‘Nusantara’ เมืองหลวงใหม่อินโดนีเซีย ที่ต้องย้ายเพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมและกระจายความเจริญ

อีก 10 ปีนับจากนี้เราคงจะได้ยลโฉมกับเมืองหลวงใหม่ของอินโดนีเซียที่ชื่อ ‘นูซันตารา (Nusantara)’  หากใครสงสัยว่าทำไมอินโดนีเซียถึงต้องย้ายเมืองหลวง? ลองไปดูข้อมูลสถิติกันเล็กน้อย เมืองหลวงในขณะนี้ของอินโดนีเซียคือ ‘จาการ์ตา’ ตั้งอยู่ในหมู่เกาะชวาที่เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทางการเมืองและเศรษฐกิจ มีประชากรอาศัยอยู่ราว 10.5 ล้านคน แต่มีพื้นที่แค่ 661.5 ตารางกิโลเมตร (ถ้านึกภาพตามไม่ออกคือพื้นที่น้อยกว่ากรุงเทพฯ 3 เท่า แต่มีประชากรหนาแน่นเกือบเท่ากัน) นั่นทำให้เกิดปัญหาหลากหลาย ตั้งแต่ความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจกับส่วนภูมิภาค การจราจรติดขัด พื้นดินยุบเพราะน้ำประปาถูกสูบไปใช้ มลพิษทางอากาศ ฝุ่น PM 2.5 รวมไปถึงความกังวลว่าเมืองจะจมน้ำในอนาคต ‘นูซันตารา’ เป็นภาษาท้องถิ่นชวาที่แปลว่า ‘หมู่เกาะ’ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะบอร์เนียว ในจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก (East Kalimantan) จะมีพื้นที่ราว 2,000 ตารางกิโลเมตร นั่นคือใหญ่กว่าเมืองหลวงเดิมกว่า 3 เท่า หลังจากเริ่มการศึกษาแนวทางการย้ายเมืองหลวงอย่างละเอียดตั้งแต่ปี 2016 ในสมัยการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี โจโก วิโดโด (Joko Widodo) ในที่สุดรัฐสภาก็ได้ผ่านร่างกฎหมายในวันอังคารที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา และมีการระบุแผนโยกย้ายว่าจะใช้ระยะเวลา 10 ปี […]

เข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมฟรีๆ ผ่าน WaterBear เว็บสตรีมมิงฉายหนัง-สารคดีสิ่งแวดล้อม พร้อมชี้ช่องทางสนับสนุนแคมเปญดูแลโลก

ถ้าอยากเข้าใจปัญหาและวิกฤติสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นที่ไหน เราจะพาทุกคนมารู้จักกับ WaterBear แพลตฟอร์มออนไลน์ที่รวบรวมสื่อและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อมเอาไว้อย่างรอบด้าน WaterBear คือบริการสตรีมมิงอินเตอร์แอ็กทีฟน้องใหม่ที่รวบรวมภาพยนตร์ สารคดี และคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับโลกใบนี้ ตั้งแต่เรื่องภาวะโลกร้อน สิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ ความยั่งยืน วัฒนธรรม ไปจนถึงชุมชนต่างๆ  เนื้อหาที่อยู่บน WaterBear ถูกแบ่งเป็นหมวดหมู่ต่างๆ ได้แก่ ภาพยนตร์และสารคดีที่ได้รับรางวัล หนังนอกกระแส หนังสั้น และ ‘WaterBear Originals’ ซีรีส์ที่ทาง WaterBear ลงทุนและผลิตเอง ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ‘แผนการพัฒนาโลกเพื่อความยั่งยืน’ (SDGs) ของสหประชาชาติ ที่ให้ความสำคัญเรื่อง ‘ความหลากหลายทางชีวภาพ’ ‘ภูมิอากาศ’ ‘วัฏจักร’ และ ‘ชุมชน’  ผู้ชมสามารถเลือกรูปแบบและประเภทของเนื้อหาได้ตามความสนใจ ที่สำคัญ หนังและสารคดีทั้งหมดบน WaterBear กว่า 800 เรื่องยังเปิดให้รับชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ หลังจากดูภาพยนตร์จบ ผู้ชมสามารถกดแถบ ‘Connect’ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นนั้นๆ ได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น หรือจะกดแชร์ภาพยนตร์และสารคดีไปยังโซเชียลมีเดียของตัวเอง เพื่อให้คนรอบตัวตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ก็ได้เช่นกัน WaterBear […]

