คนต่างจังหวัดก็อ่านหนังสือ แต่ทำไมงานหนังสือถึงจัดไม่บ่อยเท่าในกรุงเทพฯ

สำหรับชาวนักอ่านตัวยง คงจำได้ว่าเมื่อก่อนนี้เราแทบต้องนับวันรองานหนังสือแห่งชาติที่ในหนึ่งปีจะวนกลับมาให้เราออกกำลังกายขาและแขนในการเดินเลือกซื้อหนังสือและแบกกลับบ้านกัน 2 ครั้งต่อปี นั่นคืองานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ (จัดเดือนมีนาคม-เมษายน) และงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ (จัดเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน) แต่ดูเหมือนว่าปัจจุบันชาวกรุงเทพฯ ไม่ต้องรอนานเหมือนเดิมแล้ว เพราะช่วงหลังนี้มีงานหนังสือให้เราไปเดินกันบ่อยขึ้นกว่าเดิมทั้งงานขนาดเล็กและขนาดกลาง ไม่ว่าจะเป็นงานจากสำนักพิมพ์ ร้านหนังสือ หรือทีมผู้จัดงานหนังสือที่รวมตัวกันโดยเฉพาะเลยก็ตาม อย่างเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาก็มีงานหนังสือเกิดขึ้นถึง 5 งาน รวมถึงอีเวนต์อย่างงานหนังสือในสวน ที่แม้ไม่ได้ขายหนังสือเป็นหลัก แต่ก็เป็นอีเวนต์ที่เชิญชวนเหล่าคนรักการอ่านมาพบปะและทำกิจกรรมด้วยกัน กระทั่งเดือนสิงหาคมนี้ก็ยังมีงานหนังสือที่จัดอย่างต่อเนื่อง เช่น Bangkok Erotica Book Fest 2022 และงานหนังสือในสวน ครั้งที่ 2 เป็นต้น เมื่อมีงานหนังสือในกรุงเทพฯ เกิดบ่อยขึ้น ชาวต่างจังหวัดจำนวนไม่น้อยเลยเริ่มออกมาแสดงความคิดเห็นว่าอยากให้จังหวัดอื่นๆ มีงานหนังสือบ่อยๆ เหมือนที่เมืองหลวงบ้าง เราจึงเกิดความสงสัยว่าทำไมงานหนังสือถึงไม่แวะเวียนไปจัดที่จังหวัดอื่นๆ ให้บ่อยขึ้น หรือมันเป็นไปได้ไหมที่คนในพื้นที่จะลุกขึ้นมาจัดงานหนังสือในจังหวัดตัวเอง คิดหาคำตอบเองคงไม่ได้อะไร เราขอต่อสายถามความคิดเห็นเรื่องนี้จากเหล่าเจ้าของร้านหนังสือที่กระจายตัวเปิดร้านอยู่ตามต่างจังหวัดดีกว่า สาเหตุที่ต่างจังหวัด (แทบ) ไม่มีงานหนังสือ การจัดงานหนังสือแต่ละครั้งย่อมมีค่าใช้จ่ายหลายส่วนที่สำนักพิมพ์หรือร้านที่เข้าร่วมงานต้องลงทุนเป็นจำนวนไม่น้อย ไหนจะค่าเช่าบูท ค่าเดินทาง ค่าแรงพนักงาน และค่าใช้จ่ายจิปาถะอีก ทว่าทั้งหมดนี้จะยิ่งทวีราคามากขึ้น หากเป็นงานหนังสือที่จัดในต่างจังหวัด นี่จึงอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราไม่ค่อยได้เห็นงานหนังสือในจังหวัดอื่นๆ สักเท่าไหร่ กำลังซื้อส่วนใหญ่อยู่ในเมือง ‘ภาณุ […]

ฝนตกใหญ่ น้ำท่วมฉับพลัน ทำไมระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของไทยถึงน้ำไม่ท่วม

