#กินหมดจาน Guidebook และ Restaurant Makeover โครงการที่จะชวนกินข้าวให้หมดจาน และช่วยปรับร้านอาหารให้จัดการขยะอย่างถูกวิธี

“ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า” ประโยคคุ้นหูที่ท่องจำกันมาตั้งแต่อนุบาล แต่เหมือนยิ่งโตนั้นจะได้แค่จำแต่ทำไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยเวลาที่น้อยลง รสชาติอาหารไม่ถูกปาก เครียดกินข้าวไม่ลง หรือแม้กระทั่งลืมว่ายังกินไม่หมด เช้าวันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม ทีมกินหมดจานชวนเราไปชิม 2 ใน 50 ร้านจาก ‘กินหมดจาน Guidebook’ โดยมีร้าน Karo Coffee Roasters คาเฟ่สุดเท่ย่านปรีดี พนมยงค์ ที่แนะนำโดย ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และร้าน No Name Noodle BKK แนะนำโดย ‘ปิ๊ปโป้-เปรมวิชช์ สีห์ชาติวงษ์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านราเม็งตัวจริงเสียงจริง พร้อมไปดูวิธีกำจัดขยะเศษอาหารที่เขตวัฒนา กินหมดจาน Guidebook เป็นเสมือนหนังสือรวม 50 ร้านอาหารที่เหล่า KOLs ขอการันตีว่าร้านนี้อร่อยและจัดการขยะได้ดี โดยอยู่ภายใต้โครงการ ‘Restaurant Makeover’ ที่ แพร-พิมพ์ลดา ไชยปรีชาวิทย์ หรือ ‘PEAR […]

‘Starbucks Reserve One Bangkok’ กับการเป็น Greener Store แห่งใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในไทย ด้วยดีไซน์ที่ผสมผสานเอกลักษณ์ท้องถิ่น

Starbucks Reserve One Bangkok ถือเป็นร้านแฟลกชิปแห่งที่ 4 ในประเทศไทย และเป็น Greener Store ที่ใหญ่ที่สุด ด้วยพื้นที่กว่า 860 ตารางเมตรที่มาในรูปแบบ 2 ชั้น สามารถรองรับลูกค้าได้สูงสุดถึง 230 ที่นั่ง อีกทั้งยังได้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นด้านการอนุรักษ์น้ำ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การลดขยะ และการใช้วัสดุอย่างรับผิดชอบ การออกแบบภายในร้านทั้ง 2 ชั้นได้รับแรงบันดาลใจจากทิวเขาที่เป็นพื้นที่เพาะปลูกกาแฟในภาคเหนือของประเทศไทย จนออกมาในรูปแบบของ ‘เรือนยอดไม้ใหญ่’ หรือ Tree Top Canopy ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่ใช้ในการเพาะปลูกกาแฟ บริเวณชั้นแรกของร้านเป็นตัวแทนของต้นกาแฟ และรวบรวมเอกลักษณ์ของชาวเขาทางภาคเหนือของประเทศไทยเอาไว้ เพื่อเป็นการยกย่องการเพาะปลูก งานฝีมือ และประเพณีต่างๆ ของชาวเขา ในขณะที่ชั้นบนเป็นตัวแทนของเรือนยอดไม้ สะท้อนถึงพื้นที่ปลูกกาแฟ และทรงของพุ่มไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของต้นไม้ที่ให้ร่มเงา ทำให้เกิดสภาวะที่เหมาะสมในการเพาะปลูกกาแฟอาราบิกาทางภาคเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้ ภายในร้านยังมี ‘ศิลปะสิ่งทอประดับเพดาน’ โดย ease studio ที่แต่ละชิ้นจำลองมาจากเมล็ดกาแฟ โดยใช้การไล่ระดับสี การจัดวางเป็นชั้นๆ และใช้เทคนิคการทอ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนและลุ่มลึกของรสชาติกาแฟ […]

เปลี่ยนสีให้บ้านได้ทุกครั้งที่เบื่อกับ ‘UNPAINT’ สีลอกได้ไม่ทิ้งรอย ยั่งยืน ย่อยสลาย ทาได้ทุกพื้นผิว

