‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ สะอาดจนไม่ต้องล้าง และมีผักทุกฤดูกาลให้กินทั้งปี

เมื่อไรก็ตามที่เราได้ยินคำว่า ‘อาหารที่ผลิตจากโรงงาน’ ถึงจะไม่รู้สึกแย่สักเท่าไหร่ แต่ก็คงไม่ใช่ตัวเลือกต้นๆ สำหรับคนรักสุขภาพแน่นอน ยิ่งนักเขียนนิยายคนไหนใช้คำบรรยายว่า ‘โรงงานผลิตพืช’ ผู้อ่านอย่างผมคงนึกไปถึงสถานที่แออัดซอมซ่อ บรรยากาศทะมึนๆ มีคนงานใช้สารพันสารเคมี แล้วประกอบผักสักต้นขึ้นมาทีละส่วนบนสายพานการผลิตเป็นแน่แท้ แต่นับเป็นโชคดีของคุณผู้อ่าน Urban Creature ที่เฟซบุ๊กมีระบบโชว์ภาพปกก่อนจะลิงก์เข้ามายังบทความเรื่องนี้ เพราะคุณคงเห็นแล้วแน่ๆ ว่าโรงงานผลิตพืชแห่งนี้เป็นคนละเรื่องกับที่ผมเคยนึกถึง เพราะดูสะอาดสบายตา มีผักสีเขียวที่ดูสดกรอบ หน้าตาไม่เลว แถมพนักงานยังไม่ทำหน้าทำตาอึมครึมใส่กันอีกด้วย ผมจึงอยากชวนมารู้จักฟาร์มผักใจกลางเมืองที่ใช้หลอดไฟแทนแสงอาทิตย์ ผ่านมุมมองของ วา-ยวิษฐา คนธรรพ์สกุล กรรมการผู้จัดการ LED Farm ที่มีผักสดคุณภาพดีให้เรากินตลอดปี คุณภาพเหมือนกันทุกล็อต แถมควบคุมสารอาหารได้อย่างกับออกมาจากโรงงาน (ก็ออกมาจากโรงงานนั่นแหละ) อดีตผลิตหลอดไฟ ปัจจุบันทำโรงงานพืช การต่อสู้ด้วยราคาเป็นสนามที่บรรดาผู้ประกอบการไม่อยากลงไปเล่นมากที่สุด เช่นเดียวกับ ซีวิค มีเดีย จำกัด บริษัทแม่ของ LED Farm ที่เคยเป็นเต้ยในธุรกิจผลิตจอภาพ หลอด LED แต่โดนอุตสาหกรรมใหญ่จากแดนมังกรเข้ามาแข่งขันเรื่องราคาที่ถูกกว่าถึงเท่าตัว จึงเลือกเดินหน้าเข้าสู่ธุรกิจใหม่ เริ่มศึกษาวิธีคิดและนวัตกรรมใหม่โดยยึดพื้นฐานเดิมเป็นตัวตั้ง  ทายาทรุ่นลูกอย่างวาเล่าให้ฟังว่า ชิงชัย คนธรรพ์สกุล คุณพ่อของเธอไปเห็นโมเดลการปลูกพืชด้วยหลอดไฟแอลอีดีจากประเทศญี่ปุ่น ที่เรียกว่า PFAL (Plant […]

NEW URBAN CREATURE REINVENT THE WAY WE LIVE

ปีสองปีที่ผ่านมา ชีวิตเราเหมือนลูกปิงปองที่ถูกเสิร์ฟด้วยโรคติดต่อร้ายแรงที่สุดในรอบ 100 ปี เด้งไปถูก Backhand ด้วยกระแสวิกฤตเศรษฐกิจที่แทบมองไม่เห็นฝั่ง พอข้ามเน็ตก็โดนบล็อกด้วยความขัดแย้งทางการเมือง พักเกมได้ไม่ทันหายใจ ก็เจอ Forehand จังๆ ด้วยการแพร่ระบาดระลอกที่ 3 ซึ่งไร้ปลายทาง

