ยูทาห์ เป็นรัฐที่ 19 ในสหรัฐอเมริกาซึ่งออกมา ‘แบน’ การบำบัดกลุ่ม LGBTQ หรือกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ในเยาวชนเพื่อเปลี่ยนรสนิยมทางเพศ โดยการบำบัดนี้แพร่กระจายไปทั่วอเมริกา ซึ่งพ่อแม่หลายคนก็มักนำลูกหลานที่เป็น LGBTQ ไปเข้ารับการบำบัด
การบำบัดคนหลากหลายทางเพศให้กลับใจ ใช่ว่าจะได้การยอมรับจากสมาคมการแพทย์ และสมาคมจิตวิทยาหลายแห่งทั่วโลก เพราะถูกมองว่าเป็นการสร้างความเข้าใจผิดๆ และทำให้ผู้เข้ารับการบำบัดรู้สึกเกิดภาวะซึมเศร้า
กว่าที่กฎหมายนี้จะถูกบังคับใช้ ต้องเจอกับอุปสรรคมากมาย อย่างลัทธิมอร์มอนในรัฐยูทาห์ที่สนับสนุนการบำบัดนี้ และเชื่อว่าการเป็น LGBTQ นั้นถือเป็นบาปกรรม แต่ในปีที่แล้วได้มีนักบำบัดออกมายอมรับว่าตัวเองก็เป็นเกย์ ทั้งที่ก่อนหน้านี้เขาเคยมีอคติกับกลุ่มคน LGBTQ แต่เมื่อเวลาผ่านไป หลายอย่างทำให้เขาเปลี่ยนความคิด และกล้าออกมาเปิดเผยตัวตน
การที่รัฐยูทาห์ออกมาแบนการบำบัดกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ ถือเป็นการคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน และเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของรัฐ โดยหลังจากที่ประกาศใช้นโยบายนี้ ถ้านักบำบัดในเมืองยูทาห์คนใดฝ่าฝืน ก็อาจโดนยึดใบประกอบวิชาชีพทันที
RELATED POSTS
Abang Adik สองพี่น้องผู้ยังมีกันและกัน และความสัมพันธ์ที่ไม่เคยถูกเหลียวแล ณ ซอกหลืบที่ลึกสุดของความชายขอบ
เรื่อง
ตาดูหูฟัง - Taa Do Hoo Fung
ภาพยนตร์จากประเทศมาเลเซีย คงไม่ได้เป็นสิ่งที่หาชมได้บ่อยนักในโรงหนังไทย อีกทั้งน่าจะมีภาพจำว่าต้องเป็นหนังที่นำเสนอความเป็นศาสนาอิสลามแน่ๆ ยังไม่นับรวมกฎการเซนเซอร์หนังที่เคร่งครัดเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ หลายๆ คนอาจจะเข้าใจผิด ไม่คิดว่า Abang Adik หนังที่คว้ารางวัลนักแสดงนำชายจากเวทีม้าทองคำ (Golden Horse Awards) ที่ได้ชื่อว่าเป็นออสการ์ของจีน ซึ่งมีตัวละครนำเป็นชาวจีนจะเป็นหนังมาเลเซียไปได้ มากไปกว่านั้น มันยังเป็นหนังแนวชีวิตรันทด ขื่นขม และโหดร้าย ที่ตัวละครต้องการจะหลีกหนีจากโชคชะตาอันต้อยต่ำในสังคม ตะเกียกตะกายหาหนทางไปสู่ชีวิตที่ดีกว่าผ่านเส้นทางอันสุดแสนยากลำบาก ที่ไม่ว่ายังไงก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเขาจะหลุดออกจากวงจรเหล่านั้น เนื่องจากระบบสังคมกดทับพวกเขาอยู่ เราแทบไม่เคยเห็นเรื่องราวลักษณะนี้จากฟากฝั่งของหนังมาเลเซีย ทั้งที่หนังแนวนี้ในระดับสากลถูกเล่ามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสถานที่และเวลา ยกตัวอย่าง Rosetta (1999) ของพี่น้อง Dardenne ที่ว่าด้วยเด็กสาวผู้พยายามต่อสู้เอาชีวิตรอดเพียงหวังแค่การงานที่มั่นคง, Lilya 4-Ever (2002) ของ Lukas Moodysson ที่เล่าถึงชีวิตเด็กสาวที่ถูกพ่อแม่ทอดทิ้งในเมืองที่เคยเป็นสหภาพโซเวียต และถูกหลอกไปค้าประเวณีในสวีเดน, An Elephant Sitting Still (2018) หนังจีนของ Hu Bo ผู้ล่วงลับ ที่ฉายภาพของกลุ่มคนหลากวัยที่หมดหวังกับเมืองของเขา หรือ A Sun (2019) […]
