‘ปิดถนน ห้ามเดิน ขอผ่านทาง’ 3 ประเทศเจ้าภาพกับมาตรการการเดินทางสำหรับการประชุมนานาชาติ

ตั้งแต่สัปดาห์ก่อนลากยาวจนมาถึงสัปดาห์นี้ ดูเหมือนจะเป็นช่วงเวลาแห่งการประชุมระดับนานาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มกันที่ ASEAN Summit ประเทศกัมพูชา ตามมาด้วย G20 ประเทศอินโดนีเซีย และล่าสุดคือ APEC ที่ประเทศไทยได้กลับมาเป็นเจ้าภาพต้อนรับบรรดาผู้นำโลกอีกครั้ง เมื่อมีบุคคลสำคัญจากหลายประเทศมาร่วมงาน การเดินทางจึงเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ละเลยไม่ได้เด็ดขาด ทางเจ้าบ้านต้องหาวิธีจัดการดูแลเรื่องนี้ให้ปลอดภัยและสะดวกสบายแก่แขกผู้มาเยือนมากที่สุด สำหรับประเทศไทยเอง ก็มีการเตรียมตัวเพื่อต้อนรับการประชุมครั้งใหญ่นี้อย่างยิ่งใหญ่ด้วยเช่นเดียวกัน แต่หลังจากที่มีการแจ้งแผนจำกัดการใช้งานถนนและเส้นทางโดยรอบศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ก่อนวันงานเพียงหนึ่งสัปดาห์ ไหนจะการประกาศปิดถนนกับข้อห้ามมากมายที่ออกมาระหว่างช่วงที่จัดการประชุม ก็ยิ่งทำให้เกิดการตั้งคำถามมากมายถึงความเดือดร้อนต่อการเดินทางของคนทำงานและผู้พักอาศัยในบริเวณนั้น ที่ต้องแบกรับผลกระทบเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ คอลัมน์ Curiocity ชวนไปติดตามกันว่า ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันที่มีการประชุมทั้งในกัมพูชา อินโดนีเซีย และไทย สามประเทศเจ้าภาพนี้มีมาตรการการจัดการจราจรเพื่อต้อนรับแขกสำหรับการประชุมครั้งใหญ่นี้อย่างไร แล้วใครที่ได้รับผลกระทบบ้าง ASEAN Summit กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา การประชุม ‘ASEAN Summit’ หรือ ‘การประชุมสุดยอดอาเซียน’ เป็นการประชุมประจำปี ภายใต้หัวข้อ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ปีนี้ถือเป็นการประชุมครั้งที่ 40 และ 41 จัดขึ้นที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ตั้งแต่วันที่ 10 – 13 พฤศจิกายน […]

