สมคิด คชาพงษ์ ช่างแทงหยวกสายวัดอัปสรฯ คนเกือบสุดท้ายผู้ต่อลมหายใจให้ศิลปะแทงหยวก

หากพูดถึงคำว่า แทงหยวก บางคนอาจแอบขมวดคิ้วเพราะนึกไม่ออกว่ามันคืออะไร หรือไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อนเลยด้วยซ้ำ แท้จริงแล้ว แทงหยวกคือศิลปะไทยโบราณชนิดหนึ่ง ที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมาจากการแทงหยวกกล้วยให้เป็นลวดลายสวยงามที่ปัจจุบันหาดูได้ยาก  ครั้งนี้ เราจึงพาย้อนเวลาไปท่องโลกศิลปะการแทงหยวกกับ คุณสมคิด คชาพงษ์ ครูช่างแทงหยวก สายวัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร ที่จะถ่ายทอดศิลปะแขนงนี้ให้ชมแบบไม่มีกั๊ก ก่อนวันสัมภาษณ์ คุณครูสมคิดยกหูโทรศัพท์บอกเราว่าเตรียมต้นกล้วยพร้อมแล้วนะ แถมยังเปรยถึงการตำน้ำพริกด้วยตัวเองเพื่อทำเมนูพิเศษอย่างขนมจีนและแกงเขียวหวานฟัก รอเลี้ยงพวกเราด้วย แค่นี้ก็ทำให้เราใจฟูมากๆ นับวันรอล้อหมุนออกเดินทางเพื่อตามรอยต้นกล้วยไปยังจังหวัดนนทบุรีบ้านคุณครูอย่างใจจดใจจ่อ จากหยวกกล้วยธรรมดา ถูกรังสรรค์ลวดลายได้อย่างงดงามเพียงปลายมีด นั่นคือเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปะที่เรียกว่า ‘การแทงหยวก’ นอกจากความประณีตละเอียดลออ สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือความมุ่งมั่นฝึกฝนจนชำนาญของช่างแทงหยวกที่ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่กี่คนแล้ว และคุณครูสมคิด คชาพงษ์ คือหนึ่งในช่างที่ลงมือแทงหยวกมาร่วม 50 ปี ทั้งยังเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยอย่างดีในแวดวงช่างแทงหยวก จากผลงานอันโดดเด่นจนได้รับการยกย่องให้เป็นครูช่างศิลปหัตถกรรม ช่างแทงหยวก ประจำปี 2563 จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) เด็กชายสมคิดแทงหยวกครั้งแรก วัยเด็กของหลายคนอาจสนุกสนานกับการวิ่งเล่น แต่สำหรับเด็กชายสมคิดการนั่งเรือเอี้ยมจุ๊นติดตามปู่กับพ่อ ออกไปแทงหยวกตามวัดต่างๆ กลายเป็นความสนุกอย่างหนึ่งในชีวิต จากเด็กน้อยที่ไม่ได้สนใจศิลปะแขนงนี้กลับซึมซับจนหันมาจับมีดแทงหยวกครั้งแรกตั้งแต่ชั้น ป.2 (โห ถ้าเทียบกับเราในวัยเดียวกันตอนนั้นคงยังวิ่งเล่นอยู่แน่ๆ) “การเดินทางในสมัยก่อนยังไม่เจริญ บางวัดหรือสถานที่ต่างๆ ถนนยังเข้าไม่ถึงเลยด้วยซ้ำ การเดินทางเลยใช้เรือเป็นหลัก ทำให้ช่างแทงหยวกในสมัยก่อนกระจายตัวอยู่ตามวัดในหัวเมืองต่างๆ ซะเป็นส่วนใหญ่ ครูเองก็เริ่มต้นซึมซับวิถีช่างแทงหยวกตั้งแต่ตอนนั้น สมัยก่อนตอนเป็นเด็ก […]

City in Bloom – ปลอมในจริง

เมื่อปลูกต้นไม้จริง ไฉนเลยผลและดอกที่ออกกลับกลายเป็น ‘สิ่งไร้ชีวิต’ ที่มองแล้วดูคุ้นตา จนเกิดเป็นภาพความลงตัวที่ไม่ลงตัวแบบไทยๆ ราวกับว่าธรรมชาติเบ่งบานออกดอกออกผลเป็นสิ่งนั้นจริงๆ ทำให้ต้องเหลียวมอง พร้อมตั้งคำถามถึงความแปลก และประโยชน์ใช้สอยทุกครั้งที่เดินผ่าน “บานเป็นขวดสีใส” “บานเป็นขวดหลากสี” “บานเป็นเปลือกไข่” “บานเป็นซีดี” “บานเป็นดอกไม้พลาสติก” “บานเป็นขวดคละสี” “บานเป็นดอกกระดาษ” “บานเป็นถุงพลาสติก” (แอบมีพวงมาลัย)