โลงศพผลิตจากไมซีเลียม ย่อยสลายใน 30-45 วัน

ทุกวันนี้เทรนด์รักษ์โลกไม่ได้อยู่แค่ในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่เราสามารถเลือกชีวิตหลังความตายให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้เช่นกัน เราจึงได้เห็นการพัฒนาทางเลือกใหม่ๆ ในการฝังศพเกิดขึ้นทุกๆ ปี โดยเฉพาะการฝังศพให้กลายเป็นปุ๋ยที่ไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไปแล้ว และก็ไม่ใช่แค่เทรนด์ที่ผ่านมาแล้วผ่านไป แต่มีหลายองค์กรทั่วโลกที่ออกมาขับเคลื่อนทางเลือกนี้ให้ทำได้จริง สอดคล้องกับความเชื่อทางศาสนา และทำให้ผู้คนเปิดรับกันมากขึ้น Living Cocoon คืออีกหนึ่งทางเลือกในการฝังศพที่ลดทั้งการใช้พื้นที่และเวลา เป็น ‘โลงศพมีชีวิต’ ชิ้นแรกของโลกที่ย่อยสลายตัวเองได้ภายใน 30 – 45 วัน จากการทดลองในเนเธอร์แลนด์ (ระยะเวลาย่อยสลายขึ้นอยู่กับดิน น้ำ และสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่)  เหตุผลที่เรียกว่า ‘โลงศพมีชีวิต’ เป็นเพราะว่าวัสดุที่ใช้ในการทำโลงทำมาจาก ‘ไมซีเลียม (Mycelium)’ หรือ ‘เส้นใยเห็ดรา’ ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดลูป (Loop) หรือวัฏจักรการย่อยสลาย ตัวโลงจะสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ทำให้ไม่เปลืองพื้นที่ในการฝังกลบ ช่วยย่อยศพให้กลายเป็นปุ๋ยและกลับคืนสู่ธรรมชาติได้เร็วขึ้น และยังมีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตอื่นรอบๆ หลุมฝังศพอีกด้วย Living Cocoon ผลิตโดย Loop Biotech บริษัทสัญชาติเนเธอร์แลนด์ที่หาทางออกให้กับวิถีชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น คิดค้นและออกแบบโดยบ็อบ เฮนดริกซ์ (Bob Hendrikx) ซึ่งเป็นทั้งผู้ก่อตั้ง นักออกแบบ และสถาปนิก ที่สนใจและเชี่ยวชาญในนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม เฮนดริกซ์ กล่าวว่า […]

กระแสรักษ์โลกมาแรง แบรนด์ชั้นนำของโลกใช้วัสดุชีวภาพ ผลิตสินค้ามากขึ้นสองเท่าในปี 2021