‘เราจะอยู่แบบนี้กันจริงๆ หรือ?’ คือคำถามที่ผุดขึ้นในใจ…

ปี 2021 นี้จึงถือเป็น ‘A Year of Change’ สำหรับคนทั้งโลก รวมถึงเรา Urban Creature ที่ต้องลุกขึ้นปัดฝุ่นความคิด Reinvent the Way We Live นำเสนอเรื่องราวในท่าทีใหม่ ด้วยมุมมองใหม่ เพราะเราเชื่อว่าเมื่อแรงบันดาลใจมาเจอ Know-how จะสร้างแรงกระเพื่อมที่เปลี่ยนสังคมได้

ติดมือถือจนลืมดูทาง ให้ ‘ตาดวงที่ 3’ มองแทน! ‘Phono Sapiens’ หุ่นยนต์ดวงตา แก้ปัญหาชนนู่น ชนนี่ ระหว่างเล่นมือถือ

เพล้ง! ตุ้บ! โอ๊ย! “ก็บอกแล้วใช่ไหม ไม่ให้เล่นโทรศัพท์ระหว่างเดิน” กี่ครั้งแล้วที่ร่างกายปะทะความเจ็บ ชนนู่น ชนนี่ เพราะอาการ ‘ติดโทรศัพท์’ จนยกหัวแทบไม่ขึ้น มิหนำซ้ำบางครั้งนำไปสู่อุบัติเหตุรุนแรงได้ แม้จะเตือนกันปาวๆ ว่าอย่าเล่นโทรศัพท์ระหว่างเดิน ให้ดูทางก่อน แต่ความบันเทิงหรือธุระสำคัญบนหน้าจอเล็กๆ ก็ดึงดูดให้พฤติกรรมดังกล่าวของผู้คนยังมีอยู่ บางทีถ้าเรามีตาดวงที่ 3 ไว้ช่วยดูทางอาจจะดีขึ้นก็ได้มั้ง ไม่ได้ล้อเล่นนะ ตาดวงที่ 3 นี่แหละคือคำตอบ!  Minwook Paeng นักออกแบบอุตสาหกรรมชาวเกาหลีใต้เสียดสีพฤติกรรมติดโทรศัพท์ของคนว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ไปแล้ว ด้วยการสร้างผลงาน ‘Phono Sapiens’ อุปกรณ์ที่มีลักษณะเหมือนตาหุ่นยนต์ ให้คนที่ยุ่งเกินกว่าจะมองถนนใช้ติดกับหน้าผากด้วยแผ่นเจลบางๆ ตาดวงที่ 3 นี้จะคอยระวังขณะที่คุณเดินกดโทรศัพท์ยิกๆ เมื่อคุณค้อมศีรษะลง กล้องจะช่วยมองสิ่งกีดขวางและอุปกรณ์ Arduino จะคอยส่งคลื่นความถี่เสียงอัลตราโซนิกกระทบวัตถุที่อยู่ในระยะ 1 เมตร ก่อนจะสะท้อนคลื่นกลับมายังเซนเซอร์เพื่อแจ้งเตือนผู้ใช้งาน ซึ่งถ้าเกิดเสียงดังเมื่อไหร่ นั่นแปลว่าคุณกำลังจะชน! แม้งานออกแบบชิ้นนี้จะเป็นผลงานที่ Minwook ทำขณะเรียนปริญญาวิศวกรรมการออกแบบที่ London’s Royal Imperial College of Art and Imperial […]

ถกความเป็นไปได้กับก้าวต่อไปของศิลปะไทย | Social Impact EP.1

ปีที่แล้วภาพยนตร์อย่าง Parasite กวาดรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในเวทีออสการ์ ปีนี้ โคลอี้ เจา ผู้กำกับหญิงเชื้อสายเอเชียก็ได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมอีก นี่คือตัวอย่างของศิลปวัฒนธรรม ที่นอกจากทำหน้าที่ส่งต่อความสวยงามจรรโลงใจ แต่ยังส่งต่อแรงบันดาลใจสร้างมูลค่าได้อีกด้วย หรือเราจะเห็นว่าจริงๆ แล้วบางครั้งศิลปะก็เป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนสังคมไปสู่สิ่งที่ดีกว่า กลับมามองที่บ้านเรา ศิลปะไทยอยู่ในข้อถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน เรื่องการนำมาประยุกต์ใช้ในหลายมิติ เราพอจะมีทางเขยิบขึ้นไปในอีกมิติการรับรู้คุณค่าของศิลปะอย่างเท่าเทียมกันได้รึเปล่า เป็นไปได้ไหมที่เราจะนำศิลปะมาแสดงออกหลากหลายด้านมากกว่าความสวยงาม แล้วทำอย่างไรประเทศไทยและศิลปะจะเติบโตไปอย่างสอดประสานกัน ชวนมาถกถามหาคำตอบใน Social Impact EP.1 ศิลปะไทยไปได้ไกลกว่าที่เป็น?

