พาไปดูชีวิตคนเมืองที่ต้องรออะไรสักอย่าง นาน น้าน นาน จนตายไปเป็นผีแล้วก็ยังต้องรออยู่

เวลาดูหนังผี นอกจากความน่ากลัวก็มักมีความเศร้าแฝงมาด้วยตลอด เพราะผีแต่ละตัวมักมีห่วงให้ยังวนเวียนอยู่ในโลกมนุษย์ ตั้งแต่การตายโดยไม่รู้ตัวแล้วยังใช้ชีวิตเหมือนเดิม ตัดใจจากใครสักคนไม่ได้ ต้องคอยไปเฝ้ามอง หรือกระทั่งยังรออะไรบางอย่างอยู่อย่างนั้น รอรถติด รอรถเมล์ รอต่อคิวบีทีเอส รอถนนซ่อมเสร็จ นี่คือตัวอย่างการรอที่คนเมืองต้องประสบพบเจออยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ซึ่งถ้าลองเอาเวลาเหล่านั้นมาต่อกันคงน่าทึ่งไม่ใช่น้อย ที่เราต้องเสียเวลาไปกับการรอมากขนาดนี้ และแน่นอนว่า เวลาที่เรารออะไรนานๆ ก็มักนึกถึงการเปรียบเทียบทำนองว่า รอนานขนาดนี้ ตายแล้วเกิดใหม่ไปหลายรอบก็ยังไม่เสร็จหรือไม่ได้ไปเลยมั้ง แล้วจะเป็นไปได้ไหมที่ผีๆ ในเมืองจะยังคงวนเวียนไม่ไปไหน เพราะรอนั่นโน่นนี่จนตายแต่ไม่รู้ตัว คอลัมน์ One Day With… เลยขอใช้โอกาสช่วงฮาโลวีนหยิบเอาสาเหตุการรอจนตายของเหล่าผีในเมืองมาตีแผ่ให้ทุกคนดู ใครเคยมีประสบการณ์ร่วมกับผีตัวไหนก็ไปปลอบใจพี่ผีเขากันได้ เป็นอะไรตายมาล่ะ? ฉันรอ รถเมล์ จนตาย 15 นาที 30 นาที 1 ชั่วโมง คุณเคยรอรถเมล์นานสุดเท่าหร่ายยย (ทำเสียงยานให้สมกับเป็นผี) รู้ไหม ฉันรอรถเมล์นานมากที่สุดเป็นเวลาชั่วกัปชั่วกัลป์ เพราะบางคันก็ไม่ยอมจอดที่ป้าย หรือบางคันก็แน่นจนเบียดตัวขึ้นไปไม่ได้แล้ว รู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นผีรอที่ป้ายรถเมล์ ซึ่งจากที่สังเกตการณ์มา คนก็ยังรอรถเมล์นานเหมือนเดิม เพิ่มเติมคืองุนงงสับสนกับสีและสายรถเมล์ที่ปรับใหม่ ทำเอาคนที่ใช้รถเมล์บ่อยๆ มึนไปตามๆ กัน ยังไม่นับประเด็นรถเมล์ร้อนที่นี่ก็ปาไปปี 2024 ภาวะโลกร้อนข้ามขั้นไปยังภาวะโลกเดือด คนไทยก็ยังต้องใช้รถเมล์ร้อนที่ใช้น้ำมันดีเซลซึ่งเป็นสาเหตุของ PM […]

BKK in pieces ธีสิสซีนของคนทำงานออกแบบผู้สนใจเมือง นำเสนอของดีไซน์ไทยๆ ผสมผสานกับความสนุกของกราฟิก

ความชอบในสิ่งพิมพ์ การสังเกตและอธิบายสิ่งธรรมดารอบตัว และการตั้งคำถามเรื่องอะไรคือสุนทรียภาพแบบไทยๆ นำมาสู่การทำ BKK in pieces ธีสิสจบการศึกษาคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สาขานิเทศศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ของ ‘ชิตวัน เพชรรัตน์’ ในช่วงเวลาระหว่างนั้น หนังสือที่เธอกำลังอ่านชื่อ ‘The Beauty of Everyday Things’ โดย Soetsu Yanagi ก็ทำให้เห็นว่าการพิจารณาสิ่งของพาเราสืบสาวไปหารากวัฒนธรรมที่สร้างมันขึ้นมาได้อย่างไร “ในหนังสือมีส่วนที่กล่าวถึง Fundamental Principle ของการชงชา (Chabi) ไว้ว่า ‘As fortune would have it, it was not an intellectual concept, but rather consisted of concrete objects that acted as intermediaries…’ “กล่าวคือ ด้วยการมีอยู่ของสิ่งที่จับต้องได้อย่างสำนักชา ทางเดินในสวน […]