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา วัสดุชีวภาพเคยเป็นสินค้าสำหรับตลาดเฉพาะกลุ่มเท่านั้น แต่ในปี 2021 วัสดุจากธรรมชาติได้กลายเป็นสินค้ากระแสหลักและถูกใช้ในวงกว้างมากขึ้น หลังจากบรรดาสถาปนิก นักออกแบบ และผู้ผลิตเลือกใช้วัสดุประเภทนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับสร้างเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ เรจินา โปลันโก (Regina Polanco) ผู้ก่อตั้ง Pyratex บริษัทผลิตสิ่งทอจากธรรมชาติสัญชาติสเปน เปิดเผยว่า ยอดขายวัสดุชีวภาพของบริษัทในปี 2021 เพิ่มขึ้นถึงสองเท่า เมื่อเทียบกับยอดขายในปี 2020 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ลูกค้าที่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่หลายรายต้องการใช้วัสดุจากธรรมชาติในการผลิตสินค้าของตัวเองมากขึ้น โดยแบรนด์ที่ใช้ผ้าของ Pyratex ได้แก่ ASICS, Camper, PANGAIA และ Pepe Jeans เป็นต้น ด้านแจด ฟิงก์ (Jad Finck) รองประธานฝ่ายนวัตกรรมและความยั่งยืนแห่ง Allbirds บริษัทผลิตรองเท้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก็ยอมรับว่า ความสนใจในการใช้วัสดุชีวภาพเกิดขึ้นมากมายในปี 2021 โดยทาง Allbirds ได้พัฒนาพลาสติกชีวภาพจากอ้อยสำหรับผลิตรองเท้าผ้าใบให้แก่หลายบริษัท เช่น Reebok และ Timberland โดยฟิงก์อธิบายว่า พืชและสิ่งมีชีวิตอย่างเช่นสาหร่ายและเชื้อรา สามารถกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศได้ เพราะพวกมันดึงก๊าซชนิดนี้จากอากาศและเก็บไว้ในเซลล์ของตัวเอง มากกว่าที่จะผลิตและปล่อยก๊าซออกไป นอกจากนั้น […]

McDonald’s สาขาแรกในโลก ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ และใช้พลังงานหมุนเวียน

ปัญหาโลกร้อนทำให้อุตสาหกรรมต่างๆ ตื่นตัวและแสดงความกังวลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ธุรกิจขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ออกนโยบายและโครงการเพื่อลดการปล่อยมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศของโลกให้มากที่สุด ล่าสุดแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดชื่อดังของโลกอย่าง McDonald’s ก็ร่วมรักษ์โลกด้วยการเปิดร้านอาหารสาขาแรกในสหราชอาณาจักร ที่ตัวอาคาร ‘ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์’ (Net Zero)  McDonald’s สาขานี้ตั้งอยู่ที่เมืองมาร์เก็ตเดรย์ตัน (Market Drayton) ประเทศอังกฤษ ผู้ออกแบบตัวอาคารคือบริษัทสถาปนิก Scurr Architects และได้บริษัทสถาปนิก AEW Architects มาร่วมออกแบบสถานที่ให้  ที่นี่คือ McDonald’s สาขาแรกในสหราชอาณาจักรที่ออกแบบได้ตรงตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร Net Zero ของ ‘สภาอาคารสีเขียวแห่งสหราชอาณาจักร’ (UKGBC) ที่กำหนดว่า อาคารที่เป็น Net Zero ต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศให้มากที่สุดตลอดอายุการใช้งาน ทั้งคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากขั้นตอนการผลิตวัสดุรวมถึงคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากทุกขั้นตอนการก่อสร้าง ตั้งแต่เปิดให้บริการ ไปจนถึงช่วงรื้อถอน  ร้าน McDonald’s สาขานี้ใช้วัสดุจากธรรมชาติและวัสดุรีไซเคิลในการออกแบบ ผนังร้านหุ้มด้วยฉนวนขนแกะสายพันธุ์อังกฤษ แทนการใช้วัสดุที่มนุษย์สร้างขึ้น ส่วนผนังชั้นนอกสุดก็รีไซเคิลมาจากอุปกรณ์ไอทีและของใช้ในครัวเรือนที่มีสีขาว เช่น เครื่องพิมพ์ จอคอมพิวเตอร์ ตู้เย็น และเครื่องล้างจาน  ป้ายภายในร้านทำมาจากเมล็ดกาแฟเหลือทิ้ง ซึ่งนี่คือตัวอย่างของ ‘Circular […]

