The Vessel สถาปัตยกรรมเก๋ทำให้คนอยากตายจริงหรือ?

ในช่วงระยะเวลาเพียงปีกว่าๆ The Vessel แลนด์มาร์กไอคอนิกสุดหรูในแมนฮัตตัน มหานครนิวยอร์ก มีคนเลือกมาจบชีวิตแล้วถึง 4 คน และใช่ ที่น่าตกใจกว่าเดิมคือทั้งสี่เป็นเพียงคนหนุ่มสาวอายุ 14, 19, 21 และ 24 ปีเท่านั้น ทำไมสถานที่พักผ่อนหย่อนใจภาพลักษณ์หรูมากด้วยดีเทลนี้ ถึงกลายเป็นพื้นที่ของการฆ่าตัวตายติดต่อกันเสียอย่างนั้น ทั้งๆ ที่ภาคเอกชนก็พยายามปั้นให้เป็นพื้นที่ที่มีดีไซน์แปลกใหม่ แถมยังมองเห็นทิวทัศน์ของนิวยอร์กได้อย่างน่าตื่นใจ ใครผ่านไปมาก็ต้องหยุดมองเพราะมันโดดเด้งจากพื้นที่แบบไม่มีใครเทียบรัศมี The Vessel เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาสเปซริมแม่น้ำ Hudson ฝั่งตะวันตกของเมือง โปรเจกต์นี้มีทั้งสำนักงานออฟฟิศ ที่พักอาศัย ห้างร้าน และพื้นที่สาธารณะ บนเนื้อที่ 70 ไร่ ซึ่งถูกเรียกว่า Pseudo-Public Space ถ้าให้นิยามง่ายๆ มันคือพื้นที่สาธารณะที่สร้างและพัฒนาโดยเอกชน กรณีของสถาปัตยกรรมวงกตที่หลายคนขนานนามว่ามีลักษณะเหมือนรวงผึ้ง เป็นส่วนหนึ่งในโปรเจกต์อลังการงานสร้างของ Hudson Yards Redevelopment พื้นที่นี้เปิดให้เข้าชมฟรีในชั่วโมงแรกที่เปิดทำการ นอกเหนือจากเวลานี้จะคิดค่าตั๋วบุคคลทั่วไปราคา 10 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบก็เข้าชมได้แบบฟรีๆ  ก่อนไปถึงเรื่องการฆ่าตัวตาย สถาปัตยกรรมนี้เป็นงานศิลปะแบบ Interactive ที่คิดค้นโดย […]

ถ้าครูฟังอยู่ อยากให้รู้ว่า ‘หนูเหนื่อย’ ฟังความในใจของเด็กไทยในวันที่ต้องกลับมาเรียนออนไลน์

