Ananda For Urban Hero

ปีสองปีที่ผ่านมา การใช้ชีวิตของมวลมนุษยชาตินั้นเปลี่ยนแปลงไป และต้องบอกว่า “มันไม่ง่ายเลย”

มีบ้างที่คิดถอดใจ เพราะสิ่งที่มุ่งหวังไว้ล้มไม่เป็นท่า หันไปมองคนใกล้ชิด หรือแม้แต่เพื่อนร่วมโลกก็ต่างล้มลุกคลุกคลานไม่แพ้กัน บ้างพลิกวิกฤตเป็นโอกาส บ้างต้องพักใจชั่วคราวแล้วกลับมาฮึดสู้ใหม่ แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นและสัมผัสได้ คือหัวใจของความเป็น Hero

นิยามของ Hero ใน พ.ศ. นี้ อาจไม่ใช่คนที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ ต้องดีเลิศเลอ หรือเป็นไอดอลที่ใครก็อยากทำตาม แต่ความเป็นจริงแล้วทุกชีวิตบนโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นใคร กำลังทำอะไร หรือเป็นฟันเฟืองเล็กใหญ่แค่ไหน ก็ล้วนมีพลังฮีโร่อยู่ในจิตวิญญาณทั้งสิ้น

แม้วันนี้โลกจะไม่แสนดีต่อเราสักเท่าไร แต่เรายังเชื่อมั่นในทุกพลังความเป็น Urban Hero ที่อยู่ในหัวใจทุกคน ว่าจะสามารถส่งต่อพลังบวกเหล่านั้นไปยังคนที่เรารัก คนที่รักเรา และชาวเมือง ให้ลุกขึ้นมาอีกครั้ง
.
เหมือนกับ Ananda แบรนด์ที่คิดเพื่อชีวิตคนเมือง ซึ่งขอส่งต่อพลังอันยิ่งใหญ่ กับบทเพลงให้กำลังใจฮีโร่ชาวเมืองทุกคน ให้กลับมายิ้มได้และพร้อมลุยอีกครั้ง เมื่อมวลความรู้สึกดี ๆ จากหลากหลายหัวใจมารวมกัน เชื่อเลยว่าทุกคนจะผ่านมันไปได้ และเราจะผ่านมันไปด้วยกัน

#UrbanCreature #เพราะคุณคือHEROในทุกๆวัน

ทำไมมอเตอร์ไซค์ห้ามขึ้นสะพาน ความเหลื่อมล้ำบนถนน ดีต่อรถยนต์แต่ไม่เอื้อพาหนะสองล้อ

ภาพอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์คว่ำบนสะพานถูกกั้นด้วยกระจกรถยนต์หนาไม่กี่มิลลิเมตรที่ขับผ่านไปคันแล้วคันเล่า ถ้ามองจากวิวบนพาหนะ 4 ล้อ บ้างอาจคิดว่าเจ้าของมอเตอร์ไซค์เหล่านั้นน่าสงสาร บ้างอาจคิดว่าขับมอเตอร์ไซค์อันตรายจนรีบบอกลูกที่นั่งเบาะข้างๆ ว่าอย่าไปขับเชียวนะ บ้างอาจคิดว่าทำผิดกฎหมาย ‘ห้ามขึ้นสะพาน’ เองนี่ หรืออาจคิดว่าคนขับมอเตอร์ไซค์ผิดตั้งแต่เลือกขับแล้ว เพราะกฎหมายเข้มงวดสารพัดสิ่งถูกบังคับใช้กับคนขับมอเตอร์ไซค์เป็นส่วนใหญ่ แม้อุบัติเหตุบางส่วนเกิดขึ้นเพราะคนขับรถยนต์ และลักษณะการออกแบบของสะพานก็ตาม นั่นน่ะสิ ทำไมคนขับมอเตอร์ไซค์ที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ (มีจำนวน 21,452,050 คัน มากกว่ารถยนต์กว่า 10 ล้านคันเลยนะ) ถึงห้ามขึ้นสะพานฝ่ายเดียว ตามมาตรา 139 (1) ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ข้อ 3 กล่าวว่า ห้ามรถจักรยานยนต์ รถจักรยาน รถยนต์สามล้อ และล้อเลื่อนลากเข็นทุกชนิดเดินบนสะพานข้ามทางร่วมทางแยก สะพานยกระดับ และสะพานข้ามแม่น้ำ รวม 39 สาย  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความเห็นเกี่ยวกับการอนุญาตให้มอเตอร์ไซค์ขึ้นสะพานจากกลุ่มประชาชนตัวอย่างในเขต กทม. 1,254 คน พบว่า ร้อยละ 51.12 ไม่เห็นด้วย เพราะสะพานข้ามแยกค่อนข้างลาดชัน ไม่เหมาะกับมอเตอร์ไซค์ เนื่องจาก ‘รถยนต์’ […]