Diving Getaway ไปดำน้ำดูปะการังที่เรือหลวงใต้ทะเล แหล่งดำน้ำฝีมือมนุษย์ซึ่งฟื้นฟูทะเลไทย

คลายล็อกดาวน์แล้วไปไหนดี? ปลายปีแบบนี้ เมืองต่างๆ เริ่มมีแสงสีรับช่วงเวลา Festive ของปี ฤดูกาลแห่งชีพจรลงเท้าเริ่มสะกิดเรายิกๆ ว่าวันหยุดยาวใกล้เข้ามาทุกทีแล้วนะแก และเชื่อเลยว่าหลังจากเก็บตัวอยู่บ้านมาเป็นปีๆ หลายๆ คน (รวมตัวเราเองด้วย) ก็อยากปลีกตัวออกจากเมืองที่แสนวุ่นวาย ไปเที่ยวชิลๆ พาตัวไปแนบชิดธรรมชาติ ที่ตัวเลือกต่อคิวตบเท้าเข้าหายาวเหยียด ไม่ว่าจะเป็นเดินป่า เยี่ยมชมอุทยานฯ แคมป์ปิ้ง รวมไปถึงกิจกรรมยอดนิยมอย่าง ‘ดำน้ำ’ ซึ่งบรรยากาศดีๆ แบบตอนนี้น่าจะทำให้บางคนอดใจไม่ไหว อยากวาร์ปไปทะเลเดี๋ยวนี้เลย! เพื่อสัมผัสประสบการณ์ใต้น้ำ ส่องปะการัง และแหวกว่ายน้ำใสร่วมกับสัตว์น้ำน้อยใหญ่ ซึ่งประเทศไทยของเราก็มีแหล่งดำน้ำหลายแห่งที่เป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ  ไหนๆ จะแนะนำทั้งที เราเลยขอชวนสาวๆ หนุ่มๆ ผู้นิยม Sea Sand Sun ไปเยือนหนึ่งในแหล่งดำน้ำที่มีชื่อเสียงระดับโลกอย่าง ‘เรือหลวงปราบ-เรือหลวงสัตกูด’ แหล่งดำน้ำที่สร้างขึ้น ‘โดยมนุษย์’ ในจังหวัดชุมพรและจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ก่อนที่ใครจะกดจองตั๋ว Urban Creature ขอนำหน้าพาทุกคนดำดิ่งลงใต้ทะเล ที่นี่จะสวยงามและอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำมากขนาดไหน ไปติดตามกันได้เลย! เมื่อปะการังเปลี่ยนสี ตอนนี้หลายคนคงกังวลเรื่อง ‘โลกร้อน’ และอยากหาที่เที่ยวทางธรรมชาติที่ทั้งสวยและแคร์สิ่งแวดล้อม ซึ่งในไทยเองก็มีแหล่งท่องเที่ยวแบบนี้เหมือนกัน ‘เรือหลวงปราบ-เรือหลวงสัตกูด’ แหล่งดำน้ำที่มีชื่อเสียงระดับโลก เป็นอีกเป้าหมายของนักดำน้ำทั้งหลาย […]

Stadium 974 สเตเดียม FIFA 2022 ในกาตาร์ ที่สร้างจากโครงเหล็กและตู้คอนเทนเนอร์เก่า

