Epson EcoTank L15150 l ตัวช่วยเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจและสิ่งแวดล้อม

คุณคิดว่า Printer 1 เครื่อง เซฟโลกได้ไหม? . ชีวิตพนักงานออฟฟิศอย่างเราๆ จะพรินต์งานแต่ละที ก็ต้องอาศัย Printer ที่สุดท้ายกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ยากแก่การทำลายและเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมวนไป . เหมือนจะดูเป็นเรื่องเล็กจิ๋วที่ไม่ต้องสนใจก็ได้ แต่ Epson คิดมาแล้ว ว่าพวกเราชาวออฟฟิศและ Printer เครื่องเดียวก็ช่วยโลกได้ด้วย Epson EcoTank L15150 เครื่องพรินต์ที่ตอบโจทย์ทั้งการพรินต์และความยั่งยืน . ด้วยเทคโนโลยีที่ช่วยลดการใช้พลังงาน ช่วยลดค่าใช้จ่ายของออฟฟิศด้วยการพิมพ์สูงสุดถึงขนาด A3 ทั้งยังช่วยสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน เจ้าเครื่องนี้จะเจ๋งแค่ไหนนั้น ตามมาดูกันเลย #UrbanCreature #UrbanEyes #Epson #EpsonEcoTankPrinter

รีโนเวต หอสมุดวังท่าพระ 57 ปี ให้เชื่อมบริบทท่าช้าง และเป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะกับโบราณคดี

ห้องสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากรในความทรงจำคุณเป็นแบบไหน? หากคุณเป็นชาวศิลปากร อาจจดจำภาพห้องสมุดเล็กๆ ที่นักศึกษาล้อมวงแน่นรอบโต๊ะ เต็มไปด้วยเสียงพูดคุยจอแจ ซึ่งบ่อยครั้งต้องแย่งชิงที่นั่ง และต่อคิวยืมหนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ถ้าคุณเป็นผู้แวะเวียนมาใช้บริการเป็นครั้งคราว อาจพบว่าที่นี่คือสวรรค์ของคนรักหนังสือศิลปะ งานดีไซน์ สถาปัตยกรรม โบราณคดี และประวัติศาสตร์ ซึ่งเต็มไปด้วยมนตร์ขลังของบรรยากาศเก่าแก่ ไม่ว่าภาพจำจะเป็นแบบไหน แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ห้องสุดเก่าในมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งนี้ก็แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ก่อนเป็น ‘หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร’ ห้องสมุดแห่งนี้เคยเปิดทำการครั้งแรกมาตั้งแต่ปี 2507 โดยตั้งอยู่ภายในอาคารบริเวณหลังลานอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ก่อนย้ายมาสร้างด้านหน้าสำนักงานอธิการบดีเมื่อปี 2518 จนถึงปัจจุบัน เดิมทีออกแบบโดย ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุริยา รัตนพฤกษ์’ เป็นสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นที่เริ่มต้นไว้อย่างดี แต่ด้วยการปรับปรุงพื้นที่ตามกาลเวลา โดยไม่ได้มีแผนการพัฒนาชัดเจน จึงทำให้ภาพรวมการขยับขยายพื้นที่ค่อนข้างสะเปะสะปะ  ในปี 2558 นับตั้งแต่เริ่มโครงการปรับปรุงวิทยาเขตวังท่าพระของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นการปรับปรุงพื้นที่ทั้ง 4 คณะวิชา ประกอบด้วย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ คณะมัณฑนศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะโบราณคดี รวมถึงพื้นที่ส่วนกลางอื่นๆ ซึ่งหอสมุดเป็นหนึ่งในโปรเจกต์ที่ได้รับการยกเครื่องใหม่ ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์นันทพล จั่นเงิน’ หรือ ‘อาจารย์โอ๊ต’ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง ผู้ออกแบบหอสมุดวังท่าพระเวอร์ชันล่าสุด จึงตั้งใจที่จะพัฒนาและปรับปรุงให้อาคารหอสมุดมีภาพลักษณ์และภูมิทัศน์ที่ดีขึ้น […]

เวสป้า นักขนแห่งสำเพ็ง

สำเพ็งกับ ‘เวสป้า’ เป็นของคู่กันกับย่านขายส่งอันดับหนึ่งของกรุงเทพฯ เราติดภาพการแบกของจำนวนเยอะๆ ครั้งละมากๆ จนชินตาแต่ถ้าเราลองมองดูบ่อยๆ มันก็กลายเป็นความธรรมดาที่ไม่ธรรมดาแบบไทยๆ นี่เอง

ลาแล้ว สกาลา

ลาแล้วอย่างไม่มีทางหวนกลับ ไม่มีแม้กระทั่งตัวอาคารที่จะอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นประวัติศาสตร์ร่วมสมัยแห่งสยามสแควร์ กระทั่งสยามประเทศ

สีสันบนแผงลอตเตอรี่

พรุ่งนี้หวยออก ! ถูกหวยหรือถูกแ_กคงแล้วแต่คน
จะรวยจะจนพอหวยงวดนี้จบก็รีบซื้องวดใหม่
ตอนซื้อหวย สะดุดตา ‘รูปหลังแผงหวย’ กันบ้างไหม ?
ขนาดเล็กใหญ่ ลวดลาย สีสันแตกต่างกันออกไป
เห็นแล้วสวยดีแต่ไม่รู้ว่าเสริมโชคคนซื้อ คนขายบ้างหรือเปล่า

เด็กเอ๋ย เด็กดี ต้องมีหน้าที่กี่อย่างด้วยกัน?

