DESIGN
บอกต่อเรื่องแวดวงศิลปะและศาสตร์การออกแบบ ตั้งแต่ตัวตนศิลปิน แนวคิด เทคนิค ไปจนถึงพื้นที่แสดงออก เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญและเปลี่ยนความคิดให้ศิลปะเป็นเรื่องของทุกคน
Linghokkalom นักวาดภาพสาว ผู้หยิบ 10 หญิงไทยที่ขับเคลื่อนสังคมมาสื่อสารให้คนรู้จักกันดีมากขึ้น
วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีคือ ‘วันสตรีสากล’ เป็นวันสำคัญที่ซัปพอร์ตขบวนการต่อสู้เพื่อสิทธิและความเท่าเทียมของผู้หญิงทั่วโลก บ้างใช้เพื่อเป็นโอกาสในการเฉลิมฉลอง หรือบ้างก็ใช้เพื่อเป็นวาระของการขับเคลื่อนให้ผู้หญิงมีชีวิตที่ดียิ่งขึ้น โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ หรือถูกกีดกันด้วยอคติเพราะเหตุแห่งเพศนานาประการอีกต่อไป ไม่ต่างจาก เนอส–วิศัลย์ศยา ลอยไสว นักวาดภาพประกอบอิสระเจ้าของนามปากกา Linghokkalom ที่มองเห็นคุณค่าความสำคัญของผู้หญิงทุกๆ คน เธอตัดสินใจนำภาพวาดผลงานที่ตัวเองเคยสร้างสรรค์เอาไว้ในโปรเจกต์ The Hundred Women เมื่อปี 2021 มาเผยแพร่บนเพจ Visansaya L. เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2022 ที่ผ่านมา The Hundred Women Project เป็นโปรเจกต์ที่นำเสนอภาพวาดผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลจากทั่วทุกมุมโลกผ่านสายตาและฝีมือของนักวาดภาพประกอบหญิงที่เป็นตัวแทนจากแต่ละประเทศ ตั้งแต่อินเดีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา โรมาเนีย ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี เวียดนาม และ แน่นอนประเทศไทยเรา มีเนอส หรือ Linghokkalom เป็นตัวแทน Illustrator ที่เข้าร่วมโปรเจกต์ เนอสเล่าว่า เธอได้เลือกนำเสนอผู้หญิงไทยจำนวน 10 คน […]
Moment Diary – ณ เพียงชั่วขณะที่ได้พบเจอ จดจำ แล้วจางหาย
Moment Diary คือชุดภาพถ่ายที่มาจากภาพความทรงจำในชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันหลงเหลือไว้แค่เพียงเศษเสี้ยวความรู้สึกบางอย่าง
สถาปัตยกรรมและธรรมชาติ ความสัมพันธ์ที่สร้างความหมายให้กับผู้คนและพื้นที่
มีสิ่งก่อสร้างตึกระฟ้าสวยงามตระการตาขนาดไหน มีเทคโนโลยีล้ำสมัยมาอำนวยความสะดวกสบายเพียงใด สุดท้ายแล้วผู้คนล้วนโหยหาธรรมชาติกันทั้งนั้น ไม่เพียงเพราะช่วยสร้างออกซิเจนให้เราใช้หายใจอย่างเดียว แต่ยังมีข้อยืนยันว่าธรรมชาติช่วยเยียวยาร่างกายและจิตใจผู้คนได้อีกมากมาย และสร้างความแตกต่างให้พื้นที่เหล่านั้นได้ การสร้างสถาปัตยกรรม อาคาร และที่พักอาศัยในปัจจุบันจึงให้ความสำคัญกับการนำธรรมชาติเข้ามามีส่วนร่วมในทุกมิติ เพื่อก่อเกิดคุณค่าและความหมายให้กับผู้คนและพื้นที่ แล้วสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับธรรมชาติมีหน้าตาเป็นอย่างไรล่ะ? เราขอพาชาว Urban Creature ไปดูตัวอย่างและแนวคิดของสถาปัตยกรรมที่มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติกัน 01 เป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติ เพราะธรรมชาติเกิดมาก่อนเราจึงควรเรียนรู้ที่จะเคารพกัน การสร้างสถาปัตยกรรมโดยที่ไม่ทำลายธรรมชาติเลยแม้แต่เปอร์เซนต์เดียว ไม่จำเป็นต้องรื้อถอนพื้นที่นั้นทิ้ง และสร้างสรรค์ขึ้นมาให้ดูเป็นส่วนหนึ่ง จึงเป็นโจทย์ท้าทายสถาปนิกพอสมควร แต่ใช่ว่าไม่มีซะทีเดียว หลังจากดูซีรีย์ Netflix เรื่อง The World’s Most Extraordinary Homes! เห็นได้ว่าบ้านที่สถาปนิกคิดมาแต่ละหลัง ล้วนเคารพต่อธรรมชาติทั้งสิ้น อย่าง Cabin Lyngholmen บ้านพักกลางโขดหินริมทะเล ประเทศนอร์เวย์ ออกแบบโดย Lund & Hagem Architects ถูกออกแบบให้แฝงตัวอยู่ท่ามกลางโขดหินด้วยข้อจำกัดของพื้นที่เพียง 100 ตารางเมตร ให้โขดหินต่างๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบ้านโดยไม่ทำลายออกไป หรือ Vega Cottage บ้านไม้หลังเล็กๆ ริมทะเลในประเทศนอร์เวย์ ออกแบบโดย Kolman […]
Fire in the Rain – แสงไฟในสายฝน
เขาว่ากันว่า ถ้าอยากดูหิ่งห้อยต้องมาดูที่อัมพวา จะได้เห็นหิ่งห้อยนับหมื่นพันใต้ต้นลำพู ไอ้เราก็ไม่เคยเห็น จนกระทั่งวันนี้ได้มีโอกาสมาสัมผัส
My Fluffy and Worthy Love : ความรักที่อยากแก่ชราไปด้วยกัน
เราชอบถ่ายรูปผ่านสมาร์ตโฟน เพราะมันบันทึกความทรงจำได้ไวและง่ายที่สุด บวกกับโตมาในยุคของ Instagram รูปถ่ายส่วนใหญ่ของเราจึงเป็นภาพสี่เหลี่ยมจัตุรัสไปโดยปริยาย เรามีความสุขกับการเก็บภาพผ่านกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัสนี้มาก มุมเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน อาหารที่กินแล้วอยากกินอีก แสงแดดที่เห็นแล้วชอบ ท้องฟ้าที่เห็นแล้วประทับใจ กระทั่งความทรงจำธรรมดาที่ผ่านตาแบบไม่ทันคิดอะไรแต่อยากบันทึกไว้ พูดง่ายๆ ว่าชีวิตในแต่ละช่วงของเราล้วนได้ถูกบอกเล่าในภาพถ่ายทั้งหมด และในช่วงชีวิตที่ผ่านมา ภาพที่เราถ่ายไว้มากที่สุดคือ ‘คุณ’ เรากับคนรักที่เป็นผู้หญิงเหมือนกันคบกันมา 7 ปีแล้ว ความรักของเราคือความรักธรรมดาทั่วไป อยากเห็นเขาได้รับสิ่งดีๆ เจออะไรน่ารักก็คิดถึงเขา การมีความรักเป็นเรื่องที่งดงามและล้ำค่ามากๆ สำหรับเรา เพราะมันเป็นการได้รับพลังที่ส่งต่อจากคนคนหนึ่ง การถูกรัก การได้ส่งความรัก ทำให้เรามีพลังในการใช้ชีวิตและรักตัวเองมากขึ้น เราแชร์กับเขาได้ทุกความรู้สึก ความทุกข์ไม่ต้องถูกซุกซ่อนไว้ วันไหนที่ใจไม่ค่อยดี แค่คิดว่ากลับบ้านไปแล้วได้เจอเขา