ว่าวจุฬา Originals : จักรกฤษณ์ อนันตกุล กับการถอดรองเท้ามาออกแบบเป็น Installation Art

“ดึงไปทางซ้าย วิ่งอีกๆ” เสียงน้องชายตะโกนเชียร์ฉันที่กำลังวิ่งว่าวตัวใหญ่ ลมพัดหอบมันสูงขึ้นๆ ขณะที่ขนาดของมันค่อยๆ เล็กลง จนดูเหมือนนกตัวน้อยบินลู่ลมอยู่บนฟ้า เชื่อว่าสมัยเด็กๆ หลายคนคงมีประสบการณ์วิ่งว่าวในท้องนา หรือเคยเห็นคนเล่นว่าวกลางท้องสนามหลวงกันมาบ้าง

ตามรอยย่านธุรกิจริมแม่น้ำเจ้าพระยา ‘ตรอกดิลกจันทร์’

เสียงคลื่นจากเรือกระทบฝั่ง ณ ‘ตรอกดิลกจันทร์’ หรือ ‘ชุมชนสมเด็จย่า’ ที่หลายคนคุ้นหู พื้นที่ชุมชนริมน้ำเจ้าพระยาที่ในอดีตย่านธุรกิจการค้าและการส่งออกที่เคยรุ่งเรืองมาเป็นเวลานาน ครั้งที่ประเทศไทยยังมีเส้นเลือดใหญ่เป็นการสัญจรและขนส่งทางน้ำเป็นหลัก ซึ่งส่งผลให้ความเจริญของธุรกิจการค้าขายกระจายตัวอยู่ในย่านนี้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโรงน้ำปลา โรงเกลือ โรงสีข้าว โรงทำชันยาเรือ หรือโรงงานทอผ้า ที่ในปัจจุบันแทบไม่หลงเหลือให้เห็นธุรกิจเหล่านั้นแล้ว  Urban Creature จึงออกเดินทางไปตามรอยชุมชนเล็กๆ ที่หากมีโอกาสนั่งเรือล่องแม่น้ำเจ้าพระยาจะสังเกตเห็นศาลเจ้าและบ้านเก่าริมน้ำโดดเด่นมาแต่ไกล นั่นแหละคือที่ตั้งของชุมชนตรอกดิลกจันทร์ ที่แม้เรื่องราวความเจริญรุ่งเรืองของการขนส่งสินค้าทางน้ำจะเป็นภาพที่เลือนรางในปัจจุบัน แต่ความทรงจำของผู้คนในชุมชนยังคงชัดเจนอยู่เสมอ ทุกย่านล้วนมีเรื่องราวที่แอบซ่อนอยู่ การออกเดินทางครั้งนี้ของคอลัมน์ Neighborhood จะพาไปลัดเลาะริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านธุรกิจที่เคยคับคั่งทั้งการส่งออกสินค้าทั้งในและต่างประเทศในสมัยที่การเดินทางและการขนส่งสินค้าด้วยเรือยังเป็นเส้นเลือดหลักของประเทศไทย ‘ชุมชนตรอกดิลกจันทร์’ หรืออาจคุ้นหูกันในชื่อ ‘ชุมชนสวนสมเด็จย่า’ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเขตคลองสาน กรุงเทพฯ ไม่ใกล้ไม่ไกลจากสะพานพระปกเกล้าเท่าไหร่นัก หากใครเคยมีโอกาสมางาน Art in Soi เทศกาลประจำปีย่านประวัติศาสตร์ริมน้ำ กะดีจีน-คลองสานแล้วล่ะก็คงคุ้นเคยกับย่านนี้พอสมควร ขณะเดียวกันหลายคนอาจยังไม่เคยได้สัมผัสย่านนี้เท่าไหร่ อาจคุ้นๆ ว่าเคยผ่านไปผ่านมาแต่ไม่เคยได้เข้าไปสักที ครั้งนี้ ‘ชุมชนตรอกดิลกจันทร์’ จะไม่ใช่ทางผ่านที่ถูกลืมอีกต่อไป ชุมชนตรอกดิลกจันทร์ ชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำ ประเทศไทยผูกพันกับสายน้ำมาโดยตลอดจนกลายเป็น ‘สังคมลุ่มแม่น้ำ’ ที่ทำเกษตรกรรม ทำสวน ทำนา เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญทั้งกับภายนอกและภายใน เพื่อทำการค้าขายและส่งออก  ขึ้นชื่อว่าสายน้ำย่อมมีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา […]

