‘คลองแม่ข่า’ สายน้ำเน่าที่กำลังถูกเปลี่ยนให้เป็นอนาคตของเมืองเชียงใหม่ หรือจะถอยหลังลงคลอง

หากเอ่ยถึง ‘คลองแม่ข่า’ ในปัจจุบัน หลายคนน่าจะนึกถึงทางเดินเลียบคลองสวยๆ แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ในตัวเมืองเชียงใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ขณะนี้ และเพิ่งได้รับสมญาใหม่ว่าเป็น ‘คลองโอตารุ’ ของจังหวัดเชียงใหม่ แต่หากย้อนกลับไปถามคนเชียงใหม่เมื่อไม่กี่ปีที่แล้ว ทุกคนจะนึกถึงคลองแม่ข่าว่าเป็นแหล่งน้ำเน่าเสีย นั่นคือภาพลักษณ์ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมาสำหรับคนเชียงใหม่  เพราะตลอดหลายปีนั้น ชาวเชียงใหม่ต่างคุ้นเคยกับการได้เห็นและได้ยินการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ที่ทุกครั้งจะต้องมีนโยบายทำคลองแม่ข่าให้กลับมาใสอยู่ด้วยเสมอ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม หลายคนจึงอดไม่ได้ที่จะหมดหวังได้เห็นคลองแม่ข่ากลับมาใส จนกระทั่งปีที่แล้วที่มีการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองแม่ข่าใหม่ให้สวยงาม ด้วยภาพสะอาดสะอ้านแปลกใหม่ที่ถูกนำเสนอออกมา ทำให้คลองแห่งนี้กลับมาได้รับความสนใจจากคนเชียงใหม่จำนวนมาก ก่อนจะขยายไปถึงคนจังหวัดอื่นๆ ที่เดินทางมาเที่ยวเดินถ่ายรูปเล่นที่คลองแห่งนี้ ซึ่งทางจังหวัดเชียงใหม่เองก็พยายามจัดให้มีกิจกรรมภายในพื้นที่แห่งนี้อยู่สม่ำเสมอ ชาวเชียงใหม่หลายคนที่ได้มาเดินเล่นที่นี่ ต่างแสดงความยินดีที่คลองแม่ข่ากลับมาเป็นคลองน้ำใส ไม่เน่าเสียอีกแล้ว…แต่น่าเสียดายที่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะพื้นที่ที่มีการปรับภูมิทัศน์ให้เดินเล่นกันนั้นเป็นเพียงแค่ระยะ 756 เมตร จากระยะทั้งหมด 11 กิโลเมตรของคลองแม่ข่าในเขตเมืองเชียงใหม่ที่ยังคงเน่าเสีย มีปัญหา และรอคอยการแก้ไขพัฒนาต่อไป จึงทำให้มีเสียงค่อนขอดขึ้นมา ตั้งแต่ความพยายามเป็นญี่ปุ่นทั้งที่เชียงใหม่ก็มีวัฒนธรรมเอกลักษณ์ของตนเอง จังหวัดพยายามนำเสนอแต่ภาพลักษณ์ดีๆ ของพื้นที่คลองบริเวณนี้เพื่อซุกปัญหาคลองแม่ข่าในส่วนอื่นๆ อีกจำนวนมากไว้ใต้ภาพสวยงาม หรือแม้แต่ตำหนิว่านี่เป็นการถอยหลังลงคลอง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะ 756 เมตรของคลองแม่ข่าครั้งนี้ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่แสดงให้เห็นว่ากำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไป และเสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นก็แสดงให้เห็นว่าแม่ข่าเกี่ยวโยงกับผู้คน และมีคนจำนวนไม่น้อยกำลังให้ความสนใจกับลำน้ำสายนี้ คลองแห่งนี้มีความสำคัญต่อเชียงใหม่อย่างไร ทำไมถึงมีหลายองค์กรหลายผู้คนพยายามปรับปรุงให้มันกลับมาดีอีกครั้งตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา  ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของแม่น้ำสายนี้ คอลัมน์ Report ขอนำเสนอเรื่องราวหลากหลายมิติที่สายน้ำนี้ได้ไปเกี่ยวโยง โดยลองถอยออกจากความเป็นคลองโอตารุ ไม่ต้องถึงกับถอยลงคลอง แค่ถอยมามองและทำความรู้จักกับน้ำแม่ข่า […]

