‘ไร่ไม่จน’ แบรนด์ท้องถิ่นราชบุรีที่เปลี่ยนภาพจำน้ำอ้อยให้เด็ด จนดังไปไกลระดับโลก

สินค้าดีๆ ในแต่ละท้องถิ่นไทยนั้นมีอยู่มากมาย “พีทีที สเตชั่น” จึงขอสนับสนุนพื้นที่ส่วนหนึ่งภายในสถานีเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการหยิบยกสินค้าจากท้องถิ่นขึ้นสู่ระดับประเทศผ่าน “โครงการไทยเด็ด” อีกหนึ่งโครงการที่มุ่งสร้างคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจที่ดีแก่ชุมชน เติมเต็มความสุขให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชนภายใต้แนวความคิด “การเป็นศูนย์กลางที่จะร่วมเติมเต็มความสุขและเติบโตไปพร้อมกับชุมชน (Living Community)” ของพีทีที สเตชั่น ด้วยการสนับสนุน แบ่งปันพื้นที่โอกาส และสร้างรายได้ให้แบรนด์เด็ดของแต่ละจังหวัดได้นำเสนออัตลักษณ์ วัฒนธรรม และของดีประจำถิ่น ณ ทุก พีทีที สเตชั่น ทั่วไทย ใครที่เคยเดินห้างฯ แถวบ้าน น่าจะคุ้นกับตู้ปั่นน้ำอ้อยเกล็ดหิมะหรือน้ำอ้อยวุ้นที่มีขายอยู่แทบทุกบิ๊กซี โลตัส เห็นความสำเร็จแบบนี้ ใครจะรู้ว่าตู้ปั่นๆ นี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความสำเร็จอีกขั้นที่น่าจะสร้างเป็นหนังได้อีกเรื่อง เพราะมันซ่อนการลุกขึ้นมาแก้ปัญหาเพื่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกร การตีโจทย์ธุรกิจไร่อ้อย หรือการเรียนรู้เทคโนโลยีพาสเจอร์ไรซ์ซึ่งเป็นเรื่องใหม่เมื่อสิบกว่าปีก่อนของชายวัยใกล้เกษียณ  หรือใครที่เคยเข้าพีทีที สเตชั่น และเห็นสินค้าของชุมชนบนชั้นวางสินค้าโครงการไทยเด็ดหรือร้านสะดวกซื้อทั่วไป น่าจะพอสะดุดตากับเจ้ากระป๋องสีเหลืองอมเขียวรูปทรงคล้ายกับปล้องอ้อยอยู่บ้าง รู้ไหมว่าเบื้องหลังของขวดนี้คือการพลิกชีวิตน้ำอ้อยเกล็ดหิมะที่กำลังจะถึงทางตัน ให้กลับมามีอนาคตที่สดใสอีกครั้ง สองความคุ้นนี้คือผลผลิตของ ‘ไร่ไม่จน’ ที่เริ่มต้นจากความพยายามของ คุณประกอบ เหรียญทอง ซึ่งส่งต่อมาให้ คุณปุ๋ม-ปภัสราภรณ์ เหรียญทอง ทายาทที่ตั้งใจจะพาไร่ไม่จนไปเป็นแบรนด์ระดับโลก ถ้าใครจะดูเบาว่าจะไหวเร้อ เราขอการันตีด้วยฉายาแบรนด์น้ำอ้อยพาสเจอร์ไรซ์เจ้าแรกของไทยพ่วงเจ้าของรางวัลดีไซน์แพ็กเกจจิ้งระดับโลกเลยเอ้า ยืดอายุน้ำอ้อย ยืดอายุธุรกิจ ชาวไร่อ้อยไม่ได้มีเงินรายเดือนเหมือนอาชีพอื่น จะมีก็แต่ […]

เมื่อกฎหมายกลายเป็นเครื่องมือทำร้ายคน : สำรวจและเข้าใจ ม.112 ผ่าน INTRODUCTION TO NO.112