ถอด 7 ประเด็นน่ารู้เรื่องการพัฒนาเมืองจากนโยบาย Car Free Day ที่ กทม. พยายามผลักดัน

แนวคิด Car Free หรือแนวคิดปลอดรถยนต์ คือการลดการขับขี่รถยนต์ เพื่อลดปัญหารถติด มลภาวะทางอากาศ มลพิษทางเสียง รวมถึงเป็นการคืนพื้นที่ถนนให้คนเมือง ด้วยการใช้การเดินทางในรูปแบบการเดินเท้า ปั่นจักรยาน และขนส่งสาธารณะ ซึ่งในหลายๆ ประเทศทั่วโลกก็นำมาใช้งานกับเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ๆ จนได้ผลที่น่าพอใจไปแล้วไม่น้อย ที่ผ่านมากรุงเทพฯ เองมีความพยายามผลักดันนโยบาย Car Free มาตลอด อาจจะเป็นรูปแบบของการเชิญชวนบ้าง การรณรงค์บ้าง หรือการจัดกิจกรรมปั่นจักรยานบ้าง แต่ในปีนี้ แนวคิด Car Free ดูจะเป็นรูปเป็นร่าง มีการนำมาทำให้เห็นภาพมากขึ้นจากกิจกรรม Car Free Day ที่ กทม.ร่วมมือกับภาคีเปลี่ยนถนนบรรทัดทองในระยะทาง 350 เมตรให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะ จัดกิจกรรมอื่นๆ ให้คนเมืองได้ออกมาพักผ่อนหย่อนใจ และมองเห็นความเป็นไปได้ของการลดพื้นที่ถนน แล้วนำมาสร้างความเป็นไปได้อื่นๆ ในการพัฒนาเมือง หลังจบกิจกรรม แน่นอนว่าย่อมมีเสียงสะท้อนที่หลากหลายจากคนเมือง ทั้งในแง่ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย Urban Creature จึงนัดคุยกับ ‘วันพัฒน์ มาตังคะ’ และ ‘ศิรดา ดาริการ์นนท์’ สถาปนิกผังเมืองอาวุโสของ Healthy Space […]

เปิดแมปสวนสาธารณะขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ ที่เกินร้อยไร่ ทำกิจกรรมได้ทุกรูปแบบ

