BUSINESS
จับเข่าคุยกับธุรกิจทุกแขนง ไล่ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงธุรกิจยุคใหม่ พร้อมวิสัยทัศน์จากพี่ใหญ่ในวงการ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือทุกการเปลี่ยนแปลง ร่วมเปิดมุมมองผ่านเทรนด์ธุรกิจและการตลาดเพื่อสานต่อการพัฒนาที่เริ่มจากวัตถุดิบในชุมชน
โลตัสสนับสนุนดีไซเนอร์รุ่นใหม่ออกแบบกราฟิกเสื้อยืดผ่านโครงการ MeStyle Young Graphic Designer Contest Season 2
การทำธุรกิจในปัจจุบันนี้ หลายแบรนด์ไม่ได้มองเห็นแค่การเติบโตทางด้านธุรกิจของตัวเองอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเล็งเห็นถึงประโยชน์โดยส่วนรวมและมองหาวิธีการที่จะช่วยให้หลายภาคส่วนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ การสนับสนุนเยาวชนคนรุ่นใหม่ เป็นอีกหนึ่งความตั้งใจที่หลายองค์กรให้ความสำคัญ เพราะเยาวชนเป็นกลุ่มคนที่จะเติบโตเข้ามามีบทบาทในการทำงาน ช่วยขับเคลื่อนภาคธุรกิจให้เติบโต เป็นบุคคลากรที่จะเป็นอนาคตของประเทศต่อไป ‘โลตัส’ คือหนึ่งในธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ‘พงศธร ปานประสงค์’ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานการพาณิชย์สินค้าในครัวเรือนโลตัส กล่าวว่า แบรนด์เสื้อผ้า MeStyle เป็นหนึ่งในสินค้าภายใต้แบรนด์โลตัส ซึ่งเป็นเสื้อผ้าสำหรับทุกคนในครอบครัว ที่สวมใส่ง่ายได้ทุกวัน คุณภาพดี ราคาคุ้มค่า ผ่านการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสากล และยังมีกระบวนการผลิตที่คำนึงถึงความปลอดภัยต่อผู้สวมใส่และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ล่าสุด โลตัส ได้จัดโครงการ MeStyle Young Graphic Designer Season 2 ประกวดออกแบบกราฟิกเสื้อยืดรักษ์โลก ที่จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 แล้ว ภายใต้คอนเซ็ปต์ลายอัตลักษณ์ไทย ๕ ภาค ผ่านการร่วมมือกับสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อสนับสนุนเยาวชนไทยให้มีประสบการณ์และทักษะทางอาชีพในเชิงสร้างสรรค์ ให้น้อง ๆ ได้มีประสบการณ์ผ่านการทำงานจริงกับผู้เชี่ยวชาญ เรียนรู้ในทุกขั้นตอนตั้งแต่การออกแบบ ผลิต จำหน่าย และเป็นการอนุรักษ์ส่งเสริมวัฒนธรรมในแต่ละภาคของไทย ผ่านการออกแบบลวดลายที่สะท้อนอัตลักษณ์ไทยของแต่ละภาค ผลงานของน้อง ๆ ที่ผ่านการคัดเลือก จะได้รับการพิมพ์ลายผลิตและวางขายจริงในสาขาของโลตัสทั่วประเทศ […]
Chook แอปฯ เดลิเวอรีที่เชื่อว่าอาหารโฮมเมดพิเศษ จนสร้างแพลตฟอร์มให้เชฟที่ไม่มีหน้าร้าน