คุณคิดว่าตัวอักษร 153 ตัวทำอะไรได้บ้าง? อาจจะนึกออกยากสักหน่อย เราเลยอยากยกข้อความหนึ่งให้เห็นภาพ “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี” สำหรับคนที่อ่านแล้วรู้สึกคุ้นๆ ข้อความเหล่านี้คือเนื้อหาของ ‘กฎหมายมาตรา 112’ หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กฎหมายหมิ่นพระมหากษัตริย์ กฎหมายหมิ่นเบื้องสูง กฎหมายหมิ่นฯ หรือชื่อใดๆ ก็ตามที่แต่ละคนจะสะดวกเรียก หากสื่อความหมายเดียวกัน ไม่นานมานี้ กระแสการพูดถึงกฎหมายมาตรา 112 นี้ลุกลามและเข้มข้นเคียงคู่ไปกับความร้อนระอุทางการเมืองที่ซัดกระหน่ำมากขึ้นทุกวัน  อาจเพราะมีผู้คนมากมายถูกตีตราต้องโทษ ไปจนถึงจองจำด้วยกฎหมายนี้ ด้วยเพราะสิ่งที่พวกเขาทำคือการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงเพื่อชีวิตที่ดีกว่า อาจเพราะความผิดแผกแปลกเพี้ยนของการตีความและการบังคับใช้ ที่หลายๆ ครั้งดูเป็นการตั้งใจปิดปากคนที่พูดเรื่องที่คนส่วนหนึ่งไม่อยากได้ยิน  อาจเพราะชุดตัวอักษรที่มีความยาวเพียง 2 บรรทัดเมื่อถูกพิมพ์ลงบนกระดาษ และสั้นกว่าหลายๆ สเตตัสเฟซบุ๊ก หรือทวีตในทวิตเตอร์ ได้กลายเป็นเครื่องมือกดขี่ ทำร้ายและทำลายชีวิตของใครหลายๆ คนอย่างไม่อาจหวนคืน เมื่อสิ่งที่เคยหลบซ่อนและตั้งอยู่บนที่สูงถูกหยิบยกขึ้นมาตั้งคำถาม การทำความเข้าใจจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่ง ดังนั้นแล้ว ทาง iLaw จึงจัดทำหนังสือ Introduction to No.112 : 12 คำถามเพื่อทำความเข้าใจกฎหมายอาญา […]

Mob T-shirts อุดมการณ์และตัวตนบนเสื้อผ้า

เมื่อต้นปี 2563 การชุมนุมในไทยได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวของผู้ไม่ยอมจำนน คนที่ไม่ยอมถูกกดขี่เริ่มออกมาส่งเสียงเรียกร้อง ไม่ว่าจะเป็นเสียงที่ตะโกนจากปาก ปรากฏการณ์บีบแตรรถยนต์ยาวนับหลายกิโลเมตร แฮชแท็กในโลกออนไลน์ การชูป้ายข้อความ หรือแม้กระทั่งสิ่งที่อยู่แนบชิดติดตัวที่สุด นั่นก็คือเสื้อผ้า

