‘เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ’ ภาพวาดการ์ตูนหัวโตล้อสันดานคน ที่ไม่เชื่อแม้แต่ความจริงตรงหน้า

คน (ไทย) บางคนหยิบสมาร์ตโฟนขึ้นมาถ่ายภาพที่ชอบเป็นพิเศษ ส่องไฟฉายเฉพาะมุมที่สนใจ เสพข่าวแค่บางช่อง บูชาบุคคล และบรรจงเก็บเรื่องราวเหล่านั้นให้ขึ้นใจ เพราะ ‘เชื่อ’ ในสาระสำคัญของสิ่งของ ผู้คน ความเชื่อ รวมถึงวัฒนธรรมตรงหน้า ส่วนพื้นที่รอบข้างหลังเลนส์ที่ไม่ถูกส่อง ไม่เลือกส่อง หรือไม่อยากส่อง ก็ปล่อยไว้แบบนั้น  ถึงความจริงจะฟ้องร้องทนโท่เต็มสองตาก็ไม่สน…เพราะอะไร…เพราะบังคับตัวเองให้ไม่เชื่อยังไงล่ะ “เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ” แปลประโยคอีสานเป็นภาษาภาคกลางได้ว่า ทำในสิ่งที่เชื่อ  ขณะเดียวกันก็เป็นชื่อนิทรรศการศิลปะของ ลำพู กันเสนาะ ศิลปินหญิงที่ฝากลายเซ็น และลายเส้นบนภาพวาดการ์ตูนหัวโตด้วยสีน้ำมัน ซึ่งแฝงเนื้อหาสะท้อนสังคม จิกๆ กัดๆ มันๆ คันๆ ไว้นานถึง 11 ปี  ครั้งนี้พิเศษกว่าครั้งไหน เพราะเป็นครั้งแรกที่เธอเลือกละเลงสีอะคริลิกสีสันฉูดฉาดลงบนผ้าลินิน และทำมันในรูปแบบการ์ตูนช่องที่มีนางแบบ นายแบบเป็นชาวบ้านซึ่งขาดรายได้ช่วงโควิด-19 ในชุมชนอัมพวา โดยหยิบความทรงจำสมัยเด็กที่ชอบนั่งวาดการ์ตูนช่องริมคลอง มาผูกกับเรื่องราวสะท้อนสังคมปัจจุบันให้มีต้น กลาง จบ เหมือนหนังสือขายหัวเราะ หรือมังงะที่ชอบอ่าน  “นิทรรศการเฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ ถูกวาดจากความเชื่อของคนในสังคม เสียดสีสถานการณ์ปัจจุบันและการเมือง ที่แต่ละคนมองเห็นสิ่งเดียวกันแต่กลับมองไม่เหมือนกัน เด็กมองอีกแบบ คนแก่มองอีกแบบ แต่ละชนชั้นก็มองกันอีกแบบ และในบางความเชื่อจะมีความเข้าข้างตัวเอง ศรัทธาในตัวเอง พึงพอใจที่จะเลือกว่าอยากจะเชื่ออะไร […]

NIA องค์กรนวัตกรรมที่อยากลบภาพจำหน่วยงานรัฐ มี พนง. 80% เป็นคนรุ่นใหม่และ First Jobber