วันนี้ ที่ออฟฟิศ Urban Creature มีข้าวกลางวันฟรี เป็นเมนูแกงเขียวหวานเนื้อของร้าน ‘บ้านศรีโบว์’ ที่นอกจากจะใช้เนื้อวัวที่ตุ๋นจนเปื่อยเป็นวัตถุดิบหลัก น้ำแกงยังมีสีเขียวกว่าแกงเขียวหวานทั่วไป ไม่ได้ปรุงพลาดหรือใส่เครื่องแกงเยอะเกินไป แต่เป็นสูตรลับเฉพาะของคนทำที่บอกว่า แกงเขียวหวานบ้านเขาต้องเขียวแบบนี้เท่านั้น แกงเขียวหวานของร้านบ้านศรีโบว์ไม่ได้หาซื้อที่ไหนก็ได้ ถ้าไปเสิร์ชในแอปฯ สั่งอาหารทั่วไปคงไม่เจอ ยกเว้นแอปฯ เดียวที่ทางร้านเปิดขายชื่อ Chook Chook คือแอปฯ สั่งอาหารน้องใหม่ที่เปิดตัวในยุคที่ตลาดแอปฯ เดลิเวอรีแข่งขันกันอย่างดุเดือด แต่เอกลักษณ์ที่ทำให้ Chook โดดเด้งมากกว่าแอปฯ ไหน คือการเป็นแอปฯ ที่ขายเฉพาะเมนูโฮมเมดเท่านั้น แกงเขียวหวานของร้านบ้านศรีโบว์ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง ในแอปฯ ยังมีเมนูและร้านอาหารจากครัวประจำบ้านอีกนับร้อยให้เลือกสรร ความน่ารักคือร้านเหล่านี้ไม่ได้มีหน้าร้านจริงจัง และเชฟผู้ปรุงเมนูเหล่านั้นอาจไม่ได้ทำอาชีพเชฟจริงจัง แต่เป็นคนธรรมดาๆ ที่ทำอาหารอร่อย และอยากแชร์สูตรอาหารโฮมเมดในบ้านตัวเองให้คนอื่นกินบ้าง เบื้องหลังแอปฯ ที่ธรรมดาแต่พิเศษนี้เป็นยังไง Vincent Kao ผู้ก่อตั้งแอปฯ มีนัดกับเราที่ออฟฟิศ Urban Creature เพื่อเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ฟัง ไม่ใช่แค่เล่า แต่ชายหนุ่มยังขอเลี้ยงมื้อกลางวัน แน่นอนว่ามันคือเมนูแกงเขียวหวานร้านบ้านศรีโบว์ หนึ่งในเมนูอาหารโฮมเมดซึ่งเปิดขายในแอปฯ ที่เขาสร้างขึ้นมานั่นเอง อาหารประจำครอบครัว “ทุกคนมีเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารที่บ้านของตัวเอง” คือประโยคที่จุดประกายให้วินเซนต์ริเริ่มสตาร์ทอัปชื่อ Chook ไม่ต่างจากเราทุกคน […]
สร้างงาน สร้างอาชีพ พัฒนาชุมชนสู่การท่องเที่ยวแบบ ‘เซ็นทรัล ทำ’ ให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ถ้าให้นึกถึงปัญหาต่างๆ ในสังคมไทยนั้นคงมีเยอะอย่างนับไม่ถ้วน และเมื่อทุกอย่างยังคงเกิดขึ้นและต้องถูกจัดการแก้ไขต่อไป การร่วมกันลงมือทำตั้งแต่วันนี้ จะทำให้ทุกสิ่งอย่างเกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีมากกว่าเดิมได้ เช่นเดียวกับโครงการ ‘เซ็นทรัล ทำ (Central Tham)’ โครงการเพื่อความยั่งยืนของ ‘กลุ่มเซ็นทรัล’ ที่มีหัวใจสำคัญคือ ‘ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ’ ภายใต้แนวคิด CSV (Creating Shared Values) เพื่อมุ่งเน้นการลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ ยกระดับแบ่งปันทักษะต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมรายได้ให้กับชุมชนและผู้พิการ พร้อมส่งเสริมให้ผู้คนตระหนักถึงเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม และสร้างการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน คอลัมน์ FYI ชวนไปสำรวจการเปลี่ยนแปลงจากการร่วมลงมือทำที่เซ็นทรัล ทำ ได้ดำเนินการไปแล้ว และยังคงเดินหน้าต่อ รวมถึงแผนการต่างๆ ที่ยังคงมุ่งไป เพื่อให้เกิดภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนมากขึ้นในอนาคต ชุมชนสร้างรายได้ การท่องเที่ยวยั่งยืน เพราะชุมชนที่สมัครสมานเป็นหนึ่งเดียวกันสามารถนำไปสู่การพึ่งพากันเองได้ ‘เซ็นทรัล ทำ’ ที่มองเห็นความสำคัญนี้ จึงได้เริ่มต้นส่งเสริมให้ผู้คนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ผ่านการลงพื้นที่ไปแบ่งปันทักษะความรู้ ทั้งการเพาะปลูก การผลิตสินค้าในชุมชน ไปจนถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างความรู้เรื่องการค้าปลีก สนับสนุนด้านการตลาด และบอกเล่าความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ชุมชนนำองค์ความรู้ไปร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น จนทำให้เกิดเป็นเศรษฐกิจที่ช่วยกระจายรายได้สู่เกษตรกร ต่อยอดนำไปสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนได้ และนี่คือส่วนหนึ่งของโครงการที่เซ็นทรัล ทำ ได้เข้าไปร่วมลงมือทำ […]
‘มูเตเวิร์ล’ ธุรกิจที่ปลุกกระแสการมูฯ ให้ป็อปด้วยวอลล์ฯ เสริมดวง ไปถึงนะหน้าทองแบบ DIY
เพราะเป็นคนรักงานที่เชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีผลต่อ Work-life ไม่แพ้ความพยายาม หน้าจอโน้ตบุ๊กของฉันจึงตั้งวอลล์เปเปอร์เสริมดวงที่ (เชื่อว่า) ช่วยเรียกโชคลาภด้านงานและเงินเข้ามาเป็นพิเศษ วอลล์เปเปอร์ชิ้นนี้มีส่วนประกอบเป็นไพ่สามใบ นั่นคือ Nine of Pentacles, Wheel of Fortune และ Ace of Cups ส่วนมุมขวาล่างมีโลโก้ ‘มูเตเวิร์ล’ ครีเอเตอร์ของวอลล์เปเปอร์แปะอยู่ ทุกเช้า ในพิธีกรรม Manifesting ก่อนเริ่มงาน นอกจากจะได้จินตนาการภาพความสำเร็จกับไพ่ก่อนลงมือทำงานให้สำเร็จจริงๆ ฉันจะชอบแวะขอบคุณทีมมูเตเวิร์ลที่ช่วยทำวอลล์เปเปอร์ชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นที่พึ่งทางใจ ใครจะคิดว่าหลังจากตั้งวอลล์ฯ มาได้แรมปี การงานจะพาให้ฉันมาขอบคุณพวกเขาถึงสำนัก เพราะคอลัมน์ Trouble Solver คราวนี้ ฉันมีนัดกับทีมผู้ก่อตั้ง ‘แม่หมอแอเรียล-พิมฉัตร์ วิบูลย์ธนินกุล’ Chief Operation Officer, ‘ฝน-สุภัทร์พร โปสกนิษฐกุล’ Chief Creative Officer และ ‘กูโร่-อภิชา อินทรกำแหง’ Chief Officer Technology เพื่อพูดคุยถึงเบื้องลึกเบื้องหลังการสร้างธุรกิจมูฯ สุดปังของพวกเธอกัน ศูนย์มูฯ ซัปพอร์ตจิตใจในวันไร้ที่พึ่ง […]
เติมเต็มทุกความสุขให้เกษตรกรไทยด้วย ‘ถั่วลายเสือ’ สินค้าดี สินค้าเด็ด ภายใต้โครงการไทยเด็ด จาก ‘PTT Station’
นอกจาก ‘หอยลายเสือ’ กับ ‘กุ้งลายเสือ’ มีใครเคยได้ยินชื่อ ‘ถั่วลายเสือ’ มาก่อนไหม ถ้ายังไม่เคยได้ยินก็ไม่เป็นไร เพราะวันนี้ Urban Creature จะพาทุกคนบุก ‘PTT Station (พีทีที สเตชั่น)’ เพื่อแวะดูสินค้าที่ ‘ร้านไทยเด็ด’ ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของการตามล่า ‘ถั่วลายเสือคั่ว ตราถั่วคุณลุง’ ของดีของเด็ดจากเกษตรกรจังหวัดแม่ฮ่องสอน ใครที่อยากรู้ว่า พีทีที สเตชั่น กับร้านไทยเด็ดมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร แล้วถั่วลายเสือคั่ว ตราถั่วคุณลุง จะอร่อย หอมมัน กินเพลินแค่ไหน เราขออาสาพาไปหาคำตอบพร้อมๆ กันส่วนใครอดใจไม่ไหว อยากหาถั่วลายเสือมากินระหว่างอ่านบทความนี้ สามารถซื้อได้ที่ร้านไทยเด็ดทั้ง 17 สาขา หรือมุมสินค้าไทยเด็ดกว่า 