โจทย์การบ้านวันนี้ : ให้นักเรียนเขียนถึงความรู้สึกของการเรียนออนไลน์ในครึ่งเทอมนี้ มีอะไรอยากระบาย อยากบอกเล่าให้ครูฟัง พิมพ์มาได้เต็มที่เลย นี่เป็นโจทย์การบ้านจริงของเด็กมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่คุณครูโรงเรียนแห่งหนึ่งมอบให้พวกเขาได้รับบทผู้พูด ระบายความในใจจากการเรียนออนไลน์เต็มระบบมาตลอดระยะเวลาหนึ่งเทอม ตั้งแต่มีการระบาดของ COVID-19 เด็กไทยจำนวนมากกำลังถูกพรากช่วงชีวิตในวัยเรียนและความทรงจำที่มีค่าไป เด็กไทยต้องปรับตัวเรียนออนไลน์ทั้งๆ ที่ไม่พร้อม ทั้งสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์การเรียน และที่น่าเสียดายคือพวกเขาไม่ได้ไปโรงเรียน ไม่ได้เจอเพื่อน ไม่ได้เจอคุณครู ไม่มีโอกาสเรียนรู้และสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และนักเรียนบางคนที่ย้ายโรงเรียนหรือขึ้นระดับชั้นใหม่ อาจจะไม่มีโอกาสได้รู้จักเพื่อนร่วมห้องตัวเป็นๆ ด้วยซ้ำนี่คือคำตอบของเด็กที่มีตัวตนจริงๆ ซึ่งล้วนระบายความรู้สึกออกมาจากใจ จนทำให้เราคิดถึงวัยเด็กอีกครั้ง ถ้าฟังเสียงของพวกเขาจบแล้ว เราอยากชวนให้ทุกคนกลับมาฟังเสียงของลูกหลานในบ้าน และหันกลับไปถามความรู้สึกของพวกเขากันว่าวันนี้ “หนูเหนื่อยไหม?” หนูเรียนออนไลน์จนตาจะพังแล้ว เราล้วนโตมากับคำเตือนของผู้ใหญ่ว่า อย่าจ้องหน้าจอคอมและโทรศัพท์เป็นระยะเวลานาน เพราะจะทำให้สายตาเสีย หรือแม้แต่กระทรวงสาธารณสุขเองก็ออกมาเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการใช้คอมพิวเตอร์นานเกิน 2 ชั่วโมง  ทว่าเป็นที่น่าเป็นห่วง เพราะปัจจุบันเด็กต้องอยู่หน้าจอคอมเพื่อเรียนออนไลน์ไม่ต่ำกว่าวันละ 6 ชั่วโมง ​ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะตาล้า (Digital eye strain) ปวดตา ตาแห้ง แสบตา หรือบางคนอาจจะถึงขั้นปวดศีรษะร่วมด้วย และคำว่าเรียนออนไลน์อาจจะไม่เหมาะสำหรับทุกคน เพราะนั่นหมายถึงการมีอุปกรณ์การเรียนที่มากกว่าสมุดและปากกา คือคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โต๊ะ และเก้าอี้ในการเรียนของเด็ก บ้านที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ […]

The Lost Year : เด็กไทยสูญเสียอะไรบ้างในยุคโควิด-19?

เริ่มต้นวันเสียงนาฬิกาปลุก เราลุกขึ้นจากที่นอนด้วยความขี้เกียจจะใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ไปอีกวัน หยิบโทรศัพท์เข้าทวิตเตอร์เป็นอย่างแรกเพื่ออ่านเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวันนี้เหมือนกับอ่านหนังสือพิมพ์ตอนเช้า และเป็นอีกวันที่เราเห็นตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ และตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เพิ่มขึ้นอีกแล้ว เพิ่มขึ้นทุกวันๆ ทวีตขอความช่วยเหลือทั้งหาเตียงให้ผู้ป่วยโควิด ข่าวการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยเหลือไม่ทันเวลา โพสต์ขายของที่เห็นได้ทั่วไปบนทวิตเตอร์ที่ตั้งแต่เริ่มต้นวิกฤตโรคระบาดนี้มาก็เริ่มแยะขึ้นทุกวัน จนเราเกิดคำถามว่า เราอยู่กับโควิดกันมานานแค่ไหนแล้วนะ? คำตอบคือ 1 ปี 6 เดือน 30 วัน และที่น่าเศร้ายิ่งกว่าคือสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยดูจะไม่ดีขึ้นในเร็วๆ นี้ บ้านที่ตอนนี้เป็นทั้งที่กิน ที่นอน ที่เรียน ที่เล่น ที่ทำงานก็คงจะมีสถานะเช่นนี้ไปอีกนาน มองออกไปนอกหน้าต่างก็เห็นเพียงถนนว่างเปล่า จากถนนที่มักจะคึกคักด้วยรถราในช่วงสายไปจนถึงเย็นของวัน ออกจากบ้านแต่ละครั้งเราไปได้ไกลสุดแค่ซูเปอร์มาร์เก็ตใกล้บ้าน ไม่รู้ว่าคุณป้าที่ขายผักที่ตลาดแล้วสนิทกับคุณยายเราจะเป็นอย่างไรบ้าง คุณพี่รถไอติมที่มักเข้ามาขายช่วงบ่ายของวันก็ไม่เจอเป็นเดือนแล้ว หรือคุณลุงขายผลไม้ที่กินประจำตอนไปเรียนที่คณะจะยังสบายดีอยู่ไหม ทุกคนได้รับผลกระทบและสูญเสียสิ่งสำคัญในชีวิตไปกับวิกฤตโรคระบาดในรูปแบบที่ต่างกัน คนกลุ่มหนึ่งที่เรานึกถึงอยู่เสมอคือผู้คนวัยเดียวกับเรา ตั้งแต่การระบาดในระลอกแรกพวกเราถูกจำกัดพื้นที่ในการใช้ชีวิตมานาน ไม่มีโอกาสได้ไปโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย สูญเสียโอกาสใช้ชีวิตให้เต็มที่สมวัย ถูกพรากความฝันและตัวตนไปไม่ต่างกับผู้คนวัยอื่นๆ วันที่ 12 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันที่องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ประกาศให้เป็น ‘วันเยาวชนสากล (International Youth Day)’ เพื่อให้ทั่วโลกตระหนักถึงเสียงและการมีส่วนร่วมของเยาวชนในเรื่องต่างๆ ของเยาวชน เราในฐานะนิสิตที่เรียนออนไลน์มานาน กำลังจะเรียนจบ […]