Traffic Parks พื้นที่เด็กเล่นและเรียนรู้กฎจราจร ในสวนสาธารณะญี่ปุ่น

วินัยจราจรไม่ใช่เรื่องของคนใช้รถเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของ ‘ทุกคน’ ในสังคมที่ต้องเรียนรู้กฎระเบียบร่วมกันเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน แต่การจะทำให้ทุกคนเข้าใจกฎเดียวกันนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ยังต้องมีการบังคับใช้กฎหมายและแนวทางการปฏิบัติอื่นๆ อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริงด้วย  ญี่ปุ่นเป็นประเทศหนึ่งที่ขึ้นชื่อเรื่องกฎระเบียบที่เคร่งครัดในการทำใบขับขี่ และมีบทลงโทษค่อนข้างหนักสำหรับคนที่ทำผิดกฎจราจร แต่นอกเหนือจากการบังคับใช้กฎหมายแล้ว ที่ญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับการปลูกฝังเรื่องกฎจราจรให้กับเด็กๆ ตั้งแต่วัยอนุบาลเป็นต้นไป เพื่อให้เด็กในวันนี้เติบโตไปเป็นพลเมืองที่เคารพกฎจราจรได้ในวันหน้า เหตุที่ต้องปลูกฝังเรื่องกฎจราจรตั้งแต่เด็กเป็นเพราะว่าใน ค.ศ. 1960 มีรายงานจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ในญี่ปุ่นในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ใน ค.ศ. 1970 มีรายงานการเสียชีวิตที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุทางรถยนต์ประมาณ 17,000 ราย และจากจำนวนทั้งหมดเหล่านี้ พบว่าผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จึงทำให้รัฐบาลต้องหันกลับมาหาทางแก้ไขเพื่อความปลอดภัยในชีวิตของเด็กๆ  กระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่นจึงได้เพิ่มเรื่องกฎจราจรเข้าไปในหลักสูตรการศึกษา เพื่อให้ความรู้ในการใช้ถนนตั้งแต่เด็กๆ และจัดตั้ง ‘Traffic Parks’ ที่เพียงแค่เปลี่ยนสวนสาธารณะใกล้ชุมชนที่อยู่อาศัยหลายแห่งในญี่ปุ่นให้เป็นสวนจำลองการจราจรสำหรับเด็ก เพื่อให้ได้เรียนรู้กฎจราจรได้ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน และได้เรียนรู้ของจริงนอกห้องเรียน  สวนสาธารณะ Traffic Parks ออกแบบมาเพื่อจำลองการจราจรและความปลอดภัยบนท้องถนน มีทั้งสัญญาณไฟจราจร ป้ายสัญลักษณ์ที่ควรรู้ กฎระเบียบต่างๆ บนท้องถนน นอกจากนี้ยังมียานพาหนะให้เด็กๆ ได้เรียนรู้จริงผ่านการเล่น เช่น รถยนต์ขนาดเล็กสำหรับเด็กและรถจักรยาน เพื่อช่วยปลูกฝังให้เด็กๆ ได้เรียนรู้กฎขั้นพื้นฐานในการขับรถ ถ้าไม่ได้นำจักรยานมาเองจากที่บ้าน บางสวนก็มีจักรยานให้ยืมด้วย รวมถึงเด็กๆ จะได้รู้วิธีข้ามถนนที่ถูกต้อง […]

‘กรวยจราจร’ เหตุเกิดจาก พนง. ทาสีถนน จนได้เครื่องหมายจราจรที่คนทั่วโลกต้องหลีกทาง

กว่าจะมาเป็น ‘กรวยจราจร’ สีส้มแปร๊ดตั้งตระหง่านอยู่บนท้องถนน และเป็นสัญลักษณ์จราจรของสากลโลกที่บอกว่าเป็น ‘พื้นที่ห้ามเข้า’ ชนิดที่ต่อให้คุณบิดคันเร่งสุดแรง เหมือนดอมินิก ทอเรตโตเข้าสิงก็ต้องหักพวงมาลัยหลบทางให้ ซึ่งก่อนหน้านั้นมนุษย์เราเคยใช้ ‘แผงไม้’ กันมาก่อน แต่บ่อยครั้งที่โดนรถยนต์สอยกระจุยกระจาย แถมสร้างอันตรายให้ผู้ขับขี่ทวีคูณ ทำให้การใช้แผงไม้จึงไม่เวิร์กอย่างแรง! ‘Charles D. Scanlon’ พนักงานทาสีบนท้องถนนในเมืองลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา คลุกคลีกับรถที่เหยียบเส้นถนนที่ลงสีไว้แล้วยังไม่แห้งจนเลอะเทอะพื้นไปทั่ว หรือรถยนต์พุ่งเข้ามาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยขณะปฏิบัติงานอยู่บ้าง ทำให้เขารวบปัญหาทั้งหมดแล้วคิดค้น ‘กรวยจราจร’ เพื่อบอกรถยนต์ที่ขับผ่านไปมา กรุณาใช้ช่องทางอื่น เพราะสีเส้นถนนยังไม่แห้งค้าบโผ้มมมม (เสียเวลาทาใหม่แหละ) หลังจากตัดสินใจว่าจะทำกรวยจราจร ในปี 1940 เขาจึงเอาหนังมาเย็บเป็นทรงกรวยถูๆ ไถๆ ใช้งานไปก่อน หากรถคันไหนเกิดอุบัติเหตุขับชนกรวย อย่างน้อยมันก็ไม่ทำอันตรายต่อรถและผู้ขับขี่แน่นอน ซึ่งพอได้ลองใช้ปรากฏว่าเวิร์กซะงั้น เพราะรถหลายคันทยอยขับเบี่ยงทางและเดาได้ว่าข้างหน้าต้องมีการทาเส้นถนนอยู่แน่ๆ  ในปีเดียวกัน Scanlon ยื่นจดสิทธิบัตร ‘กรวยจราจร’ และได้รับสิทธิบัตรในปี 1943 ในชื่อว่า ‘Safety marker (US 2817308)’ แถมเขายังตั้งกฎสำหรับการผลิตกรวยจราจรขึ้นมา 3 ข้อ1. ใช้สีสันที่รถต้องมองเห็นได้ง่าย และวัสดุที่ใช้ต้องไม่สร้างความเสียหายแก่รถยนต์2. ใช้พื้นที่จัดเก็บน้อยและขนย้ายได้ง่าย3. ถ้ากรวยโดนรถเสยจนเหินฟ้าต้องตกลงมาในแนวตั้งเหมือนเดิม  […]