80 สาขา ที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป แพ็กเกจจิ้งสีส้มสดใสขนาดกะทัดรัด มาพร้อมมาสคอตคุณลุงจาก ‘บริษัท กุ๊บไต จำกัด’ เป็นสิ่งแรกที่ดึงดูดใจให้เราหยิบผลิตภัณฑ์ขึ้นมา ยิ่งเป็นชนิดถั่วที่ไม่คุ้นตา ก็ยิ่งทำให้สงสัยว่ารสชาติจะเป็นแบบไหน ทำให้เราตัดสินใจหยิบสินค้าประจำร้านไทยเด็ดนี้ไปจ่ายเงินที่จุดจำหน่ายได้ไม่ยาก ความพิเศษของถั่วลายเสือที่จำหน่ายภายในร้านไทยเด็ดคือ รสสัมผัสที่มัน หอม อร่อย […]
Cloud 11 ศูนย์รวมครบวงจรดีไซน์ล้ำสมัย สำหรับคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันนี้ Content Creator กลายเป็นอาชีพใหม่ที่ไม่ว่าใครก็ศึกษาและลงมือทำเองได้ตลอดเวลา จึงไม่น่าแปลกถ้าเราจะได้เห็นผลงานสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่กันอยู่บ่อยๆ แต่ที่น่าเสียดายคือ ยังมีเหล่าครีเอเตอร์จำนวนมากที่ขาดโอกาสในการต่อยอดไอเดียหรืออุปกรณ์ในการผลิตผลงาน รวมไปถึงขาดพื้นที่ในการหาแรงบันดาลใจเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพราะเห็นช่องว่างนี้ และต้องการผลักดันครีเอเตอร์ไทยให้ไปไกลกว่าเดิม MQDC บริษัทธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร จึงเปิดตัวโปรเจกต์ใหม่ ‘Cloud 11’ ฮับของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย เพื่อสนับสนุนเหล่าครีเอเตอร์ด้วยการสร้างศูนย์รวมระบบนิเวศการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุด ในการช่วยส่งเสริมศักยภาพให้กับเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ และยกระดับอุตสาหกรรมคอนเทนต์ของประเทศไทยให้ไปได้ไกลถึงระดับโลก โดยโครงการนี้ตั้งอยู่ในย่านสุขุมวิทใต้ ซึ่งเป็นย่านที่กำลังได้รับการผลักดันจากหลายภาคส่วนให้กลายเป็นย่านนวัตกรรมแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ นอกจากไอเดียการเป็นศูนย์รวมครบวงจรสำหรับเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์แล้ว Cloud 11 ยังได้ความร่วมมือจากสองบริษัททางสถาปัตยกรรมไทยชื่อดังอย่าง A49 และ Snøhetta จากประเทศนอร์เวย์ ในฐานะ Design Consultant ที่ช่วยกันสร้างสรรค์และเปลี่ยนที่ดินขนาด 27 ไร่ในย่านสุขุมวิทใต้ให้กลายเป็น Cloud 11 พื้นที่แห่งการสร้างสรรค์คอนเทนต์ขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียอีกด้วย ศูนย์กลางสำหรับ Content Creator จากปรากฏการณ์เทรนด์อาชีพคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่มาแรงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ Cloud 11 เล็งเห็นว่าอุตสาหกรรม Entertainment ของประเทศไทยมีศักยภาพที่สูง อีกทั้งวัฒนธรรมไทยก็โดดเด่นมีเอกลักษณ์ จึงคาดหวังว่าโครงการ Cloud 11 จะเป็นสารตั้งต้นในการผลักดันครีเอเตอร์เพื่อสร้างคอนเทนต์ใหม่ๆ ให้กับอุตสาหกรรมคอนเทนต์ได้ […]
Smart Factory ต้นแบบโรงงานอาหารสัตว์ของ Betagro ที่เชื่อมั่นในการสร้างความยั่งยืน