BAM Fest เทศกาลที่อยากสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้ไม้ไผ่ไทย ต่อยอดไปสู่ระดับโลก

ไผ่ เป็นพืชท้องถิ่นที่เราทุกคนคุ้นตากันเป็นอย่างดี สามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง ด้วยว่าไม้ไผ่นั้นได้ฝังรากอยู่กับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของเรามาอย่างช้านาน ตั้งแต่คราวบรรพบุรุษของเราที่รู้จักวิธีการนำไม้ไผ่มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างหลากหลาย ตั้งแต่ทำเป็นไม้จิ้มฟันยันสร้างบ้าน ปัจจุบันไม้ไผ่ยังได้รับการยกย่องให้เป็นวัสดุทางเลือกที่น่าสนใจ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นวัสดุที่ยั่งยืน (Sustainable Materials) ทำให้นักออกแบบทั่วโลกเริ่มหันมาสนใจใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุสร้างสรรค์งานจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีภาพจำเกี่ยวกับไม้ไผ่ว่าเป็นวัสดุที่ถูกใช้เพียงชั่วคราว ไม่คงทนเมื่อเทียบกับวัสดุอื่นๆ แต่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ทำให้ภาพจำเกี่ยวกับไผ่เช่นนั้นเริ่มไม่เป็นความจริงอีกต่อไป เมื่อนักวิจัยของประเทศจีนได้ค้นพบวิธีการที่สามารถนำไม้ไผ่มาใช้สร้างรถไฟความเร็วสูงได้สำเร็จ นี่คือความมหัศจรรย์ของไม้ไผ่  อนาคตของไม้ไผ่จึงไม่ได้เป็นแค่อาหารของหมีแพนด้าอีกต่อไป แต่ยังมีความเป็นไปได้ที่จะต่อยอดต่อไปได้อีกมาก ในวันที่เรากำลังเผชิญกับราคาวัสดุที่มีแนวโน้มแต่จะพุ่งสูงขึ้นในแต่ละปี ความเป็นไปได้ที่กำลังเกิดขึ้นกับไม้ไผ่ ทำให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สนใจหยิบไม้ไผ่ขึ้นมา และชักชวนให้ผู้คนหันกลับมาสนใจวัสดุท้องถิ่นของเรา และร่วมมือกันพัฒนาไม้ไผ่ในนามของ BAM Fest กำเนิด BAM Fest “ไม้ไผ่เป็นวัสดุที่น่ามหัศจรรย์มาก เป็นวัสดุในอุดมคติ (Ideal Materials) ที่ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ด้วยความที่เป็นวัสดุจากธรรมชาติจึงทำให้มันเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้นไม้พื้นถิ่นที่หาได้ง่ายในประเทศของเรา ใช้เวลาในการปลูกจนโตใช้งานไม่นานเมื่อเทียบกับวัสดุไม้อื่นๆ ราคาก็ไม่แพงจนเกินไป เข้าถึงง่าย และยังมีความยั่งยืนด้วยการปลูกทดแทนได้ไม่ยาก ไม้ไผ่จึงกลายเป็นวัสดุทางเลือกที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ “การเกิดขึ้นของ BAM Fest เริ่มต้นมาจากที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มช. มีความสนใจในตัววัสดุไม้ไผ่และอยากจะทำให้คนอื่นๆ หันมาสนใจ เห็นศักยภาพ และมาร่วมมือช่วยกันสร้างนวัตกรรมและพัฒนาวัสดุนี้ให้ดียิ่งขึ้น […]