ภารกิจ Zero Waste เริ่มต้นได้ที่บ้าน

ท่ามกลางชีวิตของเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยผู้คน รถยนต์ และความวุ่นวายในแต่ละวัน ความเรียบง่ายจึงกลายมาเป็นกุญแจสำคัญในการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ จนเกิดเป็นแนวคิด Minimalism ที่ผู้คนโหยหาความสงบและความเรียบง่ายในการใช้ชีวิต ด้วยการตัดสิ่งของที่ไม่จำเป็นออก เมื่อเรามีสิ่งของน้อยชิ้นลง ก็จะเกิดความปลอดโปร่งและเป็นระเบียบทั้งภายในบ้านและภายในจิตใจ แต่ปัจจุบันสิ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญ ไม่ใช่แค่เรื่องการเติมเต็มความสุขของตัวเอง แต่ยังรวมถึงการหันกลับมาใส่ใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะที่เป็นความรับผิดชอบของมนุษย์ทุกคน คงจะดีหากเราสามารถผสานวิถีชีวิตที่เรียบง่ายเข้ากับการดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อคืนประโยชน์ให้โลกใบนี้ได้ในเวลาเดียวกัน ในช่วงเวลาไม่กี่ปีมานี้เราต่างประสบกับภัยพิบัติต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโลกร้อน น้ำท่วม ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดล้วนเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ที่ทำร้ายโลกอย่างไม่เคยคิดถึงผลของการกระทำ ท่ามกลางภัยพิบัติดังกล่าวทำให้ผู้คนจำนวนมาก เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับระบบนิเวศขนาดใหญ่ที่เรียกว่าโลก ในฐานะการเป็นบ้านของสรรพชีวิต แนวคิดการอยู่อาศัยที่เรียกว่า Eco-living จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในยุคปัจจุบัน แต่การจะลุกขึ้นมาทำอะไรเพื่อสิ่งแวดล้อมอาจไม่จำเป็นต้องทำอะไรให้ยิ่งใหญ่เกินตัว เพราะการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นได้จากสิ่งเล็กๆ ที่แทรกซึมอยู่ในการใช้ชีวิตของเรา สิ่งที่จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนนั้น ประกอบไปด้วยคำว่า ‘Profit’ ‘Planet’ และ ‘People’ สามองค์ประกอบที่จะทำให้ชีวิตที่มีความสุขทั้งกับตัวเราเอง และสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปด้วยกันได้อย่างลงตัว จุดเริ่มต้นแห่งความสมดุลแรกคือ ‘Profit’ หรือกำไร ในที่นี้อาจจะไม่ได้หมายถึงกำไรทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงกำไรชีวิตจากการอยู่อาศัยได้ด้วยเช่นกัน หากจะให้พูดถึงบ้าน Como Bianca จากอารียา พรอพเพอร์ตี้ คงต้องยกให้ความสะดวกสบายด้วยทำเลโครงการที่อยู่ติด Mega Bangna และการออกแบบที่เรียบง่ายแต่มีดีไซน์ในสไตล์มินิมอล ภายนอกของตัวบ้านออกแบบมาอย่างใส่ใจในทุกรายละเอียด […]