Silent Emergency Party สัมผัสและเข้าใจวิกฤตผู้ลี้ภัยที่ถูกลืม ผ่านมื้ออาหารจากฝีมือผู้ลี้ภัย
เรื่อง
Urban Creature
ถ้าวันหนึ่งคุณต้องกลายเป็น ‘ผู้ลี้ภัย’ คุณจะรู้สึกอย่างไร ปัจจุบันทั่วโลกมีวิกฤตที่สื่อมวลชนให้ความสำคัญและเป็นที่สนใจของผู้คนอย่างมาก เช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครน และสงครามซีเรีย แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ในทวีปแอฟริกายังมีหลายประเทศที่กำลังเผชิญวิกฤตมากมาย เช่น เอธิโอเปีย ซูดาน ซูดานใต้ โมซัมบิก สาธารณรัฐแอฟริกากลาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ฯลฯ รวมไปถึงประเทศที่เราอาจไม่คุ้นหู เช่น ชาด เอริเทรีย บูร์กินาฟาโซ แองโกลา มาลาวี ฯลฯ รายชื่อเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเหล่าประเทศที่กำลังเผชิญวิกฤตอย่างรุนแรง ขณะเดียวกันก็กำลังถูกลืมเลือน เสมือนว่าถูกทำให้เลือนหายไปจากแผนที่โลก เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นเพราะวิกฤตในประเทศแถบแอฟริกาเกิดขึ้นเป็นเวลาต่อเนื่องและยาวนาน แต่แทบไม่ได้รับการมองเห็นและการสนับสนุนช่วยเหลือจากสังคม ทำให้หลายชีวิตต้องดิ้นรนเอาตัวรอด เพื่อให้ยังมีชีวิตก้าวข้ามวันพรุ่งนี้ไปได้ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2566 ซึ่งตรงกับวันมนุษยธรรมโลก สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR ประเทศไทย ได้จัดงาน ‘Silent Empathy Emergency Fund มื้อฉุกเฉินเพื่อผู้ลี้ภัย…ที่ถูกลืม’ ที่ Na Café at Bangkok 1899 เพื่อสร้างความตระหนักรู้และระดมทุนช่วยเหลือสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วโลก ภายในงาน […]
คุยเรื่องสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรมกับ ‘กัณวีร์ สืบแสง’ ว่าที่ ส.ส. ที่อยากสร้างสันติภาพ
เรื่อง
อนรรฆพร ลายวิเศษกุล
หลังจากการเลือกตั้งใหญ่เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ชื่อของ ‘พรรคเป็นธรรม’ ก็ปรากฏตามหน้าข่าวอย่างแพร่หลาย และได้รับความสนใจจากคนไทยที่ติดตามการเมืองอย่างเข้มข้น ที่เป็นแบบนั้นเพราะพรรคเป็นธรรมมี ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์เพียงคนเดียวที่ได้รับเชิญจากพรรคก้าวไกลเพื่อร่วมจัดตั้งรัฐบาล จนหลายคนมองว่า นี่คือหนึ่งพรรคการเมืองม้ามืดที่จะมาช่วยขับเคลื่อนให้ระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยเต็มใบอีกครั้ง ใช่แล้ว เรากำลังพูดถึง ‘กัณวีร์ สืบแสง’ เลขาธิการพรรคเป็นธรรม และ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ลำดับที่ 