Asexuality ความสัมพันธ์ที่ฉันรักเธอ แต่ ‘ไม่ฝักใฝ่เซ็กซ์’

‘การมีเซ็กซ์เป็นเรื่องธรรมชาติของร่างกายมนุษย์’ คือประโยคที่ได้รับรู้ผ่านการพร่ำสอน แต่ใครเล่าจะคิดว่าความปกติที่หล่อหลอม กลายเป็นส่วนสร้างบาดแผลชิ้นใหญ่ให้ผู้ที่มีรสนิยมทางเพศรูปแบบ Asexuality หรือ ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศกับผู้อื่น ที่ไม่ปรารถนาจะมีความสัมพันธ์ทางกายกับใคร  ชวนทำความเข้าใจ Asexuality หนึ่งในสีสันแห่งความหลากหลายทางเพศกับ ปาร์คเกอร์-ภารวี อากาศน่วม ผู้นิยามตัวเองว่า Aromantic Asexual Trans Masculine ซึ่งสิ่งที่คุณกำลังจะได้อ่านต่อจากนี้ คือเสียงที่เขาอยากสะท้อนก้องสู่สังคมถึงการยอมรับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่ขึ้นชื่อว่า ‘มนุษย์’ P. Parkers เขาคือผู้กล้า “เรานิยามตัวเองว่าเป็น Asexual ที่ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศกับใคร และอยู่ในสเปกตรัมของ Aromantic ที่มีแรงดึงดูดทางใจกับคนอื่นน้อยมาก และไม่ได้รู้สึกว่าการมีคนรักเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต และเราเป็น Trans Masculine ที่มีเพศกำเนิดเป็นหญิง แต่ไม่ได้ต้องการจะข้ามเพศไปเป็นผู้ชาย เพียงแค่อิงกับความเป็นชาย” เมื่ออยากนำเสนอคำว่า Asexuality ให้ถึงแก่น ปาร์คเกอร์ คือชื่อแรกที่ฉันนึกถึง นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาและวรรณคดีอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งเพจ Aro/Ace-clusionist: Aromantic & Asexual Exist ซึ่งมีความมุ่งมั่นเพื่อสร้างความเข้าใจตัวอักษร ‘A’ ใน LGBTQIA+ […]

ตาย เพราะโบกธงสีรุ้งในคอนเสิร์ต อะไรคือความเท่าเทียมทางเพศในอิยิปต์ ?

ซาร่า เฮกาซี่ (Sarah Hegazi) คือนักเคลื่อนไหวชาวอียิปต์ ที่ถูกจับเพียงเพราะเธอโบกธงสีรุ้งในคอนเสิร์ต เพื่อแสดงความภาคภูมิใจแห่ง LGBTQ+ แต่การอยู่ในประเทศซึ่งยังไม่ยอมรับในความหลากหลายทางเพศ ทำให้เธอถูกขุมขังในคุกเป็นเวลาหลายเดือน ถูกทารุณ และสุดท้ายเธอตัดสินใจจบชีวิตในวันที่ 13 มิถุนายน 2563 เพราะทนกับสิ่งที่ต้องเผชิญไม่ไหวอีกต่อไป

LGBTQ ไม่ใช่คนป่วย! รัฐยูทาห์ในอเมริกา ‘แบน’ การบำบัดกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ

ยูทาห์ เป็นรัฐที่ 19 ในสหรัฐอเมริกาซึ่งออกมา ‘แบน’ การบำบัดกลุ่ม LGBTQ หรือกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ในเยาวชนเพื่อเปลี่ยนรสนิยมทางเพศ โดยการบำบัดนี้แพร่กระจายไปทั่วอเมริกา ซึ่งพ่อแม่หลายคนก็มักนำลูกหลานที่เป็น LGBTQ ไปเข้ารับการบำบัด การบำบัดคนหลากหลายทางเพศให้กลับใจ ใช่ว่าจะได้การยอมรับจากสมาคมการแพทย์ และสมาคมจิตวิทยาหลายแห่งทั่วโลก เพราะถูกมองว่าเป็นการสร้างความเข้าใจผิดๆ และทำให้ผู้เข้ารับการบำบัดรู้สึกเกิดภาวะซึมเศร้า กว่าที่กฎหมายนี้จะถูกบังคับใช้ ต้องเจอกับอุปสรรคมากมาย อย่างลัทธิมอร์มอนในรัฐยูทาห์ที่สนับสนุนการบำบัดนี้ และเชื่อว่าการเป็น LGBTQ นั้นถือเป็นบาปกรรม แต่ในปีที่แล้วได้มีนักบำบัดออกมายอมรับว่าตัวเองก็เป็นเกย์ ทั้งที่ก่อนหน้านี้เขาเคยมีอคติกับกลุ่มคน LGBTQ แต่เมื่อเวลาผ่านไป หลายอย่างทำให้เขาเปลี่ยนความคิด และกล้าออกมาเปิดเผยตัวตน การที่รัฐยูทาห์ออกมาแบนการบำบัดกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ ถือเป็นการคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน และเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของรัฐ โดยหลังจากที่ประกาศใช้นโยบายนี้ ถ้านักบำบัดในเมืองยูทาห์คนใดฝ่าฝืน ก็อาจโดนยึดใบประกอบวิชาชีพทันที SOURCEbit.ly/2RRYbGf bit.ly/2O4inUlbit.ly/38HFiwA

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.