จากเพจอยากดูหนังถึง ‘Lorem Ipsum’ พื้นที่ฉายหนังทางเลือกให้คนหาดใหญ่ได้ชม

ย้อนกลับไปเมื่อ 4 – 5 ปีก่อน สมัยยังเป็นนักศึกษาคณะนิเทศฯ ทำให้กลุ่มคนที่วนเวียนอยู่รอบตัวล้วนแล้วแต่เป็นคอหนังด้วยกันทั้งสิ้น จำได้ว่าถึงจะเรียนอยู่เชียงใหม่ จังหวัดใหญ่แห่งเมืองเหนือ แต่ก็ไม่วายที่หนังใหญ่บางเรื่องจะไม่เข้าฉาย ซึ่งตอนนั้นเราก็ไม่รู้เหตุผลเหมือนกันว่าเป็นเพราะอะไร  นอกจากเสียงบ่นของเพื่อนพ้องน้องพี่แล้ว อีกหนึ่งความไม่พอใจที่เห็นกันชัดๆ คือในเฟซบุ๊กมีเพจเรียกร้องให้เอาหนังมาฉายที่จังหวัดตัวเองผุดขึ้นเต็มไปหมด ไม่ต่างกับที่หาดใหญ่ซึ่ง ต้น–พรชัย เจียรวณิช ในฐานะคนรักหนัง ก็อดประหลาดใจไม่ได้ว่าทำไมภาพยนตร์บางเรื่องที่ดังระดับประเทศ แถมยังเป็นหนังระดับฮอลลีวูดที่หากเปิดให้เข้าชมในโรงฯ คนดูก็ไม่โหรงเหรงแน่ๆ แต่ทำไมคนต่างจังหวัดกลับไม่มีสิทธิ์ได้ดู  เรื่องนี้ฉายเหอะ…คนต่างจังหวัดอยากดู ต้นเล่าให้ฟังว่าภาพยนตร์ที่จะฉายในหาดใหญ่ถูกสกรีนด้วย ‘สายหนัง’ (ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์) ที่จะคัดเลือกหนังที่มีแนวโน้มจะทำรายได้ดีเข้ามาฉายในพื้นที่ แต่บางทีก็แปลกใจเหมือนกันว่าทำไมภาพยนตร์อย่าง Sing Street ที่เป็นหนังแมส คนอยากดูก็เยอะทำไมไม่เข้าโรงภาพยนตร์ที่หาดใหญ่ ด้วยความเก็บกดก็เลยเปิดเพจชื่อ ‘เรื่องนี้ฉายเถอะ คนหาดใหญ่อยากดู’ เพื่อเป็นพื้นที่ในการแสดงออก  ก่อนจะพบว่ามีกลุ่มคนที่อัดอั้นตันใจอยู่ไม่น้อย จึงเข้าไปคุยกับโรงภาพยนตร์เพื่อหาทางออกร่วมกัน  “ทีแรกเขาบอกว่าให้ไปรวมกลุ่มกันมาว่ามีคนดูกี่คน แต่เราส่งตัวเลขไปก็ไม่เกิดอะไรขึ้น ก็เลยมองไปที่การเช่าเหมาโรงฯ แล้วไปดีลกับค่ายหนังแทน ทีนี้เราก็เป็นเหมือนคนจัดฉายหนัง ลองหาดูว่าเรื่องไหนมีศักยภาพที่จะดึงคนมาดูแล้วเราไม่เจ็บหนักมากกับราคาเหมาโรงฯ ที่สองหมื่นบาท บางเรื่องก็คัฟเวอร์ บางเรื่องก็เข้าตัว แต่อย่างน้อยก็เป็นช่องทางหนึ่งที่จะทำให้คนเข้าถึงหนังได้ “แต่ปัญหาคือดีลกับโรงหนังแต่ละครั้ง กลายเป็นต้องเริ่มใหม่ทุกรอบ เพราะคนที่รับเรื่องเป็นคนละคน แถมราคาที่เสนอมาก็ไม่เท่ากัน เลยรู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่าง” เมื่อผิดหวังกับระบบของโรงภาพยนตร์ และหวังจะสร้างคอมมูนิตี้ของคนรักหนังในหาดใหญ่ […]