ติด Covid-19 รัฐจ่ายอะไรให้บ้าง?

แม้จะมีข่าวโรงพยาบาลเรียกเก็บเงินเพิ่มอยู่เป็นระยะ แต่ถ้าว่ากันตามกฎหมายแล้วผู้ป่วยโควิด-19 จะได้รับการรักษา ‘ฟรี’ เนื่องจากเป็นโรคติดต่ออันตราย และถือว่าผู้ติดเชื้อเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินต้องได้รับการรักษาทั้งจากโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชนที่จะส่งบิลไปเรียกเก็บกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แล้วรัฐออกอะไรให้เราบ้าง แต่ละกระบวนการมีราคาเท่าไหร่ สิทธิ์ของเรามีแค่ไหน ดูกันได้ที่นี่ ค่าตรวจ 2,300 บาท  ราคาแรกที่รัฐต้องจ่ายเพื่อคัดกรองผู้ติดเชื้อมีหลายวิธีด้วยกัน แต่ถ้าเป็นการคัดกรองเฉพาะบุคคลไม่ได้ตรวจหาเป็นกลุ่มจะนิยมด้วยกัน 2 วิธีคือ RT-PCR ซึ่งเป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำเพราะมีความแม่นยำสูงตรวจได้ทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตายและทราบผลได้ใน 24 ชั่วโมง และอีกวิธีคือ Rapid Antigen Test ที่ใช้งานง่ายกว่าและทราบผลได้ในเวลาไม่เกิน 30 นาที ข้อเสียคือไม่สามารถตรวจหาเชื้อโรคที่ปริมาณน้อยได้ ทำให้ไม่แม่นยำเท่า RT-PCR ซึ่งแต่เดิมตรวจฟรีเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสัมผัสสูง แต่ปัจจุบันมีการเปิดจุดตรวจฟรีเพิ่มขึ้นในพื้นที่เสี่ยงโดยใช้วิธี Walk-in หรือรับบัตรคิวล่วงหน้า  RT-PCR 2,300 บาท  Rapid Antigen Test 1,200 บาท เฉพาะในกรณีฉุกเฉิน (*หากตรวจร่วมกับ RT-PCR ไม่เกิน 500 บาท)  รายละเอียดเพิ่มเติม : shorturl.at/envIJ ค่ารักษา […]