คำอธิบายที่เข้าใจง่ายของนวัตกรรมคือการคิดค้นสิ่งใหม่ จึงไม่แปลกที่คนทำงานด้านนี้จะไม่ยอมอ่อนข้อต่ออดีต สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้ระบุไว้ว่าตัวเองเป็นองค์กรหัวก้าวหน้า และเมื่อได้พูดคุยกับ ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA ก็พบว่าพวกเขากำลังพยายามล้างภาพจำหน่วยงานรัฐที่เคยติดตา และมีกลไกสำคัญคือ พนักงานถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของที่นี่เป็นคนรุ่นใหม่ และ First Jobber ซึ่งพนักงานเหล่านี้ก็ไม่ได้มีหน้าที่ทำตามนายสั่ง เพราะมีวัฒนธรรมองค์กรที่บอกว่าทุกคนเสนอโครงการได้เท่าที่อยากทำ แต่มีข้อแม้ว่าต้องเรียนรู้ทุกกระบวนการของงานชิ้นนั้นตั้งแต่เริ่มต้น วัฒนธรรมและวิธีการทำงานหลายอย่างที่ราวกับลบภาพจำหน่วยงานราชการที่คุ้นเคยกันไปโดยสิ้นเชิง NIA มีการสนับสนุนให้คนทำงานอ่านติดตามทุกข่าวสารทั้งแบบภาพรวมและเจาะลึกไปในแต่ละอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพราะต้องก้าวให้ทันคนรุ่นใหม่ สตาร์ทอัปที่ผุดขึ้นทุกวัน หรือองค์กรเอกชนที่ไม่เคยหยุดพัฒนา และตัวผู้บริหารสูงสุดยังไม่ปิดกั้นหากเก่งจากที่นี่แล้วจะไปโตที่อื่น เปิดโอกาสให้ค้นหาตัวเองได้เต็มที่ ภายใต้ความเป็นมืออาชีพ เพราะอยากให้ที่นี่เป็นองค์กรของคนรุ่นใหม่อย่างแท้จริง NIA คืออะไร หน่วยงานที่สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมของประเทศ ทำงานกับภาคเอกชนและภาคสังคมเป็นหลัก แต่ก็มีความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในระบบ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน คนรุ่นใหม่ รวมทั้งสถาบันการศึกษาที่อยากนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยมาแปลงเป็นนวัตกรรมและสามารถใช้งานได้จริง เป้าหมายของเราคือทำให้ประเทศมีระบบนวัตกรรมที่เข้มแข็ง ตอบโจทย์อนาคตในระยะสั้น กลาง ยาว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องอาศัยระบบที่แข็งแกร่ง คนรุ่นใหม่ที่พึ่งเข้ามาอยู่ในระบบ หรือผู้ที่อยู่มานานแล้วก็ต้องมีการพัฒนาความสามารถให้เก่งขึ้นเรื่อย ๆ เพราะหัวใจสำคัญของการพัฒนาคือคน ถัดมาคือการมีแพลตฟอร์มแล้วก็โครงสร้างที่เอื้อให้พวกเขาเหล่านั้นได้แสดงฝีมือ NIA ทำงานร่วมกับ ‘คนรุ่นใหม่’ […]

วัดชลประทานรังสฤษดิ์ ออกแบบอย่างเข้าใจชาวพุทธยุคใหม่ ปฏิรูปพุทธวิถีให้เข้าถึงง่าย

ไม่เข้าวัด ห่างไกลวัดออกไปทุกที ถ้าไม่ไปทำบุญ หรืองานศพ ก็ไม่รู้จะพาตัวเองเข้าวัดไปทำอะไร เรารู้สึกแบบนั้นเสมอ แต่เมื่อได้มาเยือน วัดชลประทานรังสฤษดิ์ พระอารามหลวง ละแวกปากเกร็ด นนทบุรี ความคิดที่ขยับออกจากวัดกลับกลายเป็นความรู้สึกอยากชิดใกล้ ผ่านกิจกรรมทางพุทธศาสนารูปแบบใหม่ และงานดีไซน์ร่วมสมัยชวนเข้าหา สู่วัดบันดาลใจสำหรับพุทธศาสนิกชนยุคใหม่ หนึ่ง วัดชลประทานรังสฤษดิ์ คือวัดที่ออกแบบโดยยึดหลักสัปปายะ หรือการออกแบบให้สะดวกสบายกับพุทธบริษัท หรือพุทธศาสนิกชน สอง วัดชลประทานรังสฤษดิ์ คือวัดที่เปิดให้จัดงานที่เป็นกุศล ปราศจากอบายมุข เช่น งานแต่งงานอย่างเรียบง่ายในรูปแบบธรรมสมรส สาม วัดชลประทานรังสฤษดิ์ คือวัดที่มีนวัตกรรมการฌาปนกิจเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่รับพวงหรีด เผาไร้ควัน และมีหอมนุษยชาติ ดิจิทัลอัฐิ ทั้งสามข้อข้างต้นเป็นเพียงน้ำจิ้ม ที่จะชวนมารู้จักวัดชลประทานรังสฤษดิ์อย่างถึงแก่นผ่าน 3 บทต่อจากนี้ที่เราตั้งใจเขียน และเต็มใจนำเสนอเพื่อเชิญชวนชาวพุทธรุ่นใหม่ขยับเข้าใกล้ แล้วมองวัดในมุมที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป  ผู้สร้าง วัดชลประทานรังสฤษดิ์ สร้างขึ้นในปี 2502 โดย ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ก่อนปี 2503 ได้อาราธนา ท่านปัญญานันทภิกขุ มาเป็นเจ้าอาวาส ด้วยความศรัทธาในการสอนธรรมะแนวใหม่ที่เปลี่ยนจากการ ถือใบลาน นั่งเทศน์บนธรรมาสน์ มาเป็นการยืนพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมยกตัวอย่างที่ร่วมสมัยและใกล้ตัวชาวพุทธ […]