‘ทางเท้าโซลาร์เซลล์’ แห่งแรกของสเปน แผงโซลาร์เซลล์บนพื้นที่เดินเหยียบได้ แถมผลิตไฟฟ้าให้สวนสาธารณะในเมืองได้ด้วย

สภาบาร์เซโลนา ประเทศสเปน นำร่องติดตั้งทางเท้าโซลาร์เซลล์แห่งแรกของสเปน โดยมีเป้าหมายในการลดปริมาณคาร์บอนฯ สุทธิให้เท่ากับศูนย์ให้ได้ภายในปี 2050 เนื่องจากความหนาแน่นของประชากรภายในเมืองที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น แนวคิดการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บริเวณทางเท้าภายในเขตพื้นที่เมืองจึงเกิดขึ้น ทางเท้าโซลาร์เซลล์นี้ประกอบไปด้วยแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากซิลิคอน มีการเดินสายไฟฟ้าและหุ้มด้วยกระจกกันลื่นที่มีความทนทานสูง เดินเหยียบไปมาได้ปกติ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มพื้นที่ผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าแล้ว ยังเป็นการใช้พื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นคือทางเท้าแบบเดิมได้กลายเป็น ทางเท้าที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงสวนสาธารณะในเมือง Glòries สูงถึง 7,560 kWh/ปี นี่ถือเป็นจุดเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคการใช้พลังงานทดแทนของสเปนอย่างเต็มรูปแบบ อีกทั้งยังเป็นการลดใช้พลังงานเชื้อเพลิงที่มีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานไฟฟ้า โครงการดังกล่าวเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของนโยบายสิ่งแวดล้อมในเมืองบาร์เซโลนา ซึ่งหากประสบความสำเร็จก็จะต่อยอดไปสู่การติดตั้งบริเวณอื่นๆ โดยมีเป้าหมายว่าภายในระยะเวลา 5 ปี เมืองแห่งนี้จะหันมาใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น เพื่อสร้างพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอต่อประชากร 7.5 ล้านคน และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ถึง 4.2 ล้านตัน Source :The Guardian | https://bit.ly/33ka2mK

คิด (ถึง) แต่ไปไม่ถึงออฟฟิศ ดมเทียนหอมกลิ่นออฟฟิศ ‘Eau D’Office’ ก่อน! ทั้งกลิ่นปั่นงาน แก้งาน และเลิกงาน จาก R/GA

ถึงตัวจะอยู่บ้าน แต่ใจอยู่ออฟฟิศทุกวี่ทุกวัน คิดถึงจะแย่แล้วแม่! แม้ช่วงนี้จะไปออฟฟิศไม่ได้ แต่ถ้าได้กลิ่นที่ทำงานคงหายคิดถึงได้บ้าง R/GA New York บริษัทเอเจนซีโฆษณาในสหรัฐอเมริกา จึงปิ๊งไอเดียผลิตเทียนหอมกลิ่นออฟฟิศในชื่อ ‘Eau D’Office’ ที่ได้แรงบันดาลใจจากชีวิตประจำวันของพนักงาน ทั้งหมด 6 กลิ่น จาก 6 บรรยากาศในออฟฟิศ เป็นผลงานของ Facada และ Gerard พนักงานที่ทำเทียนหอมเล่นๆ เป็นของขวัญให้เพื่อน 2 คน แต่พนักงาน 650 คนในบริษัทกลับกรูเข้ามาและบอกว่าอยากได้บ้าง! เนื่องจากเพิ่งครบรอบ 1 ปีที่ไม่ได้เข้าออฟฟิศ ซึ่งกลิ่นที่แหวกขนบการเป็นเทียนหอมจนใครๆ หลงรักมีดังนี้ 1. Thursday happy hour on a high table – กลิ่นอะโรมา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อัดก๊าซ White Claw และข้าวโพดอบกรอบ Cheetos ในปาร์ตี้ชั่วโมงว่างของพนักงาน 2. Sushi Thursday at […]