ชายผู้ลาออกมาประดิษฐ์ ‘Lightsaber’ จากภาพยนตร์ Star Wars จนกลายเป็นอาชีพ

A (not) long time agoin a galaxy (not) far,far away… มีหนุ่มไทยคนหนึ่งตัดสินใจลาออกจากงานประจำของตนเอง เพื่อหันมาทุ่มเวลาให้การประดิษฐ์ไลต์เซเบอร์จากภาพยนตร์สตาร์วอร์สเป็นอาชีพ ค่อยๆ เรียนรู้ พัฒนาวงจรภายในไลต์เซเบอร์ให้มีลูกเล่นน่าสนใจมากขึ้นจากเดิม ตกแต่งให้สวยงามยิ่งขึ้น กลายเป็นที่ต้องการของแฟนๆ สตาร์วอร์ส และนักสะสมจำนวนมากจากทั่วโลก ไลต์เซเบอร์ที่เขาขายมีราคาตั้งแต่ 3 – 4 หมื่นบาท และปัจจุบันมีคิวออเดอร์ยาวไปจนถึงปีหน้า อะไรทำให้ไลต์เซเบอร์ของเขามีมูลค่า ได้รับความสนใจจากแฟนๆ สตาร์วอร์สทั่วโลกจนสามารถกลายเป็นอาชีพได้ วันนี้ ‘เย่-ธนวัฒน์ ใจกล้า’ ชายผู้มีอาชีพเป็นนักประดิษฐ์ไลต์เซเบอร์ในนาม LIGHTSABER Thailand จะมาถอดสิ่งที่ทำทีละชิ้นส่วน เล่าเรื่องราวการประกอบเป็นไลต์เซเบอร์ให้ฟัง เริ่มต้นจากความชอบ… ชีวิตของเย่เริ่มต้นมาไม่ต่างจากแฟนคลับสตาร์วอร์สหลายคน ที่มีโอกาสได้รับชมภาพยนตร์แล้วเกิดความหลงใหลเรื่องราวสงครามจากกาแล็กซีอันไกลโพ้นเรื่องนี้ “พ่อเคยเล่าให้ฟังว่า ผมชอบดูสตาร์วอร์สตั้งแต่เด็ก และชอบไลต์เซเบอร์มาก เวลากลับไปต่างจังหวัดผมจะชอบหยิบไม้มาเหลาทำเป็นไลต์เซเบอร์ฟันเล่นกับเพื่อน ใช้ปากทำเสียงเอฟเฟกต์แบบในหนังกันเอง สนุกกันตามประสาเด็ก” ในเวลาต่อมา จากการเหลาไม้ทำเป็นไลต์เซเบอร์ เย่ก็ค่อยๆ เริ่มต้นขยับมาซื้อเครื่องมือกลึงเหล็ก ทำกระบี่แสงให้ใกล้เคียงกับในหนังมากขึ้นทุกที “ช่วงที่ผมได้ทำงานประจำในโปรดักชันเฮาส์ พอหาตังค์เองได้ เราก็เริ่มซื้อของจากสตาร์วอร์สที่ชื่นชอบมาสะสม ซึ่งบางชิ้นไม่มีขายในไทย เราก็ฝากเพื่อนซื้อไลต์เซเบอร์จากต่างประเทศส่งมาให้ […]

ภูมิปัญญาญี่ปุ่นผสมข้าวไทย YoRice เครื่องดื่มเชียงใหม่ที่ช่วยชาวนาแก้ปัญหาเหลื่อมล้ำ

