A Convenient Sunset | A Convenient Holdup

เรื่องราวและความโกลาหลและการสูญสิ้นระเบียบเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แม้กระทั่งในสภาพแวดล้อมที่ถูกจัดวางและควบคุมอย่างดีเช่นในร้านสะดวกซื้อ

Flowing Through The Wreckage of Despair

ภาพถ่ายบันทึกเหตุการณ์นํ้าท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปีของประเทศไทย ปี 2554
ถ่ายทอดบรรยากาศของกรุงเทพฯ และพื้นที่ข้างเคียง

This is the Voice เสียงเบาๆ จากแท็กซี่ที่แบกภาระหนัก

ป้ายสะท้อนถึงสถานการณ์ที่ยากลำบากของอาชีพขับแท็กซี่ที่กำลังจะเอาตัวไม่รอดจากการระบาดในระลอกนี้ เพราะการจัดการที่ไม่ทั่วถึงของรัฐ

Super Dad ความซูเปอร์ฮีโร่ของพ่อคนธรรมดา

ผลงานภาพถ่ายชุด Super Dad เป็นการหยิบเอาเรื่องราวจริงในอดีตที่พ่อเคยเล่าให้ฟัง แล้วเรามองว่าเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ น่าตื่นเต้น มาสร้างเป็นภาพถ่ายที่เปรียบพ่อเป็นซูเปอร์ฮีโร่ผ่านภาพและเรื่องราวที่เหมือนจะธรรมดา

SAVANT AUTISM ธีสิสที่ใช้จิวเวลรี่ลบภาพออทิสติก = เอ๋อ

สายตาของคนนอกที่มองเด็กออทิสติก = เอ๋อ นั่งน้ำลายยืด ติงต๊อง ปัญญาอ่อน ล้วนเป็นสิ่งที่ มุ้ย-พิชชาภา จรีภรณ์พงษ์ เจ้าของศิลปนิพนธ์ ‘Savant Autism’ เห็นคนอื่นมอง ‘อิคคิว’ น้องชายออทิสติกมาตั้งแต่เด็กจนโต ทำให้เธอคิ้วขมวดสงสัยว่าเพราะอะไรสังคมถึงมองเด็กออทิสติกเป็นคนแปลกแยก ในเมื่อเธอใช้ชีวิตคลุกคลีกับน้องชายมาทุกวันทุกเวลามาตลอด 18 ปี และเห็นอิคคิวมีอารมณ์ ความรู้สึก การวิเคราะห์เหมือนคนปกติ อาจบกพร่องทางการสื่อสารบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าน้องชายของเธอ ‘บกพร่องความเป็นมนุษย์’ การไม่เข้าใจตัวตนและมองข้ามความสำคัญเด็กออทิสติกของสังคมไทย กลายเป็นแพสชันของมุ้ยตั้งแต่ยังเล็กว่าอยากสื่อสารให้เข้าใจ ‘เด็กออทิสติก’ เสียใหม่ ผนวกเข้ากับความฝันที่อยากมาทางศิลปะ และถูกใจสาขาออกแบบเครื่องประดับ เลยเป็นโจทย์ท้าทายว่าเธอจะใช้จิวเวลรี่เหล่านี้ถ่ายทอดเรื่องราวที่อยากสื่อสารออกมาอย่างไรดี วันนี้ความตั้งใจของมุ้ยออกมาเป็นรูปเป็นร่างกับ ‘Savant Autism’ ธีสิสที่เธอออกแบบเครื่องประดับและอุปกรณ์เสริม ไม่ว่าจะเป็นกำไล สร้อยคอ แหวน เข็มกลัด หมวก เสื้อ และกระเป๋า เพื่อแสดงคุณค่าและความเป็นอัจฉริยะของเด็กออทิสติกผ่านปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัวและผู้อื่น Savant Autism = อัจฉริยะออทิสติก ถ้าใครเคยดูเรื่อง ‘Rain Man’ ตัวละครที่ชื่อว่า ‘เรย์มอนด์ แบทบิท’ เป็นชายออทิสติกที่มีความจำดีเกินเรื่อง […]

