DESIGN
บอกต่อเรื่องแวดวงศิลปะและศาสตร์การออกแบบ ตั้งแต่ตัวตนศิลปิน แนวคิด เทคนิค ไปจนถึงพื้นที่แสดงออก เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญและเปลี่ยนความคิดให้ศิลปะเป็นเรื่องของทุกคน
PERMADEATH ธีสิสแบรนด์เบียร์ผู้ชนะเลิศรางวัล B.A.D Beer Contest ที่ฝันว่าการวาดรูปและต้มเบียร์จะเป็นอาชีพได้
‘B.A.D Beer Contest’ คือโครงการประกวดเบียร์ชิงแชมป์แห่งประเทศไทย จัดโดย บริษัท ส้มจี๊ด เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ธุรกิจเพื่อสังคมที่ก่อตั้งโดย ‘คณะก้าวหน้า’ ร่วมกับ ‘พรรคก้าวไกล’ เพื่อสร้างองค์ความรู้เรื่องการผลิตเบียร์และเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ร่าง ‘พ.ร.บ. สุราก้าวหน้า’ เพราะการผลักดันเพียงแค่ในสภาอาจไม่เพียงพอ การขับเคลื่อนนอกสภาจึงเป็นอีกวิธีการที่จะช่วยให้เครื่องดื่มสากลโลกในไทยได้เกิดการเปลี่ยนแปลง สำหรับผู้ชนะเลิศในการประกวดเบียร์ครั้งแรกประเภทเบียร์ IPA เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาคือแบรนด์ PERMADEATH ส่งเบียร์สีขุ่นกลิ่นหอมตัวที่ใช้ชื่อว่า ‘HAZE SHOT HAZY IPA 6.3%’ เข้าร่วมประกวด ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานธีสิสของ ‘นนท์-ณัชนนท์ เรียบร้อย’ บัณฑิตป้ายแดงจากศิลปากร วังท่าพระ คณะมัณฑนศิลป์ สาขานิเทศศิลป์ “กรรมการที่ตัดสินบอกว่าเบียร์กลิ่นดี รสชาติเยี่ยม กินง่ายและคลีน เป็นเบียร์ที่บอดี้มีความหนาแน่น แต่อาจจะเพิ่มความเข้มข้นได้อีก ความคิดเห็นส่วนตัวของผม คิดว่าเบียร์ที่หนักเกินไปมันอร่อยแค่คำสองคำแรก อาจกินไม่หมดแก้วก็เลี่ยนซะก่อน ผมจึงตั้งใจทำเบียร์ที่ไม่ได้บางจ๋อย ให้กลิ่นรสสัมผัสมาเต็ม เพื่อทำให้กินได้จนหมด อยากทำเบียร์ที่คนกินมีความสุขตลอดแก้ว” เขาเล่าให้ฟังถึงชัยชนะแก้วแรกของ PERMADEATH แบรนด์ที่ตั้งใจทำเพื่อเป็นธีสิสในด่านสุดท้ายก่อนจบการศึกษา และหวังผลต่อยอดเป็นแบรนด์ที่ตัวเองจะได้เป็นเจ้าของวันข้างหน้า เพื่อการอ่านออกรส ‘Cheers!’ PERMADEATH […]
Food Matter ธีสิสแพลตฟอร์มสั่งอาหารส่วนเกิน ที่อยากช่วยลด Food Waste ในแต่ละวัน
คุณรู้ไหมว่าอาหารที่ร้านผลิตเกินมาในแต่ละวันถูกจัดการอย่างไร? สำหรับคนที่ชอบเดินซูเปอร์มาร์เก็ตช่วงค่ำๆ จะเห็นหลายร้านนำอาหารที่ยังคุณภาพดีเหล่านี้มาติด ‘ป้ายเหลือง’ และลดราคาในช่วงสุดท้ายของวัน แต่ก็ยังมีอีกหลายร้านเช่นกันที่แม้จะมีอาหารเหลือจำนวนมาก แต่พวกเขาเลือกที่จะทิ้งโดยเสียเปล่าเพราะเป็นมาตรการด้านความสะอาดและเพื่อรักษามาตรฐานของร้าน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม การทิ้งอาหารที่ยังคุณภาพดีเหล่านี้ทำให้เกิด ‘ขยะอาหาร (Food Waste)’ ปริมาณมากในแต่ละวัน แค่ลองคิดเล่นๆ ว่าแต่ละร้านต้องทิ้งอาหารวันละ 1 กก. ทั้งเดือนก็ไม่ต่ำกว่า 30 กก. และถ้าทุกร้านมีขยะที่ต้องทิ้งทุกวัน กรุงเทพฯ จะมีขยะอาหารเยอะมากแค่ไหน? จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถนำอาหารส่วนเกินเหล่านี้มาทำเป็น ‘อาหารป้ายเหลือง’ และขายผ่านช่องทางเดลิเวอรีได้ ทำให้ผู้คนในเมืองนี้ได้เข้าถึงอาหารคุณภาพดีในราคาที่ถูกลง และยังมีส่วนช่วยในการลดขยะอาหารที่เกิดขึ้นในทุกๆ วันได้อีกด้วย คอลัมน์ Debut สัปดาห์นี้เราจะพาไปรู้จักกับ ‘Food Matter’ แพลตฟอร์มสั่งอาหารส่วนเกินจากร้านอาหารที่ทำให้คนเมืองเข้าถึงอาหารคุณภาพดีในราคาที่ถูกลง เหมือนได้เข้าไปเดินเลือกซื้ออาหารป้ายเหลืองในซูเปอร์มาร์เก็ตด้วยตัวเอง ธีสิสนี้ออกแบบโดย กรีน-เมธพร ทุกูลพาณิชย์ บัณฑิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ CommDe (Communication design) กรีนเป็นผู้เห็นถึงปัญหาของอาหารส่วนเกินที่เหลือทิ้งจากร้านอาหารในแต่ละวัน เธออยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดขยะ และอยากทำให้ผู้บริโภคในเมืองนี้มีทางเลือกในการกินมากขึ้นด้วย จึงทำแอปฯ ฉบับทดลองใช้ 11 วันขึ้นมาเพื่อดูว่าจะช่วยลดขยะอาหารในเมืองนี้ได้มากแค่ไหน ทดลองใช้เว็บไซต์ได้ที่นี่ www.foodmatterth.com […]
‘จักรวาฬ’ ผลกระทบที่วาฬบรูด้า ได้รับจากน้ำมือมนุษย์
ผลงานชุด ‘จักรวาฬ’ เป็นผลงานภาพถ่ายสารคดีที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่วาฬได้รับจากมลพิษที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมถึงต้องการถ่ายทอดภาพของทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ วัฒนธรรม วิถีชีวิตของชุมชนชายฝั่งสิ่งแวดล้อมในทะเลอ่าวไทย ที่ได้รับความเสียหายไม่แพ้กัน
‘Pata ini ภูมิทัศน์ปราศจากเสียง’ วิกฤตธรรมชาติของอ่าวปัตตานีที่ตื้นเขิน
ภูมิทัศน์ปราศจากเสียง (Pata ini) คือผลงานศิลปะภาพถ่ายจากการลงพื้นที่สำรวจภูมิทัศน์บริเวณอ่าวปัตตานี นำเสนอสิ่งที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของโครงการขุดลอกอ่าวปัตตานี
ลิ้นชักของกล้วยปิ้ง