หากพูดถึงการนำข้าวไปหมักทำเป็นเครื่องดื่ม คนไทยอย่างเราคงคุ้นเคยกับสาโทหรือสุราชาวบ้าน คงไม่ได้นึกถึง ‘อามาซาเกะ’ หรือสาเกหวาน ไร้แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มภูมิปัญญาจากญี่ปุ่น ที่ทำขึ้นเพื่อเป็นทั้งอาหารสุขภาพ และให้เด็กๆ ได้ลิ้มลองรสความเป็นสาเกก่อนถึงวัย  การเกิดขึ้นของอามาซาเกะข้าวไทยอย่าง YoRice จึงดึงดูดใจใครหลายคน เพราะนอกจากจะเป็นของแปลกใหม่ในไทย สรรพคุณของเครื่องดื่มชนิดนี้ก็ให้ทั้งประโยชน์ด้านสุขภาพตอบเทรนด์ที่คนกำลังสนใจ ที่สำคัญคือยังสะท้อนให้เห็นปัญหาในจังหวัดเชียงใหม่ (ซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นปัญหาที่ลามไปไกลถึงระดับประเทศ) ถึง 3 ประเด็น หนึ่ง คือ ปัญหาราคาข้าวที่ตกต่ำ  สอง คือ ปัญหาความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่นับวันยิ่งหลากหลายน้อยลงไปทุกวัน  สาม คือ ปัญหาความหิวโหยของคนในสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนสิ่งแวดล้อม ถูกจัดการผ่านเครื่องดื่มหนึ่งขวดได้อย่างไร  ปอ-ภราดล พรอำนวย ผู้อยู่กับ YoRice มาตั้งแต่วันแรก เต็มใจถ่ายทอดเรื่องราวให้ฟังผ่านบทสนทนานี้ เมื่อเห็นปัญหาจึงเกิดคำถาม ใครหลายคนคงเหมือนเราที่คุ้นเคยกับปอในบทบาทนักดนตรี เจ้าของร้าน North Gate แจ๊สบาร์คู่เชียงใหม่ มากกว่าการรู้จักเขาในบทบาทของหนุ่มนักธุรกิจเพื่อสังคม  ที่แม้จะไม่ใช่ภาพที่คุ้นชินของใคร แต่เขาก็ยืนยันว่าจริงๆ ความคิดเรื่องนี้วนเวียนอยู่ในตัวเขามานานตั้งแต่สมัยยังหนุ่ม  ปอย้อนความว่าเหตุการณ์ที่มาจุดประเด็นให้เขาเริ่มสนใจปัญหาปากท้องของคนอื่น มาจากประสบการณ์ครั้งที่เขาโบกรถจากเชียงใหม่ไปฝรั่งเศส การเดินทางครั้งนั้นจะเรียกว่าเป็นการเดินทางเปลี่ยนชีวิตเลยก็ได้ เพราะมันทำให้เขาได้เห็นน้ำใจจากคนครึ่งค่อนโลกที่พร้อมจะหยิบยื่นความช่วยเหลือมาให้นักดนตรีแปลกหน้าอย่างตน “เราไม่ได้มีต้นทุนในชีวิตเยอะ การต้องแบกเครื่องดนตรีโบกรถไปหลายหมื่นกิโล […]

Sher Maker : สตูดิโอสถาปนิกที่หยิบภูมิปัญญาและงานช่างถิ่นเชียงใหม่มาสร้างสรรค์งาน

Sher Maker คือสตูดิโอสถาปนิกขนาดเล็กๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งโดยสองสถาปนิก ‘ตุ๋ย-พัชรดา อินแปลง’ และ ‘โอ๊ต-ธงชัย จันทร์สมัคร’  สตูดิโอแห่งนี้มีมาตั้งแต่ปี 2561 เต็มไปด้วยผลงานสร้างสรรค์ที่คว้ารางวัลด้านสถาปัตยกรรมจำนวนมาก แม้แต่สตูดิโอของพวกเขาก็เพิ่งได้รับรางวัลสูงสุดในสาขา Small working interior of the year จาก Dezeen นิตยสารสถาปัตยกรรมชื่อดังระดับโลก และได้รับการกล่าวขวัญจากสื่อต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศบ่อยครั้ง ที่สำคัญสถาปัตยกรรมของสองผู้ก่อตั้งยังเต็มไปด้วยการขับเน้นเสน่ห์ของบรรยากาศให้แสดงออกมาได้อย่างเต็มที่ รายละเอียดอันเป็นเอกลักษณ์ในงานของ Sher Maker มาจากการที่ทั้งคู่ต่างเคยเป็นคนทำงานคราฟต์มาก่อน ตุ๋ยเคยทำสมุดทำมือกับเพื่อนในนามแบรนด์ ดิบดี (Dibdee.Binder) ซึ่งได้รับความนิยมมาก ส่วนโอ๊ตเคยมีชื่อเสียงอย่างมากจาก Brown Bike จักรยานที่ทำด้วยวัสดุไม้ไผ่ จนมีผู้สนใจจากทั่วโลกเดินทางมาร่ำเรียนกับเขาถึงเชียงใหม่ เมื่อสองสถาปนิกสายคราฟต์จับมือกันทำงาน ทำให้งานสถาปัตยกรรมของพวกเขามีการนำเสนองานฝีมือต่างๆ มาใช้กับทั้งภายในและภายนอกอาคารอย่างน่าสนใจ และยังสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับงานฝีมือในภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย Sher Maker เชื่อมศาสตร์เหล่านี้เข้าด้วยกันอย่างลงตัวได้อย่างไร วันนี้เราจะชวนตุ๋ยมาพูดคุยเพื่อถอดโครงสร้างทางความคิดเบื้องหลังงานออกแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ ของพวกเขาให้ทุกคนได้รู้กัน สองสถาปนิกสาย Maker นักทำงานคราฟต์ตัวยง “เราและพี่โอ๊ตต่างเป็น Maker เป็นคนชอบงานคราฟต์ […]

