FYI

‘ข้อมูลดี ทำเกษตรดี’ ช่องทางความรู้จากสยามคูโบต้า ที่อยากเป็นเพื่อนคู่เกษตรกรยุคใหม่

เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด ทำให้เกษตรกรในประเทศไทยมีเครื่องทุ่นแรงที่ช่วยส่งเสริมให้กรรมวิธีต่างๆ ตั้งแต่การไถนา หว่านเมล็ด ลงปุ๋ย เก็บเกี่ยว ฯลฯ กลายเป็นเรื่องที่ง่ายดายขึ้น ทั้งยังช่วยลดการใช้แรงงานคน ประหยัดต้นทุน และควบคุมจัดการพลังงานที่ต้องใช้ในการเพาะปลูกแต่ละครั้งให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมพอดีได้ ถือเป็นการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ที่อยากลงมือทำการเกษตรสามารถเข้าถึงอุตสาหกรรมเหล่านี้ได้ไม่ยากลำบากเหมือนเมื่อก่อน แต่ขณะเดียวกัน ต่อให้เทคโนโลยีจะพัฒนาไปไกลแค่ไหน การทำเกษตรก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องลงมือทดลองทำด้วยตัวเอง และหลายครั้งก็ต้องใช้วิชาความรู้จากทั้งการศึกษาจากแหล่งต่างๆ และได้รับจากการบอกเล่าส่งต่อกันมารุ่นสู่รุ่น ‘SiamKubota’ (สยามคูโบต้า) ที่มองเห็นความสำคัญเช่นนี้ จึงตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อความรู้และเทคโนโลยีร่วมสมัยที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรให้แก่คนรุ่นใหม่ เพื่อหวังสร้างมาตรฐานการทำเกษตรที่มีประสิทธิภาพ หวังผลได้ คอลัมน์ FYI ขออาสาพาชาวเกษตรกรรุ่นใหม่ เกษตรกรหน้าใหม่ หรือแม้แต่ผู้ที่สนใจเริ่มต้นทำการเกษตร ไปดูความก้าวหน้าของการเกษตรในยุคสมัยใหม่ ผ่านการทำความรู้จักกับช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ จากทางสยามคูโบต้าที่คอยส่งมอบเรื่องราวดีๆ เพื่อชาวเกษตรกรเสมอมา นวัตกรรมการเกษตรเพื่ออนาคต ในเว็บไซต์ของสยามคูโบต้า www.siamkubota.co.th มีหลากหลายองค์ความรู้ให้เราเลือกดูได้แบบที่เรียกว่า ครบจบในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็นทุกเรื่องรายละเอียดของสินค้านวัตกรรมการเกษตรเพื่ออนาคตจากทางแบรนด์ ออนไลน์โชว์รูมให้เราเลือกชมสินค้าได้รอบทิศทางแบบ 360 องศา รวมถึงข้อมูลข่าวสารน่ารู้ งานประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมเพื่อสังคม ที่สำคัญ ภายในเว็บไซต์ยังมีวารสารออนไลน์ ‘เพื่อนเกษตร’ ให้ได้อ่านเป็นประจำ และองค์ความรู้อย่าง KUBOTA (Agri) Solutions ที่เป็นตัวช่วยให้เกษตรกรทำการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านการเรียนรู้วิธีการเพาะปลูกพืชผลตามแบบฉบับของสยามคูโบต้า นอกจากนี้ยังมี […]

จากเต้าหู้ยี้อายุ 70 ปี สู่ Have a nice bean แบรนด์น้ำเต้าหู้เจียงใหม่ที่อยากให้คนกิน Have a nice day