ที่ผ่านมา หลายคนคงได้เห็นข่าวที่ฝนตกหนักจนน้ำท่วมเข้าไปในระบบรถไฟฟ้าของหลายประเทศ เช่น จีน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และล่าสุดคือกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่ชาวเน็ตพากันแชร์คลิปน้ำท่วมไหลบ่าจากพื้นดินสู่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ไปจนถึงสิ่งก่อสร้างภายในที่ได้รับความเสียหายจากน้ำที่ซึมผ่านเข้ามา เห็นเหตุการณ์แบบนี้ เราเลยสงสัยว่าไทยเองก็น้ำท่วมบ่อย แถมเมื่อปี 2554 กรุงเทพฯ เองก็เจอน้ำท่วมใหญ่นานเป็นเดือนๆ จนหลายคนถึงขนาดต้องทิ้งบ้านทิ้งรถหนีน้ำย้ายไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว แล้วระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) บ้านเราเป็นยังไงบ้างนะ จะโดนน้ำท่วมหรือได้รับผลกระทบแบบที่ประเทศอื่นเจอหรือไม่ หลังจากหาข้อมูลและสอบถามคนกรุงเทพฯ รอบตัว ผลปรากฏว่า ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินบ้านเราไม่เคยมีน้ำท่วมแบบที่ต่างประเทศประสบเลย นั่นเพราะ MRT ไทยมีมาตรการและระบบป้องกันน้ำท่วมที่ออกแบบมาแล้ว ทำให้ไม่ว่าจะฝนตกหนักแค่ไหน หลายพื้นที่ประสบน้ำท่วมจนต้องดับรถ เดินลุยน้ำสูงระดับเอว ผู้ใช้งานที่ติดอยู่ในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน จะไม่ประสบกับน้ำท่วมไหลบ่าเข้ามาในสถานีจนเป็นอันตรายต่อชีวิตแน่นอน คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนไปดูเบื้องหลังมาตรการความปลอดภัยของ MRT ในไทย ว่าทำไมเราถึงไม่ต้องกังวลว่าจะประสบภัยแบบที่ต่างประเทศพบเจอ ก่อนอื่นชวนมาทำความเข้าใจก่อนว่า ด้วยความที่กรุงเทพฯ มักประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่บ่อยๆ ทำให้ระบบรถไฟฟ้า MRT มีการออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและป้องกันน้ำท่วมภายในสถานีกับอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินไว้ตั้งแต่แรกแล้ว โดยใช้ค่าระดับน้ำท่วมสูงสุดในรอบ 200 ปีของกรุงเทพฯ เป็นเกณฑ์ในการออกแบบทางเข้า-ออก และช่องเปิดต่างๆ เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า  การยกระดับทางเข้า-ออกสถานี ปล่องระบายอากาศ และช่องเปิดต่างๆ MRT […]

ตั๋วหนังราคาแพง เพราะต้นทุนสูงหรือถูกผูกขาด?

หลังจากกรุงเทพมหานครเริ่มจัดเทศกาล ‘กรุงเทพฯ กลางแปลง’ ตามสถานที่สาธารณะทั่วเมือง ปรากฏว่าเสียงตอบรับดีเกินคาด ประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจ ตบเท้าเข้าชมภาพยนตร์กลางแจ้งฟรีกันอย่างคึกคัก ต่อให้ฝนตกหนักแค่ไหนก็ไม่หวั่น กระแสจากการฉายหนังกลางแปลงครั้งนี้จึงอาจเป็นหนึ่งตัวชี้วัดที่ทำให้เห็นว่า แท้จริงแล้วคนไทยนิยมและชื่นชอบการดูภาพยนตร์กันมากเหมือนกัน แม้ว่าคนไทยจำนวนมากจะชอบการดูหนังบนจอขนาดยักษ์ แต่มันไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะยอมจ่ายเงินซื้อตั๋วเพื่อเข้าไปดูหนังในโรง เพราะข้อมูลจากมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เผยว่า คนไทยดูหนังในโรงภาพยนตร์เฉลี่ยคนละ 0.5 เรื่องต่อคนต่อปี และมีอัตราที่ลดน้อยลงเมื่อเทียบกับจำนวนโรงหนังที่เพิ่มขึ้น  หนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเข้าโรงหนังน้อยลงอาจเป็นเพราะค่าบริการที่ค่อนข้างสูง ปัจจุบันตั๋วหนังหนึ่งที่นั่งมีราคาเฉลี่ยราว 220 – 280 บาทต่อเรื่อง หากรวมกับค่าเดินทางไปกลับ หรือซื้อน้ำดื่มและป็อปคอร์นเข้าไปกินในโรงหนังด้วย เผลอๆ แบงก์ 500 ก็ยังไม่พอจ่ายด้วยซ้ำ แม้มีความตั้งใจไปดูภาพยนตร์ในโรงสักเรื่อง แต่เมื่อเจอค่าใช้จ่ายต่อครั้งที่สูงขนาดนี้ การดูหนังแต่ละทีจึงกลายเป็นความบันเทิงราคาแพงที่คนหาเช้ากินค่ำหรือเด็กจบใหม่ยากจะเอื้อมถึง เพราะค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทยอยู่ที่ระหว่าง 313 – 336 บาทต่อวัน แทบไม่ครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันในประเทศไทย ที่ดัชนีอาหารจานเดียวเพิ่มสูงขึ้น 6.7 เปอร์เซ็นต์ จนราคาข้าวผัดกะเพราแตะจานละ 60 บาทเข้าไปแล้ว  วันนี้ Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจว่า ปัจจัยอะไรที่ทำให้ราคาตั๋วหนังในประเทศไทยแพงขนาดนี้ และเมื่ออ่านจบแล้ว เราอยากชวนทุกคนคิดต่อว่าสาเหตุเหล่านี้สมเหตุสมผลหรือไม่ และในอนาคตประเทศไทยควรทำอย่างไรเพื่อเปลี่ยนการดูหนังในโรงภาพยนตร์ให้กลายเป็นความบันเทิงที่คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงได้ […]

พาดูข้อควรระวัง หลังปลดล็อกกัญชา กิน 1 ครั้ง ควรรู้อะไรบ้าง?

หลังจากปลดล็อก กัญชา กัญชง ให้ประชาชนคนไทยบริโภคและปลูกใช้เองได้ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา หลายคนอาจมีโอกาสได้ทดลองใช้กันบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีหลายคนที่กล้าๆ กลัวๆ ไม่รู้ว่าฤทธิ์ของกัญชาเป็นแบบไหน ควรกินในปริมาณเท่าไหร่ หรือแม้กระทั่งถ้าเกิดอาการเมากัญชาจะต้องทำอย่างไร  วันนี้ Urban Creature จึงรวบรวมข้อสงสัยและข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้กัญชา เพื่อช่วยให้คุณปลดล็อกข้อสงสัยไปพร้อมๆ กับการปลดล็อกกัญชาจากทางรัฐบาล กัญชา (Cannabis) เป็นพืชในวงศ์ Cannabaceae ที่มีสายพันธุ์ย่อย 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ซาติวา (Cannabis Sativa) อินดิกา (Cannabis Indica) และรูเดอราลิส (Cannabis Ruderalis) ลำต้นมีความสูง 6 เมตรโดยประมาณ จำนวนแฉกใบ 5 – 8 แฉก ปัจจุบันแม้ประเทศไทยจะปลดล็อกกัญชาให้บริโภคได้แล้ว แต่เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น นั่นคือส่วน ‘ใบ’ แต่ ‘ช่อดอก’ และ ‘เมล็ด’ ยังถือเป็นสิ่งเสพติด ใช้ประโยชน์ได้เฉพาะในการแพทย์ กัญชามีสาร […]

