NIA Creative Contest พื้นที่สร้างสรรค์ สู่การวาดฝันเมืองในอนาคตของคนรุ่นใหม่

ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 20 ไอน์สไตน์ป่าวประกาศก้องบอกโลกให้รู้ว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ เพราะความรู้มีข้อจำกัด แต่จินตนาการเป็นสิ่งที่หมุนโลก วลียอดฮิตนี้ทำให้คนทั้งโลกเห็นถึงความสำคัญของสิ่งที่เรียกว่า จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่มองว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องไกลตัว และเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่ตนจะคิด จนกลายเป็นความสงสัยว่าตกลงแล้วความคิดสร้างสรรค์มีหน้าตาเป็นอย่างไรกันแน่ ด้วยความฉงนสงสัยเราจึงอยากพาทุกคนไปหาคำตอบในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ และคงไม่มีหน่วยงานไหนมีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ไปมากกว่า สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) องค์กรที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในสังคม และใช้ในการขับเคลื่อนประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม ความคิดสร้างสรรค์ในแบบฉบับของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA คำถามกำปั้นทุบดินที่เราถามกับ คุณธีรีสา มัทวพันธุ์ หรือรองจ๋า รองผู้อำนวยการด้านยุทธศาสตร์ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) คือ เราทุกคนต่างได้ยินมาบ่อยมากเกี่ยวกับคำว่า ‘ความคิดสร้างสรรค์’ จริง ๆ แล้วคำนี้มันคืออะไรกันแน่  “ความคิดสร้างสรรค์เป็นศัพท์เชิงนามธรรม ไม่ใช่สิ่งที่จับต้องได้ เป็นเรื่องของไอเดีย ความคิด แต่มีบทบาทอย่างมากในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นสังคม องค์กร ส่วนตัว หรือในระดับประเทศ เพราะความคิดสร้างสรรค์โดยหลักการมันคือการคิดซึ่งนำมาสู่สิ่งใหม่ ๆ โดยสิ่งใหม่ ๆ เหล่านี้ ล้วนสัมพันธ์ในทุกมิติของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กอย่างชีวิตส่วนตัวเราก็ต้องการสิ่งใหม่ ๆ เช่น อาหาร […]

‘เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ’ ภาพวาดการ์ตูนหัวโตล้อสันดานคน ที่ไม่เชื่อแม้แต่ความจริงตรงหน้า

คน (ไทย) บางคนหยิบสมาร์ตโฟนขึ้นมาถ่ายภาพที่ชอบเป็นพิเศษ ส่องไฟฉายเฉพาะมุมที่สนใจ เสพข่าวแค่บางช่อง บูชาบุคคล และบรรจงเก็บเรื่องราวเหล่านั้นให้ขึ้นใจ เพราะ ‘เชื่อ’ ในสาระสำคัญของสิ่งของ ผู้คน ความเชื่อ รวมถึงวัฒนธรรมตรงหน้า ส่วนพื้นที่รอบข้างหลังเลนส์ที่ไม่ถูกส่อง ไม่เลือกส่อง หรือไม่อยากส่อง ก็ปล่อยไว้แบบนั้น  ถึงความจริงจะฟ้องร้องทนโท่เต็มสองตาก็ไม่สน…เพราะอะไร…เพราะบังคับตัวเองให้ไม่เชื่อยังไงล่ะ “เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ” แปลประโยคอีสานเป็นภาษาภาคกลางได้ว่า ทำในสิ่งที่เชื่อ  ขณะเดียวกันก็เป็นชื่อนิทรรศการศิลปะของ ลำพู กันเสนาะ ศิลปินหญิงที่ฝากลายเซ็น และลายเส้นบนภาพวาดการ์ตูนหัวโตด้วยสีน้ำมัน ซึ่งแฝงเนื้อหาสะท้อนสังคม จิกๆ กัดๆ มันๆ คันๆ ไว้นานถึง 11 ปี  ครั้งนี้พิเศษกว่าครั้งไหน เพราะเป็นครั้งแรกที่เธอเลือกละเลงสีอะคริลิกสีสันฉูดฉาดลงบนผ้าลินิน และทำมันในรูปแบบการ์ตูนช่องที่มีนางแบบ นายแบบเป็นชาวบ้านซึ่งขาดรายได้ช่วงโควิด-19 ในชุมชนอัมพวา โดยหยิบความทรงจำสมัยเด็กที่ชอบนั่งวาดการ์ตูนช่องริมคลอง มาผูกกับเรื่องราวสะท้อนสังคมปัจจุบันให้มีต้น กลาง จบ เหมือนหนังสือขายหัวเราะ หรือมังงะที่ชอบอ่าน  “นิทรรศการเฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ ถูกวาดจากความเชื่อของคนในสังคม เสียดสีสถานการณ์ปัจจุบันและการเมือง ที่แต่ละคนมองเห็นสิ่งเดียวกันแต่กลับมองไม่เหมือนกัน เด็กมองอีกแบบ คนแก่มองอีกแบบ แต่ละชนชั้นก็มองกันอีกแบบ และในบางความเชื่อจะมีความเข้าข้างตัวเอง ศรัทธาในตัวเอง พึงพอใจที่จะเลือกว่าอยากจะเชื่ออะไร […]