สัญญาณไฟเหลือง เตรียมหยุด หรือ เตรียมเหยียบ

ฮันแน่~ ชอบเร่งเครื่องตอนเห็นไฟเหลืองกันหรือเปล่า ถ้าเคยทำหรือยังทำอยู่อยากให้ลองอ่านเรื่องราวเหล่านี้ดูสักนิด แล้วคุณอาจจะเปลี่ยนความคิดใจเย็นลง เมื่อไฟสีเหลืองอำพันแสดงอยู่บนเสาสัญญาณจราจร เราต้องทำตัวอย่างไรดี หลักการทำงานง่ายๆ ของไฟจราจรคือการใช้สีบ่งบอกสัญญาณการขับขี่ ไฟเขียวคือสัญญาณให้รถวิ่ง ในทางกลับกันไฟแดงคือสัญญาณบ่งบอกว่าให้หยุดรถ ทว่าไฟเหลืองกลับมีความพิเศษมากไปกว่านั้น เพราะสำหรับบางคนเห็นไฟแล้วเตรียมตัวหยุด แต่หลายคนเมื่อเห็นไฟเหลืองก็เปลี่ยนตัวเองเป็นวัวกระทิงที่พร้อมพุ่งกระโจนใส่ไฟเหลืองอย่างรวดเร็ว ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวมีโอกาสก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้สูงกว่าปกติ | ขับรถฝ่าไฟเหลืองผิดมั้ยนะ คำตอบคือผิด แต่มีข้อยกเว้นบางกรณีอ้างอิงตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 22 ระบุไว้ว่าผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่ปรากฏข้างหน้าในกรณีต่อไปนี้ สัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพัน ให้ผู้ขับขี่เตรียมหยุดรถหลังเส้น เพื่อเตรียมปฏิบัติตามสัญญาณที่จะปรากฏต่อไป เว้นแต่ผู้ขับขี่ที่ได้ขับเลยเส้นรถหยุดไปแล้วขณะเกิดไฟเหลืองให้ขับรถเลยไปได้ เท่ากับว่าถ้าขับรถผ่านเส้นหยุดก่อนที่ไฟเหลืองขึ้นมีโทษปรับ 1,000 บาท นั่นเอง | แต่ในบางครั้งเราก็ไม่ได้ตั้งใจขับรถฝ่าไฟเหลือง หากไม่นับในบางครั้งที่เราอาจไม่ได้ตั้งใจจะทำผิด แต่การออกแบบสัญญาณไฟจราจรดันไม่เอื้อต่อการขับขี่เท่าที่ควร เช่น สัญญาณไฟจราจรบางแยกไม่มีตัวเลขนับถอยหลังระบุให้ชัดเจน หนำซ้ำบางแยกไฟเขียวยังไม่มีฟังก์ชันกะพริบเพื่อส่งสัญญาณเตือนผู้ขับขี่ก่อนจะเปลี่ยนเป็นไฟเหลือง แต่จะเปลี่ยนแบบฉับพลันในขณะที่รถขับด้วยความเร็ว ทำให้ชะลอรถไม่ทันเพราะการเบรกกะทันหันอาจจะเกิดอุบัติเหตุตามมาได้ จึงต้องตัดสินใจขับรถฝ่าไปในที่สุด ความจริงตามกฎจราจรประเทศไทยมีระยะเวลาไฟเหลืองเฉลี่ยราว 3 วินาทีบวกกับระยะเวลาไฟแดงของจุดอื่นอีก 2 วินาทีเพื่อความปลอดภัย โดยระยะเวลาดังกล่าวถูกคำนวณให้คนขับมีเวลาเพียงพอเพื่อจะหยุดรถทันเมื่อขับขี่รถด้วยความเร็วตามกฎหมาย แต่หากขาดสัญญาณบอกก่อนเปลี่ยนสีก็ยากที่จะคำนวณระยะในการเบรกรถได้ ซึ่งพบว่าแยกไหนมีระยะเวลาไฟเหลืองต่ำกว่า 3 วินาที สามารถแจ้งสำนักจราจรฯ กทม. มาแก้ไขให้ตรงมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยเช่นกัน […]