กาดเกรียงไกรมาหามิตร การกลับมาของโรงงานกระเทียมดองเก่าแก่เพื่อเป็นกาดช่วยชุมชนแม่ริม

“ว่ากันว่าใครก็ตามที่มีโอกาสเคยได้มาเรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกินกว่าครึ่ง ถ้าได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่อื่นจะต้องอยากกลับมาใช้ชีวิตอยู่ที่เชียงใหม่อีกครั้ง” นี่คือประโยคของ ตุ้ย-เนรมิต สร้างเอี่ยม นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชื่อดังของไทย อดีตผู้บริหารบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโครงการคอนโดมิเนียมแบรนด์ยูดีไลท์ โครงการบ้านบ้าน วิภาวดี 20 ที่ได้รับรางวัลโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อคุณภาพชีวิตดีเด่น ประจำปี 2562 ที่ไม่กี่ปีมานี้เขาเลือกที่จะวางตำแหน่งของเขาลง และย้ายชีวิตของเขากลับมาอยู่ที่เชียงใหม่ แถมยังเข้าซื้อกิจการโรงงานผักและผลไม้ดองเก่าแก่ของอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ที่ยอดขายกำลังซบเซา …เขาคิดอะไรของเขาอยู่ ไม่นานมานี้ตุ้ยได้ตอบข้อสงสัยนั้นด้วยการประกาศเปิดตัว ‘กาดเกรียงไกรมาหามิตร’ ตลาดของฝากที่รวมงานคราฟต์ สินค้ายะด้วยใจ๋ (ทำด้วยใจ) ของผู้คนในอำเภอแม่ริม ซึ่งตอนนี้กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก จนกลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ที่ผู้คนต้องแวะเมื่อมีโอกาสมาเที่ยวที่อำเภอแม่ริม แถมการอุดหนุนสินค้าต่างๆ ของที่นี่ยังทำให้คุณได้มีส่วนร่วมช่วยส่งเสริมชุมชนต่างๆ ในอำเภอแม่ริมให้แข็งแรงยิ่งขึ้นอีกด้วย  คุณเนรมิตสามารถเนรมิตโรงงานผักและผลไม้ดองที่กำลังซบเซาให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งอย่างไร วันนี้ตุ้ยจะพาคุณทำความรู้จักกับตลาดแห่งนี้ทุกซอกทุกมุม ตั้งแต่หน้าตลาดจนถึงท้ายตลาดที่เป็นเบื้องหลังการเกิดขึ้นของกาดเกรียงไกรมาหามิตร กรุงเทพฯ-เชียงใหม่นิยาย ความตาย ความรัก เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นจากความรู้สึกอยากกลับมาอยู่ที่เชียงใหม่… “เดิมผมเป็นคนกรุงเทพฯ สมัยเป็นนักเรียนผมจะต้องนั่งรถข้ามสะพานพุทธทุกวันเพื่อไปโรงเรียน เวลาข้ามสะพานผมจะเห็นตึกต่างๆ ที่อยู่ริมน้ำ ก็เกิดความคิดกับตัวเองขึ้นมาว่าสักวันถ้าเรามีลูกแล้วได้บอกลูกว่าตึกนี้พ่อเป็นคนทำมันคงจะรู้สึกดีนะ หลังจากนั้นเลยทำให้ผมตัดสินใจที่จะเลือกเรียนด้านวิศวะ และต้องเป็นวิศวะโยธาเท่านั้น “ทีนี้ผมเคยอ่านนิยายเล่มหนึ่งเกี่ยวกับความรักนักศึกษาในรั้วมหา’ลัยที่ดังมากๆ เป็นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขาเขียนบรรยาย มช. ไว้ได้โรแมนติกมากๆ เราไม่เคยเห็นหรอกตอนนั้น แต่จินตนาการภาพตามจากตัวหนังสือ เลยทำให้ตอนสอบเข้าผมตัดสินใจเลือกสมัครที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไว้ด้วย ซึ่งพอได้เข้าไปเรียน มช. ก็โรแมนติกจริงๆ […]