‘อัครา นักทำนา’ ช่างภาพที่ทำนิตยสารจนโตมาเป็น CTypeMag Gallery ให้ทุกคนมีพื้นที่แขวนรูป

ช่างภาพสตรีทที่หันมาจับนิตยสารออนไลน์อย่าง CTypeMag ตั้งแต่ปี 2016 ล่าสุดเขากระโดดจากออนไลน์มาทำแกลเลอรีเล็กๆ ชื่อ CTypeMag Gallery ในซอยภูมิจิตร ย่านพระโขนง

‘Soul Salt’ Paint Bar กลิ่นอายทะเลที่ยกหาดทรายมาไว้ริมเจ้าพระยาให้ทุกคนนั่งละเลงสี

รู้จัก Soul Salt เบนต์บาร์ริมเจ้าพระยา ที่ยกหาดทรายมาไว้กลางกรุง พื้นที่ที่ต้อนรับทุกคน

จากเพจอยากดูหนังถึง ‘Lorem Ipsum’ พื้นที่ฉายหนังทางเลือกให้คนหาดใหญ่ได้ชม

ย้อนกลับไปเมื่อ 4 – 5 ปีก่อน สมัยยังเป็นนักศึกษาคณะนิเทศฯ ทำให้กลุ่มคนที่วนเวียนอยู่รอบตัวล้วนแล้วแต่เป็นคอหนังด้วยกันทั้งสิ้น จำได้ว่าถึงจะเรียนอยู่เชียงใหม่ จังหวัดใหญ่แห่งเมืองเหนือ แต่ก็ไม่วายที่หนังใหญ่บางเรื่องจะไม่เข้าฉาย ซึ่งตอนนั้นเราก็ไม่รู้เหตุผลเหมือนกันว่าเป็นเพราะอะไร  นอกจากเสียงบ่นของเพื่อนพ้องน้องพี่แล้ว อีกหนึ่งความไม่พอใจที่เห็นกันชัดๆ คือในเฟซบุ๊กมีเพจเรียกร้องให้เอาหนังมาฉายที่จังหวัดตัวเองผุดขึ้นเต็มไปหมด ไม่ต่างกับที่หาดใหญ่ซึ่ง ต้น–พรชัย เจียรวณิช ในฐานะคนรักหนัง ก็อดประหลาดใจไม่ได้ว่าทำไมภาพยนตร์บางเรื่องที่ดังระดับประเทศ แถมยังเป็นหนังระดับฮอลลีวูดที่หากเปิดให้เข้าชมในโรงฯ คนดูก็ไม่โหรงเหรงแน่ๆ แต่ทำไมคนต่างจังหวัดกลับไม่มีสิทธิ์ได้ดู  เรื่องนี้ฉายเหอะ…คนต่างจังหวัดอยากดู ต้นเล่าให้ฟังว่าภาพยนตร์ที่จะฉายในหาดใหญ่ถูกสกรีนด้วย ‘สายหนัง’ (ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์) ที่จะคัดเลือกหนังที่มีแนวโน้มจะทำรายได้ดีเข้ามาฉายในพื้นที่ แต่บางทีก็แปลกใจเหมือนกันว่าทำไมภาพยนตร์อย่าง Sing Street ที่เป็นหนังแมส คนอยากดูก็เยอะทำไมไม่เข้าโรงภาพยนตร์ที่หาดใหญ่ ด้วยความเก็บกดก็เลยเปิดเพจชื่อ ‘เรื่องนี้ฉายเถอะ คนหาดใหญ่อยากดู’ เพื่อเป็นพื้นที่ในการแสดงออก  ก่อนจะพบว่ามีกลุ่มคนที่อัดอั้นตันใจอยู่ไม่น้อย จึงเข้าไปคุยกับโรงภาพยนตร์เพื่อหาทางออกร่วมกัน  “ทีแรกเขาบอกว่าให้ไปรวมกลุ่มกันมาว่ามีคนดูกี่คน แต่เราส่งตัวเลขไปก็ไม่เกิดอะไรขึ้น ก็เลยมองไปที่การเช่าเหมาโรงฯ แล้วไปดีลกับค่ายหนังแทน ทีนี้เราก็เป็นเหมือนคนจัดฉายหนัง ลองหาดูว่าเรื่องไหนมีศักยภาพที่จะดึงคนมาดูแล้วเราไม่เจ็บหนักมากกับราคาเหมาโรงฯ ที่สองหมื่นบาท บางเรื่องก็คัฟเวอร์ บางเรื่องก็เข้าตัว แต่อย่างน้อยก็เป็นช่องทางหนึ่งที่จะทำให้คนเข้าถึงหนังได้ “แต่ปัญหาคือดีลกับโรงหนังแต่ละครั้ง กลายเป็นต้องเริ่มใหม่ทุกรอบ เพราะคนที่รับเรื่องเป็นคนละคน แถมราคาที่เสนอมาก็ไม่เท่ากัน เลยรู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่าง” เมื่อผิดหวังกับระบบของโรงภาพยนตร์ และหวังจะสร้างคอมมูนิตี้ของคนรักหนังในหาดใหญ่ […]

