ส่องปรากฏการณ์บุลลี่ในสังคมเกาหลีผ่าน The Glory ที่คว้ารางวัลซีรีส์ยอดเยี่ยมแห่งปี

ประเทศเกาหลีใต้มีคำสามัญที่ใช้เรียกความรุนแรงในโรงเรียนว่า ‘학교폭력’ (ฮักกโยพงนย็อก) และมีคำศัพท์เฉพาะอย่างคำว่า ‘왕따’ (วังต้า) ที่ไม่มีคำแทนความหมายแบบแน่นอนในภาษาอังกฤษ แต่แปลความได้ราวๆ ว่า ‘เหยื่อที่ถูกบุลลี่’ โดยคำขั้วตรงข้ามของวังต้าคือ ‘일진’ (อิลจิน) หมายถึง ‘คนที่ชอบรังแกคนอื่นๆ และทำผิดกฎเป็นประจำ’ แค่ชุดคำไม่กี่คำ น่าจะพอทำให้เราเห็นกันแล้วว่า ศัพท์ที่ถูกบัญญัติขึ้นมาโดยเฉพาะเหล่านี้ คือหลักฐานและชื่อเรียกของสิ่งที่มีอยู่จริงและเกิดขึ้นอย่างเข้มข้นในสังคมเกาหลีใต้ นี่คือความรุนแรงที่เกิดจริง ทั้งในกรณีที่มีคนออกมาพูดถึงปัญหาที่ตัวเองเผชิญ หรือเรียกร้องความเป็นธรรมจากสิ่งที่เกิดขึ้น และในกรณีที่มันถูกเก็บงำไว้กับผู้ที่ถูกกระทำตลอดไป และใช่ นั่นหมายถึงความเจ็บปวดรวดร้าวที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ และวัยรุ่นชาวเกาหลีใต้ ซึ่งเกิดขึ้นมานานหลายปีแล้ว The Glory เป็นซีรีส์เรื่องล่าสุดของนักแสดงสาวชื่อดัง ‘ซงฮเย-กโย’ ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในผลพวงของเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมเกาหลี และไม่ใช่แค่ซีรีส์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงหนัง นวนิยาย และเรื่องราวใน WEBTOON ที่เป็นผลผลิตสะท้อนแง่มุมของสังคมที่ผู้คนกำลังเผชิญกับปรากฏการณ์เลวร้ายรูปแบบนี้ หลังจากปล่อยซีรีส์พาร์ต 1 ออกมาไม่นาน The Glory ก็กวาดอันดับ 1 ในด้านยอดการรับชมบนแพลตฟอร์ม Netflix ได้ถึง10 ประเทศ ตั้งแต่เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย […]

กรุงเทพฯ ยังมี ‘หวัง’ ในสายตา วิโรจน์ ลักขณาอดิศร

“ทำไมคุณต้องอยู่ในฐานะผู้ถูกปกครอง ที่ต้องอ้อนวอนร้องขอกับราชการ ทั้งที่เงินนั้นเป็นเงินภาษีของประชาชน” ประโยคสนนทนาที่แทงใจ จากการที่เราพูดคุยกับ ‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร’หรือที่หลายคนรู้จักจากฉายา ดาวเด่นสภา วันนี้เขาเดินทางอีกหนึ่งบทบาทในฐานะ  1 ในผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ถึงแม้กรุงเทพฯ จะมีปัญหามากมาย แต่ในสายตาวิโรจน์ เชื่อว่า กรุงเทพฯ ยังมี ‘หวัง’ ถึงเวลาแก้ไขกรุงเทพฯ แบบตรงไปตรงมาในแบบฉบับวิโรจน์ จะเป็นอย่างไรนั้น ร่วมพูดคุยไปพร้อมกับเราในคลิปนี้เลย!