การเลือกสีทาบ้านและสีเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านถือเป็นโจทย์ยากของหลายๆ บ้าน เพราะเราจะต้องอยู่กับมันไปอีกนาน แถมการแก้ไขก็ไม่ใช่เรื่องง่าย  แต่สำหรับปัจจุบันอาจไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เพราะล่าสุดบริษัทนวัตกรรมความยั่งยืน ‘Glasst’ ได้เปิดตัว ‘UNPAINT’ ผลิตภัณฑ์สีที่ทาได้ตั้งแต่ผนัง เฟอร์นิเจอร์ และพื้นผิวต่างๆ ด้วยเทคโนโลยี Glasstomer ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสิทธิบัตรที่บริษัทสีจากโคลอมเบียพัฒนาขึ้น ทำให้สามารถลอกสีออกเมื่อไม่ต้องการได้ง่ายๆ ด้วยมือ ส่วนวิธีใช้ก็แสนง่าย เพียงเลือกสี UNPAINT ที่มีให้เลือกกว่า 57 สี จากนั้นใช้แปรง ลูกกลิ้ง หรือหัวสเปรย์สำหรับพ่น ระบายสีลงบนพื้นผิวที่ต้องการ จากนั้นรอให้แห้งก็เป็นอันเสร็จสิ้น ทั้งนี้ การทาสี UNPAINT หนึ่งครั้งสามารถอยู่ได้นานกว่า 1 ปี และถ้าในระหว่างนั้นผู้ใช้งานเกิดรู้สึกเบื่อสีเดิมขึ้นมา ก็ลอกสีดังกล่าวออกได้ทันทีด้วยมือ โดยแทบจะไม่ทิ้งร่องรอยของสีที่ลอกไว้บนผนังหรือเฟอร์นิเจอร์เดิม นอกจากนี้ UNPAINT ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากย่อยสลายได้ทางชีวภาพและปราศจากสารอินทรีย์ระเหยง่าย อีกทั้งสี 1 กิโลกรัมยังช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 11 กิโลกรัม UNPAINT วางจำหน่ายแล้วในตลาดลาตินอเมริกา และกำลังขยายตลาดไปทั่วโลกจากการได้รับความนิยมอย่างมากในหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งบ้าน การทาสีพื้นที่เชิงพาณิชย์ งานอีเวนต์ และนิทรรศการที่ต้องเปลี่ยนแปลงสีพื้นหลังอยู่บ่อยๆ Sources :Coatings […]

Valanko ni Ramat สนามเด็กเล่นจากวัสดุรีไซเคิลในอินเดีย ห้องเรียนกลางแจ้งจากจินตนาการเด็กๆ