‘ลานยิ้มการละคร’ คณะละครชื่อชวนยิ้ม แต่จิกกัดและตั้งคำถามต่อสังคมอย่างเจ็บแสบ

หากศิลปะไม่เป็นเจ้านายใคร และไม่เป็นขี้ข้าใคร คุณคิดว่าศิลปะเป็นอะไรกันแน่ ถ้าคุณสงสัยในประโยคข้างต้นว่าจริงๆ แล้วศิลปะมีความสำคัญอย่างไรต่อสังคม เราชวนมาคุย กับ ‘กอล์ฟ-นลธวัช มะชัย’ ผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ลานยิ้มการละคร’ คณะละครจัดแสดง Performance Art ริมถนนซึ่งเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มเพื่อน ที่ถึงแม้จะมีชื่อชวนยิ้ม แต่กลับบอกเล่าเรื่องราวมากมายที่เกิดขึ้น ชวนผู้ชมตั้งคำถาม พร้อมตีแผ่ประเด็นทางสังคมอย่างจิกกัดและเจ็บแสบ อย่างชุดการแสดง ณ บางกลอย ที่ทำให้หลายคนต่างหันกลับมามองประเด็นความขัดแย้ง ความอยุติธรรม และข้อเรียกร้องของชาวบ้านบางกลอยได้อย่างน่าสนใจ ปฐมบทลานยิ้มการละคร ก่อนจะมาเป็นลานยิ้มการละคร (Lanyim Theatre Group) พวกเขาเคยเป็นกลุ่มลานยิ้ม Lanyim Creative Group ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของแก๊งเพื่อนที่เรียนสื่อสารมวลชนด้วยกันแต่หลากแขนง ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ การแสดง ไปจนถึงการละคร ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานในฐานะสื่อ ประกอบกับการแสดงละคร เพื่อสื่อสารประเด็นการเมือง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ชาติพันธุ์ ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน แต่เมื่อทำไปเรื่อยๆ การแสดงละครกลับกลายเป็นตัวตนที่ชัดเจนที่สุด พวกเขาต่างรู้ว่าถนัดอะไร อยากจะพูดอะไร ด้วยน้ำเสียงแบบไหน จนกลายมาเป็นกลุ่มลานยิ้มการละครที่เน้นการทำงานประเภทการแสดงละครเป็นหลัก สิ่งที่น่าสนใจของการเกิดกลุ่มลานยิ้มการละครคือการรวมตัวของกลุ่มเพื่อน เราเอ่ยปากถามไปว่า […]