สำรวจป้ายหาเสียงในฤดูกาลเลือกตั้งกรุงเทพฯ ติดแบบไหนพัง ตั้งตรงไหนปัง ลองมาดูกัน

ในฤดูเลือกตั้ง นอกจากจะได้เห็นภาพการปรากฏตัวของแคนดิเดตนักการเมืองหลายคนบ่อยๆ ทั้งในหน้าสื่อ และการลงพื้นที่ชุมชนต่างๆ สิ่งที่เห็นได้ถี่ไม่แพ้กันก็คือ ‘ป้ายหาเสียง’ และ ‘ประกาศหาเสียง’ ของแคนดิเดตแต่ละคนหรือแต่ละพรรค ที่จัดเต็มด้วยสโลแกน และนโยบายการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งในช่วงเดือนเมษายน 2565 นี้ ภาพบรรยากาศป้ายมากมายที่เราเคยเห็นในศึกการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ ต่างทยอยกลับมาคึกคักอีกครั้ง ใช่ เราหมายถึงการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และสภากรุงเทพฯ (ส.ก.) นั่นแหละ อีกไม่นาน คนกรุงเทพฯ จะได้ใช้สิทธิ์ของตัวเองในคูหาอีกครั้ง หลังจากรัฐริบเอาเสียงของประชาชนไปนานหลายปี ซึ่งคนกรุงจะได้เข้าคูหาเลือกตั้งในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 หลังยืดเยื้อมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว เมื่อมีการคอนเฟิร์มแน่ชัด ผู้สมัครหลายคนก็เริ่มติดป้ายหาเสียงแบบไม่มีใครยอมใคร แถมยังมีการเริ่มปิดประกาศและติดตั้งป้ายก่อนมีการประกาศหมายเลขประจำตัวผู้สมัครในวันที่ 31 มีนาคม – 4 เมษายน 2565 เสียด้วยซ้ำ ถ้าสังเกตดีๆ ในโลกออนไลน์ตอนนี้เริ่มมีคอนเทนต์เกี่ยวกับการเลือกตั้งในกรุงเทพฯ เยอะขึ้นเรื่อยๆ มีคนถ่ายภาพป้ายเลือกตั้งที่พบเจอมาแชร์ต่อมากมาย ทั้งในมุมตลกขบขัน มุมซีเรียส มุม Complain ไปจนถึงข้อเสนอ และเสียงวิจารณ์เกี่ยวกับการออกแบบคอนเทนต์ ดีไซน์ป้ายหาเสียง ไปจนถึงความเหมาะสมของการติดตั้งป้ายในแต่ละพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ เราจึงพาทุกคนออกไปสำรวจเมืองในย่านต่างๆ […]

เปิดใจ “เอ้ สุชัชวีร์” ไม่มาขายฝัน พร้อมเจ็บ เพื่อเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้ดีขึ้น l Bangkok Hope EP.2

‘เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้’ สโลแกนปลุกใจชาวกรุงของ เอ้-สุชัชวีร์สุวรรณสวัสดิ์แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจากพรรคประชาธิปัตย์  บางคนอาจรู้จักเขาจากบทบาทอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง บางคนอาจรู้จักเขาจากการเป็นไวรัลทายาทสายตรงไอน์สไตน์ บางคนอาจรู้จักเขาจากป้ายประกาศตามสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ หรือบางคนอาจรู้จักเขาในฐานะเจ้าของบ้านหลังงามที่มีชั้นสะสมฟิกเกอร์ Iron Man แต่ไม่ว่าคุณจะรู้จักเขาในรูปแบบไหน ท้ายที่สุดแล้วเขาคือคนที่อาสาขอเข้ามาเปลี่ยนแปลงเมืองหลวงของประเทศไทยที่เต็มไปด้วยปัญหาหลากหลายมิติ อะไรทำให้เขาเชื่อว่าแนวคิด ‘เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้’ จะเป็นไปได้ กรุงเทพฯ มีโอกาสและความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นมากน้อยแค่ไหนในสายตาเขา เราเชิญคุณมาติดตามคำตอบไปพร้อมๆ กัน! . #UrbanCreature #TheProfessional #BangkokHope #ReinventTheWayWeLive #เอ้สุชัชวีร์ #พรรคประชาธิปัตย์ #ผู้ว่ากทม. #เลือกตั้งผู้ว่าฯ #กรุงเทพฯ

สื่อไทยต้องกล้าเปลี่ยน : ‘พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ’ สื่อมวลชนที่อยากผลักดันเพศเท่าเทียม

