COVID-19 ทำคนตกงานมากที่สุดในรอบ 10 ปี

ความล้มเหลวในการจัดการปัญหาวิกฤติการณ์โควิด-19 ของประเทศไทย ที่นับวันตัวเลขการติดเชื้อพุ่งกระจายขึ้นเหมือนดอกเห็ดจนอาจจะมากถึงหลักหมื่นต่อวัน ส่งผลให้ระบบสาธารณสุขอาจจะล่มสลายได้  ทว่าความรุนแรงของพิษจากไวรัสร้ายโควิดกลับมากไปกว่าการเกาะกินสุขภาพของประชาชน แต่หมายรวมถึงการเกาะกิน ‘ระบบเศรษฐกิจไทย’ อย่างไม่มีชิ้นดี  รายงานของกระทรวงแรงงานเผยว่า ในเดือนพฤษภาคม ปี 2564 มีผู้ว่างงานในระบบประกันสังคมจำนวน 303,984 คน และผู้ว่างงานจากสาเหตุการถูกเลิกจ้างจำนวน 91,794 ซึ่งหากดูเพียงตัวเลขและกราฟจะเห็นว่าสถานการณ์ในภาคเศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังมีแนวโน้มที่จะดีขึ้น เพราะตัวเลขผู้ว่างงานลดลง  เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนกันยายนปี 2563 ที่ผ่านมา จะเห็นข้อแตกต่างอย่างชัดเจน เพราะช่วงเวลาดังกล่าวมีอัตราการว่างงานจากสาเหตุการเลิกจ้างสูงถึง 242,114 คน นับเป็นตัวเลขที่สูงเป็นประวัติการณ์ของประเทศในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา รุนแรงเสียยิ่งกว่า วิกฤติการณ์แฮมเบอร์เกอร์ปี 52 ที่มีสถิติคนตกงานสูงสุดอยู่ที่ 83,109 คน และวิกฤติการณ์น้ำท่วมปี 54 ที่มีสถิติสูงสุดที่ราว 42,689 คนเสียอีก  แต่ความน่ากังวลใจคือ แม้อัตราว่างงานกำลังลดลง ก็นับว่าสูงกว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมาไม่น้อยเลยทีเดียว มากไปกว่านั้น สถิติตัวเลขคนว่างงานจากสาเหตุคนเลิกจ้างของกรมแรงงาน เป็นการอ้างอิงสถิติจากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยสาเหตุเลิกจ้างในระบบประกันสังคม ยังไม่นับรวมถึงพ่อค้าแม่ค้า คนประกอบอาชีพอิสระ ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบเฉกเช่นเดียวกัน ซึ่งไม่สามารถระบุเข้าระบบว่ามีอีกเท่าไหร่ที่บาดเจ็บล้มตายจากพิษเศรษฐกิจและพิษของเชื้อไวรัส เป็นที่น่าเศร้าใจว่าท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ที่ตัวเลขการติดเชื้อพุ่งเป็น New […]

“แล้วฉันควรจะทำยังไง ห๊ะ” มวลความเศร้าที่ไม่มีคำตอบใน ‘ควรจะทำยังไง’ ของภัค fluffypak

“แล้วฉันควรจะทำยังไง ห๊ะ” หลังจากฟังท่อนสุดท้ายของเพลง ‘ควรจะทำยังไง (Dead End)’ ซิงเกิลล่าสุดของ fluffypak จบ เรารู้สึกถึงอะไรบางอย่าง เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย อาจจะเป็นความเศร้า หรือความอึดอัดใจบางอย่างซ่อนอยู่ลึกๆ ในใจของคนฟังอย่างเราที่เพลงนี้นำพาให้เอ่อล้นขึ้นมาก็เป็นได้ ด้วยเนื้อเพลงตรงไปตรงมา และเสียง Synthesizer กระแทกใจเหมือนเจ้าของเพลงอยากจะระเบิดอารมณ์ออกมาในตอนท้าย ทำให้ต้องกดฟังเพลงนี้ซ้ำอีกครั้งเพื่อหาคำตอบ การพบกันครั้งแรกของเรากับเจ้าของเพลงอย่าง ณภัค นิธิพัสกร หรือ ‘ภัค fluffypak’ นั้นแตกต่างจากความรู้สึกแรกที่เราได้ฟังเพลงเนื้อหาเร้าอารมณ์นี้อย่างสิ้นเชิง ภัคมาถึงสถานที่สัมภาษณ์อย่างรีบร้อน แต่ก็ทักทายทุกคนในห้องด้วยความสดใส fluffypak ศิลปินจาก MILK! Artist Service Platform โปรเจกต์สนับสนุนศิลปินอิสระของค่าย What The Duck “ดนตรีเป็นเหมือน Safe Space ของเราที่ทำให้เรารู้สึกไปตามเสียงดนตรี ได้ระบาย ได้อยู่กับตัวเอง” ตั้งแต่มัธยมต้นภัคชอบฟังเพลงร็อก และมีวงดนตรีที่ชอบคือ Bodyslam พอเพลงป็อปเกาหลีเข้ามาก็ฟังตามเพื่อนๆ แต่ก็ยังไม่ทิ้งความเป็นขาร็อกเพราะภัคก็ยังฟังวงดนตรี Brit-rock อย่าง Arctic Monkeys ด้วย แต่จุดเปลี่ยนสำคัญคือการได้ชมภาพยนตร์ […]

