Trouble Solver
เล่าสารพันเรื่องราวของ Good Business ที่เสนอคำตอบให้กับสารพัดปัญหา ตามไปดูตั้งแต่แรงบันดาลใจ วิธีคิด และการทำให้เกิดขึ้นได้จริง
MuvMi รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าเจ้าแรกในไทย ผู้อยู่รอดในสมรภูมิแชร์ริงที่มีแต่คนล้มหายตายจาก
“จะแก้ปัญหารถติดในกรุงเทพฯ ยังไงดี” คำถามคาใจที่หลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องใหญ่เกินตัว เราเป็นใครถึงจะเข้าไปแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ แต่เชื่อหรือไม่ว่าคำถามเดียวกันนี้เป็นคำถามเดียวกันที่ MuvMi เคยตั้งไว้เป็นโจทย์ในการแก้ไข เพื่อหา Solution ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหานี้ จนพบจุดที่น่าสังเกตของกรุงเทพฯ ว่าเป็นเมืองที่มีรถไฟฟ้าก็จริง แต่ผู้คนยังประสบปัญหาการเดินทางไปยังสถานีรถไฟฟ้าอยู่ดี จากคำถามเล็กๆ นี้ได้นำมาสู่การคิดค้นและให้บริการขนส่งสาธารณะรูปแบบรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า ภายใต้แนวคิด Microtransit หรือการขนส่งและบริการขนาดเล็กที่ยืดหยุ่น และกลายเป็นทางเลือกให้คนกรุงเทพฯ ที่ใช้บริการได้ทุกวัน และมีส่วนสำคัญในการคืนชีวิตให้ชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนขับรถตุ๊กตุ๊ก รวมถึงยกระดับให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น หลังจากเปิดให้บริการมา 3 ปี MuvMi มียอดการใช้งานไปแล้วมากกว่า 1 ล้านทริปในกรุงเทพฯ และยังอยู่รอดได้ท่ามกลางธุรกิจแชร์ริงที่ล้มหายตายจาก Urban Creature ชวน ตี้-ศุภพงษ์ กิติวัฒนศักดิ์ คุยถึงก้าวต่อไปของผู้ที่ยืนยันว่าตัวเองไม่ใช่ผู้ให้บริการตุ๊กตุ๊ก (ทั้งที่มีรถวิ่งทั่วเมือง) พวกเขาแตกต่างจากผู้ให้บริการประเภทอื่นด้วยอะไร ทำไมถึงตอบโจทย์สำหรับคนกรุง แก้ปัญหารถติดได้หรือยัง และจะมูฟไปทางไหนต่อ มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันดีกว่าครับ 3 ล้อของ MuvMi MuvMi บอกว่า จริงๆ แล้วปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ เกิดขึ้นจากการเดินทางสาธารณะที่มารองรับการใช้งานขนส่งสาธารณะหลักยังไม่ตอบโจทย์เพียงพอ ไม่เชื่อมต่อและไม่ครอบคลุม พวกเขาจึงอยากเชื่อมคนกับขนส่งสาธารณะหรือการเดินทางไมล์สุดท้าย (First Miles, Last Miles) […]
ลดมลภาวะ แต่ไม่ละความเก๋ Reviv แพลตฟอร์มซ่อมเสื้อผ้าออนไลน์ที่จะช่วยทำให้ชุดเดิมสนุกกว่าเดิม