สรุปแนวทางล้อมคอกก่อนซ้ำรอยโรงงานระเบิดใกล้ชุมชน

เสียงระเบิดดังสนั่นตอนตี 3 ของเช้าวันที่ 5 กรกฎาคม เป็นต้นเหตุของแฮชแท็ก #โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ กลายเป็นประเด็นร้อนประจำสัปดาห์ที่ประชาชนทั่วทุกสารทิศต่างให้ความสนใจ ทั้งภาพความเสียหายจากแรงระเบิดของบ้านเรือน ภาพไฟกำลังลุกไหม้และควันดำพวยพุ่งขึ้นฟ้า หรือภาพมุมสูงทำให้เห็นความใกล้ของระยะโรงงานและชุมชน ส่งผลให้ประชาชนตั้งข้อสงสัยที่ตั้งโรงงานอยู่ใกล้ที่อยู่อาศัยได้หรือ ก่อนพาทุกคนไปหาคำตอบที่สงสัย ‘โรงงานกิ่งแก้ว’ หรือ ‘บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด’ เป็นโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกสัญชาติไต้หวัน ก่อตั้งขึ้น พ.ศ. 2532 บริเวณซอยกิ่งแก้ว 21 จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพจากดาวเทียม LANDSAT-5, Sentinel-2 และ Thaichote (ไทยโชต) เผยให้เห็นที่ตั้งโรงงานในอดีตอยู่กลางทุ่งนา ภายหลังเกิดการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านจัดสรร สนามบินสุวรรณภูมิ หรือห้างสรรพสินค้า กลายเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่รอบโรงงาน โรงงานผิดที่ตั้งอยู่ในชุมชน? อย่างที่เรารู้กันว่า ‘กฎหมายผังเมือง’ มีแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือผังสี เพื่อบอกประเภทการใช้งาน ตั้งแต่ที่อยู่อาศัย สถาบันการศึกษา ไปจนถึงเกษตรกรรม ซึ่งจากการสืบค้นข้อมูลบนเว็บไซต์กรมโยธาธิการและผังเมือง พบว่า ‘บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด’ จัดตั้งขึ้นก่อน ‘ผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2537’ (ฉบับแรก) […]

ทำไมต่างประเทศถึงรื้อทางด่วน

แท็กซี่ : สวัสดีครับ ไปไหนครับสมศรี : ไปสนามบินดอนเมืองค่ะ ขึ้นทางด่วนเลยนะพี่ หนูรีบ! ในวันที่เร่งรีบ การเดินทางด้วย ‘ทางด่วน’ คงเป็นตัวเลือกอันดับแรกที่คนเมืองใช้เพื่อหลีกหนีการจราจรที่หนาแน่นในกรุงเทพฯ และย่นระยะเวลาให้ไปถึงจุดหมายปลายทางได้เร็วขึ้น ซึ่งพอมองดูแล้วการมีทางด่วนก็ทำให้ชีวิตการเดินทางของเราง่ายขึ้นนี่นา แล้วทำไมอยู่ๆ ต่างประเทศถึงลุกขึ้นมารื้อทางด่วนกันนะ ‘ทางหลวงที่ควบคุมการเข้าถึง’ หรือที่เรียกกันว่า ‘ทางด่วน’ (Expressway) เป็นทางหลวงประเภทหนึ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้เราเดินทางได้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ซึ่งตามหลักแล้วตลอดเส้นทางจะมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวก มีแสงสว่าง จุดพักรถ รวมไปถึงระบบตรวจจับความเร็ว อาจเปิดให้ใช้ในลักษณะถนนที่เก็บค่าผ่านทางหรือไม่ก็ได้ ‘ลองไอส์แลนด์มอเตอร์พาร์กเวย์’ (Long Island Motor Parkway) ในเกาะลองไอส์แลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา คือทางด่วนเส้นแรกของโลก สร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 20 เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของรถยนต์ รวมถึงความต้องการที่จะเดินทางให้รวดเร็วมากขึ้น โดยทางด่วนเส้นนี้เปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อปี 1908 เป็นถนนที่ประกอบด้วยฟังก์ชันทันสมัยหลายอย่าง เช่น พื้นเอียงบริเวณทางโค้ง ราวกันอันตราย คอนกรีต และยางมะตอยเสริมแรง มีประโยชน์ขนาดนี้ แล้วทำไมถึงยังรื้อทิ้ง ‘เกาหลีใต้’ เป็นเรื่องที่เราประหลาดใจพอสมควร เมื่อได้ยินข่าวว่าเกาหลีใต้ได้ตัดสินใจรื้อทางด่วนสายสำคัญในกรุงโซลทิ้ง และแทนที่ด้วยเลนสำหรับรถบัสที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยทางด่วนดังกล่าวหรือที่คนเกาหลีเรียกว่า […]

สำรวจคลัสเตอร์แคมป์คนงาน ส่องมาตรการควบคุมโควิดดีพอหรือยัง?