หลายคนอาจตั้งตารอ ‘การแข่งขันฟุตบอลโลก’ หรือ ‘FIFA World Cup’ ประจำปี 2022 ที่มีกาตาร์เป็นประเทศเจ้าภาพ ซึ่งกาตาร์ถือเป็นประเทศแรกในตะวันออกกลางที่ได้เป็นผู้จัดการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศโปรแกรมนี้ อีกหนึ่งความพิเศษที่หลายฝ่ายให้ความสนใจก็คือ ‘สเตเดียม’ ที่สามารถถอดประกอบได้และยังประหยัดพลังงานในการก่อสร้างด้วย สเตเดียมแห่งนี้มีชื่อว่า ‘Stadium 974’ สนามกีฬาความจุ 40,000 ที่นั่ง ที่ตั้งอยู่ใกล้ท่าเรือในกรุงโดฮา เมืองหลวงของกาตาร์ ในอดีตที่นี่เคยมีชื่อว่า ‘Ras Abu Aboud’ เป็นสเตเดียมแห่งแรกในประวัติศาสตร์ของ FIFA World Cup ที่สามารถถอดประกอบได้ทุกส่วน  วัสดุหลักๆ ที่ใช้สร้างสเตเดียมแห่งนี้ก็คือ ‘ตู้คอนเทนเนอร์เก่า’ และ ‘โครงเหล็กแบบแยกส่วน’ โดยบางส่วนเป็นโครงเหล็กที่ได้จากการรีไซเคิล ส่วนผู้ที่ออกแบบก็คือ บริษัทสถาปัตยกรรม Fenwick Iribarren Architects บริษัทวิศวกรรมโครงสร้าง Schlaich Bergermann Partner และบริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม Hilson Moran จุดประสงค์ของการออกแบบก็เพื่อลดต้นทุน ลดขยะจากการก่อสร้าง รวมถึงประหยัดเวลาในการก่อสร้างด้วย มากไปกว่านั้น ทางผู้ออกแบบยังเปิดเผยว่า การสร้างสเตเดียมแห่งนี้สามารถลดการใช้น้ำได้มากถึง 40% […]

COP26 the Other Side: 5 ประเด็นชวนเอ๊ะ! สรุปรักษ์โลกกันจริงไหมในการประชุม COP26

ชวนดู 5 ประเด็นในการประชุม COP26 ที่ผ่านมาที่ชวนคิดชวนสงสัยว่าการแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศควรจะเดินต่อไปอย่างไร

‘Khudi Bari’ บ้านประกอบได้ราคาถูกและทำจากวัสดุธรรมชาติเพื่อรับมือกับวิกฤตภูมิอากาศ

คุณเคยย้ายที่อยู่อาศัยเพราะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไหม? เราอยากชวนจินตนาการนึกภาพตามว่าถ้าหากบ้านของคุณตั้งอยู่ในจุดที่ด้านขวามือคือทะเล และด้านซ้ายเป็นจุดที่แม่น้ำ 3 สายไหลมาบรรจบกัน เป็นแหล่งสะสมตะกอนชั้นดีสำหรับเพาะปลูก หรือดำรงชีพด้วยการหาปลา แต่ผู้อยู่อาศัยก็ต้องโยกย้ายตามฤดูกาล คุณจะอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้อย่างไร?  และหากน้ำทะเลด้านขวาเพิ่มสูงขึ้น แม่น้ำด้านซ้ายปริมาณมากขึ้นเพราะน้ำแข็งละลายจากบนเทือกเขา และท้องฟ้าด้านบนฝนตกหนักผิดวิสัย สถานการณ์วิกฤตสภาพภูมิอากาศเช่นนี้ทำให้ผู้อยู่อาศัยต้องเผชิญภัยธรรมชาติ บ้างต้องโยกย้ายที่อยู่บ่อยครั้งกว่าปกติ และบ้างต้องจำใจทิ้งวิถีชีวิตแบบเดิมเข้าไปหาเลี้ยงชีพในเมืองใหญ่และอาศัยอยู่ในสลัม นี่คือสถานการณ์ในบังกลาเทศจาก Marina Tabassum สถาปนิกชาวบังกลาเทศผู้ออกแบบโปรเจกต์ ‘Khudi Bari – บ้านจิ๋ว’ ขนาดรองรับสมาชิก 4 คนสำหรับผู้ที่อาศัยตามพื้นที่ลุ่มน้ำ  ความตั้งใจของ Tabassum คือจะใช้สถาปัตยกรรมที่เธอร่ำเรียนมาให้เป็นประโยชน์กับคนที่อาศัยตามพื้นที่ปากแม่น้ำ (ภาษาอังกฤษใช้คำว่า ‘Char Dwellers’) อย่างไรให้ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และปรับให้เข้ากับบริบททางธรรมชาติเพื่อรองรับความผันแปรให้ได้มากที่สุด จากการเก็บข้อมูลของเธอ โดยเฉลี่ยแล้วค่าใช้จ่ายการสร้างบ้านสำหรับคนในพื้นที่ลุ่มน้ำอยู่ที่ราว 1,500 ปอนด์ (ประมาณ 60,000 บาท) และต้องใช้สถาปนิก 3 คน ช่างไม้ 1 คน เพื่อประกอบในเวลา 15 วันให้เป็นรูปร่าง โปรเจกต์ ‘Khudi Bari’ นี้ Tabassum […]