หลายปีมานี้ตามหน้าหนังสือพิมพ์ สื่อออนไลน์ หรือแม้แต่รายการใน Netflix ก็พูดถึง Fast Fashion อยู่บ่อยครั้ง โดยมักจะหยิบยกแง่มุมที่เลวร้าย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมที่ผลิตโดยเน้นความเร็วและสู้กับเทรนด์ตลอดเวลา แรงกระเพื่อมนี้ก็ส่งต่อไปยังแบรนด์ยักษ์ใหญ่ พวกเขาเริ่มออกไลน์เสื้อผ้าที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล คอตตอน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมประกาศความตั้งมั่นในการลดคาร์บอนฟุตพรินต์ ซึ่งถือเป็นการขยับตัวที่น่าชื่นชม ถึงจะอย่างนั้นก็ตามที Reviv แบรนด์เย็บซ่อมและตกแต่งเสื้อผ้าออนไลน์จากย่านอารีย์ ก็ยังมองว่าไม่ซื้อเลยต่างหากถึงจะดีที่สุด เพราะไม่ว่าคุณจะใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขนาดไหน แต่ในทุกครั้งที่เสื้อผ้าถูกผลิต ก็มีการใช้ทรัพยากรและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ดี แต่อย่าพึ่งเข้าใจผิดไปนะครับ เพราะไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเย็บต้องซ่อมเสื้อผ้าเท่านั้น ห้ามซื้อใหม่เด็ดขาด ไม่ใช่แบบนั้นเลย แต่เรื่องที่ว่าจะซื้อแบบไหนนั้นขออนุญาตเบรกไว้สักครู่ แล้วมาทำความรู้จักกับ Reviv ก่อนดีกว่า Reviv The Fashion ภายใต้ร่มเงาไม้ ร้านรวง และที่พักของโครงการ The Yard Hostel มีออฟฟิศขนาดเล็กที่โครงสร้างหลักเป็นตู้คอนเทนเนอร์เก่า และมีเนื้อที่ไม่ถึงห้องสตูดิโอในคอนโดมิเนียมใจกลางเมือง มุมห้องด้านหนึ่งมีลังกระดาษเอาไว้ใส่ตัวอย่างเสื้อผ้าที่ทดลองปักและซ่อมแซมวางไว้ ถัดมาเพียงก้าวเดินจะเป็นเก้าอี้พลาสติกที่ตั้งคู่กับโต๊ะสีขาว มีหน้าต่างบานเล็กคอยส่องแสงที่ค่อนข้างอิ่มตัวในฤดูกาลที่ฝนตกกันเป็นว่าเล่น ภูมิ-ภาคภูมิ โกเมศโสภา และ ฝ้าย-ฐนิตา เขตกิตติคุณ 2 ตัวแทนจาก Co-founder ทั้งหมด 5 คน […]
‘เต่าบิน’ คาเฟ่ 1 ตร.ม. น้องตู้บุญเติมที่ Disrupt เครื่องดื่มตู้กดมาเสิร์ฟกาแฟบดสดทุกแก้ว
เมื่อพูดถึงตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติเชื่อว่าภาพแรกที่ผุดเข้ามาในหัวของใครหลายคนคงหนีไม่พ้นประเทศญี่ปุ่นใช่ไหมครับ เพราะแดนปลาดิบมีตู้นู่นนี่นั่นให้กดเต็มไปหมดทั้งของกินของใช้ของเล่นของที่ระลึกและอีกสารพัดของ ที่ตั้งรอให้เราหยอดเหรียญอยู่ทุกหัวมุมถนนยังไม่พอ แต่ยังไปปรากฏตัวทั้งในการ์ตูนและภาพยนตร์ จนกลายเป็นของคู่กันไปแล้ว สำหรับประเทศไทยเองแม้จะไม่มีบริการหลากหลายขนาดนั้นแต่ก็ต้องบอกว่าตู้อัตโนมัติก็ได้รับความนิยมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน โอเคเราอาจจะไม่ได้มีตู้กดน้ำทุกที่แต่ก็มีให้เห็นทุกห้างฯ หรือเดี๋ยวนี้แทบจะทุกคอนโดมิเนียมและสำนักงานด้วยซ้ำไป อีกทั้งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาคงไม่มีใครไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยินชื่อ “บุญเติม” ตู้สีส้มที่ประจำการหน้าร้านสะดวกซื้อและร้านขายของชำ ที่พึ่งยามยากของประชาชนที่เงินในโทรศัพท์หมด แต่มีนัดต้องโทรหาแฟนในคืนนี้หรือบางครั้งก็เดี๋ยวนี้เลยด้วยซ้ำ ซึ่งวันนี้ ‘เต่าบิน’ น้องใหม่ในเครือบริษัทผู้ปลุกปั้นบุญเติมให้โด่งดัง กำลังจะปฏิวัติวงการตู้เครื่องดื่มอัตโนมัติให้พลิกโฉมหน้าไปโดยสิ้นเชิง เพราะมีน้ำขายครบตามที่คุณคาดหวัง แต่ส่วนที่ยังคิดไปไม่ถึงแบบน้ำกัญชา เวย์โปรตีน หรือกาแฟสดบดใหม่ทุกแก้วจากเอธิโอเปียก็ดันมีให้เลือกกับเขาด้วย ไม่ใช่นะครับ สิ่งที่กล่าวไปข้างต้นไม่ใช่การบลัฟเหมือนตอนเกริ่นเข้าเรื่องแบบที่คุณเห็นโฆษณาทั่วไป เพราะเราไม่ได้รับสปอนเซอร์เลยสักบาทเดียว แต่ที่เอามาเล่าสู่กันฟังเพราะเห็นว่าเต่าบินมีศักยภาพขนาดนั้นจริงๆ จาก บุญเติม ถึง เต่าบิน แต่เดิมบริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด มีตู้บุญเติมเป็นผู้นำทัพที่เริ่มจากเป็นผู้ให้บริการเติมเงินมือถือก่อนจะขยายจักรวาลบริการไปหลากหลายทั้งขายซิมโทรศัพท์ เติมเกมออนไลน์ จ่ายค่าสาธารณูปโภค ซื้อประกัน บริจาคเงินและอีกเยอะที่แปลว่าเยอะจริงๆ ฟอร์ทยังมีบริการอีกหลายอย่าง ทั้งตู้ขายเครื่องดื่มอัตโนมัติ ตู้กดกาแฟ หรือตู้จำหน่ายสินค้าทั้งขนมถุงหรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เรียกว่าถ้าพูดถึงตู้หยอดเหรียญหรือตู้สินค้าอัตโนมัติก็ไว้ใจฟอร์ทได้เลย เพราะคลุกคลีกับธุรกิจนี้มานานมาก แต่กับเต่าบินถือเป็นก้าวที่ล้ำกว่าตู้ที่ผ่านๆ มา เพราะมีความสามารถทำอะไรก็ตามที่เจ้าอื่นทำไม่ได้เต็มไปหมด “ตู้เต่าบินเป็นเทคโนโลยีที่ค้นคว้าและผลิตจากฝีมือคนไทยทั้งหมด ไม่ได้นำเข้ามาจากประเทศไหน และไม่ได้ก๊อบใครมาทั้งสิ้น” ตอง-วทันยา อมตานนท์ Business […]
EVTG เดลิเวอรีสายกรีน ใช้รถไฟฟ้าและบอกลาพลาสติก
“บนถนนเต็มไปด้วยรถเดลิเวอรีเต็มไปหมดเลย ถ้าเราจะทำเหมือนๆ กันไปหมดมันก็ยิ่งทวีคูณทั้งขยะพลาสติก ทั้งมลพิษ” ท่ามกลางสมรภูมิเดลิเวอรีที่แข่งขันกันอย่างดุเดือด Urban Creature ได้มีโอกาสพบกับ ‘EVeryThing’s Good’ บริการส่งถึงที่น้องใหม่ที่ใช้สิ่งแวดล้อมเป็นตัวนำทาง เพราะใช้รถไฟฟ้าร้อยเปอร์เซ็นต์ในการขนส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภค แม้แต่ยูนิฟอร์มพนักงาน ผ้ากันเปื้อนที่ใส่ก็ทำมาจากใยสับปะรด ของทุกอย่างมาจากวัสดุที่มีความยั่งยืน ความน่ารักในการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของ ‘EVeryThing’s Good’ จะมีอะไรให้เราตื่นเต้นอีกบ้าง มาดูกัน
รร.สาธิตพัฒนาฝ่ายมัธยม X OnDemand ปรับหลักสูตรให้เด็กเรียนจบ ไม่ต้องติวเสริมนอกเวลา
เมื่อโรงเรียนจับมือสถาบันกวดวิชาช่วยกันออกแบบโมเดลการศึกษาของโรงเรียนสาธิตพัฒนา ฝ่ายมัธยมฯ ที่จะทำให้เด็กเรียนอย่างมีความสุขและสร้างความสบายใจให้กับพ่อแม่
