวังเจ้าลาว เป็นหลักฐานของการเข้ามาอยู่อาศัยของเจ้านายจากกรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ที่มาปลูกบ้านเรือนประทับยามที่ต้องเดินทางเข้ามาทำธุระยังกรุงเทพฯ ในช่วงรัชกาลที่ 3 ถือเป็นแลนด์มาร์กสำคัญหนึ่งที่อยู่คู่บ้านย่านนี้ จากกำแพงวังในวันนั้น กลายเป็นเส้นแบ่งอาณาเขตของชุมชนบ้านปูนกับพื้นที่สะพานพระราม 8 ในวันนี้ ทอดตัวเลียบไปกับที่พักอาศัย โดยมีทางเข้า-ออกเล็กๆ ด้านบนเป็นป้ายสีเขียวเขียนชื่อระบุชัดว่า ‘ชุมชนบ้านปูน แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร’ อยู่ที่ปลายกำแพงริมแม่น้ำ เยี่ยม ‘บ้านปูน’ แหล่งผลิตสรรพสินค้าย่านฝั่งธนฯ ชื่อเสียงเรียงนามของบ้านปูนไม่ได้มีที่มาซับซ้อน ว่ากันง่ายๆ คือมาจากการที่มีโรงทำปูน วัตถุดิบสำคัญกินคู่กับหมาก ตั้งอยู่ด้านในชุมชนมาตั้งแต่ช่วงต้นกรุงฯ ขณะที่อีกกระแสหนึ่งบอกว่าเพิ่งมาตั้งในช่วงรัชกาลที่ 4 […]

ทอดน่องท่องย่าน ‘แขกตานี’ ตามหาร่องรอยชาวมลายูในบางกอก

เหลียวซ้ายหันขวาพบว่ากลุ่มคนและวัฒนธรรมอิสลามอยู่ใกล้ตัวเรามากๆ หรือถ้าหากเจาะจงให้แคบลงเฉพาะในเมืองหลวง ลองเปิดแผนที่กรุงเทพฯ ดู ก็ปรากฏชื่อของมัสยิดตั้งอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะในโซนเมืองเก่าที่เราเจอว่ามีกลุ่มคนมุสลิมตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยกันหลายพื้นที่ นอกจากศาสนสถานและอาคารสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นสะดุดตา คำศัพท์ต่างๆ ที่ภาษาไทยหยิบยืมมาใช้ อาหารรสชาติเป็นเอกลักษณ์ ยังมีมรดกอีกหลายอย่างที่ตกทอดและแทรกตัวอยู่ท่ามกลางวิถีชีวิตของคนไทยจนอาจไม่ทันนึกถึง นับว่าเป็นการผสานความหลากหลายของผู้คนที่อยู่ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้ขอติดสอยห้อยตามเพจ Halal Life Magazine นิตยสารออนไลน์ของกลุ่มพี่น้องมุสลิม ไปทอดน่องท่องย่านในกิจกรรม ‘ย่ำตรอก ออกซอย ตามรอยบ้านแขกตานี’ ที่ชวนออกเดินทางสำรวจ ‘ย่านแขกตานี’ ชุมชนดั้งเดิมของคนมลายูที่อพยพมาจากภาคใต้ตั้งแต่ต้นกรุงฯ ตามหาร่องรอยต่างๆ ของแขกมลายูบริเวณนี้ เช่น อาคารบ้านเรือน ชื่อบ้านนามถิ่น อาหารการกิน และมัสยิดศูนย์รวมจิตใจของผู้คนแถบนี้ ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ในเกาะรัตนโกสินทร์ที่สำคัญ เรายังได้กูรูด้านประวัติศาสตร์มุสลิมในประเทศไทยอย่าง ‘อาจารย์ศุกรีย์ สะเร็ม’ และผู้รู้อีกหลายๆ ท่าน มาเป็นผู้พาเดินเที่ยวและช่วยเติมเต็มเรื่องราวต่างๆ ของคนมุสลิมในกรุงเทพฯ ให้ชัดเจนขึ้นอีกด้วย ถิ่นฐานย่านแขก ชุมชนคนมลายูในบางกอก ไม่ไกลจากถนนข้าวสาร แสงสีคู่กรุงเทพฯ ยามค่ำคืน และใกล้ๆ กันกับบางลำพู ช้อปปิงเซ็นเตอร์รุ่นเก่าของเกาะรัตนโกสินทร์ แต่เดิมแถบนี้เคยเป็นหมู่บ้านของพี่น้องชาวมุสลิมที่ตั้งบ้านเรือนอาศัยกันอย่างหนาแน่น ประกอบกิจการร้านค้ากันเรียงรายทั่วย่าน แต่ปัจจุบันหากเดินสำรวจดูโดยไม่มีผู้รู้คอยนำทาง อาจไม่ทราบเลยว่าที่นี่เคยเป็นถิ่นฐานบ้านชาวมลายู เพราะเหลือเพียงชื่อกับร่องรอยไม่กี่อย่างที่บ่งบอกถึงเท่านั้น […]