ภาพถ่ายชุด “เด็กเอ๋ยเด็กดี” เป็นการนำเพลง “เด็กเอ๋ยเด็กดี” ที่เราคุ้นหูกันมาตั้งแต่เด็กมาตีความใหม่ผ่านภาพถ่าย รวมถึงเล่าเรื่องให้สอดคล้องกับระบบการศึกษาและสังคมในปัจจุบัน

‘ศูนย์พักคอยตันปัน’ เปลี่ยนตึก 30 ปีเป็นที่ที่ผู้ป่วยโควิด-19 อยู่แล้วไม่เครียดกว่าเดิม

01 ปัดฝุ่นตึกเก่าอายุ 30 ปี ให้เป็นพื้นที่ช่วยคน 30 กว่าปีที่แล้ว อาคารสูง 8 ชั้น ประดับด้วยเสา และฟอร์มสไตล์โรมันตั้งเด่นอยู่ทางเข้าย่านสถานบันเทิง RCA เคยเป็นสตูดิโอถ่ายรูปแต่งงาน ที่หนุ่มสาวแถวนั้นแวะเวียนมาใช้บริการเมื่อถึงวันสำคัญ และตึกนี้ยังเป็นตึกแรกในชีวิตที่ ตัน ภาสกรนที ซื้อมาทำธุรกิจส่วนตัว “ตึกนี้ติดถนนใหญ่ ชั้นละสี่ร้อยตารางเมตร มีดาดฟ้า และ Penthouse เล็กๆ ข้างบน ผมใช้สอยพื้นที่เป็นร้านถ่ายรูปแต่งงานได้สบาย โดยกลุ่มลูกค้าเราก็คือคนที่มาเที่ยว RCA ที่วันหนึ่งแต่งงานก็จะนึกถึงเรา แต่พอเวลาผ่านไป ผมพบว่าจริงๆ ตึกนี้ไม่ใช่สไตล์ผมเลย ขัดกับตัวเองสุดๆ ก็เลยปล่อยเช่าไปยาวๆ” นักธุรกิจอย่างเขา ปล่อยเช่าให้คนอื่นทำธุรกิจแทนจนแทบไม่ได้ไปเหยียบตึกเก่าที่เคยซื้อไว้ในอดีต กระทั่งได้ยิน สรยุทธ สุทัศนะจินดา พูดถึงตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในรายการ เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งตัวเลขคนตายไม่ได้มีแค่ที่โรงพยาบาล แต่ตายที่บ้านก็มี ตายข้างถนนก็มี  “สถานการณ์ในประเทศหดหู่มาก ประชาชนพบปัญหาเดียวกันคือไม่มีเตียง เพื่อนผมเองก็โทรมาถามว่า คุณตันรู้จักใครไหม ช่วยหาเตียงหน่อย ซึ่งเราก็หาให้เขาไม่ได้ ผมก็คิดว่า ถ้าเป็นผมที่ติด จะไปหาเตียงที่ไหน […]

อ่างแก้วใหม่ในสายตา ‘เบิ้ล นนทวัฒน์’ สถานที่เยียวยาจิตใจในประเทศที่มีแต่เรื่องหัวค*ย

‘เบิ้ล-นนทวัฒน์ นำเบญจพล’ คือผู้กำกับสารคดีชาวไทยที่มีโอกาสได้เทียวไปเทียวมาจากกรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่อยู่หลายหน ‘เบิ้ล-นนทวัฒน์ นำเบญจพล’ คือผู้กำกับสารคดีชาวไทยที่มีโอกาสได้เทียวไปเทียวมาจากกรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่อยู่หลายหน ด้วยโปรเจกต์งานสารคดีเรื่อง ‘ดินไร้แดน’ ‘ดอยบอย’ และอื่นๆ ที่ทำให้เขาต้องเดินทางมาทำงานที่นี่บ่อยๆ นอกจากลงพื้นที่ทำหนัง เวลาที่เบิ้ลต้องใช้ความคิดหรือเขียนบทเกี่ยวเนื่องกับโปรเจกต์ หรือในบางครั้งที่เขาอยากมาพักใจเฉยๆ เชียงใหม่กลายเป็นปลายทางหนึ่งที่เบิ้ลมาเยี่ยมเยียนแทบตลอดมา และช่วงที่เขาอยากพักผ่อนจากงานตรงหน้า ‘อ่างแก้ว’ คือหนึ่งใน Public Space ปรับปรุงใหม่ที่เขามีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยียน ในฐานะผู้กำกับหนังและช่างถ่ายภาพ เขาจึงใช้กล้องที่พกติดตัวไปทุกที่ บันทึกภาพสิ่งที่เขาเห็นแล้วชอบกลับมาให้เพื่อนๆ ได้ดู แน่นอน เราแอบขอภาพเขาบางส่วนมาแบ่งปันทุกคนด้วย