ขึ้นดอยไปสัมผัสป่าเมฆที่ ‘เส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่างกา’

ช่วงปลายปีแบบนี้ ‘เชียงใหม่’ คือปลายทางยอดฮิตสำหรับคนที่กำลังอยากเอาตัวเองไปปะทะกับอากาศหนาวสักครั้งให้ฉ่ำปอด คงไม่มีที่ไหนเย็นถึงใจได้เท่าจุดสูงสุดแดนสยามหรือดอยอินทนนท์อีกแล้ว แต่ก่อนจะไปถึงยอดดอย เราอยากแนะนำให้รู้จัก ‘เส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่างกา’ ห้องเรียนธรรมชาติที่ซ่อนตัวอยู่ในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่อยู่ใกล้ๆ ยอดดอยแค่ในระยะเดินถึง แต่เข้าไปแล้วเหมือนหลุดเข้าไปในอ้อมกอดของธรรมชาติ ได้ฟังเสียงนกร้อง เสียงใบไม้ เสียงน้ำไหล และได้หายใจเอาอากาศบริสุทธิ์ให้เต็มปอด เส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่างกาเป็นแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศป่าต้นน้ำ มีลักษณะเป็นป่าพรุภูเขาที่สูงที่สุดของประเทศไทย เพราะมีความสูงถึง 2,550 เมตรจากระดับน้ำทะเล ทำให้อ่างกาเป็นป่าเมฆที่มีความชุ่มชื้น และอากาศหนาวเย็นตลอดปี เป็น ‘ป่าฝน’ หรือ ‘ป่าเมฆ’ (Cloud Forest) ซึ่งเป็นป่าดิบเขาเขตร้อนชนิดที่มีเมฆหมอกปกคลุมอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเดินอยู่ในเส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่างกาจึงรู้สึกเหมือนปุยเมฆโอบกอดเราอยู่ตลอดเวลา มีบรรยากาศครึ้มๆ แดดร่ม ลมหนาว เหมาะกับการเดินศึกษาธรรมชาติแบบง่ายๆ และเหมาะกับคนทุกวัย  จุดเริ่มต้นของ ‘อ่างกา’  เส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่างกาถูกสำรวจวางแนวและออกแบบทางเดินครั้งแรกในปี 2534 – 2536 โดยคุณไมเคิล แมคมิลแลน วอลซ์ นักสัตววิทยาและอาสาสมัครชาวแคนาดาประจำอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ซึ่งได้มีการพัฒนางานสื่อความหมายธรรมชาติในเส้นทางพร้อมกันไปด้วย แต่เดิมที่นี่เป็นเพียงเส้นทางธรรมชาติที่ยังไม่มีการออกแบบให้แข็งแรงและปลอดภัยสำหรับผู้ที่เข้ามาใช้งาน มูลนิธิไทยรักษ์ป่า องค์กรสาธารณกุศลซึ่งก่อตั้งและสนับสนุนการดำเนินงานโดย บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) […]