เดินเล่น-ชิม-ชม ที่ ‘ยมจินดา’ ย่านเมืองเก่าใจกลางจังหวัดระยอง 

เมื่อพูดถึง ‘ระยอง’ หลายคนอาจนึกถึงอีเวนต์สนุกๆ อย่างฟูลมูนปาร์ตี้ที่เกาะเสม็ด ราชินีผลไม้อย่างมังคุด น้ำปลาแท้รสเด็ดที่ต้องซื้อทุกครั้งที่ไปเยือน หรือแม้กระทั่งอนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่เป็นเสมือนแลนด์มาร์กของจังหวัดนี้ แต่นอกจากจุดเด่นต่างๆ ที่เรายกตัวอย่างมา ระยองยังมีอีกหนึ่งมนตร์เสน่ห์อย่าง ‘ยมจินดา’ ย่านเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และยังวางตัวขนานไปกับแม่น้ำระยอง แม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงชุมชนมากว่า 100 ปี  หากพูดง่ายๆ ‘ยมจินดา’ เปรียบได้กับย่าน ‘เจริญกรุง’ ของกรุงเทพฯ เนื่องจากยมจินดาเป็นถนนสายแรกของระยอง ชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง แหล่งที่ดินทำกินของชาวจีนโพ้นทะเล รวมไปถึงที่ตั้งของบ้านขุนนางและคหบดีในอดีต ทำให้ตลอดระยะทางกว่า 600 เมตรของถนนสายนี้เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรม อาหาร และศิลปะพื้นถิ่นที่หลากหลาย มีเอกลักษณ์ แต่สามารถอยู่รวมกันได้อย่างกลมกลืน วันนี้ คอลัมน์ Neighboroot จึงขอพาทุกคนออกนอกกรุงเทพฯ ไปอีกนิด เลยชลบุรีไปอีกหน่อย มุ่งหน้าสู่ตัวเมืองระยองเพื่อร่วมกันสำรวจย่านยมจินดา ผ่านกิจกรรม ‘Co-Create YOMJINDA’ ที่จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ซึ่งเป็นกิจกรรมทดลองพัฒนาพื้นที่ ต่อยอดให้ย่านเมืองเก่าแห่งนี้ ก้าวเข้าสู่การเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่จะทำให้การเดินทางมาระยองของใครหลายๆ คน เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากขึ้นกว่าแค่การมาทะเล ศาลเจ้าแม่ทับทิมระยอง | พื้นที่แห่งศรัทธาของคนไทยเชื้อสายจีน […]