‘ลุงอ้วน กินกะเที่ยว’ นักรีวิววัยเกษียณผู้บุกเบิกวงการรีวิวตั้งแต่ยุคห้องก้นครัว Pantip

อาหารเป็นปัจจัย 4 ที่ทุกคนขาดไม่ได้ แต่สำหรับบางคนอาหารมีความหมายมากไปกว่ากิน เพื่อประทังชีวิต รสชาติเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด เป็นเหมือนรสชาติของชีวิตที่แตกต่างกันไป และอาหารอร่อยก็เปรียบได้เหมือนกับขุมทรัพย์ที่มีคุณค่า วันนี้เราจึงอยากพาไปรู้จักกับนักล่าขุมทรัพย์อาหารที่ชื่อว่า ลุงอ้วน กินกะเที่ยว หากในโลกออฟไลน์มีนักรีวิวอาหารระดับตำนานอย่างแม่ช้อยนางรำ ในโลกออนไลน์ก็คงมี ลุงอ้วน–อนุสร ตันเจริญ นักรีวิววัยเกษียณ ที่รีวิวอาหารมาแล้วกว่า 2,000 ร้าน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ด้วยรูปแบบการรีวิวที่เฉพาะตัว เป็นกันเอง เหมือนญาติผู้ใหญ่จูงมือเราไปกินร้านอาหารอร่อยๆ และด้วยความเป็นนักชิมตัวยงที่กินอาหารมานับไม่ถ้วน ทำให้ชื่อ ลุงอ้วน กินกะเที่ยว อยู่ในลิสต์เชิญของมิชลินหรือเชฟดังๆ ในประเทศไทยเพื่อร่วมชิมเกือบทุกครั้ง ที่จัดงานหรือเปิดร้านอาหารใหม่ เมื่อถึงเวลานัดหมาย ชายแต่งตัวภูมิฐาน ท่าทางใจดียิ้มแย้มแจ่มใสเดินเปิดประตูเข้ามาในร้าน เรารับรู้ได้ทันทีเลยว่าคือลุงอ้วนทั้งที่ใส่หน้ากากอนามัยอยู่  “ลุงอ้วนเริ่มต้นการเป็นนักชิมหรือนักรีวิวได้อย่างไรครับ” เราถาม “มันไม่มีจุดเริ่มต้นขนาดนั้น มันเป็นความชอบในชีวิตประจำวัน ซึ่งทุกคนผมว่าก็เหมือนกันหมด ใครๆ ก็อยากกินของอร่อย ใครๆ ก็อยากจะไปนู่นนี่ แต่ของผมอาจจะมากกว่านั้นหน่อย เพราะเป็นคนชอบหาร้านอาหารอร่อยๆ กิน ใครว่าร้านไหนเด่น ร้านไหนดังผมไปหมด จะอาหารคาวหวาน […]

น้ำมูกทะเล อุณหภูมิทะเลสูงสุด Gulf Stream อ่อนกำลังสุดในรอบพันปี ทะเลกำลังบอกอะไร

