ชนะโอลิมปิก = ได้หอไอเฟลกลับบ้าน เหรียญโอลิมปิกปารีส 2024 รีไซเคิลได้ ที่ภายในมีชิ้นส่วนจากเศษเหล็กหอไอเฟล

เหรียญรางวัลสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่แสดงถึงความพิเศษและแนวคิดการจัดงานของปีนั้นๆ เช่นเดียวกับ ‘เหรียญโอลิมปิกปารีส 2024’ ที่เปิดตัวได้อย่างน่าสนใจ ด้วยการบรรจุเศษเหล็กขนาดหกเหลี่ยมที่มาจากชิ้นส่วนจริงที่เหลือใช้จากการสร้างหอไอเฟลในปี 1889 ถือเป็นการผสมผสานเหรียญรางวัลเข้ากับสัญลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดของประเทศฝรั่งเศสอย่างหอไอเฟล จากฝีมือการออกแบบของแบรนด์ Chaumet บริษัทอัญมณีและนาฬิกาสุดหรูสัญชาติฝรั่งเศสที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1780 โดยแต่ละมุมของชิ้นส่วนหกเหลี่ยมจากหอไอเฟลจะถูกตรึงไว้ด้วย ‘กรงเล็บ’ (Claw) ด้วยเทคนิคการทำเครื่องประดับแบบดั้งเดิม จนมีรูปร่างออกมาเป็นลวดลาย ‘Clous de Paris’ ที่มักใช้ในงานหน้าปัดนาฬิกา นอกจากนี้ ส่วนรอบนอกของเหรียญรางวัลทั้งในเหรียญทองและเหรียญเงิน ยังทำมาจากโลหะที่ได้รับการรับรองจาก Responsible Jewellery Council (RJC) ว่ารีไซเคิลได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่เหรียญทองแดงจะทำมาจากเศษวัสดุจากการผลิตเหรียญของโรงกษาปณ์ Monnaie de Paris ที่มีอายุมานานกว่าพันปี ถือเป็นอีกหนึ่งส่วนที่ทำให้เห็นว่าโอลิมปิกปารีส 2024 นี้ให้ความสำคัญกับโลก และมุ่งเป้าในการเป็นโอลิมปิกที่ยั่งยืนที่สุด ไม่เว้นแม้กระทั่งตัวเหรียญรางวัลเอง Sources :Dezeen | t.ly/YSLrwOlympics | t.ly/Hwxby, t.ly/3oveD

Turn Waste to Agri-Wear เปลี่ยน ‘ฟางข้าว’ จากแปลงนาให้กลายเป็นเสื้อผ้ารักษ์โลก ในคอลเลกชัน KUBOTA x GREYHOUND ORIGINAL

หลายคนอาจไม่รู้ว่า ‘ฟางข้าว’ คือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มักถูกกำจัดด้วยการเผา ก่อให้เกิดมลพิษจำนวนมาก ซึ่งที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นการนำฟางข้าวไปแปรรูปเป็นโปรดักต์ต่างๆ มากมาย แต่จะเป็นไปได้ไหมถ้าจะนำของเหลือใช้ประเภทนี้มาทำเสื้อผ้าที่ไม่ว่าใครก็สวมใส่ได้ ‘สยามคูโบต้า’ และ ‘เกรฮาวด์ ออริจินัล’ จับมือกันปลุกกระแส Sustainable Fashion และเดินหน้าผลักดันอุตสาหกรรมเกษตรและวงการแฟชั่นไทยไปพร้อมๆ กัน โดยมีจุดมุ่งหมายในการจุดประกายการ Upcycling เศษวัสดุเหลือใช้จากเกษตร เกิดเป็นแคมเปญ KUBOTA x GREYHOUND ORIGINAL PRESENT ‘Turn Waste to Agri-Wear’ ที่เปลี่ยนฟางข้าวให้กลายเป็นเสื้อผ้าสไตล์สตรีทแฟชั่นสุดเท่ จากงานวิจัย ‘นวัตกรรมเส้นใยฟางข้าวผสมเส้นใยจากรังไหม สู่การพัฒนาสิ่งทอเพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ กรณีศึกษาตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์’ ของคณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ร่วมกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและเลี้ยงไหม ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ และกลุ่มสตรีทอผ้าฝ้าย บ้านทับน้อย อำเภอรัตนบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรทอผ้าจังหวัดสุรินทร์ วิธีการคือ นำเอาฟางข้าวมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลด้วยกรรมวิธีย่อยเส้นใย จากนั้นนำมาปั่นเข้าเกลียวร่วมกับรังไหมเหลือใช้ จนเกิดเป็นเส้นด้ายที่เมื่อนำไปทอจะทำให้ได้เนื้อผ้าที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นสูง นำไปย้อมสีและพิมพ์ลายได้ อีกทั้งยังดูดซับความชื้น สวมใส่สบาย และระบายอากาศได้ดี โดยมีพันธมิตรที่มีจุดยืนเดียวกันในเรื่องของความยั่งยืนอย่าง […]