เรื่องหม่นใจก็ถูกปัดเป่าไปหมด คนรักเราชอบอ่านหนังสือ ชอบจดบันทึก ไม่ชอบฟังเพลงเท่าไหร่ ชอบถ่ายพุ่มหญ้าต้นไม้ และชอบเขียนการ์ดขอบคุณ หน้าตาตอนมีความสุขกับของกินอร่อยๆ ตายิ้มๆ มือก้อนๆ ที่ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ เราอยากบันทึกไว้ทั้งหมด เพราะภาพถ่ายชีวิตประจำวันไม่ได้บรรจุแค่ความทรงจำเท่านั้น มันมีทั้งความรักความรู้สึกที่เรามีต่อเขาและสิ่งต่างๆ ที่รวมอยู่ด้วยในตอนนั้น เวลาย้อนกลับมานั่งดูมันชื่นใจ ความฝันของเรากับคนรักคือ อยากมีชีวิตที่ดี เติบโต และแก่ชราไปด้วยกัน แต่เราทั้งคู่กลับต้องสงสัยอยู่เสมอว่าจะมีชีวิตไปด้วยกันจนแก่ในฐานะคนรักได้ไหม หรือต้องถูกเข้าใจว่าเป็นเพื่อนสนิทกันไปแบบนี้ […]
3D Concrete Printing Pavilion – Design Possibility With A Façade นวัตกรรมงานก่อสร้างเพื่อความยั่งยืน
นอกจากงานดีไซน์สนุกๆ ที่ผลัดเปลี่ยนกันมาจัดแสดงในงาน Bangkok Design Week ทุกปีแล้ว งานนี้ยังเป็นพื้นที่ให้เราได้อัปเดตนวัตกรรมล้ำๆ และเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศทุกปีอีกด้วย ถ้าใครไปงาน Bangkok Design Week 2022 ในช่วงนี้ จะพบกับพาวิลเลียนคอนกรีต 3D ขนาดใหญ่ตั้งเด่นอยู่หน้าทางเข้าอาคารที่ว่าการไปรษณีย์กลาง ดูเผินๆ พาวิลเลียนนี้เหมือนโครงสร้างอาคาร แต่จริงๆ แล้วคือ ฟาซาด (Façade) คอนกรีตที่ CPAC Green Solution (ซีแพค กรีน โซลูชัน) ผลิตด้วยเทคนิค 3D Printing ถ้าเดินเข้ามาดูใกล้ๆ และลองสัมผัสจะพบว่าฟาซาดชิ้นนี้พื้นผิวแทบไม่ต่างจากคอนกรีตแบบเดิม แถมยังสร้างลวดลายและออกแบบให้โค้งเว้าได้ไม่จำกัดรูปทรง ที่สำคัญคือทั้งหมดนี้ใช้เวลาพิมพ์แค่ 32 ชั่วโมง และใช้เวลาติดตั้งภายใน 8 ชั่วโมงเท่านั้น ผลงานชิ้นนี้คือ 3D Concrete Printing Pavilion – Design Possibility With A Façade เทคโนโลยีการก่อสร้างจาก CPAC […]
บันทึกหาด (แม่) รำพึง เมื่อน้ำมันรั่วกลางทะเล
เย็นวันที่ 29 มกราคม 2565 “เคราะห์ซ้ำกรรมซัด เพิ่งจะฟื้นตัวจากโควิด นี่มาน้ำมันรั่วอีก ทำไมอะไรๆ มันก็เข้ามาที่ระยอง” ป้าเจ้าของร้านอาหารทะเลเอ่ยเบาๆ ขณะยืนมองกลุ่มคนใส่ชุด PPE สีขาวกำลังทำความสะอาดคราบน้ำมันบริเวณชายหาดแม่รำพึง ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 ออกจากชายฝั่งท่าเรือมาบตาพุด จ.