บ้านที่เป็นมากกว่าบ้าน และความผูกพันระหว่างคุณกับคนในบ้าน

ช่วงที่ต้องอยู่บ้านติดต่อกันหลายวัน เพราะสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งอยู่บนโลกนี้มาปีกว่าๆ (เมื่อไหร่แกจะไปสักที) ทำให้ความเหนื่อย ความท้อ ความเครียด พุ่งเข้ามาในหัวจนฟุ้งซ่าน บางทีก็รับบทนางจินตนาการล้ำเลิศ คิดเล่นๆ ว่า ร่างกายเรามีหัวปลั๊กชาร์จแบตเตอรี่ เหมือนพวกสายไฟซ่อนอยู่ไหมเนี่ย หรือบ้านมีระบบบลูทูธส่งพลังมาให้ร่างกายได้บ้างไหม ถ้ามีจะได้รีบควานหาแล้วเสียบชาร์จและกดปุ่มรับพลังใจทันที เพราะตอนนี้รู้สึกหมดไฟจังเลย…เฮ้อ Home is empowering you สโลแกนสั้นๆ จากแคมเปญ 30×30 Home is empowering you ของ เอพี ไทยแลนด์ บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่เชื่อว่าบ้านเป็นมากกว่าที่อยู่อาศัย แต่ช่วยเติมเต็มพลังชีวิตให้คุณได้ จึงทำให้ฉันตั้งคำถามกับทุกห้องในบ้านตั้งแต่ห้องน้ำ ครัว ห้องนอน สวน ห้องนั่งเล่น และระเบียง ว่ามันมีพลังอะไรช่วยให้รู้สึกดีขึ้นบ้างไหม  สรุป มีจริง! แถมเป็นกิจกรรมเบสิกที่ไม่คิดว่าพิเศษขนาดนี้ ทั้งร้องเพลงในห้องน้ำช่วยคลายกังวล ทำสวนช่วยกระชับความสัมพันธ์ รดน้ำต้นไม้ริมระเบียงลดความเครียด เม้ากันระหว่างกินข้าวเพิ่มความสนิทสนมและแชร์เรื่องราวดีๆ ให้คนที่รักฟังก่อนนอนทำให้หลับสนิท ไม่ฝันร้าย และกิจกรรมพิเศษที่เอพี ร่วมกับ 30 illustrators นั้นอบอุ่นและพิเศษอย่างไร เราจะพาคุณไปตามหาแรงบันดาลใจจาก 6 […]