หนีได้ต้องหนี! 6 ถนนรถติดกับช่วงเวลาสุดพีก

เคยเป็นไหม ชาวกรุงเทพฯ เวลาจะออกไปไหนแต่ละที ต้องวางแผนแล้ววางแผนอีกว่าจะเดินทางไปอย่างไร ขึ้นรถ ลงเรือ ต่อมอเตอร์ไซค์หรือเปล่า จะรอนานไหมนะ แถมยังต้องเผื่อเวลารถติดด้วย ทำให้เวลาออกจากบ้านแต่ละทีช่างเหนื่อยแสนเหนื่อย ประโยคที่บอกใครๆ ว่าออกไปแป๊บเดียวอาจไม่มีจริง จนหลายคนต่างพากันระบายความอัดอั้นตันใจพากันตั้งชื่อเช็กอินถนนด้วยชื่อสุดเดือดอย่าง ไฟแดง 18 ชั่วโคตร ไฟเขียวเท่าจิ๋มมด ฉายาของแยกสาทร-สุรศักดิ์ หรือแยกที่หอยทากคลานแซงเฟอรารี่ เจ้าของแยกแคราย ที่พีกเพราะจุดตัดระหว่างถนน 3 เส้น อย่าง ติวานนท์ รัตนาธิเบศร์ และงามวงศ์วาน ไปจนถึงแยกสุดฮอตตลอดกาลอย่าง แยกรัชดา-ลาดพร้าว ที่หลายคนพากันลงความเห็นไปในทางเดียวกันถึงปัญหาไฟแดงอันยาวนาน จนถูกขนานนามว่า ไฟแดง 5 ชาติ ไฟเขียว 5 วิฯ หลับ 5 ตื่น ฟื้นมายังแดง จากชื่อก็พอสัมผัสได้ถึงพลังงานความหัวร้อนบางอย่าง เราเลยลองไปตามหาข้อมูลว่า แท้จริงแล้วสถานการณ์รถติดบ้านเราอยู่ในขั้นไหนกันแน่ ซึ่งพอลองไปดูสถิติตัวเลขของ INRIX Global Traffic Scorecard บริษัทที่วัดผลและเก็บรวบรวมข้อมูลการจราจรจากทั่วโลก กรุงเทพฯ เคยครองแชมป์เมืองที่การจราจรหนาแน่นมากที่สุดมาแล้วในปี 2560 ที่ผ่านมา และเรายังเสียเวลาติดแหง็กอยู่บนท้องถนนมากถึง […]