FYI

“สกาลา ต้องเป็น Public Space ไม่ใช่ห้างฯ” เนติวิทย์ ชวน Save ลมหายใจของสกาลา

คนไทยโบกมือลา ‘สกาลา’ โรงหนังสแตนด์อะโลนอายุ 52 ปี แห่งเดียวที่หลงเหลือในกรุงเทพฯ ไปแล้ว 1 ปีเต็ม เนื่องจากผู้บริหารทนสู้ต่อไปไม่ไหว ยิ่งไปกว่านั้นคือการขาดรายได้ช่วงโควิด-19 เพราะรัฐบาลสั่งปิดพื้นที่แบบไร้ซึ่งมาตรการเยียวยา ส่งผลให้อุตสาหกรรมหนังไทยทั้งองคาพยพต้องสั่นคลอน ซ้ำร้ายยังบงการประชาชนให้อยู่บ้าน อย่าการ์ดตก ในขณะที่ผู้คนและผู้ประกอบการพยายามกุมลมหายใจเฮือกสุดท้ายของตัวเองไม่ให้ถูกพรากไป เก่งแต่สั่งห้าม แต่ไม่ยอมส่งต่อความเจริญให้ประชาชนทุกคนสักที แม้สกาลาปิดม่านลงอย่างถาวร แน่นอน ความทรงจำของผู้คนที่ตบเท้าเข้ามาซื้อตั๋วหนัง หรือเดินผ่านต่างจดจำได้ว่าอาคารนี้มีเสน่ห์ล้นเหลือ และเป็นแลนด์มาร์กสำคัญที่อยู่คู่สยามมายาวนาน Philip Jablon เจ้าของเพจ The Southeast Asia Movie Theater Project ผู้ออกเดินทางตามล่าความทรงจำเกี่ยวกับโรงหนังสแตนด์อะโลนทั่วภูมิภาค ยังยกย่องให้สกาลาเป็นโรงหนังที่งดงามที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทว่าวันนี้สถาปัตยกรรมทรงคุณค่าสไตล์ Art Deco และพื้นที่ความทรงจำแห่งนี้กำลังจะสูญหายไปตลอดกาล ‘สกาลา’ อาจจะจากไปแบบไม่มีวันหวนกลับ หากสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่หยุดโครงการรื้อ ทุบ และพัฒนาอาคารแห่งนี้โดยปราศจากการให้คนในสังคมมีส่วนร่วมตัดสินใจ สกาลาอาจกลายเป็นห้างฯ แห่งใหม่ ที่มีอยู่รอบจุฬาฯ จำนวนมาก ในขณะที่ประเทศแทบจะไม่มีพื้นที่สาธารณะรองรับชีวิตประชาชน อืม…แล้วจะหยุดสร้างห้างฯ ได้หรือยัง? หรือเห็นว่าประชาชนมีพื้นที่สาธารณะเพียงพอแล้ว คุยกับ เนติวิทย์ […]

‘เต่าบิน’ คาเฟ่ 1 ตร.ม. น้องตู้บุญเติมที่ Disrupt เครื่องดื่มตู้กดมาเสิร์ฟกาแฟบดสดทุกแก้ว