5 อีเวนต์ทิพย์ สร้างความสุขที่บ้าน

โควิด-19 เจ้ากรรมทำไมใจร้ายอย่างนี้! (หรือเป็นเพราะรัฐบาลยังไม่มีวัคซีนให้ประชาชนฉีดทั่วประเทศกันแน่) แกทำให้ฉันติดแหง็กอยู่ในบ้าน ออกไปไหนไม่ได้ แม้หัวใจจะเรียกร้องให้ออกไปเดินเล่น เอ็นจอยกับการใช้ชีวิต และทำกิจกรรมเพิ่มพลังใจก็เถอะ แต่ความหาทำก็ไม่เป็นสองรองใคร ออกไปไหนไม่ได้ใช่ไหม ได้! Urban Creature ขออาสาพาทำกิจกรรมทิพย์ๆ ที่บ้าน ตั้งแต่ดูคอนเสิร์ตวง PREP เข้าพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ประเทศฝรั่งเศส อ่านหนังสือให้ผู้พิการทางสายตา ปลูกป่า หรือช้อปหนังสือที่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 49 เพราะทั้งหมดนี้ถูกมัดรวมอยู่ในช่องทาง ‘ออนไลน์’ หมดแล้ว! 01 ตุนหนังสือ ‘สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ’ เข้ากอง ถึงงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 49 ในคอนเซปต์ ‘อ่านเท่’ ที่ไบเทค บางนาคราวนี้จะถูกเลื่อนไปเป็นวันที่ 5 – 23 พฤษภาคม 2564 แต่ใครว่าทุกสำนักพิมพ์จะยอมถอยทัพง่ายๆ เพราะตอนนี้กองหนังสือเล่มเด็ดตั้งแต่หนังสือประวัติศาสตร์ การเมือง ปรัชญา นิยาย ไปจนถึงมังงะ (ไฮคิว โคนัน วันพีซ ขนมาหมด) เปิดให้ช้อปกันกระหน่ำพร้อมส่วนลดและโปรโมชันพิเศษแบบจัดเต็มเหมือนการออกบูทจริงทุกอย่าง ป.ล. แอบกระซิบว่าแต่ละวันจะมีชั่วโมง Flash […]

หมอแดง พรศักดิ์ ผู้สร้างนิยามที่แท้ของ ‘ตายดี’ ไม่ให้ความหวัง แต่ให้คนไข้เลือกตายได้เอง

สวัสดีตัวฉันในเวอร์ชันที่ยังมีชีวิตอยู่ ทุกเช้าที่ลืมตาตื่น หญิงวัยรุ่นคนนี้บอกตัวเองเสมอว่า “ขอให้วันนี้เป็นวันที่ดี” เช่นเดียวกับวันที่กำลังนั่งเขียนบทความชิ้นนี้ให้ทันเดดไลน์ แม้ความจริงมันอาจจะไม่ดีตั้งแต่ Work from Home ที่ต้องอุดอู้อยู่ในบ้านจนเครียดแล้วก็เถอะ ทว่าไม่รู้เมื่อไหร่จะเป็นวันสุดท้ายของชีวิต การประโลมใจตัวเองพร้อมทำในสิ่งที่รักอย่างเต็มที่ อาจทำให้ไม่เสียดาย หรือเสียดายน้อยที่สุดตอนตายก็ได้มั้ง เพราะยอมรับอยู่เนืองๆ ว่าทุกคนต้องมีวันตายไม่ต่างจากวันเกิด เคยจินตนาการเล่นๆ เหมือนกันนะ ว่าถ้ารู้วันตายจะทำอะไรบ้าง กินเค้กร้านโปรด เปิดดูซีรีส์ที่ กงยู เล่น เพราะเป็นรักแรกตั้งแต่ประถมฯ เป็นไปได้ก็อยากไปคอนเสิร์ต EXO กับ NCT ศิลปินเกาหลีที่ติ่งจนบ้านมีแต่อัลบั้ม แท่งไฟ และโฟโต้บุ๊กของพวกเขา อะไรอีกดีล่ะ…บอกรักแม่ บอกรักพ่อ บอกรักแฟน บอกรักเพื่อน และบอกพวกเขาว่าช่วยใช้ชีวิตต่ออย่างมีความสุขทีด้วยละกัน แม้ตอนนี้ฉันยังเป็นมนุษย์ที่แข็งแรงดี แต่แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของ หมอแดง-พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์ ผู้อำนวยการกองสุขภาพจิต รพ.อาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ ที่ให้ผู้ป่วยรู้ล่วงหน้าว่ากำลังจะตายและให้ทำสิ่งที่อยากทำก่อนตาย เช่น ดูซีรีส์เกาหลี หวีดอปป้า ฟังเพลงลูกทุ่ง ดูสารคดี หรืออยากฟังพระสวด กลับน่าสนใจ (โคตรๆ) จนต้องนัดสัมภาษณ์เพื่อคุยเรื่องความเป็นมืออาชีพของเขา นอกเหนือจากที่ว่า คนไข้แต่ละคนยังสามารถ […]