พีระ โองาวา ศิลปินผู้เปลี่ยนเสียงแว่วในหูให้เป็นศิลปะเรขาคณิตและความสุขของวัย 75

ยามผมเปลี่ยนเป็นสีดอกเลายามหลังเริ่มงองุ้มตามกาลเวลายามที่สายตาเริ่มพร่าเลือนยามที่คุณอายุเข้าวัยเลข 7ลองจินตนาการสิว่า ตอนนั้นคุณกำลังทำอะไรอยู่ สำหรับเรา…ยังเป็นนักเขียน? ยังไปคอนเสิร์ตของนักร้องวงโปรด? ยังชอบเข้ามิวเซียม?คำตอบคือ ยังไม่รู้เลย ว่าวันนั้นจะยังทำสิ่งที่รักอยู่หรือเปล่า  แต่สำหรับ พีระ โองาวา ศิลปินวัย 75 ปีท่านนี้ ชีวิตทุกวันตลอดระยะเวลาหลายสิบปี ยังเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำ เพื่อตื่นตอนเที่ยงคืนมาเปิดเพลงบรรเลงของโมซาร์ตและบีโทเฟน แล้วลงมือสร้างสรรค์ ศิลปะเรขาคณิต จนถึงยามฟ้าเริ่มสางช่วง 5 นาฬิกา เขาทำทุกวันอย่างไม่มีหยุดพัก และจะมีความสุขทุกครั้งที่วาดภาพออกมาได้ดั่งใจคิด เสื้อเชิ้ตสีฟ้าอ่อน กางเกงสแล็กสีดำ และรอยยิ้มใจดีของคุณพ่อพีระต้อนรับเรา เมื่อ แตง-ประกายจิต โองาวา ลูกสาวคนโตของครอบครัวเชื้อเชิญเข้าบ้าน ตามด้วยคำทักทายของ คุณแม่สว่าง โองาวา และลูกชายคนเล็ก เต้-ยุทธจิต โองาวา  ครอบครัวลูกครึ่งญี่ปุ่นยิ้มแย้มอย่างเป็นกันเอง ก่อนรวมตัวนั่งล้อมวงบนชั้น 2 เพื่อพูดคุยถึงโลกศิลปะของคุณพ่อพีระ ท่ามกลางงานศิลปะเรขาคณิตนับสิบชิ้นที่รายล้อมอยู่ในห้องรับแขก และอีกหลายร้อยชิ้นที่ซุกซ่อนอยู่ในบ้านหลังอบอุ่น ศิลปะไร้อุปกรณ์ ชีวิตศิลปะของศิลปินอายุ 75 ปีเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วัยไม่ถึงสิบขวบ เขามักหยิบดินสอมาวาดภาพ Freehand หรือการวาดภาพโดยไม่ใช้เครื่องมือเป็นเหล่าสัตว์นานาชนิดตามที่ใจคิด เพราะมองว่าสัตว์ทุกตัวมีความสวยงามเฉพาะแบบ บ้างวาดสัตว์ตัวนั้นตามแบบที่เป็น บ้างเอาสัตว์หลายตัวมาผสมกันจนมีรูปร่างหน้าตาแปลกไปจากเดิม อย่างรูปไก่ที่มีขนเป็นงู รูปต้นไม้ที่กิ่งก้านของมันกลายเป็นงูเลื้อย […]

Xspace แกลเลอรีศิลปะในโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ ที่เชื่อว่าความสร้างสรรค์พัฒนาคนและเมืองได้

หากมีคนโยนโจทย์มาให้หาจุดตัด ฉันจะนึกถึงแกน X แกน Y ในวิชาคณิตศาสตร์สมัยเรียนมัธยมฯ แต่โจทย์ครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งไหนๆ เพราะสองตัวแปรที่ว่าไม่ใช่ตัวเลข แต่เป็น ‘ศิลปะ’ กับ ‘ดีไซน์’ ที่มาบรรจบกันเป็นจุดตัดบนพื้นที่สร้างสรรค์อย่าง Xspace

ศิลปะ วิทยาศาสตร์ นิทานอีสป เส้นบรรจบ ‘ภาพวาดชีววิทยาสะท้อนสังคม’ ของ ลลินธร เพ็ญเจริญ