‘โคเปนเฮเกน’ จากเมืองอุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วยมลพิษ สู่เมืองสีเขียวอันดับต้นๆ ของโลก

จะดีแค่ไหนถ้าได้อยู่ในเมืองที่น่าอยู่ คุณภาพชีวิตดี แถมยังรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย ท่ามกลางวิกฤต ‘การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ’ หรือ ‘Climate Change’ หลายเมืองทั่วโลกเดินหน้าผลักดันนโยบายต่างๆ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดีขึ้น ซึ่งหนึ่งในเมืองที่ยืนหนึ่งด้าน ‘สิ่งแวดล้อม’ และ ‘ความยั่งยืน’ ก็คือ ‘โคเปนเฮเกน’ เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก นิตยสาร Time Out ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกว่า 27,000 คนจากหลายร้อยเมืองทั่วโลก เพื่อหาคำตอบว่าเมืองใดคือเมืองที่ ‘ยั่งยืนที่สุดในโลก’ ประจำปี 2021 โดยผลการสำรวจชี้ว่า 57% ของผู้ตอบแบบสำรวจยกให้ ‘โคเปนเฮเกน’ เป็นเมืองที่ครบเครื่องเรื่องความยั่งยืนอันดับหนึ่งของโลก แต่รู้หรือไม่ว่ากว่าโคเปนเฮเกนจะกลายเป็นเมืองสีเขียวอันดับต้นๆ ของโลกได้ อากาศในเมืองหลวงแห่งนี้เคยเต็มไปด้วยมลพิษ ส่วนแหล่งน้ำก็ปนเปื้อนไปด้วยสารเคมี ขยะ และสิ่งปฏิกูล Urban Creature จะพาทุกคนไปหาคำตอบว่า โคเปนเฮเกนทำอย่างไรจึงสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและสังคมที่เข้มแข็ง จนกลายเป็นเมืองที่ตอบโจทย์คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนได้ 01 | Public and Private Sectors : เมืองที่ภาครัฐร่วมมือกับเอกชน ก่อนอื่นต้องอธิบายคร่าวๆ ก่อนว่า รัฐบาลเดนมาร์กบริหารงานแบบ ‘กระจายอำนาจการปกครอง’ […]

buildbetternow.co นิทรรศการจาก COP26 รวม 17 แนวคิดสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน ที่เล่าเรื่องผ่านภาพ เสียง และวิดีโอจากทั่วโลก

นอกจากการแสดงวิสัยทัศน์เรื่องสิ่งแวดล้อมของบรรดาผู้นำกว่า 190 ประเทศทั่วโลกที่เข้าร่วมการประชุม COP26 หรือการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 (UN Climate Change Conference of the Parties) ในปีนี้ยังมีนิทรรศการออนไลน์ ‘Build Better Now’ ที่เปิดให้ผู้ชมทางบ้านจากทั่วมุมโลกเข้าชมได้ฟรีที่เว็บไซต์ www.buildbetternow.co  Build Better Now เป็นนิทรรศการออนไลน์แบบ 360 องศาที่จัดแสดงไอเดียและโปรเจกต์ที่ออกแบบเกี่ยวกับ ‘Built Environment’ หรือแนวคิดสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน ที่คำนึงถึงระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการรับมือกับปัญหา Climate Change โดยมีแนวคิดว่าการก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นตึกสูง อาคาร บ้านเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ จะต้องทำให้เกิดความสมดุล 3 ด้าน ได้แก่ สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด พร้อมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่และส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย เมื่อเข้าไปในเว็บไซต์จะพบกับโครงการสถาปัตยกรรมต้นแบบจากทั่วโลกกว่า 17 โครงการที่คัดสรรโดย UK Green Building Council (UKGBC) เช่น Favela […]