เช้านี้เชียงใหม่อากาศเย็นกำลังดี เรามาถึง The Goodcery ร้านขายของชำย่านช้างม่อยตั้งแต่ประตูเปิด ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าร้านขายของชำขนาดสองคูหาแห่งนี้จะกลายเป็น Safe Space ที่เราปวารณาตนว่าจะมาทุกครั้งถ้าได้มาเชียงใหม่ อาจเพราะที่นี่ไม่ได้มีดีแค่ขายวัตถุดิบและของกินคัดสรรจากทั่วไทย แต่ยังมีร้านกาแฟ ร้านขนมปัง ร้านอาหารฟิวชัน ทุกสิ่งที่เราต้องการภายในที่เดียว แต่เช้านี้ สิ่งแรกที่เข้าปากเราไม่ได้อยู่ในลิสต์นั้น แต่เป็นน้ำเต้าหู้ของ Have a nice bean ที่วางเด่นหราอยู่ในตู้แช่ของร้าน ปกติเราไม่ค่อยกินน้ำเต้าหู้ ยิ่งเต้าหู้ก้อนหรือเต้าหู้ยี้นี่ไม่ต้องพูดถึง แต่ความเข้มข้นของน้ำเต้าหู้แบรนด์นี้ทำให้เราลองเปิดใจ Have a nice tofu Have a nice bean คือแบรนด์น้ำเต้าหู้สุดเข้มข้นจากเชียงใหม่ ฝีมือ ‘ฝน-รวิพร พึ่งโพธิ์เจริญพันธ์’ ทายาทรุ่นสามของธุรกิจเต้าหู้ยี้ห่อใบไผ่ตราลูกโลกที่มีอายุกว่า 70 ปี ย้อนไปราว 70 ปีก่อน อากงของฝนอพยพจากเมืองจีนแบบเสื่อผืนหมอนใบมาอยู่ย่านหัวลำโพง หาบเร่ขายอาหารแถวเยาวราชอยู่พักใหญ่ก่อนจะเปิดธุรกิจของดองบรรจุกระป๋องของตัวเอง อากงขายทั้งซีเซ็กฉ่าย ตั้งฉ่าย ขิงดอง และจับพลัดจับผลูมาทำเต้าหู้ยี้ ‘ทวีผล พึ่งโพธิ์เจริญพันธ์’ ผู้เป็นทั้งป๊าของฝนและเป็นลูกชายคนที่ 3 ของอากงเล่าให้ฟังว่า กว่าสินค้าจะติดตลาดก็ลำบากใช่เล่น […]

Oho! แอปฯ สั่งของกินเมนูพิเศษที่ทั้งอร่อย ถูกกว่า และได้ช่วยร้านค้าลดขยะอาหาร

ในสายตาของคนที่รักของเซลล์เป็นชีวิตจิตใจ ไม่ว่าจะไปไหน ซื้ออะไร เรามักตาเป็นประกายเสมอเมื่อเห็นส่วนลด แม้แต่อาหารที่กดสั่งเดลิเวอรีทุกวัน เชื่อว่าหลายคน (ที่เป็นคนแบบเรา) ไม่พลาดที่จะเช็กโค้ดโปรโมชัน บางครั้งถึงกับตั้งเวลาปลุกให้เข้าไปออเดอร์ช่วง Flash Sale ให้ทัน ฟังดูเหมือนจริงจังไปนิด แต่เราก็ทำถึงขนาดนั้นเลย แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราได้อาหารที่ลดราคาแบบสุดๆ แถมยังเป็นมิตรต่อโลกด้วย เรารู้จักแอปพลิเคชัน Oho! ครั้งแรกราวกลางปีที่ผ่านมา ในฐานะแอปฯ สั่งอาหารที่ละลานตาไปด้วยการลดราคาอย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เลขเปอร์เซ็นต์สุดว้าวนั้นจูงใจให้คนรักของเซลล์อย่างเราโหลดมาใช้ ก่อนจะพบว่าแอปฯ นี้มีความพิเศษมากกว่าราคาที่ลดแล้วลดอีกไปมากโข แท้จริงแล้ว Oho! คือแอปฯ ขายอาหารเมนูป้ายเหลืองเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่แค่อาหารใกล้หมดอายุอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน แต่บางเมนูมีความสดใหม่และคุณภาพอยู่ในระยะเวลาจำกัด ถ้าปล่อยไว้นาน คุณภาพนั้นจะดร็อปลงจนร้านค้าต้องจำใจทิ้งไป  Oho! เกิดขึ้นเพราะอยากช่วยแบ่งเบาภาระนั้นจากร้านอาหาร ทุกเมนูบนแอปฯ จึงลดราคาได้แบบจัดหนักจัดเต็มอย่างที่เห็น ฟังดูเป็นโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ลึกลงไปมากกว่านั้น ‘วริทธิ์ธร มังกรทองสกุล’, ‘สมิทธ์ ชัยชาญชีพ’ และ ‘Richard Armstrong’ ผู้ก่อตั้งทั้ง 3 คนตั้งใจอยากให้ Oho! เป็นแอปฯ ของคนรุ่นใหม่ที่อยากแบ่งเบาภาระโลกจากปัญหา Food Surplus […]