Vivin Grocery ร้านชำของคนฝรั่งเศสที่รวมวัตถุดิบ Local มาตรฐาน Global จากทั่วไทยไว้ที่เอกมัย

VIVIN Grocery ร้านชำของคนฝรั่งเศสที่อยากขายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นไทยคุณภาพให้คนไทยชิม และรู้ว่าของไทยก็มีดี

ตามสั่ง-ตามส่ง Delivery ของชุมชนลาดพร้าว 101 ที่คิดค่าส่งเท่านั่งวินฯ ค่าอาหารเท่ากินที่ร้าน

คงไม่ต้องบอกว่าวันๆ หนึ่ง เราใช้บริการเดลิเวอรีส่งคน-ส่งอาหารบ่อยขนาดไหน อย่างต่ำก็ 1 – 2 ครั้ง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่หลายคนยอมจ่ายเพื่อแลกความสะดวกสบาย และไม่ต้องหงุดหงิดกับการคมนาคมอันยุ่งเหยิงให้ปวดหัว แค่นั่งรอสบายๆ แล้วเอาเวลาไปทำอย่างอื่นแทน ยิ่งเผชิญหน้ากับสถานการณ์โควิด-19 หลายคนคงไม่รู้สึกสบายใจเวลาออกไปข้างนอกเหมือนเก่า ถ้าให้เลือกใช้ขนส่งสาธารณะก็ต้องคิดหนัก ยอมจ่ายเพิ่มอีกสักนิดเรียกบริการรถดีกว่า หรือตัดปัญหาไปนั่งร้านอาหารด้วยการฝาก ‘ฮีโร่’ ไปรับอาหารแล้วมาส่งถึงที่  แต่ร้านเล็กร้านน้อยบางร้านไม่สามารถเข้าร่วมแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ เพราะหักเปอร์เซ็นต์จากราคาอาหารแบบมหาโหดจนเหลือกำไรเพียงน้อยนิด ส่วนกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์ถูก Disrupt จากแพลตฟอร์ม บวกกับช่วงนี้คนไม่กล้าออกไปไหนเลยต้องปรับตัวหันมาส่งเดลิเวอรีควบคู่ไปด้วย เพื่อหารายได้อีกทางหนึ่ง กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้ โบ้-อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ นักวิจัยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สร้างแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า ‘ตามสั่ง-ตามส่ง’ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้กับคนในชุมชนภายใต้แนวคิด ‘เศรษฐกิจสมานฉันท์’ ที่ให้มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ร้านค้า และผู้บริโภคเป็นเจ้าของและได้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งทดลองใช้ถนนลาดพร้าว 101 เป็นที่แรก แพลตฟอร์มเดลิเวอรีฉบับชุมชน “ผมวิจัยเรื่อง Platform Economy หรือแอปพลิเคชันเดลิเวอรีที่เรารู้จักกัน แล้วสนใจคนสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากตัวแพลตฟอร์มเป็นคนที่ทำอาชีพเดิม เช่น คนขับแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง […]

ช่างชัย-วีรชัย อินทราช ช่างที่สร้างช่างโซลาร์เซลล์ชุมชนไปจุดไฟฟ้าให้สว่างทั่วแดนใต้

คุยกับ วีรชัย อินทราช แห่งภาคใต้โซล่าเซลล์ ผู้ที่สร้างช่าง Solar Cell ชุมชนให้เด็กๆ ไม่ต้องเดิน 7 กม. ไปชาร์จมือถือ

‘อัครา นักทำนา’ ช่างภาพที่ทำนิตยสารจนโตมาเป็น CTypeMag Gallery ให้ทุกคนมีพื้นที่แขวนรูป

