‘นิวเคลียร์ฟิวชัน’ จะเป็นพลังงานใหม่ในอนาคต คาดใช้จริง พ.ศ. 2568
‘นิวเคลียร์ฟิวชัน’ จะเป็นพลังงานใหม่ในอนาคต ต้นทุนต่ำ ให้พลังงานสูงและมีประสิทธิภาพ ใช้งานได้จริงภายใน พ.ศ. 2568
‘นิวเคลียร์ฟิวชัน’ จะเป็นพลังงานใหม่ในอนาคต ต้นทุนต่ำ ให้พลังงานสูงและมีประสิทธิภาพ ใช้งานได้จริงภายใน พ.ศ. 2568
ถ่านอัลคาไลน์ที่เรามักซื้อกันอยู่เรื่อยๆ เมื่อถ่านหมดก็เปลี่ยนใช้ใหม่ แต่ใครจะคิดว่าถ่านที่เราใช้กันทั่วไป ซึ่งนับเป็นวัสดุทางอิเล็กทรอนิกส์ จะสามารถนำมารีไซเคิลเป็น ‘ปุ๋ย’ ได้ ด้วยฝีมือนักรีไซเคิลและทีมผู้จัดหาแบตเตอรี่ บริษัท Lithium Australia และนักรีไซเคิลทำงานร่วมกัน โดยเริ่มจากการรวบรวมเหล่าถ่านอัลคาไลน์ที่ใช้แล้วทิ้งจากจุดรับขยะทั่วประเทศ ก่อนนำมาย่อยสลาย และทดสอบดูว่าสารต่างๆ ในถ่านสามารถทำอะไรอย่างอื่นได้ไหม กลายเป็นว่าเจอแร่ธาตุที่เป็นแหล่งอาหารชั้นดีเยี่ยมให้กับดินและพืช ไม่ว่าจะเป็นสังกะสี และแมงกานีส การทดลองระยะสั้นจึงเกิดขึ้น ทาง Lithium Australia นำธาตุอาหารที่พบเจอในถ่านอัลคาไลน์ไปใช้เป็นปุ๋ยสำหรับปลูกข้าวสาลีในเรือนกระจก ปรากฎว่ามันมีคุณภาพสูง สามารถดูดซึมได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเกลือแร่ทั่วไป ผลการวิจัยดังกล่าวทำให้ทางบริษัทมุ่งมั่นที่จะทดสอบต่อไป เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของโลหะสกัดกับผลิตภัณฑ์ปุ๋ย เนื่องจากยอดขายถ่านอัลคาไลน์ตกปีละ 6,000 ตันทั่วประเทศ และถ่านอัลคาไลน์ที่ใช้ในครัวเรือนทั่วไปมีการรีไซเคิลต่ำกว่ามาตรฐาน และกว่า 97% ต้องไปอยู่ในหลุ่มฝังกลบอย่างน่าเสียดาย Source : www.bloomberg.com | https://bloom.bg/3go7xVO
โคคา-โคล่า (Coca-Cola) และเบียร์คาร์ลสเบิร์ก (Carlsberg) จะเปลี่ยนมาใช้ขวดที่ผลิตจากพืช ซึ่งสามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ภายใน 1 ปี
พูดคุยกับ ‘เนย-สุนัดดา นรสาร’ นักออกแบบสิ่งทอเพื่อสิ่งแวดล้อม เจ้าของแบรนด์ ‘@Mamawell’ ที่สานต่อวิทยานิพนธ์ ด้วยการหยิบ ‘เศษผ้าจากชุดว่ายน้ำ’ มาแต่งแต้มดีไซน์จนสวยเก๋ ให้กลายเป็นไอเท็มกระเป๋าสุดชิคที่สามารถใส่ของกระจุกกระจิก หรือพกใส่ของจริงจังก็ได้ แถมยังเพิ่มมูลค่าให้กลายเป็นสินค้าชิ้นใหม่ที่สร้างประโยชน์ได้มากกว่าการทิ้งเปล่าอีกด้วย !