ขณะที่คลัสเตอร์แคมป์คนงานยังคงออกข่าวอยู่เรื่อยๆ ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ก็เพิ่มขึ้นทวีคูณ ด้วยจำนวนแรงงานที่ง่ายต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในวงกว้าง และส่งผลกระทบตั้งแต่แรงงานระดับรากหญ้าไปจนถึงเศรษฐกิจของประเทศ เราจึงชวนมาสำรวจความเป็นอยู่ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่างๆ พร้อมส่องมาตรการในแคมป์คนงานว่ารัดกุมมากน้อยแค่ไหน

เราจะอยู่ที่ไหนก็ได้ที่ตัวเองพอใจ ในแบบจ่ายไหว โดยไม่อิงกับที่ทำงานอีกต่อไป

ปีที่ผ่านมาโควิด-19 เปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของโลกใบนี้ไปโดยสิ้นเชิง ปัจจุบันเมื่อประเทศชั้นนำได้แจกจ่ายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้ทั่วถึงประชาชนส่วนมากแล้ว สิ่งที่คุ้นตาก็เริ่มมีมาให้เห็น เมืองเริ่มกลับมาคึกคัก ผู้คนนำชีวิตชีวามาสู่ท้องถนน ร้านอาหารเปิดขายตามปกติ มหาวิทยาลัยและพิพิธภัณฑ์เต็มไปด้วยนักศึกษา  แต่บาดแผลที่ไวรัสทิ้งไว้ให้ยังไม่หายดี โดยเฉพาะย่านศูนย์กลางธุรกิจหรือ CBD (Central Business District) พื้นที่ใจกลางเมืองที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ที่ส่อแววว่าอาจจะไม่กลับมาคึกคักในเร็ววันอย่างที่เห็นได้ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งแม้บริษัทจะเปิดให้กลับมาทำงานได้แล้ว แต่พนักงานกว่าครึ่งหนึ่งยังเลือกที่จะทำงานจากโซฟาในห้องนั่งเล่น แวะทานมื้อสายบนเก้าอี้บาร์และท็อปครัวที่ทำจากหินอ่อน มากกว่าไปแออัดยัดเยียดกันที่ใจกลางเมือง และดื่มน้ำล้างแก้วจากร้านกาแฟราคาแพงใต้สำนักงานเพื่อกระตุ้นสมองให้พร้อมรับแรงกดดันตลอดเวลา CBD ยังไม่ได้รับวัคซีน ย้อนกลับไปเมื่อปี 2020 ย่านศูนย์กลางธุรกิจชั้นนำของโลกเต็มไปด้วยความเงียบเหงา พนักงานกว่า 4.5 ล้านคน ไม่ได้รับอนุญาตให้ประจำการอยู่ที่ออฟฟิศเหมือนเคย เมื่อเวลาล่วงเลยไปร่วมขวบปีในขณะที่ประเทศไทยเริ่มปูพรมฉีดวัคซีนเมื่อต้นเดือนมิถุนายน และประกาศว่าจะเปิดประเทศในอีก 120 วันให้หลัง สหรัฐฯ ฉีดวัคซีนให้ประชาชนทั่วประเทศไปแล้วกว่า 300 ล้านโดส และเตรียมส่งมอบให้โครงการ COVAX อีก 500 ล้านโดส ล่าสุด นิวยอร์กเกอร์ สามารถออกมาสูดอากาศในที่สาธารณะได้โดยไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัย และกฎข้อบังคับเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็แทบจะยกเลิกไปโดยสิ้นเชิง  แม้การฉีดวัคซีนจะเข้าถึงอเมริกันชนส่วนใหญ่แล้ว แต่ CBD ดูจะยังหาวัคซีนเข็มแรกของตัวเองไม่เจอ ตัวเลขจาก Kastle Systems […]