เมื่อพูดถึงตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติเชื่อว่าภาพแรกที่ผุดเข้ามาในหัวของใครหลายคนคงหนีไม่พ้นประเทศญี่ปุ่นใช่ไหมครับ เพราะแดนปลาดิบมีตู้นู่นนี่นั่นให้กดเต็มไปหมดทั้งของกินของใช้ของเล่นของที่ระลึกและอีกสารพัดของ ที่ตั้งรอให้เราหยอดเหรียญอยู่ทุกหัวมุมถนนยังไม่พอ แต่ยังไปปรากฏตัวทั้งในการ์ตูนและภาพยนตร์ จนกลายเป็นของคู่กันไปแล้ว  สำหรับประเทศไทยเองแม้จะไม่มีบริการหลากหลายขนาดนั้นแต่ก็ต้องบอกว่าตู้อัตโนมัติก็ได้รับความนิยมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน โอเคเราอาจจะไม่ได้มีตู้กดน้ำทุกที่แต่ก็มีให้เห็นทุกห้างฯ หรือเดี๋ยวนี้แทบจะทุกคอนโดมิเนียมและสำนักงานด้วยซ้ำไป  อีกทั้งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาคงไม่มีใครไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยินชื่อ “บุญเติม” ตู้สีส้มที่ประจำการหน้าร้านสะดวกซื้อและร้านขายของชำ ที่พึ่งยามยากของประชาชนที่เงินในโทรศัพท์หมด แต่มีนัดต้องโทรหาแฟนในคืนนี้หรือบางครั้งก็เดี๋ยวนี้เลยด้วยซ้ำ  ซึ่งวันนี้ ‘เต่าบิน’ น้องใหม่ในเครือบริษัทผู้ปลุกปั้นบุญเติมให้โด่งดัง กำลังจะปฏิวัติวงการตู้เครื่องดื่มอัตโนมัติให้พลิกโฉมหน้าไปโดยสิ้นเชิง เพราะมีน้ำขายครบตามที่คุณคาดหวัง แต่ส่วนที่ยังคิดไปไม่ถึงแบบน้ำกัญชา เวย์โปรตีน หรือกาแฟสดบดใหม่ทุกแก้วจากเอธิโอเปียก็ดันมีให้เลือกกับเขาด้วย  ไม่ใช่นะครับ สิ่งที่กล่าวไปข้างต้นไม่ใช่การบลัฟเหมือนตอนเกริ่นเข้าเรื่องแบบที่คุณเห็นโฆษณาทั่วไป เพราะเราไม่ได้รับสปอนเซอร์เลยสักบาทเดียว แต่ที่เอามาเล่าสู่กันฟังเพราะเห็นว่าเต่าบินมีศักยภาพขนาดนั้นจริงๆ  จาก บุญเติม ถึง เต่าบิน  แต่เดิมบริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด มีตู้บุญเติมเป็นผู้นำทัพที่เริ่มจากเป็นผู้ให้บริการเติมเงินมือถือก่อนจะขยายจักรวาลบริการไปหลากหลายทั้งขายซิมโทรศัพท์ เติมเกมออนไลน์ จ่ายค่าสาธารณูปโภค ซื้อประกัน บริจาคเงินและอีกเยอะที่แปลว่าเยอะจริงๆ ฟอร์ทยังมีบริการอีกหลายอย่าง ทั้งตู้ขายเครื่องดื่มอัตโนมัติ ตู้กดกาแฟ หรือตู้จำหน่ายสินค้าทั้งขนมถุงหรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เรียกว่าถ้าพูดถึงตู้หยอดเหรียญหรือตู้สินค้าอัตโนมัติก็ไว้ใจฟอร์ทได้เลย เพราะคลุกคลีกับธุรกิจนี้มานานมาก แต่กับเต่าบินถือเป็นก้าวที่ล้ำกว่าตู้ที่ผ่านๆ มา เพราะมีความสามารถทำอะไรก็ตามที่เจ้าอื่นทำไม่ได้เต็มไปหมด  “ตู้เต่าบินเป็นเทคโนโลยีที่ค้นคว้าและผลิตจากฝีมือคนไทยทั้งหมด ไม่ได้นำเข้ามาจากประเทศไหน และไม่ได้ก๊อบใครมาทั้งสิ้น” ตอง-วทันยา อมตานนท์ Business […]

FYI

เรื่องเล่าของโลกที่ย้อมด้วยเฉดสีที่คนอื่นบอกว่าผิดเพี้ยนของคนตาพร่องสี

เราต่างรู้ว่าบนโลกใบนี้มีสีนับล้านสี และการมองเห็นสีก็ล้วนมีความสำคัญกับมนุษย์ในหลายๆ มิติ ตั้งแต่พัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กผ่านสีสันรอบตัว การแยกแยะอาหารสุก ไม่สุก หรือมีพิษด้วยสีสัน การเดินทางในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการทำงานที่ทั้งหมดล้วนเกี่ยวพันกับสีสันทั้งสิ้น  มีงานวิจัยกล่าวว่า เมื่อเราเดินผ่านคนจำนวน 100 คน จะมีถึง 16 คน ที่มีความบกพร่องทางด้านการมองเห็นสีแตกต่างจากคนทั่วไป หรือเป็นอาการ Color Vision Deficiency (CVD) ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่าอาการพร่องสี แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นคนช่างสังเกตสักแค่ไหน ก็ไม่มีทางรู้เลยว่ามีใครบ้างที่ผิดปกติ เพราะอาการดังกล่าวไม่สามารถระบุได้จากรูปลักษณ์ภายนอกได้เลยว่ามีความผิดปกติหรือไม่  รวมถึงชายหนุ่มร่างเล็กสวมเสื้อสีแดงสด เจ้าของเพจ Rights for Color Blind People – กลุ่มเพื่อสิทธิคนตาบอดสี ชายที่เราอยากคุยกับเขาในฐานะ คนตาพร่องสีผู้ขับเคลื่อนเรียกร้องสิทธิให้คนตาพร่องสีทั่วประเทศไทยมีชีวิตที่ดีขึ้น เท่าเทียมกับคนทั่วไปมากว่า 10 ปี “ตอนเด็กๆ ผมได้แต่ฟังคนอื่นบอกว่าเราเป็นคนตาพร่องสีแต่เราก็ไม่ได้สนใจอะไร เราไม่รู้จักด้วยซ้ำว่าอาการนี้คืออะไร เราก็ใช้ชีวิตอยู่กับมัน ในความคิดของเราสีทุกอย่างก็เป็นปกติ ผมมารู้ว่าตัวเองมีอาการตาพร่องสีตอนที่ไปสอบตำรวจ ในตอนนั้นผมสอบผ่านข้อเขียนด้วยความยากลำบาก แต่ก็ต้องมาสอบตกด้วยเหตุผลเพราะผมไม่สามารถแยกตัวเลขบนแผ่นทดสอบชุดนี้ที่ให้คุณทำได้” นอกจากความสับสนที่เกิดขึ้น กรที่พึ่งรู้ว่าตัวเองตาบอดสีในวัย 35 ปี ทำให้กรตระหนักได้ว่าคงมีคนอีกไม่น้อยที่ประสบปัญหาเหมือนกับเขา ที่ไม่สามารถทำตามความฝันเพียงเพราะมองเห็นสีไม่เหมือนคนปกติทั่วไป […]