‘มุมเดิม เวลาเดิม ต่างปี’ ชุดภาพถ่ายถนนข้าวสาร 13 เมษาที่หยุดอยู่ที่เดิมเป็นปีที่ 2

“ถนนข้าวสารปีก่อนในวันที่ 13 เมษายนเป็นอย่างไร วันนี้ก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ปี 2563 – 2564 ทุกอย่างยังคงเงียบงัน” เป็นปีที่ 2 แล้วที่เราไม่ได้เห็นบรรยากาศคึกคักของเทศกาลสงกรานต์บนถนนข้าวสารแม้ปีนี้พ่อค้าแม่ขายและร้านรวงต่างๆ รอบถนนข้าวสารจะมีการเตรียมตัวจัดงานสงกรานต์เล็กๆ ที่พอจะเป็นไปได้ในช่วงที่โควิด-19 ดูจะซาลงไป แต่ก็ต้องพับทุกความตั้งใจเก็บไว้ เพราะเกิดการระบาดระลอกที่ 3 ในเมืองไทย  จึงเกิดเป็นชุดภาพถ่าย มุมเดิม เวลาเดิม แต่ต่างปี ของถนนข้าวสารในเช้าวันที่ 13 เมษายน ที่ไม่ได้มีเสียงหัวเราะและรอยยิ้มมา 1 ปีติดต่อกันแล้ว  พบว่าบางสิ่งที่เคยอยู่ตรงนั้น หายไปพบว่าบางสิ่งที่ไม่เคยมี ก็เกิดขึ้นใหม่พบว่าเมืองไทยย่ำอยู่กับที่มาตลอดพบว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น …นอกจากพื้นถนนดีไซน์ใหม่

‘USB:coffeeLAB’ แฟลชไดรฟ์ที่อัดแน่นไปด้วยกาแฟและงานดีไซน์

USB:coffeeLAB ร้านกาแฟที่พลิกฟื้นสถานพยาบาลเก่าที่ปิดตัวลงให้กลายเป็นห้องทดลองงานของ Party/Space/Design (P/S/D) บริษัทที่ออกแบบร้านกาแฟดังๆ มาแล้วนับไม่ถ้วน และในวันที่พวกเขามีร้านของตัวเอง ยังเป็นเหมือนการคืนชีวิตให้พื้นที่ ทั้งยังนำเสนอตัวตนของวัสดุต่างๆ ออกมาได้อย่างน่าสนใจ

mediums พื้นที่สร้างสรรค์แห่งย่านเอกมัย อาร์ตคอมมูนิตี้ที่เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง

ชวนจับดินสอ หยิบสี เตรียมกระดาษ และพกไอเดียสร้างสรรค์ไป mediums อาร์ตคอมมูนิตี้ที่เปิดตลอด 24 ชม.

Apaul Product แบรนด์ยาดมที่ออกแบบประสบการณ์ผ่านการดมกลิ่น

ความท้าทายครั้งใหม่ของการสร้างแบรนด์ยาดม ให้กลายเป็นตัวกลางส่งต่อความสุขของการดมกลิ่นที่ไม่ว่าจะเรื่องทุกข์ใจ เศร้าจนน้ำตาไหล หรือเครียดจัดจนเวียนหัว Apaul Product อยากให้คุณเชื่อว่าการดมกลิ่นสามารถบำบัดอาการเหล่านั้นให้ทุเลาลงได้

ครูประทีป รอดภัย ศิษย์ครูโจหลุยส์รุ่นแรก และช่างทำหัวโขนสุดท้ายแห่งบางซื่อ

ตามหาช่างทำหัวโขนคนสุดท้ายแห่งย่านบางซื่อ ชวนคุยถึงความหลงใหลในศิลปะเก่าแก่ของไทย