กรกฎาคม 2021 Thaipublica.org รายงานว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไทยผลิตซีรีส์วายมากถึง 40 เรื่อง และในปีเดียวกันนั้น คาดว่าจะมีซีรีส์มากถึง 90 เรื่อง มองเผินๆ คุณคงคิดว่า ประเทศนี้เฟรนด์ลี่กับคนที่มีความหลากหลายทางเพศเอามากๆ แต่เปล่าเลย นี่เป็นเพียงฟิกชันในหนังสือ และสื่อเพื่อเอนเตอร์เทนเมนต์ ไม่ใช่เรื่องจริง  เช่นเดียวกับมายาคติ ‘ไทยคือสรวงสวรรค์ของ LGBTQ+’ ที่ผลิตซ้ำพร่ำเพรื่อ แต่ในชีวิตจริงคือขั้วตรงข้าม คู่รักเพศเดียวกันยังลงเอยทางกฎหมายไม่ได้ มิหนำซ้ำชุมชนเพศหลากหลายยังคงเผชิญอคติ ถูกลิดรอนสิทธิซ้ำๆ โดยไม่มีกฎหมายหรือนโยบายมารองรับสิทธิที่ควรจะเป็น จนทุกวันนี้ สังคมไทยยังสะสมการกดทับนานหลายเจเนอเรชัน มีการเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมประเด็นเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อความเท่าเทียมทางเพศไม่มีจริง การเรียกร้องเรื่องซ้ำๆ จึงเป็นสัจธรรมของรัฐแห่งการเพิกเฉย นั่นคือเหตุผลที่ผลักให้ อั้ม-พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ สื่อมวลชนรุ่นใหม่ เดินหน้านำเสนอประเด็นซัปพอร์ตสิทธิความเท่าเทียมทางเพศตั้งแต่เธอเรียนจบปริญญาตรีด้านวารสารศาสตร์ อั้มเคยเขียนบทความสิทธิมนุษยชนจากประสบการณ์ส่วนตัวเรื่อง ประเทศไทย : ดินแดนสวรรค์ (หลอกๆ) ที่คนข้ามเพศถูกผลักออกได้ทุกวินาที จนได้รับรางวัล Writers that Matters : นัก (อยาก) เขียน […]

ประเทศฮาบ่ใจ่ของคิง : ฮ่องเต้ ธนาธร ผู้เรียกร้องความเท่าเทียมจากล้านนาสะเทือนกรุงเทพฯ 

นัดพบฮ่องเต้ ผู้ประสบภัย 112 ในเชียงใหม่ ขณะที่หลายประเทศเตรียมพร้อมรับมือวิกฤตโลกร้อนด้วยนวัตกรรม เพราะแผ่นทวีปที่กำลังจะจมน้ำจากธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า แต่สิ่งที่รัฐไทยกำลังเลือกทำในปัจจุบัน คือการไล่ทุบกำราบคนเห็นต่างให้สยบยอมอยู่ใต้ตีนอย่างแข็งขัน  นี่คือข้อบ่งชี้ว่า ประเทศเรากำลังหมดหวังและถอยหลังลงคลองในสายตาคนรุ่นใหม่ แต่ขั้วอนุรักษนิยมกลับมองว่า นี่คือการรักษาความมั่นคงอันดีงามของชาติที่แสนสงบและดีพร้อมกว่าชาติใดใดในโลก และนี่คือสาเหตุที่ช่วงเกือบปลายปี 2564 เราตัดสินใจเดินทางไปพบนักกิจกรรมอย่าง ฮ่องเต้-ธนาธร วิทยเบญจางค์ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากเขาถูกแจ้งจับคดีมาตรา 112 ก่อนหน้านั้นเพียงไม่นานนัก ฮ่องเต้ตั้งใจนัดให้เราไปพบที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ไม่ไกลจากคณะสังคมศาสตร์ คณะที่เขากำลังศึกษาวิชาปรัชญา ชั้นปีที่ 3 ในปัจจุบัน นี่คืออาคารที่ผู้บริหารมหา’ลัยตัดสินใจสั่งริบเอาพื้นที่จอดรถของนักศึกษามาสร้างอาคารที่ผู้เรียนแทบไม่ได้ใช้งาน เราถามฮ่องเต้ถึงจำนวนคดีความที่เขาได้รับ หลังการลุกขึ้นมาเรียกร้องความเท่าเทียมบนพื้นที่สาธารณะ “เกินสิบ (หัวเราะขื่นๆ) ส่วนใหญ่เป็นคดี พ.ร.บ.ชุมนุม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.ควบคุมโรค และจะโดน 116 จำนวนหนึ่งหรือสองคดีนี่แหละ แล้วก็มี 112 อีกจำนวนหนึ่งคดี ผมคิดอยู่ว่า อีกหน่อยอาจจะมีคดีแปลกๆ โผล่ขึ้นมาอีก” เด็กหนุ่มยิ้มขื่นบางๆ หลังพูดจบ “หน้าที่ของเราคือยิ้ม และขัดขืนมัน เพื่อทำให้ประเทศนี้เปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นกว่านี้ให้ได้ ผมไม่คิดว่าเราต้องกลัวกฎหมายฉบับนี้ แค่ต้องทำงานของตัวเองต่อไป […]