ฝูงปลาแหวกว่ายบนผืนน้ำ สัตว์ทะเลน้อยใหญ่หลากสายพันธุ์ใช้ชีวิตตามวัฏจักรของตัวเอง นั่นคือสิ่งที่ควรดำเนินไปอย่างเรียบง่าย ทว่าความเป็นจริงกลับโหดร้าย เพราะพวกมันถูกแทรกแซงจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ มลพิษทางน้ำ และพฤติกรรมของมนุษย์บางกลุ่ม “น้ำมูกทะเลทำให้หายใจไม่ออก เหมือนขาดออกซิเจน” “ปะการังฟอกขาวจนรู้สึกเหมือนกำลังจะตาย” “กลืนพลาสติก แทนที่จะอิ่ม แต่กลับทรมาน” “น้ำทะเลเปลี่ยนสี ไม่ได้สวยเหมือนฝัน แต่แลกมากับชีวิตโลมา” “อวนผืนยักษ์ ใครเอามาวางไม่รู้ แต่มันกำลังทำร้ายระบบนิเวศของเรา” มิอาจทราบได้ว่าพวกมันพูดภาษาเดียวกันใต้น้ำ เกี่ยวกับหนทางเอาตัวรอดกันวันต่อวันบ้างไหม แต่คงมีสัตว์ทะเลสักตัวเป็นแน่ที่ภาวนาให้ตัวเองพูดภาษามนุษย์เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม ไม่รัก ก็อย่าทำลาย ปี 2021 ทะเลยังคงเจ็บปวด 01 น้ำมูกทะเล น้ำมูกที่ไหลจากโพรงจมูกผู้คน คงเทียบสเกลความเยอะ ความหยึย ความเสียหาย และความอันตรายต่อร่างกาย กับท้องทะเลไม่ได้ เพราะผืนน้ำและสัตว์ทะเล ไม่มียาลดน้ำมูกให้บรรเทาอาการภายในไม่กี่ชั่วโมงเหมือนคน ตุรกีกำลังเผชิญน้ำมูกทะเล ที่ปกคลุมทะเลมาร์มาราไปจนถึงทางใต้ของอิสตันบูล น่าเศร้าที่สุดคือ ตายทั้งสัตว์ทะเล และอาชีพชาวประมง น้ำมูกทะเล หรือเมือกทะเล คือตะกอนสีเขียวที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีลักษณะเป็นสารเมือกหนานิ่มๆ คล้ายน้ำมูก ซึ่งเกิดจากการที่สาหร่ายทะเลได้รับสารอาหารมากเกินไป เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นจนส่งผลให้อุณหภูมิในทะเลขึ้นสูง และมลพิษทางน้ำจากกองขยะ ของเสียในทะเลที่ไม่ผ่านการบำบัด และน้ำเน่า ส่งผลให้น้ำมูกเหล่านี้เต็มไปด้วยจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่พร้อมดูดออกซิเจนในน้ำจนพวกมันหายใจไม่ออก และตาย Meric […]

‘ยานณกาล’ สตูดิโอที่อยากให้เซรามิกเป็นงานอาร์ตมาช่วยเปลี่ยนบรรยากาศบ้านให้มีชีวิต

ท่ามกลางความเร่งรีบ เสียงจอแจ และรถยนต์อันแสนพลุกพล่านของย่านนางลิ้นจี่ ฉันได้ยืนหยุดอยู่ตรงหน้าประตูไม้บานใหญ่ ซึ่งเป็นทางเข้าสตูดิโอเซรามิก ‘ยานณกาล’ (Yarnnakarn) และทันทีที่ก้าวเท้าเข้าร้าน กลับต้องแปลกใจในความเงียบสงบที่ยึดครองพื้นที่ชั้น 1 ซึ่งห่างจากถนนไม่ถึง 5 เมตร เป็นความตั้งใจของ ‘กรินทร์ พิศลยบุตร’ และ ‘นก-พชรพรรณ ตั้งมติธรรม’ ที่อยากให้สเปซของยานณกาลเป็นหลุมหลบภัย เพื่อปลีกตัวออกจากความวุ่นวาย  สเปซแต่ละมุมถูกประดับประดาไปด้วยเครื่องปั้นเซรามิก ทั้งของใช้ ของกระจุกกระจิก หรือของแต่งบ้านให้เราเลือกสรรตามชอบ ซึ่งฉันกลับไม่รู้สึกว่าเรากำลังเลือกซื้อสินค้าในร้านขายของ แต่เหมือนเดินชมงานเซรามิกในอาร์ตแกลเลอรีเล็กๆ ที่หากถูกใจชิ้นไหนก็จ่ายเงินแล้วหิ้วกลับบ้านไปได้เลย ยานณกาล = พาหนะที่พาเราเดินทางผ่านกาลเวลา กว่ายานณกาลจะเป็นรูปเป็นร่างได้ทุกวันนี้ กรินทร์เล่าให้ฟังว่าหลังจากที่เขาเรียนจบเอกหัตถศิลป์ จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาไม่ได้ตั้งใจทำสตูดิโอเซรามิกในตอนแรก แต่มีความคิดว่าอยากหาอาชีพที่สามารถดูแลได้ด้วยตนเอง ตั้งแต่กระบวนการทำ ไปจนถึงการลงมือขาย ซึ่งช่วงหนึ่งเขาได้พับความคิดตรงนั้นเอาไว้ แล้วไปทำงานอย่างอื่นแทน “ช่วงหนึ่งเราไปทำงานที่โรงงานเซรามิก แล้วเราทำ Mass Production คือทำปริมาณเยอะๆ พันชิ้น หมื่นชิ้น แล้วพอมาถึงจุดหนึ่งเรารู้สึกว่าความรู้ที่มีจากการทำงานในโรงงานบวกกับความถนัดของเรา มันน่าจะพอทำเองได้นะ เลยออกมาทำ ซึ่งความตั้งใจแรกคิดว่าอยากทำ Home Studio มีเซตเตาเผาเล็กๆ […]