ช่างภาพสตรีทที่หันมาจับนิตยสารออนไลน์อย่าง CTypeMag ตั้งแต่ปี 2016 ล่าสุดเขากระโดดจากออนไลน์มาทำแกลเลอรีเล็กๆ ชื่อ CTypeMag Gallery ในซอยภูมิจิตร ย่านพระโขนง

8 ลิสต์หนัง เพลง การแสดงสด ผลงานคนไทยที่ เอม ภูมิภัทร แนะนำ

ใครที่ดูแนนโน๊ะแล้วอินสุดๆ โดยเฉพาะ EP.5 กับบทบาทพี่ว้ากเถลิงอำนาจอย่าง ‘เค’ ที่แสดงโดย ‘เอม ภูมิภัทร’ ผู้สร้างความประทับใจด้านการแสดงที่คนดูต่างยกนิ้วให้ว่าเล่นโคตรถึง!  Urban Creature ขอประเดิมตัวแรกในคอลัมน์ Add to My List กับ ‘เอม ภูมิภัทร’ ที่เราอาสาพาทุกคนไปรู้จักความชอบ ความสนใจ ที่สะท้อนความคิดความอ่านของเขา ผ่านภาพยนตร์ สารคดี เพลง หนังสือ และการแสดงสดทั้งหมด 8 เรื่อง ที่เจ้าตัวจัดลิสต์มาให้ พร้อมเอ่ยปากว่าหลังจากอ่านบทสัมภาษณ์ของเขาจบ เราสามารถกดอุดหนุนผลงานฝีมือคนไทยผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย 01 Flu-Fool / B-Floor (การแสดงสด) “เรื่อง Flu-Fool จากคณะ B-Floor เป็นเรื่องที่ผมอยากให้ทุกคนได้ดู เนื้อหาของมันลากยาวมาตั้งแต่การก่อตั้งเสาหลักเมือง มาจนถึงการต่อสู้ครั้งล่าสุดของคณะราษฎร ซึ่งหลังดูเสร็จผมรู้สึกว่าทุกอย่างมันถูกอัดเข้าไปในร่างกายของเราพร้อมๆ กัน  “ผมประทับใจการเล่นกับ Daily Life Object ของ B-Floor มาเสมอ ตั้งแต่ไม้ไผ่ท่อนเดียว ม้วนกระดาษ […]

บอล ธิติกรณ์ 20 ปี ‘คนหาโลเคชัน’ ผู้พลิกเมืองกาญจน์เป็นอินเดีย เนปาล ใน The Serpent

‘ตื่นเต้นว่ะ’ คำถามในสมุดที่จดไว้ตั้งแต่เมื่อคืน แบตสำรองชาร์จเต็มเพื่อกันเครื่องดับระหว่างอัดเสียง และความอิน The Serpent ซีรีส์ฆาตกรรมจากเรื่องจริง ว่าด้วยฆาตกรต่อเนื่องยุค 70 อย่าง ชาร์ล โสภราช aka อาแลง (แสดงโดย Tahar Rahim) และแฟนสาว มารี อังเดร aka โมนิค (แสดงโดย Jenna Coleman) คู่รักที่ฉาบหน้าเป็นเศรษฐีขายอัญมณี ช่วยเหลือชาวต่างชาติที่มาหาอิสระใน ‘ไทย’ แต่เบื้องหลังเป็นนักต้มตุ๋นซึ่งลงมือฆ่าพร้อมชิงทรัพย์อย่างเลือดเย็น ทั้งหมด พาฉันมายืนอยู่ใน Kanit House หรือ บ้านคณิต อะพาร์ตเมนต์เลขที่ 77/5 สถานที่หลักที่ทั้งคู่หลอกเหยื่อมาสร้างเวทีฆาตกรรม ซึ่งดูได้ใน Netflix ถ้าอิงเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นช่วงปี 1970 บ้านคณิตตั้งอยู่แถวศาลาแดง แต่หากอิงจากสถานที่ถ่ายทำของซีรีส์ปี 2021 สองเท้าที่กำลังสัมผัสพื้นบ้านเบลล่าวิน อะพาร์ตเมนต์เล็กๆ เกือบท้ายซอยสุขุมวิท 4 คือคำตอบ สระว่ายน้ำคุ้นตากลางอะพาร์ตเมนต์ในซีรีส์ ตอนนี้ไม่มีน้ำสักหยด มันไม่ได้เปลี่ยนไปตามกาลเวลาหรอกนะ แค่กลับไปเป็นแบบเดิมก่อนถ่ายทำ เพราะสระนี้ร้างมานานแล้ว! […]