กรุงเทพฯ เมืองรถติด? หลากหลายสาเหตุและวิธีการแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน

รถติดสำหรับคนกรุงเทพฯ ไม่ได้เป็นเพียงปัญหา แต่มันคือวิถีชีวิต เท่าที่จำความกันได้ ตั้งแต่เมืองเริ่มพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ คนกรุงเทพฯ ไม่เคยต้องหยุดเผชิญกับปัญหาทางการจราจรเลย แม้ว่าเราจะมีทางเลือกในการเดินทางเพิ่มขึ้นมากแค่ไหน ก็ยังดูเหมือนว่าเราจะไม่มีวันแก้ไขปัญหาอันเป็นอมตะนี้ได้ สำหรับปัญหารถติด หากมองดีๆ แล้ว พวกเราไม่สามารถยกเพียงสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งขึ้นมา และพิจารณาเพื่อแก้ปัญหากันตรงๆ เพราะที่มาของปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานครนั้นมีมากมายและเกี่ยวพันกันอย่างซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นการวางผังเมืองที่ไม่เป็นไปตามความเหมาะสมและขาดความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ระบบขนส่งมวลชนที่ไม่ดำเนินการตามแผนงานที่มีประสิทธิภาพ และสาเหตุย่อยๆ อย่างการบริหารเวลาของสัญญาณไฟจราจรที่ไม่สอดคล้องกับภาพรวมการจราจรของทั้งเมือง ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นความพยายามมากมายในการแก้ปัญหาจราจรนี้บ้าง แต่หากจะให้พูดถึงวิธีที่ทรงประสิทธิภาพจริงๆ ก็คงจะนึกกันไม่ค่อยออก ไม่ใช่เพียงกรุงเทพมหานคร หลากหลายเมืองหลวงที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกรุงเทพฯ แต่เขาก็สามารถลดทอนและแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดได้ เรามาดูกันว่านอกจากความพยายามของผู้ใช้ถนนด้วยกันแล้ว รัฐและผู้มีอำนาจจากหลายๆ ที่บนโลกที่เผชิญปัญหาด้านการจราจรแบบเรา พวกเขามีวิธีในการแก้ไขมันอย่างไร ไม่ใช่เพียงเพื่อลดปัญหารถติด แต่ยังเป็นการสร้างลักษณะของการคมนาคมที่ดีให้กับประชากรในเมืองนั้นๆ อีกด้วย 1. การเก็บค่าธรรมเนียมรถยนต์ เป็นมาตรการที่ทรงประสิทธิภาพและเห็นผลชัดเจนมาก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Congestion Charge Zone ปัจจุบันมหานครใหญ่ๆ อย่าง London หรือกรุง Stockholm ประเทศสวีเดน ก็ใช้วิธีนี้ในการแก้ปัญหาจราจร เป้าหมายก็คือลดปริมาณรถยนต์ส่วนบุคคลในเขตเมืองชั้นในที่มีการจราจรหนาแน่น และมีระบบขนส่งมวลชนคอยให้บริการอยู่แล้ว ซึ่งวิธีนี้เป็นการกึ่งบังคับให้ผู้ใช้รถยนต์หลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีรถติดในช่วงเวลาเร่งด่วนนั่นเอง โดยผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัวที่เข้าเขตเมืองชั้นในไปในเวลาที่มีข้อห้าม ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียม ซึ่งรัฐจะนำไปพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้ดียิ่งๆ ขึ้นควบคู่กันไป การเก็บค่าธรรมเนียมรถยนต์นี้ได้ผลดีมากกับช่วงเวลาเร่งด่วน […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.