ระยอง ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร เวลาประมาณสามทุ่มเศษๆ เกิดเหตุการณ์ ‘น้ำมันดิบรั่วไหลบริเวณทุ่นผูกเรือน้ำลึกแบบเดี่ยวกลางทะเล’ หรือเรียกง่ายๆ ว่า จุดขนถ่ายน้ำมันกลางทะเล ของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด มหาชน (SPRC) และจากการคาดการณ์ทิศทางเคลื่อนตัวของคราบน้ำมันของกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ด้วยวิธีการ Oilmap ว่าคราบน้ำมันจะเข้ามาถึงฝั่งในวันที่ 28 มกราคม ที่บริเวณชายหาดแม่รำพึง เมื่อข่าวการรั่วของน้ำมันเป็นที่รับรู้ของชาวบ้าน และชาวประมงพื้นบ้านในบริเวณใกล้เคียงในวันรุ่งขึ้น แม่ค้าขายส่งหมึกในพื้นที่เล่าว่า “ลูกค้าประจำโทรมาถามแล้วว่าหมึกเอามาจากไหน ถ้าเป็นหมึกจากระยองต้องขอยกเลิกก่อน มันจะเหมือนน้ำมันรั่วคราวก่อนปี 56 ไหม ที่ชาวประมงออกไปหาปู หาปลา ไม่ได้ ถึงหามาได้ก็ไม่มีคนกล้าซื้อหรือกล้ากิน […]
ส่องทางม้าลายในกรุงเทพฯ l Urban Eyes
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าคนไทยประสบอุบัติเหตุจากการเดินบนท้องถนนถึง 2,500-2,900 รายต่อปี กว่า 1 ใน 3 เป็นพื้นที่ กทม. เฉลี่ย 900 รายต่อปี ตัวเลขดังกล่าวมาจากการบันทึกไว้เป็นสถิติยังมีอีกหลายปัญหาที่อยู่นอกเหนือจากสถิติ ทั้งภาพที่เราเห็นกันบ่อยครั้ง เช่นเวลาจะข้ามทางม้าลายแต่กลับต้องหลบให้รถที่มาเร็วไปก่อน หรือทางม้าลายตรงทางแยกที่เต็มไปด้วยรถจอดทับ หรือแม้แต่ข่าวน่าเศร้าที่เราต่างรู้กันดี Urban Eyes ในตอนนี้เราจึงอยากจะถ่ายทอดภาพที่เราเห็นเหล่านั้นออกมา เพื่อสะท้อนปัญหาที่เราทุกคน ผู้ใช้เท้าย่างเดินบนท้องถนนกำลังเผชิญ #UrbanCreature #UrbanEye #ทางม้าลาย #กรุงเทพ
‘พังก์ปาตานี’ 15 ปีแห่งวัฒนธรรมพังก์ร็อกกระแทกใจวัยรุ่น 3 จังหวัดชายแดนใต้
ดนตรีอาจเป็นสิ่งต้องห้ามในศาสนาอิสลาม ทว่าช่วงหนึ่งดนตรีและวัฒนธรรมพังก์กลับเคยรุ่งเรืองอย่างมากในดินแดนที่เรียกว่า ‘ปาตานี’ ‘ปาตานี’ ในภาษามลายู เป็นชื่อเรียกพื้นที่ครอบคลุมตั้งแต่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และบางส่วนในจังหวัดสงขลา ทั้งสี่จังหวัดอยู่ติดกันบริเวณชายแดนสุดปลายด้ามขวานของประเทศไทย ส่วน ‘พังก์’ คือ Pop Culture ที่ได้รับความนิยมมากในหมู่คนหนุ่มสาวทั่วโลก โดยเฉพาะความเฟื่องฟูช่วงปลายทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา บทเพลงเหล่านี้สอดแทรกนัยความขบถ การต่อต้านเชิงอำนาจที่แสดงผ่านพฤติกรรม การแต่งตัว การแต่งหน้า การทำผม การสักลาย และแน่นอน พังก์คือหนึ่งในแนวดนตรีร็อก มีจังหวะดิบๆ และเดือดดาล ส่งเสียงการขับร้องและการเล่นดนตรีอย่างเมามันเป็นเอกลักษณ์ ใช่ เรากำลังพูดถึง ‘พังก์ปาตานี’ วัฒนธรรมที่เคยผลิบานสุดๆ ในสามจังหวัดชายแดนใต้ ระหว่างราวปี 1995 จนกระทั่งถึงช่วงราวปี 2010 รวมระยะเวลากว่า 15 ปี ที่วัฒนธรรมได้โลดแล่นสร้างสีสันให้วัยรุ่นในพื้นที่ได้ปลดปล่อยความขบถของพวกเขาออกมาอย่างเต็มที่ ถ้าสมัยก่อนมีสื่อโซเชียลออนไลน์อย่างในปัจจุบัน เราคงได้เห็นภาพความสนุกสนานวาดลวดลายอย่างทั่วถึง แต่ด้วยยุคสมัย ภาพของชาวพังก์ปาตานีจึงหลงเหลือเพียงเศษเสี้ยวกระจัดกระจาย บ้างบนภาพถ่ายฟิล์ม บ้างในคลิปวิดีโอจากกล้อง Handycam และส่วนสำคัญคือความทรงจำในเนื้อตัวของชาวพังก์ร่วมสมัยที่เติบใหญ่จนมีอายุกลาง 30 ถึงปลาย 40 กว่าๆ […]