THE REVERIE IN SUMMER | Urban Eyes

ภาพถ่ายของครอบครัวหนึ่งกำลังพักผ่อนช่วงฤดูร้อนในยุโรป ฟิล์มสไลด์เก่าๆ ได้ข้ามเวลาและถูกพบในโกดังขายของเก่าที่จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยจิตวิญญาณของช่างภาพตัวเล็กๆ อย่างผม หากต้องทิ้งฟิล์มเหล่านี้ไว้ตามเดิมคงจะเสียใจไม่น้อย ราคาที่ต้องจ่ายถือว่าน้อยนิดมาก เมื่อเทียบกับ “ชีวิตที่ยังหลงเหลืออยู่ในภาพ” ยังมีภาพถ่ายอีกไม่น้อยที่กระจัดกระจายไปตามโกดังของเก่าทั่วโลก เชื่อว่า…ถ้าภาพถ่ายที่หลงทางได้กลับไปหาเจ้าของเดิมก็คงจะดีไม่น้อย และกระผมยินดีที่จะส่งกลับคืนถึงที่หมายอย่างปลอดภัย

ส่องสถานีรถไฟรวมมิตร Mixed-use มิกซ์พื้นที่ให้ใช้งานได้สารพัด

เพราะ ‘เมืองขยายตัว’ ทำให้ประชากรเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อความต้องการใช้พื้นที่สูงตามจึงกลายเป็นต้นตอของการมิกซ์ยูสพื้นที่ในแบบต่างๆ เช่น มีทั้งห้างสรรพสินค้า อาร์ตแกลเลอรี สำนักงาน หรือลานอเนกประสงค์รวมในที่เดียว โดยการเลือกทำเล ‘มิกซ์ยูส’ ได้อย่างเหมาะสมที่สุด ต้องดูว่าคนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ง่ายหรือไม่ ซึ่งสถานที่ที่ตอบโจทย์มากที่สุด นั่นก็คือ ‘สถานีรถไฟ’ เพราะตั้งอยู่ใจกลางเมือง แถมเป็นศูนย์กลางของโครงข่ายคมนาคมสาธารณะตั้งแต่ระดับเมืองไปจนถึงท้องถิ่น ซึ่งนอกจากมิกซ์ยูสสถานีจะช่วยกระตุ้นการขนส่งสาธารณะ ลดการก่อมลพิษ เพิ่มมูลค่าที่ดินให้กับอสังหาริมทรัพย์ ยังสร้างอาชีพในพื้นที่อีกด้วย ‘สถานีกลางบางซื่อ’ ของประเทศไทยเอง ก็พัฒนาให้เป็นมิกซ์ยูสรูปแบบ ‘Vertical Mixed-Use Building’ คือการเอาพื้นที่มาใช้ประโยชน์มากกว่าหนึ่งอย่าง โดยแบ่งสัดส่วนภายในอาคารประกอบไปด้วยร้านค้า โรงแรม สำนักงาน ฯลฯ เพื่อรองรับผู้โดยสารและผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า ใครที่ยังไม่ได้ไปเยี่ยมเยือนสถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ก็ไม่เป็นไร เราลองไปสำรวจ ‘สถานีรถไฟ’ รอบโลกกันก่อนดีกว่าว่าเขามิกซ์เข้ากับอะไรกันบ้าง | ปรับหน้าสถานีรถไฟเป็นลานสาธารณะ เราอาจไม่ค่อยคุ้นหูกับ ‘Assen Station’ เท่าไหร่นัก เพราะเป็นสถานีรถไฟเล็กๆ ในเทศบาลอัสเซน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่จำนวนผู้โดยสารต่อวันยังน้อยกว่า Rotterdam Central Station หลายพันเท่า ด้วยความไม่เป็นที่สนใจเนี่ยแหละ จึงเป็นสาเหตุให้นายกเทศมนตรีสั่งรีโนเวตเสียใหม่ […]