‘ขยะพลาสติก’ ล้นโลกนักใช่ไหม ? ทำเอาเหล่านักคิดต้องปลดปล่อยไอเดียเจ๋งๆ ออกมาสร้างนวัตกรรมให้รักษ์โลกมากขึ้น โดยหยิบจับสิ่งของเครื่องใช้ใกล้ตัวที่คนมักบริโภค แล้วทิ้งให้เป็นขยะพลาสติกอยู่บ่อยครั้ง มาออกแบบแพคเก็จจิ้ง และใช้วัสดุใหม่ให้ดีต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นช้อนอาหารที่กินได้พร้อมข้าว ไปจนถึงถุงชอปปิงที่ย่อยสลายด้วยการชงน้ำร้อนแล้วดื่ม เรียกว่าเป็น ‘นวัตกรรมกินได้’ ที่ไม่ทิ้งขยะพลาสติกไว้ให้เป็นภาระโลก
Greenery คอมมูนิตี้ที่อยากเห็นสังคมตระหนักถึงความสำคัญของอาหารปลอดภัย และการบริโภคอย่างยั่งยืน
Ecovative สตาร์ทอัพจากนิวยอร์ก ที่เพาะเลี้ยง Mycelium แล้วนำมาต่อยอดเป็นแพ็กเกจจิ้งดีไซน์โดนๆ
หลังโควิด-19 หมดลงอะไร ‘ควร’ เกิดขึ้น ?
คำตอบของคำถามนี้คือ การลงทุนด้านพลังงานสะอาด นั่นเพราะสิ่งนี้จะเป็นตัวฟื้นเศรษฐกิจที่ต้องหยุดชะงัก ทั้งยังช่วยให้มลพิษทางอากาศของโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง
เทรนด์เปลี่ยนขยะให้มีมูลค่า นับว่าเป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยเฉพาะ ‘ขยะพลาสติก’ ที่รายล้อมอยู่รอบตัวเรา ทำเอา Overtreders W ทีมนักออกแบบพื้นที่ และ Bureau SLA สตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรม จากเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ จับมือกันปิ๊งโปรเจกต์ Pretty Plastic ที่นำขยะ PVC มารีไซเคิลเป็นโปรดักต์กระเบื้องปูผนังสีเทาสุดเท่ “นี่คือกระเบื้องปูผนังอาคารรีไซเคิล 100% ครั้งแรกในโลก” คำเคลมของนักออกแบบ โดยแรกเริ่มโปรเจกต์ Pretty Plastic ได้ลองนำกระเบื้องไปใช้กับอาคารชั่วคราวในงาน Dutch Design Week เมื่อปี ค.ศ. 2017 โดยหลังจากงานนั้นก็มีคนมาถามไถ่และขอซื้อกันเพียบ ทำให้พวกเขาต้องพัฒนาโปรดักต์นี้ให้เป็นธุรกิจอย่างจริงจัง พวกเขานำขยะพลาสติก PVC จำพวกท่อน้ำ กรอบหน้าต่างเก่า รางน้ำฝน มาทำความสะอาด หลอม และแปรรูปจนออกมาเป็นกระเบื้องเฉดสีเทาเท่ๆ และมีลวดลายชวนสัมผัส ซึ่งไม่ต้องห่วงเรื่องคุณภาพและความปลอดภัย เพราะโปรดักต์นี้ได้ผ่านการรับรองอัคคีภัยคลาส B ประเภทวัสดุเผายากมากมาแล้ว สามารถนำไปใช้กับตึกรามบ้านช่องได้อย่างไร้กังวล นี่ไม่ใช่โปรเจกต์แรกที่นักออกทั้ง 2 ทีมจับมือกัน พวกเขาเคยสร้างโปรเจกต์เพื่อสิ่งแวดล้อมกันมาแล้ว […]
แคชเมียร์เป็นมรดกมีค่า ที่ส่งออกเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากทองแดงและทองคำ เมื่อแพะผลัดขนในฤดูใบไม้ผลิที่อากาศเริ่มอุ่นขึ้น พวกเขาจะหวีขนของมันอย่างทะนุถนอม โดยเสื้อจัมเปอร์ 1 ตัวต้องใช้แพะถึง 4 ตัวเลยทีเดียว แต่ยิ่งอุตสาหกรรมแคชเมียร์เติบโตมากเท่าไหร่ วิถีดั้งเดิมที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติ ก็ยิ่งถูกทำลายไปมากเท่านั้น
‘Tangible Bangkok’ บนย่านถนนตกที่ไม่ได้โฟกัสเพียงแค่เรื่องกิน แต่ยังตั้งใจเป็นแหล่งสร้างสรรค์ที่ส่งมอบแรงบันดาลใจ ผ่านเครื่องดื่ม ขนม ความครีเอทีฟ และเสน่ห์ของย่านถนนตก เพื่อเชื่อมงานศิลปะเข้ากับผู้คนอย่างกลมกลืน
ในทุกปีเด็กไทยจำนวนกว่า 430,000 คน หลุดอยู่นอกระบบการศึกษาภาคบังคับ ด้วยบริบททางฐานะ สังคม ความเชื่อด้านการศึกษา รวมไปถึงปัญหาเชิงระบบอย่างการบริหารและนโยบายการศึกษา ทำให้เด็กและครอบครัวเดินหันหลังให้กับเส้นทางการเรียน