My first sunset in Melbourne พระอาทิตย์ตกครั้งแรกกับชีวิตใหม่ในต่างประเทศ
เดินเล่นในช่วงเย็นครั้งแรกหลังจากมาถึงเมือง Melbourne ประเทศออสเตรเลีย แสงพระอาทิตย์ตกวันนั้นทำให้ผมที่กำลังสับสนตอบตัวเองได้ว่า ความจริงแล้วผมแค่อยากใช้ชีวิตให้เหมือนกับแสงตอนเย็นที่ผมชอบ
Sher Maker : สตูดิโอสถาปนิกที่หยิบภูมิปัญญาและงานช่างถิ่นเชียงใหม่มาสร้างสรรค์งาน
Sher Maker คือสตูดิโอสถาปนิกขนาดเล็กๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งโดยสองสถาปนิก ‘ตุ๋ย-พัชรดา อินแปลง’ และ ‘โอ๊ต-ธงชัย จันทร์สมัคร’ สตูดิโอแห่งนี้มีมาตั้งแต่ปี 2561 เต็มไปด้วยผลงานสร้างสรรค์ที่คว้ารางวัลด้านสถาปัตยกรรมจำนวนมาก แม้แต่สตูดิโอของพวกเขาก็เพิ่งได้รับรางวัลสูงสุดในสาขา Small working interior of the year จาก Dezeen นิตยสารสถาปัตยกรรมชื่อดังระดับโลก และได้รับการกล่าวขวัญจากสื่อต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศบ่อยครั้ง ที่สำคัญสถาปัตยกรรมของสองผู้ก่อตั้งยังเต็มไปด้วยการขับเน้นเสน่ห์ของบรรยากาศให้แสดงออกมาได้อย่างเต็มที่ รายละเอียดอันเป็นเอกลักษณ์ในงานของ Sher Maker มาจากการที่ทั้งคู่ต่างเคยเป็นคนทำงานคราฟต์มาก่อน ตุ๋ยเคยทำสมุดทำมือกับเพื่อนในนามแบรนด์ ดิบดี (Dibdee.Binder) ซึ่งได้รับความนิยมมาก ส่วนโอ๊ตเคยมีชื่อเสียงอย่างมากจาก Brown Bike จักรยานที่ทำด้วยวัสดุไม้ไผ่ จนมีผู้สนใจจากทั่วโลกเดินทางมาร่ำเรียนกับเขาถึงเชียงใหม่ เมื่อสองสถาปนิกสายคราฟต์จับมือกันทำงาน ทำให้งานสถาปัตยกรรมของพวกเขามีการนำเสนองานฝีมือต่างๆ มาใช้กับทั้งภายในและภายนอกอาคารอย่างน่าสนใจ และยังสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับงานฝีมือในภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย Sher Maker เชื่อมศาสตร์เหล่านี้เข้าด้วยกันอย่างลงตัวได้อย่างไร วันนี้เราจะชวนตุ๋ยมาพูดคุยเพื่อถอดโครงสร้างทางความคิดเบื้องหลังงานออกแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ ของพวกเขาให้ทุกคนได้รู้กัน สองสถาปนิกสาย Maker นักทำงานคราฟต์ตัวยง “เราและพี่โอ๊ตต่างเป็น Maker เป็นคนชอบงานคราฟต์ […]
Home and Places เหมันต์เมื่อธันวา
ในขณะที่สังคมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การได้กลับไปสำรวจที่เดิมที่เราคุ้นเคย การได้ทบทวนถึงช่วงเวลาที่ผ่านมาจึงทำให้เกิดงานภาพถ่ายชุดนี้ขึ้นมา