‘ต้า Paradox’ ร็อกสตาร์แห่งวงการพระเครื่อง ผู้กำลังเขียนหนังสือพระฉบับเยาวชน

ย้อนกลับไปเมื่อสองสามเดือนที่แล้ว กองบรรณาธิการ Urban Creature ได้ให้กำเนิดคอลัมน์ Another Me เพื่อเล่าอีกมุมของคนดังในแบบที่เราไม่รู้จักมาก่อน และประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจมากระหว่างการประชุม คือการค้นพบว่าชีวิตล่างเวทีของ ต้า พาราด็อกซ์ หรือ อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา นิยมชมชอบการส่องพระอยู่ไม่น้อย แน่นอนว่าการส่องพระ เล่นพระ จะเป็นงานอดิเรกของใครก็ได้ แต่เวลาไปดูคอนเสิร์ตพาราด็อกซ์ สิ่งที่เราเห็นคือความบ้าคลั่งในการแสดง และใส่กันไม่ยั้งทั้งคณะ ปลุกอารมณ์แฟนเพลงให้พลุ่งพล่านมากว่า 20 ปี จนแทบนึกไม่ออกว่าฟรอนต์แมนผู้สับสายกีตาร์อย่างเมามัน นั้นอยู่ในโหมดไหนในวงการพระ จะเป็นแนวนักเลงเก๋าๆ ห้อยพระเต็มคอ หรือเป็นเซียนพระมืออาชีพด้านการแลกเปลี่ยนทำกำไร  สารภาพตรงนี้ว่าเดาไม่ถูกจริงๆ จนต้องต่อสายถึงพี่ต้าในวันที่โลกข้างนอกยังไม่อนุญาตให้เราออกมาเจอกัน และขออนุญาตชวนคุณผู้อ่านที่ไล่สายตาถึงตรงนี้มารู้ไปพร้อมกันว่า จากยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย พี่ต้าของเราหันมายืนส่องพระหน้าแผงได้ยังไง  เดบิวต์เข้าวงการ ผมไม่แน่ใจนักว่านักดนตรีที่เดินทางทัวร์คอนเสิร์ตทั่วประเทศไทยจะได้อะไรติดไม้ติดมือกลับมาฝากคนที่บ้าน ถ้าเป็นกรณีทั่วไปเวลาไปเที่ยวต่างจังหวัด ผมนึกถึงของฝากประเภทของกิน เช่น โรตีสายไหมของอยุธยา ไส้อั่ว แคบหมูจากเชียงใหม่ ขนมหม้อแกงของบรรดาแม่กิม แต่ลองได้ชื่อว่าเป็นร็อกสตาร์ อะไรแบบนั้นคงธรรมดาไป  “ตั้งแต่เริ่มทัวร์คอนเสิร์ตเมื่อยี่สิบปีที่แล้ว เวลาที่ไปต่างจังหวัดจะไปไหว้พระ แต่ก็ยังไม่ได้ศึกษาอะไรมาก อาศัยว่าเจอวัดไหนก็เข้าวัดนั้น พระเครื่องเป็นของฝากที่รู้สึกว่าแปลกดี เพราะต้องไปให้ถึงวัด ไม่ใช่จะไปเช่าที่ไหนก็ได้ […]

168aroi คืนความทรงจำการกินบะหมี่สำเร็จรูป ด้วยบะหมี่เห็ดที่อร่อยแต่ Healthy ในเวลาเดียวกัน