‘Soul Salt’ Paint Bar กลิ่นอายทะเลที่ยกหาดทรายมาไว้ริมเจ้าพระยาให้ทุกคนนั่งละเลงสี

รู้จัก Soul Salt เบนต์บาร์ริมเจ้าพระยา ที่ยกหาดทรายมาไว้กลางกรุง พื้นที่ที่ต้อนรับทุกคน

จากเพจอยากดูหนังถึง ‘Lorem Ipsum’ พื้นที่ฉายหนังทางเลือกให้คนหาดใหญ่ได้ชม

ย้อนกลับไปเมื่อ 4 – 5 ปีก่อน สมัยยังเป็นนักศึกษาคณะนิเทศฯ ทำให้กลุ่มคนที่วนเวียนอยู่รอบตัวล้วนแล้วแต่เป็นคอหนังด้วยกันทั้งสิ้น จำได้ว่าถึงจะเรียนอยู่เชียงใหม่ จังหวัดใหญ่แห่งเมืองเหนือ แต่ก็ไม่วายที่หนังใหญ่บางเรื่องจะไม่เข้าฉาย ซึ่งตอนนั้นเราก็ไม่รู้เหตุผลเหมือนกันว่าเป็นเพราะอะไร  นอกจากเสียงบ่นของเพื่อนพ้องน้องพี่แล้ว อีกหนึ่งความไม่พอใจที่เห็นกันชัดๆ คือในเฟซบุ๊กมีเพจเรียกร้องให้เอาหนังมาฉายที่จังหวัดตัวเองผุดขึ้นเต็มไปหมด ไม่ต่างกับที่หาดใหญ่ซึ่ง ต้น–พรชัย เจียรวณิช ในฐานะคนรักหนัง ก็อดประหลาดใจไม่ได้ว่าทำไมภาพยนตร์บางเรื่องที่ดังระดับประเทศ แถมยังเป็นหนังระดับฮอลลีวูดที่หากเปิดให้เข้าชมในโรงฯ คนดูก็ไม่โหรงเหรงแน่ๆ แต่ทำไมคนต่างจังหวัดกลับไม่มีสิทธิ์ได้ดู  เรื่องนี้ฉายเหอะ…คนต่างจังหวัดอยากดู ต้นเล่าให้ฟังว่าภาพยนตร์ที่จะฉายในหาดใหญ่ถูกสกรีนด้วย ‘สายหนัง’ (ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์) ที่จะคัดเลือกหนังที่มีแนวโน้มจะทำรายได้ดีเข้ามาฉายในพื้นที่ แต่บางทีก็แปลกใจเหมือนกันว่าทำไมภาพยนตร์อย่าง Sing Street ที่เป็นหนังแมส คนอยากดูก็เยอะทำไมไม่เข้าโรงภาพยนตร์ที่หาดใหญ่ ด้วยความเก็บกดก็เลยเปิดเพจชื่อ ‘เรื่องนี้ฉายเถอะ คนหาดใหญ่อยากดู’ เพื่อเป็นพื้นที่ในการแสดงออก  ก่อนจะพบว่ามีกลุ่มคนที่อัดอั้นตันใจอยู่ไม่น้อย จึงเข้าไปคุยกับโรงภาพยนตร์เพื่อหาทางออกร่วมกัน  “ทีแรกเขาบอกว่าให้ไปรวมกลุ่มกันมาว่ามีคนดูกี่คน แต่เราส่งตัวเลขไปก็ไม่เกิดอะไรขึ้น ก็เลยมองไปที่การเช่าเหมาโรงฯ แล้วไปดีลกับค่ายหนังแทน ทีนี้เราก็เป็นเหมือนคนจัดฉายหนัง ลองหาดูว่าเรื่องไหนมีศักยภาพที่จะดึงคนมาดูแล้วเราไม่เจ็บหนักมากกับราคาเหมาโรงฯ ที่สองหมื่นบาท บางเรื่องก็คัฟเวอร์ บางเรื่องก็เข้าตัว แต่อย่างน้อยก็เป็นช่องทางหนึ่งที่จะทำให้คนเข้าถึงหนังได้ “แต่ปัญหาคือดีลกับโรงหนังแต่ละครั้ง กลายเป็นต้องเริ่มใหม่ทุกรอบ เพราะคนที่รับเรื่องเป็นคนละคน แถมราคาที่เสนอมาก็ไม่เท่ากัน เลยรู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่าง” เมื่อผิดหวังกับระบบของโรงภาพยนตร์ และหวังจะสร้างคอมมูนิตี้ของคนรักหนังในหาดใหญ่ […]