‘สวนสาธารณะ’ หรือ ‘พื้นที่สีเขียว’ คือเกณฑ์สำคัญที่บ่งบอกอะไรเกี่ยวกับเมืองนั้นๆ ได้มากมาย ตั้งแต่รัฐบาลให้ความสำคัญกับธรรมชาติแค่ไหน คนเมืองมีพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจหรือไม่ ไปจนถึงคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ ที่ผ่านมากรุงเทพฯ มีความพยายามที่จะเพิ่มจำนวนสวนสาธารณะขนาดเล็กที่ประชาชนเข้าถึงง่ายให้มีปริมาณมากขึ้น ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องดีไม่น้อย แต่ขณะเดียวกัน เราเองก็มองว่าสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่เป็นป่าในเมือง มีสิ่งอำนวยความสะดวกและพื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะ จนผู้คนสามารถไปใช้งานได้เกินครึ่งวันก็เป็นพื้นที่ที่เมืองควรมีไม่แพ้กัน วันหยุดนี้ คอลัมน์ Urban Guide ขอแจกแผนที่รวมสวนสาธารณะขนาดใหญ่เกินร้อยไร่มาให้ทุกคนปักหมุดไว้ไปตามเก็บให้ครบ รับรองว่าแต่ละแห่งเขียวสะใจ มีกิจกรรมมากมายให้ทำ แถมเดินเล่นกันสนุกแน่นอน สวนสาธารณะศูนย์กีฬาบึงหนองบอนเนื้อที่ 644 ไร่ สวนสาธารณะศูนย์กีฬาบึงหนองบอนเป็นสวนระดับเมืองที่มีพื้นที่มากกว่า 500 ไร่ขึ้นไป มีลานกว้างสำหรับจัดงานใหญ่ๆ และมีกิจกรรมในสวนที่หลากหลายและเน้นหนักไปทางด้าน Active Recreation ที่นี่จัดเป็นสวนหย่อมรอบบริเวณบึงขนาดใหญ่ สำหรับกิจกรรมออกกำลังทางน้ำ เช่น เรือใบ พายคายัก พายซัปบอร์ด วินด์เซิร์ฟ เป็นต้น ใครที่เล่นไม่เป็นก็ไม่ต้องกังวล เพราะถ้าสมัครสมาชิกรายปีแล้วจะมีการสอนให้ด้วย ส่วนใหญ่ต้นไม้ในสวนเป็นไม้ยืนต้นเพื่อเพิ่มความร่มรื่น ไม่ต้องกลัวร้อน แถมยังมีเส้นทางจักรยานให้ปั่นกันยาวๆ เหมาะกับการไปอยู่เป็นวันๆ เพราะมีอะไรให้ทำมากมายแน่นอน เวลาทำการ : วันจันทร์-เสาร์ เวลา 08.30 – 19.30 […]

8 วิธีที่ทำให้การอยู่อาศัยในคอนโดฯ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืน

คนเมืองยุคนี้โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่มักอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมกันมากขึ้น เนื่องจากทำเลตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ตอบโจทย์การเดินทาง สะดวกสบาย ดูแลง่าย และมีราคาที่จับต้องได้มากกว่าการซื้อบ้านเป็นหลัง แต่พอเป็นคอนโดฯ ที่มีพื้นที่จำกัด ก็อาจทำให้ผู้อยู่อาศัยทำอะไรกับพื้นที่ห้องไม่ได้มากนัก ไม่เหมือนกับบ้านที่เราอาจตกแต่ง ปรับแต่ง หรือเพิ่มเติมส่วนสีเขียว เพื่อทำให้ที่อยู่อาศัยมีชีวิตชีวา เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ถึงอย่างนั้น การอยู่อาศัยในคอนโดฯ ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะกรีนไม่ได้ เพราะยังมีอีกหลายวิธีให้เราปรับเปลี่ยนหรือเสริมนิดๆ หน่อยๆ เพื่อทำให้ห้องเล็กๆ ของเราดีต่อใจ ร่างกาย และสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนหลอดไฟเป็นไฟ LED ไฟ LED มีข้อดีกว่าหลอดไส้ทั่วไป เนื่องจากใช้พลังงานต่ำกว่ามากสุดถึง 70 เปอร์เซ็นต์ อายุการใช้งานทนทานถึง 20 ปี มีขนาดเล็กและสามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย จึงเหมาะกับการเป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ที่ทำได้ง่ายๆ ในคอนโดฯ ของเรา ตกแต่งคอนโดฯ ด้วยวัสดุเหลือใช้ ทุกคนน่าจะเคยได้รับของตกทอดมาจากปู่ย่าตายาย หรือมีเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่ได้ใช้หรือไม่อินแล้ววางอยู่ แต่ไม่รู้จะทำยังไง แทนที่จะใช้เฟอร์นิเจอร์และสิ่งของประดับที่ซื้อใหม่มาตกแต่งบ้าน ลองเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นแทน หรือถ้าไม่สปาร์กจอย จะลองทาสีตกแต่งเพิ่มเติมให้ดูสนุกสนานและใหม่ขึ้น เพื่อช่วยลดของเสียที่จะถูกทิ้งในกองขยะ และยังเป็นการเพิ่มอายุการเก็บรักษาของวัสดุเหล่านี้ อีกทั้งการใช้ของเก่ามาตกแต่งจะช่วยเพิ่มกลิ่นอายการตกแต่งที่น่าสนใจให้ห้องหับของเราได้ ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากธรรมชาติ แน่นอนว่าพฤติกรรมรักโลกที่ทำได้ง่ายๆ ที่บ้านที่คนนึกถึงเป็นอย่างแรกๆ คือ การกินอาหารออร์แกนิก […]