‘Uncommon Life’ ความสุขเรียบง่ายจากสิ่งไม่ธรรมดา

‘เอกมัย’ ย่านที่เต็มไปด้วยไลฟ์สไตล์มากมาย เปิดโอกาสให้ทดลองทำกิจกรรมหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการได้ตีสนิทกับเพื่อนใหม่ นั่งดื่มกาแฟสุดชิล ลิ้มรสอาหารต้นตำรับสไตล์ญี่ปุ่น หรือรีแลกซ์กับพื้นที่พักผ่อนที่ทำให้เราสามารถใช้ชีวิตทั้งวัน หากได้ลองสัมผัสกับตัวเองแล้วจะรู้ว่า ทุกที่ต่างมีความพิเศษซ่อนอยู่ภายในให้เราได้ทำความรู้จัก จนอยากนำมาแชร์ต่อให้ชาวเมืองมาเยี่ยมเยียน จะมีที่ไหนบ้างตามไปดูกัน!

EAT

‘แนมเหนือง’ ของดีเมืองญวน เจ้าไหนอร่อยถูกปาก รสชาติถูกใจ

รอบก่อนหนักหวานกันไปแล้ว ดังนั้น Spec Sheets รอบนี้จึงเอาใจคนชอบผักกับเมนูยอดฮิต อย่าง ‘แนมเหนือง’ หรือที่คนไทยพากันเรียกว่า ‘แหนมเนือง’ จาก 3 ร้านดัง ทั้ง ‘VT แหนมเนือง’ ‘สามใบเถา’ และ ‘ตงกิง อันนัม’ มาแกะ แยก ห่อหมูร้อนๆ กินคู่กับผักสดกรอบๆ พร้อมด้วยเครื่องเคียงอีกมากมายตามแบบฉบับแนมเหนืองเวียดนามกับน้ำจิ้มสูตรพิเศษ ของแต่ละเจ้าว่ามีทีเด็ดแตกต่างกันอย่างไร

น้าเปียก วิภาดา ตำนานเสียง ‘เซเลอร์มูน’ ภาคไทยหนึ่งเดียวผู้มีอุซางิเป็นครูชีวิต

“ฉันคือสาวน้อยน่ารัก ผู้พิทักษ์ความรักและความยุติธรรม เซเลอร์มูน”  ตากลมโต ผมทรงซาลาเปาคู่ ชุดกะลาสี รัดเกล้า และคทาคู่ใจ ปรากฏต่อหน้าเหล่าปีศาจ “ตัวแทนแห่งดวงจันทร์ จะลงทัณฑ์แกเอง!” สึคิโนะ อุซางิ หรือเจ้าหญิงแห่งดวงจันทร์เซเรนิตี้ แม้จะขี้แยบ่อยๆ หรือบ๊องๆ ไปบ้าง แต่เธอพกความกล้าในฐานะอัศวินเซเลอร์ ปกป้องคนที่เธอรักและผู้คนจากวายร้าย ‘อุซางิจัง’ ในคติของ อ.นาโอโกะ ทาเคอุจิ นักวาดการ์ตูนเซเลอร์มูน ไม่ได้เรียนเก่งแบบเซเลอร์เมอร์คิวรี่ ไม่ได้บู๊เก่งแบบเซเลอร์จูปิเตอร์ ไม่เห็นลางบอกเหตุล่วงหน้าเหมือนเซเลอร์มาร์ส หรือเป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลแบบเซเลอร์วีนัส แต่เธอเป็นเธอที่ไม่เคยลังเลช่วยเพื่อน คนรัก หรือคนที่ตกอยู่ในอันตราย แถมนิสัยขายขำ ตลก โปก ของเธอยังทำให้คนรอบข้างอารมณ์ดีโดยไม่รู้ตัว น้าเปียก-วิภาดา จตุยศพร วัย 64 ปี ผู้พากย์เสียงภาษาไทย ‘เซเลอร์มูน’ ตั้งแต่ยุค 90 และเซเลอร์มูนคริสตัล ปี 2014 เป็นอีกคนที่รักอุซางิและยิ้มเสมอเมื่อได้สวมบทเป็นเซเลอร์มูน ทั้งยังบอกอีกว่า อยากเป็นนักพากย์จนกว่าจะพากย์ไม่ไหว เพราะได้เรียนรู้วิชาชีวิตและการมองโลกของหลากหลายตัวละครที่เป็นเหมือนอาจารย์สอนพิเศษตลอด 40 ปีในวงการ  อ.อุซางิ สอนให้ลูกศิษย์อย่างน้าเปียกรู้ว่า […]

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.