การมีสนามเด็กเล่นที่เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบอาจเป็นส่วนหนึ่งที่เสริมสร้างจินตนาการ และทำให้เด็กอยากเข้ามาใช้งานสนามเด็กเล่นเพิ่มมากขึ้น ‘Valanko ni Ramat’ คือสนามเด็กเล่นในประเทศอินเดียที่เปิดโอกาสให้เด็กได้สร้างสรรค์เครื่องเล่นและพื้นที่ขึ้นจากจินตนาการของพวกเขา โดยมีสตูดิโอออกแบบ ‘Hsc Designs’ เป็นผู้ช่วยเนรมิตผลงานของเด็กๆ ให้ออกมาเป็นรูปเป็นร่าง เกิดเป็นสนามเด็กเล่นทั้งหมด 5 โซนภายใต้เงาของร่มไม้ ได้แก่ โซนน้ำ โซนทราย โซนพื้นที่ปีนป่าย โซนชิงช้า และโซนสไลเดอร์ ที่ตรงกลางของแต่ละโซนจะเชื่อมกันด้วยพื้นที่อุโมงค์สีสันสดใสมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สร้างขึ้นจากท่อคอนกรีตเหลือใช้และ​​กระจกโมเสกรีไซเคิล แถมในช่วงหน้าร้อน Valanko ni Ramat แห่งนี้จะฉีดละอองน้ำไปทั่วบริเวณ เพื่อเป็นหนึ่งวิธีช่วยคลายร้อนให้กับเด็กๆ เพื่อให้พวกเขาได้วิ่งเล่นอย่างสนุกสนานไม่ว่าจะร้อนแค่ไหนก็ตาม การเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่เล่นของตัวเอง จะทำให้พวกเขารู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ มีความผูกพันกับพื้นที่ และเป็นส่วนหนึ่งในการสอนให้พวกเขาเรียนรู้โลกภายนอกไปในตัว รวมไปถึงการใช้วัสดุรีไซเคิลยังเป็นการปลูกฝังแนวคิดเรื่องความยั่งยืนและการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ให้กับเด็กๆ อีกด้วย Valanko ni Ramat ถือเป็นส่วนหนึ่งที่พิสูจน์ว่า การออกแบบพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งสำหรับเด็กไม่ใช่เพียงแค่การออกแบบพื้นที่ทางกายภาพ แต่ยังทำหน้าที่เป็นห้องเรียนกลางแจ้ง ที่พวกเขาจะได้โลดแล่นไปตามโครงสร้างหลากสีสันจากองค์ประกอบต่างๆ เพื่อเรียนรู้ในสิ่งที่หาไม่ได้จากห้องเรียนทั่วไป Sources : ArchDaily | t.ly/ewTYd Architizer | t.ly/__1BG 

เก็บตก 3 กิจกรรมผลักดันเชียงรายสู่เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในงาน Chiangrai Sustainable Design Week 2024

อยากรู้ไหมว่าตอนนี้เมืองเจียงฮายไปไกลถึงไหนแล้ว หลังจากที่ได้ยินข่าวการพัฒนาเมืองรองแห่งนี้บ่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เกิดเทศกาล ‘เชียงรายเมืองออกแบบเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2567’ หรือ ‘Chiangrai Sustainable Design Week 2024 (CRSDW2024)’ ที่รวมงานออกแบบและนวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย แม้เทศกาลดังกล่าวจะสิ้นสุดลง แต่ Urban Creature ขอหยิบงานออกแบบและนวัตกรรมสร้างสรรค์ที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง ผ่านคอนเซปต์การผลักดันเชียงรายสู่เมืองสร้างสรรค์ที่ยั่งยืนใน 3 มิติ ได้แก่ เมืองน่าอยู่ น่าลงทุน และน่าท่องเที่ยว SMOG ธุลีกาศ งานออกแบบนวัตกรรม ลดปัญหาฝุ่นควันจากไฟป่า ปัญหาฝุ่นควันและไฟป่าจากอุตสาหกรรมเกษตรแบบเชิงเดี่ยวอย่างข้าวโพด มันสำปะหลัง สับปะรด หรือแม้กระทั่งอ้อยที่ถูกเผาหลังหมดฤดูเก็บเกี่ยว ทำให้เกิดฝุ่นมลพิษ PM 2.5 ที่ส่งผลต่อสุขภาพเรามาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี ซึ่งนับเป็นวิกฤติทางสิ่งแวดล้อมที่ยังไม่มีมาตรการควบคุมดูแลปัญหาอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้ปัญหาฝุ่นกลายเป็นเทศกาลประจำปีของเชียงราย CEA ในฐานะหน่วยงานขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ ร่วมมือกับ FabCafe Bangkok จัดกิจกรรมโชว์เคสและเวิร์กช็อปเสนอแนวทางเปลี่ยนขยะจากการเกษตรให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ภายใต้กิจกรรม ‘SMOG ธุลีกาศ’ กิจกรรมที่ว่าคือการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีเพื่อแปรรูปซากพืชเกษตรเป็นวัสดุ ผ่านการฉีดขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติเป็นรูปทรงต่างๆ โดยหวังว่างานออกแบบเหล่านี้จะเพิ่มอัตราการซื้อซากพืชและช่วยลดปัญหาฝุ่นควันจากไฟป่า เพื่อให้เชียงรายกลายเป็น […]