JARB ศิลปินนักโหยหาอดีตผ่านเพลง J-City Pop สู่ Thai Lyric Visualizer ของ The Weeknd

เมื่อสี่ปีก่อน เรารู้จัก ‘JARB’ หรือ ‘จ๊าบ–มงคล ศรีธนาวิโรจน์’ ตอนเขาไปฝึกงานที่กองบรรณาธิการนิตยสาร a day Magazine เป็นครั้งแรก  จ๊าบเป็นนักศึกษาฝึกงานตำแหน่ง Illustrator หรือนักวาดภาพประกอบไฟแรง ที่ทั้งขยันและทำงานด้วยสนุก  ความขยันและความหาทำของจ๊าบ (ชม) ทำให้เขาผ่านประสบการณ์การฝึกงานมาอย่างโชกโชน จนกระทั่งเรียนจบจากสาขาวิชาภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรมฯ รั้ว ม.ศิลปากร จ๊าบก็เข้าทำงานที่ Flvr Studio ของ โอ-ศรัณย์ เย็นปัญญา ก่อนที่เขาจะกลับมาเป็นนักวาดภาพประจำที่ a day สื่อสิ่งพิมพ์บันดาลใจที่ผลักดันให้เขาใฝ่ฝันอยากเป็นนักวาดภาพประกอบมาตั้งแต่ครั้งเรียน ม.ปลาย  สำหรับคนที่ติดตามผลงานจ๊าบเป็นประจำจะเห็นว่างานของเขาโคตรเท่ แต่ถ้าลงลึกไปกว่านั้น เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในวงการสื่อและสิ่งพิมพ์ต่างขนานนามให้เขาเป็นนักวาดภาพประกอบสุดไฮเปอร์ ที่ทำงานด้วยง่าย ทำได้ทุกแบบทุกสไตล์ แถมสร้างสรรค์งานอย่างว่องไว และได้ผลลัพธ์เนี้ยบกริบชนิดหาตัวจับยาก และเอกลักษณ์พิเศษที่โดดเด่นไม่เหมือนใครของจ๊าบ คือสายตาโหยหาอดีตที่เขาหยิบจับเอาความ Nostalgia และความเครซี่ในแนวเพลง Japan City Pop มาแต่งแต้มจนกลายเป็นงานส่วนตัวที่สร้างสรรค์ออกมาอย่างต่อเนื่อง แน่นอน ปัจจุบันเขาบุกเข้าไปในโลก NFT แล้วสะสมชื่อเสียงในระยะเวลาอันรวดเร็ว […]

‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร’ จากดาวสภาฯ สู่การท้าชิงผู้ว่าฯ กทม. ที่พร้อมฟาดระบบนายทุน

ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ใครติดตามการประชุมสภาฯ เป็นประจำคงคุ้นเคยกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อคนหนึ่ง ที่วิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามถึงการทำงานของประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อย่างมีอรรถรส ฟาดแบบดุเด็ดเผ็ดมัน ตรงไปตรงมา และอัดแน่นไปด้วยชุดข้อมูลและเหตุผลที่ถี่ถ้วน จนหลายคนต้องยอมรับเลยว่า เขาได้พูดแทนใจคนไทยจำนวนมากที่สิ้นหวังกับรัฐบาลชุดปัจจุบันได้อย่างหลากมิติ ใช่ เรากำลังพูดถึง ‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร’ อดีต ส.ส. บัญชีรายชื่อ จากพรรคก้าวไกล  ที่ผ่านมา เขามีผลงานโดดเด่นจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจอยู่หลายๆ ประเด็น เช่น การเปิดหลักฐานแฉปฏิบัติการ Information Operation (IO) แผนจัดหาวัคซีนโควิด-19 จอมลวงโลก รวมไปถึงการที่รัฐคุกคามนักเรียนที่ออกมาแสดงจุดยืนทางการเมือง แต่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เขาประกาศตัดสินใจลาออกจากการเป็น ส.ส. และขอพิสูจน์ตัวเองในบทบาทใหม่ ด้วยการเป็น ‘แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร’ พร้อมชูนโยบายล้มระบบส่วย ยกเลิกราชการรวมศูนย์ ท้าชนนายทุนที่เอาเปรียบประชาชน และมุ่งแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตของชาวกรุงภายใต้สโลแกน ‘หมดเวลาซุกปัญหาไว้ใต้พรม พร้อมชนเพื่อคนกรุงเทพฯ’ วันนี้ เราจึงนัดพูดคุยกับวิโรจน์กับตำนานบทใหม่ของเขา เพื่อตอบข้อสงสัยว่า ทำไมเขาถึงยอมสละตำแหน่งดาวรุ่งในสภาฯ มาลงสมัครตำแหน่งผู้ว่าฯ เขามีความหวังอย่างไรกับการแก้ปัญหาของเมืองที่ ‘นายทุนต้องมาก่อนใคร’ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน และทำให้ ‘ทุกคน’ […]

Linghokkalom นักวาดภาพสาว ผู้หยิบ 10 หญิงไทยที่ขับเคลื่อนสังคมมาสื่อสารให้คนรู้จักกันดีมากขึ้น

วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีคือ ‘วันสตรีสากล’ เป็นวันสำคัญที่ซัปพอร์ตขบวนการต่อสู้เพื่อสิทธิและความเท่าเทียมของผู้หญิงทั่วโลก บ้างใช้เพื่อเป็นโอกาสในการเฉลิมฉลอง หรือบ้างก็ใช้เพื่อเป็นวาระของการขับเคลื่อนให้ผู้หญิงมีชีวิตที่ดียิ่งขึ้น โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ หรือถูกกีดกันด้วยอคติเพราะเหตุแห่งเพศนานาประการอีกต่อไป ไม่ต่างจาก เนอส–วิศัลย์ศยา ลอยไสว นักวาดภาพประกอบอิสระเจ้าของนามปากกา Linghokkalom ที่มองเห็นคุณค่าความสำคัญของผู้หญิงทุกๆ คน เธอตัดสินใจนำภาพวาดผลงานที่ตัวเองเคยสร้างสรรค์เอาไว้ในโปรเจกต์ The Hundred Women เมื่อปี 2021 มาเผยแพร่บนเพจ Visansaya L. เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2022 ที่ผ่านมา  The Hundred Women Project เป็นโปรเจกต์ที่นำเสนอภาพวาดผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลจากทั่วทุกมุมโลกผ่านสายตาและฝีมือของนักวาดภาพประกอบหญิงที่เป็นตัวแทนจากแต่ละประเทศ ตั้งแต่อินเดีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา โรมาเนีย ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี เวียดนาม และ แน่นอนประเทศไทยเรา มีเนอส หรือ Linghokkalom เป็นตัวแทน Illustrator ที่เข้าร่วมโปรเจกต์  เนอสเล่าว่า เธอได้เลือกนำเสนอผู้หญิงไทยจำนวน 10 คน […]

ไม่มีเทพสร้าง ไม่มีอัศวินม้าขาวช่วย แต่กรุงเทพฯ มี ‘หวัง’ ในสายตา ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’