‘Wayband’ GPS ระบบสั่นที่ช่วยให้คนตาบอดทั้งเดินและวิ่งได้ด้วยตัวเอง
เรื่องราวของการกีฬาอยู่ในสปอตไลต์มาหลายสัปดาห์ตั้งแต่คบเพลิงโอลิมปิกถูกจุดขึ้น ณ กรุงโตเกียว และอีกไม่นาน ‘พาราลิมปิก’ มหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่เป็นอันดับที่สองของมวลมนุษยชาติจะเริ่มต้นขึ้น บรรดานักกีฬากว่า 4,000 ชีวิต จะหอบหุ้มความฝันและการฝึกฝนออกมาแสดงให้โลกเห็น แม้จะไม่ได้เป็นพาร์ตเนอร์อย่างเป็นทางการของพาราลิมปิก และเป็นเพียง สตาร์ทอัปเล็กๆ ในนิวยอร์กแต่เราคิดว่าเรื่องราวของ WearWorks เหมาะที่จะหยิบยกมาเล่าในช่วงนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่คือสายรัดข้อมือที่ชื่อว่า Wayband เป็น GPS นำทางที่ทำงานโดยระบบสั่น แจ้งเตือนด้วยการสั่นเมื่อผู้สวมใส่ออกนอกเส้นทางหรือถึงทางเลี้ยว Simon Wheatcroft นักวิ่งผู้พิการทางสายตา บอกว่า เป็นเรื่องยากสำหรับคนตาบอดที่จะก้าวเท้าไปบนทางที่ไม่รู้จัก แต่สายรัดข้อมือเส้นนี้สามารถพาวิ่งจนจบมาราธอน หรือเดินเล่นในเมืองที่พลุกพล่านโดยไม่ต้องอาศัยคนช่วยบอกทาง แต่ใช้การนำทางโดยการสั่น ที่จะทำให้คุณไม่หลงทิศ หรือไม่เดินไปชนกับอะไรหรือใครแน่นอน ‘ก้าว’ ที่เต็มไปด้วยข้อจำกัด ยังไม่ต้องพูดถึงขีดความสามารถในการแข่งขันด้านกีฬา คนพิการทางสายตามีข้อจำกัดเยอะมากสำหรับการฝึกซ้อม นักกีฬาบางรายใช้ไม้เท้าในการนำทาง ใช้สุนัขในการนำทาง หรือมีบัดดี้เป็นคู่คอยผูกคู่มือวิ่งไปด้วยกัน หนึ่งในผู้พิการทางสายตาที่พิชิตมาราธอนมาแล้วบอกกับ BBC ว่า เขาเคยวิ่งคู่กับอาสาสมัครซึ่งถือเป็นประสบการณ์ที่ดีมากแต่สิ่งที่หายไปคือความเป็นอิสระ แม้วิธีการข้างต้นจะช่วยให้จบการแข่งขันหรือดำเนินชีวิตประจำวันได้เหมือนกัน แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมนัก ไม้เท้าที่ใช้ในการนำทางสามารถตรวจจับรอยแตกหรือพื้นที่ไม่สม่ำเสมอบนทางเท้าได้เป็นอย่างดี แต่มีข้อเสียคือเป็นเครื่องมือนำทางที่ไม่เหมาะสำหรับการเปิดเส้นทางใหม่ หรือการใช้สุนัขนำทางก็มีค่าใช้จ่ายสูงถึง 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ (คนพิการทางสายตาในบางประเทศสามารถยื่นขอได้ฟรี) แม้จะมีหลายตัวช่วยที่ทำให้คนตาบอดสามารถใช้ชีวิตได้ดีขึ้น แต่ด้วยข้อจำกัดของเครื่องมือ ความยุ่งยากหรือความไม่สบายตัวในการใช้งานจริง ทำให้ […]
Fine Robusta ลบภาพจำ 3 in 1 ในโรบัสตา และมีความพิเศษในแบบที่อาราบิกาทำไม่ได้
การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของโลกที่พลิกโฉมหน้าการใช้ชีวิตของผู้คนไปโดยสิ้นเชิง ผลิตภัณฑ์หลากชนิดเช่นสิ่งทอได้เครื่องจักรเป็นกำลังสำคัญในการผลิตเสื้อผ้าจำนวนมากจนเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น รวมถึงเครื่องจักรไอน้ำที่ทำให้เกิดโรงงานใหม่ขึ้นจำนวนมาก แต่สำหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมของกาแฟโรบัสตาในยุคนี้ อาจจะไม่ได้หมายถึงการผลิตในปริมาณมหาศาล ในรูปแบบกาแฟพร้อมดื่มนานาชนิด แต่หันมาโฟกัสที่รสชาติและคุณภาพเหมือนที่รุ่นพี่อย่างอาราบิกากรุยทางเอาไว้ Urban Creature ชวนสองผู้คร่ำหวอดในวงการกาแฟอย่าง เคเลบ จอร์แดน นักพัฒนากาแฟเมืองน่านที่ปลูกปั้นกาแฟมณีพฤกษ์จนติดระดับประเทศ และ กรณ์ สงวนแก้ว Head Roaster & Green Buyer จาก Roots ร้านกาแฟที่เอาจริงเอาจังในสิ่งที่ตัวเองทำและให้ความสำคัญเกษตรกร มาคุยกันถึงการเติบโตของโรบัสตาที่กำลังเฉิดฉายนอกแวดวงอุตสาหกรรม ด้วยการมาอยู่ในคาเฟ่ที่เน้นกาแฟคุณภาพดี หรือโรงคั่วชั้นนำที่เริ่มปล่อยโรบัสตาเบลนด์ใหม่สู่ตลาดเป็นระยะ ห้าปีมานี้กาแฟไทยโดยเฉพาะอาราบิกาเติบโตอย่างก้าวกระโดด และโรบัสตากำลังจะตามไป และอาจมีสิทธิ์ก้าวไปไกลกว่าด้วยซ้ำ เพราะไม่ต้องเผชิญกับคู่แข่งมหาโหดจากทั่วโลก และไทยก็มีความพร้อมทั้งด้านภูมิประเทศ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟที่พร้อมผลักดันแต่ปัจจัยสำคัญอาจจะอยู่ที่ผู้บริโภค ดูคล้ายกันแต่เป็นคนละอย่าง ถึงภาพจำและความนิยมจะสู้ไม่ได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าตัวเปิดที่ทำให้คอคาเฟอีนรู้จักกาแฟนั้นมาจากโรบัสตาซะเป็นส่วนใหญ่ Head Roaster ของ Roots บอกว่า ดื่มกาแฟผงครั้งแรกก็เป็นโรบัสตา กาแฟ 3 in 1 ก็เป็นโรบัสตา โตขึ้นมากินกาแฟกระป๋องก็โรบัสตา กระทั่งกินเค้กรสกาแฟก็เป็นโรบัสตาอีกเหมือนกัน “เรามีโรงงานใหญ่ที่รับซื้อเมล็ดกาแฟอยู่ภาคใต้ พอถูกปลูกเพื่อขายเข้าไปในสเกลใหญ่ระดับอุตสาหกรรมก็เลยไม่ได้ใช้ความดูแลมากขนาดนั้น และคนที่ปฏิเสธโรบัสตาก็มีจริง พอมาถึงจุดหนึ่งเราไม่ได้กินกาแฟที่แปรรูปเป็นผงหรือเป็นน้ำอีกแล้ว แต่ดื่มกาแฟที่ชงจากเมล็ดซึ่งส่วนมากจะเป็นอาราบิกา เราเริ่มเข้าใจกาแฟและให้ความสำคัญกับรสชาติมากขึ้น […]
NDV-HXP-S วัคซีนโควิด-19 จากไข่ไก่ฟัก ราคาไม่แพง ผลิตได้เองโดยนักวิจัยไทย
หลายเดือนมานี้เราตั้งคำถามกับ ‘ความมั่นคง’ ของประเทศ เมื่อนานาชาติสลัดหน้ากากอนามัยและออกมาใช้ชีวิตแบบที่คุ้นเคย ระบบสาธารณสุขที่เคยวิกฤตเริ่มกลับเข้าร่องเข้ารอย ในขณะที่สถานการณ์ของประเทศไทยยังคงต้องหาทางออกกันต่อไป เมื่อความมั่นคงของประเทศก้าวไปไกลกว่าอาวุธยุทโธปกรณ์ แต่ว่ากันด้วยเรื่องเทคโนโลยีและ ‘สาธารณสุข’ Urban Creature จึงพาไปสนทนากับ ศ. พญ.