เยือนย่านสามเสน บ้านเขมร บ้านญวน ชุมชนชาวคริสต์ในกรุงเทพฯ

ถ้าค้นเรื่องสืบรากไปในพื้นที่บางกอกที่ตั้งของเมืองหลวงในปัจจุบัน จะพบว่าก่อร่างมาจากการผสมปนเปของกลุ่มคนหลากเชื้อชาติหลายศาสนาที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยในหลายช่วงเวลา ตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองเสียด้วยซ้ำ เห็นได้จากหลักฐานมากมายทั้งอาคารสถาปัตยกรรมต่างๆ อาหารการกินนานาชาติ หรือเชื้อสายบรรพบุรุษของหลายๆ คน ที่เชื่อแน่ว่าจริงๆ แล้ว ต้นตอแทบไม่มีอะไรเป็นไทยแท้ ‘สามเสน’ เป็นอีกย่านหนึ่งที่เราอยากชวนมาสำรวจด้วยกัน เพราะถ้ามองผิวเผินแล้วอาจเห็นเป็นเพียงย่านที่เต็มไปด้วยส่วนราชการ ชุมชนเมือง และโรงเรียนชื่อดัง แต่ความจริงแล้วที่นี่เป็นอีกชุมชนริมแม่น้ำของกรุงเทพฯ ซึ่งรุ่มรวยไปด้วยประวัติศาสตร์และภาพความหลากหลายของกลุ่มคนที่อพยพมาจากภายนอกหลายช่วงเวลา ทั้งบ้านเขมร บ้านญวน แถมมีโบสถ์คริสต์เก่าที่ตั้งอยู่เคียงกันถึง 2 หลัง แวดล้อมด้วยชุมชนชาวคริสต์ขนาดใหญ่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานและอัตลักษณ์น่าสนใจ ที่มาของชื่อบ้านนามเมืองตรงนี้มีการกล่าวถึงอยู่ในนิราศพระบาทของสุนทรภู่ ที่บอกเล่าว่าสามเสนนี้เพี้ยนมาจากคำว่าสามแสน ตามตำนานที่เล่าขานมาแต่อดีต ถึงเหตุการณ์ที่มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ลอยน้ำมา จนต้องใช้กำลังคนถึงสามแสนคนมาช่วยกันฉุดชักลากขึ้นฝั่ง จนกลายเป็นชื่อย่านสามแสนและเพี้ยนมาเป็นสามเสนในปัจจุบัน อาจจริงหรือไม่จริงก็ได้ เพราะข้อสรุปในเรื่องคำว่า ‘สามเสน’ นี้ยังไม่เป็นอันยุติ มาถึงย่านสามเสนทั้งที เราขอเริ่มรูตนี้ที่วัดสำคัญประจำย่านอย่างวัดราชาธิวาสวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่ ‘ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ’ หรือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เคยจำพรรษาอยู่ในขณะที่ทรงผนวช และก่อนหน้าพระองค์ ก็เคยมีพระมหากษัตริย์อีกพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่เคยจำพรรษาที่วัดแห่งนี้เช่นกัน ปัจจุบันวัดที่เป็นเสมือนจุดกำเนิดของธรรมยุติกนิกาย ก็ยังคงความเป็นพื้นที่วัดอรัญวาสี (อรัญวาสี แปลว่าป่า) ที่มีความสงบผ่านบรรยากาศครึ้มด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ ดูแล้วคล้ายวัดป่าตามต่างจังหวัดไม่น้อย เมื่อสืบประวัติลึกลงไป จะพบว่าจริงๆ แล้ว วัดแห่งนี้ไม่ได้เพิ่งเฟื่องฟูในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ก่อนหน้านี้ วัดราชาธิวาสฯ […]