“ประมาณหกโมงเช้าไปวิ่งมา แล้วก็ออกไปดูพื้นที่เขตบางบอน จากนั้นข้ามไปหนองแขมเพื่อดูปัญหาในชุมชนและเดินตลาดต่อ”  ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครบอกกับเรา บริเวณใต้ร่มร้านขายของชำใกล้สวนสาธารณะเขตบางบอน วันเสาร์นั้นแดดจัด ช่วงใกล้เที่ยง พระอาทิตย์ส่องจ้ากลางหัว เขาโดยสารรถสองแถวหลังคาสูงมาพร้อมทีมงานที่สวมเสื้อดำสกรีนคำเขียวเข้มสะท้อนแสง ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’  ช่วงนี้เขาออกวิ่งทุกวันเสาร์ ตระเวนวิ่งในแต่ละเขตทั่วกรุง เราสะดุดตาที่วันนี้ชัชชาติสวมรองเท้าวิ่งข้างหนึ่งสีขาว อีกข้างสีดำ เขาเล่าข้อมูลเขตบางบอนที่ศึกษามาว่า “เขตบางบอนเป็นเขตที่พื้นที่มีความยาว แต่เดิมเป็นพื้นที่ทำสวน ปัจจุบันหมู่บ้านจัดสรรเริ่มเข้ามา คนมาอาศัยในเขตนี้มากขึ้น ตอนนี้มีประชากรประมาณหนึ่งแสนคน”  ตลอดเส้นทางที่สัญจรมาที่นี่ เราขับรถผ่านถนนสองเลนที่ตัดผ่านย่านชุมชน ผ่านเส้นทางรถไฟ และ สถานี ‘รางโพธิ์’ สถานีหลักประจำพื้นที่ซึ่งเป็นสถานีหมุดหมายของรถไฟฟ้าสายสีแดงที่จะวิ่งผ่านในอนาคต ชัชชาติชี้ให้เห็นว่า ปัญหาเรื่องการคมนาคมและขนส่งสาธารณะเป็นหนึ่งในโจทย์ใหญ่ของเขตบางบอน เขาเล่าประสบการณ์การเดินทางในช่วงเช้าก่อนมาเจอเราว่า “รถติดมาก เส้นเอกชัย-บางบอน หรือถนนบางบอน 3 หรือ 5 และขนส่งสาธารณะก็ยังไม่ดี รถไฟก็เป็นแบบท้องถิ่นที่มีความถี่น้อย ประชาชนจึงต้องใช้รถส่วนตัว”  ถ้าลองเปิดแผนที่ดู เขตบางบอนคือพื้นที่ขอบกรุงเทพฯ ที่ติดกับจังหวัดสมุทรสาครซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญของอุตสาหกรรมประมง มีแรงงานชาวพม่าที่มาทำงานในพื้นที่อาศัยอยู่เยอะ ทำให้มีอีกโจทย์ตามมาว่าจะพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับแรงงานต่างชาติ และประชากรในพื้นที่อย่างไรไม่ให้อยู่อย่างแออัด นี่คือความหลากหลายและความซับซ้อนของสิ่งที่ต้องจัดการจากพื้นที่เพียงหนึ่งเขต เพราะความเป็นจริง กรุงเทพฯ มีทั้งหมด 50 เขต […]

‘พังก์ปาตานี’ 15 ปีแห่งวัฒนธรรมพังก์ร็อกกระแทกใจวัยรุ่น 3 จังหวัดชายแดนใต้

ดนตรีอาจเป็นสิ่งต้องห้ามในศาสนาอิสลาม ทว่าช่วงหนึ่งดนตรีและวัฒนธรรมพังก์กลับเคยรุ่งเรืองอย่างมากในดินแดนที่เรียกว่า ‘ปาตานี’ ‘ปาตานี’ ในภาษามลายู เป็นชื่อเรียกพื้นที่ครอบคลุมตั้งแต่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และบางส่วนในจังหวัดสงขลา ทั้งสี่จังหวัดอยู่ติดกันบริเวณชายแดนสุดปลายด้ามขวานของประเทศไทย ส่วน ‘พังก์’ คือ Pop Culture ที่ได้รับความนิยมมากในหมู่คนหนุ่มสาวทั่วโลก โดยเฉพาะความเฟื่องฟูช่วงปลายทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา บทเพลงเหล่านี้สอดแทรกนัยความขบถ การต่อต้านเชิงอำนาจที่แสดงผ่านพฤติกรรม การแต่งตัว การแต่งหน้า การทำผม การสักลาย และแน่นอน พังก์คือหนึ่งในแนวดนตรีร็อก มีจังหวะดิบๆ และเดือดดาล ส่งเสียงการขับร้องและการเล่นดนตรีอย่างเมามันเป็นเอกลักษณ์ ใช่ เรากำลังพูดถึง ‘พังก์ปาตานี’ วัฒนธรรมที่เคยผลิบานสุดๆ ในสามจังหวัดชายแดนใต้ ระหว่างราวปี 1995 จนกระทั่งถึงช่วงราวปี 2010 รวมระยะเวลากว่า 15 ปี ที่วัฒนธรรมได้โลดแล่นสร้างสีสันให้วัยรุ่นในพื้นที่ได้ปลดปล่อยความขบถของพวกเขาออกมาอย่างเต็มที่ ถ้าสมัยก่อนมีสื่อโซเชียลออนไลน์อย่างในปัจจุบัน เราคงได้เห็นภาพความสนุกสนานวาดลวดลายอย่างทั่วถึง แต่ด้วยยุคสมัย ภาพของชาวพังก์ปาตานีจึงหลงเหลือเพียงเศษเสี้ยวกระจัดกระจาย บ้างบนภาพถ่ายฟิล์ม บ้างในคลิปวิดีโอจากกล้อง Handycam และส่วนสำคัญคือความทรงจำในเนื้อตัวของชาวพังก์ร่วมสมัยที่เติบใหญ่จนมีอายุกลาง 30 ถึงปลาย 40 กว่าๆ  […]