Roh หนังผีมาเลย์ ความเฮี้ยนบนฐานเรื่องเล่าพื้นบ้านและพื้นเพศาสนา

Roh หนังผีเสียวสันหลังทุนน้อยสัญชาติมาเลเซีย ความเฮี้ยนที่ผูกเรื่องเล่าพื้นบ้าน ความเชื่ออิสลาม และอัลกุรอาน

‘ปลาสลิดบางบ่อ แม่อำนวย’ ผู้บุกเบิกปลาสลิดบางบ่อ ของดีในคำขวัญจังหวัดสมุทรปราการ

เริ่มต้นขายราว พ.ศ. 2500 ผู้บุกเบิกปลาสลิดตากแห้ง ปัจจุบันสืบทอดมาถึงรุ่นที่ 3 การันตีความอร่อยหอมมันเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือมีโปรดักต์หลากหลายให้เลือกสรร

ไม่มีเงินเรียนหมอได้ไหม

เด็กต่างจังหวัดหลายๆ คนอาจจะเคยได้ยิน ‘ทุนเรียนดี แต่ยากจน’ ผ่านมา 20 ปี ทุนนี้ก็ยังคงอยู่ จนกลายเป็นสิ่งที่เด็กในประเทศนี้ต้องมาแย่งชิงกัน ทั้งๆ ที่เด็กทุกคนควรได้รับการศึกษาฟรี (ที่ฟรีจริงๆ) ตั้งแต่อนุบาลไปจนถึงระดับปริญญาตรีเหมือนในหลายประเทศ แต่ปัจจุบันประเทศไทยให้เด็กเรียนฟรีในโรงเรียนรัฐแค่ระดับชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามการศึกษาขั้นพื้นฐานเท่านั้น ทำให้ทุกปีช่วงเปิดภาคการศึกษาเราจะได้เห็นข่าวเด็กสอบติดคณะต่างๆ โดยเฉพาะคณะแพทยศาสตร์แต่ไม่มีเงินเรียน อย่างกรณีนักเรียนหญิงอายุ 18 ปี ในจังหวัดกาฬสินธุ์สอบติดแพทย์ แต่ทางบ้านฐานะยากจน ทำให้ผู้ใจบุญและชาวเน็ตพร้อมใจโอนเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือจนได้เงินบริจาคกว่า 3.7 ล้านบาท หลังจากมีข่าวออกไป เรื่องนี้ก็กลายเป็นหัวข้อที่ถูกพูดถึงกันอย่างหนัก หนึ่งในนั้นคือประเด็นที่ว่า “ทำไมประเทศนี้ให้ความสำคัญกับคนที่สอบติดแพทย์มากกว่าเด็กที่สอบติดคณะอื่นๆ” ไปจนถึง “คณะแพทย์ฯ มีทุนมากมายให้นักศึกษาที่มีฐานะยากจน” เมื่อสังคมตั้งคำถาม เราจึงพาทุกคนมาหาคำตอบว่าทำไมอาชีพหมอถึงถูกให้ความสำคัญในสังคมไทย และถ้าอยากเรียนแล้วไม่มีเงินจะเรียนได้ไหม | ค่านิยมของคนรุ่นเก่า “เก่งขนาดนี้ ทำไมไม่เรียนหมอ”“เป็นหมอแล้วได้เงินดีนะ มีค่าตอบแทนสูง”“หมอเป็นอาชีพมั่นคง ไม่ตกงาน” ในปี 2500 ได้มีการสำรวจ ‘ค่านิยมในการประกอบอาชีพของเด็กไทยชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตพระนครและเขตธนบุรี’ พบว่า ‘แพทย์’ คืออาชีพที่เด็กๆ ในยุคนั้นใฝ่ฝันอยากเป็นมากที่สุด โดยให้เหตุผลว่าเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ รองลงมาก็ครู ทหาร ตำรวจ และเข้ารับราชการ […]