ยังจำความรู้สึกเหล่านี้ได้ไหม ช่วงเวลาแห่งความเพลิดเพลิน ความสนุก ไปกับการกินเส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ที่พวกเราเคยแบ่งปันให้กันในวัยเด็ก เรื่องราวและรสชาติต่างๆ ล้วนยังคงอยู่ในความทรงจำที่ไม่เคยลืมเลือน เฉกเช่นเดียวกับแจมและเมย์ เพื่อนรักสองคนที่ส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ แต่ทุกครั้งที่ต้องไปต่างแดน ทั้งสองก็ไม่เคยลืมที่จะพกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปติดตัวไปด้วย เพื่อเป็นทั้งขนมและอาหารคลายหิวที่ไม่ว่าจะกินเมื่อไหร่ก็จะนึกถึงบรรยากาศเก่าๆ ในวัยเด็ก แต่จากสถานการณ์ของ COVID-19 ทำให้เราเห็นถึงปรากฏการณ์ ที่คนทั้งโลกหันมาสนใจเรื่องการดูแลสุขภาพมากขึ้น รวมถึงเมย์และแจมสองผู้ก่อตั้งแบรนด์ ก็เห็นถึงความสำคัญของอาหารเพื่อสุขภาพ แต่เขาทั้งสองก็ยังคงรักในการกินเส้นเป็นชีวิตจิตใจ เลยเกิดเป็นไอเดียในการสร้างแบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีความร่วมสมัย ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ และปราศจากส่วนประกอบจากสัตว์ ซึ่งดีต่อร่างกายมากกว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบเดิม | จากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป สู่บะหมี่เห็ดเพื่อสุขภาพ เพราะรสชาติความอร่อยของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ที่มาพร้อมความสะดวกในการกิน ต่างต้องแลกมาด้วยปริมาณผงชูรส โซเดียม และน้ำมันจากกระบวนการผลิตที่ล้วนส่งผลเสียต่อสุขภาพหากทานในปริมาณมาก โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำไว้ว่า ปริมาณโซเดียมที่ทานในแต่ละวันไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัม ทว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปส่วนใหญ่ในท้องตลาด 1 ซอง มีปริมาณโซเดียมสูงถึง 1,500 – 1,600 มิลลิกรัม หรือเกือบเทียบเท่าปริมาณโซเดียมที่ควรจะกินในแต่ละวันเลยทีเดียว ที่สำคัญ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปบางชนิดยังมีการเคลือบผงชูรสไว้ที่ตัวเส้นเพื่อเพิ่มรสชาติ และเพื่อเพิ่มอายุการเก็บรักษา บวกกับความกรุบกรอบและรสสัมผัสที่อร่อยขึ้น จึงนิยมใช้การทอดด้วยน้ำมัน ทำให้เกิดการสะสมของน้ำมันภายในเส้น ซึ่งเป็นจุดไคลแมกซ์ที่ส่งผลเสียต่อร่างกายมากที่สุด […]

‘บาเลนเซีย’ เมืองหลวงการออกแบบแห่งใหม่ ที่ใช้ Art&Design พัฒนาเมืองและดึงดูดนักลงทุน

World Design Capital เป็นรางวัลที่จัดขึ้นเพื่อยกย่องเมืองที่สามารถนำเอาการออกแบบ มาใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนเมือง ทั้งในภาคเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ซึ่งรางวัลดังกล่าวจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆ 2 ปี เริ่มต้นตั้งแต่เมืองตูริน (2008) โซล (2010) เฮลซิงกิ (2012) เคปทาวน์ (2014) ไทเป (2016) เม็กซิโกซิตี้ (2018) และ ลิลล์ (2020) ในปี 2022 ที่กำลังจะมาถึง ‘บาเลนเซีย’ เมืองศิลปะของประเทศสเปน ได้รับเลือกให้เป็น ‘เมืองหลวงแห่งการออกแบบแห่งใหม่’ จากเหตุผลที่ว่า ดินแดนแห่งนี้ อุดมไปด้วยผลงานทางด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมเก่าแก่มากมาย ที่มีชื่อเสียงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในส่วนของภาครัฐเองก็ผลักดันในด้านต่างๆ ตั้งแต่สนับสนุนวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ จัดนิทรรศการ โชว์ผลงาน และการประชุมในทุกเดือน โดยจะมีเนื้อหาสนุกๆ เช่น จะออกแบบอย่างไร เมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การออกแบบเพื่อความเท่าเทียมกันทางเพศ ประวัติของการออกแบบ การพัฒนาอุตสาหกรรมการออกแบบและธรรมชาติ ไม่เพียงเท่านี้ บาเลนเซียยังเปิดอบรมเพื่อเสริมทักษะให้เหล่านักออกแบบ ทั้งยังจัดกิจกรรมโดยใช้การออกแบบมาโปรโมตย่านต่างๆ ในเมือง เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวและนักออกแบบจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางมาที่นี่ […]