NIA Creative Contest พื้นที่สร้างสรรค์ สู่การวาดฝันเมืองในอนาคตของคนรุ่นใหม่

ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 20 ไอน์สไตน์ป่าวประกาศก้องบอกโลกให้รู้ว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ เพราะความรู้มีข้อจำกัด แต่จินตนาการเป็นสิ่งที่หมุนโลก วลียอดฮิตนี้ทำให้คนทั้งโลกเห็นถึงความสำคัญของสิ่งที่เรียกว่า จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่มองว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องไกลตัว และเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่ตนจะคิด จนกลายเป็นความสงสัยว่าตกลงแล้วความคิดสร้างสรรค์มีหน้าตาเป็นอย่างไรกันแน่ ด้วยความฉงนสงสัยเราจึงอยากพาทุกคนไปหาคำตอบในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ และคงไม่มีหน่วยงานไหนมีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ไปมากกว่า สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) องค์กรที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในสังคม และใช้ในการขับเคลื่อนประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม ความคิดสร้างสรรค์ในแบบฉบับของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA คำถามกำปั้นทุบดินที่เราถามกับ คุณธีรีสา มัทวพันธุ์ หรือรองจ๋า รองผู้อำนวยการด้านยุทธศาสตร์ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) คือ เราทุกคนต่างได้ยินมาบ่อยมากเกี่ยวกับคำว่า ‘ความคิดสร้างสรรค์’ จริง ๆ แล้วคำนี้มันคืออะไรกันแน่  “ความคิดสร้างสรรค์เป็นศัพท์เชิงนามธรรม ไม่ใช่สิ่งที่จับต้องได้ เป็นเรื่องของไอเดีย ความคิด แต่มีบทบาทอย่างมากในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นสังคม องค์กร ส่วนตัว หรือในระดับประเทศ เพราะความคิดสร้างสรรค์โดยหลักการมันคือการคิดซึ่งนำมาสู่สิ่งใหม่ ๆ โดยสิ่งใหม่ ๆ เหล่านี้ ล้วนสัมพันธ์ในทุกมิติของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กอย่างชีวิตส่วนตัวเราก็ต้องการสิ่งใหม่ ๆ เช่น อาหาร […]

‘Dream Construction’ กาดสวนแก้ว ความฝันยุค 90 ที่ทรงจำของคนเมือง

ร.ต.ท. สุชัย เก่งการค้า ได้เนรมิตความฝันของตัวเองให้เป็นความจริง ด้วยความคิดที่จะสร้างพื้นที่การค้าและการท่องเที่ยวโดยตั้งอยู่บนฐานของการอนุรักษ์ธรรมชาติท้องถิ่น ควบรวมเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น ‘อุทยานการค้ากาดสวนแก้ว’ อุทยานการค้าที่ประกอบไปด้วยศูนย์การค้าและโรงแรมจึงเปิดให้บริการตั้งแต่ พ.ศ. 2535 เป็นที่รู้จักในนามศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดของเมืองเชียงใหม่ มีความทันสมัยและเป็นแหล่งรวมความบันเทิงที่หลากหลายแห่งยุค กลายเป็นจุดหมายที่ทำให้ผู้คนยุค 80 – 90 แวะเวียนเข้ามาสร้างความทรงจำร่วมกัน  การได้ก้าวเข้าไปภายในส่วนของศูนย์การค้าแห่งนี้ครั้งแรกในอีกยุคสมัยหนึ่ง คือปัจจุบัน ทำให้เกิดบรรยากาศทางอารมณ์ที่หลากหลายต่อตัวฉัน  การพยายามปรับปรุงพื้นที่ของกาดสวนแก้วเพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าในปัจจุบัน ทำให้เกิดการเหลื่อมกันระหว่างร่องรอยของเค้าโครงสถานที่เดิม ร่องรอยของสิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลง และร่องรอยของสิ่งใหม่ๆ ที่อยู่ภายใต้ดินแดนแห่งนี้ ดึงดูดความสนใจให้ฉันได้ออกเดินทางสำรวจ ได้จินตนาการว่าตัวเองก้าวเข้ามาในโลกใบใหม่ ที่ในอดีตนั้นเคยเป็นหรือยังเป็นโลกใบเก่าของใครบางคน  มันคือการผจญภัยที่ไม่สามารถทราบถึงจุดสิ้นสุดได้ในตอนนี้ ฉันคือตัวละครที่กำลังตามหาสิ่งที่น่าสนใจอยู่บนโลกแห่งความจริงที่คล้ายความฝัน ใช้สายตาสังเกต จากนั้นจึงถ่ายทอดความรู้สึกนั้นออกมาด้วยภาพถ่าย ‘Dream Construction’ หรือ ‘ดินแดนแห่งฝัน’ ไม่เพียงแค่แสดงให้เห็นถึงร่องรอยการเปลี่ยนแปลงของผู้คนที่เกิดขึ้นกว่า 30 ปี ของเชียงใหม่ ขณะเดียวกันก็เป็นการสะท้อนความรู้สึกของฉันที่มีต่อพื้นที่แห่งนี้อีกด้วย

‘เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ’ ภาพวาดการ์ตูนหัวโตล้อสันดานคน ที่ไม่เชื่อแม้แต่ความจริงตรงหน้า