ไม่มีเงินเรียนหมอได้ไหม

เด็กต่างจังหวัดหลายๆ คนอาจจะเคยได้ยิน ‘ทุนเรียนดี แต่ยากจน’ ผ่านมา 20 ปี ทุนนี้ก็ยังคงอยู่ จนกลายเป็นสิ่งที่เด็กในประเทศนี้ต้องมาแย่งชิงกัน ทั้งๆ ที่เด็กทุกคนควรได้รับการศึกษาฟรี (ที่ฟรีจริงๆ) ตั้งแต่อนุบาลไปจนถึงระดับปริญญาตรีเหมือนในหลายประเทศ แต่ปัจจุบันประเทศไทยให้เด็กเรียนฟรีในโรงเรียนรัฐแค่ระดับชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามการศึกษาขั้นพื้นฐานเท่านั้น ทำให้ทุกปีช่วงเปิดภาคการศึกษาเราจะได้เห็นข่าวเด็กสอบติดคณะต่างๆ โดยเฉพาะคณะแพทยศาสตร์แต่ไม่มีเงินเรียน อย่างกรณีนักเรียนหญิงอายุ 18 ปี ในจังหวัดกาฬสินธุ์สอบติดแพทย์ แต่ทางบ้านฐานะยากจน ทำให้ผู้ใจบุญและชาวเน็ตพร้อมใจโอนเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือจนได้เงินบริจาคกว่า 3.7 ล้านบาท หลังจากมีข่าวออกไป เรื่องนี้ก็กลายเป็นหัวข้อที่ถูกพูดถึงกันอย่างหนัก หนึ่งในนั้นคือประเด็นที่ว่า “ทำไมประเทศนี้ให้ความสำคัญกับคนที่สอบติดแพทย์มากกว่าเด็กที่สอบติดคณะอื่นๆ” ไปจนถึง “คณะแพทย์ฯ มีทุนมากมายให้นักศึกษาที่มีฐานะยากจน” เมื่อสังคมตั้งคำถาม เราจึงพาทุกคนมาหาคำตอบว่าทำไมอาชีพหมอถึงถูกให้ความสำคัญในสังคมไทย และถ้าอยากเรียนแล้วไม่มีเงินจะเรียนได้ไหม | ค่านิยมของคนรุ่นเก่า “เก่งขนาดนี้ ทำไมไม่เรียนหมอ”“เป็นหมอแล้วได้เงินดีนะ มีค่าตอบแทนสูง”“หมอเป็นอาชีพมั่นคง ไม่ตกงาน” ในปี 2500 ได้มีการสำรวจ ‘ค่านิยมในการประกอบอาชีพของเด็กไทยชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตพระนครและเขตธนบุรี’ พบว่า ‘แพทย์’ คืออาชีพที่เด็กๆ ในยุคนั้นใฝ่ฝันอยากเป็นมากที่สุด โดยให้เหตุผลว่าเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ รองลงมาก็ครู ทหาร ตำรวจ และเข้ารับราชการ […]