FYI

Mobility Data Dashboard แพลทฟอร์มช่วยแนะนำนโยบายส่งเสริมท่องเที่ยว ตามศักยภาพเมือง ในวันที่นโยบายท่องเที่ยวแบบเดียวใช้ไม่ได้กับทุกจังหวัด

ปฏิเสธไม่ได้ว่ายุคนี้ข้อมูลคือสิ่งสำคัญในการกำหนดทิศทางของธุรกิจไปจนถึงเศรษฐกิจของประเทศ อุตสาหกรรมรอบตัวเราเริ่มต้นวางแผนงานจากการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติกันทั้งนั้น เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ถือเป็นส่วนหลักในการขับเคลื่อนประเทศ ถ้าคุณคือคนออกแบบนโยบายสาธารณะหรือเจ้าของธุรกิจสักแบรนด์ที่กำลังมองหาฐานข้อมูลนักท่องเที่ยว เพื่อนำไปพัฒนาแผนงานหรือสินค้าบริการของตัวเอง ‘Mobility Data Dashboard’ คือเครื่องมือที่ช่วยคุณทำแบบนั้นได้อย่างง่ายดาย โปรเจกต์นี้เกิดจากการที่ ดีแทค คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ และบุญมีแล็บ จับมือกันสร้างแพลตฟอร์มเจาะลึกการท่องเที่ยวภายในประเทศผ่านข้อมูลมือถือ ต่อยอดจากการวิจัย ‘Mobility Data เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรอง’ ให้นักออกแบบนโยบายสาธารณะ ผู้ประกอบการ ผู้สนใจด้านข้อมูล รวมถึงประชาชนทั่วไปเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกด้านการท่องเที่ยวของทั้ง 77 จังหวัดได้อย่างง่ายๆ ละเอียดถึงระดับอำเภอ แถมยังมีบทวิเคราะห์เมืองรอง ที่บอกว่าเมืองรองจังหวัดไหนมีศักยภาพด้านไหน นักท่องเที่ยวกลุ่มไหนชอบไปจังหวัดนั้น และคนในท้องที่ควรพัฒนาสินค้าและบริการของตัวเองแบบไหนเพื่อให้ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวได้มากที่สุด ตัวเว็บไซต์ยังถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย สามารถคลิกดูได้เป็นรายจังหวัดเลยว่ามีอัตราการกระจุกตัวในแต่ละช่วงเวลามากน้อยแค่ไหนในแต่ละพื้นที่ ใครสนใจลองเข้าไปเล่นได้เลยที่ dtac.co.th/mobility-data/dashboard/ หรือถ้าใครอยากรู้ว่าแพลตฟอร์มนี้เจ๋งยังไง เราจะพาไปสำรวจอย่างละเอียดในอัลบั้มนี้กัน ดีแทค คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ และบุญมีแล็บ ได้นำข้อมูลการกระจุกตัวและต้นทาง-ปลายทางของนักท่องเที่ยวจาก Mobility Data Dashboard มาวิเคราะห์ว่ามวยรองอย่างเมืองรองมีศักยภาพในการเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ดีขึ้นได้อย่างไร โดยนำข้อมูลเหล่านี้มาจัดทำเป็น ‘ดัชนี’ วัดศักยภาพตามรูปแบบของการเดินทางท่องเที่ยว ประกอบด้วยการท่องเที่ยวไปเช้า-เย็นกลับ การท่องเที่ยวแบบค้างคืน และการท่องเที่ยวแบบกลุ่มจังหวัดหรือคลัสเตอร์ ดัชนีนี้สามารถนำมาวิเคราะห์ศักยภาพของเมืองรองแต่ละจังหวัดว่าควรส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวในรูปแบบไหน จากข้อมูล Mobility Data […]