FYI

#แพทย์ลาออก เสียงสะท้อนจากเหล่าบุคลากรทางการแพทย์

จากกระแส #แพทย์ลาออก ที่กลายเป็นประเด็นร้อนของสังคมในตอนนี้ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์หลายต่อหลายคน ทั้งคนที่กำลังเรียนอยู่ กำลังอยู่ในช่วงทำงานใช้ทุน หรือกระทั่งทำงานมานานแล้ว ออกมาแสดงความคิดเห็นถึงประเด็นนี้กันข้ามวันข้ามคืน เพราะบุคลากรทางการแพทย์ก็เป็นคนทำงานเหมือนๆ กับทุกอาชีพ ที่ต้องการระบบการทำงานที่ดี มีเพื่อนร่วมงานที่ไม่เป็นพิษ Work-life Balance ที่เหมาะสม และคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นกัน ด้วยวาระนี้เอง Urban Creature จึงติดต่อไปหา 5 บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเป็นพื้นที่ให้พวกเขาส่งเสียงสะท้อนถึงระบบการทำงานที่ไม่เอื้อต่อการมีชีวิตที่ดี ทั้งยังทำให้คนทำงานหมดแรงหมดใจไปเรื่อยๆ อ. อายุ 24 ปีแพทย์จบใหม่ที่พยายามอยู่ในระบบให้ได้ เราเป็นแพทย์จบใหม่ที่เพิ่งเข้ามาอยู่ในระบบราชการได้ราวๆ 1 เดือน เหตุผลที่ตัดสินใจยังอยู่ในระบบเพราะการเรียนต่อเฉพาะทางในสาขาที่เราสนใจ เราโชคดีที่จับฉลากได้อยู่จังหวัดใกล้กรุงเทพฯ ซึ่งต้องแก่งแย่งกับเพื่อนๆ จากโควตาภาคกลางอันน้อยนิด บางคนโชคร้ายต้องไปอยู่ไกลบ้านมากๆ บางคนต้องไปอยู่จังหวัดที่พูดชื่อขึ้นมาก็ยังนึกไม่ออกว่าอยู่ตรงไหนในแผนที่ประเทศไทยด้วยซ้ำ การทำงานในทุกๆ วันมีความเครียดและกดดัน ทั้งคนไข้ปริมาณมหาศาลที่ต้องตรวจให้หมดในเวลาอันจำกัด การต้องอดนอน ทำงานติดต่อกันหลายวัน รวมถึงความเครียดจากสตาฟฟ์เวลาปรึกษาปัญหาของคนไข้ กลายเป็นว่าบางครั้งเราต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ยากๆ คนเดียว ทั้งที่เราเองก็ไม่ได้มีประสบการณ์ การเป็นหมอเคยเป็นสิ่งที่เรารู้สึกชอบและสนุกเวลาทำงาน แต่ด้วยระบบและสิ่งแวดล้อม มันค่อยๆ บั่นทอนแพสชันของเราและเพื่อนไปเรื่อยๆ จนตอนนี้ในหัวคิดไปเป็นวันๆ ว่าเราจะผ่านวันนี้ไปยังไงให้สุขภาพจิตของเรายังดีเหมือนเดิม โอ๊ต อายุ 23 […]

สัมผัสชะตาโศกของคนไร้บ้านที่ไร้สิทธิ์ไร้เสียงกับ ‘ณ สถานีรถไฟโตเกียวอุเอโนะ’