ทำไมถนนปูดเก่ง จนรถพากันเหินไม่หยุด

ใครขับรถไปจนถึงเดินบนฟุตพาทแล้วอาจชำเลืองตาไปเห็นกับสภาพ ‘ถนนปูด’ ที่ปูดเก่งไม่ไหว จนพาให้รถหลายคัน ทั้งรถยนต์ ไปจนถึงมอเตอร์ไซค์เหินเวหา ล้มระเนระนาดมานับไม่ถ้วน แล้วสภาพถนนปูดนี้เกิดขึ้นเพราะอะไร คอลัมน์ Curiocity ชวนมาหาคำตอบกัน ก่อนอื่นชวนทำความเข้าใจก่อนว่า ถนนในบ้านเรามีทั้ง ‘ถนนลาดยางมะตอย’ หรือ ถนนแบบผิวทางอ่อน (Flexible Pavement) ซึ่งจะใช้หลักการออกแบบตามมาตรฐานของสถาบันยางมะตอย (Asphalt Institute) โดยจะมีอายุการใช้งานราว 20 – 30 ปี กับอีกรูปแบบถนนคือ ‘ถนนคอนกรีต’ หรือ ถนนแบบผิวทางแข็ง (Rigid Pavement) ใช้หลักการออกแบบตามวิธีของสมาคมปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Portland Cement Association : PCA) โดยจะมีอายุการใช้งานอย่างน้อย 40 – 50 ปี สาเหตุถนนปูดคืออะไร สำหรับอาการถนนบวม (Upheaval) หรือเรียกง่ายๆ ว่าถนนปูดนั้น เป็นความเสียหายด้านการใช้งาน (Functional Failure) ประเภทการเปลี่ยนรูปร่าง (Distortion) และมักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งกับถนนประเภทลาดยางมะตอยที่มีชั้นถนนเป็นดินเดิมของพื้นที่นั้นๆ ซึ่งสาเหตุของการเกิดมีดังนี้ […]

สัญญาณไฟเหลือง เตรียมหยุด หรือ เตรียมเหยียบ

ฮันแน่~ ชอบเร่งเครื่องตอนเห็นไฟเหลืองกันหรือเปล่า ถ้าเคยทำหรือยังทำอยู่อยากให้ลองอ่านเรื่องราวเหล่านี้ดูสักนิด แล้วคุณอาจจะเปลี่ยนความคิดใจเย็นลง เมื่อไฟสีเหลืองอำพันแสดงอยู่บนเสาสัญญาณจราจร เราต้องทำตัวอย่างไรดี หลักการทำงานง่ายๆ ของไฟจราจรคือการใช้สีบ่งบอกสัญญาณการขับขี่ ไฟเขียวคือสัญญาณให้รถวิ่ง ในทางกลับกันไฟแดงคือสัญญาณบ่งบอกว่าให้หยุดรถ ทว่าไฟเหลืองกลับมีความพิเศษมากไปกว่านั้น เพราะสำหรับบางคนเห็นไฟแล้วเตรียมตัวหยุด แต่หลายคนเมื่อเห็นไฟเหลืองก็เปลี่ยนตัวเองเป็นวัวกระทิงที่พร้อมพุ่งกระโจนใส่ไฟเหลืองอย่างรวดเร็ว ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวมีโอกาสก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้สูงกว่าปกติ | ขับรถฝ่าไฟเหลืองผิดมั้ยนะ คำตอบคือผิด แต่มีข้อยกเว้นบางกรณีอ้างอิงตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 22 ระบุไว้ว่าผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่ปรากฏข้างหน้าในกรณีต่อไปนี้ สัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพัน ให้ผู้ขับขี่เตรียมหยุดรถหลังเส้น เพื่อเตรียมปฏิบัติตามสัญญาณที่จะปรากฏต่อไป เว้นแต่ผู้ขับขี่ที่ได้ขับเลยเส้นรถหยุดไปแล้วขณะเกิดไฟเหลืองให้ขับรถเลยไปได้ เท่ากับว่าถ้าขับรถผ่านเส้นหยุดก่อนที่ไฟเหลืองขึ้นมีโทษปรับ 1,000 บาท นั่นเอง | แต่ในบางครั้งเราก็ไม่ได้ตั้งใจขับรถฝ่าไฟเหลือง หากไม่นับในบางครั้งที่เราอาจไม่ได้ตั้งใจจะทำผิด แต่การออกแบบสัญญาณไฟจราจรดันไม่เอื้อต่อการขับขี่เท่าที่ควร เช่น สัญญาณไฟจราจรบางแยกไม่มีตัวเลขนับถอยหลังระบุให้ชัดเจน หนำซ้ำบางแยกไฟเขียวยังไม่มีฟังก์ชันกะพริบเพื่อส่งสัญญาณเตือนผู้ขับขี่ก่อนจะเปลี่ยนเป็นไฟเหลือง แต่จะเปลี่ยนแบบฉับพลันในขณะที่รถขับด้วยความเร็ว ทำให้ชะลอรถไม่ทันเพราะการเบรกกะทันหันอาจจะเกิดอุบัติเหตุตามมาได้ จึงต้องตัดสินใจขับรถฝ่าไปในที่สุด ความจริงตามกฎจราจรประเทศไทยมีระยะเวลาไฟเหลืองเฉลี่ยราว 3 วินาทีบวกกับระยะเวลาไฟแดงของจุดอื่นอีก 2 วินาทีเพื่อความปลอดภัย โดยระยะเวลาดังกล่าวถูกคำนวณให้คนขับมีเวลาเพียงพอเพื่อจะหยุดรถทันเมื่อขับขี่รถด้วยความเร็วตามกฎหมาย แต่หากขาดสัญญาณบอกก่อนเปลี่ยนสีก็ยากที่จะคำนวณระยะในการเบรกรถได้ ซึ่งพบว่าแยกไหนมีระยะเวลาไฟเหลืองต่ำกว่า 3 วินาที สามารถแจ้งสำนักจราจรฯ กทม. มาแก้ไขให้ตรงมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยเช่นกัน […]