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ สะอาดจนไม่ต้องล้าง และมีผักทุกฤดูกาลให้กินทั้งปี

เมื่อไรก็ตามที่เราได้ยินคำว่า ‘อาหารที่ผลิตจากโรงงาน’ ถึงจะไม่รู้สึกแย่สักเท่าไหร่ แต่ก็คงไม่ใช่ตัวเลือกต้นๆ สำหรับคนรักสุขภาพแน่นอน ยิ่งนักเขียนนิยายคนไหนใช้คำบรรยายว่า ‘โรงงานผลิตพืช’ ผู้อ่านอย่างผมคงนึกไปถึงสถานที่แออัดซอมซ่อ บรรยากาศทะมึนๆ มีคนงานใช้สารพันสารเคมี แล้วประกอบผักสักต้นขึ้นมาทีละส่วนบนสายพานการผลิตเป็นแน่แท้ แต่นับเป็นโชคดีของคุณผู้อ่าน Urban Creature ที่เฟซบุ๊กมีระบบโชว์ภาพปกก่อนจะลิงก์เข้ามายังบทความเรื่องนี้ เพราะคุณคงเห็นแล้วแน่ๆ ว่าโรงงานผลิตพืชแห่งนี้เป็นคนละเรื่องกับที่ผมเคยนึกถึง เพราะดูสะอาดสบายตา มีผักสีเขียวที่ดูสดกรอบ หน้าตาไม่เลว แถมพนักงานยังไม่ทำหน้าทำตาอึมครึมใส่กันอีกด้วย ผมจึงอยากชวนมารู้จักฟาร์มผักใจกลางเมืองที่ใช้หลอดไฟแทนแสงอาทิตย์ ผ่านมุมมองของ วา-ยวิษฐา คนธรรพ์สกุล กรรมการผู้จัดการ LED Farm ที่มีผักสดคุณภาพดีให้เรากินตลอดปี คุณภาพเหมือนกันทุกล็อต แถมควบคุมสารอาหารได้อย่างกับออกมาจากโรงงาน (ก็ออกมาจากโรงงานนั่นแหละ) อดีตผลิตหลอดไฟ ปัจจุบันทำโรงงานพืช การต่อสู้ด้วยราคาเป็นสนามที่บรรดาผู้ประกอบการไม่อยากลงไปเล่นมากที่สุด เช่นเดียวกับ ซีวิค มีเดีย จำกัด บริษัทแม่ของ LED Farm ที่เคยเป็นเต้ยในธุรกิจผลิตจอภาพ หลอด LED แต่โดนอุตสาหกรรมใหญ่จากแดนมังกรเข้ามาแข่งขันเรื่องราคาที่ถูกกว่าถึงเท่าตัว จึงเลือกเดินหน้าเข้าสู่ธุรกิจใหม่ เริ่มศึกษาวิธีคิดและนวัตกรรมใหม่โดยยึดพื้นฐานเดิมเป็นตัวตั้ง  ทายาทรุ่นลูกอย่างวาเล่าให้ฟังว่า ชิงชัย คนธรรพ์สกุล คุณพ่อของเธอไปเห็นโมเดลการปลูกพืชด้วยหลอดไฟแอลอีดีจากประเทศญี่ปุ่น ที่เรียกว่า PFAL (Plant […]