‘ยามเดินสวนกัน ไม่ว่าใครก็หลบสายตา แต่กลับถูกเฝ้าจับจ้องจากผู้คนมหาศาล นิยามนั้นคือชีวิตคนไร้บ้าน’ แม้จะเป็นคนที่ค่อนข้างสนใจประเด็นสังคมอยู่บ้าง แต่กับประเด็นคนไร้บ้าน ฉันคงต้องบอกว่าค่อนข้างเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งที่แม้ว่าในโลกแห่งความจริงมันจะแสนใกล้ตัว เพราะเคยนั่งรถหรือเดินผ่านคนกลุ่มนี้แถวถนนราชดำเนินและมุมอื่นๆ ในกรุงเทพฯ อยู่บ่อยๆ ที่บอกว่าไกลตัวเพราะสารภาพตามตรงว่าตัวเองไม่เคยสนใจศึกษาประเด็นนี้อย่างจริงจัง แน่นอนว่ามีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจพวกเขาอยู่แล้ว แต่ไม่มีทางที่จะเข้าอกเข้าใจได้ เพราะไม่เคยสนทนาหรือคลุกคลีกับคนกลุ่มนี้แม้แต่น้อย จนกระทั่งเมื่อปีก่อน ไม่รู้อะไรดลใจให้ฉันหยิบหนังสือเกี่ยวกับชีวิตคนไร้บ้านในกองดองมาอ่าน เริ่มต้นด้วยรวมเรื่องสั้น ‘บ้านที่กลับไม่ได้’ ก่อนไปเสาะหาความเรียง ‘สายสตรีท’ มาอ่านเพิ่มเติม หนังสือทั้งสองเล่มเขียนโดย ‘บุญเลิศ วิเศษปรีชา’ อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่สนใจประเด็นชีวิตคนชายขอบ และเป็นนักวิชาการไทยผู้เป็นที่รู้จักจากการทำงานวิจัยที่เอาตัวเองไปใช้ชีวิตเป็นคนไร้บ้าน ทั้งในประเทศไทย (สนามหลวง กรุงเทพฯ), ประเทศญี่ปุ่น (กรุงโตเกียว) และกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ คุณบุญเลิศเคยกล่าวไว้ในบทสัมภาษณ์ท้ายหนังสือ ‘บ้านที่กลับไม่ได้’ ถึงความแตกต่างของโครงสร้างสังคมและค่านิยมที่ส่งผลต่อสถานภาพของคนไร้บ้านของแต่ละประเทศ โดยเปรียบเทียบผ่านประเทศฟิลิปปินส์ที่มีคนไร้บ้านจำนวนมาก จนมีชุมชนคนไร้บ้านของตัวเองตามย่านต่างๆ และประเทศญี่ปุ่นที่มีจำนวนคนไร้บ้านไม่มากเท่า ทั้งยังไม่ได้พบเจอได้ง่ายๆ เนื่องจากพวกเขาไม่เป็นที่ยอมรับ ต้องหลบซ่อนตัวจากผู้คน ทั้งยังถูกมองว่าใช้ชีวิตได้ล้มเหลว ทำให้คนไร้บ้านที่ญี่ปุ่นมีความกดดัน เครียด และมีสถานะที่ต่ำต้อยจากการหลบๆ ซ่อนๆ และนั่นนำมาสู่การอ่านนิยายเรื่อง ‘ณ สถานีรถไฟโตเกียวอุเอโนะ’ โดย Yu […]

Bangkok Through Poster นิทรรศการโปสเตอร์รณรงค์เลือกตั้ง จากเหล่านักออกแบบที่อยากเห็นประเทศดีขึ้น

ในบรรดาการสื่อสาร ข้อความและการอธิบายถือเป็นวิธีการสื่อสารที่ง่ายและตรงไปตรงมาที่สุด ทว่าหลายต่อหลายครั้ง งานประเภทภาพวาด งานออกแบบ หรือภาพถ่าย ก็สามารถใช้เป็นสื่อที่ส่งสารได้อิมแพกต์ไม่แพ้กัน และนี่คือการจัดงานเป็นครั้งที่ 4 แล้วสำหรับโปรเจกต์ ‘BANGKOK THROUGH POSTER’ ที่แม่งานอย่างแกลเลอรี KINJAI CONTEMPORARY เปิดรับผลงานการออกแบบโปสเตอร์จากศิลปิน นักออกแบบ คนทำงานสร้างสรรค์ทุกแขนง และผู้ที่สนใจ ทั้งบุคคลและองค์กร มาจัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการ ความพิเศษของนิทรรศการครั้งนี้คือ ปีนี้เป็นปีที่มีการเลือกตั้งครั้งใหญ่ BANGKOK THROUGH POSTER จึงมาพร้อมกับธีม ‘#ทราบแล้วโหวต’ ภายใต้ความร่วมมือกับ iLaw โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน ภายในงานมีการคัดเลือกและจัดแสดงชิ้นงานทั้งหมด 66 ชิ้น ซึ่งประกอบด้วยผลงานจากนักสร้างสรรค์ที่ได้รับเชิญ ไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบ นักวาด ศิลปิน องค์กร หรือนักสร้างสรรค์ประเภทอื่นๆ จำนวน 33 ชิ้น และผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจากรอบ Opencall อีกจำนวน 33 ชิ้น โดยชิ้นงานทั้งหมดจะนำไปโพสต์และทำแคมเปญส่งต่อให้ประชาชนได้นำไปใช้ประชาสัมพันธ์ผ่าน Hashtag #ทราบแล้วโหวต และช่องทางออนไลน์ต่างๆ ต่อไป นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจให้ไปร่วมและเยี่ยมชมอีกมากมาย […]