FYI

‘เซ็นทรัล ทำ’ พัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม ผ่านโครงการพุทธนิเวศเกษตรอินทรีย์ไร่เชิญตะวัน

เพราะเกษตรกรรมคือวิถีชีวิตแห่งสังคมไทยมาช้านาน โดยวิธีการลงมือทำการเกษตรก็มีการพัฒนาไปหลายรูปแบบตามกาลเวลา จนมาถึงยุคปัจจุบันที่ทั่วโลกตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ส่งผลให้รูปแบบการทำการเกษตรเกิดการปรับเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบที่มีประโยชน์ต่อทั้งตัวเอง ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ในฐานะขององค์กรที่สนับสนุนชาวบ้านในชุมชนมาโดยตลอด ทางกลุ่มเซ็นทรัลได้เล็งเห็นปัญหานี้และเข้าไปช่วยเหลือ เพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอดการพัฒนาชุมชนผ่านโครงการ ‘เซ็นทรัล ทำ’ ที่มีจุดมุ่งหมายในการทำเพื่อสังคม ภายใต้หลักการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน โดยโครงการใหม่ของเซ็นทรัล ทำ นั้นเกิดจากการร่วมมือกับ ‘พระเมธีวชิโรดม (ท่าน ว.วชิรเมธี)’ ผู้ก่อตั้งศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน จังหวัดเชียงราย และภาคีเครือข่าย ในการต่อยอดโครงการ ‘พุทธนิเวศเกษตรอินทรีย์ไร่เชิญตะวัน’ ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบการทำเกษตรอินทรีย์ สร้างอาชีพภายใต้ภูมิปัญญาใหม่สำหรับเกษตรกร รวมถึงคนทั่วไปที่สนใจทำการเกษตร ต่อยอดพื้นที่ให้สร้างประโยชน์ทั้งด้านจิตใจและภูมิปัญญาความรู้ กระบวนการต่อยอดโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบการทำเกษตรอินทรีย์ เริ่มต้นดำเนินโครงการด้วยการปรับผืนดินที่แห้งแล้งให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ จนทำเกษตรผสมผสาน ปลูกข้าวและพืชพื้นถิ่นได้ ทั้งยังขุดบ่อน้ำ จัดทำร่องน้ำ ตามหลักโคกหนองนา เพื่อกักเก็บน้ำและผันน้ำใช้ในการเกษตร นอกจากนี้ยังมีการใช้นวัตกรรมมาช่วยในการทำเกษตร เช่น การใช้แผงโซลาร์เซลล์ที่มีอยู่เดิม มาจัดทำระบบ Smart Farm เพื่อใช้ในการสูบน้ำ การทำฟาร์มระบบเลี้ยงไก่ไข่ที่ปล่อยให้ไก่ออกนอกโรงเรือนได้อย่างอิสระ เพื่อให้แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ ทำให้ไก่มีความสุขและอารมณ์ดี ได้ไข่ที่ดี  “โครงการพุทธนิเวศเกษตรอินทรีย์ไร่เชิญตะวัน เป็นหนึ่งในโครงการศึกษาพัฒนาไร่เชิญตะวันให้เป็น ‘พุทธนิเวศสากล’ (International Eco Monastery) ที่คนและธรรมชาติอยู่ร่วมกันได้โดยต้องตระหนักถึงปัญหาของสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้แบ่งออกเป็น […]