พรรณี ปิติสุทธิธรรม หัวหน้าโครงการวิจัยศูนย์วัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ที่กำลังวิจัยความปลอดภัยให้ประเทศผ่านการผลิตวัคซีนโควิด-19 จากไข่ไก่ฟัก ที่ได้ความร่วมมือจากองค์กรนานาชาติในการแบ่งปันเทคโนโลยีเพื่อร่วมกันฝ่าวิกฤต จนออกมาเป็นวัคซีนที่ราคาไม่แพง กระบวนการไม่ซับซ้อน และผลิตได้เองในประเทศไทย วัคซีนจากไข่ไก่ การผลิตวัคซีนสามารถนำวัคซีนที่อยู่ระหว่างการวิจัยหรือผลิตออกมาแล้ว มาปรับปรุงหรือต่อยอดได้หากมีโรคใหม่เกิดขึ้น แต่เดิมศูนย์วัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ทำการวิจัยวัคซีนหลากชนิดเป็นทุนเดิมทั้งหัด โปลิโอ เอดส์ หรือมะเร็ง แต่จุดเปลี่ยนสำคัญของเรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงการระบาดของไข้หวัดใหญ่ H1N1 เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว องค์การเภสัชกรรมได้รับเทคโนโลยีวัคซีนไข่ไก่ฟัก (Egg-based Flu Vaccine) จากประเทศรัสเซีย จนผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มาใช้ได้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน “เมื่อหลายปีก่อนเราไม่มีบุคลากรที่มีความรู้และศักยภาพเพียงพอ เพราะว่าการผลิตวัคซีนถือเป็นเรื่องใหญ่ที่มีการลงทุนเยอะมาก ในการคิดค้นปกติแล้วต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าสิบปี ต้องใช้ทั้งเวลาและต้นทุนมหาศาล “สมมติว่าเราคิดหรือค้น Antigen (สารก่อภูมิต้านทาน) ขึ้นมาตัวหนึ่ง ก็ไม่ได้หมายความว่าสารตัวนี้จะก่อให้เกิดภูมิต้านทานที่จะใช้ป้องกันโรคได้ บางครั้งพบเป็นร้อยตัวก็ยังไม่สำเร็จ” […]
Elroy Air สตาร์ทอัปโดรนที่จะส่งของให้ถึงที่ภายใน 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก
อนาคตของการขนส่งทางอากาศขยับมาใกล้มากขึ้นทุกปีนับตั้งแต่ Jeff Bezos แห่ง Amazon ประกาศเปิดตัว Amazon Prime Air บริษัทขนส่งเชิงพาณิชย์ที่เน้นขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักเบาด้วยความรวดเร็วโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) บริษัทอื่นเช่น FedEx หรือ DHL ก็เริ่มทดสอบการขนส่งสินค้าของตัวเองด้วยโดรนเช่นกันก่อนจะเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเมื่อ องค์การบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) อนุมัติให้อากาศยานอัตโนมัติของ Flirtey ขนส่งในเขตเมืองในปี 2016 ภาพยนตร์ และนวนิยายไซไฟหลายเรื่องคือฉากแห่งอนาคตที่บรรดานักประดิษฐ์กำลังวิ่งตาม วันนี้ภาพฝันนั้นชัดเจนขึ้นอีกระดับ Elroy Air คือผู้สร้างยานพาหนะทางอากาศหรือโดรน ที่อาศัยการขึ้นลงแบบแนวตั้ง รับน้ำหนักสินค้าได้มาก บินได้ไกล และมีภารกิจที่ไม่ใช่แค่การส่งของจากที่ใดที่หนึ่งไปยังจุดหมาย