Friends of Inconvenience ชวนเพื่อนๆ มาขับเคลื่อนต้านโลกร้อน ชิมอาหารปลอดสารพิษ ช้อปผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกที่ ‘ตลาดคุณปู่ @หนองจอก’

ในวันที่โลกเดือดขึ้นเรื่อยๆ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เป็นมิตรกับโลกมากขึ้น ถือเป็นหนึ่งวิธีง่ายๆ ที่เริ่มทำได้ตั้งแต่วันนี้อาจจะ ‘หนักที่เรา’ แต่ก็ ‘เบาที่โลก’ ‘ชวนเพื่อนมาลำบาก’ หรือ ‘Friends of Inconvenience’ คือคอนเซปต์ง่ายๆ ของกิจกรรม ‘Bike for Earth’ ปั่นจักรยานรณรงค์หยุดโลกเดือด นำทีมโดย อ.ยักษ์-ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กิจกรรมนี้จะเดินทางแวะทั้งหมด 14 จังหวัด เริ่มจากภาคใต้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จรดเหนือกันที่จังหวัดน่าน โดยในทุกจุดแวะพักจะมีกิจกรรม เรื่องราวดีๆ และชวนคนในชุมชนมาร่วมถ่ายทอดความรู้ของแต่ละพื้นที่ว่า พวกเขาทำอย่างไรถึงพึ่งพาตนเองได้แบบไม่เบียดเบียนโลก ล่าสุดวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา ขบวนนักปั่นได้หยุดแวะพักกันที่ ‘อาสาชาวนามหานคร’ และร่วมทำกิจกรรมที่ ‘Ecovillage บึงน้ำรักษ์’ ที่ถือเป็นชุมชนในแบบนิเวศวิถี พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ งานนี้เลยเกิดเป็น ‘EcoFest : Sustainable & Living Cities’ ฐานเรียนรู้ อาสาชาวนามหานคร กิจกรรมที่ชวนนักปั่นและผู้ร่วมงานมาร่วมดำนา ปลูกป่า ปล่อยปลา พายเรือ เล่นน้ำ […]

ลองเขียนหนังสือด้วยดินสอรักษ์โลก ‘GRIND Z’ ไส้ดินสอจากกากกาแฟที่ให้กลิ่นกาแฟอ่อนๆ ตลอดการเขียน

แม้ ‘กากกาแฟ’ จะย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ แต่เพราะการบริโภคที่มากเกินไปจากทั่วโลก ทำให้สุดท้ายกากกาแฟกลายเป็นขยะที่ต้องฝังกลบจำนวนหลายล้านตันในทุกๆ ปี นำมาซึ่งการปล่อยก๊าซมีเทนปริมาณมหาศาล และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันเราจึงเห็นหลายธุรกิจพยายามแปรรูปกากกาแฟออกมาในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อช่วยเปลี่ยนขยะไร้ประโยชน์ให้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง เช่นเดียวกับ ‘Zirobio’ บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่มุ่งมั่นพัฒนาโซลูชันที่ยั่งยืนโดยใช้วัสดุชีวภาพ กับการหยิบเอากากกาแฟเหลือใช้มาสร้างสรรค์ใหม่จนกลายเป็น ‘ไส้ดินสอ’ สำหรับใช้งาน ‘GRIND Z’ คือชื่อของดินสอกดที่ภายในบรรจุไส้ดินสอขนาด 5.6 มิลลิเมตรที่ทำขึ้นจากกากกาแฟรีไซเคิล แทนที่จะเป็นแร่แกรไฟต์ในแบบเดิมๆ แถมเมื่อเขียนแล้วยังให้สีน้ำตาลเข้มหรืออ่อนแตกต่างกันไปตามความเข้มข้นของเมล็ดกาแฟ ไส้ดินสอนี้ประกอบด้วยกากกาแฟที่ไม่มีการเติมสีสังเคราะห์ใดๆ ในปริมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ รวมกับขี้ผึ้งและกาวอีก 80 เปอร์เซ็นต์ที่เป็นตัวยึดเกาะ เพื่อที่กากกาแฟจะอัดตัวกลายเป็นแท่ง ให้ใช้เหลาและขีดเขียนบนกระดาษได้เหมือนดินสอทั่วไป แต่เพิ่มเติมคือเราจะได้กลิ่นกาแฟอ่อนๆ ในทุกการจรดดินสอขีดเขียนอีกด้วย นี่น่าจะเป็นประสบการณ์การเขียนหนังสือที่หอมถูกใจคนเขียนเป็นที่สุด Sources : Kickstarter | t.ly/TIELFYanko Design | t.ly/eiVpWZirobio | www.zirobio.com/grindz