FYI

60 ปีโตโยต้าประเทศไทย จากแบรนด์ยานยนต์แห่งความสุข สู่อนาคตแห่งการขับเคลื่อนที่เป็นมิตรต่อโลก

ถ้าถามถึงแบรนด์ยานยนต์ในใจคนไทย เรามั่นใจว่าคำตอบของหลายคนคือ ‘โตโยต้า’ กว่า 60 ปีแล้วที่บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้ผลิตและจัดจำหน่ายรถยนต์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้คนไทย และในเดือนธันวาคม 2565 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด จึงถือโอกาสเฉลิมฉลองปีที่ 60 และแสดงความขอบคุณต่อลูกค้า รวมถึงผู้มีส่วนร่วมในความสำเร็จทุกคนในงาน ‘โตโยต้า ฉลองการดำเนินงานในประเทศไทยครบ 60 ปี’ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  นอกจากจะมีเซสชันบนเวทีที่ทุกคนได้พบกับ มร.อากิโอะ โตโยดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น, มร.โนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รวมถึงคุณสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่มากล่าวแสดงความยินดี บอกเล่าเรื่องราวที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโตโยต้า และเน้นย้ำวิสัยทัศน์กับพันธกิจในอนาคต  งานนี้ยังมีการจัดแสดงรถยนต์รุ่นแรกสุด ไปจนถึงรุ่นใหม่ที่โตโยต้ายังไม่เปิดตัวอีกด้วย คอลัมน์ FYI จึงอยากนำเกร็ดความรู้สนุกๆ […]

FYI

‘อายิโนะโมะโต๊ะ’ สร้างความอร่อยและคุณค่าในสังคมคู่คนไทย เพื่อความสุขในอนาคตของทุกคน

หากถามถึงเคล็ดลับความอร่อยคู่คนไทยที่มีมานานกว่า 62 ปี คงหนีไม่พ้นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์จากกรดอะมิโนระดับโลกอย่าง ‘กลุ่มบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ’ แต่นอกจากการผลิตและส่งมอบผลิตภัณฑ์ความอร่อยที่หลากหลายและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในประเทศไทยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2503 อีกสิ่งสำคัญที่อายิโนะโมะโต๊ะต้องการคือ การช่วยแก้ไขปัญหาสังคมและสร้างคุณค่าผ่านธุรกิจ ภายใต้แนวคิด ‘อายิโนะโมะโต๊ะสร้างคุณค่าร่วมกับสังคม (ASV)’ เพื่อก้าวสู่การเป็นกลุ่มบริษัทผู้ส่งมอบแนวทางการแก้ปัญหาและนวัตกรรมที่เกี่ยวกับอาหารและสุขภาพระดับโลก อายิโนะโมะโต๊ะสร้างคุณค่าร่วมกับสังคม (ASV) กลุ่มบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาสังคม ผ่าน ‘การสร้างสังคมสุขภาพดี’ ‘ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า’ และ ‘การสร้างความยั่งยืนของโลก’ ที่เป็น 3 แนวทางหลักสำหรับการดำเนินกิจกรรม ASV เพื่อมุ่งสู่การประสบความสำเร็จกับ 2 เป้าหมาย ดังนี้  1. ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมทางธุรกิจของอายิโนะโมะโต๊ะให้ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2030 หรือ พ.ศ. 2573 2. มุ่งขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) รวมถึงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ให้สำเร็จภายในปี 2050 หรือ พ.ศ. 2593  ทางบริษัทได้ร่วมป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ผ่านการบูรณาการแนวคิด เทคโนโลยี และกระบวนการผลิตในทุกขั้นตอน […]