Space Shift คอนกรีตยักษ์เป็นบ้านพัก Sci-fi ของผู้ประสบภัยน้ำท่วม ปี 54

Space Shift ผลงานภาพถ่ายของ มิติ เรืองกฤตยา นำเสนอสถานที่ที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นบ้านพักชั่วคราวสำหรับประชาชนที่บ้านเรือนได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ในละแวกชานเมืองของกรุงเทพมหานคร เมื่อปี 2554

ตั๊ก ฉันทนา กับการทำหนังแบบเลิกพรีเซนต์ว่าคนอีสานโง่ แต่ม่วน & จ้วดคักๆ สั่นดอกเด้อ

ตั๊ก ฉันทนา กับการทำหนังแบบเลิกพรีเซนต์ว่าคนอีสานโง่ แต่ม่วน & จ้วดคักๆ สั่นดอกเด้อ

ฉันยังจำได้ – Remember ชุดภาพถ่ายที่เกิดขึ้นจากการสูญเสีย ‘อาม่า’

ภาพถ่ายชุด ‘ฉันยังจำได้’ เกิดขึ้นจากการสูญเสีย ‘อาม่า’ บุคคลอันเป็นที่รักมากในชีวิต ผมจึงหยิบเอาความรักและความผูกพันของผมกับอาม่า ห้องครัว เพื่อนำมาถ่ายทอดความรู้สึกและความทรงจำผ่านเกี่ยวกับเรื่องราวในสถานที่ต่างๆ ที่ตัวเองและอาม่าได้เคยใช้เวลาร่วมกันมา ซึ่งแม้เวลาจะผ่านไปนานมากแค่ไหนก็ตาม พื้นที่ในอดีตเหล่านี้ ก็ยังคงมีความทรงจำที่แสนอบอุ่นใจ ซึ่งทำให้ผมรู้สึกและรำลึกอยู่เสมอว่า ‘อาม่ายังไม่ได้จากไปไหน’

Startup Village เปลี่ยนที่ว่างในอัมสเตอร์ดัมเป็นหมู่บ้านสตาร์ทอัปจากคอนเทนเนอร์มือสอง

การจะสร้างคอมมูนิตี้ของสตาร์ทอัปให้เกิดขึ้นได้จริง นอกจากต้องการการสนับสนุนอย่างเอาจริงเอาจังจากรัฐแล้ว ยังจำเป็นต้องมีพื้นที่ที่เหมาะสมในการทำงานของเหล่าสตาร์ทอัปด้วย  โปรเจกต์ Startup Village หรือหมู่บ้านสตาร์ทอัปในอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นอีกโปรเจกต์หนึ่งที่น่าสนใจ เพราะเป็นโครงการเปลี่ยนพื้นที่ร้างให้กลายเป็นศูนย์รวมเทคโนโลยีชั้นนำของเมือง โดยที่ใช้งบประมาณการก่อสร้างอย่างจำกัด แต่ทำออกมาแล้วเวิร์กสุดๆ  Startup Village หรือหมู่บ้านสตาร์ทอัป เป็นส่วนหนึ่งของ Amsterdam Science Park ที่รวมผู้ประกอบการ สตาร์ทอัป งานวิจัย และนวัตกรรมเอาไว้ที่เดียว ทำให้ที่นี่เป็นพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะกับการสร้างสรรค์ ต่อยอด และพัฒนาเทคโนโลยีของเหล่าสตาร์ทอัปภายในประเทศ เพราะรวมคนเจ๋งๆ จากหลายด้านเอาไว้กว่า 55 บริษัท  เปลี่ยนที่ว่างเป็นหมู่บ้าน โปรเจกต์นี้เริ่มต้นเมื่อปี 2016 โดย Julius Taminiau สถาปนิกชาวเนเธอร์แลนด์ ผู้ริเริ่มโครงการหมู่บ้านสตาร์ทอัปได้รับโอกาสจาก UvA Ventures Holding และ Amsterdam Science Park ให้มาทำโปรเจกต์หมู่บ้านให้เกิดขึ้นจริง โดยการพลิกฟื้นพื้นที่ดินร้างและว่างเปล่าแห่งนี้ให้เป็นพื้นที่ใช้สอยที่มีประโยชน์สำหรับสตาร์ทอัปและคนที่สนใจเรื่องนวัตกรรมในเมืองอัมสเตอร์ดัม ก่อนจะย้ายกลับมาที่เนเธอร์แลนด์ Julius เคยทำงานในลอนดอนให้กับ Carl Turner Architects ในระหว่างการออกแบบและสร้าง Pop […]

1 14 15 16 17 18 29

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.