การดำเนินงานของโรงงานอุตสาหกรรมในยุคนี้ไม่เพียงแต่ต้องคำนึงถึงธุรกิจอย่างเดียวเท่านั้น แต่องค์กรต้องตระหนักถึงองค์รวมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตัวกิจการเอง ชุมชนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโรงงาน เช่น ก่อสารมลพิษทางอากาศ ที่เกิดจากกระบวนการผลิตในโรงงานที่ก่อให้เกิดเชื้อเพลิงเผาไหม้ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งสุขภาพและชั้นบรรยากาศ หรือ การก่อสารมลพิษทางน้ำ ที่ทำให้มีสารพิษปนเปื้อนในน้ำจนทำให้แหล่งน้ำเป็นอันตราย ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ รวมถึงชาวบ้านที่ใช้แหล่งน้ำนั้นในชีวิตประจำวันด้วย และเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน กระแสของการดำเนินงานแบบ Sustainable ในการทำให้ชุมชนคงอยู่อย่างยั่งยืน จึงมีบทบาทเป็นอย่างมากในยุคนี้ Betagro เองก็เป็นองค์กรหนึ่งที่ไม่ได้มองแค่การดำเนินกิจการในภาคธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเชื่อมั่นในการสร้างความยั่งยืน ผ่านแนวคิดแบบ Proactive จนทำให้เกิด Smart Factory ต้นแบบโรงงานอาหารสัตว์ Betagro ที่อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา ภายในโรงงานแห่งนี้มีการใช้สมาร์ตเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานในการสร้างความยั่งยืน และพัฒนาการทำงานของโรงงานไปพร้อมๆ กับเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เพื่อเป้าหมายการเป็นมิตรกับผู้คนในพื้นที่และสิ่งแวดล้อม ว่าแต่ที่นี่ดำเนินงานและใช้นวัตกรรมแบบไหน ถึงสามารถเป็น Smart Factory ต้นแบบโรงงานอาหารสัตว์ได้ ลองไปสำรวจพร้อมๆ กันเลย Sustainable Smart Production ที่นี่เน้นการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการสร้างความร่วมมือกับชุมชนตั้งแต่เริ่มต้น ทำให้เกิดเป็น Smart Impact ที่ส่งเสริมพื้นที่หนองบุญมาก ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านการใช้นวัตกรรมสมัยใหม่เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างความยั่งยืน […]
ปลุกความ MORE MADLY MINIMAL ในตัวคุณ ผ่าน 5 สัมผัส 5 ครีเอเตอร์ กับ AREN X by Areeya Property
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่หลงใหลกับสไตล์มินิมอลแบบสุดขีด และต้องการที่อยู่อาศัยที่สามารถแสดงตัวตนได้อย่างสมบูรณ์แบบ เราเชื่อว่าโครงการ ‘AREN X’ โดย ‘Areeya Property’ ที่ต่อยอดจากโครงการ AREN ที่ได้รับกระแสตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดีหลังจากเปิดตัวเมื่อปี 2564 จะมีสิ่งที่คุณมองหา เพราะคอนเซปต์ ‘MORE MADLY MINIMAL’ ของ AREN X ที่ Areeya Property ต่อยอดจากคอนเซปต์ MADLY MINIMAL ของ AREN จะเพิ่มความเป็นที่สุดของความมินิมอลเข้าไป เมื่อเราตัดสิ่งที่ไม่ใช่ ‘ตัวตน’ ของเราออกไป และเก็บไว้แต่สิ่งที่จำเป็น (Keep only the essential thing in life) ยิ่งตัดสิ่งที่ไม่ใช่ออกไปมากเท่าไร ความเป็นตัวตนของเราก็ยิ่งชัดเจนมากขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ AREN X เลือกมาไว้ในโครงการ คือ Masterpiece ที่บ่งบอกไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัย ที่มี DNA คือ ความ Uncompromise ที่หลงใหลความมินิมอลอย่างสุดทาง […]