Heineken ลดขยะจากขวดเบียร์ด้วยการดัดแปลงเป็นของแต่งบ้านและเครื่องประดับที่สวมใส่ได้

การเฉลิมฉลองในแต่ละครั้ง แน่นอนว่า ‘ขวดแก้ว’ จากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มักจะเป็นขยะที่ถูกทิ้งเป็นจำนวนมาก แบรนด์เครื่องดื่มอย่าง Heineken ที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นขวดแก้วจึงเล็งเห็นปัญหาจากการสร้างขยะนี้ Heineken South Africa เปิดตัวโครงการ Fields Green With Grass, Not Glass ที่ตั้งใจจะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความยั่งยืนและปรับปรุงพื้นที่เมืองให้สวยงามด้วยการใช้ขวดแบบคืนได้ และสร้าง Green Zone พื้นที่สีเขียวให้กับเมืองต่างๆ สำหรับแคมเปญล่าสุดมีชื่อว่า ‘Waste to Wear’ ที่รีไซเคิลขวดแก้วให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง จากการรวบรวมขวดจากแหล่งต่างๆ มาทำเป็นสินค้าชิ้นใหม่ ด้วยความช่วยเหลือของเอเจนซีโฆษณา Sonic State และการร่วมมือกับ Matthew Edwards และ Deji Dada นักออกแบบท้องถิ่น ในการผลิตแหวนกว่า 3,000 วง เหรียญรางวัล ชุดอาหารค่ำ รวมไปถึงโคมไฟแขวนที่นำมาใช้งานภายในบ้านได้ โดยของตกแต่งทุกชิ้นล้วนแล้วแต่มีรอยประทับที่แสดงให้เห็นถึงการออกแบบที่ใส่ใจและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม Sources :DesignTAXI | tinyurl.com/42wy5mhxFamous Campaigns | tinyurl.com/y2zz7yvyHeineken | tinyurl.com/2sazmbw6

‘Greener Bangkok’ เว็บไซต์รวบรวมความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมสีเขียวไว้ให้คนกรุงเทพฯ Go Green ไปด้วยกัน

ปัจจุบัน ‘กรุงเทพมหานคร’ กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะคนในเมืองขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ จากการที่ไม่มีแหล่งข้อมูลที่เข้าถึงง่ายหรือรวมเป็นหลักเป็นแหล่ง แต่หลังจากนี้ชีวิตคนกรุงเทพฯ จะง่ายขึ้น เพราะ ‘Greener Bangkok’ เว็บไซต์ที่ออกแบบมาเพื่อปลูกความรู้สีเขียวให้กับคนในเมืองกรุงโดยเฉพาะ จากการร่วมมือกันระหว่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายในเว็บไซต์ได้รวบรวมข้อมูลสิ่งแวดล้อมในหมวดต่างๆ ไว้มากมาย ตั้งแต่ให้ความรู้เรื่องความยั่งยืน การจัดการขยะและรีไซเคิล ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ไปจนถึงการให้บริการข้อมูลพื้นที่สีเขียวที่บอกเลยว่า ใครที่ได้เข้าไปเยี่ยมชมในเว็บไซต์นี้จะต้องได้ความรู้ติดตัวออกไปอย่างแน่นอน อีกทั้งภายในเว็บไซต์ยังมีฟังก์ชันน่าสนใจมากมายให้ทุกคนได้เข้าไปดูด้วย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือการทิ้งขยะที่แนะนำให้เราจัดการกับขยะแต่ละชนิดได้อย่างถูกจุด วิธีการกำจัดขยะในสถานที่ต่างๆ หรือจะเรียกดูข้อมูลการวัดค่าฝุ่น PM 2.5 แบบเรียลไทม์ทุกพื้นที่ก็มีให้เช็กแบบหายห่วง แถมพลาดไม่ได้กับ ‘มินิเกม’ ที่จะทำให้เราเรียนรู้เรื่องกรีนๆ ได้อย่างสนุกสนานขึ้น ยกตัวอย่าง เกมที่เราจะได้ลองแยกขยะแต่ละชนิดด้วยตัวเอง เพราะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้แน่นอน ใครที่อ่านมาขนาดนี้แล้วสนใจอยากลองดูข้อมูลสีเขียวในกรุงเทพฯ เข้าไปเล่นเกมสนุกๆ หรืออยากนำเสนอไอเดียเรื่องสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ เข้าไปใช้งานเว็บไซต์ได้ที่ greenerbangkok.com