บิลด์อารมณ์คนดูด้วยการตัดต่อไปกับ โจ-หรินทร์ แพทรงไทย นักตัดต่อเจ้าของรางวัลสุพรรณหงส์

คนตัดต่อหรือนักลำดับภาพ อาชีพนักเล่าเรื่องแห่งวงการภาพยนตร์ อาชีพที่เปรียบเสมือนเชฟปรุงอาหาร ผู้ผสมผสานวัตถุดิบที่เรียกว่า Footage นับสิบนับร้อยชั่วโมงให้กลายเป็นภาพยนตร์ขนาดประมาณ 2 ชั่วโมงรสชาติกลมกล่อมให้ผู้ชมได้เสพกัน และความสำคัญของอาชีพนี้อยู่ตรงที่ว่าไม่ว่าคุณจะมีวัตถุดิบชั้นยอดสักแค่ไหน จะถ่ายภาพออกมาสวยตระการตา หรือการแสดงเทพดุจ แอนโทนี่ ฮอปกินส์ หากขาดนักปรุงชั้นยอดที่เรียกว่านักตัดต่อ (Editor) ภาพยนตร์เรื่องนี้คงไม่มีทางจะอร่อยลงตัวได้  เพื่อพาไปรู้จักกับอาชีพนี้ให้มากขึ้นเราจึงอยากชวนไปพูดคุยกับ โจ-หรินทร์ แพทรงไทย นักตัดต่อรุ่นใหม่ ผู้ฝากผลงานให้วงการภาพยนตร์ไทยทั้ง Take Me Home : สุขสันต์วันกลับบ้าน หนังผีที่ได้เข้าชิงชมรมวิจารณ์บันเทิงสาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม และเสียงตอบรับที่ดีอย่างล้นหลาม จากผลงานเรื่อง Where We Belong ที่ประสบความสำเร็จจนได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ สาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นรางวัลที่การันตีความสามารถและประสบการณ์ของการเป็นนักตัดต่อมืออาชีพของเขาได้เป็นอย่างดี เราชวนเขามาพูดคุยถึงชีวิตการทำงาน และเส้นทางการเติบโตเป็นนักตัดต่อฝีมือดีคนหนึ่งของวงการภาพยนตร์ไทย  01 เด็กหนุ่มผู้ตกหลุมรักภาพยนตร์ ตั้งแต่หนังสองเรื่องแรกที่ดูกับพ่อ ย้อนกลับไปในวัยเด็กจุดเริ่มต้นของเส้นทางอาชีพนักตัดต่อของโจ เกิดขึ้นจากเหตุการณ์การนั่งดูภาพยนตร์สองเรื่องกับพ่อในสมัยที่ภาพยนตร์ยังเป็นม้วนวิดีโอ โดยหนัง 2 เรื่องในความทรงจำของเขาคือเรื่อง Star Wars: Episode IV – A New Hope และ […]