เพิ่มสกิลทำเมนูเด็ดจากทั่วโลก ผ่านคอร์สออนไลน์จาก Airbnb

การทำอาหารจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะเชฟและผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารจากทั่วทุกมุมโลกจะมาสอนทำเมนูเด็ด ผ่านคอร์สออนไลน์จาก Airbnb

‘กรวยจราจร’ เหตุเกิดจาก พนง. ทาสีถนน จนได้เครื่องหมายจราจรที่คนทั่วโลกต้องหลีกทาง

กว่าจะมาเป็น ‘กรวยจราจร’ สีส้มแปร๊ดตั้งตระหง่านอยู่บนท้องถนน และเป็นสัญลักษณ์จราจรของสากลโลกที่บอกว่าเป็น ‘พื้นที่ห้ามเข้า’ ชนิดที่ต่อให้คุณบิดคันเร่งสุดแรง เหมือนดอมินิก ทอเรตโตเข้าสิงก็ต้องหักพวงมาลัยหลบทางให้ ซึ่งก่อนหน้านั้นมนุษย์เราเคยใช้ ‘แผงไม้’ กันมาก่อน แต่บ่อยครั้งที่โดนรถยนต์สอยกระจุยกระจาย แถมสร้างอันตรายให้ผู้ขับขี่ทวีคูณ ทำให้การใช้แผงไม้จึงไม่เวิร์กอย่างแรง! ‘Charles D. Scanlon’ พนักงานทาสีบนท้องถนนในเมืองลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา คลุกคลีกับรถที่เหยียบเส้นถนนที่ลงสีไว้แล้วยังไม่แห้งจนเลอะเทอะพื้นไปทั่ว หรือรถยนต์พุ่งเข้ามาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยขณะปฏิบัติงานอยู่บ้าง ทำให้เขารวบปัญหาทั้งหมดแล้วคิดค้น ‘กรวยจราจร’ เพื่อบอกรถยนต์ที่ขับผ่านไปมา กรุณาใช้ช่องทางอื่น เพราะสีเส้นถนนยังไม่แห้งค้าบโผ้มมมม (เสียเวลาทาใหม่แหละ) หลังจากตัดสินใจว่าจะทำกรวยจราจร ในปี 1940 เขาจึงเอาหนังมาเย็บเป็นทรงกรวยถูๆ ไถๆ ใช้งานไปก่อน หากรถคันไหนเกิดอุบัติเหตุขับชนกรวย อย่างน้อยมันก็ไม่ทำอันตรายต่อรถและผู้ขับขี่แน่นอน ซึ่งพอได้ลองใช้ปรากฏว่าเวิร์กซะงั้น เพราะรถหลายคันทยอยขับเบี่ยงทางและเดาได้ว่าข้างหน้าต้องมีการทาเส้นถนนอยู่แน่ๆ  ในปีเดียวกัน Scanlon ยื่นจดสิทธิบัตร ‘กรวยจราจร’ และได้รับสิทธิบัตรในปี 1943 ในชื่อว่า ‘Safety marker (US 2817308)’ แถมเขายังตั้งกฎสำหรับการผลิตกรวยจราจรขึ้นมา 3 ข้อ1. ใช้สีสันที่รถต้องมองเห็นได้ง่าย และวัสดุที่ใช้ต้องไม่สร้างความเสียหายแก่รถยนต์2. ใช้พื้นที่จัดเก็บน้อยและขนย้ายได้ง่าย3. ถ้ากรวยโดนรถเสยจนเหินฟ้าต้องตกลงมาในแนวตั้งเหมือนเดิม  […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.