โครงการใหม่ ‘เซ็นทรัล ฟู้ด กรุ๊ป’ ลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งใน Tops ผ่านการจัดการด้วยเทคโนโลยี AI

แม้ว่าขยะอาหารจะดูไม่มีพิษภัยต่อสิ่งแวดล้อม เพราะหลายคนเชื่อว่าขยะเหล่านี้สามารถย่อยสลายได้ตามเวลา แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาหารเหลือทิ้งนั้นปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 8 เปอร์เซ็นต์ และส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศ มากไปกว่านั้น ประเทศไทยมีอาหารเหลือทิ้งเฉลี่ยถึง 254 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ด้วยปริมาณที่สูงขนาดนี้ย่อมส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงแน่นอน ‘เซ็นทรัล ฟู้ด กรุ๊ป’ ที่มีเป้าหมายในการลดขยะอาหารลง 30 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ปี 2562 จึงมองหาทางออกในการเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการปัญหาขยะอาหารในประเทศด้วยการร่วมมือกับ ‘Smartway (สมาร์ทเวย์)’ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการอาหารเหลือทิ้ง โดยใช้เทคโนโลยี AI ในการขับเคลื่อน เพื่อตรวจจับสินค้าที่ใกล้หมดอายุ กำหนดช่องทางการรีไซเคิลที่ดีและเหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละสินค้า และลดราคาสินค้าผ่านการพิมพ์ฉลากเฉพาะสำหรับแต่ละสินค้าโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะเริ่มที่ร้านท็อปส์ 5 สาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้งนี้ การดำเนินงานผ่านเทคโนโลยี AI จะเป็นประโยชน์กับทุกๆ ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มร้านค้าปลีกที่สามารถลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งได้ พนักงานทำงานได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นในการจัดการสินค้าใกล้หมดอายุ รวมไปถึงลูกค้าเองก็จะมีทางเลือกในการเลือกซื้อสินค้าลดราคามากกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีการส่งต่ออาหารที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ให้กับแบรนด์ ‘Jaikla’ เพื่อนำไปเป็นอาหารให้แมลง และแปรรูปเป็นอาหารสัตว์เลี้ยงจำหน่ายในร้านท็อปส์อีกด้วย

Infinite Cafe Powered by Banpu NEXT with Craze Cafe ป็อปอัปคาเฟ่พลังงานสะอาด 100% วันนี้ – 31 ม.ค. 68 ที่ลานหน้าจามจุรีสแควร์