NDV-HXP-S วัคซีนโควิด-19 จากไข่ไก่ฟัก ราคาไม่แพง ผลิตได้เองโดยนักวิจัยไทย

หลายเดือนมานี้เราตั้งคำถามกับ ‘ความมั่นคง’ ของประเทศ เมื่อนานาชาติสลัดหน้ากากอนามัยและออกมาใช้ชีวิตแบบที่คุ้นเคย ระบบสาธารณสุขที่เคยวิกฤตเริ่มกลับเข้าร่องเข้ารอย ในขณะที่สถานการณ์ของประเทศไทยยังคงต้องหาทางออกกันต่อไป เมื่อความมั่นคงของประเทศก้าวไปไกลกว่าอาวุธยุทโธปกรณ์ แต่ว่ากันด้วยเรื่องเทคโนโลยีและ ‘สาธารณสุข’ Urban Creature จึงพาไปสนทนากับ ศ. พญ.พรรณี ปิติสุทธิธรรม หัวหน้าโครงการวิจัยศูนย์วัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ที่กำลังวิจัยความปลอดภัยให้ประเทศผ่านการผลิตวัคซีนโควิด-19 จากไข่ไก่ฟัก ที่ได้ความร่วมมือจากองค์กรนานาชาติในการแบ่งปันเทคโนโลยีเพื่อร่วมกันฝ่าวิกฤต จนออกมาเป็นวัคซีนที่ราคาไม่แพง กระบวนการไม่ซับซ้อน และผลิตได้เองในประเทศไทย วัคซีนจากไข่ไก่ การผลิตวัคซีนสามารถนำวัคซีนที่อยู่ระหว่างการวิจัยหรือผลิตออกมาแล้ว มาปรับปรุงหรือต่อยอดได้หากมีโรคใหม่เกิดขึ้น แต่เดิมศูนย์วัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ทำการวิจัยวัคซีนหลากชนิดเป็นทุนเดิมทั้งหัด โปลิโอ เอดส์ หรือมะเร็ง แต่จุดเปลี่ยนสำคัญของเรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงการระบาดของไข้หวัดใหญ่ H1N1 เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว องค์การเภสัชกรรมได้รับเทคโนโลยีวัคซีนไข่ไก่ฟัก (Egg-based Flu Vaccine) จากประเทศรัสเซีย จนผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มาใช้ได้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน “เมื่อหลายปีก่อนเราไม่มีบุคลากรที่มีความรู้และศักยภาพเพียงพอ เพราะว่าการผลิตวัคซีนถือเป็นเรื่องใหญ่ที่มีการลงทุนเยอะมาก ในการคิดค้นปกติแล้วต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าสิบปี ต้องใช้ทั้งเวลาและต้นทุนมหาศาล  “สมมติว่าเราคิดหรือค้น Antigen (สารก่อภูมิต้านทาน) ขึ้นมาตัวหนึ่ง ก็ไม่ได้หมายความว่าสารตัวนี้จะก่อให้เกิดภูมิต้านทานที่จะใช้ป้องกันโรคได้ บางครั้งพบเป็นร้อยตัวก็ยังไม่สำเร็จ” […]