NEW URBAN CREATURE REINVENT THE WAY WE LIVE

ปีสองปีที่ผ่านมา ชีวิตเราเหมือนลูกปิงปองที่ถูกเสิร์ฟด้วยโรคติดต่อร้ายแรงที่สุดในรอบ 100 ปี เด้งไปถูก Backhand ด้วยกระแสวิกฤตเศรษฐกิจที่แทบมองไม่เห็นฝั่ง พอข้ามเน็ตก็โดนบล็อกด้วยความขัดแย้งทางการเมือง พักเกมได้ไม่ทันหายใจ ก็เจอ Forehand จังๆ ด้วยการแพร่ระบาดระลอกที่ 3 ซึ่งไร้ปลายทาง

‘เราจะอยู่แบบนี้กันจริงๆ หรือ?’ คือคำถามที่ผุดขึ้นในใจ…

ปี 2021 นี้จึงถือเป็น ‘A Year of Change’ สำหรับคนทั้งโลก รวมถึงเรา Urban Creature ที่ต้องลุกขึ้นปัดฝุ่นความคิด Reinvent the Way We Live นำเสนอเรื่องราวในท่าทีใหม่ ด้วยมุมมองใหม่ เพราะเราเชื่อว่าเมื่อแรงบันดาลใจมาเจอ Know-how จะสร้างแรงกระเพื่อมที่เปลี่ยนสังคมได้

ติดมือถือจนลืมดูทาง ให้ ‘ตาดวงที่ 3’ มองแทน! ‘Phono Sapiens’ หุ่นยนต์ดวงตา แก้ปัญหาชนนู่น ชนนี่ ระหว่างเล่นมือถือ

เพล้ง! ตุ้บ! โอ๊ย! “ก็บอกแล้วใช่ไหม ไม่ให้เล่นโทรศัพท์ระหว่างเดิน” กี่ครั้งแล้วที่ร่างกายปะทะความเจ็บ ชนนู่น ชนนี่ เพราะอาการ ‘ติดโทรศัพท์’ จนยกหัวแทบไม่ขึ้น มิหนำซ้ำบางครั้งนำไปสู่อุบัติเหตุรุนแรงได้ แม้จะเตือนกันปาวๆ ว่าอย่าเล่นโทรศัพท์ระหว่างเดิน ให้ดูทางก่อน แต่ความบันเทิงหรือธุระสำคัญบนหน้าจอเล็กๆ ก็ดึงดูดให้พฤติกรรมดังกล่าวของผู้คนยังมีอยู่ บางทีถ้าเรามีตาดวงที่ 3 ไว้ช่วยดูทางอาจจะดีขึ้นก็ได้มั้ง ไม่ได้ล้อเล่นนะ ตาดวงที่ 3 นี่แหละคือคำตอบ!  Minwook Paeng นักออกแบบอุตสาหกรรมชาวเกาหลีใต้เสียดสีพฤติกรรมติดโทรศัพท์ของคนว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ไปแล้ว ด้วยการสร้างผลงาน ‘Phono Sapiens’ อุปกรณ์ที่มีลักษณะเหมือนตาหุ่นยนต์ ให้คนที่ยุ่งเกินกว่าจะมองถนนใช้ติดกับหน้าผากด้วยแผ่นเจลบางๆ ตาดวงที่ 3 นี้จะคอยระวังขณะที่คุณเดินกดโทรศัพท์ยิกๆ เมื่อคุณค้อมศีรษะลง กล้องจะช่วยมองสิ่งกีดขวางและอุปกรณ์ Arduino จะคอยส่งคลื่นความถี่เสียงอัลตราโซนิกกระทบวัตถุที่อยู่ในระยะ 1 เมตร ก่อนจะสะท้อนคลื่นกลับมายังเซนเซอร์เพื่อแจ้งเตือนผู้ใช้งาน ซึ่งถ้าเกิดเสียงดังเมื่อไหร่ นั่นแปลว่าคุณกำลังจะชน! แม้งานออกแบบชิ้นนี้จะเป็นผลงานที่ Minwook ทำขณะเรียนปริญญาวิศวกรรมการออกแบบที่ London’s Royal Imperial College of Art and Imperial […]