รวมบทแก๊งคอลเซ็นเตอร์มิจฉาชีพ จับไต๋กลโกง ไม่โดนหลอกเอาเงิน

แก๊งคอลเซ็นเตอร์และ SMS มิจฉาชีพ น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ที่คนไทยเจอบ่อยที่สุดในช่วงที่ผ่านมานี้ บางคนอาจแค่รู้สึกรำคาญเวลามีสายโทรหรือ SMS เข้ามา แต่กับบางคนอาจโดนหลอกเสียเงินไปหลายหมื่นหลายแสน ถึงขนาดหมดตัวเลยก็มี แม้ว่าจะมีทั้งหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนออกมาให้ความรู้และเตือนถึงกลวิธีของมิจฉาชีพเหล่านี้แล้ว แต่ก็ใช่ว่าจะช่วยป้องกันประชาชนได้ เพราะมิจฉาชีพเองก็มีหลายขบวนการ รวมถึงมีวิธีหลอกลวงใหม่ๆ มาใช้อยู่เรื่อยๆ คอลัมน์ Curiocity จึงอยากพาทุกคนมารู้เท่าทันกลโกงของแก๊งมิจฉาชีพ และเข้าใจว่าเวลาหน่วยงานหรือบริษัทที่มักถูกมิจฉาชีพใช้ชื่อแอบอ้างอยู่บ่อยๆ มีนโยบายการติดต่อผู้ใช้งานอย่างไร จะได้ระแวดระวัง ไม่ถูกหลอกกัน มิจฉาชีพแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่บริษัทขนส่ง DHL มุกนี้น่าจะเป็นหนึ่งในมุกคลาสสิกที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้เลยก็ว่าได้ จนคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้คุ้นเคยกับบริษัทขนส่ง DHL Express นัก ต่างติดภาพจำไปแล้วว่าชื่อบริษัทนี้คือชื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการขนส่งจริงๆ DHL Express เป็นที่รู้จักในแง่ของบริการขนส่งด่วนและบริการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งนี่อาจทำให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้อุบายทำนองว่ามีพัสดุจากต่างประเทศติดศุลกากร หลอกว่าคุณได้รับรางวัลและของอยู่ในระหว่างจัดส่ง กล่าวหาว่าคุณส่งของผิดกฎหมาย เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องมีการขอข้อมูลส่วนตัว รวมถึงตรวจสอบเงินในบัญชีแล้วจะคืนให้เมื่อสอบสวนแล้วพบว่าบริสุทธิ์ ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้ มียอดผู้เสียหายจากการหลอกลวงประเภทนี้กว่าร้อยคนแล้ว รวมมูลค่าความเสียหายเกือบ 40 ล้านบาท ถึงจะมีการให้ความรู้จาก DHL Express และเป็นข่าวใหญ่มาแล้วหลายครั้ง แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังตกเป็นเหยื่อ จากข้อมูลการประกาศเตือนภัย DHL Express แจ้งว่าไม่มีนโยบายติดต่อลูกค้าผ่านระบบอัตโนมัติและไม่ให้ลูกค้าแอดไลน์ ใครที่ได้รับสายแนวนี้ […]

ทำไมไทยฮิตแหล่งเที่ยวญี่ปุ่นทิพย์ เพราะตามกระแสหรือโหยหาเมืองที่ดี?

“เที่ยวญี่ปุ่นในไทย ไม่ต้องไปไกลก็เหมือนอยู่แดนซากุระ”  ประโยคสุดคุ้นตาที่มักจะเห็นในคอนเทนต์รีวิวสถานที่ท่องเที่ยวสไตล์ญี่ปุ่นในประเทศไทย พักหลังหลายสถานที่ท่องเที่ยวก็นิยมสร้างเลียนแบบสถานที่สำคัญในญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น หรือเรียกว่า ‘เที่ยวญี่ปุ่นทิพย์’ เช่น การจำลองหมู่บ้านญี่ปุ่นสมัยเมจิ ปราสาทฮิโนกิที่มาจากเมืองเกียวโต วัดอาซากุสะ ทางลงบันไดสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน  และล่าสุดบางจังหวัดมีไอเดียจะทำย่านถนนคนเดินญี่ปุ่นให้เหมือนกับอยู่ที่นั่นจริงๆ (แต่ในสภาพแวดล้อมไทย) จึงทำให้เกิดความสงสัยว่า ทำไมบ้านเราถึงฮิตสร้างแหล่งเที่ยวญี่ปุ่นทิพย์กันมากนัก? สร้างญี่ปุ่นทิพย์ เอาใจคนญี่ปุ่นและถูกใจคนไทย จุดเริ่มต้นความญี่ปุ่นทิพย์ต้องย้อนไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว สมัยชาวญี่ปุ่นชอบเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะภาคเหนือ เนื่องจากบ้านเรามีนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นที่มีมาช้านานก็ช่วยส่งเสริมการตลาดให้คนญี่ปุ่นสนใจมาเยี่ยมเยือนประเทศไทยมากกว่าแต่ก่อน สิ่งสำคัญที่ทำให้พวกเขาอยากมาท่องเที่ยวบ่อยๆ คือ การสร้างสถานที่ที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ญี่ปุ่น รายล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้ออำนวย เช่น ป้ายต่างๆ ควรมีภาษาญี่ปุ่นอธิบายกำกับไว้ หรือพนักงานควรสื่อสารภาษาพื้นฐานได้ จึงทำให้เจ้าของธุรกิจสมัยนั้นต้องปรับตัวสร้างแหล่งท่องเที่ยวให้มีบรรยากาศญี่ปุ๊นญี่ปุ่น เพื่อจูงใจลูกค้าแดนซากุระให้มาอุดหนุนบ่อยๆ ขณะเดียวกัน คนไทยเมื่อ 5 ปีก่อน (และปัจจุบัน) ก็ชื่นชอบไปญี่ปุ่นมากที่สุดกว่า 1 ล้านคน/ปี หรือประมาณ 1.4 เปอร์เซ็นต์ของคนไทยทั้งหมด ด้วยสภาพแวดล้อมที่สวยงามจากการออกแบบเมืองในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งระบบการขนส่งสาธารณะสะดวกสบาย การดีไซน์อาคารทันสมัย อากาศดี ถ่ายรูปตรงไหนก็สวย และคุณภาพชีวิตที่ปลอดภัย จึงทำให้ชาวไทยหลายคนติดใจประเทศญี่ปุ่นอย่างทวีคูณ ตัดภาพมาช่วงที่ไม่ได้บินต่างประเทศ กลับสู่ชีวิตจริงในเมืองไทยที่ต้องเจอกับปัญหารถติดขัด มลพิษบนท้องถนน น้ำคลองเน่าเสีย […]