เปิดนโยบายสิ่งแวดล้อมของพรรคการเมือง เลือกตั้ง ปี 2566

เข้าสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง 66 แล้ว เพราะเหลือเวลาอีกแค่ไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น ก็จะถึงช่วงเวลาตัดสินชะตาชีวิตคนไทยในอีก 4 ปีข้างหน้า ที่ผ่านมาได้มีการนำเสนอจุดยืนและนโยบายของเหล่าพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสาธารณสุข ด้านค่าครองชีพ มาเยอะแล้ว Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปดูนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของพรรคการเมืองที่มีชื่อติดโพลใหญ่ๆ และน่าจับตามองกันบ้าง เพราะเราคงมีชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนไม่ได้แน่ๆ หากผู้มีอำนาจไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และปล่อยให้ประชาชนใช้ชีวิตท่ามกลางเมืองหม่นๆ ที่เต็มไปด้วยฝุ่นควัน รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่อาจรุนแรงขึ้นในอนาคต พรรคภูมิใจไทย เบอร์ 7 ประเดิมด้วยพรรคแรกกับการไล่จากเลขเบอร์น้อยไปยังเลขมาก กับ ‘พรรคภูมิใจไทย’ ซึ่งนำโดย ‘อนุทิน ชาญวีรกูล’ ที่ปัจจุบันนั่งแท่นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ‘พูดแล้วทำ’ คือสโลแกนที่พรรคภูมิใจไทยนำมาชูสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ และเมื่อเราเข้าไปดูข้อมูลนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมก็พบว่า ตัวพรรคไม่ได้เซตนโยบายสิ่งแวดล้อมไว้อย่างชัดเจนนัก แต่มีนโยบายที่เกี่ยวกับพลังงานเข้ามาแทน นั่นคือ นโยบายพลังงานสะอาด ลดรายจ่ายประชาชน เพราะมองว่าค่าใช้จ่ายด้านพลังงานทั้งค่าน้ำมันและค่าไฟฟ้าคือภาระใหญ่หลวงที่ประชาชนต้องแบกรับ และกระบวนการผลิตพลังงานเหล่านี้ยังก่อให้เกิดมลภาวะ อากาศพิษ ทำร้ายสุขภาพประชาชน และเป็นต้นเหตุของโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชน พรรคภูมิใจไทยจึงเสนอนโยบายผ่าน 2 โครงการ นั่นคือ ประชาชนจะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการใช้หลังคาบ้านติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใช้ในบ้านเรือนตัวเอง คิดเป็นกระแสไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 450 […]