“ถ้าความทรงจำ เปรียบเสมือนตู้ที่มีลิ้นชัก ลิ้นชักแต่ละใบ คงมีเรื่องราวความทรงจำที่ฉันได้เก็บเอาไว้ ในตู้ความทรงจำที่มีชื่อว่า ‘กล้วยปิ้ง’” หากคุณเคยสูญเสียสัตว์เลี้ยงตัวโปรด และยังเก็บข้าวของของเขาไว้ดูต่างหน้า คงเข้าใจดีว่าความคิดถึงมีหน้าตาเป็นอย่างไร คงไม่ใช่เรื่องที่แปลกมากนัก หากคนเรามักจะมีช่วงเวลาที่หวนกลับไปคิดถึงเรื่องราวในอดีต สิ่งเหล่านั้นอาจเป็นเหตุการณ์ ช่วงเวลา หรืออะไรก็ตามที่มีผลต่อความรู้สึก หลายคนอาจเคยมีประสบการณ์การสูญเสียบางสิ่งบางอย่างในชีวิต เช่นเดียวกับ ‘จิรัญญา มณีรัตนโชติ’ เจ้าของผลงาน ‘ลิ้นชักของกล้วยปิ้ง’ ที่ได้สูญเสียสุนัขจากการติดเชื้อไวรัสลำไส้อักเสบอย่างกะทันหัน และทำให้เธอได้เรียนรู้ว่าความเจ็บปวดจากการสูญเสียหนึ่งชีวิตที่รักมากเป็นอย่างไร จิรัญญาต้องการบันทึกเรื่องราวความทรงจำระหว่างเธอที่มีต่อ ‘กล้วยปิ้ง’ ผ่านสิ่งของในลิ้นชักแต่ละใบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวกิจวัตรของกล้วยปิ้ง สิ่งของที่ชอบเล่น ช่วงเวลาที่เคยถ่ายงานด้วยกัน หรือแม้กระทั่งช่วงเวลาการเจ็บป่วยและการสูญเสีย ผลงานชิ้นนี้ไม่เพียงแต่เป็นการบอกเล่าเรื่องราวความทรงจำและความคิดถึงระหว่างการสูญเสียสัตว์เลี้ยงที่รัก แต่ยังสะท้อนให้เห็นว่า ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน การจากลาไม่สามารถลบเลือนภาพความทรงจำของกล้วยปิ้งไปจากเธอได้เลย Urban Eyes : จิรัญญา มณีรัตนโชติติดตามผลงานได้ที่ IG : porjirunya
We Are Workers, We Are 99%
ในช่วงเย็นวันอาทิตย์ที่ผ่านมาที่เป็นวันพักผ่อน คนทำงานจำนวนหลักร้อยได้มารวมตัวกันที่แยกราชประสงค์ เพื่อเดินขบวนส่งเสียงในการชุมนุมของสหภาพคนทำงาน เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ
พี่น้องเอ๋ย ฟังเสียงเราบ้าง l Urban Eyes จะนะ
“มันดีนะ…การที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษแล้วปกป้องบ้านเกิด มันยังคงติดชื่ออยู่ ต่อสู้เพื่อปกป้องอากาศ ปกป้องชีวิต ปกป้องอนาคตให้กับลูกหลาน หนูว่าสำเร็จนะ ต่อสู้จนโดนคดี ต่อสู้จนแบบ ใจมันยังสู้อะ . . มันสำเร็จแล้วแหละ” เราอยากพาคุณล่องเรือสู่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา พูดคุยกับผู้คนในพื้นที่ถึงปัญหาและเรื่องราวที่เกิดขึ้นจนเกิดกระแส #Saveจะนะ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทำไมการเข้ามาของนิคมอุตสาหกรรมถึงไม่เป็นที่ยอมรับ ผู้คนในท้องถิ่นต้องสู้กับอะไรและต่อสู้เพื่อสิ่งใด ร่วมเดินทางหาคำตอบไปพร้อมกับเราจาก Urban Eyes นี้กัน
งานออกแบบพื้นที่สาธารณะไทยๆ ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของนักออกแบบ แต่เป็นเรื่องของทุกคน