คน (ไทย) บางคนหยิบสมาร์ตโฟนขึ้นมาถ่ายภาพที่ชอบเป็นพิเศษ ส่องไฟฉายเฉพาะมุมที่สนใจ เสพข่าวแค่บางช่อง บูชาบุคคล และบรรจงเก็บเรื่องราวเหล่านั้นให้ขึ้นใจ เพราะ ‘เชื่อ’ ในสาระสำคัญของสิ่งของ ผู้คน ความเชื่อ รวมถึงวัฒนธรรมตรงหน้า ส่วนพื้นที่รอบข้างหลังเลนส์ที่ไม่ถูกส่อง ไม่เลือกส่อง หรือไม่อยากส่อง ก็ปล่อยไว้แบบนั้น  ถึงความจริงจะฟ้องร้องทนโท่เต็มสองตาก็ไม่สน…เพราะอะไร…เพราะบังคับตัวเองให้ไม่เชื่อยังไงล่ะ “เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ” แปลประโยคอีสานเป็นภาษาภาคกลางได้ว่า ทำในสิ่งที่เชื่อ  ขณะเดียวกันก็เป็นชื่อนิทรรศการศิลปะของ ลำพู กันเสนาะ ศิลปินหญิงที่ฝากลายเซ็น และลายเส้นบนภาพวาดการ์ตูนหัวโตด้วยสีน้ำมัน ซึ่งแฝงเนื้อหาสะท้อนสังคม จิกๆ กัดๆ มันๆ คันๆ ไว้นานถึง 11 ปี  ครั้งนี้พิเศษกว่าครั้งไหน เพราะเป็นครั้งแรกที่เธอเลือกละเลงสีอะคริลิกสีสันฉูดฉาดลงบนผ้าลินิน และทำมันในรูปแบบการ์ตูนช่องที่มีนางแบบ นายแบบเป็นชาวบ้านซึ่งขาดรายได้ช่วงโควิด-19 ในชุมชนอัมพวา โดยหยิบความทรงจำสมัยเด็กที่ชอบนั่งวาดการ์ตูนช่องริมคลอง มาผูกกับเรื่องราวสะท้อนสังคมปัจจุบันให้มีต้น กลาง จบ เหมือนหนังสือขายหัวเราะ หรือมังงะที่ชอบอ่าน  “นิทรรศการเฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ ถูกวาดจากความเชื่อของคนในสังคม เสียดสีสถานการณ์ปัจจุบันและการเมือง ที่แต่ละคนมองเห็นสิ่งเดียวกันแต่กลับมองไม่เหมือนกัน เด็กมองอีกแบบ คนแก่มองอีกแบบ แต่ละชนชั้นก็มองกันอีกแบบ และในบางความเชื่อจะมีความเข้าข้างตัวเอง ศรัทธาในตัวเอง พึงพอใจที่จะเลือกว่าอยากจะเชื่ออะไร […]

Feel Just Right, Feel Like Home ตามหาบ้านที่พอดีกับหัวใจที่อณาสิริ จากแสนสิริ

“A house is made of brick and stone; a home is made of love alone.” คือประโยคที่ใช้อธิบายบริบทที่แตกต่างของสองคำศัพท์ที่แปลว่า “บ้าน” เหมือนกันได้อย่างชัดเจน – House จะหมายถึงบ้านที่เป็นตัวอาคาร สร้างจากอิฐ ส่วน Home นอกจากจะหมายถึงบ้านเป็นหลังๆ ยังหมายถึงความรู้สึกพอดี ลงตัว สบายใจ เหมือนได้อยู่ในที่ๆ เดียวกับคนที่รัก เป็นที่มาของคำกล่าวว่า เมื่อคุณจะเลือกซื้อบ้านสักหลัง ก็ควรซื้อบ้านที่เป็น Home ไม่ใช่แค่ House คือไม่ได้ดูดีแค่ภายนอก ไม่ได้สวยแค่ตาเห็น แต่ต้องให้ความรู้สึกที่ ‘ใช่’ จริงๆ โดยใช้หัวใจตัดสิน และก็ควรอย่างยิ่งที่จะพอดิบพอดีกับไลฟ์สไตล์ในแบบของคุณ ซึ่งแสนสิริ ผู้นำในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ก็มีความเข้าใจในไลฟ์สไตล์ของคนเมืองปัจจุบัน ที่ต้องการบาลานซ์ชีวิตส่วนตัวกับชีวิตทำงานให้ลงตัว จึงออกแบบที่อยู่อาศัยให้ตรงกับความต้องการนี้ เกิดเป็นโครงการ “อณาสิริ” บ้านและทาวน์โฮมที่พอดีกับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านในทุกด้าน ตอบโจทย์ทุกความต้องการ เป็นบ้านที่ “ใช่” จริงๆ […]

1 19 20 21 22 23 32

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.