ย้อนรอยตลาดเก่าแก่กลางพระนคร ก่อน ‘ท่าเตียน’ จะเปลี่ยนแปลง

‘ท่าเตียน’ ย่านที่คุ้นหูของคนมาแทบทุกรุ่น อย่างคนรุ่นเก่าหน่อยอาจจะรู้จักว่าเป็นตลาดค้าส่ง ส่วนคนรุ่นหลังมาน่าจะนึกถึงพวกของทะเลแปรรูปที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ ขณะที่ทุกวันนี้ท่าเตียนกลายเป็นเพียงทางผ่านของนักท่องเที่ยวและท่าเรือข้ามฟาก  แต่จริงๆ แล้วที่นี่เป็นชุมชนชาวจีนเก่าแก่ที่มีความเป็นมายาวนานพอๆ กับกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ในทำเลแทบจะใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ โดยซ่อนตัวอยู่เบื้องหลังของอาคารแบบตะวันตกสีเหลืองอายุกว่าร้อยปี ที่เรียงแถวโดดเด่นคู่กับพระบรมมหาราชวังและวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) จนหลายคนยามได้ไปเดินทอดน่องเตร็ดเตร่โซนเมืองเก่า อาจจะเดินผ่านไปมาโดยไม่รู้ว่ามีตลาดและบ้านเรือนอยู่ด้านใน ในวันที่กระแสการพัฒนาและความเจริญถาโถมเข้าสู่ย่านเมืองเก่าต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ท่าเตียนเป็นหนึ่งในย่านที่สายลมนั้นพัดผ่าน เราเดินลัดเลาะเข้าตรอกเล็กๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมกับชาวท่าเตียนที่เกิดและโตที่นี่ พาสำรวจร้านค้าต่างๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่คู่กับตลาดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อพูดคุยเรื่องการเปลี่ยนแปลง และการปรับตัวของร้านกับคนในชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้-วันที่ท่าเตียนกำลังเผชิญการปรับปรุงครั้งใหญ่อีกครั้ง ย่านการค้าเก่าแก่ ผู้คนจอแจเดินขวักไขว่ การขนถ่ายสินค้าขึ้นลงจากเรือที่มาจากทั่วสารทิศ เป็นภาพที่คนรุ่นปัจจุบันไม่ทันเห็น แต่ความทรงจำนี้ยังแจ่มชัดอยู่ในความนึกคิดของชาวท่าเตียน ‘เฮียหมึก-พจน์ตะวัน ชินนาสวัสดิ์’ คือหนึ่งในประจักษ์พยานที่ทันเห็นท่าเตียนในเวอร์ชันดั้งเดิม วันที่ตลาดยังไม่เงียบเหงา และการค้ายังไม่ซบเซาเช่นทุกวันนี้ “ตอนผมเด็กๆ ทุกแผงมีการค้าหมด ไม่ได้เงียบๆ แบบนี้ ขายสารพัด ทั้งผักผลไม้ ของอุปโภคบริโภค” รองประธานชุมชนท่าเตียนชวนย้อนวันเวลา ตรงตำแหน่งที่ตั้งของท่าเตียนแต่เดิมนั้น เป็นที่อยู่ของชุมชนชาวจีนและญวนมาตั้งแต่ก่อนหน้าจะสร้างกรุงเทพฯ ด้วยที่ตั้งที่อยู่ริมฝั่งน้ำ ทำให้สินค้าจากที่ต่างๆ มาลงตรงนี้ ก่อนพัฒนาเป็นตลาดค้าส่งที่สำคัญของกรุงเทพฯ ในยุคสมัยหนึ่ง ทว่าท่าเตียนในวันนี้มีเพียงซอยเดียวที่ยังมีการค้าขาย ลูกค้าที่มาซื้อก็บางตา แผงที่เหลือปิดไปเยอะเกินครึ่ง บ้างถูกใช้เป็นที่เก็บของ เช่นเดียวกับอาคารบ้านเรือนรอบๆ […]

‘ตลาดต้นไม้ ตลาดนัดจตุจักร’ ศูนย์รวมต้นไม้จากทั่วไทยมาไว้ใจกลางกรุง

เทรนด์ปลูกต้นไม้กำลังมาแรง หลังจากนโยบายของพ่อเมืองคนใหม่ที่ชักชวนชาวกรุงเทพฯ และสื่อมวลชนมาร่วมกันปลูกต้นไม้ทั่วเมืองให้ถึง 1 ล้านต้น เพื่อคืนพื้นที่สีเขียวให้กับเมืองหลวงควันและฝุ่นมากมายของเรา ซึ่งตอนนี้เห็นว่ามีผู้สนใจร่วมเป็นจำนวนมากทะลุยอดที่หวังไปเยอะแล้ว แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทำให้มนุษย์กรุงเทพฯ อยากจับจอบเสียม มานั่งเปลี่ยนดินในกระถาง เตรียมปลูกต้นไม้ เพราะก่อนหน้านี้ก็มีกระแสนักปลูกเวียนมาเรื่อยๆ ทั้งในช่วงโควิด-19 ระบาดใหม่ๆ ที่ต้องหากิจกรรมยามว่างระหว่าง Work from Home หรือกระแสไม้ด่าง ไม้มงคล และไม้ฟอกอากาศ ที่ผลัดเปลี่ยนกันมาอยู่ตลอด ในวาระที่กรุงเทพฯ กำลังจะเป็นเมืองสีเขียว (ขึ้น) คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้ถือโอกาสร่วมสร้างสรรค์พื้นที่สีเขียวให้เข้าเทรนด์ ชวนไปพูดคุยกับเหล่าพ่อค้าแม่ขายที่ ‘ตลาดต้นไม้ ตลาดนัดจตุจักร’ ทำความรู้จักที่มาที่ไปของแหล่งค้าต้นไม้ที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯ แห่งนี้ อัปเดตสถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมออกไปมองหาต้นไม้ไซซ์พอเหมาะๆ มาวางไว้สักกระถางริมระเบียงของคอนโดฯ หรือจัดมุมเล็กๆ ของบ้านให้เป็นพื้นที่สีเขียวส่วนตัว ส่วนใครที่มีต้นไม้อยู่แล้ว อยากฟังเคล็ดลับวิธีปลูกให้สวยคู่บ้านไปนานๆ ตามมาฟังพร้อมกัน ตลาดนัดจตุจักร เป็นที่รู้จักมาอย่างยาวนานในฐานะตลาดนัดวันหยุดขนาดใหญ่ของกรุงเทพฯ ที่เพียบพร้อมไปด้วยสินค้านานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยง ต้นไม้ ของใช้วินเทจ หนังสือเก่า เสื้อผ้ามือหนึ่ง-มือสอง ไปจนถึงของที่ระลึกและของฝากที่นิยมมากในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ ภาพคุ้นตาคือทั่วบริเวณของตลาดนัดจตุจักร ซึ่งมีการแบ่งพื้นที่สำหรับขายสินค้าชนิดต่างๆ กว่า 27 โครงการ […]