วาร์ปกรุงเทพฯ 2569 เมืองจะพัฒนาแบบไหนในความคิดผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.

ขออาสาพาชาวกรุงฯ ไปสำรวจเมืองในความคิดผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ทั้ง 7 ท่านที่มีแนวคิดโดดเด่นอยากจะปรับเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้ดียิ่งขึ้นในปี 2569 ระยะเวลา 4 ปีของการทำงาน พวกเขาจะพัฒนาเมืองอะไรบ้างด้วยแนวคิดของแต่ละท่าน ไม่ว่าจะเป็นเมืองคนเท่ากัน เมืองแห่งความสุข เมืองสวัสดิการทันสมัย เมืองแห่งความหวัง เมืองหยุดโกง เมืองน่าอยู่ และเมืองมั่งคั่ง ตามไปดูกัน! เมืองคนเท่ากันเบอร์ 1 | วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ประเดิมเมืองแรกยินดีต้อนรับเข้าสู่ ‘เมืองคนเท่ากัน’ ของวิโรจน์ ลักขณาอดิศร เบอร์ 1 จากพรรคก้าวไกลที่มีเป้าหมายกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ทำให้ทุกคนเท่าเทียม จากการมีสิทธิ์เข้าถึงสวัสดิการดีๆ ผ่านโครงการต่างๆ ดังนี้ 1. สร้างที่อยู่ไม่เกิน 10,000 บาทใจกลางเมือง ด้วยราคาที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ แพงมากจนคนทั่วไปซื้อไม่ไหวและต้องย้ายออกไปอยู่นอกเมือง ทำให้เกิดปัญหาวนลูปทั้งแบกค่าโดยสารแพงและรถติดสุดเรื้อรัง วิโรจน์จึงสร้างโปรเจกต์ที่อยู่อาศัยในเมือง 10,000 ยูนิตราคาไม่เกิน 3,500 – 9,000 บาท/เดือน (ขึ้นอยู่กับขนาดครอบครัว) เริ่มจากขอเช่าที่ราชพัสดุหรือสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากนำมาสร้างที่อยู่อาศัยให้คนเมืองในระยะยาว 2. ใบเดียวขึ้นรถไฟฟ้าทุกสาย ตั๋วรถเมล์จ่าย […]