HAUP แอปฯ รถเช่าที่ลูกค้าเลือกจ่ายได้ตามเวลาที่ใช้ แถมยังได้ช่วยเมืองแก้ปัญหารถติด

เรื่องทั้งหมดเริ่มต้นในสุดสัปดาห์นั้น มันเป็นสุดสัปดาห์ที่คนกรุงเทพฯ ได้หยุดยาวติดกันหลายวัน หลายคนจึงแพลนไปเที่ยวต่างจังหวัดเพื่อใช้วันหยุดให้คุ้มค่าที่สุด ฉันกับเพื่อนก็ไม่ต่าง แต่เรามีเวลาว่างตรงกันแค่ 1 วัน เลยวางแผนจะขับรถออกไปเที่ยวจังหวัดใกล้ๆ แบบวันเดย์ทริป ติดตรงที่โทรไปขอเช่ารถที่ไหนเขาก็ไม่ให้ “ถ้าจะเช่าต้องเช่าสองวันขึ้นไป” ทุกที่พูดเหมือนกันหมด ฉันเกือบถอดใจ จนกระทั่งเพื่อนทักมาบอกว่า “ไปเจอนี่มา ลองไหม” ‘นี่’ ที่เพื่อนหมายถึงคือบริการรถเช่าที่คิดค่าเช่ารถตามระยะทางและเวลาที่ใช้ ในระบบมีรถยนต์หลายแบบให้เลือกขับ แถมยังมีจุดให้บริการกระจายอยู่ทั่วทุกมุมเมือง พอฉันคำนวณราคาดูแล้วก็ไม่ได้แตกต่างจากราคาเช่ารถต่อวันเท่าไหร่ เราจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่ลอง นั่นคือครั้งแรกที่ฉันได้ลองใช้บริการของ HAUP ประสบการณ์การเช่ารถ 1 วันนั้นเต็มไปด้วยเรื่องเซอร์ไพรส์ ตั้งแต่การควบคุมระบบทุกอย่างของรถได้จากแอปฯ การที่ HAUP มีบัตรเติมน้ำมันฟรีให้ หรือแม้กระทั่งความสะดวกสบายจากการเช่ารถได้โดยไม่ต้องเจอเจ้าของรถตัวจริงเลย สิ่งที่เซอร์ไพรส์ฉันมากที่สุดเกิดขึ้นหลังจากที่ลองเสิร์ชข้อมูลของ HAUP เล่นๆ และพบว่า HAUP ไม่ใช่บริการที่ก่อตั้งใหม่ แต่เปิดมาแล้วถึง 6 ปี มากกว่านั้นคือพวกเขาไม่ใช่บริการรถเช่าอย่างที่ฉันคิด แต่นิยามตัวเองว่าเป็นบริการ ‘Carsharing’ หรือการชวนคนที่มีรถอยู่แล้วมาปล่อยให้เช่า โดยมีเป้าหมายคือการทำให้อัตราการซื้อรถของคนเมืองน้อยลง  เมื่อคนซื้อรถน้อยลง การจราจรและสภาพอากาศในเมืองจะดีขึ้น ‘กฤษฏิ์ วิชัยวัฒนาพาณิชย์’ CEO ของ HAUP สรุปให้ฉันฟังอย่างนั้น […]

จัดอีเวนต์ให้อีโค่ กับโครงการ Care the Bear ลดโลกร้อน โดย ‘ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)’ ในงาน APEC 2022

ภายในศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่วันที่ 14-19 พฤศจิกายน 2565 นอกจากจะมีการประชุมเอเปค 2022 ในงานยังมี ‘ศูนย์ข่าวสีเขียว (Green Media Center)’ และพื้นที่สำหรับบูทนิทรรศการขององค์กรต่างๆ บริเวณชั้น LG รวมทั้งสิ้น 22,000 ตารางเมตร งานนี้ ‘ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)’ ได้นำโครงการ ‘Care the Bear ลดโลกร้อน’ ซึ่งเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มความร่วมมือลดภาวะโลกร้อน (Climate Care Collaboration Platform) มาสนับสนุนการจัดการประชุมเอเปค 2022 ภายใต้ความร่วมมือของกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กลุ่มบริษัทบางจาก เอสซีจี และโออาร์ โดยมุ่งหวังให้นานาประเทศเห็นถึงการขับเคลื่อนความยั่งยืนดูแลสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ที่ปฏิบัติและวัดผลได้จริง นำไปสู่การสร้างมาตรฐานใหม่ในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรต่างๆ และขับเคลื่อนสู่สังคมคาร์บอนต่ำในอนาคต Urban Creature เลยขอพาทุกคนไปรู้จักโครงการ Care the Bear ลดโลกร้อน และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ผ่านศูนย์ข่าวสีเขียว ในงานประชุมเอเปค 2022 พร้อมๆ […]

FYI

‘มุ่งหน้าสู่เมืองอัจฉริยะ’ ชวนไปสำรวจนวัตกรรมพัฒนาเมืองในงาน Thailand Smart City Expo 2022

ใครๆ ต่างรู้ว่า เมื่อเมืองดีย่อมส่งผลให้ชีวิตประชาชนดีตามไปด้วย จึงเป็นเรื่องจำเป็นมากทีเดียวกับการพัฒนาเมืองให้ก้าวไปข้างหน้า โดยเฉพาะในยุคที่ความทันสมัยกลายเป็นตัวแปรหลักพร้อมๆ กับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงแนวโน้มการขยายตัวของประชากรในเขตเมืองที่นับวันก็เห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ จากปัจจัยเหล่านี้ ทำให้เกิดแนวคิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เพื่อยกระดับเมืองให้มีความน่าอยู่อาศัย มีคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ดี ตอบสนองความต้องการในการสร้างคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้นในทุกมิติ เมืองอัจฉริยะคือ เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและประชากรเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบที่ดี รวมถึงการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืน แต่การที่จะพัฒนาแต่ละพื้นที่ ผู้พัฒนาเมืองหรือผู้นำชุมชนจำเป็นต้องนำองค์ความรู้ของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ที่เชื่อมโยงความต้องการและอัตลักษณ์ชุมชน โดยใช้เทคโนโลยีกับนวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามาจัดการอย่างเป็นระบบ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า จึงร่วมมือกับ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด (เอ็น.ซี.ซี.) จัดงาน ‘Thailand Smart City Expo 2022’ งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีระดับนานาชาติด้านเมืองอัจฉริยะ เพื่อให้ผู้พัฒนาเมือง ผู้นำชุมชน องค์กร หรือบุคคลทั่วไปสามารถหาความรู้ แนวคิดในการพัฒนาพื้นที่ของตนเอง รวมถึงนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์และตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างแท้จริง เมืองที่ดีคือเมืองที่สมาร์ท คุณศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล […]

FYI

เที่ยวศูนย์การเรียนรู้ชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี สืบสานตำนานผ้าทอ 200 ปี