มิงกะลาบา! แวะทักทายเพื่อนบ้านที่ ‘Little Myanmar’ สัมผัสชุมชนคนพม่าไซซ์จิ๋วย่านพระโขนง

อย่างที่เรารู้กันดีว่า เพื่อนบ้านใกล้ชิดสนิทสนมอย่างเมียนมาหรือพม่านั้น มีความสัมพันธ์กับคนไทยมายาวนานตั้งแต่อดีต ด้วยมีพรมแดนติดกันยาวตั้งแต่ภาคเหนือยันภาคใต้ ไปมาหาสู่กันก็ง่ายดายมาแต่ไหนแต่ไร จนทุกวันนี้บ้านเราถือเป็นปลายทางยอดนิยมในการเข้ามาทำงานของคนเมียนมา มองไปทางไหนก็พบเห็นกันจนเป็นเรื่องปกติไปแล้ว และตามประสาของคนพลัดถิ่น เมื่อเข้ามาอยู่อาศัยในต่างที่ ก็เริ่มรวมกลุ่มกันก่อตัวเป็นคอมมูนิตี้เล็กๆ ไว้พบปะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนซื้อของกินของใช้จากบ้านเกิดกันบ้าง ช่วยให้พอได้ประทังความคิดถึงบ้าน ไม่ต่างจากที่เรามีไทยทาวน์ในต่างประเทศ หรือในกรุงเทพฯ เอง ก็มีโซนของชาวต่างชาติอย่างไชนาทาวน์ ที่เยาวราช หรือ Little India ในย่านพาหุรัด ที่เป็นลักษณะคล้ายๆ กัน แต่สำหรับชุมชนคนเมียนมาในประเทศไทย กลับกลายเป็นว่าเรามักคิดถึงแหล่งสำคัญๆ ที่นึกปุ๊บตอบปั๊บอย่างมหาชัย และแถบสำโรงเสียมากกว่า จุดนี้เองที่ชวนเราตั้งคำถามขึ้นมาว่า แล้วในเมืองหลวงของเรามีชุมชนคนพลัดถิ่นจากประเทศเพื่อนบ้านบ้างไหม  ตลาดพระโขนง ใกล้กับถนนสุขุมวิท ถนนสายเศรษฐกิจสำคัญเป็นคำตอบนั้น เพราะที่นี่เอง ถือเป็นอีกศูนย์รวมหนึ่งของพี่น้องชาวเมียนมา ที่เข้ามาอยู่อาศัยและตั้งเป็นชุมชนขนาดย่อมๆ ใจกลางกรุง จนหลายคนขนานนามให้เป็น Little Myanmar ด้วยเช่นกัน  วันนี้เราเลยขออาสาพาไปสัมผัสวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชุมชนคนเมียนมาแห่งย่านพระโขนง ผ่านอาหารการกินทั้งคาวหวาน ไปจนถึงของใช้ประจำวัน ที่บรรยากาศด้านในไม่ต่างจากเราข้ามแดนไปเที่ยวเมียนมาจริงๆ ก่อนจะเริ่มต้นทริป Neighboroot คราวนี้ เราขอเลยไป Swap แบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าของ Swap & Go ที่ […]

เปิดมุมมองใหม่ ‘เลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา’ ทำไมทุกรูปแบบของชีวิตถึงมุ่งตรงมาที่นี่