กาลครั้งหนึ่งในบ้านหลังอบอุ่น มือคู่เล็กของ ลลินธร เปิดสารานุกรม สายตาจดจ้องแผ่นกระดาษที่มีโครงสร้างดอกไม้ตั้งแต่ชั้นนอกสุดอย่างกลีบเลี้ยง ไปจนถึงชั้นเกสร ก่อนพลิกสู่หน้าถัดไปแล้วเจอโครงสร้างสัตว์ที่เห็นเนื้อหนัง โครงกระดูก และอวัยวะภายใน เธอไม่รู้ว่าสิ่งที่เห็นคืออะไร รู้เพียงแค่สวย และเหมือนจริงจนไม่อาจละสายตา กาลครั้งนี้เธอเติบโต ได้รู้แล้วว่าสิ่งที่เห็นในสารานุกรมตอนเล็กเรียกว่า ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ จึงหยิบมาผสมผสานกับศาสตร์ศิลปะที่หลงใหล ซึ่งมีจุดเชื่อมเป็นนิทานอีสปให้ข้อเตือนใจ กลายเป็น ภาพวาดเชิงชีววิทยา ผ่านจินตนาการของ ลลินธร เพ็ญเจริญ ศิลปินที่อยากบอกให้ใครต่อใครรู้ว่า ศิลปะกับวิทยาศาสตร์สามารถบรรจบกันได้อย่างงดงาม สองเส้นที่ขนานกันในสมอง ฉันนั่งตรงข้ามกับลลินธร แล้วมองภาพจิ้งหรีดกับลาที่เห็นไปยันโครงกระดูกข้างในซึ่งจัดแสดงท่ามกลางแสงไฟส้มนวลที่ SAC Gallery ละแวกพร้อมพงษ์ ก่อนเอ่ยถามถึงเบื้องหลังความคิดที่หยิบศาสตร์แห่งศิลป์และวิทย์มาหลอมรวมกัน “รู้ไหมศิลปะกับวิทยาศาสตร์ไม่เคยแยกออกจากกันเลย” คือประโยคที่เธอพูดหลังจากเอนหลังพิงพนักเก้าอี้ ก่อนเล่าต่อว่าในยุคกรีกโรมัน สองศาสตร์นี้เคยเกื้อหนุนกันเพื่ออธิบายและทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นไปในจักรวาล กระทั่งวันหนึ่งศิลปะกับวิทย์ต้องแยกจาก เพราะการแบ่งองค์ความรู้เฉพาะด้านให้ชัดเจน แต่ก็แอบเป็นแรงบันดาลใจการทำงานให้กันอยู่เงียบๆ จนพอเข้ายุคหลังสมัยใหม่ ปลายทางที่แยกออกก็กลับมาบรรจบอีกครั้ง เพราะเรียนรู้แล้วว่าบางครั้งความรู้ศาสตร์เดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดได้ทั้งหมด ส่งผลมาถึงปัจจุบันที่มีแนวทางลูกผสมอย่าง Art & Science  ฉันฟังแล้วร้องว้าวออกมาจนเธออมยิ้ม แล้วต่อบทสนทนาให้แคบลงสู่เรื่องของลลินธร ว่าทำไมถึงสนใจสองศาสตร์วิชาที่ชอบถูกนิยามว่า ศิลปะคือเรื่องความรู้สึก แต่วิทยาศาสตร์นั้นว่ากันด้วยเหตุผล เธอเล่าถึงเส้นขนานแรกอย่าง ศิลปะ ที่สมัยมัธยมต้น เวลาว่างขณะเรียนชอบหยิบวงเวียน ไม้บรรทัดสี่เหลี่ยม […]

ปะติดปะต่อแนวคิด กราฟิกดีไซเนอร์ Pariwat Studio

องค์ประกอบยิบย่อยในเมืองที่ปะติปะต่อกันเป็นงานดิจิทัลคอลลาจ ดึงดูดให้ฉันหยุดพิจารณาและไล่สายตาดูตึกรามบ้านช่อง ป้ายร้านรวง รถราบนท้องถนน และรถเข็นขายผลไม้ ภาพแทนของกรุงเทพฯ เมืองที่เปรียบเป็นงานศิลปะคอลลาจในตัวเอง

‘ประชาธิปไทป์’ ฟอนต์สะท้อนการเมืองไทย

ในวันที่ตัวอักษรกำลังช่วยกู่ร้องเพื่อ #ประชาธิปไตย ชวนลงลึกเรื่อง ‘ตัวอักษรสะท้อนการเมือง’ อย่างถึงแก่นกับ ประชาธิปไทป์ (Prachathipatype) เพจของนักออกแบบฟอนต์ผู้เชี่ยวชาญด้านตัวอักษร และกราฟิตี้มือฉมังเทคนิคลายฉลุ Headache Stencil ซึ่งร่วมมือกันทำงานเพื่อสร้าง ‘เซ็ทตัวอักษร’ ให้เป็นชุดเครื่องมือศิลปะแห่งประชาธิปไตยที่ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของได้

อาคิเต็ก (พาไป) เจอเมืองในมุมมองแบบไท๊ยไทย

มองมุมเมืองสไตล์ไท๊ยไทย ท่ามกลางแสงแดดเจิดจ้า วันนี้โชคดีที่สายฝนไม่โปรยลงมาเลย เมื่อเราเดินทางมาถึง ‘Everyday Architect & Design Studio’ ที่แฝงตัวกลมกลืนอยู่ในย่านฝั่งธนบุรี

1 2 3 4 5 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.