ชาวคอนโดฯ ทำอะไรได้บ้าง ถ้ามีตึกสูงมาสร้างข้างๆ บดบังวิวที่เคยมองเห็น

เมื่อไม่นานนี้ มีข้อถกเถียงเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของตึก One City Centre ตึกสำนักงานสร้างใหม่ที่อยู่ติดกับตึก 98 Wireless คอนโดมิเนียมสุดหรูที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ  ข้อถกเถียงที่ว่าคือ ทำไมตึกที่ดูใหญ่โตขนาดนี้ถึงสร้างติดกับคอนโดมิเนียมซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยได้อย่างใกล้ชิดสุดๆ จนสร้างความรู้สึกกังวลใจให้ผู้คนในแถบนั้น นอกจากประเด็นความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยที่น่าขบคิดต่อแล้ว การที่มีสิ่งก่อสร้างมาตั้งตระหง่านบดบังทิวทัศน์ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในตัวเพิ่มมูลค่าการซื้อ-ขายของห้องที่อยู่บนชั้นสูงๆ ก็ดูเป็นปัญหาใหญ่ และในอนาคต เราคาดเดาว่ากรุงเทพฯ น่าจะมีกรณีแบบนี้ให้เห็นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในยุคที่คนรุ่นใหม่เลือกอยู่คอนโดมิเนียมมากกว่าบ้านเดี่ยวในสมัยก่อน คำถามสำคัญคือ ถ้าหากวันหนึ่ง คอนโดฯ ที่เราทำงานเก็บเงินเช่าหรือซื้อ เพื่อให้ได้มองวิวสวยๆ เกิดมีตึกสูงใหญ่มาสร้าง บดบังสิ่งที่เคยเห็นทั้งหมด เราในฐานะเจ้าของห้องจะทำอะไรได้ไหม สิทธิของผู้อยู่อาศัย และตัวกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มีข้อมูลชุดใดที่ควรรู้และตั้งคำถามต่อบ้าง เราจึงชวน แทนศร พรปัญญาภัทร กรรมการผู้จัดการ และสถาปนิกผังเมือง บริษัท เออเบิ้น รูม จำกัด ที่คลุกคลีกับการทำงานพัฒนากรุงเทพฯ มาเกือบสิบปี มาพูดคุยถึงประเด็นนี้ รวมถึงบริบทรอบข้างที่อาจเป็นประโยชน์กับคนเมืองในอนาคต อาคารสูงกวนตาเป็นปัญหากวนใจ เริ่มด้วยข้อควรรู้เกี่ยวกับอาคารสูงให้ทุกคนเข้าใจร่วมกัน ที่จริงแล้วประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับอาคารมาตั้งแต่ปี 2533 แต่เมื่อเริ่มมีการพัฒนาอาคารสูงกันมากขึ้น รัฐจึงบัญญัติคำว่าอาคารสูงขึ้นในปี 2543 โดยนิยามของอาคารสูงตามกฎหมายคือ อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรหรือ 8 […]

No one can save Bangkok? อ้าวเฮ้ย! เมื่อ ‘อัศวิน’ อาจไม่ได้ขี่ม้าขาวมากู้ กทม. อย่างที่คุยกันไว้นี่นา

ชีวิตของคนกรุงเทพฯ ดีและลงตัว จริงๆ หรือยัง? ถ้ามองอย่างเที่ยงตรง เรามั่นใจว่า คำตอบคนส่วนมากคือ ‘ไม่’ เพราะกรุงเทพฯ ยังคงเผชิญกับปัญหาที่สะสมมานาน ทั้งการจราจรติดขัด ฝนตกแล้วน้ำท่วมขังในย่านต่างๆ การจัดการขยะที่ไม่เป็นระบบ ฝุ่น PM 2.5 ไปจนถึงระบบขนส่งสาธารณะและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ไม่ตอบโจทย์ผู้อาศัยจริงๆ สักที ทำให้การใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ เป็นไปอย่างยากลำบาก เหมือนผจญด้านโหดในเกม Adventure ทุกวันเลยทีเดียว เมื่อพูดถึงการแก้ปัญหาในเมืองกรุง ก็ต้องย้อนกลับไปที่ ‘ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร’ ผู้มีหน้าที่กำหนดนโยบาย ทิศทางการพัฒนาเมือง และการบริหารราชการของเมืองให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยปกติแล้ว ประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งในเมืองหลวงจะได้เลือกตั้งผู้ว่าฯ กันทุก 4 ปี เพื่อเป็นตัวแทนของคนกรุง เข้าไปพัฒนาเมืองและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนรอบด้าน ว่าแต่…จำได้หรือเปล่าว่าชาวกรุงเทพฯ เลือกตั้งผู้ว่าฯ ครั้งล่าสุดเมื่อไหร่? เพราะตอนนี้ก็เข้าสู่ปีที่ 6 แล้ว ที่อัศวิน ขวัญเมือง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งนอกจากจะอยู่ในวาระนานกว่ากำหนดแล้ว เขายังมาจากการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยไม่ผ่านการเลือกจากประชาชนด้วย อัศวินในตำแหน่งผู้ว่าฯ และผลงานของเขา จึงไม่ต่างอะไรกับมรดกที่คณะรัฐประหารทิ้งไว้ให้ชาวกรุงเทพฯ นโยบายหลายข้อไม่สอดคล้องกับแนวทางแก้ปัญหา แถมเมกะโปรเจกต์หลายโครงการยังไม่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้คนและไม่คุ้มค่ากับงบประมาณที่ทุ่มไปด้วย ทำไมจึงเป็นแบบนี้ […]