Tarket แพลตฟอร์มของมือสองที่จะทำให้การซื้อขายของใช้แล้วเป็นเรื่องสนุก

เมื่อปัญหาโลกร้อนกลายเป็นกระแสสังคมที่รังแต่จะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้คนทั่วโลกหรือกระทั่งในบ้านเราเองหันมาใส่ใจและร่วมกันรณรงค์ใช้ชีวิตอย่างนึกถึงโลกใบนี้กันมากขึ้น โดยหนึ่งในวิธีที่มาแรงมากๆ คือการลดการซื้อของใหม่แล้วใช้ของมือสอง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ ภาดา กาญจนภิญพงศ์ กับเพื่อนๆ จึงร่วมกันคิดแพลตฟอร์มส่งต่อของมือสองรูปแบบใหม่ที่มีชื่อว่า Tarket ซึ่งมีความแตกต่างจากแอปพลิเคชันขายของอื่นๆ ขึ้นมา ความพิเศษคือการเจาะกลุ่มผู้ใช้คนรุ่นใหม่ ทำให้มีการนำเสนอสินค้าที่ตอบโจทย์วัยรุ่นอย่างฟังก์ชันการปัดแบบแอปฯ เดตติ้ง ชอบ-ไม่ชอบชิ้นไหนก็ปัดใช่ปัดชอบได้ มากไปกว่านั้นตัวแพลตฟอร์มยังให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการแสดงข้อมูลต่างๆ อีกด้วย “ที่ผ่านมา เรายังไม่เคยเจอแพลตฟอร์มขายของมือสองไทยที่สร้างขึ้นมาเพื่อกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะ ก็เลยทำให้คิดว่านี่อาจเป็นอุปสรรคในการซื้อ-ขายของมือสองของคนรุ่นเราด้วยหรือเปล่า เราจึงสร้างแพลตฟอร์มนี้ขึ้นมาพร้อมกับจุดดึงดูดใหม่ๆ ที่ปกติคนไม่น่าจะเคยเห็นกันในตลาดขายของออนไลน์” ตัวอย่างฟีเจอร์ใน Tarket ที่ภาดากับทีมวางแผนดีไซน์ไว้ มีดังนี้ – ให้อิสระกับคนซื้อในการเสนอราคาที่ชอบ และให้โอกาสกับคนขายให้เลือกราคาที่ใช่ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้า – มี AI เช็กปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ของสินค้าชิ้นนั้นๆ แล้วเปลี่ยนเป็นแต้มส่วนลดได้ รวมถึงนำเสนอข้อมูลว่าเราช่วยโลกได้ยังไงอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น เสื้อที่คุณส่งต่อ ช่วยลดมลพิษเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 10 ต้น – มีความปลอดภัยสูง เพราะทุกคนต้องผ่านระบบการยืนยันตัวตนก่อนเข้าใช้ นอกจากนี้ภาดายังเสริมถึงมิชชันระยะยาวของเขาอีกว่าต้องการที่จะเห็นคนรุ่นใหม่เปลี่ยนมายด์เซตเกี่ยวกับของมือสอง โดยหวังว่า Tarket จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างค่านิยมในการส่งต่อและใช้ของมือสองให้กลายเป็นเรื่องปกติ สนุก และไม่ว่าใครก็ทำได้เหมือนการซื้อของใหม่ […]

1 3 4 5 6 7 10

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.