พอเอ่ยชื่อเลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา หรือที่เรียกกันติดปากอย่าง ‘เลียบด่วน’ ขึ้นมา ก็พาให้คิดถึงย่านสุด Creative ที่มีคาแรกเตอร์ของย่านที่เด่นชัดน่าสนใจ รายล้อมด้วยแหล่งไลฟ์สไตล์และสถานที่สุดเก๋ ทั้ง public space สำหรับทำกิจกรรม ห้างสรรพสินค้า และพื้นที่สีเขียว แถมยังเป็นย่านรวมที่อยู่อาศัยระดับ luxury เรียงรายตลอด 2 ฝั่งถนน ไม่แปลกใจเลยที่ย่านนี้จะคึกคัก เพราะย่านเลียบด่วนอยู่ใกล้กับใจกลางเมืองและโซนสำคัญๆ ย่าน CBD ของกรุงเทพฯ แค่เอื้อม ทั้งสุขุมวิท เอกมัย ทองหล่อ พระราม 9 ลาดพร้าว ไปจนถึงแถบเกษตร-นวมินทร์ เรียกได้ว่าถนนประดิษฐ์มนูธรรม เส้นทางสายหลักของย่านที่เลียบคู่ไปกับทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา เป็นเสมือนจิ๊กซอว์ที่มาเติมเต็มให้เส้นทางสัญจรของกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก เดินทางเชื่อมถึงกันได้สะดวกสบายง่ายขึ้นมาก คอลัมน์ Neighboroot รอบนี้ เลยอยากชวนไปทำความรู้จักกับเลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา ที่เต็มไปด้วยกิจกรรมสนุกๆ สำหรับทุกรูปแบบการใช้ชีวิต ทั้งอัปเดตเทรนด์งานดีไซน์และของแต่งบ้าน แวะเล่นกับน้องหมาน้องแมวที่ Pet Park ของคนรักสัตว์เลี้ยง และสำรวจความกรีนของคนในย่านที่มีทั้งเลนจักรยานทางไกลและร้านค้าผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกเพื่อสุขภาพ ใครมีจักรยานก็เตรียมเอามาปั่นเยี่ยมย่านพร้อมกันได้เลย! Creative District จุดประกายไอเดียบนย่านแห่งการสร้างสรรค์ มีโอกาสได้มาถึงย่านแห่งการสร้างสรรค์ เราไม่พลาดที่จะเริ่มต้นหมุดหมายที่ […]

บรรทัดทอง ถนนเส้นอาหารของมือเก๋าและหน้าใหม่ที่ผสมผสานกันได้อย่างลงตัว

สำหรับคอลัมน์ Neighboroot ผู้อ่านทุกคนน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า Urban Creature จะออกเดินทางเข้าไปพูดคุยกับผู้คนในแต่ละย่าน เพราะอยากเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้พื้นที่ที่คนอาจจะมองข้ามไปบ้าง ได้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ซึ่งต่างกับการเดินทางครั้งนี้อย่างสิ้นเชิง เพราะถนนบรรทัดทองก็เป็นเส้นทางที่สุดแสนจะคึกคัก อย่างแรกก็อาจจะเป็นเพราะตั้งอยู่ในย่านธุรกิจใจกลางเมือง มีผู้คนแวะเวียนไปมาอยู่ตลอด แถมยังอยู่ใกล้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นจุดเชื่อมต่อกับถนนสายสำคัญของกรุงเทพฯ และเป็นพื้นที่ที่ไม่เคยหยุดนิ่งอยู่แล้ว เราจึงมานั่งคิดกันครับว่า ถ้าพูดถึงถนนที่เป็นเส้นสำนักงานหรือมหาวิทยาลัยเนี่ยจะมีอะไรให้พูดถึงบ้าง คำตอบที่พุ่งเข้ามาแทบจะเป็นอย่างแรกๆ ก็คือ อาหาร! ลองนึกถึงร้านอาหารหน้ามอ หลังมอ หรือร้านข้าวแถวออฟฟิศ ก็น่าสนุกแล้วใช่ไหมครับ แต่บรรทัดทองกลับพิเศษขึ้นไปอีกเพราะมีทั้งร้านสุดเก๋าที่อยู่มาเนิ่นนาน กินกันตั้งแต่พ่อเรียนมหา’ลัย จนมาส่งลูกรับน้อง แถมโลเคชันที่อนุญาตให้คนเก๋าจริงเท่านั้นถึงจะอยู่ได้ ก็เลยมีร้านหน้าใหม่ที่น่าสนใจเกิดขึ้นมากมาย แค่ได้เอ่ยถึงท้องก็ร้องหิวแล้วล่ะครับ งั้นก็ไม่ขอรอช้า เราเริ่มต้นด้วยการมา Swap แบตฯ ให้พร้อมที่ PTT Station สามย่าน แล้วออกเดินทางสู่บรรทัดทองกันเลยดีกว่าครับ สำหรับใครที่อยากขับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าของ Swap & Go มาเที่ยวแถวนี้ก็บอกเลยว่าสะดวกมากครับ เพราะถ้าแบตเตอรี่ใกล้หมดเมื่อไหร่ก็มีสถานีชาร์จไว้คอยให้บริการอยู่ที่ PTT Station สามย่าน ซึ่งก็อยู่ในละแวกเดียวกันนี้แหละ เปลี่ยนแบตฯ ทีเดียวก็วิ่งได้อีกตั้ง 50 กิโลเมตร ใช้งานต่อได้ทั้งวันแบบสบายๆ  ยักษ์ […]