กินแบบดีต่อใจ ช่วยสร้างไลฟ์สไตล์ยั่งยืนกันที่งาน ‘Soul Food, Good Life’ วันที่ 3 – 4 ส.ค. 67 ที่ The Corner House

อาหารที่ดีไม่ใช่แค่ช่วยสร้างสุขภาพกายให้แข็งแรงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยสร้างสุขภาพจิตที่ดี และยังต่อเนื่องไปถึงการสร้างไลฟ์สไตล์ที่ยั่งยืนอีกด้วย ทางคอมมูนิตี้ ‘The Corner House’ ร่วมมือกับคาเฟ่ ‘People of Small World’, ‘Vtopia’ ผู้จัดอีเวนต์เพื่อสนับสนุนการทานวีแกนและไลฟ์สไตล์ที่ส่งเสริมสุขภาพองค์รวม และ ‘Loopers’ แพลตฟอร์มส่งต่อเสื้อผ้ามือสอง เปิดพื้นที่จัดงาน ‘Soul Food, Good Life’ เพื่อรวบรวมเมนูที่อร่อยและดีต่อสุขภาพ รวมถึงร้านค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้คนที่รักษ์โลกและรักสุขภาพได้มารวมตัวกัน ณ ที่แห่งนี้ ภายในงานมีร้านค้าทั้งอาหาร เครื่องดื่ม ขนม และสินค้าไลฟ์สไตล์ให้เลือกสรรกันมากมาย ทั้งเมนูเครื่องดื่มพิเศษจากนมโอ๊ต จาก Goodmate, POHSOP ร้านอาหารมังสวิรัติจากเชียงใหม่ ที่จัดเต็มเมนูคาวหวานสไตล์โฮมมี่, CRANE Coffee Roaster ร้านกาแฟสเปเชียลตี้ ผู้ได้รางวัล Champion TNCIGS 2024 และ Champion TNC2023, O’ganic Concept ร้านอาหารโฮมเมดเพื่อสุขภาพจากย่านอารีย์ และร้านรวงอื่นๆ อีกมากกว่า 30 ร้านเลยทีเดียว […]

ชนะโอลิมปิก = ได้หอไอเฟลกลับบ้าน เหรียญโอลิมปิกปารีส 2024 รีไซเคิลได้ ที่ภายในมีชิ้นส่วนจากเศษเหล็กหอไอเฟล

เหรียญรางวัลสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่แสดงถึงความพิเศษและแนวคิดการจัดงานของปีนั้นๆ เช่นเดียวกับ ‘เหรียญโอลิมปิกปารีส 2024’ ที่เปิดตัวได้อย่างน่าสนใจ ด้วยการบรรจุเศษเหล็กขนาดหกเหลี่ยมที่มาจากชิ้นส่วนจริงที่เหลือใช้จากการสร้างหอไอเฟลในปี 1889 ถือเป็นการผสมผสานเหรียญรางวัลเข้ากับสัญลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดของประเทศฝรั่งเศสอย่างหอไอเฟล จากฝีมือการออกแบบของแบรนด์ Chaumet บริษัทอัญมณีและนาฬิกาสุดหรูสัญชาติฝรั่งเศสที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1780 โดยแต่ละมุมของชิ้นส่วนหกเหลี่ยมจากหอไอเฟลจะถูกตรึงไว้ด้วย ‘กรงเล็บ’ (Claw) ด้วยเทคนิคการทำเครื่องประดับแบบดั้งเดิม จนมีรูปร่างออกมาเป็นลวดลาย ‘Clous de Paris’ ที่มักใช้ในงานหน้าปัดนาฬิกา นอกจากนี้ ส่วนรอบนอกของเหรียญรางวัลทั้งในเหรียญทองและเหรียญเงิน ยังทำมาจากโลหะที่ได้รับการรับรองจาก Responsible Jewellery Council (RJC) ว่ารีไซเคิลได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่เหรียญทองแดงจะทำมาจากเศษวัสดุจากการผลิตเหรียญของโรงกษาปณ์ Monnaie de Paris ที่มีอายุมานานกว่าพันปี ถือเป็นอีกหนึ่งส่วนที่ทำให้เห็นว่าโอลิมปิกปารีส 2024 นี้ให้ความสำคัญกับโลก และมุ่งเป้าในการเป็นโอลิมปิกที่ยั่งยืนที่สุด ไม่เว้นแม้กระทั่งตัวเหรียญรางวัลเอง Sources :Dezeen | t.ly/YSLrwOlympics | t.ly/Hwxby, t.ly/3oveD