ศราวุธ แววงาม ชาว Punk ที่ผันเป็นช่างสักขาลาย อนุรักษ์รอยสักล้านนาโบราณที่แทบสาบสูญ

หากสังเกตจิตรกรรมฝาผนังโบราณล้านนา เราจะพบว่าบริเวณขาของชายทุกคนจะมีลวดลายจากการสักอยู่ นี่คือหนึ่งในอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมล้านนาที่เรียกกันว่า ‘การสักขาลาย’ ซึ่งเกิดมาจากความเชื่อในอดีตของชาวล้านนาว่า เด็กผู้ชายเมื่อจะก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ทุกคนต้องผ่านพิธีการสักขาลายเสียก่อน  นอกจากจะพิสูจน์ความกล้า ความอดทน ยังเชื่อกันว่าเป็นการแสดงความนอบน้อมต่อครอบครัว แสดงความกตัญญูทดแทนพระคุณแม่ และพร้อมที่จะเป็นหัวหน้าครอบครัวต่อไป ถึงขั้นมีจารึกบันทึกไว้เลยว่า หากหญิงใดจะดูว่าชายนั้นเหมาะเป็นคู่ครองหรือไม่ ส่วนหนึ่งคือให้ดูว่าชายนั้นสักขาลายแล้วหรือยัง ด้วยเหตุนี้ผู้ชายชาวล้านนาในอดีตทุกคนจึงสักขาลายกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามตลอดช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ค่านิยมการสักขาลายก็ถูกลดทอนลงจนใกล้จะสาบสูญเต็มที เหลือหลักฐานให้ได้เห็นอยู่บ้างบนเรือนร่างของผู้เฒ่าต่างๆ โชคดีที่ยังมีคนจำนวนหยิบมือหนึ่งยังเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมการสักขาลาย และเข้ามาช่วยอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมนี้ให้คงอยู่ต่อไป หนึ่งในคนจำนวนนั้นก็คือ อ๊อด-ศราวุธ แววงาม ช่างสักอดีตเด็กพังก์ (Punk) ที่ผันตัวมาศึกษาวัฒนธรรมการสักขาลายอย่างจริงจัง โดยเดินทางไปศึกษากับอาจารย์ชาวปกาเกอะญอที่ยังคงสักอยู่ และสืบทอดวิชาการสักขาลาย รวมถึงอนุรักษ์การสักขาลายด้วยการบันทึกรอยสักนั้นไว้ลงบนเรือนร่างของผู้ที่สนใจ อะไรที่ทำให้เด็กพังก์ ไว้ทรงโมฮอว์ก สวมเสื้อหนัง ห้อยโซ่ รองเท้าบูตติดหนาม ถึงผันตัวมาสวมใส่เสื้อม่อฮ่อม กางเกงสะดอ และเปลี่ยนจากสักลายร่วมสมัยด้วยเครื่องสัก มาจับเข็มสักโบราณ รับแต่งานสักขาลายโดยเฉพาะ The Professional คราวนี้เราจึงขอนำเสนอเรื่องราวของชายผู้นี้ อ๊อดเริ่มต้นการเป็นช่างสักตั้งแต่อายุ 18 ปี พร้อมๆ กับการหันมาสนใจวัฒนธรรมพังก์ “เราสนใจความเป็นพังก์ เพราะว่าตอนนั้นยังไม่เป็นที่นิยมในสังคมไทย คนไม่ค่อยแต่งตัวแบบนี้ พังก์น่าสนใจตรงที่การทำสีผม […]

พก : ร้านหนังสือและโรงหนังเคลื่อนที่ของคู่รักที่พกหนังสือและหนังดีไปหาคนดูได้ทุกที่