แต่เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทั่วโลก ด้วยการเข้าถึงระบบโลจิสติกส์ที่รวดเร็วและเป็นประชาธิปไตย (Democratizing access to rapid logistics) ย้อนกลับไปที่แคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2019 Elroy Air บริษัทผู้พัฒนาระบบขนส่งทางอากาศที่ขึ้นและลงจอดในแนวดิ่ง ประกาศความสำเร็จในการทดสอบระบบการบินเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก กับโดรนที่มีน้ำหนักถึง 550 กิโลกรัม ในการบินขึ้นไปสูง 10 ฟุต เป็นเวลากว่า […]
ตามสั่ง-ตามส่ง Delivery ของชุมชนลาดพร้าว 101 ที่คิดค่าส่งเท่านั่งวินฯ ค่าอาหารเท่ากินที่ร้าน
คงไม่ต้องบอกว่าวันๆ หนึ่ง เราใช้บริการเดลิเวอรีส่งคน-ส่งอาหารบ่อยขนาดไหน อย่างต่ำก็ 1 – 2 ครั้ง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่หลายคนยอมจ่ายเพื่อแลกความสะดวกสบาย และไม่ต้องหงุดหงิดกับการคมนาคมอันยุ่งเหยิงให้ปวดหัว แค่นั่งรอสบายๆ แล้วเอาเวลาไปทำอย่างอื่นแทน ยิ่งเผชิญหน้ากับสถานการณ์โควิด-19 หลายคนคงไม่รู้สึกสบายใจเวลาออกไปข้างนอกเหมือนเก่า ถ้าให้เลือกใช้ขนส่งสาธารณะก็ต้องคิดหนัก ยอมจ่ายเพิ่มอีกสักนิดเรียกบริการรถดีกว่า หรือตัดปัญหาไปนั่งร้านอาหารด้วยการฝาก ‘ฮีโร่’ ไปรับอาหารแล้วมาส่งถึงที่ แต่ร้านเล็กร้านน้อยบางร้านไม่สามารถเข้าร่วมแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ เพราะหักเปอร์เซ็นต์จากราคาอาหารแบบมหาโหดจนเหลือกำไรเพียงน้อยนิด ส่วนกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์ถูก Disrupt จากแพลตฟอร์ม บวกกับช่วงนี้คนไม่กล้าออกไปไหนเลยต้องปรับตัวหันมาส่งเดลิเวอรีควบคู่ไปด้วย เพื่อหารายได้อีกทางหนึ่ง กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้ โบ้-อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ นักวิจัยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สร้างแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า ‘ตามสั่ง-ตามส่ง’ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้กับคนในชุมชนภายใต้แนวคิด ‘เศรษฐกิจสมานฉันท์’ ที่ให้มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ร้านค้า และผู้บริโภคเป็นเจ้าของและได้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งทดลองใช้ถนนลาดพร้าว 101 เป็นที่แรก แพลตฟอร์มเดลิเวอรีฉบับชุมชน “ผมวิจัยเรื่อง Platform Economy หรือแอปพลิเคชันเดลิเวอรีที่เรารู้จักกัน แล้วสนใจคนสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากตัวแพลตฟอร์มเป็นคนที่ทำอาชีพเดิม เช่น คนขับแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง […]