คุณเคยคิดไหมว่า พื้นที่สาธารณะในกรุงเทพฯ และในประเทศไทย มีเพียงพอต่อการใช้งานแล้วหรือยัง? ในบ้านเรามีจำนวน Public Space น้อยมากๆ ถ้าพูดถึงสถานที่ที่คนเมืองใช้นัดพบปะ และพักผ่อนหย่อนใจ ส่วนใหญ่ตัวเลือกแรกๆ ที่พอจะนึกออกก็คือ ห้างสรรพสินค้า ถ้าไม่ใช่ห้างฯ เราจะไปเจอกันที่ไหน?‘พื้นที่สาธารณะ’ กลายเป็นโจทย์ของพื้นที่อันท้าทาย ทำยังไงให้ประชาชนได้มีพื้นที่ทำกิจกรรมอันหลากหลาย เพราะสถานที่ที่มีอยู่ในบ้านเราก็ยากที่จะเรียกว่า ‘พื้นที่สาธารณะ’ ได้อย่างเต็มปาก ด้วยเงื่อนไข กฎ เกณฑ์ และเวลาที่ไม่ได้เอื้อต่อประชาชนคนทั่วไปใช้งานได้อย่างเต็มที่จริงๆ จึงเป็นที่มาของโจทย์และจุดประสงค์หลักให้กับงานประกวดที่ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ร่วมกับ สภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (CDAST) จัดโครงการประกวดการออกแบบ ‘Uniquely Thai การประกวดแบบ Civic Center ในศตวรรษที่ 21 ของกรุงเทพมหานคร’ เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ทางความคิดสร้างสรรค์ และไอเดียที่จะสะท้อนมุมมอง ‘พื้นที่สาธารณะแบบไทยๆ’ ว่า สถานที่นั้นจะออกมาเป็นอย่างไรด้วยจินตนาการอันโลดแล่นของนักออกแบบรุ่นใหม่ ทั้งในระดับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป เราได้มีโอกาสคุยกับทางคณะกรรมการ และผู้ชนะการประกวดครั้งนี้ จึงอยากชวนทุกคนมาเจาะลึกถึงที่มาที่ไปความสำคัญของพื้นที่สาธารณะ และเปิดมุมมองจากไอเดียที่ตอบโจทย์ความเป็นไทยจนคว้าใจกรรมการ ไม่แน่เหมือนกันว่าบางผลงานอาจจะเป็นพื้นที่จริงในอนาคตให้ประชาชนอย่างเราได้มีส่วนในการใช้งานสาธารณะที่แท้จริงก็เป็นได้ […]
พระสติ พระเครื่องจากพลาสติกที่เตือนให้ทุกคนบริโภคอย่างมีสติและรักสิ่งแวดล้อม
เมื่อช่วงงาน Bangkok Design Week 2022 ที่ผ่านมา หลายคนน่าจะได้ไปร่วมกิจกรรมหรือได้ยินข่าวเกี่ยวกับ ผ้าป่า Design Week โปรเจกต์เชิงทดลองที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการทอดผ้าป่า ในการนำวัฒนธรรมการแบ่งปันสู่คนรุ่นใหม่ ด้วยวิธีการทำบุญแบบใหม่ ในรูปแบบแพลตฟอร์มดิจิทัล สิ่งที่ทำให้งานผ้าป่างานนี้ต่างจากงานผ้าป่าทั่วไปคือ การเชื่อมโยงระหว่างผู้บริจาคและผู้รับบริจาคให้เกิดความสะดวก โปร่งใส มีทางเลือกในการบริจาคหลากหลายตามความสนใจของผู้บริจาค ทั้งวัด การแพทย์ และการศึกษา ทั้งยังเพิ่มทางเลือกในการบริจาคขยะพลาสติกและขวดแก้วสะอาดแทนเงิน เพื่อนำไป Upcycle เป็นโปรดักต์ต่อไปด้วย ทว่า นอกจากไอเดียสร้างสรรค์ที่ปรับประยุกต์ความเชื่อประเพณีของคนไทยที่ดูเชยให้กลับมาร่วมสมัย จนคนไปร่วมงานแน่นขนัดชนิดที่เรียกว่างานผ้าป่าแตกแล้ว ‘พระสติ’ ที่สร้างขึ้นจากขยะพลาสติก เพื่อแจกเป็นที่ระลึกกับผู้ที่บริจาค