‘ข้อมูลดี ทำเกษตรดี’ ช่องทางความรู้จากสยามคูโบต้า ที่อยากเป็นเพื่อนคู่เกษตรกรยุคใหม่
เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด ทำให้เกษตรกรในประเทศไทยมีเครื่องทุ่นแรงที่ช่วยส่งเสริมให้กรรมวิธีต่างๆ ตั้งแต่การไถนา หว่านเมล็ด ลงปุ๋ย เก็บเกี่ยว ฯลฯ กลายเป็นเรื่องที่ง่ายดายขึ้น ทั้งยังช่วยลดการใช้แรงงานคน ประหยัดต้นทุน และควบคุมจัดการพลังงานที่ต้องใช้ในการเพาะปลูกแต่ละครั้งให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมพอดีได้ ถือเป็นการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ที่อยากลงมือทำการเกษตรสามารถเข้าถึงอุตสาหกรรมเหล่านี้ได้ไม่ยากลำบากเหมือนเมื่อก่อน แต่ขณะเดียวกัน ต่อให้เทคโนโลยีจะพัฒนาไปไกลแค่ไหน การทำเกษตรก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องลงมือทดลองทำด้วยตัวเอง และหลายครั้งก็ต้องใช้วิชาความรู้จากทั้งการศึกษาจากแหล่งต่างๆ และได้รับจากการบอกเล่าส่งต่อกันมารุ่นสู่รุ่น ‘SiamKubota’ (สยามคูโบต้า) ที่มองเห็นความสำคัญเช่นนี้ จึงตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อความรู้และเทคโนโลยีร่วมสมัยที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรให้แก่คนรุ่นใหม่ เพื่อหวังสร้างมาตรฐานการทำเกษตรที่มีประสิทธิภาพ หวังผลได้ คอลัมน์ FYI ขออาสาพาชาวเกษตรกรรุ่นใหม่ เกษตรกรหน้าใหม่ หรือแม้แต่ผู้ที่สนใจเริ่มต้นทำการเกษตร ไปดูความก้าวหน้าของการเกษตรในยุคสมัยใหม่ ผ่านการทำความรู้จักกับช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ จากทางสยามคูโบต้าที่คอยส่งมอบเรื่องราวดีๆ เพื่อชาวเกษตรกรเสมอมา นวัตกรรมการเกษตรเพื่ออนาคต ในเว็บไซต์ของสยามคูโบต้า www.siamkubota.co.th มีหลากหลายองค์ความรู้ให้เราเลือกดูได้แบบที่เรียกว่า ครบจบในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็นทุกเรื่องรายละเอียดของสินค้านวัตกรรมการเกษตรเพื่ออนาคตจากทางแบรนด์ ออนไลน์โชว์รูมให้เราเลือกชมสินค้าได้รอบทิศทางแบบ 360 องศา รวมถึงข้อมูลข่าวสารน่ารู้ งานประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมเพื่อสังคม ที่สำคัญ ภายในเว็บไซต์ยังมีวารสารออนไลน์ ‘เพื่อนเกษตร’ ให้ได้อ่านเป็นประจำ และองค์ความรู้อย่าง KUBOTA (Agri) Solutions ที่เป็นตัวช่วยให้เกษตรกรทำการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านการเรียนรู้วิธีการเพาะปลูกพืชผลตามแบบฉบับของสยามคูโบต้า นอกจากนี้ยังมี […]
จากเต้าหู้ยี้อายุ 70 ปี สู่ Have a nice bean แบรนด์น้ำเต้าหู้เจียงใหม่ที่อยากให้คนกิน Have a nice day