ถกความเป็นไปได้กับก้าวต่อไปของศิลปะไทย | Social Impact EP.1

ปีที่แล้วภาพยนตร์อย่าง Parasite กวาดรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในเวทีออสการ์ ปีนี้ โคลอี้ เจา ผู้กำกับหญิงเชื้อสายเอเชียก็ได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมอีก นี่คือตัวอย่างของศิลปวัฒนธรรม ที่นอกจากทำหน้าที่ส่งต่อความสวยงามจรรโลงใจ แต่ยังส่งต่อแรงบันดาลใจสร้างมูลค่าได้อีกด้วย หรือเราจะเห็นว่าจริงๆ แล้วบางครั้งศิลปะก็เป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนสังคมไปสู่สิ่งที่ดีกว่า กลับมามองที่บ้านเรา ศิลปะไทยอยู่ในข้อถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน เรื่องการนำมาประยุกต์ใช้ในหลายมิติ เราพอจะมีทางเขยิบขึ้นไปในอีกมิติการรับรู้คุณค่าของศิลปะอย่างเท่าเทียมกันได้รึเปล่า เป็นไปได้ไหมที่เราจะนำศิลปะมาแสดงออกหลากหลายด้านมากกว่าความสวยงาม แล้วทำอย่างไรประเทศไทยและศิลปะจะเติบโตไปอย่างสอดประสานกัน ชวนมาถกถามหาคำตอบใน Social Impact EP.1 ศิลปะไทยไปได้ไกลกว่าที่เป็น?

จากเพจอยากดูหนังถึง ‘Lorem Ipsum’ พื้นที่ฉายหนังทางเลือกให้คนหาดใหญ่ได้ชม

ย้อนกลับไปเมื่อ 4 – 5 ปีก่อน สมัยยังเป็นนักศึกษาคณะนิเทศฯ ทำให้กลุ่มคนที่วนเวียนอยู่รอบตัวล้วนแล้วแต่เป็นคอหนังด้วยกันทั้งสิ้น จำได้ว่าถึงจะเรียนอยู่เชียงใหม่ จังหวัดใหญ่แห่งเมืองเหนือ แต่ก็ไม่วายที่หนังใหญ่บางเรื่องจะไม่เข้าฉาย ซึ่งตอนนั้นเราก็ไม่รู้เหตุผลเหมือนกันว่าเป็นเพราะอะไร  นอกจากเสียงบ่นของเพื่อนพ้องน้องพี่แล้ว อีกหนึ่งความไม่พอใจที่เห็นกันชัดๆ คือในเฟซบุ๊กมีเพจเรียกร้องให้เอาหนังมาฉายที่จังหวัดตัวเองผุดขึ้นเต็มไปหมด ไม่ต่างกับที่หาดใหญ่ซึ่ง ต้น–พรชัย เจียรวณิช ในฐานะคนรักหนัง ก็อดประหลาดใจไม่ได้ว่าทำไมภาพยนตร์บางเรื่องที่ดังระดับประเทศ แถมยังเป็นหนังระดับฮอลลีวูดที่หากเปิดให้เข้าชมในโรงฯ คนดูก็ไม่โหรงเหรงแน่ๆ แต่ทำไมคนต่างจังหวัดกลับไม่มีสิทธิ์ได้ดู  เรื่องนี้ฉายเหอะ…คนต่างจังหวัดอยากดู ต้นเล่าให้ฟังว่าภาพยนตร์ที่จะฉายในหาดใหญ่ถูกสกรีนด้วย ‘สายหนัง’ (ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์) ที่จะคัดเลือกหนังที่มีแนวโน้มจะทำรายได้ดีเข้ามาฉายในพื้นที่ แต่บางทีก็แปลกใจเหมือนกันว่าทำไมภาพยนตร์อย่าง Sing Street ที่เป็นหนังแมส คนอยากดูก็เยอะทำไมไม่เข้าโรงภาพยนตร์ที่หาดใหญ่ ด้วยความเก็บกดก็เลยเปิดเพจชื่อ ‘เรื่องนี้ฉายเถอะ คนหาดใหญ่อยากดู’ เพื่อเป็นพื้นที่ในการแสดงออก  ก่อนจะพบว่ามีกลุ่มคนที่อัดอั้นตันใจอยู่ไม่น้อย จึงเข้าไปคุยกับโรงภาพยนตร์เพื่อหาทางออกร่วมกัน  “ทีแรกเขาบอกว่าให้ไปรวมกลุ่มกันมาว่ามีคนดูกี่คน แต่เราส่งตัวเลขไปก็ไม่เกิดอะไรขึ้น ก็เลยมองไปที่การเช่าเหมาโรงฯ แล้วไปดีลกับค่ายหนังแทน ทีนี้เราก็เป็นเหมือนคนจัดฉายหนัง ลองหาดูว่าเรื่องไหนมีศักยภาพที่จะดึงคนมาดูแล้วเราไม่เจ็บหนักมากกับราคาเหมาโรงฯ ที่สองหมื่นบาท บางเรื่องก็คัฟเวอร์ บางเรื่องก็เข้าตัว แต่อย่างน้อยก็เป็นช่องทางหนึ่งที่จะทำให้คนเข้าถึงหนังได้ “แต่ปัญหาคือดีลกับโรงหนังแต่ละครั้ง กลายเป็นต้องเริ่มใหม่ทุกรอบ เพราะคนที่รับเรื่องเป็นคนละคน แถมราคาที่เสนอมาก็ไม่เท่ากัน เลยรู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่าง” เมื่อผิดหวังกับระบบของโรงภาพยนตร์ และหวังจะสร้างคอมมูนิตี้ของคนรักหนังในหาดใหญ่ […]