CT 125 ออกไปสัมผัสธรรมชาติ แบบไม่สร้างขยะให้กับโลก

เดินทางอย่างไรไม่ให้ทำร้ายโลก ออกจากเมืองหลวงไปสัมผัสธรรมชาติทั้งที ทำไมต้องทิ้งพลาสติกไว้ข้างหลัง เราไม่เอาด้วยกับการท่องเที่ยวที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม ขอลองไม่พก ไม่ใช้พลาสติกสักชิ้นเดียว ไม่แน่ใจว่าทำได้หรือเปล่า แต่ไม่ลองก็ไม่รู้ กับ Experiment Trip คอลัมน์แกะกล่องของ Urban Creature ที่แบกการทดลองไว้บนบ่า และก้าวออกไปท้าทายดูสักครั้ง เราจึงอยากบิด New CT 125 เพื่อนคู่ใจของสายผจญภัย ที่หนนี้มาในลุคใหม่ ‘Safari Green’ เฉดสีเขียวที่เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ออกไปค้นหาว่าการแคมปิ้งจะไม่สร้างขยะ และการท่องเที่ยวกับความยั่งยืนจะไปด้วยกันได้จริงไหม กับมอเตอร์ไซค์ที่พร้อมลุยทุกสถานการณ์ ปลุกจิตวิญญาณแห่งการผจญภัยให้ตื่นจากการหลับใหล กับมอเตอร์ไซค์ที่ออกแบบมาเพื่อนักเดินทางโดยเฉพาะ เริ่มบิดกุญแจที่กรุงเทพมหานคร แล้วปักหมุดที่สวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี กับระยะทางที่ไม่ใกล้ไม่ไกลราว 200 กิโลเมตร เสน่ห์ของการขับมอเตอร์ไซค์ท่องเที่ยวคือสายลมที่ปะทะหน้าตลอดเวลา และยิ่งพ้นจากตัวเมืองไกลขึ้น ถนนเริ่มบีบแคบลงเหลือเพียงสองเลนที่สวนกัน วิวข้างทางเปลี่ยนจากตึกสูงใหญ่และอาคารพาณิชย์เป็นต้นไม้ที่ห้อมล้อมตลอดสองข้างทาง ก็ยิ่งทำให้เรารู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น เราออกเดินทางตั้งแต่เช้ามืด เวลาที่ผู้คนส่วนมากยังคงหลับใหล ในเวลาที่ดวงอาทิตย์ยังไม่คืนแสงสว่างกลับมาให้ New CT 125 เพื่อนคู่ใจของเราก็เด่นมาแต่ไกลด้วย Full LED Lighting ทรงกลมคลาสสิก นอกจากคอยบอกหนทางข้างหน้าให้เราได้เลือกเดินแล้ว ยังเป็นการแจ้งเพื่อนร่วมทางคนอื่นว่ามีเราอยู่ตรงนี้ได้อย่างชัดเจน เที่ยวป่าต้องเที่ยวหน้าฝน […]

หนึ่งวันภารกิจเสียภาษีให้โลกกับ เม้ง-ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ และครอบครัว

เมื่อก่อนเคยคิดว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องไกลตัวเป็นภาพใหญ่ ทั้งเรื่องโลกร้อน ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ขยะใต้มหาสมุทร ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาดังกล่าวล้วนใหญ่เกินกว่าที่เราจะคิดแก้ไข คงต้องเรียกหาฮีโร่อย่าง Captain Planet สักคนมาต่อสู้ถึงจะเอาชนะได้ แต่จริงๆ แล้วสิ่งแวดล้อมมันอยู่รอบตัวตั้งแต่ตื่นขึ้นมาสูดหายใจรับเอาอากาศเข้าสู่ร่างกาย อาบน้ำ กินข้าว ไปจนถึงตอนเรานอน การหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมอาจไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการช่วยโลกทั้งใบ แต่อาจจะเริ่มจากโลกใบเล็กๆ ที่คุณแคร์ในชีวิตประจำวัน แต่บางคนก็ยังอาจไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ควรต้องเริ่มต้นอย่างไร ในการรักษาบ้านหลังใหญ่ที่ชื่อว่าโลก เราจึงชวนไปพูดคุยกับ ‘เม้ง’ ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ นักคิดสร้างสรรค์ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม กับภารกิจการเสียภาษีคืนให้โลกด้วยการหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน ในฐานะคนธรรมดา และในฐานะพ่อ ที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพราะอยากให้โลกของลูกดีขึ้นในอนาคต  สอง สาม ก้าวของ ‘เม้ง’ คนธรรมดาที่หันมาสนใจสิ่งแวดล้อม คนมักจะรู้จักเม้งในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ชูใจ กะ กัลยาณมิตร’ เอเจนซีที่มีเป้าหมายในการทำงานเพื่อสังคม แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าในอีกมุมหนึ่งเขาคือตัวจริงด้านสิ่งแวดล้อม ที่ชักชวนตัวเองและคนรอบข้างให้เห็นถึงความสำคัญกับธรรมชาติให้มากขึ้น เราจึงเริ่มต้นบทสนทนาด้วยคำถามที่ว่าเม้งเริ่มสนใจสิ่งแวดล้อมได้ยังไง  “คำถามนี้มีคนถามผมหลายครั้ง มันเป็นคำถามที่ตอบยากมากเลยนะ” เม้งหยุดคิดอยู่ครู่ใหญ่ และเล่าเรื่องราวช่วงเรียนมหาลัยให้เราฟังว่า ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมของเขาเกิดในช่วงมหาวิทยาลัย ซึ่งตอนนั้นเม้งเลือกเรียนภูมิสถาปัตยกรรม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติที่สุดคณะหนึ่ง เพราะต้องไปลงพื้นที่ ต้องเข้าป่า ดูต้นไม้ […]