บ้านบ่อแก้ว 12 ปีของมหากาพย์การต่อสู้ที่ ‘คนใน’ ถูกผลักไปเป็น ‘คนนอก’

บรรยากาศเงียบสงัด อากาศเย็นเยือกหลังฝนตก เราลืมตาขึ้นมาแต่เช้ามืดในที่พักใกล้ตัวเมืองขอนแก่น วันนี้เรามีภารกิจเดินทางไปที่ ‘ชุมชนบ้านบ่อแก้ว’ ตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เพื่อพูดคุยกับชาวบ้านเรื่องข้อพิพาทระหว่างชุมชนบ้านบ่อแก้วกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) เมื่อสิ้นเสียงเครื่องยนต์เป็นสัญญาณบอกว่าถึงที่หมายแล้ว นั่นเป็นเวลาก่อนเที่ยงหน่อยๆ ท้องฟ้าเริ่มมีแดดส่องผ่านรำไรราวกับเปิดประตูต้อนรับ นับตั้งแต่ขาสองข้างเหยียบลงบนพื้นที่ชุมชนบ้านบ่อแก้ว เจ้าบ้านก็ออกมาต้อนรับด้วยน้ำเย็นๆ และผลไม้ให้เติมความสดชื่นหลังจากนั่งเปื่อยบนรถตู้มาราวสองชั่วโมง เรามีเวลาอยู่ที่นี่เพียงครึ่งค่อนวันเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่เกิด และเก็บเรื่องราวมาฝากให้คุณได้อ่าน มหากาพย์การต่อสู้เริ่มขึ้นเมื่อปี 2516 รัฐบาลประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าภูซำผักหนาม ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทำกินของชาวบ้านในบ้านบ่อแก้ว ต่อมาปี 2521 กรมป่าไม้ให้สัมปทานเนื้อที่ 4,401 ไร่กับ อ.อ.ป. เข้าทำสวนป่าคอนสาร สำหรับปลูกไม้เศรษฐกิจ นำมาสู่การพยายามผลักชาวบ้านออกจากพื้นที่ด้วยข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่า ทั้งถูกตอกย้ำด้วย ‘ยุทธการทวงคืนผืนป่า’ ในแผนแม่บทป่าไม้ ภายใต้คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ซึ่งพยายามรื้อที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน ทว่าการผลักคนในออกจากพื้นที่ทำให้ที่นั่นสมบูรณ์ขึ้นจริงหรือ ยิ่งเป็นคนที่เรียกว่ารู้จักพื้นที่ดีกว่าใครยิ่งต้องละเอียดอ่อนต่อการทำความเข้าใจมิใช่หรือ การโดนผลักออก ขับไล่ ต่อสู้ สูญเสีย โดนพิพากษาว่าบุกรุกพื้นที่ทำกินของตนเอง สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับชาวบ้านบ่อแก้วอย่างขาดความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ มองเห็นคุณค่าวิถีชีวิตน้อยกว่าเอกสารทางราชการ การแก้ปัญหาอย่างไม่ยุติธรรมและใช้กฎเกณฑ์ที่พวกเขาไม่ได้มีส่วนร่วม ชาวบ้านจึงตั้งชุมชนบ้านบ่อแก้วขึ้นมาในปี 2552 เพื่อกดดันและพิสูจน์ให้เห็นว่า พวกเขาสามารถอยู่กับพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนมากกว่าการสัมปทานป่าเพื่อปลูกยูคาลิปตัส ยาวนานกว่า 12 ปี ที่ชาวบ้านตั้งชุมชนบ้านบ่อแก้วเพื่อต่อสู้เรียกร้อง และเมื่อวันที่ […]

1 7 8 9 10 11

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.