สังคมแบบไหนช่วยให้รักเบ่งบาน : ความรักและรัฐสวัสดิการกับ ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี

ในหนังสือ ‘The Radicality of Love’ สเรซโก ฮอร์วัต (Srećko Horvat) นักปรัชญาและนักเคลื่อนไหวชาวโครเอเชียวิเคราะห์ความหมายของการรักใครสักคนว่าเป็น ‘การยอมรับความเสี่ยง’ ความเสี่ยงที่ชีวิตของฉันและเธอต่อจากนี้จะไม่เหมือนเดิม ความเสี่ยงที่จะผ่านการทะเลาะ หรืออาจจะจบที่การเลิกรา  แต่ถ้าชีวิตเจอกับปัญหาสาหัสมามากพอแล้วในแต่ละวัน สังคมทุนนิยมก็นำเสนอ ‘ความรักแบบไร้ความเสี่ยง’ มาให้ ทั้งในรูปแอปพลิเคชันหาคู่ การเดตในเวลาจำกัดหรือแม้แต่ออกเดตคนเดียว หรือตัวละครเสมือนที่ทดแทนคู่รักในโลกจริง (แต่ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่เจอรักแท้เสียทีเดียวนะ) กลับมาดูบริบทสังคมรอบตัวเรา ตั้งแต่ออกไปหน้าบ้าน แค่เดินทางเท้าก็เสี่ยงจะตกท่อระบายน้ำ จนชุ่มฉ่ำหรือขาเคล็ดได้เพราะบล็อกทางเดินที่ไม่เรียบ จนถึงปัญหาใหญ่อย่าง ความเหลื่อมล้ำ ความยากจนที่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำเพราะไม่รู้ว่าวันต่อมาจะมีกินหรือไม่ เหล่านี้อาจจะเป็นความเสี่ยงที่ทำให้คนไม่กล้ามี ‘ความรัก’ หรือ มี ‘ความรักแบบปลอดภัยไว้ก่อน’ เพราะไม่รู้จะซ้ำเติมความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของชีวิตด้วยความเสี่ยงอีกทบหนึ่งไปทำไม  แล้วสังคมแบบไหนที่พอจะช่วยให้ความรักเราเบ่งบานได้บ้างล่ะ ถ้าเรามีความมั่นคงในชีวิตจากสวัสดิการพื้นฐาน เราจะมีความรักที่ดีได้ไหม เรานำคำถามนี้มาคุยกับ ‘ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี’ อาจารย์จากวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้พยายามผลักดันให้ประเทศไทยเกิด ‘รัฐสวัสดิการ’ ผ่านทั้งบทบาทนักวิชาการ และผู้สอนหนังสือ เคยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ในช่วงต้น จนถึงเคยขึ้นปราศรัยผลักดันประเด็นนี้บนเวทีของกลุ่ม ‘ราษฎร’ ที่หน้าสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์เมื่อปีก่อน ษัษฐรัมย์เคยใช้ชีวิตและทำงานในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการดูแลผู้คนตั้งแต่เกิดจนตายในแถบสแกนดิเนเวีย ล่าสุด เขาตัดสินใจทิ้งโอกาสในหน้าที่การงานในฟินแลนด์มาสอนหนังสือต่อที่ไทย มุมมองต่อความรักของเขาเป็นอย่างไร […]

ขออนุญาต Educate นะคะอีเก่งกิจ : ฉอดเรื่อง Political Correctness กับ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