นอกจากหมูย่างชื่อดังและวิวทะเลสวยสะกดสายตา ‘ตรัง’ เป็นจังหวัดที่มีเสน่ห์เหลือล้นและของดีหลายอย่างที่รอให้เราไปเจอ หนึ่งในนั้นคือ ‘ผ้าทอนาหมื่นศรี’ ภูมิปัญญาอายุกว่า 200 ปีจากชาวบ้านตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง ที่ถูกสืบสานและส่งต่อมาถึงปัจจุบัน สิ่งที่หลายคนไม่รู้คือหลายปีที่ผ่านมา ผ้าทอนาหมื่นศรีคือของดีเมืองตรังที่สร้างรายได้กระจายสู่คนในชุมชนมากกว่า 56 ล้านบาทใน 155 ครัวเรือน โดยมีแรงผลักดันสำคัญคือกลุ่มเซ็นทรัลและโครงการ ‘เซ็นทรัล ทำ’ ที่ทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งนอกจากจะช่วยออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอนาหมื่นศรีให้มีดีไซน์ที่เข้าถึงคนได้มากขึ้น นอกจากนี้ เซ็นทรัล ทำ ยังริเริ่ม ‘โครงการท่องเที่ยวชุมชน ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี’ เพื่อเชิญชวนให้เยาวชนและนักท่องเที่ยวไปรู้จักกับประวัติศาสตร์ เรียนรู้คุณค่าของวัฒนธรรมที่คนในชุมชนส่งต่อกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5  เป็นเวลากว่า 8 ปีแล้วที่โครงการ ‘เซ็นทรัล ทำ’ ผลักดันชุมชนนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง และชาวบ้านด้วยการลงพื้นที่ไปสร้างอาชีพ และส่งเสริมเศรษฐกิจในท้องที่ให้ยั่งยืน โดยหนึ่งในโครงการที่เซ็นทรัล ทำ ได้ลงมือผลักดันอย่างจริงจังคือ ‘โครงการศูนย์การเรียนรู้ชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี’ โปรเจกต์ที่เห็นความสำคัญในการสืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่มีมากว่า 200 ปีของชาวบ้านนาหมื่นศรี นอกจากเปิดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อส่งต่อวิถีเกษตรหัตถกรรมผ้าทอมือโบราณไปสู่คนรุ่นหลัง เซ็นทรัล ทำ ยังริเริ่ม ‘โครงการท่องเที่ยวชุมชน ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี’ ที่จะเปลี่ยนศูนย์การเรียนรู้แบบเดิมๆ ในภาพจำของทุกคนให้เข้าถึงได้ง่าย […]

FYI

SMART ไปกับ Lotus’s บริษัทที่ใส่ใจเพื่อนพนักงานให้รู้สึกดีดีทุกวัน

เคยสังเกตกันไหมว่าหลังจากที่ ‘Tesco Lotus’ ได้มีการรีแบรนด์ครั้งใหญ่ จนกลายมาเป็น ‘Lotus’s’ ในปัจจุบัน ซึ่งเครื่องหมาย ’s ที่ใช้ห้อยท้ายนั้น ไม่ใช่เครื่องหมาย Apostrophe (’) อย่างที่เราเคยชิน แต่เป็นสัญลักษณ์ Drop Pin (📍) ที่สื่อถึงการเป็น destination นั่นเอง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ Lotus’s รูปแบบใหม่ต้องการเป็นจุดหมายปลายทางของลูกค้าทุกไลฟ์สไตล์ ที่ไม่ใช่แค่การช้อปปิ้งแบบเดิมๆ แต่เป็นศูนย์รวมการใช้ชีวิตในแบบสมาร์ทของทุกคนในชุมชน ตามคอนเซ็ปต์ Everyday SMART Community Center  โดยตัว S ที่ห้อยท้ายนั้นย่อมาจากคำว่า ‘SMART’ ที่โลตัสต้องการส่งมอบประสบการณ์แบบสมาร์ทผ่าน Omni-Channel เชื่อมต่อการช้อปปิ้งออนไลน์และออฟไลน์แบบไร้รอยต่อ และคำว่า SMART นี้เอง ที่ทาง Lotus’s พยายามสร้างความเข้าใจร่วมกันตั้งแต่พนักงานบริการภายในห้างฯ ไปจนถึงสำนักงานใหญ่ เป็นวัฒนธรรมองค์กรและหัวใจหลักของการทำงานทุกวัน  แต่ละตัวอักษรมีความหมายอธิบายออกเป็น 5 คำ ดังนี้ S imple : ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย M […]

1 2 3 4 5 11

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.