10 Censored Thai Cinemas ลิสต์หนังไทยที่รัฐไทยไม่ให้ไปต่อ

เคยสงสัยไหมว่า นี่ก็ปี 2023 แล้ว ทำไมประเทศไทยยังมีข่าวคราวการแบนหนังไทยให้ได้เห็นกันอีก ทั้งที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์บ้านเราก็ไม่ได้สู้ดีนัก โดยเฉพาะในช่วงหลังๆ ที่ปีปีหนึ่งหนังไทยเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ไม่กี่สิบเรื่อง และส่วนใหญ่ก็เป็นแนวใกล้ๆ กัน เช่น หนังผี หนังตลก หนังรัก เป็นต้น โดนกีดกันประเด็นหรือแนวหนังยังไม่พอ พอผู้กำกับและทีมงานก่อร่างสร้างหนังไทยสักเรื่องมาจนเสร็จเรียบร้อย ก็ยังต้องมาไหว้พระสวดมนต์ให้ผ่าน ‘กองเซนเซอร์’ หรือ ‘คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์’ ที่รัฐเป็นกำลังสำคัญในการกำกับดูแลอีก Urban Creature ชวนพังกำแพงแห่งศีลธรรมอันดีงาม ความมั่นคงของชาติ และนานาเหตุผล แล้วมาย้อนดูหนังไทย 10 เรื่องที่โดนแบนในช่วงสิบกว่าปีนี้กัน แสงศตวรรษ (2551) ก่อนหน้านี้มีภาพยนตร์ไทยที่โดนเซนเซอร์หรือห้ามฉายบ้าง แต่ ‘แสงศตวรรษ’ ซึ่งเป็นผลงานของ ‘อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล’ ผู้กำกับไทยที่เป็นที่รู้จักในเวทีระดับโลก ก็ทำให้การเซนเซอร์ในวงการภาพยนตร์เป็นที่พูดถึงและถกเถียงกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น ‘แสงศตวรรษ’ กล่าวถึงชีวิตของแพทย์หญิงในโรงพยาบาลเล็กๆ ที่ต่างจังหวัด ที่มีความทรงจำที่ดีต่อผู้ป่วยและความรัก และอีกชีวิตของแพทย์ทหารหนุ่มในโรงพยาบาลในเมือง กับผู้ป่วยพิการและคู่รักของเขาที่จะจากไป หนังเรื่องนี้มีกำหนดฉายในประเทศไทยในเดือนเมษายน ปี 2550 แต่ไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เพราะชี้ว่ามีฉากที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรศาสนาและองค์กรทางการแพทย์ โดยมีเงื่อนไขให้ตัด 4 ฉากออกไป ได้แก่ […]

‘หลงยุคหลุดสมัย’ รวมเรื่องสั้นถึงสังคมไทยในอนาคต ที่หยิบความล้ำมาเล่าอย่างเจ็บแสบ

เมื่อปีก่อน ฉันได้มีโอกาสอ่านรวมเรื่องสั้นฉบับกะทัดรัดที่ทางสำนักพิมพ์แซลมอน ซึ่งเป็นผู้จัดพิมพ์ให้คำจำกัดความไว้ว่า ‘โปรเจกต์ซาชิมิ’ เนื่องจากมีชิ้นพอดีคำ เนื้อหาสดใหม่ และไม่มีการปรับแก้ต้นฉบับ ชื่อของหนังสือคือ ‘หลงยุคหลุดสมัย’ โดย วัน รมณีย์ นักเขียนที่ฉันไม่เคยได้ยินชื่อ และเสิร์ชหาข้อมูลเท่าไหร่ก็ไม่เจออะไรไปมากกว่าการที่เขาเป็นนักเขียนลึกลับ ฝีมือจัดจ้านเท่านั้น สามเรื่องสั้นที่ประกอบรวมในเล่ม อันได้แก่ จ๊ะเอ๋ บุษบา และหลงยุคหลุดสมัย ทำให้ฉันอดรู้สึกตะลึงพรึงเพริดไม่ได้ อาจเพราะฉันไม่ได้อ่านงานเขียนไทยแนวนี้มานานมากแล้ว หรือเพราะความสดใหม่ของไอเดียการนำเสนอเรื่องราวโดยนักเขียนก็ตาม สุดท้ายฉันเลือกบันทึกชื่อของ ‘วัน รมณีย์’ ไว้ลึกๆ ในใจ คาดหวังว่าถ้าเขาเขียนงานใหม่ออกมาเมื่อไหร่ ฉันจะไปขวนขวายหาอ่านให้ได้ จนกระทั่งฉันได้มาเจอ ‘หลงยุคหลุดสมัย’ ในอีกเวอร์ชันหนึ่งที่เป็นฉบับครบรอบสามสิบปี โดยสำนักพิมพ์ Anthill Archive ที่ออกมาช่วงปลายปีที่แล้ว (แต่ในหนังสือระบุว่า พิมพ์เมื่อธันวาคม 2595 ที่สื่อว่ามาจากอนาคต!) ความพิเศษของฉบับนี้คือ มีเรื่องสั้นเพิ่มจำนวนขึ้นอีก 9 เรื่อง รวมเบ็ดเสร็จเป็น 12 เรื่อง แถมยังมีกิมมิก Ways to Read สำหรับการไล่อ่านแต่ละเรื่อง แบ่งเป็นตัวเลือกของนักเขียนและบรรณาธิการอีกแน่ะ แต่สุดท้ายเราก็เลือกไล่อ่านตามหน้าหนังสือไปเรื่อยๆ […]