ภาพทิวดอย ทุ่งนา และฟ้าใส ค่อยๆ เคลื่อนผ่านไปบนกระจกของรถยนต์ที่กำลังแล่นไปตามทางลดเลี้ยวเลียบสันดอยของจังหวัดเชียงราย ที่นั่งด้านหลังถูกปรับให้กลายเป็นพื้นที่บรรทุกหนังสือจำนวนหลายเล่ม และเครื่องฉายภาพยนตร์คุณภาพเป็นเพื่อนร่วมเดินทาง เป้าหมายของการเดินทางครั้งนี้คือการพาหนังสือและหนังคุณภาพดีไปนำเสนอให้กับผู้คนในอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย “พวกเราเชื่อว่าหนังที่ดี หนังสือที่ดี ทำงานกับหัวใจของผู้คนให้ไหวไปกับเนื้อหาที่ได้รับ และสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้เกิดขึ้นได้ แต่จะทำยังไงให้หนังที่ดีและหนังสือที่ดีไปถึงที่ผู้คนได้มากที่สุด วิธีการที่ดีที่สุดที่พวกเราคิดก็คือ การพกหนังที่ดีและหนังสือที่ดีไปหาผู้คน เราสองคนจึงเริ่มต้นทำ ‘พก’ ขึ้นมา” พก คือชื่อร้านหนังสือและโรงหนังเคลื่อนที่ที่จะพกหนังสือและหนังคุณภาพพาไปสู่ผู้คนในวงกว้างทั่วทุกพื้นที่เท่าที่จะเป็นไปได้ของ ‘เป๊ก-ธวัชชัย ดวงนภา’ และ ‘ดา-สุดารัตน์ สาโรจน์จิตติ‘ คู่รักนักทำภาพยนตร์สารคดี ที่ตัดสินใจย้ายชีวิตจากกรุงเทพฯ มาอยู่ที่จังหวัดเชียงราย และเริ่มต้นทำโปรเจกต์ ‘พก’ ขึ้นมา รถยนต์เดินทางมาถึงที่หมาย ณ สตรอเบอรี่สวนหลังบ้าน (Backyard Strawberry) ร้านคาเฟ่เล็กๆ ที่ตั้งอยู่หน้าไร่สตรอว์เบอร์รีและผักออร์แกนิกที่ปลูกเพื่อนำมาเสิร์ฟเป็นเมนูภายในร้าน เป๊กและดาค่อยๆ ช่วยกันนำของที่พวกเขาพกมาลงจากรถ นำผ้าดำมาขึงรอบบริเวณใต้ถุนร้าน นำเก้าอี้มาวาง เอาจอมากาง และตั้งเครื่องฉาย ดัดแปลงพื้นที่ใต้ถุนให้กลายเป็นโรงหนังใต้ถุนเธียร์เตอร์ที่พร้อมฉายภาพยนตร์คุณภาพดีให้ผู้คนที่นี่ หลังจากนั้นพวกเขาก็ขนเอากระเป๋าลงจากรถและนำมาวางเปิดบนโต๊ะ ในกระเป๋าเต็มไปด้วยหนังสือจำนวนมากที่พวกเขาคัดสรรกันมาอย่างดี เท่านี้ ‘พก’ ก็พร้อมแล้วที่จะให้ผู้คนได้เข้ามาชมว่าพวกเขาได้พกพาเรื่องราวอะไรมาบ้าง ขอเชิญก้าวเท้าตามเรามา และไปดูกันดีกว่าว่าเป๊กและดาได้พกเรื่องราวอะไรมากับพวกเขาบ้าง พบปัญหาจึงต้อง ‘พก’ เป๊กและดาประกอบอาชีพนักทำภาพยนตร์สารคดี นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาที่เป็นประเด็นในสังคมมานานนับสิบปี การงานเช่นนี้ได้พาพวกเขาได้เดินทางไปในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ พบเจอกับผู้คนและเรื่องราวน่าสนใจและน่าอดสูจำนวนมาก “การทำงานสารคดีทำให้เราได้เดินทางไปในหลายที่ เจอผู้คนมากมาย นั่นทำให้เราเห็นทั้งปัญหาในสังคม […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.