ผู้รับบริจาค และผู้สนับสนุนโครงการ ก็ถือเป็นไฮไลต์ดึงดูดผู้คนให้มาร่วมงานไม่ต่างกัน จากวัสดุที่คนทิ้งขว้าง ไม่สนใจ กลับกลายเป็นของหายากที่ผลิตเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ยังไม่นับสตอรี่ที่มาพร้อมกับการออกแบบ และการนำเสนอความเชื่ออิงหลักพุทธร่วมสมัยที่เตือนให้บริโภคอย่างมีสติ สนับสนุนความเท่าเทียม และรักษ์โลกอีกนะ ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่ผ่านการศึกษาและคิดมาอย่างถี่ถ้วน เพราะต่อให้คนอยากได้พระเครื่องเพราะความแรร์หรือรูปลักษณ์เท่ๆ ก็ตาม ทว่า อย่างน้อยๆ คนคนนั้นจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับหลักศาสนา สิ่งแวดล้อม หรือการรีไซเคิลไปด้วย เบื้องหลังของไอเดียพระสตินี้คืออะไร กว่าขยะพลาสติกจะกลายมาเป็นพระเครื่องยอดฮิตที่ใครๆ ต่างอยากได้มาบูชา ต้องผ่านกระบวนการคิดและออกแบบอย่างไรบ้าง เรามาคุยกับ ‘ไจ๋–ธีรชัย […]
Ban Phru Cemetery Park ธีสิสเปลี่ยนสุสานบ้านพรุในหาดใหญ่ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของคนเมือง
เมษายนคือช่วงเวลาที่ลูกหลานชาวจีนจะได้กลับมาเจอกันอีกครั้งใน ‘วันเช็งเม้ง’ ประเพณีสำคัญของชาวไทยเชื้อสายจีน ที่จะต้องไปเคารพและทำความสะอาดหลุมศพของบรรพบุรุษทุกๆ ปี แต่เคยคิดกันไหมว่าพื้นที่สุสานที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ นอกจากวันเช็งเม้งแล้ว พื้นที่หลายร้อยไร่ที่เราไปทุกปีได้ถูกใช้ประโยชน์ในช่วงเวลาอื่นบ้างไหม? โดยเฉพาะสุสานที่อยู่ในย่านชุมชน อยู่ใกล้เมือง มีคนพลุกพล่าน ที่มีทั้งคุณค่าทางเศรษฐกิจและมีศักยภาพในการใช้งานมากกว่าแค่ปีละครั้ง จะดีกว่าไหมถ้าสุสานที่อยู่ใกล้เมืองหลายแห่งถูกพัฒนาให้ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายโอกาส และเปิดให้คนภายนอกได้เข้าไปใช้งานนอกจากวันเช็งเม้งบ้าง เก่ง-ศุภณัฐ อรุโณประโยชน์ บัณฑิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาภูมิสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือลูกหลานชาวจีนในหาดใหญ่ที่ไปเช็งเม้งที่ ‘สุสานบ้านพรุ’ เป็นประจำทุกปี และมองเห็นความเป็นไปได้ของพื้นที่นี้มากกว่าการมาเช็งเม้ง จึงออกมาเป็นธีสิส ‘Ban Phru Cemetery Park’ โครงการพัฒนา ‘สุสานบ้านพรุ’ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของคนในเมือง เพื่อให้คนในหาดใหญ่ได้เข้าถึงพื้นที่สีเขียว มีกิจกรรมนันทนาการ มีพื้นที่เชิงวัฒนธรรม และที่สำคัญคือช่วยเพิ่มยอดขายหลุมฝังศพบนพื้นที่ที่เหลืออยู่ให้กับสุสานบ้านพรุได้อีกด้วย