1 ที่ประชาชนจรดปากกาเลือกให้เป็นผู้แทนเข้าไปทำงานในสภาฯ ก่อนกระโดดเข้ามาทำงานการเมือง กัณวีร์เคยรับราชการที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) จากนั้นเขามีโอกาสทำงานด้านมนุษยธรรมที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในพื้นที่สงครามและความขัดแย้งนาน 12 ปี ใน 8 ประเทศ ได้แก่ ซูดานใต้ ซูดานเหนือ ชาด ยูกันดา บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ เมียนมา และไทย ทำให้กัณวีร์มีความเชี่ยวชาญด้านผู้ลี้ภัย มนุษยธรรม สิทธิมนุษยชน สันติภาพ ความมั่นคง ไปจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กัณวีร์และพรรคเป็นธรรมตั้งใจที่จะสร้าง ‘การเมืองใหม่’ ที่เน้นคุณค่าของประชาธิปไตยและประชาชนเป็นหลัก รวมถึงผลักดันแนวคิดมนุษยธรรมนำการเมือง สันติภาพกินได้ และการสร้างเสรีภาพโดยเฉพาะในพื้นที่ปาตานี […]
อ่านบันทึกเรื่องราวของชาว LGBTQ+ ที่เชื่อมโยงความทรงจำกับสถานที่ บนแผนที่ออนไลน์ ‘Queering the Map’
เรื่อง
Urban Creature
ทุกคนย่อมมีพื้นที่หรือสถานที่ในความทรงจำ เช่น สวนสาธารณะแห่งนี้เพื่อนสนิทที่เคยแอบชอบมักพามานั่งเล่น ใต้ต้นไม้ต้นนี้เป็นที่ที่เราบอกชอบแฟนคนแรก หรือกระทั่งถนนเส้นนี้เป็นถนนเส้นโปรดของแฟนเก่าที่เธอใช้บอกเลิกเราเมื่อหลายปีก่อน ฯลฯ หลายคนอาจเลือกที่จะเก็บงำไว้กับตัว แต่บางคนก็อยากบอกเล่าความทรงจำเหล่านี้ให้คนอื่นได้รับรู้ Queering the Map เป็นแพลตฟอร์มที่มีหน้าตาคล้ายกับ Google Maps ที่เรารู้จักกันดี แต่ความพิเศษคือ มันเป็นแผนที่สีชมพูที่เปิดให้กลุ่ม LGBTQ+ เข้ามาบันทึกหรือแบ่งปันเรื่องราวในความทรงจำหรือความรู้สึกต่อสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งก็ไม่ได้มีแต่เรื่องเล่าผ่านความทรงจำเท่านั้น แต่ในแผนที่นี้ยังอัดแน่นไปด้วยการเปิดเผยตัวตน การเผชิญหน้ากับความรุนแรง ช่วงเวลาแห่งความรักที่ลืมไม่ลง หรือแม้แต่ความอาลัยต่อช่วงเวลาในอดีต พูดง่ายๆ ว่า Queering the Map ทำหน้าที่เป็นเหมือนที่เก็บบันทึกชีวิตของกลุ่ม LGBTQ+ ซึ่งถ้าใครคิดว่าเรื่องราวเหล่านั้นมีความสำคัญกับตัวเอง แน่นอนว่าสำหรับ Queering the Map ก็มองว่าเรื่องราวที่ถูกบันทึกไว้มีความสำคัญต่อเว็บไซต์ด้วยเช่นกัน ‘Lucas LaRochelle’ ผู้สร้างโปรเจกต์นี้เล่าถึงจุดกำเนิดของ Queering the Map ต่อสื่อต่างๆ ว่า ตัวเองได้แรงบันดาลใจจากต้นไม้ที่มักขี่จักรยานผ่าน ซึ่งเป็นจุดที่เขาได้เจอกับคู่ชีวิต และยังเป็นที่ที่พวกเขาทั้งคู่ได้พูดคุยและเปิดเผยตัวตนทางเพศของตัวเอง หลังจากนั้นเมื่อเขาผ่านไปยังต้นไม้ต้นนั้นอีกครั้ง ก็จะรู้สึกถึงความเชื่อมโยงกับพื้นที่ตรงนั้นเสมอ และทำให้เขาคิดถึงสถานที่อื่นๆ ที่ทำให้รู้สึกแบบนี้ด้วยเหมือนกัน ตามไปอ่านเรื่องราวและประสบการณ์ต่างๆ บนแผนที่สีชมพูฉบับนี้ได้ที่ […]