Turn Waste to Agri-Wear เปลี่ยน ‘ฟางข้าว’ จากแปลงนาให้กลายเป็นเสื้อผ้ารักษ์โลก ในคอลเลกชัน KUBOTA x GREYHOUND ORIGINAL

หลายคนอาจไม่รู้ว่า ‘ฟางข้าว’ คือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มักถูกกำจัดด้วยการเผา ก่อให้เกิดมลพิษจำนวนมาก ซึ่งที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นการนำฟางข้าวไปแปรรูปเป็นโปรดักต์ต่างๆ มากมาย แต่จะเป็นไปได้ไหมถ้าจะนำของเหลือใช้ประเภทนี้มาทำเสื้อผ้าที่ไม่ว่าใครก็สวมใส่ได้ ‘สยามคูโบต้า’ และ ‘เกรฮาวด์ ออริจินัล’ จับมือกันปลุกกระแส Sustainable Fashion และเดินหน้าผลักดันอุตสาหกรรมเกษตรและวงการแฟชั่นไทยไปพร้อมๆ กัน โดยมีจุดมุ่งหมายในการจุดประกายการ Upcycling เศษวัสดุเหลือใช้จากเกษตร เกิดเป็นแคมเปญ KUBOTA x GREYHOUND ORIGINAL PRESENT ‘Turn Waste to Agri-Wear’ ที่เปลี่ยนฟางข้าวให้กลายเป็นเสื้อผ้าสไตล์สตรีทแฟชั่นสุดเท่ จากงานวิจัย ‘นวัตกรรมเส้นใยฟางข้าวผสมเส้นใยจากรังไหม สู่การพัฒนาสิ่งทอเพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ กรณีศึกษาตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์’ ของคณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ร่วมกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและเลี้ยงไหม ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ และกลุ่มสตรีทอผ้าฝ้าย บ้านทับน้อย อำเภอรัตนบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรทอผ้าจังหวัดสุรินทร์ วิธีการคือ นำเอาฟางข้าวมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลด้วยกรรมวิธีย่อยเส้นใย จากนั้นนำมาปั่นเข้าเกลียวร่วมกับรังไหมเหลือใช้ จนเกิดเป็นเส้นด้ายที่เมื่อนำไปทอจะทำให้ได้เนื้อผ้าที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นสูง นำไปย้อมสีและพิมพ์ลายได้ อีกทั้งยังดูดซับความชื้น สวมใส่สบาย และระบายอากาศได้ดี โดยมีพันธมิตรที่มีจุดยืนเดียวกันในเรื่องของความยั่งยืนอย่าง […]

Heineken ลดขยะจากขวดเบียร์ด้วยการดัดแปลงเป็นของแต่งบ้านและเครื่องประดับที่สวมใส่ได้