เช้านี้เชียงใหม่อากาศเย็นกำลังดี เรามาถึง The Goodcery ร้านขายของชำย่านช้างม่อยตั้งแต่ประตูเปิด ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าร้านขายของชำขนาดสองคูหาแห่งนี้จะกลายเป็น Safe Space ที่เราปวารณาตนว่าจะมาทุกครั้งถ้าได้มาเชียงใหม่ อาจเพราะที่นี่ไม่ได้มีดีแค่ขายวัตถุดิบและของกินคัดสรรจากทั่วไทย แต่ยังมีร้านกาแฟ ร้านขนมปัง ร้านอาหารฟิวชัน ทุกสิ่งที่เราต้องการภายในที่เดียว แต่เช้านี้ สิ่งแรกที่เข้าปากเราไม่ได้อยู่ในลิสต์นั้น แต่เป็นน้ำเต้าหู้ของ Have a nice bean ที่วางเด่นหราอยู่ในตู้แช่ของร้าน ปกติเราไม่ค่อยกินน้ำเต้าหู้ ยิ่งเต้าหู้ก้อนหรือเต้าหู้ยี้นี่ไม่ต้องพูดถึง แต่ความเข้มข้นของน้ำเต้าหู้แบรนด์นี้ทำให้เราลองเปิดใจ Have a nice tofu Have a nice bean คือแบรนด์น้ำเต้าหู้สุดเข้มข้นจากเชียงใหม่ ฝีมือ ‘ฝน-รวิพร พึ่งโพธิ์เจริญพันธ์’ ทายาทรุ่นสามของธุรกิจเต้าหู้ยี้ห่อใบไผ่ตราลูกโลกที่มีอายุกว่า 70 ปี ย้อนไปราว 70 ปีก่อน อากงของฝนอพยพจากเมืองจีนแบบเสื่อผืนหมอนใบมาอยู่ย่านหัวลำโพง หาบเร่ขายอาหารแถวเยาวราชอยู่พักใหญ่ก่อนจะเปิดธุรกิจของดองบรรจุกระป๋องของตัวเอง อากงขายทั้งซีเซ็กฉ่าย ตั้งฉ่าย ขิงดอง และจับพลัดจับผลูมาทำเต้าหู้ยี้ ‘ทวีผล พึ่งโพธิ์เจริญพันธ์’ ผู้เป็นทั้งป๊าของฝนและเป็นลูกชายคนที่ 3 ของอากงเล่าให้ฟังว่า กว่าสินค้าจะติดตลาดก็ลำบากใช่เล่น […]
Oho! แอปฯ สั่งของกินเมนูพิเศษที่ทั้งอร่อย ถูกกว่า และได้ช่วยร้านค้าลดขยะอาหาร
ในสายตาของคนที่รักของเซลล์เป็นชีวิตจิตใจ ไม่ว่าจะไปไหน ซื้ออะไร เรามักตาเป็นประกายเสมอเมื่อเห็นส่วนลด แม้แต่อาหารที่กดสั่งเดลิเวอรีทุกวัน เชื่อว่าหลายคน (ที่เป็นคนแบบเรา) ไม่พลาดที่จะเช็กโค้ดโปรโมชัน บางครั้งถึงกับตั้งเวลาปลุกให้เข้าไปออเดอร์ช่วง Flash Sale ให้ทัน ฟังดูเหมือนจริงจังไปนิด แต่เราก็ทำถึงขนาดนั้นเลย แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราได้อาหารที่ลดราคาแบบสุดๆ แถมยังเป็นมิตรต่อโลกด้วย เรารู้จักแอปพลิเคชัน Oho! ครั้งแรกราวกลางปีที่ผ่านมา ในฐานะแอปฯ สั่งอาหารที่ละลานตาไปด้วยการลดราคาอย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เลขเปอร์เซ็นต์สุดว้าวนั้นจูงใจให้คนรักของเซลล์อย่างเราโหลดมาใช้ ก่อนจะพบว่าแอปฯ นี้มีความพิเศษมากกว่าราคาที่ลดแล้วลดอีกไปมากโข แท้จริงแล้ว Oho! คือแอปฯ ขายอาหารเมนูป้ายเหลืองเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่แค่อาหารใกล้หมดอายุอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน แต่บางเมนูมีความสดใหม่และคุณภาพอยู่ในระยะเวลาจำกัด ถ้าปล่อยไว้นาน คุณภาพนั้นจะดร็อปลงจนร้านค้าต้องจำใจทิ้งไป Oho! เกิดขึ้นเพราะอยากช่วยแบ่งเบาภาระนั้นจากร้านอาหาร ทุกเมนูบนแอปฯ จึงลดราคาได้แบบจัดหนักจัดเต็มอย่างที่เห็น ฟังดูเป็นโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ลึกลงไปมากกว่านั้น ‘วริทธิ์ธร มังกรทองสกุล’, ‘สมิทธ์ ชัยชาญชีพ’ และ ‘Richard Armstrong’ ผู้ก่อตั้งทั้ง 3 คนตั้งใจอยากให้ Oho! เป็นแอปฯ ของคนรุ่นใหม่ที่อยากแบ่งเบาภาระโลกจากปัญหา Food Surplus […]