Sunne Voyage เรือนำเที่ยวมิติใหม่ในระยองชูดีไซน์ร่วมสมัยและงานคราฟต์ระดับเทพฝีมือช่างต่อเรือ

Sunne Voyage เรือท่องเที่ยวลำใหม่จากจังหวัดระยองที่ชุบชีวิตเรือประมงเก่าด้วยดีไซน์ของคนรุ่นใหม่ และฝีมือของช่างเรือประมงรุ่นเก๋าที่มิกซ์ให้เข้ากันได้อย่างลงตัว

“แล้วฉันควรจะทำยังไง ห๊ะ” มวลความเศร้าที่ไม่มีคำตอบใน ‘ควรจะทำยังไง’ ของภัค fluffypak

“แล้วฉันควรจะทำยังไง ห๊ะ” หลังจากฟังท่อนสุดท้ายของเพลง ‘ควรจะทำยังไง (Dead End)’ ซิงเกิลล่าสุดของ fluffypak จบ เรารู้สึกถึงอะไรบางอย่าง เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย อาจจะเป็นความเศร้า หรือความอึดอัดใจบางอย่างซ่อนอยู่ลึกๆ ในใจของคนฟังอย่างเราที่เพลงนี้นำพาให้เอ่อล้นขึ้นมาก็เป็นได้ ด้วยเนื้อเพลงตรงไปตรงมา และเสียง Synthesizer กระแทกใจเหมือนเจ้าของเพลงอยากจะระเบิดอารมณ์ออกมาในตอนท้าย ทำให้ต้องกดฟังเพลงนี้ซ้ำอีกครั้งเพื่อหาคำตอบ การพบกันครั้งแรกของเรากับเจ้าของเพลงอย่าง ณภัค นิธิพัสกร หรือ ‘ภัค fluffypak’ นั้นแตกต่างจากความรู้สึกแรกที่เราได้ฟังเพลงเนื้อหาเร้าอารมณ์นี้อย่างสิ้นเชิง ภัคมาถึงสถานที่สัมภาษณ์อย่างรีบร้อน แต่ก็ทักทายทุกคนในห้องด้วยความสดใส fluffypak ศิลปินจาก MILK! Artist Service Platform โปรเจกต์สนับสนุนศิลปินอิสระของค่าย What The Duck “ดนตรีเป็นเหมือน Safe Space ของเราที่ทำให้เรารู้สึกไปตามเสียงดนตรี ได้ระบาย ได้อยู่กับตัวเอง” ตั้งแต่มัธยมต้นภัคชอบฟังเพลงร็อก และมีวงดนตรีที่ชอบคือ Bodyslam พอเพลงป็อปเกาหลีเข้ามาก็ฟังตามเพื่อนๆ แต่ก็ยังไม่ทิ้งความเป็นขาร็อกเพราะภัคก็ยังฟังวงดนตรี Brit-rock อย่าง Arctic Monkeys ด้วย แต่จุดเปลี่ยนสำคัญคือการได้ชมภาพยนตร์ […]

1 6 7 8 9 10 11

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.