“เขียนชื่อผมลงไปเลยนะว่าอีเก่งกิจ เออ อีเก่งกิจนั่นแหละ เขียนแบบนั้นเลย”  รศ. ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เน้นเสียงบอกเราอย่างยียวน หลังจากการพูดคุยกันเรื่องความถูกต้องทางการเมือง PC หรือ Political Correctness จบลงสดๆ ร้อนๆ สารภาพว่าหลังจากได้ติดตามการตั้งประเด็นทางสังคมและการโต้ตอบความคิดอันดุเดือดของเขาบนโลก Twitter มาตั้งแต่ต้นปี 2564 เมื่อได้เข้าไปเยือนพื้นที่ของ @Kengkij2 วลีหนึ่งที่ผุดขึ้นมาบนหัวคือ ‘ปังสัส’ ไม่อยากจะสปอยล์ แต่อยากให้ไปหาอ่านเอาเอง เพราะตั้งแต่ไล่สายตาอ่าน Bio ของเขาที่ระบุว่า ‘ทวิตเตอร์มีไว้ด่า ไม่ได้มีไว้คุยวิชาการ #คอมทวิต non-pc’ เราก็สนใจตัวตนบนโลกออนไลน์ของเขาเข้าอย่างจัง ด้วยไบโอมันๆ และความสับในโลกนกฟ้า ซึ่งค่อนข้างตรงกันข้ามกับบทบาทอาจารย์และนักวิชาการ ยิ่งทำให้เราสนใจในวิธีคิด เพราะเก่งกิจเขวี้ยงหมวกนักวิชาการทิ้งถังขยะ แล้วใช้คีย์บอร์ดฉอดยับสับแหลก ดีเบตเผ็ดแซ่บจนนักฉอดทวิตต้องรีพลายกันร่างแหลกกันไปข้าง อีหน้าไหนจะมา War เป็นต้องเจอสรรพอาวุธสุดจะปังของเขา ด้วยฝีปากกล้าท้ารบ จบทุกสกิลในคนเดียวชนิดที่ว่า Non Stop ความ Non PC เราเลยตัดสินใจคุยเรื่องความ PC […]

กฎหมายนิรโทษกรรม : ชวน ‘เป๋า iLaw’ คุยเรื่องการลบล้างมลทินไม่ให้มัวหมอง

Welcome to Thailand ยินดีต้อนรับเข้าสู่ประเทศไทย ประเทศสุดมหัศจรรย์ ดินแดนแห่งการทำความผิด แต่ไม่ต้องรับผลกรรมใดใด มิหนำซ้ำยังถนัดกลับตาลปัตรจากเรื่องขาวให้เป็นดำ และกลับดำให้เป็นขาวได้อย่างมืออาชีพ เมื่อ ‘ระบบตุลาการ’ ของประเทศ กำลังเอื้อให้คนกลุ่มหนึ่งได้รับสิทธิพิเศษจากกฎหมาย ทำให้หลักผดุงยุติธรรมอันเท่าเทียมของคนในสังคมหล่นหาย กลายเป็นเครื่องมือเลือกปฏิบัติ ปราบปราม และกดขี่ เหล่าชนชั้นปกครองกระหยิ่มยิ้มย่องและลอยนวล ซ้ำยังถืออำนาจ ‘บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ’ อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยเฉพาะ ‘การนิรโทษกรรม’ กระบวนการล้างมลทินของรัฐเผด็จการในตอนนี้ ที่ทำต่อเนื่องมายาวนานกว่า 7 ปีแล้ว เห๊อะ…ถ้าจะให้ลิสต์วีรกรรมหมกเม็ดทางกฎหมายทั้งหมดน่ะเหรอ เสียเวลา คงต้องใช้หลายบรรทัดเหมือนกัน ในช่วงนี้ ‘นิรโทษกรรม’ เป็นประเด็นที่ถูกหยิบมาพูดถึงอีกครั้ง นั่นเพราะรัฐบาลประยุทธ์และพรรคพวกเป็น ‘บิดาแห่งการยกเว้น’ แบบไร้ที่ติ เมื่อเดือนสิงหาคม 64 หัวข้อนี้กลับมาอยู่บนหน้าข่าวและความสนใจของประชาชนจำนวนมาก เพราะคณะรัฐมนตรีจะเสนอแก้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ด้วยการเพิ่มสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ต้องการตีเนียนละเว้นความผิดให้เจ้าหน้าที่ และนิรโทษกรรมคนตัดสินใจเรื่องการจัดการวัคซีน ซึ่งการเสนอกฎหมายเพื่อเว้นความผิดเป็นสิ่งที่ประยุทธ์และคณะทำอย่างสุดความสามารถมาตั้งแต่สมัยรัฐประหาร ปี 2557  ว่าไหม การใช้กฎหมายข่มขืนประชาชนของรัฐนี้ ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ แต่มันไม่ควรเป็นเรื่องปกติในสังคม ถ้า ‘ความยุติธรรม’ […]

1 3 4 5 6 7 8

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.