เหล่ามังงะที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของนักเขียนการ์ตูน ‘สะอาด’

ขอออกตัวก่อนว่าเราไม่ใช่นักอ่านมังงะตัวยงหรือชื่นชอบงานเขียนประเภทการ์ตูนอะไรขนาดนั้น และนี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เราเลือกหยิบงานของ ‘สะอาด’ มาอ่านช้าเหลือเกิน เมื่อเทียบกับคนรอบๆ ตัวที่รู้จักและอ่านงานของเขาตั้งแต่เมื่อหลายปีก่อน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่รู้จักเขาเอาซะเลย เพราะเท่าที่จดจำได้ ชื่อของ ‘สะอาด’ น่าจะเป็นชื่อของคนทำงานสร้างสรรค์กลุ่มแรกๆ ที่ออกมาเคลื่อนไหวด้านการเมือง และแสดงจุดยืนของตัวเองอย่างเข้มแข็งผ่านปากคำให้สัมภาษณ์ในหลากหลายสื่อ รวมถึงผลงานการ์ตูนที่เผยแพร่ผ่านช่องทางของเขาเอง และลงตามสื่อออนไลน์ที่เขาร่วมงานด้วย ชายผู้ออกเดินทางตามเสียงของตัวเอง, ครอบครัวเจ๋งเป้ง, บทกวีชั่วชีวิต, การศึกษาของกระป๋องมีฝัน และให้รักเป็นบทกวีชั่วชีวิต คือผลงานส่วนหนึ่งที่ผ่านมาของนักเขียนการ์ตูนรุ่นใหม่คนนี้ นอกจากลายเส้นที่ไม่เนี้ยบ มุกตลกร้าย และคาแรกเตอร์ตัวละครที่มีเสน่ห์ (ปนกวนๆ) สิ่งที่ทำให้ผลงานของสะอาดเป็นที่ชื่นชอบของนักอ่านจำนวนมาก น่าจะหนีไม่พ้นประเด็นสังคมที่เขาสอดแทรกไว้ในการ์ตูน ตั้งแต่เรื่องอาชีพการงานของคนทำงานสร้างสรรค์ที่ไม่ได้รับการสนับสนุน การศึกษา ชาติพันธุ์ สิทธิเสรีภาพ เป็นต้น ยังไม่นับการดำเนินเรื่องที่ชวนให้ติดตาม รู้สึกร่วมไปกับตัวละคร และทิ้งท้ายด้วยความหวังเล็กๆ ที่ทำให้คนอ่านอย่างเราเกือบน้ำตาคลอ ด้วยเหตุนี้ เราจึงชวน ‘สะอาด’ หรือ ‘ภูมิ-ธนิสร์ วีระศักดิ์วงศ์’ มาบอกเล่าถึงเหล่ามังงะที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของเขา ตั้งแต่มังงะเรื่องแรกที่ชอบ เรื่องที่เปลี่ยนชีวิตและแนวคิด นักเขียนมังงะที่ชื่นชม ตัวการ์ตูนที่ยกนิ้วให้ ไปจนถึงมังงะที่อยากแนะนำให้ทุกคนได้อ่าน เราจำการ์ตูนเรื่องแรกที่อ่านไม่ได้ แต่จำเรื่องแรกที่อ่านแล้วชอบมากๆ ได้ คือเรื่อง ‘จอมโจรอัจฉริยะ’ นักเขียนคือ โกโช […]

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.