สำหรับใครที่พลาด ‘Infinite Cafe’ จาก Banpu NEXT ป็อปอัปคาเฟ่พลังงานสะอาด 100 เปอร์เซ็นต์ แห่งแรกของไทยที่เคยเปิดให้บริการในสวนเบญจกิติไปเมื่อกลางปี 2566 ที่ผ่านมา ก็ไม่ต้องเสียดายไป เพราะตอนนี้ Infinite Cafe กลับมาเปิดอีกครั้งแล้วที่ลานหน้าจามจุรีสแควร์ Infinite Cafe เกิดจากการที่ Banpu NEXT จับมือกับ Craze Cafe เดินเกม Infinite Model ด้วยการเปิดให้บริการป็อปอัปคาเฟ่พลังงานสะอาด เพื่อตั้งใจทำให้กาแฟที่เราบริโภคทุกวันมีส่วนช่วยลดการปล่อยคาร์บอน หลังจากพบว่าการเปิดป็อปอัปเดิมที่สวนเบญฯ สามารถลดการปล่อย CO2 ไปได้เกือบ 5,000 กิโลกรัม โดยในครั้งนี้ Banpu NEXT และ Craze Cafe ได้ร่วมกันเนรมิตป็อปอัปคาเฟ่พลังงานสะอาดใจกลางกรุง โดยนำ Net-Zero Solutions มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อยกระดับการใช้ชีวิตของผู้คนให้สมาร์ตและเข้าถึงพลังงานสะอาดได้ง่ายขึ้น มากกว่านั้น ยังมีการร่วมส่งเสริมพื้นที่สามย่านสมาร์ทซิตี้ด้วยโซลาร์รูฟท็อปพร้อมแบตเตอรี่ เพื่อผลิตและกักเก็บไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ไว้ใช้งานได้ตลอดวันโดยไม่ต้องพึ่งพาโครงข่ายไฟฟ้าหลัก (100% Off-Grid) รวมถึงมีดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับบริหารพลังงาน อาทิ […]

Romance in Bloom ดินเนอร์แบบบริทิชพร้อมชมงานศิลปะจาก PHKA Studio วันนี้ – 30 มิ.ย. 67 ที่ Café Wolseley Bangkok

สำหรับใครที่อยากลิ้มรสอาหารสไตล์บริทิชส่งตรงจากต้นตำรับ ในบรรยากาศสุดคลาสสิกที่มาพร้อมงาน Installation และร่วมเวิร์กช็อปทำช่อดอกไม้ เราอยากชวนมาที่ ‘Café Wolseley Bangkok’ เพราะตอนนี้ร้านอาหารต้นตำรับสไตล์บริทิชจากประเทศอังกฤษ ในโรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ มีเมนู Prix Fixe 3 คอร์สล่าสุดในธีม Romance in Bloom ที่เปิดโอกาสให้เราได้อิ่มอร่อยไปกับเมนูไฮไลต์แสนสดชื่น เลือกทานได้ 3 เมนูจาก 6 เมนูตั้งต้น โดยจะเริ่มเสิร์ฟจากอาหารเรียกน้ำย่อย อาหารจานหลัก และจบด้วยเมนูขนมหวาน แถมในขณะรับประทานอาหาร เรายังเพลิดเพลินไปกับกลิ่นอายความเป็นบริทิชผ่านงาน Installation ไม้ประดับที่ได้แรงบันดาลใจจาก Chelsea Flower Show งานเทศกาลดอกไม้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดประจำปีของประเทศอังกฤษ ในคอนเซปต์ Sustainability ผ่านการเลือกวัสดุที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างการไม่ใช้ Floral Foam หรือโอเอซิส จากฝีมือนักออกแบบจัดวางดอกไม้ (Floral Designer) ของ ‘PHKA Studio’ ในส่วนบริเวณโถงกลางร้าน ทางสตูดิโอเลือกใช้ดอกไม้ซิกเนเจอร์ของร้านอย่าง ‘ดอกกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิส’ (White Phalaenopsis) ที่ให้ความหมายเรื่องความรักและโชคลาภ […]

Rumba Bor แบรนด์ที่อยากกระชากสิ่งของเชยๆ ให้กลับมามีชีวิต ด้วยการใช้วัสดุรีไซเคิล 