‘ทางเท้าโซลาร์เซลล์’ แห่งแรกของสเปน แผงโซลาร์เซลล์บนพื้นที่เดินเหยียบได้ แถมผลิตไฟฟ้าให้สวนสาธารณะในเมืองได้ด้วย

สภาบาร์เซโลนา ประเทศสเปน นำร่องติดตั้งทางเท้าโซลาร์เซลล์แห่งแรกของสเปน โดยมีเป้าหมายในการลดปริมาณคาร์บอนฯ สุทธิให้เท่ากับศูนย์ให้ได้ภายในปี 2050 เนื่องจากความหนาแน่นของประชากรภายในเมืองที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น แนวคิดการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บริเวณทางเท้าภายในเขตพื้นที่เมืองจึงเกิดขึ้น ทางเท้าโซลาร์เซลล์นี้ประกอบไปด้วยแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากซิลิคอน มีการเดินสายไฟฟ้าและหุ้มด้วยกระจกกันลื่นที่มีความทนทานสูง เดินเหยียบไปมาได้ปกติ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มพื้นที่ผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าแล้ว ยังเป็นการใช้พื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นคือทางเท้าแบบเดิมได้กลายเป็น ทางเท้าที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงสวนสาธารณะในเมือง Glòries สูงถึง 7,560 kWh/ปี นี่ถือเป็นจุดเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคการใช้พลังงานทดแทนของสเปนอย่างเต็มรูปแบบ อีกทั้งยังเป็นการลดใช้พลังงานเชื้อเพลิงที่มีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานไฟฟ้า โครงการดังกล่าวเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของนโยบายสิ่งแวดล้อมในเมืองบาร์เซโลนา ซึ่งหากประสบความสำเร็จก็จะต่อยอดไปสู่การติดตั้งบริเวณอื่นๆ โดยมีเป้าหมายว่าภายในระยะเวลา 5 ปี เมืองแห่งนี้จะหันมาใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น เพื่อสร้างพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอต่อประชากร 7.5 ล้านคน และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ถึง 4.2 ล้านตัน Source :The Guardian | https://bit.ly/33ka2mK

1 10 11 12 13 14 25

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.