ศรีแสงดาว แบรนด์ข้าวรางวัลระดับโลกที่กู้ชีพข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยเทคโนโลยี
ข้าวสวยขาวๆ ร้อนๆ หอม นุ่ม ทำให้นึกถึงตอนเด็กที่แม่ชอบสอนว่า “กินข้าวอย่าให้เหลือนะ สงสารชาวนา” และหลายครั้งที่เรามักได้ยินประโยค “ชาวนาคือกระดูกสันหลังของชาติ” ผ่านจอทีวี ซึ่งเป็นวาทกรรมที่พร่ำบอกว่า เกิดเป็นชาวนาต้องอดทนหลังขดหลังแข็ง ชวนตั้งคำถามว่า “ชาวนามีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่านี้ได้ไหม”
Diffuse Energy กังหันไซซ์พัดลม พลังงานทางเล็ก (เลือก) ที่สร้างมาท้าชนดีเซลในออสเตรเลีย
ในโลกอันกว้างใหญ่จะมีที่ยืนสำหรับคนตัวเล็กหรือเปล่า ถ้าพูดถึงขนาดเพียงอย่างเดียว จะเห็นว่าความเล็กเป็นจุดขายในหลายอุตสาหกรรม โทรศัพท์มือถือเคยแข่งกันให้มีขนาดเล็กที่สุด แล็ปท็อปยิ่งบางก็ยิ่งดึงดูดสายตาผู้บริโภค แม้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าจะมีแต่ขยายโรงงาน สร้างเขื่อน หรือเพิ่มฟาร์มกังหัน แต่ความเล็กก็กำลังโดดเด่นขึ้นมาเช่นกัน ชวนมาดูความเล็กที่ยิ่งใหญ่ของ Diffuse Energy สตาร์ทอัปสัญชาติออสเตรเลีย ที่ไม่อยากสู้เรื่องความใหญ่โตมโหฬารกับบริษัทพลังงานที่ไหน กับกังหันลมที่ขนาดราวพัดลมตั้งพื้นตามงานวัด เบาจนสามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวคนเดียว แต่ลดปริมาณการผลิตไฟฟ้าด้วยน้ำมันดีเซลได้มหาศาล พลังงานทางเล็ก (เลือก) ก่อนจะไปถึงเรื่องราวของ Diffuse Energy ขอย้อนอดีตต้นกำเนิดของกังหันลมผลิตไฟฟ้ากันสักเล็กน้อย เพื่อจะได้เข้าใจภาพรวมของอุตสาหกรรมและแรงบันดาลใจในการผลิตกังหันลมขนาดเล็กมากขึ้น พลังงานลมอยู่คู่กับมนุษยชาติมาเนิ่นนาน ย้อนกลับไป 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวบาบิโลนใช้กังหันลมในการโม่แป้ง กระโจนข้ามมาเร็วๆ ที่ ค.ศ. 1930 นักประดิษฐ์ควบตำแหน่งนักอุตุนิยมวิทยานามว่า พอล ลา คัวร์ ได้คิดค้นกังหันลมผลิตไฟฟ้าสมัยใหม่ โดยใช้ไฟฟ้าจากกังหันลมป้อนเข้าเครื่องแยกน้ำด้วยไฟฟ้าในการผลิตไฮโดรเจน และยังตีพิมพ์ The Journal of Wind Electricity วารสารที่ว่าด้วยการใช้พลังงานลมในการผลิตไฟฟ้าเล่มแรกของโลกอีกด้วย หลังหมดยุคของพอล มีนักประดิษฐ์มากมายเดินตามรอยเท้าของเขา และความนิยมของพลังงานทางเลือกชนิดนี้ที่ทั้งสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก็พัดไปไกลทั่วโลก ต้นศตวรรษที่ 21 เยอรมนีผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมราว 9,000 เมกะวัตต์ ซึ่งพลังงานลมถือว่าเติบโตอย่างรวดเร็วและประเทศที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมได้มากที่สุดคือจีนที่ […]