เยี่ยมคนเกาหลีย่านอโศก สัมผัสวัฒนธรรมแดนโสมใจกลางกรุงเทพฯ

ไม่รู้ตั้งแต่เมื่อไหร่นะครับที่ความเป็นเกาหลี ทั้งซีรีส์ อาหาร ศิลปิน เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า จะเป็นอะไรก็ตามแต่ก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตพวกเราอย่างไม่รู้สึกแปลกแยกไปแล้ว ตอนนี้ทั้งคนใกล้ตัว หรือไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็ดูจะผูกพันกับวัฒนธรรมเกาหลีมากขึ้นไปทุกที  ชาวเกาหลีที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยก็มีไม่น้อยโดยเฉพาะช่วงสุขุมวิทตอนต้น และที่ข้ามไปไม่ได้เด็ดขาดก็คือแถวอโศกนี่แหละ โดยมีโคเรียนทาวน์ยืนหนึ่งเรื่องเกาหลีมาร่วมสามสิบปี แถมในช่วงราวสิบปีนี้ก็มีศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีมาเปิดอีกต่างหาก  คอลัมน์ Neighboroot ขอพาทุกคนไปคุยกับเจ้าของร้านอาหารเกาหลีร้านแรกๆ ในโคเรียนทาวน์ พร้อมพาตะลุยย่านสัมผัสวัฒนธรรมแดนโสมใจกลางกรุงเทพฯ กันดีกว่า ว่าจะมีอะไรให้พวกเราค้นหาอีกบ้าง!  ย้อนกลับไปเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว ประเทศไทยยังไม่ได้คุ้นเคยกับวัฒนธรรมเกาหลีมากเท่าไหร่ ไม่ต้องพูดถึงโคเรียนทาวน์ ที่ถ้าพูดชื่อไปก็รับรองได้เลยว่าไม่มีใครร้องอ๋อเหมือนสมัยนี้แน่ๆ  ประวัติโดยย่อคือ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2532 โคเรียนทาวน์มีชื่อว่า สุขุมวิทพลาซ่า เพราะตั้งอยู่บริเวณตอนต้นของถนนสุขุมวิท แล้วก็ยังไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับคำว่าเกาหลีเลยแม้แต่น้อย จนกระทั่งชาวเกาหลีที่ย้ายถิ่นฐานมายังประเทศไทยเริ่มเข้ามาเปิดร้านอาหารกันมากหน้าหลายตา และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จนภาครัฐขนานนามให้ว่า โคเรียนทาวน์ เพราะถือว่าที่นี่เป็นแหล่งรวมร้านอาหารเกาหลีที่มากที่สุดของไทย  ว่าแต่เรื่องราวของโคเรียนทาวน์เป็นมายังไง ชาวเกาหลีเข้ามาทำอะไรที่สุขุมวิทตอนต้น เราชวนขับ Swap & Go จาก PTT Station นานาใต้ ที่อยู่ห่างออกไปไม่กี่ร้อยเมตร มาฟังจากปาก Jang Won BBQ ร้านอาหารเกาหลีสูตรต้นตำรับ ซึ่งเป็นร้านแรกๆ […]

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.