‘คุก’ พื้นที่ไร้สิทธิที่ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองในมุมมอง ‘รุ้ง ปนัสยา’

รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำนักศึกษาหญิงจากแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ ถูกจองจำในเรือนจำมาแล้ว 3 ครั้ง ส่วนอีก 1 ครั้งหลังคือ การใส่กำไล EM จำกัดพื้นที่ในเคหสถาน ถ้าย้อนกลับไปเกือบสามปีก่อน เราคงจินตนาการไม่ออกเลยว่าการเรียกร้องประชาธิปไตยจะมาไกลและมีการพูดถึงปัญหาตรงไปตรงมาอย่างในตอนนี้ แต่การกล้าตั้งคำถาม การเสนอแนวทางให้สถาบันปรับตัว และการขับไล่เผด็จการ ก็ต้องแลกมาด้วยพันธนาการผู้เรียกร้องครั้งแล้วครั้งเล่า  จากการติดตามข่าวคราวของรุ้งและแกนนำคนอื่นๆ ช่วงที่อยู่ในเรือนจำ เราสังเกตเห็นว่าข่าวเหล่านี้ถูกเล่าในวงจำกัด มีการนำเสนอเฉพาะกลุ่มบนโซเชียลมีเดีย จากบุคคลหรือสำนักข่าวเจ้าเดิมๆ ส่วนสื่อกระแสหลัก หรือสื่ออนุรักษนิยม เราไม่เคยได้รับข้อมูลที่ตีแผ่ความเป็นจริงส่วนนี้เลย ช่วงเกือบสิ้นปีที่แล้ว ก่อนรุ้งเข้าเรือนจำเป็นครั้งที่สาม เราถามเธอ จากข้อสังเกตส่วนตัวว่า คิดยังไงที่ ‘ทัณฑสถาน’ หรือ ‘คุก’ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเมืองที่แทบไม่เคยถูกพูดถึง และแน่นอน มันเป็นพื้นที่ลับแลที่คนส่วนหนึ่งไม่แยแสว่ามีปัญหามากมายสะสม นั่นหมายถึงคุณภาพชีวิตต่ำเตี้ยเรี่ยดินของผู้ต้องขังที่ไม่เคยถูกยกระดับ และกระบวนการยุติธรรมบิดเบี้ยวที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข คุก : พื้นที่ห่างไกลเมืองและศิวิไลซ์  “คุก ส่วนใหญ่อยู่ไกลจากพื้นที่ชุมชน โดยเฉพาะคุกที่เกิดขึ้นใหม่ หรือคุกในต่างจังหวัด เพื่อให้ตั้งอยู่ไกลจากเมือง และเพื่อให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เขาคงไม่อยากให้คุกอยู่ในชุมชน แต่ถ้าคุกอยู่ไกลชุมชนมากๆ ก็จะทำให้ผู้ต้องขังลำบากมาก เพราะทนายความและญาติไปเยี่ยมได้ยาก สิ่งนี้สำคัญต่อผู้ต้องขังมาก ถ้าขาดตัวกลางนี้ไปก็แปลว่าคนข้างในจะไม่ได้รู้เรื่องข้างนอกเลย “มันจะทำให้คนข้างในมีความเครียดสูงขึ้นมากๆ […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.