ธีสิสที่เริ่มจากการไปเช็งเม้ง เก่งเล่าให้ฟังว่า เหตุผลที่เลือกสุสานบ้านพรุมาทำธีสิสเพราะที่นี่คือที่ที่เขาและครอบครัวต้องไปเช็งเม้งเป็นประจำทุกปี จึงมีความคุ้นเคยและผูกพันกับสุสานนี้เป็นพิเศษ “แรงบันดาลใจของธีสิสนี้มาจากตอนปี 4 ได้เรียนวิชา Intro to Urban Architecture ซึ่งมีไฟนอลโปรเจกต์ให้ทำ ตอนนั้นสนใจเกี่ยวกับพื้นที่สุสานในเมืองอยู่แล้ว และสนใจเรื่องการนำมาปรับใช้ให้เป็นพื้นที่สาธารณะ จึงได้ไปศึกษาเกี่ยวกับสุสานแต้จิ๋วในสาทร ซึ่งมีพื้นที่ประมาณแปดสิบห้าไร่ และเปิดเป็นพื้นที่ให้ประชาชนโดยรอบเข้ามาใช้งานในเชิงสันทนาการได้ตั้งแต่ปี 2539 เป็นสุสานแรกๆ ที่เปิดให้คนเข้ามาใช้ทำกิจกรรมอย่างอื่นได้นอกจากพิธีธรรม” […]
Yugen เห็นความงามในความไม่สมบูรณ์แบบจากสิ่งรอบตัว
ภาพถ่ายชุดนี้เป็นผลงานของ ดลวรีย์ ปูธิปิน เธอตั้งใจที่จะบอกเล่าถึงความงามในแบบที่เธอเห็นและเข้าใจ ซึ่งโปรเจกต์เซตภาพถ่าย Still Life ชิ้นนี้มาจากความชอบจัดข้าวของ การเล่าเรื่องราวผ่านสิ่งของและความทรงจำของเธอ
JARB ศิลปินนักโหยหาอดีตผ่านเพลง J-City Pop สู่ Thai Lyric Visualizer ของ The Weeknd
เมื่อสี่ปีก่อน เรารู้จัก ‘JARB’ หรือ ‘จ๊าบ–มงคล ศรีธนาวิโรจน์’ ตอนเขาไปฝึกงานที่กองบรรณาธิการนิตยสาร a day Magazine เป็นครั้งแรก จ๊าบเป็นนักศึกษาฝึกงานตำแหน่ง Illustrator หรือนักวาดภาพประกอบไฟแรง ที่ทั้งขยันและทำงานด้วยสนุก ความขยันและความหาทำของจ๊าบ (ชม) ทำให้เขาผ่านประสบการณ์การฝึกงานมาอย่างโชกโชน จนกระทั่งเรียนจบจากสาขาวิชาภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรมฯ รั้ว ม.ศิลปากร จ๊าบก็เข้าทำงานที่ Flvr Studio ของ โอ-ศรัณย์ เย็นปัญญา ก่อนที่เขาจะกลับมาเป็นนักวาดภาพประจำที่ a day สื่อสิ่งพิมพ์บันดาลใจที่ผลักดันให้เขาใฝ่ฝันอยากเป็นนักวาดภาพประกอบมาตั้งแต่ครั้งเรียน ม.ปลาย สำหรับคนที่ติดตามผลงานจ๊าบเป็นประจำจะเห็นว่างานของเขาโคตรเท่ แต่ถ้าลงลึกไปกว่านั้น เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในวงการสื่อและสิ่งพิมพ์ต่างขนานนามให้เขาเป็นนักวาดภาพประกอบสุดไฮเปอร์ ที่ทำงานด้วยง่าย ทำได้ทุกแบบทุกสไตล์ แถมสร้างสรรค์งานอย่างว่องไว และได้ผลลัพธ์เนี้ยบกริบชนิดหาตัวจับยาก และเอกลักษณ์พิเศษที่โดดเด่นไม่เหมือนใครของจ๊าบ คือสายตาโหยหาอดีตที่เขาหยิบจับเอาความ Nostalgia และความเครซี่ในแนวเพลง Japan City Pop มาแต่งแต้มจนกลายเป็นงานส่วนตัวที่สร้างสรรค์ออกมาอย่างต่อเนื่อง แน่นอน ปัจจุบันเขาบุกเข้าไปในโลก NFT แล้วสะสมชื่อเสียงในระยะเวลาอันรวดเร็ว […]