การเฉลิมฉลองในแต่ละครั้ง แน่นอนว่า ‘ขวดแก้ว’ จากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มักจะเป็นขยะที่ถูกทิ้งเป็นจำนวนมาก แบรนด์เครื่องดื่มอย่าง Heineken ที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นขวดแก้วจึงเล็งเห็นปัญหาจากการสร้างขยะนี้ Heineken South Africa เปิดตัวโครงการ Fields Green With Grass, Not Glass ที่ตั้งใจจะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความยั่งยืนและปรับปรุงพื้นที่เมืองให้สวยงามด้วยการใช้ขวดแบบคืนได้ และสร้าง Green Zone พื้นที่สีเขียวให้กับเมืองต่างๆ สำหรับแคมเปญล่าสุดมีชื่อว่า ‘Waste to Wear’ ที่รีไซเคิลขวดแก้วให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง จากการรวบรวมขวดจากแหล่งต่างๆ มาทำเป็นสินค้าชิ้นใหม่ ด้วยความช่วยเหลือของเอเจนซีโฆษณา Sonic State และการร่วมมือกับ Matthew Edwards และ Deji Dada นักออกแบบท้องถิ่น ในการผลิตแหวนกว่า 3,000 วง เหรียญรางวัล ชุดอาหารค่ำ รวมไปถึงโคมไฟแขวนที่นำมาใช้งานภายในบ้านได้ โดยของตกแต่งทุกชิ้นล้วนแล้วแต่มีรอยประทับที่แสดงให้เห็นถึงการออกแบบที่ใส่ใจและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม Sources :DesignTAXI | tinyurl.com/42wy5mhxFamous Campaigns | tinyurl.com/y2zz7yvyHeineken | tinyurl.com/2sazmbw6

‘Greener Bangkok’ เว็บไซต์รวบรวมความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมสีเขียวไว้ให้คนกรุงเทพฯ Go Green ไปด้วยกัน

ปัจจุบัน ‘กรุงเทพมหานคร’ กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะคนในเมืองขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ จากการที่ไม่มีแหล่งข้อมูลที่เข้าถึงง่ายหรือรวมเป็นหลักเป็นแหล่ง แต่หลังจากนี้ชีวิตคนกรุงเทพฯ จะง่ายขึ้น เพราะ ‘Greener Bangkok’ เว็บไซต์ที่ออกแบบมาเพื่อปลูกความรู้สีเขียวให้กับคนในเมืองกรุงโดยเฉพาะ จากการร่วมมือกันระหว่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายในเว็บไซต์ได้รวบรวมข้อมูลสิ่งแวดล้อมในหมวดต่างๆ ไว้มากมาย ตั้งแต่ให้ความรู้เรื่องความยั่งยืน การจัดการขยะและรีไซเคิล ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ไปจนถึงการให้บริการข้อมูลพื้นที่สีเขียวที่บอกเลยว่า ใครที่ได้เข้าไปเยี่ยมชมในเว็บไซต์นี้จะต้องได้ความรู้ติดตัวออกไปอย่างแน่นอน อีกทั้งภายในเว็บไซต์ยังมีฟังก์ชันน่าสนใจมากมายให้ทุกคนได้เข้าไปดูด้วย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือการทิ้งขยะที่แนะนำให้เราจัดการกับขยะแต่ละชนิดได้อย่างถูกจุด วิธีการกำจัดขยะในสถานที่ต่างๆ หรือจะเรียกดูข้อมูลการวัดค่าฝุ่น PM 2.5 แบบเรียลไทม์ทุกพื้นที่ก็มีให้เช็กแบบหายห่วง แถมพลาดไม่ได้กับ ‘มินิเกม’ ที่จะทำให้เราเรียนรู้เรื่องกรีนๆ ได้อย่างสนุกสนานขึ้น ยกตัวอย่าง เกมที่เราจะได้ลองแยกขยะแต่ละชนิดด้วยตัวเอง เพราะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้แน่นอน ใครที่อ่านมาขนาดนี้แล้วสนใจอยากลองดูข้อมูลสีเขียวในกรุงเทพฯ เข้าไปเล่นเกมสนุกๆ หรืออยากนำเสนอไอเดียเรื่องสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ เข้าไปใช้งานเว็บไซต์ได้ที่ greenerbangkok.com

1 2 3 10

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.