Mobility Data Dashboard แพลทฟอร์มช่วยแนะนำนโยบายส่งเสริมท่องเที่ยว ตามศักยภาพเมือง ในวันที่นโยบายท่องเที่ยวแบบเดียวใช้ไม่ได้กับทุกจังหวัด
ปฏิเสธไม่ได้ว่ายุคนี้ข้อมูลคือสิ่งสำคัญในการกำหนดทิศทางของธุรกิจไปจนถึงเศรษฐกิจของประเทศ อุตสาหกรรมรอบตัวเราเริ่มต้นวางแผนงานจากการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติกันทั้งนั้น เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ถือเป็นส่วนหลักในการขับเคลื่อนประเทศ ถ้าคุณคือคนออกแบบนโยบายสาธารณะหรือเจ้าของธุรกิจสักแบรนด์ที่กำลังมองหาฐานข้อมูลนักท่องเที่ยว เพื่อนำไปพัฒนาแผนงานหรือสินค้าบริการของตัวเอง ‘Mobility Data Dashboard’ คือเครื่องมือที่ช่วยคุณทำแบบนั้นได้อย่างง่ายดาย โปรเจกต์นี้เกิดจากการที่ ดีแทค คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ และบุญมีแล็บ จับมือกันสร้างแพลตฟอร์มเจาะลึกการท่องเที่ยวภายในประเทศผ่านข้อมูลมือถือ ต่อยอดจากการวิจัย ‘Mobility Data เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรอง’ ให้นักออกแบบนโยบายสาธารณะ ผู้ประกอบการ ผู้สนใจด้านข้อมูล รวมถึงประชาชนทั่วไปเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกด้านการท่องเที่ยวของทั้ง 77 จังหวัดได้อย่างง่ายๆ ละเอียดถึงระดับอำเภอ แถมยังมีบทวิเคราะห์เมืองรอง ที่บอกว่าเมืองรองจังหวัดไหนมีศักยภาพด้านไหน นักท่องเที่ยวกลุ่มไหนชอบไปจังหวัดนั้น และคนในท้องที่ควรพัฒนาสินค้าและบริการของตัวเองแบบไหนเพื่อให้ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวได้มากที่สุด ตัวเว็บไซต์ยังถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย สามารถคลิกดูได้เป็นรายจังหวัดเลยว่ามีอัตราการกระจุกตัวในแต่ละช่วงเวลามากน้อยแค่ไหนในแต่ละพื้นที่ ใครสนใจลองเข้าไปเล่นได้เลยที่ dtac.co.th/mobility-data/dashboard/ หรือถ้าใครอยากรู้ว่าแพลตฟอร์มนี้เจ๋งยังไง เราจะพาไปสำรวจอย่างละเอียดในอัลบั้มนี้กัน ดีแทค คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ และบุญมีแล็บ ได้นำข้อมูลการกระจุกตัวและต้นทาง-ปลายทางของนักท่องเที่ยวจาก Mobility Data Dashboard มาวิเคราะห์ว่ามวยรองอย่างเมืองรองมีศักยภาพในการเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ดีขึ้นได้อย่างไร โดยนำข้อมูลเหล่านี้มาจัดทำเป็น ‘ดัชนี’ วัดศักยภาพตามรูปแบบของการเดินทางท่องเที่ยว ประกอบด้วยการท่องเที่ยวไปเช้า-เย็นกลับ การท่องเที่ยวแบบค้างคืน และการท่องเที่ยวแบบกลุ่มจังหวัดหรือคลัสเตอร์ ดัชนีนี้สามารถนำมาวิเคราะห์ศักยภาพของเมืองรองแต่ละจังหวัดว่าควรส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวในรูปแบบไหน จากข้อมูล Mobility Data […]