ชีวิตดีๆ ที่ลงตัวเริ่มที่เราหรือรัฐ? | Soundcheck

เมืองที่ดีเกิดขึ้นได้ที่ตัวเราก่อนจริงหรือ ภาครัฐล่ะ
คำถามข้างต้นคงเป็นคำถามสำคัญแห่งยุคที่กำลังถูกหยิบยกมาพูดคุยกันอย่างกว้างขว้าง เพราะเมื่อเรากำลังจะพูดถึงการร่วมกันสร้างเมืองที่ดี เมืองที่ดีของแต่ละคนก็แตกต่างกันไป ตามสิ่งที่คนคนนั้นให้ความสำคัญ
แต่ในเชิงของเมืองที่ดี อย่างที่ควรเป็นเกิดขึ้นได้เพียงความต้องการของคนเดียวจริงหรือ หรือรัฐจะมีส่วนอย่างไร Soundcheck ตอนนี้เราจึงออกไปรับฟังเสียงเพื่อสะท้อนความในใจคนเมืองว่า เขาคิดเห็นกันอย่างไรต่อประเด็นนี้ ใน Soundcheck เมืองที่ดีใครสร้าง


Seaspiracy ไม่บอกอะไร เมื่อประมงทำร้ายทะเล แต่ถ้าหยุดกินปลาตามสารคดีก็เป็นหายนะของคนจน

บรรณาธิการบริหารแห่ง Urban Creature บอกทีมในเช้าวันประชุมกองบรรณาธิการว่า “ภายในปี 2048 มหาสมุทรอาจว่างเปล่า ไร้สิ่งมีชีวิต” หลังจากเมื่อคืนพี่แกใช้เวลาจดจ่อกับ Seaspiracy ภาพยนตร์สารคดีใน Netflix ที่ตีแผ่อุตสาหกรรมประมงซึ่งทำร้ายสิ่งมีชีวิตในทะเลไปมหาศาล ทั้งอวนจับปลาที่สร้างขยะและฆ่าสัตว์น้อยใหญ่มากกว่าพลาสติก ปัญหาการจับสัตว์น้ำพลอยได้ที่เน้นกวาดทุกสปีชีส์ในทะเลด้วยอวนขนาดใหญ่ที่คลุมโบสถ์ได้ทั้งหลัง แรงงานทาสที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ฟาร์มสัตว์ทะเลที่เข้ามาแย่งพื้นที่ป่าโกงกางซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญบนโลกจนเกิด Climate Change รวมไปถึงการชี้ให้ทุกคนหยุดกินปลาเพื่อจบทุกปัญหา หลากเสียงในห้องประชุมเริ่ม “เชี่ย แล้วต้องทำไงวะ” “กูดูจบแล้วอยากเลิกกินปลา” “โหดร้ายว่ะ” “คืนนี้จะกลับไปดู” ขึ้นมาจนกลายเป็นเสียงนอยซ์ เย็นวันนั้น เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที ฉันใช้ไปกับการดู Seaspiracy พร้อมความรู้สึกหดหู่ที่เกิดขึ้น แต่เดี๋ยวก่อน…หลังจากที่สติแตกไปครู่หนึ่ง อยู่ดีๆ ก็คิดขึ้นว่า “เคยเรียนข่าวมา หาข้อมูลเพิ่มเติมและอัปเดตมันหน่อยเป็นไง” อวนสร้างความเสียหายต่อทะเลมากแค่ไหน การลดใช้พลาสติกไม่จำเป็นเลยหรือเปล่า การจับสัตว์น้ำพลอยได้ต้องเร่งแก้ไขก่อนที่มันจะสูญพันธุ์หรือไม่ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทะเลส่งผลเสียอย่างไร ตกลงแรงงานทาสในไทยมีอยู่ไหม และการเลิกกินปลาเป็นคำตอบที่ดีจริงหรือในวันที่ชาวประมงพื้นบ้านยังคงเลี้ยงชีพด้วยการหาปลา ทุกคำถาม มีคำตอบ ขอเวลาไม่นาน เพ่งสายตาให้มั่น ไล่อ่านทุกบรรทัด ไปเจาะข้อมูลเอกสารที่สารคดีไม่ได้บอก และความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านประมงในไทยกัน ลุย […]

1 9 10 11 12 13 24

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.