“สิ่งที่เราทำคือการกระชากเก้าอี้จีนเชยๆ ที่คนอาจมองข้ามไป ให้หันมามองสิ่งของใน Everyday Life ในมุมมองใหม่ๆ ที่ Sustainable มากขึ้น” ‘รัมภา ปวีณพงษ์พัฒน์’ เจ้าของแบรนด์ Rumba Bor บอกถึงความตั้งใจของเธอในการเริ่มต้นทำแบรนด์สิ่งของเครื่องใช้รักษ์โลก ที่มีจุดเด่นคือการดึงเอาของใช้ในชีวิตประจำวันมาผสมผสานความครีเอทีฟ โดยใช้วัสดุที่รีไซเคิลเป็นหัวใจหลัก หญิงสาวเล่าว่า จุดเริ่มต้นของ Rumba Bor เกิดขึ้นเมื่อเธอเรียนจบด้าน Fine Arts มาได้สักพัก และเริ่มรู้สึกอยากเริ่มทำแบรนด์เป็นของตัวเองด้วยการนำสิ่งที่เรียนมาใช้ทำงานให้สนุก นอกจากแพสชันส่วนตัว ในช่วงที่เรียนอยู่ที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย รัมภามักเห็นคนทิ้งสิ่งของเครื่องใช้อย่างเฟอร์นิเจอร์อยู่บ่อยๆ โดยเธอมักจะเดินไปดูว่ามีอะไรน่าสนใจและหยิบจับไปใช้ในงานออกแบบของตัวเองได้บ้าง ตรงนี้เองที่ส่งผลให้รัมภาซึมซับเรื่องสิ่งของมือสอง ตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม และเข้าใจการใช้ชีวิตในแบบที่ไม่ต้องซื้อของใหม่บ่อยๆ หลังจากลองผิดลองถูกอยู่นาน ผลงานชิ้นแรกภายใต้แบรนด์ Rumba Bor ของรัมภา ก็ออกมาเป็น ‘เฌย (Choei)’ เก้าอี้จีนรูปลักษณ์คุ้นเคยที่ลูกหลานคนจีนคุ้นตาดี ซึ่งหญิงสาวนำมาตีความใหม่ และใช้พลาสติกโพลีโพรไพลีนรีไซเคิล (PP Recycle) ในการทำ “มันเกิดจากการที่เรามีโอกาสไปเดินดูโรงงาน แล้วเจอเก้าอี้ที่ลวดลายเชยๆ สีม่วงแดง ทำมาจากพลาสติก PVC ย่อยสลายไม่ได้ ขายไม่ออก […]

รู้จัก ‘Recou’ แกลบรีไซเคิล ทำหน้าที่แทนโฟมกันกระแทก แต่ไม่ทำให้สินค้าและโลกเสียหาย

ปกติเวลาที่เราสั่งเฟอร์นิเจอร์หรือสินค้าต่างๆ มาส่งที่บ้าน นอกจากตัวสินค้าแล้ว ภายในกล่องก็มักมาพร้อมกับโฟมกันกระแทก เพื่อป้องกันความเสียหายในระหว่างขนส่งพัสดุ ข้อดีคือช่วยป้องกันของให้อยู่ในสภาพดีจนถึงมือผู้สั่ง แต่ข้อเสียคือวัสดุเหล่านี้อาจไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่าไรนัก เพราะมักถูกทิ้งไปเนื่องจากไม่ได้นำไปใช้งานในลักษณะอื่นๆ อีก บริษัท Proservation ในเยอรมนี ได้หาวิธีในการใช้วัสดุอื่นๆ แทนการใช้โฟม เพื่อลดขยะและไม่สร้างมลพิษต่อโลก ซึ่งวัสดุที่บริษัทเลือกใช้นั้นคือแกลบจากพืช โดยปกติแล้ว เมื่อเก็บเกี่ยวเมล็ดพืช แกลบเหล่านี้มักถูกคัดออกเพื่อนำไปทำเป็นที่นอนสัตว์ หรือไม่ก็นำไปเผาทิ้ง Proservation จึงนำเอาแกลบเหล่านี้ไปรีไซเคิลให้เกิดประโยชน์ด้วยการเปลี่ยนให้เป็น ‘Recou’ วัสดุที่มีความอ่อนนุ่มและทนทานต่อแรงกระแทกเช่นเดียวกับโฟม แต่สามารถนำไปทำปุ๋ยหมักหรือทิ้งได้โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเมื่อไม่ได้ใช้งานแล้ว Proservation ตั้งใจทำให้ Recou ใช้งานทดแทนโฟมจำนวนมากในปัจจุบันได้ แต่อย่างไรก็ตาม Recou ยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง ทั้งระยะการผลิตที่ใช้เวลาค่อนข้างนานกว่า 6 – 8 ชั่วโมงต่อชิ้น น้ำหนักที่มากกว่าโฟม และถึงแม้ว่า Recou จะมีการออกแบบให้ทนทานต่อความชื้น แต่หากโดนความชื้นสูงในระยะเวลานานก็อาจทำให้เกิดกระบวนการย่อยสลาย มีเชื้อรา และไม่สามารถใช้งานต่อได้ Sources :Proservation | proservation.eu/enYanko Design | tinyurl.com/mpwct2jt