ทำไมมอเตอร์ไซค์ห้ามขึ้นสะพาน ความเหลื่อมล้ำบนถนน ดีต่อรถยนต์แต่ไม่เอื้อพาหนะสองล้อ

ภาพอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์คว่ำบนสะพานถูกกั้นด้วยกระจกรถยนต์หนาไม่กี่มิลลิเมตรที่ขับผ่านไปคันแล้วคันเล่า ถ้ามองจากวิวบนพาหนะ 4 ล้อ บ้างอาจคิดว่าเจ้าของมอเตอร์ไซค์เหล่านั้นน่าสงสาร บ้างอาจคิดว่าขับมอเตอร์ไซค์อันตรายจนรีบบอกลูกที่นั่งเบาะข้างๆ ว่าอย่าไปขับเชียวนะ บ้างอาจคิดว่าทำผิดกฎหมาย ‘ห้ามขึ้นสะพาน’ เองนี่ หรืออาจคิดว่าคนขับมอเตอร์ไซค์ผิดตั้งแต่เลือกขับแล้ว เพราะกฎหมายเข้มงวดสารพัดสิ่งถูกบังคับใช้กับคนขับมอเตอร์ไซค์เป็นส่วนใหญ่ แม้อุบัติเหตุบางส่วนเกิดขึ้นเพราะคนขับรถยนต์ และลักษณะการออกแบบของสะพานก็ตาม นั่นน่ะสิ ทำไมคนขับมอเตอร์ไซค์ที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ (มีจำนวน 21,452,050 คัน มากกว่ารถยนต์กว่า 10 ล้านคันเลยนะ) ถึงห้ามขึ้นสะพานฝ่ายเดียว ตามมาตรา 139 (1) ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ข้อ 3 กล่าวว่า ห้ามรถจักรยานยนต์ รถจักรยาน รถยนต์สามล้อ และล้อเลื่อนลากเข็นทุกชนิดเดินบนสะพานข้ามทางร่วมทางแยก สะพานยกระดับ และสะพานข้ามแม่น้ำ รวม 39 สาย  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความเห็นเกี่ยวกับการอนุญาตให้มอเตอร์ไซค์ขึ้นสะพานจากกลุ่มประชาชนตัวอย่างในเขต กทม. 1,254 คน พบว่า ร้อยละ 51.12 ไม่เห็นด้วย เพราะสะพานข้ามแยกค่อนข้างลาดชัน ไม่เหมาะกับมอเตอร์ไซค์ เนื่องจาก ‘รถยนต์’ […]

1 4 5 6 7 8

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.