‘ทีทีบี’ กับการเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืน ผ่านปรัชญา ‘Make REAL Change เปลี่ยน… เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น’ มุ่งสร้างตามกรอบ B+ESG

ปัญหาสิ่งแวดล้อมกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคนมากขึ้น แนวคิดในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ จึงต้องเปลี่ยนผ่านสู่การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับบริการว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการลดการทำลายสิ่งแวดล้อม ‘ทีเอ็มบีธนชาต’ หรือ ‘ทีทีบี’ ที่ใส่ใจประเด็นนี้มาอย่างยาวนาน ได้ตอกย้ำในการเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืนผ่านกรอบแนวคิด ‘B+ESG’ ที่ผสมผสาน B (Business) เข้ากับ ESG (Environment, Social และ Governance) เป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าของธนาคารดำเนินชีวิตหรือธุรกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนอย่างแท้จริง นอกจากกลยุทธ์ B+ESG แล้ว ทีทีบียังทำงานภายใต้ปรัชญา ‘Make REAL Change เปลี่ยน… เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น’ ล่าสุดได้สร้างสรรค์นำวัสดุรีไซเคิลมาต่อยอดผลิตของที่ระลึก เพื่อส่งมอบความสุขให้กับลูกค้า โดยเน้นที่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและยังใช้งานได้จริง รวมไปถึงสร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทั้งสังคมและโลกของเราน่าอยู่มากกว่าเดิม ประชากรมากขึ้นทำให้ขยะกลายเป็นปัญหาที่ใกล้ตัวมากขึ้น แม้ที่ผ่านมาจะมีการรณรงค์ลดการใช้พลาสติกอยู่ตลอด แต่ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ยังคงทำให้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกเป็นทางเลือกเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต จนเกิดปัญหาตามมา คือขยะพลาสติก ซึ่งเป็นตัวการหนึ่งในการทำลายสิ่งแวดล้อมของเรา ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษเปิดเผยว่า ในปี 2565 ประเทศไทยมีขยะพลาสติกประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ จากปริมาณขยะทั้งหมด หรือมีประมาณ 12 ล้านตัน โดยในจำนวนนี้มีประมาณ 0.5 […]

‘Coachtopia’ แบรนด์ลูกจาก ‘Coach’ ที่นำเอาเศษวัสดุจากแบรนด์แม่มาผลิตเป็นกระเป๋าแฟชั่นใบใหม่

อุตสาหกรรมแฟชั่นขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งสร้างขยะจำนวนมากให้กับโลก ด้วยวิธีการผลิตที่มักเหลือเศษวัสดุทิ้งเอาไว้โดยไม่ได้นำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ รวมไปถึงกระบวนการต่างๆ ในการผลิตที่เป็นส่วนหนึ่งในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากเทรนด์ความยั่งยืนที่ไม่ว่าผู้ประกอบการรายใหญ่หรือรายย่อยก็ต้องให้ความสำคัญ ทำให้เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา แบรนด์แฟชั่นชื่อดัง ‘Coach’ เปิดตัว ‘Coachtopia’ แบรนด์ลูกที่ยังคงนำเสนอสินค้าแฟชั่น แต่เป็นการผลิตจากกระบวนการหมุนเวียนวัสดุแทน ด้วยความตั้งใจที่จะหลีกเลี่ยงการผลิตจากวัสดุใหม่ ซึ่งคิดเป็น 38 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมแฟชั่น แบรนด์ Coachtopia จึงใช้วิธีการนำเอาวัสดุที่มีอยู่แล้วและยังมีอายุการใช้งานอีกนานกลับมาใช้ใหม่ หรือหากวัสดุเหล่านั้นไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ ก็ต้องนำไปรีไซเคิลหรือย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ซึ่งวัสดุที่ว่านั้นมาจากเศษหนังจากการผลิตกระเป๋า Coach นั่นเอง โดยสินค้ากลุ่ม Coachtopia Leather นั้นเป็นการรีไซเคิลเศษที่เหลือจากการฟอกหนังอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนสินค้าในกลุ่ม Coachtopia Loop จะผลิตขึ้นจากพลาสติกรีไซเคิลอย่างน้อย 98 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกันกับการนำเรซินมาทำเป็นป้ายห้อย และสายรัดก็ทำขึ้นจากพลาสติกรีไซเคิล ซึ่งวิธีการทั้งหมดนี้ยังคงเป็นกระบวนการเริ่มต้นเท่านั้น และทางแบรนด์เองก็พยายามหานวัตกรรมใหม่ๆ ในการผลิตสินค้าแฟชั่นที่รักโลกไปพร้อมๆ กันอยู่เสมอ ไม่ใช่แค่โปรดักต์ที่เปลี่ยนไปเท่านั้น แต่แคมเปญล่าสุดของ Coachtopia ก็ไม่ได้ใช้วิธีประชาสัมพันธ์แบบดั้งเดิมอย่างการนำเหล่าคนดังมาถ่ายภาพแฟชั่นเซต แต่เปลี่ยนเป็นการปล่อยสารคดีเรื่อง The Road to Circularity ที่ว่าด้วยกระบวนการผลิตกระเป๋าและเส้นทางการเปลี่ยนแปลงสินค้าแฟชั่นของแบรนด์ไปด้วยกัน ชม […]

Kempegowda International Airport อาคารผู้โดยสารในสวน ประเทศอินเดีย สร้างความยั่งยืนและเพิ่มธรรมชาติในสนามบิน

ปัจจุบันธุรกิจการบินเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ถูกโจมตีเรื่องการสร้างมลภาวะทั้งในอากาศและจากตัวสนามบินเอง นี่จึงเป็นปัญหาหนึ่งที่ธุรกิจฟากนี้พยายามลดมลพิษที่ปล่อยออกมา ในขณะเดียวกัน หลังจากผ่านวิกฤตโรคระบาด ผู้คนกลับมาเดินทางกันมากขึ้น ทางเมืองเบงกาลูรู ประเทศอินเดีย ก็หวังเพิ่มความจุผู้โดยสารต่อปีขึ้น 25 ล้านคน และต้องการเป็นศูนย์กลางการขนส่งในหลากหลายรูปแบบ โดยตระหนักถึงความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เมืองเบงกาลูรูจึงขยับขยายพื้นที่ ‘Kempegowda International Airport’ โดยเปิดใช้งานอาคารผู้โดยสารที่ 2 ซึ่งเน้นการออกแบบที่ผสมผสานกับการปลูกต้นไม้ภายในอาคาร โอบล้อมอาคารด้วยสวนภายนอก ใช้วัสดุธรรมชาติ พร้อมกับตกแต่งด้วยไม้ไผ่และกระจก โดยอาคารผู้โดยสารในสวนแห่งนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากชื่อเสียงของเมืองเบงกาลูรูในฐานะ ‘อุทยานนคร’ หรือเมืองที่ให้ความสำคัญต่อพื้นที่สีเขียว นอกจากความเป็นธรรมชาติในสนามบินแล้ว ความยั่งยืนยังเป็นจุดเด่นของที่นี่ ด้วยการรับรอง LEED Platinum และ IGBC Platinum ซึ่งเป็นการรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียวระดับสากล ว่าเป็นอาคารสิ่งปลูกสร้างที่มีความยั่งยืนทั้งการออกแบบและสถาปัตยกรรม โดยโครงสร้างของอาคารมีการใช้พลังงานหมุนเวียน สามารถบำบัดและนำน้ำฝนจากทั่วสนามบินมาใช้ใหม่ อาคารผู้โดยสารของ Kempegowda International Airport ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างการสร้างความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในธุรกิจการบิน ที่ตอนนี้ทั่วโลกหันมาให้ความสนใจการออกแบบลักษณะนี้กันมากขึ้น Sources :ArchDaily | bit.ly/3Suvno3Kempegowda International Airport Bengaluru | bit.ly/495NLsA

1 2 3 10

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.